โรงแรมเก่าเล่าอดีต

โรงแรมเก่าเล่าอดีต

8 ก.ค. 2566

SHARE WITH:

8 ก.ค. 2566

8 ก.ค. 2566

SHARE WITH:

SHARE WITH:

โรงแรมเก่าเล่าอดีต

“ทำไมชอบไปนอนโรงแรมเก่าๆ ?” 

คำถามที่เพื่อนร่วมทางมักจะถามเสมอเวลาต้องหาที่พักค้างอ้างแรมตามต่างจังหวัด

ตั้งแต่เริ่มทำเพจ foto_momo (Fotograph of the Modern Movement) ผมก็มีโอกาสเดินทางไปต่างจังหวัดบ่อยขึ้นเพื่อตามหาร่องรอยของอาคารยุคโมเดิร์นที่หลงเหลืออยู่ ตึกโมเดิร์นหรือตึกคอนกรีตหน้าตาเชยๆ ที่เราคงเคยเห็นผ่านตาโดยไม่ได้รู้สึกพิเศษอะไร นอกเหนือจากเป็นอาคารธรรมดาที่ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา เป็นอาคารเก่าอายุราวครึ่งศตวรรษ รูปร่างหน้าตาสะท้อนความนิยมของยุค 60s-70s หรือที่ครั้งหนึ่งเราเคยเรียกว่า “ความทันสมัย” 

ความทันสมัยหรือ Modernization นี้เกิดขึ้นเป็นปรากฏการณ์ทั่วโลก จากโลกตะวันตกแผ่อิทธิพลมาถึงสถาปัตยกรรมในประเทศไทย ด้วยปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีการก่อสร้างสมัยนั้น ปูนซีเมนต์ เหล็ก กระจก คือวัสดุดาวรุ่งแห่งวงการก่อสร้าง ใครๆ ก็อยากเปลี่ยนโฉมหน้าอาคารบ้านเรือนให้ดูทันสมัย ใหญ่โต มั่นคงแข็งแรง และบ่งบอกรสนิยมของผู้สร้าง

สถาปัตยกรรมของโลกสมัยใหม่จึงถือกำเนิดขึ้นมากมาย เรียงรายไปตามเส้นทางคมนาคมที่เกิดขึ้นจากผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมอย่างรถไฟและรถยนต์ ซึ่งทำให้การเดินทางสะดวกขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน บางครั้งเราจึงพบเห็นโรงแรมเก่าๆ ยุคแรกของเมืองนั้นๆ ตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟหรือสี่แยกที่เป็นตลาดใจกลางเมือง

ถ้ามีโอกาสผมจะเลือกพักโรงแรมแบบนี้ แน่นอนว่าความเก่าแก่ของอาคารอาจไม่ได้ทำให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสบายมากนักเมื่อเทียบกับโรงแรมมาตรฐานปัจจุบัน อาจจะดูหลอนๆ ถ้าใครไม่ชอบผี แต่สิ่งที่ได้กลับมาคือเหมือนได้มานอนในสถานที่ประวัติศาสตร์ บางแห่งเคยต้อนรับประมุขของต่างประเทศก็มี บางแห่งก็มีเรื่องราวความหลังของพนักงานที่ทำงานมาตั้งแต่โรงแรมเพิ่งเปิด บางแห่งน่าเสียดายที่ปิดร้างไปเสียแล้ว และอีกหลายแห่งก็น่าเสียดายที่ตัวอาคารไม่เหลืออยู่แล้วำ สุดท้ายอาจมีเพียงภาพถ่ายสักใบที่บันทึกเรื่องราวเหล่านั้นไว้ให้ใครบางคนจดจำ


(1) โรงแรมอมรินทร์นคร จ.พิษณุโลก

โรงแรมเก่าแก่คู่เมืองสองแควเปิดตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 ออกแบบโดยรังสรรค์ ต่อสุวรรณ สถาปนิกมากฝีมือที่ออกแบบอาคารยุคโมเดิร์นไว้หลายหลัง ลักษณะเด่นของอาคารนี้อยู่ที่คอนกรีตแผ่นบางรูปคล้ายกลีบบัวครอบบังแดดหน้าต่างแบบสับหว่างกันไว้เต็มอาคารทั้งสองด้าน เป็นการป้องกันแดดลมฝน ประยุกต์ความสากลให้เข้ากับภูมิอากาศของประเทศไทย

และเหตุการณ์สำคัญเมื่อปี พ.ศ.2532 เจ้าชายฟูมิฮิโตะ ราชโอรสจักรพรรดิประเทศญี่ปุ่น (ยศขณะนั้น) ได้เสด็จเสวยในห้องอาหารของโรงแรมที่ชื่อ ภัตตาคารฮ่องเต้ ยังเป็นภาพประวัติศาสตร์ที่อยู่คู่โรงแรมยาวนาน

_

(2) โรงแรมเลิศนิมิตร จ.ชัยภูมิ

ใครที่ชอบตึกสไตล์นี้คงเพราะองค์ประกอบด้านหน้าโรงแรมแห่งนี้แน่ๆ ที่เป็นระเบียงสามเหลี่ยมยื่นออกมาพร้อมด้วยผนังคอนกรีตเจาะรูรูปวงกลมทำให้ตัวอาคารนั้นโดดเด่นมาก ยิ่งในยามที่มีแสงแดดมากระทบให้เกิดเงา อย่างไรก็ถ่ายรูปออกมาสวย แต่ถ้ามีโอกาสได้เข้าไปข้างในจะยิ่งตื่นตะลึงกับสเปซตรงกลางที่เป็นคอร์ทแคบๆแต่ขนาบข้างด้วยทางเดินสองฝั่งที่เล่นระดับพื้นต่างกัน

โรงแรมแห่งนี้สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2521โดยสถาปนิก ชาย ฐาปนากร แล้วเราจะเห็นสเปซคล้ายๆ โรงแรมนี้ได้ที่โรงแรมเพชรเกษมของจังหวัดสุรินทร์

_

(3) โรงแรมเพชรเกษม จ.สุรินทร์

โรงแรมขนาดใหญ่สูง 7 ชั้นตั้งอยู่ถนนจิตรบำรุง จ.สุรินทร์ มีพื้นที่ภายในคล้ายกับโรงแรมเลิศนิมิตร คือแบ่งห้องพักเป็นแถวยาวสองฝั่งแต่ระดับพื้นสูงลดหลั่นกันครึ่งชั้น ทำให้ต้องเว้นช่องว่างเป็นคอร์ทกลางและใช้บันไดเล็กเป็นทางเชื่อมระดับพื้นที่ปลายอาคารทั้งสองข้าง คาดว่าออกแบบโดยสถาปนิกคนเดียวกันคือ ชาย ฐาปนากร เมื่อปี พ.ศ.2528

_


(4) โรงแรมไทยอุดม จ.เลย

โรงแรมเล็กๆแต่ก่อตั้งมายาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ.2512 อยู่ตรงสี่แยกถนนเจริญรัฐและเอื้ออารี หัวมุมอาคารมีลักษณะเด่นคือโถงบันไดเวียนที่กรุด้วยกระจก ประดับด้วยโคมไฟแชนเดอเลียร์โบราณที่คงเคยสว่างไสวยามค่ำคืนมาก่อน

_

(5) โรงแรมเมมโมเรียล จ.สุรินทร์

ห้องอาหารสุรินทราสถานที่ที่เป็นที่รู้จักกันในหมู่นักเที่ยวกลางคืน ตัวโรงแรมเป็นอาคารสูง 5 ชั้นยาวขนานไปกับถนน มีมุขทางเข้าเห็นได้ง่ายอยู่ตรงกลาง มีการออกแบบแกนทางเข้านี้ให้เด่นขึ้นด้วยแผ่นโลหะสีทองขึ้นรูปปิรามิดขนาดเล็กวางเรียงซ้ำๆ กันเป็นที่นิยมของสมัยนั้น 

_

(6) โรงแรมอโนดาต จ.นครสวรรค์

สมัยก่อนที่จังหวัดนครสวรรค์เคยมีโรงหนังเก่าชื่ออโนดาต อยู่บนถนนเดียวกับโรงแรมที่ชื่อเหมือนกันนี้ โรงแรมอโนดาตเก่าแก่มากกว่า 30 ปี นับเป็นโรงแรมขนาดเล็กแต่อยู่ในทำเลย่านการค้าที่สำคัญของนครสวรรค์

_

(7) โรงแรมแกรนด์โฮเต็ล จ.ขอนแก่น

โรงแรม 60 ห้องพักสูง 5 ชั้นย่านถนนศรีจันทร์ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2513 เป็นโรงแรมลำดับแรกๆของเมืองขอนแก่น รองจากโรงแรมโฆษะที่เป็นโรงแรมขนาดใหญ่คู่เมืองขอนแก่นมาก่อน โรงแรมแกรนด์โฮเต็ลแห่งนี้ที่ตั้งใจสร้างให้โรงแรมมีสถาปัตยกรรมที่ดูทันสมัยในยุคนั้น เพื่อยกระดับมาตราฐานของโรงแรมให้ทัดเทียมกับตัวเมืองที่กำลังเจริญก้าวหน้า แผนผังเป็นรูปตัวยู ลักษณะเด่นคือผนังด้านนอกแบบสองชั้น หรือ double skin และมีบันไดเวียนที่ปีกอาคารทั้งสองฝั่ง ปัจจุบันถูกปิดร้างไว้แต่ก็มักจะมีนักท่องเที่ยวแวะมาถ่ายรูปเสมอ 

_

(8) โรงแรมศรีพัฒนา จ.นครราชสีมา

เมื่อก่อนเป็นโรงแรมขนาดใหญ่ล้ำสมัยสร้างเมื่อปี พ.ศ.2509 ในยุคที่มีทหาร G.I. ทั่วโคราช ละแวกนี้จึงรายล้อมไปด้วยผับบาร์และร้านกินดื่มยามดึก มีเอกลักษณ์ที่สะดุดตาจำง่ายคือ ห้องอาหารโดม ห้องอาหารที่แยกตัวออกมาจากอาคาร ยื่นลอยตัวอยู่บนโครงสร้างเหมือนเสาต้นเดียวแต่ที่จริงมีห้องเล็กๆ อยู่ พี่ยามที่โรงแรมเล่าให้ฟังว่าสมัยก่อนฝรั่งคนไหนเมาอาละวาดก็ถูกเอาพักฟื้นที่ห้องนี้เพื่อให้สร่างเมา น่าเสียดายที่ปัจจุบันโรงแรมถูกรื้อถอนไปแล้ว


“ทำไมชอบไปนอนโรงแรมเก่าๆ ?” 

คำถามที่เพื่อนร่วมทางมักจะถามเสมอเวลาต้องหาที่พักค้างอ้างแรมตามต่างจังหวัด

ตั้งแต่เริ่มทำเพจ foto_momo (Fotograph of the Modern Movement) ผมก็มีโอกาสเดินทางไปต่างจังหวัดบ่อยขึ้นเพื่อตามหาร่องรอยของอาคารยุคโมเดิร์นที่หลงเหลืออยู่ ตึกโมเดิร์นหรือตึกคอนกรีตหน้าตาเชยๆ ที่เราคงเคยเห็นผ่านตาโดยไม่ได้รู้สึกพิเศษอะไร นอกเหนือจากเป็นอาคารธรรมดาที่ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา เป็นอาคารเก่าอายุราวครึ่งศตวรรษ รูปร่างหน้าตาสะท้อนความนิยมของยุค 60s-70s หรือที่ครั้งหนึ่งเราเคยเรียกว่า “ความทันสมัย” 

ความทันสมัยหรือ Modernization นี้เกิดขึ้นเป็นปรากฏการณ์ทั่วโลก จากโลกตะวันตกแผ่อิทธิพลมาถึงสถาปัตยกรรมในประเทศไทย ด้วยปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีการก่อสร้างสมัยนั้น ปูนซีเมนต์ เหล็ก กระจก คือวัสดุดาวรุ่งแห่งวงการก่อสร้าง ใครๆ ก็อยากเปลี่ยนโฉมหน้าอาคารบ้านเรือนให้ดูทันสมัย ใหญ่โต มั่นคงแข็งแรง และบ่งบอกรสนิยมของผู้สร้าง

สถาปัตยกรรมของโลกสมัยใหม่จึงถือกำเนิดขึ้นมากมาย เรียงรายไปตามเส้นทางคมนาคมที่เกิดขึ้นจากผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมอย่างรถไฟและรถยนต์ ซึ่งทำให้การเดินทางสะดวกขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน บางครั้งเราจึงพบเห็นโรงแรมเก่าๆ ยุคแรกของเมืองนั้นๆ ตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟหรือสี่แยกที่เป็นตลาดใจกลางเมือง

ถ้ามีโอกาสผมจะเลือกพักโรงแรมแบบนี้ แน่นอนว่าความเก่าแก่ของอาคารอาจไม่ได้ทำให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสบายมากนักเมื่อเทียบกับโรงแรมมาตรฐานปัจจุบัน อาจจะดูหลอนๆ ถ้าใครไม่ชอบผี แต่สิ่งที่ได้กลับมาคือเหมือนได้มานอนในสถานที่ประวัติศาสตร์ บางแห่งเคยต้อนรับประมุขของต่างประเทศก็มี บางแห่งก็มีเรื่องราวความหลังของพนักงานที่ทำงานมาตั้งแต่โรงแรมเพิ่งเปิด บางแห่งน่าเสียดายที่ปิดร้างไปเสียแล้ว และอีกหลายแห่งก็น่าเสียดายที่ตัวอาคารไม่เหลืออยู่แล้วำ สุดท้ายอาจมีเพียงภาพถ่ายสักใบที่บันทึกเรื่องราวเหล่านั้นไว้ให้ใครบางคนจดจำ


(1) โรงแรมอมรินทร์นคร จ.พิษณุโลก

โรงแรมเก่าแก่คู่เมืองสองแควเปิดตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 ออกแบบโดยรังสรรค์ ต่อสุวรรณ สถาปนิกมากฝีมือที่ออกแบบอาคารยุคโมเดิร์นไว้หลายหลัง ลักษณะเด่นของอาคารนี้อยู่ที่คอนกรีตแผ่นบางรูปคล้ายกลีบบัวครอบบังแดดหน้าต่างแบบสับหว่างกันไว้เต็มอาคารทั้งสองด้าน เป็นการป้องกันแดดลมฝน ประยุกต์ความสากลให้เข้ากับภูมิอากาศของประเทศไทย

และเหตุการณ์สำคัญเมื่อปี พ.ศ.2532 เจ้าชายฟูมิฮิโตะ ราชโอรสจักรพรรดิประเทศญี่ปุ่น (ยศขณะนั้น) ได้เสด็จเสวยในห้องอาหารของโรงแรมที่ชื่อ ภัตตาคารฮ่องเต้ ยังเป็นภาพประวัติศาสตร์ที่อยู่คู่โรงแรมยาวนาน

_

(2) โรงแรมเลิศนิมิตร จ.ชัยภูมิ

ใครที่ชอบตึกสไตล์นี้คงเพราะองค์ประกอบด้านหน้าโรงแรมแห่งนี้แน่ๆ ที่เป็นระเบียงสามเหลี่ยมยื่นออกมาพร้อมด้วยผนังคอนกรีตเจาะรูรูปวงกลมทำให้ตัวอาคารนั้นโดดเด่นมาก ยิ่งในยามที่มีแสงแดดมากระทบให้เกิดเงา อย่างไรก็ถ่ายรูปออกมาสวย แต่ถ้ามีโอกาสได้เข้าไปข้างในจะยิ่งตื่นตะลึงกับสเปซตรงกลางที่เป็นคอร์ทแคบๆแต่ขนาบข้างด้วยทางเดินสองฝั่งที่เล่นระดับพื้นต่างกัน

โรงแรมแห่งนี้สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2521โดยสถาปนิก ชาย ฐาปนากร แล้วเราจะเห็นสเปซคล้ายๆ โรงแรมนี้ได้ที่โรงแรมเพชรเกษมของจังหวัดสุรินทร์

_

(3) โรงแรมเพชรเกษม จ.สุรินทร์

โรงแรมขนาดใหญ่สูง 7 ชั้นตั้งอยู่ถนนจิตรบำรุง จ.สุรินทร์ มีพื้นที่ภายในคล้ายกับโรงแรมเลิศนิมิตร คือแบ่งห้องพักเป็นแถวยาวสองฝั่งแต่ระดับพื้นสูงลดหลั่นกันครึ่งชั้น ทำให้ต้องเว้นช่องว่างเป็นคอร์ทกลางและใช้บันไดเล็กเป็นทางเชื่อมระดับพื้นที่ปลายอาคารทั้งสองข้าง คาดว่าออกแบบโดยสถาปนิกคนเดียวกันคือ ชาย ฐาปนากร เมื่อปี พ.ศ.2528

_


(4) โรงแรมไทยอุดม จ.เลย

โรงแรมเล็กๆแต่ก่อตั้งมายาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ.2512 อยู่ตรงสี่แยกถนนเจริญรัฐและเอื้ออารี หัวมุมอาคารมีลักษณะเด่นคือโถงบันไดเวียนที่กรุด้วยกระจก ประดับด้วยโคมไฟแชนเดอเลียร์โบราณที่คงเคยสว่างไสวยามค่ำคืนมาก่อน

_

(5) โรงแรมเมมโมเรียล จ.สุรินทร์

ห้องอาหารสุรินทราสถานที่ที่เป็นที่รู้จักกันในหมู่นักเที่ยวกลางคืน ตัวโรงแรมเป็นอาคารสูง 5 ชั้นยาวขนานไปกับถนน มีมุขทางเข้าเห็นได้ง่ายอยู่ตรงกลาง มีการออกแบบแกนทางเข้านี้ให้เด่นขึ้นด้วยแผ่นโลหะสีทองขึ้นรูปปิรามิดขนาดเล็กวางเรียงซ้ำๆ กันเป็นที่นิยมของสมัยนั้น 

_

(6) โรงแรมอโนดาต จ.นครสวรรค์

สมัยก่อนที่จังหวัดนครสวรรค์เคยมีโรงหนังเก่าชื่ออโนดาต อยู่บนถนนเดียวกับโรงแรมที่ชื่อเหมือนกันนี้ โรงแรมอโนดาตเก่าแก่มากกว่า 30 ปี นับเป็นโรงแรมขนาดเล็กแต่อยู่ในทำเลย่านการค้าที่สำคัญของนครสวรรค์

_

(7) โรงแรมแกรนด์โฮเต็ล จ.ขอนแก่น

โรงแรม 60 ห้องพักสูง 5 ชั้นย่านถนนศรีจันทร์ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2513 เป็นโรงแรมลำดับแรกๆของเมืองขอนแก่น รองจากโรงแรมโฆษะที่เป็นโรงแรมขนาดใหญ่คู่เมืองขอนแก่นมาก่อน โรงแรมแกรนด์โฮเต็ลแห่งนี้ที่ตั้งใจสร้างให้โรงแรมมีสถาปัตยกรรมที่ดูทันสมัยในยุคนั้น เพื่อยกระดับมาตราฐานของโรงแรมให้ทัดเทียมกับตัวเมืองที่กำลังเจริญก้าวหน้า แผนผังเป็นรูปตัวยู ลักษณะเด่นคือผนังด้านนอกแบบสองชั้น หรือ double skin และมีบันไดเวียนที่ปีกอาคารทั้งสองฝั่ง ปัจจุบันถูกปิดร้างไว้แต่ก็มักจะมีนักท่องเที่ยวแวะมาถ่ายรูปเสมอ 

_

(8) โรงแรมศรีพัฒนา จ.นครราชสีมา

เมื่อก่อนเป็นโรงแรมขนาดใหญ่ล้ำสมัยสร้างเมื่อปี พ.ศ.2509 ในยุคที่มีทหาร G.I. ทั่วโคราช ละแวกนี้จึงรายล้อมไปด้วยผับบาร์และร้านกินดื่มยามดึก มีเอกลักษณ์ที่สะดุดตาจำง่ายคือ ห้องอาหารโดม ห้องอาหารที่แยกตัวออกมาจากอาคาร ยื่นลอยตัวอยู่บนโครงสร้างเหมือนเสาต้นเดียวแต่ที่จริงมีห้องเล็กๆ อยู่ พี่ยามที่โรงแรมเล่าให้ฟังว่าสมัยก่อนฝรั่งคนไหนเมาอาละวาดก็ถูกเอาพักฟื้นที่ห้องนี้เพื่อให้สร่างเมา น่าเสียดายที่ปัจจุบันโรงแรมถูกรื้อถอนไปแล้ว


Text:

Beer Singnoi

Beer Singnoi

PHOTO:

Beer Singnoi

Beer Singnoi

Related Posts