Vaanaa / Art Farmer Bistro คาเฟ่เชียงใหม่ที่อยากเคลื่อนเมือง

Vaanaa / Art Farmer Bistro คาเฟ่เชียงใหม่ที่อยากเคลื่อนเมือง

14 ส.ค. 2566

SHARE WITH:

14 ส.ค. 2566

14 ส.ค. 2566

SHARE WITH:

SHARE WITH:

Vaanaa / Art Farmer Bistro คาเฟ่เชียงใหม่ที่อยากเคลื่อนเมือง

วะนะ แปลว่าป่า คือชื่อที่ตั้งขึ้นเป็นที่ระลึกให้กับอดีตทำเลเดิมที่เป็นต้นไม้ใหญ่ บ่อน้ำ และดินโคลน

ช่วงโควิดที่ทำให้ธุรกิจทั้งประเทศเป็นอัมพาต ธุรกิจโฆษณาและรับเหมาของครอบครัวที่เป๊บเคยทำอยู่ก็โดนผลกระทบไปแบบเต็มๆ ช่วงเวลานี้เหมือนเป็นการเรียกคืนความรักในกาแฟของเขาให้หวนกลับมาอีกครั้ง พร้อมกับความคิดที่อยากเปิดร้านกาแฟให้เป็นเหมือนกับโชว์รูมที่โชว์ศักยภาพของงานวัสดุทั้งกับงานสถาปัตยกรรมและเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์ สู่การเริ่มต้นของ Vaanaa / Art Farmer Bistro


หลังจากเขาปั่นจักรยานเซอร์เวย์ร้านกาแฟหลายๆ ร้านในเชียงใหม่ เมืองที่ว่ากันว่าเป็นสมรภูมิของร้านกาแฟ เพื่อหาพาร์ตเนอร์มาร่วมงานด้านกาแฟ และสองล้อก็พาเขามาพบกับ Art Farmer Cafe ร้านกาแฟย่านกำแพงดิน หลังจากแวะเวียนเข้าไปหน้าร้านถึง 3 รอบ จึงได้นัดเจอเพื่อจะคุยกันเรื่องทำความฝันของร้านกาแฟให้กลายเป็นจริง

“ตอนนั้นทำร้านใหญ่มาก หลายคนบอกว่าคนเชียงใหม่ไม่เข้าร้านแบบนี้หรอก เครียดหนักเลยทีนี้ แต่พอได้มีโอกาสพาลูกไปแคนาดา ได้ตระเวนดูคาเฟ่ที่นั่นก็เหมือนเป็นแรงฮึดกลับมาอีกทีหนึ่งว่า เมืองนอกเขาจัดหนัก มาตรฐานทั้งหมด เลยกลับมาสู้ต่อ แล้วก็ชวนตาม (ร้าน Art Farmer Cafe) มาลุยด้วยกันไหม มาสู้ไปด้วยกัน”


ส่วนเส้นทางของตามสู่การมาทำร้านกาแฟ มาจากการตั้งข้อสงสัยกับสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งแต่เริ่มต้นที่พี่น้องชาติพันธุ์ชวนขึ้นไปดูพื้นที่ปลูกกาแฟเมื่อ 12 ปีก่อน สมัยที่กาแฟยังเป็นพืชสลับปลูกตามฤดูกาลของชาวบ้าน คำถามมากมายเกิดขึ้นตั้งแต่เรื่องกระบวนการแปรรูป การจำหน่าย การเก็บรักษา จะทางไหนก็พบแต่กับปัจจัยที่ทำให้ราคาผลิตภัณฑ์ต่ำลงกว่าที่ควรจะเป็น

การคลายข้อสงสัยด้วยการลงมือทำจึงกลายเป็นคำตอบสำหรับเขา นั่นทำให้ตามเริ่มทำงานกับกาแฟแบบจริงจังมากขึ้น เริ่มจากการลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง จนได้พบกับโรงคั่วกาแฟมดแดงไฟซึ่งเป็นเหมือนกับครูคนแรก ช่วงนั้นคือเวลาเดียวกันกับที่คำว่า Specialty Coffee หรือกาแฟพิเศษ กำลังเริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศไทย

หลังจากผ่านประสบการณ์เชี่ยวกรำในเส้นทางสายกาแฟจนกระทั่งเปิดโรงคั่วเล็กๆ เป็นของตัวเอง พร้อมกันกับการเป็นที่ปรึกษาให้กับร้านกาแฟหลายร้านทั้งในเรื่องการบริหารจัดการร้านและผลิตภัณฑ์กาแฟ นำมาสู่การร่วมกันเปิดร้านกาแฟแห่งนี้กับรุ่นน้องหลังจากทำงานหลังบ้านสายกาแฟมาเกือบสิบปี


“ตอนเริ่มทำร้านกาแฟ เราไม่อยากไปที่นิมมานแล้ว เพราะเราอยากเป็นคนเคลื่อนเมืองมากกว่าที่เมืองจะเคลื่อนคนเข้าไปกระจุกอยู่ เราเลยเลือกทำเลนั้น เพราะแต่เดิมกำแพงดินถูกนิยามเรื่องทางเพศอยู่ตลอดเวลา เราเข้าไปที่นั่นในฐานะที่ต้องการกระจายความเป็นเมืองร่วมสมัยให้กับพื้นที่ตรงนั้น เรามีเป้าหมายที่อยากจะทำให้พื้นที่ตรงนั้นเติบโตในทิศทางที่ดีขึ้นด้วย”

การโคจรมาพบกันของสองหัวเรี่ยวหัวแรงของความคิดจากคนละศาสตร์ นำมาสู่การสร้างพื้นที่แห่งความสุข หรือ Where You Find Happiness ด้วยร้านบรรยากาศอบอุ่นเป็นกันเองที่อยากให้คนเข้ามาแบบสบาย ไม่รู้สึกเกร็ง จากความถนัดในการทำงานด้านวัสดุและสถาปัตยกรรมมารวมกับกาแฟคุณภาพดี เบื้องหลังความชื่นใจจากฟีดแบ็กของลูกค้าเหล่านี้มาจากความสุดที่ใส่ในทุกรายละเอียดของงาน


“ตอนทำที่นี่ต้องไปให้สุด กล้าที่จะต่าง ทำไปแล้วต้องสุดนะ ให้ได้ที่สุดของเรา”




วะนะ แปลว่าป่า คือชื่อที่ตั้งขึ้นเป็นที่ระลึกให้กับอดีตทำเลเดิมที่เป็นต้นไม้ใหญ่ บ่อน้ำ และดินโคลน

ช่วงโควิดที่ทำให้ธุรกิจทั้งประเทศเป็นอัมพาต ธุรกิจโฆษณาและรับเหมาของครอบครัวที่เป๊บเคยทำอยู่ก็โดนผลกระทบไปแบบเต็มๆ ช่วงเวลานี้เหมือนเป็นการเรียกคืนความรักในกาแฟของเขาให้หวนกลับมาอีกครั้ง พร้อมกับความคิดที่อยากเปิดร้านกาแฟให้เป็นเหมือนกับโชว์รูมที่โชว์ศักยภาพของงานวัสดุทั้งกับงานสถาปัตยกรรมและเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์ สู่การเริ่มต้นของ Vaanaa / Art Farmer Bistro


หลังจากเขาปั่นจักรยานเซอร์เวย์ร้านกาแฟหลายๆ ร้านในเชียงใหม่ เมืองที่ว่ากันว่าเป็นสมรภูมิของร้านกาแฟ เพื่อหาพาร์ตเนอร์มาร่วมงานด้านกาแฟ และสองล้อก็พาเขามาพบกับ Art Farmer Cafe ร้านกาแฟย่านกำแพงดิน หลังจากแวะเวียนเข้าไปหน้าร้านถึง 3 รอบ จึงได้นัดเจอเพื่อจะคุยกันเรื่องทำความฝันของร้านกาแฟให้กลายเป็นจริง

“ตอนนั้นทำร้านใหญ่มาก หลายคนบอกว่าคนเชียงใหม่ไม่เข้าร้านแบบนี้หรอก เครียดหนักเลยทีนี้ แต่พอได้มีโอกาสพาลูกไปแคนาดา ได้ตระเวนดูคาเฟ่ที่นั่นก็เหมือนเป็นแรงฮึดกลับมาอีกทีหนึ่งว่า เมืองนอกเขาจัดหนัก มาตรฐานทั้งหมด เลยกลับมาสู้ต่อ แล้วก็ชวนตาม (ร้าน Art Farmer Cafe) มาลุยด้วยกันไหม มาสู้ไปด้วยกัน”


ส่วนเส้นทางของตามสู่การมาทำร้านกาแฟ มาจากการตั้งข้อสงสัยกับสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งแต่เริ่มต้นที่พี่น้องชาติพันธุ์ชวนขึ้นไปดูพื้นที่ปลูกกาแฟเมื่อ 12 ปีก่อน สมัยที่กาแฟยังเป็นพืชสลับปลูกตามฤดูกาลของชาวบ้าน คำถามมากมายเกิดขึ้นตั้งแต่เรื่องกระบวนการแปรรูป การจำหน่าย การเก็บรักษา จะทางไหนก็พบแต่กับปัจจัยที่ทำให้ราคาผลิตภัณฑ์ต่ำลงกว่าที่ควรจะเป็น

การคลายข้อสงสัยด้วยการลงมือทำจึงกลายเป็นคำตอบสำหรับเขา นั่นทำให้ตามเริ่มทำงานกับกาแฟแบบจริงจังมากขึ้น เริ่มจากการลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง จนได้พบกับโรงคั่วกาแฟมดแดงไฟซึ่งเป็นเหมือนกับครูคนแรก ช่วงนั้นคือเวลาเดียวกันกับที่คำว่า Specialty Coffee หรือกาแฟพิเศษ กำลังเริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศไทย

หลังจากผ่านประสบการณ์เชี่ยวกรำในเส้นทางสายกาแฟจนกระทั่งเปิดโรงคั่วเล็กๆ เป็นของตัวเอง พร้อมกันกับการเป็นที่ปรึกษาให้กับร้านกาแฟหลายร้านทั้งในเรื่องการบริหารจัดการร้านและผลิตภัณฑ์กาแฟ นำมาสู่การร่วมกันเปิดร้านกาแฟแห่งนี้กับรุ่นน้องหลังจากทำงานหลังบ้านสายกาแฟมาเกือบสิบปี


“ตอนเริ่มทำร้านกาแฟ เราไม่อยากไปที่นิมมานแล้ว เพราะเราอยากเป็นคนเคลื่อนเมืองมากกว่าที่เมืองจะเคลื่อนคนเข้าไปกระจุกอยู่ เราเลยเลือกทำเลนั้น เพราะแต่เดิมกำแพงดินถูกนิยามเรื่องทางเพศอยู่ตลอดเวลา เราเข้าไปที่นั่นในฐานะที่ต้องการกระจายความเป็นเมืองร่วมสมัยให้กับพื้นที่ตรงนั้น เรามีเป้าหมายที่อยากจะทำให้พื้นที่ตรงนั้นเติบโตในทิศทางที่ดีขึ้นด้วย”

การโคจรมาพบกันของสองหัวเรี่ยวหัวแรงของความคิดจากคนละศาสตร์ นำมาสู่การสร้างพื้นที่แห่งความสุข หรือ Where You Find Happiness ด้วยร้านบรรยากาศอบอุ่นเป็นกันเองที่อยากให้คนเข้ามาแบบสบาย ไม่รู้สึกเกร็ง จากความถนัดในการทำงานด้านวัสดุและสถาปัตยกรรมมารวมกับกาแฟคุณภาพดี เบื้องหลังความชื่นใจจากฟีดแบ็กของลูกค้าเหล่านี้มาจากความสุดที่ใส่ในทุกรายละเอียดของงาน


“ตอนทำที่นี่ต้องไปให้สุด กล้าที่จะต่าง ทำไปแล้วต้องสุดนะ ให้ได้ที่สุดของเรา”




Text:

Nathanich C.

Nathanich C.

PHOTO:

Peeradech K.

Peeradech K.

Related Posts