Uranus 2324 : Sapphism สู่ Girl's Love จากมรดกกรีกโบราณสู่หญิงรักหญิงไซไฟ

Uranus 2324 : Sapphism สู่ Girl's Love จากมรดกกรีกโบราณสู่หญิงรักหญิงไซไฟ

2 ส.ค. 2567

SHARE WITH:

2 ส.ค. 2567

2 ส.ค. 2567

SHARE WITH:

SHARE WITH:

Uranus 2324 : Sapphism สู่ Girl's Love จากมรดกกรีกโบราณสู่หญิงรักหญิงไซไฟ

"Uranus 2324 (2024) ภาพยนตร์โรแมนติกอวกาศที่ถ่ายทอดความรักระหว่างผู้หญิงถึงผู้หญิงเรื่องแรกของเอเชีย "

"บทความชุด “Mek◊ng Sci-Fi ไซไฟลุ่มน้ำโขง” เขียนโดย บิลลี่ วรกร ฤทัยวาณิชกุล เผยแพร่เป็นภาษาไทย
TheMissionTH.co และภาษาอังกฤษ billyvorr.com ภายใต้โครงการสนับสนุนของ 2024 ArtsEquator Fellowship ข้อเขียนและบทวิจารณ์ที่นำเสนอเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนทั้งสิ้น"

* Please scroll down for English version*



Uranus 2324 (2024) ภาพยนตร์โรแมนติกอวกาศที่ถ่ายทอดความรักระหว่างผู้หญิงถึงผู้หญิงเรื่องแรกของเอเชีย, หรืออาจจะเป็นของโลก ได้จัดฉายรอบปฐมทัศน์โลกที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2024 ที่ผ่านมา เชื่อไหมครับ น้ำตาผมไหลอาบแก้มตั้งแต่ฉากแรก,

“หนังดีมาก?,” คุณถาม — เปล่าครับ แต่อย่าพึ่งเลื่อนหนีกันไปก่อน ผมจะอธิบายให้ฟัง

ในชีวิตนี้ผมไม่คิดว่าจะได้เห็นภาพยนตร์ไซไฟ Girl's Love งบ 75 ล้านบาทถูกผลิตขึ้นมาได้ในประเทศบ้านเกิดของตัวเอง และ 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็เป็นสเกลงานสร้างที่ไม่ได้เล็กเลยในระดับโลก บริบทที่เอื้อให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยมาถึงจุดที่ทำให้ “แฟนตาซี” นี้ได้รับแรงเงินและแรงงาน ทุ่มเททรัพยากรต่างๆจนเกิดขึ้นได้ ทำให้ผมประทับใจมากและมองว่านี่คือ “ปรากฎการณ์” ที่น่าจับตามอง เมื่อพิจารณาถึงธรรมชาติของทุนนิยม นักลงทุนมักทำทุกอย่างที่จะลด “ความเสี่ยง” ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในการลงทุนแต่ละครั้ง เพื่อให้เงินที่ลงไปไม่สูญเปล่า เว่าซื่อๆก็คือ นักลงทุนต้องมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่กำลังผลิตนี้จะขายได้ ?

“แล้วตลาดสำหรับหนังหญิงรักหญิงอวกาศ ในประเทศไทยมันใหญ่ขนาดนั้นเลยเหรอ? คุณถามอีกละ —ใช่ครับ — และไม่ใช่แค่ในประเทศไทยด้วย ภาพยนตร์เรื่องนี้เกิดขึ้นได้เพราะแฟนคลับทั่วโลกของนักแสดงนำทั้งสอง หรือหากจะพูดให้ชัดกว่านั้นก็คือ ”เงิน” ของพวกเธอ "


”Sapphism” คือชุมชนนานาชาติที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง พวกเธอนิยามตนเองตามชื่อของกวีหญิงแห่งกรีกโบราณ Sappho แห่งเกาะ Lesbos ผู้จารึกความรักของผู้หญิงถึงผู้หญิง — จนเป็นที่มาของคำว่า “lesbian”

ชุมชน Sapphism สานต่อมรดกจากกระแสธารแห่งวัฒนธรรมที่สั่งสมมาหลายพันปี เปิดศักราชใหม่แห่งพลังหญิงที่สร้างแรงกระเพื่อมแก่สังคมในระดับข้ามชาติ "Girl's Love (GL)" — คลื่นลูกใหม่ที่กำลังซัดถล่มประเทศไทยและอีกหลายประเทศอย่างไม่ทันรู้ตัว เป็นการนำเสนอทางเลือกใหม่แห่งการขับเคลื่อนทางสังคม สร้างระบบเศรษฐกิจของผู้หญิงเพื่อผู้หญิง ด้วยการสนับสนุนนักแสดงหญิง ผสมผสานวัฒนธรรมย่อยของมังงะ "ยูริ(Yuri)" จากญี่ปุ่น เข้ากับโมเดลธุรกิจไอดอลเกาหลี สร้างสรรค์แนวเรื่องที่มีตัวเอกเป็นผู้หญิงทั้งหมด กระแสนี้กำลังได้รับความนิยมในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ท้าทายความเป็นใหญ่ของคอนเทนต์ Boy's Love (BL) ที่ครองตลาดมานานหลายปี



BL ซึ่งมีรากฐานมาจากวัฒนธรรมย่อยมังงะ "ยาโอย(Yaoi)" ของญี่ปุ่นและโมเดลธุรกิจไอดอลของเกาหลี มักนำเสนอความรักระหว่างชาย-ชายในอุดมคติที่คนในชุมชน LGBTQ+ หลายคนมองว่าไม่สมจริง ทั้งนี้เพราะมังงะยาโอยแต่เดิมไม่ได้สร้างมาเพื่อชายรักชาย แต่ถูกสร้างขึ้น "เพื่อผู้หญิง โดยผู้หญิง" มากกว่าจะเป็นการนำเสนอภาพความรักของคนรักเพศเดียวกันอย่างแท้จริง เป็นเสมือนโอเอซิสให้พวกเธอได้หลีกหนีจากโลกแห่งความจริงของสังคมชายเป็นใหญ่ ที่เต็มไปด้วย "ชายแท้" นั่นเอง
ในประเทศไทย เกิดวัฒนธรรมย่อยที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้นมา นั่นคือ "สาววาย" โดยคำว่า "Y" ในบริบทนี้มีความหมายสองนัย กล่าวคือ หมายถึงผู้หญิงที่เป็นแฟนคลับของคอนเทนต์ "ยาโอย" และ BL (ความสัมพันธ์ชาย-ชาย) ในขณะเดียวกันก็ยังหมายถึง "ยูริ" ซึ่งเป็นคู่ตรงข้ามของ BL ที่นำเสนอความสัมพันธ์แบบหญิง-หญิง สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจที่เพิ่มขึ้นในเนื้อหาแบบ sapphic

ปรากฏการณ์ "สาววาย" นี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่ลื่นไหลและเปิดกว้างของวัฒนธรรมแฟนคลับในประเทศไทย ที่ผู้ชมชื่นชอบทั้งเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างชาย-ชายและหญิง-หญิงในสื่อบันเทิง การเติบโตของคอนเทนต์ Girl's Love ควบคู่ไปกับ BL ที่มีอยู่เดิม แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายในการเล่าเรื่องและการนำเสนอตัวละครในวัฒนธรรมป๊อปของไทย ที่ตอบสนองต่อความชอบและอัตลักษณ์ที่หลากหลายของผู้ชม

แฮชแท็ก #FreenBecky เป็นชื่อที่แฟนๆ ใช้เรียกคู่ไอดอลและนักแสดงชาวไทย ฟรีน สโรชา จันทร์กิมฮะ และ เบ็คกี้ รีเบคก้า แพทริเซีย อาร์มสตรอง นักแสดงคู่จิ้นหญิงที่สร้างปรากฏการณ์ด้วยการเดบิวต์ด้วยซีรีส์ “ทฤษฎีสีชมพู” ที่ฮิตถล่มถลาย จนยอดวิวบน YouTube พุ่งทะลุ 756.6 ล้านวิวไปเมื่อไม่นานมานี้ เปล่งประกายเป็นดาราในช่วงเวลาไม่นาน



ณ เดือนกรกฎาคม 2024 ทั้งฟรีนและเบคกี้ได้ก้าวขึ้นมาเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงในวงการบันเทิงนานาชาติ ด้วยยอดผู้ติดตามบน Instagram ทะลุ 4 ล้านคน ทั้งคู่ไม่ได้โด่งดังแค่ในไทยเท่านั้น แต่ยังมีแฟนคลับติดตามทั่วเอเชียรวมถึงในโลกตะวันตกอีกด้วย โดยเฉพาะในฟิลิปปินส์ เวียดนาม สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไปจนถึงอเมริกา ด้วยความสำเร็จนี้เอง #FreenBecky ได้เดินหน้ากรีฑาทัพจัดแฟนมีตติ้งทั่วทั้งเอเชีย และเร็วๆ นี้ที่อเมริกา เคมีที่ลงตัวส่งผลให้พวกเธอได้รับรางวัลบันเทิงในประเทศหลายรางวัล รวมถึง “ขวัญใจมหาชน” และ “คู่จิ้นแห่งปี” จาก Nine Entertain Awards 2023-2024 และ “Couple of The Year” จาก KAZZ Awards 2023-2024 พวกเธอทั้งคู่ยังได้รับเชิญไปยัง Cannes Film Festival 2024 และร่วมงานกาล่า “ผู้หญิงในภาพยนตร์” ของเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ Red Sea แห่งซาอุดีอาระเบีย โดยมี “ฟรีน” เป็นหนึ่งในผู้ร่วมวงเสวนาบนเวทีอีกด้วย

"ตามรายงานของ Lefty.io และบัญชี X ของ Vogue Business การไปร่วมเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ของพวกเธอนั้นปิดฉากลงอย่างสวยงาม เบคกี้สร้างปรากฏการณ์มูลค่าสื่อ (EMV) ให้แก่ Balenciaga เป็นอันดับหนึ่งจากอินฟลูเอนเซอร์ทั้งหมดที่แบรนด์เชิญไป ด้วยมูลค่าถึง $4.7M หรือราว 170 ล้านบาท คิดเป็น 75% ของมูลค่าสื่อทั้งแบรนด์ จากการโพสต์เพียง 3 ครั้ง ขณะที่ฟรีนสร้างมูลค่าให้แบรนด์ Ferragamo และ Chopard ได้ถึง $3.6M หรือประมาณ 130 ล้านบาท "




ความนิยมและแรงสนับสนุนที่พวกเธอสั่งสมมานี้ เปิดโอกาสให้ทั้งคู่ได้ร่วมงานในโปรเจกต์ที่ท้าทายยิ่งขึ้น รวมถึงการรับบทนำใน "Uranus 2324” สร้างขึ้นโดยความร่วมมือของภาคเอกชนไทย บริษัท เวลเคิร์ฟ จำกัด, บริษัท จีเอ็ม เจเนอเรทส์ จำกัด และ บริษัท ตาชำนิ จำกัด (มหาชน) โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ผ่านงบประมาณสำหรับสร้างภาพยนตร์เพื่อส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทย ประจำปี 2567 กำกับโดย ธนดล นวลสุทธิ์ เขียนบทโดย ฐิติพงศ์ ใช้สติ และ ณัฐ นวลแพง โดยมี คีตะวัฒน์ ชินโคตร เป็นผู้อำนวยการสร้างฝ่ายบริหาร บอกเล่าเรื่องราวโศกนาฏกรรมความรักข้ามมิติของ “ลิน” และ “แคท” ที่แม้จะรักกันเพียงไรแต่โชคชะตาก็ยังให้พวกเธอพานพบแต่อุปสรรคอยู่ร่ำไป ไม่ว่าจะเป็นบนบก ใต้น้ำ ในอวกาศ กี่ภพชาติ กี่มิติคู่ขนาน หรือกี่มัลติเวิร์สก็ตาม

"ก่อนอื่น ผมขอแสดงความยินดีกับทุกท่านที่ทำให้หนังเรื่องนี้เป็นจริงขึ้นมาได้ กระบวนการถ่ายทำนั้นคงถึงขั้นโหดหินทีเดียว ในฐานะนักทำหนังด้วยกัน ผมขอชื่นชมผู้กำกับ นักแสดง ทีมงานทุกท่าน รวมถึง Spaceth.co ที่ปรึกษาด้านอวกาศ สตูดิโอ และนักลงทุน ที่ทำให้โปรเจคนี้สำเร็จลุล่วง พวกคุณกำลังผลักดันประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยไปสู่อีกระดับหนึ่ง เป็นเรื่องจริง ที่น้ำตาของผมไหลด้วยความตื้นตันตั้งแต่ฉากเปิดเรื่อง ด้วยสเกลโปรดักชั่นที่ผมไม่เคยคาดว่าจะได้เห็นในภาพยนตร์เควียร์ไทย และผมยังขอชื่นชมหนังเรื่องนี้ที่ยกระดับการนำเสนอภาพของหญิงไทย การที่เด็กหญิงคนหนึ่งได้เห็นตัวละครที่เป็นหญิงไทย และเป็นนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ นักบินอวกาศ (หรือนักดำน้ำฟรีไดฟ์!) อย่างตัวละครนำในเรื่อง ย่อมทำให้เธอได้เห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ เป็นแรงบันดาลใจให้เธอได้ทำตามความฝันอะไรก็ตามที่พวกเธอมี การนำเสนอบทบาทของผู้หญิงไทยที่มีความหลากหลายไปจากสื่อกระแสหลักนี้ สามารถสร้างความประทับใจให้กับเด็กหญิงไทยรุ่นต่อไปที่มีโอกาสได้ชมภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างแน่นอน"



เนื่องจากภาพยนตร์เรื่องนี้วางตำแหน่งตัวเองในตลาดเป็นหนังรัก ผมจึงไม่ได้คาดหวังว่ามันจะต้องซับซ้อนหรือเน้นเนื้อหาเชิงปรัชญา เส้นเรื่องหลักเป็นการต่อสู้กับอุปสรรครักในทุกกาลอวกาศ เพื่อให้คู่แท้ ได้กลับมาคู่กัน ครึ่งแรกของเรื่องสำหรับผมถือว่าโอเค เคมีของฟรีนและเบ็คกี้คือดี ซึ่งก็ชัดเจนว่านั่นคือเหตุผลที่พวกเธอประสบความสำเร็จระดับนี้ได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่ปี ผมซึ่งไม่เคยดูผลงานชิ้นอื่นของทั้งสองมาก่อน ก็รู้สึกเพลิดเพลินที่ได้เห็นพวกเธอใช้เวลาร่วมกันและหวังอย่างจริงใจว่าจะมีผลงานภาพยนตร์เรื่องอื่นๆตามมาอีกในอนาคต

เมื่อเรื่องราวดำเนินจนถึงกลางเรื่องเป็นต้นไป ภาพยนตร์มีความทะเยอทะยานที่จะสำรวจประเด็นที่ซับซ้อน แต่ก็ประสบปัญหาในการเล่าเรื่อง จากเหตุการณ์พายุสุริยะที่ทำให้จักรวาลคู่ขนานเกิดสับสน กาลอวกาศเกี่ยวกระหวัดพัวพันกันอีรุงตุงนัง อดีต ปัจจุบัน และอนาคตซ้อนทับกัน จนทุกอย่างที่อยู่ต่างมิติเวลาเหมือนจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กันในขณะเดียว การดิ้นรนเพื่อที่จะอยู่ด้วยกันของพวกเธอทวีความรุนแรงขึ้นถึงระดับเหนือธรรมชาติ การปูเรื่องมาทางนี้น่าจะกระตุ้นความคิดของเราเกี่ยวกับคำถามเชิงปรัชญาเกี่ยวกับคู่แท้และความหมายของชีวิต แต่ตัวหนังเหมือนจะโดนเหล่าเทห์ฟากฟ้า ที่บินมาพร้อมพายุสุริยะ ซัดจนเสียทิศเสียทางหลงไปในอวกาศอันเวิ้งว้างและหาทางกลับมาไม่ได้อย่างที่ควรจะเป็น เรื่องราวต่างๆในมิติคู่ขนานยังไม่สามารถสอดประสานจนนำคนดูไปถึงจุดพีคได้ในทางใดทางหนึ่ง แก่นแกนของเรื่องราวและอารมณ์ร่วมที่ควรจะเกิดขึ้นในฐานะคนดู กลับไม่ถูกปลุกขึ้น

แม้จะมีศักยภาพในการสร้างกระแสเปิดตัวจากฐานแฟนทั่วโลกของ #FreenBecky และความสนใจที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกในเรื่องราวที่นำเสนอความหลากหลายทางเพศ แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ไม่ได้ก้าวไปไกลกว่าการพูดถึงมิติทางเพศและประเด็นทางสังคมในระดับที่ผิวเผิน ฉากแฟนเซอร์วิสที่มากเกินจำเป็น กลับทำให้ประสบการณ์การชมจืดชืด ภาพยนตร์เรื่องนี้ จึงล้มเหลวในการร่ายมนต์สะกดให้คนนอกฐานแฟนเดิมตกอยู่ในภวังค์




พูดถึงความรักชาติกัน ผมเชื่อว่าความรักชาติเป็นสิ่งที่หากมีและแสดงออกในปริมาณที่พอเหมาะ ย่อมเป็นสิ่งที่ดี เรากำลังอยู่ในโลกที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งต้องมีปฏิสัมพันธ์ ร่วมมือ และทำการค้า (บางครั้งก็ขัดแย้ง) กับประเทศอื่นอย่างต่อเนื่อง เป็นเรื่องฉลาดที่เราจะรู้ว่าเรามี "ทุน" อะไร และจะนำเสนอมันสู่ประชาคมนานาชาติอย่างไร

ภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนบางส่วนจากกระทรวงวัฒนธรรม นำเสนอประเทศไทย (หรือพูดให้เฉพาะเจาะจงคือ “บริษัทไทย”) ในฐานะพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ขององค์การนาซาในภารกิจสถานีอวกาศ Lunar Gateway แสดงถึงศักยภาพทางเทคโนโลยีทางอวกาศ เป็นผู้จัดหาอาหารคุณภาพสูงสำหรับภารกิจอวกาศ ครัวไทยสู่ครัวอวกาศ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็น่าเสียดายที่การนำเสนอ “สินค้าไทย” ในภาพยนตร์ กลับกลายเป็นการโฆษณาอย่างฮาร์ดเซลส์เสียมากกว่า ไม่ว่าจะเป็น “บริษัทไทย” หรือ “รัฐไทย” ก็ตาม

การไท-อินอย่างโจ๋งครึ่มและไม่บันยะบันยังกลับไปเบียดบังหัวใจของการเล่าเรื่อง ซึ่งควรจะถูกให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวที่มีรายละเอียดอันสลับซับซ้อนจากเส้นเรื่องหลากมิติและเวลา ไหนจะต้องถ่ายทอดความละเมียดทางอารมณ์ให้สมบูรณ์ เนื่องจากหนังเรื่องนี้ถูกออกแบบมาเพื่อชมในโรงภาพยนตร์ที่เป็นพื้นที่ปิด ระบบเสียง 360 องศา และจอสูงเท่าบ้าน เจ้าของสินค้าควรเข้าใจว่าประสบการณ์การชมในโรงภาพยนตร์นั้นแตกต่างจากการรับชมบนหน้าจอขนาดเล็กบนมือถือหรือโทรทัศน์ที่อาจจะดูไปทำอย่างอื่นไป การนำเสนอผลิตภัณฑ์อย่างตรงไปตรงมาทำให้คนดูรู้สึกเหมือนถูกยัดเยียด อาจส่งผลเสียและส่งผลกระทบในแง่ลบมากกว่าผลดี และการนำเสนอผลิตภัณฑ์อย่างแนบเนียนมักสร้างผลกระทบทางจิตวิทยาที่ดีกว่า


"อย่าเข้าใจผมผิดนะครับ ผมไม่ได้เขียนสิ่งนี้เพื่อโจมตีใคร ผมเข้าใจว่าเราทุกคนต่างล้วนต้องอาศัยอยู่ในระบบทุนนิยม การหาเงินทุนและการหาสปอนเซอร์นั้นเป็นพื้นฐานสำหรับการหาทุนสร้างในทุกโครงการ อย่างไรก็ตาม หากทำอย่างไม่ได้สัดส่วน มันจะทำให้เรื่องราวเจือจางลงและขโมยเสน่ห์ที่ภาพยนตร์ควรมีไปอย่างน่าเสียดาย"


ความรักชาติล้นเอ่อท่วมทั่วจากอนาคตถึงอดีต ซึ่งนำเสนอสถานการณ์สมมติที่ฝ่ายอักษะเป็นฝ่ายชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อตัวเอกซึ่งเป็นสมาชิกของ "ขบวนการเสรีไทย" (ฝ่ายสัมพันธมิตร) เผชิญกับความท้าทายเมื่อได้ยินเสียงเพื่อนร่วมชาติแสดงความคลางแคลงใจกี่ยวกับอนาคตของประเทศไทย (ซึ่งเพิ่งเปลี่ยนชื่อจากสยามมาหมาดๆ) ในช่วงที่ญี่ปุ่นกำลังกำลังรุกรานประเทศ ตัวเอกคนหนึ่งอดรนทนไม่ไหว ลั่นออกมากลางร้านข้าวว่า "ไม่ว่าจะเป็นมิติไหน ประเทศไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร!" "กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด!" ผมกรีดร้องในใจ ไม่รู้ว่าควรจะตอบสนองต่อโมเมนต์นี้อย่างไรดี ก็ไม่ผิดหรอกที่ตัวละครจะคิดแบบนี้ พูดแบบนี้ แต่หนังก็นำเสนอสิ่งนี้แบบตรงไปตรงมามาก ความคิดผุดขึ้นมาเมื่อนึกถึงมุมมองของไทยในกรอบของแนวคิดหลังอาณานิคมและความภาคภูมิใจในการเป็น “ประเทศที่ไม่เคยถูกล่าอาณานิคม” อย่างไรก็ตาม ผมดูภาพยนตร์ต่อไปจนจบและ เป็นประจักษ์พยานแห่งการดิ้นรนผ่านฉากอุปสรรคต่างชาติภพและกาลอวกาศอีกหนึ่งคำรบก่อนภาพยนตร์เรื่องนี้จะแลนด์ดิ้งในที่สุด ด้วยสิริเวลารวม 2 ชม. 10 นาที

ในภาพรวม ผมประทับใจที่ผู้กำกับมีความทะเยอทะยานที่เลือกนำเสนอเรื่องราวที่ท้าทายและถ่ายทอดได้ยากเหล่านี้ เลข 2324 ในชื่อเรื่อง Uranus 2324 นั้นแท้จริงแล้วคือปีพุทธศักราชที่ดาวยูเรนัสถูกจัดให้เป็นดาวเคราะห์ (ค.ศ. 1781) ความจริงที่ว่าปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่ยังใช้พุทธศักราชเป็นปฎิทินราชการ ก็ยิ่งกระตุ้นความคิดไปอีก ว่าหากเทียบกับประเทศที่ใช้ปี ค.ศ.—เวลาของเราห่างกัน 543 ปี—ยูเรนัสในภาพยนตร์เรื่องนี้ อุปมาดั่งความรักอันไม่สมหวังของสองนางเอก ยูเรนัสนั้นเปี่ยมความหมาย เพราะมันเป็นสิ่งที่ไม่มีวันไปถึง เป็นได้เพียงวัตถุแห่งปราถนา เป็นแฟนตาซี นั่นก็เพราะมันอยู่ห่างไกลจากโลกหลายล้านปีแสง ถ้าเราเป็นโลก เราแต่ละคนต่างก็มียูเรนัสของตัวเอง และนั่นก็คือจุดหมายที่หนังเรื่องนี้บอกเราว่า “ไปต่อสิ แม้ว่ามันจะดูเป็นไปไม่ได้แค่ไหนก็ตาม” ผมคิดว่าแนวคิดนี้ก็สอดคล้องกับเรื่องราวดี อย่างไรก็ตาม ตัวหนังยังต้องการการเล่าเรื่องด้วยภาษาหนังที่เอาอยู่มากกว่านี้เพื่อถ่ายทอดความคิดนี้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น



"แม้จะมีความท้าทาย แต่ Uranus 2324 ก็ประสบความสำเร็จในการขายสิทธิ์จัดจำหน่ายไปแล้วกว่า 27 ประเทศทั่วโลก ความสำเร็จในระดับนานาชาตินี้แสดงให้เห็นถึงความสนใจที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกต่อเรื่องราวเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางเพศที่หลากหลาย และคอนเทนท์ไทยคลื่นลูกใหม่ ขณะที่การฉายในประเทศไทยมาแล้วหนึ่งเดือน สร้างรายได้ 8.6 ล้านบาท จากทุนสร้าง 70 ล้านบาท แม้ว่าตัวเลขนี้ยังดูต้องเอาใจช่วยอีกมาก แต่บททดสอบที่แท้จริงอยู่ที่ผลตอบรับในระดับนานาชาติ ผมหวังอย่างจริงใจว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะประสบความสำเร็จทางการเงิน ไม่เพียงเพื่อตัวหนังเอง แต่เพราะมันเป็นก้าวสำคัญ การสร้างภาพยนตร์ไซไฟ LGBTQ+"

ด้วยทุนสร้างระดับนี้ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญ และความสำเร็จของมันจะสามารถเปิดทางให้กับภาพยนตร์ไทยที่หลากหลายและทะเยอทะยานมากขึ้นในอนาคต มาดูกันว่า Uranus 2324 จะสามารถดึงดูดผู้ชมทั่วโลกและพิสูจน์ตัวเองในตลาดโลกได้หรือไม่ ถึงแฟนๆ ของ #FreenBecky ทั่วโลก สุดท้ายแล้ว สิ่งที่นักลงทุนสนใจที่สุดก็คืออำนาจเงินของพวกคุณ ดังนั้น ผมขอให้คุณเรียกร้องให้มากขึ้น โปรเจกต์นี้มีความทะเยอทะยานที่จะสร้างหนังไซไฟไฮคอนเซ็ปท์ แต่การเล่าเรื่องยังไปไม่สุด ขอให้เหล่าแฟนจงเปย์ต่อไป จ่ายต่อไป ใช้พลังของคุณผลักดันให้ผู้สร้าง ผลิตผลงานที่มีศักยภาพ ที่จะพา #FreenBecky ไปเดินพรมแดงที่เทศกาลหนังเมืองคานส์ไม่ใช่ในฐานะดารา แต่เป็นนักแสดงของภาพยนตร์ที่ได้รับเชิญเข้าประกวดในเทศกาล พวกคุณมีพลังที่จะกำหนดอนาคตของหนัง Sapphic และผลักดันคลื่นลูกนี้ไปสู่หมุดหมายใหม่

“Who runs the world?”—“Girls!”—และอำนาจนั้น อยู่ในมือคุณ!


" Uranus 2324: Sapphism to Girl’s Love—From Ancient Greek Heritage to Lesbian Sci-Fi "



On July 4, 2024, Uranus 2324 (2024), Asia’s first “Girl’s Love” space romance, had its premiere in Bangkok, Thailand. Truth be told, tears have streamed down my cheeks since the first scene. “It’s that good?” You ask. Well, wrong. But listen, I have a good reason.

In my lifetime, I never thought about the possibility of a $2 million Girl’s Love sci-fi film being produced in my homeland. The fact that Thailand’s screen industry allows this fantasy to come true struck me. Considering its capitalistic nature, investors always do everything to eliminate as much risk as possible. In other words, they need to know how the product will sell. This means there is a market for this Girl’s Love space romance film. “In Thailand?” you ask again. Thailand, and beyond. The film was made possible by the global fans of the two lead actresses, #FreenBeck, and, more precisely, their purchasing power.


THE GROWING INTERNATIONAL “SAPPHISM” COMMUNITY CELEBRATES LOVE BETWEEN WOMEN, DRAWING INSPIRATION FROM THE ANCIENT GREEK POET SAPPHO OF LESBOS, WHO WROTE ABOUT LOVE FOR OTHER WOMEN AND IS THE ORIGIN OF THE WORD “LESBIAN.”


This sapphic economy presents an alternative model for female empowerment, exemplified by Thailand’s emerging “Girl’s Love” wave. Girl’s Love combines elements of the Japanese “Yuri” manga subculture with K-idol business models, creating a genre featuring all-female protagonists. This trend is gaining popularity in Thailand and beyond, challenging the long-standing dominance of Boy’s Love (BL) content. BL, which originated from Japan’s “Yaoi” manga subculture and Korea’s idol business model, often portrays idealized same-sex male romances that many queer individuals find unrealistic. This is because Yaoi manga was originally created by and for women, offering an escape from patriarchal realities rather than authentic queer representation.

In Thailand, a unique subculture has emerged known as “Y Girl.” The “Y” in this context has a dual meaning. It represents girls who are fans of “Yaoi” and BL content (boy-boy relationships); at the same time, it also stands for “Yuri,” the girl-girl counterpart to BL, reflecting the growing interest in sapphic content. This “Y Girl” phenomenon illustrates the fluid and inclusive nature of fandom in Thailand, where audiences appreciate both male-male and female-female relationship narratives in media. The rise of Girl’s Love content alongside the established BL genre demonstrates a diversification of storytelling and representation in Thai popular culture, catering to a wide range of preferences and identities.

#FREENBECKY REFERS TO THAI ACTRESSES SAROCHA ‘FREEN’ CHANKIMHA AND REBECCA ‘BECKY’ PATRICIA ARMSTRONG, WHO FREQUENTLY PORTRAY COUPLES IN VARIOUS WORKS. THEIR 2022 DEBUT, “GAP: THE SERIES,” GARNERED OVER 756.6 MILLION YOUTUBE VIEWS. CATAPULTING THEM TO STARDOM.



As of July 2024, both artists command impressive social media influence, each boasting over 4 million Instagram followers. Their fanbase, while primarily Thai, extends across Asia and into the West, with significant followings in the Philippines, Vietnam, Singapore, China, Japan, South Korea, and the US. Building on this success, #FreenBecky embarked on a series of fan meetings across Asia, with US events planned. Their on-screen chemistry has earned them several domestic entertainment awards, including accolades from the Nine Entertain Awards and KAZZ Awards 2023-2024. Their rising profile led to invitations to the 2024 Cannes Film Festival and Saudi Arabia’s Red Sea International Film Festival’s “Women in Cinema” event. Their Cannes debut proved remarkably lucrative: according to Lefty.io and Vogue Business, Rebecca generated $4.7 million in earned media value (EMV) for Balenciaga (75% of the brand’s total EMV), while Freen produced $3.6 million for Ferragamo and Chopard combined. This growing fame has paved the way for more ambitious projects, such as their starring roles in “Uranus 2324.”

“Uranus 2324” is a collaborative project between Thai companies VelCurve Studio, GM Generates, and C EYE (Public Company). It’s one of four films awarded a 2024 government grant to support the Thai Soft Power Policy. Directed by Thanadol Nualsuth and written by Thitipong Chaisati and Nut Nualpang, with Keetawat Chinnakote as executive producer, the film narrates the multiverse love tragedy of “Lin” and “Kath” as they overcome various challenges to reunite across different realms—on the ground, underwater, in space, and in parallel universes.


“Uranus 2324” is a collaborative project between Thai companies VelCurve Studio, GM Generates, and C EYE (Public Company). It’s one of four films awarded a 2024 government grant to support the Thai Soft Power Policy. Directed by Thanadol Nualsuth and written by Thitipong Chaisati and Nut Nualpang, with Keetawat Chinnakote as executive producer, the film narrates the multiverse love tragedy of “Lin” and “Kath” as they overcome various challenges to reunite across different realms—on the ground, underwater, in space, and in parallel universes.

As a fellow filmmaker, I want to congratulate the team for realizing this ambitious project. It’s surely not easy to get done. Kudos to the filmmakers, actors, crews, including Spaceth.co (the space production advisor), studios, and investors for making it through. You’re advancing the history of the Thai film industry to another level. Tears streamed down my cheeks at the opening, which showed promising quality production and delivery I never expected to see in a Thai queer film. I admire this film for contributing to the representation of Thai women and allowing young Thai girls to extend their horizons and imagination. One day, they might become astrophysicists, astronauts, or freedivers! This image will surely inspire the next generation of young girls who have a chance to watch it.

As it markets itself as a romance, I didn’t expect the film to be complicated or philosophical. The story is an inter-spacetime struggle to be with your soulmate. The first half is fine. Freen and Becky have great chemistry, which explains their rapid rise to success. As someone who has never watched their show before, I enjoyed seeing them together and genuinely wish more cinematic projects came their way in the future.

However, as the narrative progresses from the middle toward the end, the film ambitiously explores complex themes but struggles to deliver them succinctly. A solar storm burst muddles the parallel universes, with spacetimes intertwining; the past, present, and future seem to happen all at once, and their struggle to be together intensifies to a supernatural level. This setting is supposed to provoke our thoughts on philosophical questions about soulmates and life. But the film seems to get lost in the universe and never comes back. The parallel stories lack integration to create a sublime climax. The backbone of the narrative—genuine emotion—sadly isn’t evoked.



Despite its potential to leverage Freen Beck’s global fanbase and the growing interest in queer narratives, the film doesn’t reach beyond surface-level appeal. The excessive cuddling scenes without meaning diluted the narrative. This magic fails to spellbind non-fans.

Let’s talk about patriotism. With a healthy dose, I believe it is good. We are living in a globalized world, continuously interacting, cooperating, and doing commerce (oftentimes conflicting) with each other. It’s smart to know what capital we have and how to present it to the international community.

This film, with partial support from Thailand’s Ministry of Culture, features Thailand (or, to be specific, a Thai enterprise) as a strategic partner with NASA in the Lunar Gateway mission; it supplies space-grade food for space missions. Great. Unfortunately, the execution resulted in what feels more like a product showroom for the Thai nation and the Thai enterprise.

The cohesive narrative should be valued as the top priority. As this project is meant to be watched on the big screen, brands should understand that over-featuring products can be counterproductive and affect brand reputation negatively. The cinematic experience is different from watching on smaller screens, and subtlety in product placement often creates a better psychological effect.

Please don’t get me wrong. I am not writing this to attack anyone. I understand that these capitalistic fulfillments—seeking funding and sponsorship—are fundamental for project finance. However, if disproportionate, it dilutes the narrative and steals the magic the cinema should possess.

Patriotism oozes throughout the storyline, from the future to the past, which features a speculative situation where the Axis won World War II. When the protagonists, who are “Free Thai Movement” members (sided with the Allies), face challenges as they overhear their fellow citizens’ doubts about the future of Thailand (freshly renamed from Siam) as the Japanese were overpowering the country, one of the protagonists bursts out, “Regardless of spacetime, Thailand has never been colonized!” “Eeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeek!” I internally screamed, not knowing how to properly react. I think the line is fine, but the execution is so blunt. Thoughts bubble up as I think of Thailand’s perspective within the framework of post-colonialism and its pride in the title of being “a country that was never colonized.” Anyway, I continued with the film through the end and witnessed it struggle through the messy last act before it finally landed.


Overall, I am impressed by the way the filmmakers try to weave these narratives together. The “2324” in the title “Uranus 2324” actually refers to the Buddhist calendar year when Uranus was classified as a planet (1781). The fact that Thailand is the only country using the Buddhist Era as an official calendar makes me realize that we are 543 years apart. In this film, Uranus serves as an analogy for the protagonists’ star-crossed romance. Uranus is significant because it is light-years away from Earth. It represents a fantasy, something unattainable, an object of desire. If we are Earth, each of us has our very own Uranus. It is the destination the film urges us to strive for, no matter how impossible it seems. I think this concept resonates with the story. However, I believe more cinematic devices should be employed in execution to give flesh and blood to the narrative.

Despite its challenges, Uranus 2324 has achieved a significant milestone by securing distribution rights in 27 countries across various regions. This international reach demonstrates the growing global interest in queer narratives and Thai content. As the film enters a month of domestic screening, it has grossed $241K against its $2M budget. While these initial figures may seem modest, the true test lies in its international performance. I sincerely hope this film succeeds, not just for its own sake, but because it represents a crucial step forward. The realization of a queer sci-fi film at this scale is a landmark event, and its success could pave the way for more diverse and ambitious projects in the future. Let’s wait and see if Uranus 2324 can captivate audiences worldwide and prove that there’s a viable market for the next project.


#FreenBecky fans, ultimately, what the investors care about is your purchasing power. So, I’m urging you to demand more. The ambition for this high-concept sci-fi is there, but the execution is not. Don’t just settle for projects that feature your idols as product ambassadors. Instead, demand films that could see #FreenBecky walking the red carpet at the Cannes Film Festival—not just as celebrities but as actresses of films in competition. You have the power to shape the future of Sapphic cinema and push it to new heights of artistic achievement.

“Who runs the world?”—“Girls!”—And the power is in your hands.

This essay is the first in the “Mek◊ng Sci-Fi” series by Vorakorn “Billy” Ruetaivanichkul. It is published in English (billyvorr.com) and Thai (TheMissionTH.co) and was completed as part of the 2024 ArtsEquator Fellowship. The views expressed are solely those of the author.



"Uranus 2324 (2024) ภาพยนตร์โรแมนติกอวกาศที่ถ่ายทอดความรักระหว่างผู้หญิงถึงผู้หญิงเรื่องแรกของเอเชีย "

"บทความชุด “Mek◊ng Sci-Fi ไซไฟลุ่มน้ำโขง” เขียนโดย บิลลี่ วรกร ฤทัยวาณิชกุล เผยแพร่เป็นภาษาไทย
TheMissionTH.co และภาษาอังกฤษ billyvorr.com ภายใต้โครงการสนับสนุนของ 2024 ArtsEquator Fellowship ข้อเขียนและบทวิจารณ์ที่นำเสนอเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนทั้งสิ้น"

* Please scroll down for English version*



Uranus 2324 (2024) ภาพยนตร์โรแมนติกอวกาศที่ถ่ายทอดความรักระหว่างผู้หญิงถึงผู้หญิงเรื่องแรกของเอเชีย, หรืออาจจะเป็นของโลก ได้จัดฉายรอบปฐมทัศน์โลกที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2024 ที่ผ่านมา เชื่อไหมครับ น้ำตาผมไหลอาบแก้มตั้งแต่ฉากแรก,

“หนังดีมาก?,” คุณถาม — เปล่าครับ แต่อย่าพึ่งเลื่อนหนีกันไปก่อน ผมจะอธิบายให้ฟัง

ในชีวิตนี้ผมไม่คิดว่าจะได้เห็นภาพยนตร์ไซไฟ Girl's Love งบ 75 ล้านบาทถูกผลิตขึ้นมาได้ในประเทศบ้านเกิดของตัวเอง และ 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็เป็นสเกลงานสร้างที่ไม่ได้เล็กเลยในระดับโลก บริบทที่เอื้อให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยมาถึงจุดที่ทำให้ “แฟนตาซี” นี้ได้รับแรงเงินและแรงงาน ทุ่มเททรัพยากรต่างๆจนเกิดขึ้นได้ ทำให้ผมประทับใจมากและมองว่านี่คือ “ปรากฎการณ์” ที่น่าจับตามอง เมื่อพิจารณาถึงธรรมชาติของทุนนิยม นักลงทุนมักทำทุกอย่างที่จะลด “ความเสี่ยง” ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในการลงทุนแต่ละครั้ง เพื่อให้เงินที่ลงไปไม่สูญเปล่า เว่าซื่อๆก็คือ นักลงทุนต้องมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่กำลังผลิตนี้จะขายได้ ?

“แล้วตลาดสำหรับหนังหญิงรักหญิงอวกาศ ในประเทศไทยมันใหญ่ขนาดนั้นเลยเหรอ? คุณถามอีกละ —ใช่ครับ — และไม่ใช่แค่ในประเทศไทยด้วย ภาพยนตร์เรื่องนี้เกิดขึ้นได้เพราะแฟนคลับทั่วโลกของนักแสดงนำทั้งสอง หรือหากจะพูดให้ชัดกว่านั้นก็คือ ”เงิน” ของพวกเธอ "


”Sapphism” คือชุมชนนานาชาติที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง พวกเธอนิยามตนเองตามชื่อของกวีหญิงแห่งกรีกโบราณ Sappho แห่งเกาะ Lesbos ผู้จารึกความรักของผู้หญิงถึงผู้หญิง — จนเป็นที่มาของคำว่า “lesbian”

ชุมชน Sapphism สานต่อมรดกจากกระแสธารแห่งวัฒนธรรมที่สั่งสมมาหลายพันปี เปิดศักราชใหม่แห่งพลังหญิงที่สร้างแรงกระเพื่อมแก่สังคมในระดับข้ามชาติ "Girl's Love (GL)" — คลื่นลูกใหม่ที่กำลังซัดถล่มประเทศไทยและอีกหลายประเทศอย่างไม่ทันรู้ตัว เป็นการนำเสนอทางเลือกใหม่แห่งการขับเคลื่อนทางสังคม สร้างระบบเศรษฐกิจของผู้หญิงเพื่อผู้หญิง ด้วยการสนับสนุนนักแสดงหญิง ผสมผสานวัฒนธรรมย่อยของมังงะ "ยูริ(Yuri)" จากญี่ปุ่น เข้ากับโมเดลธุรกิจไอดอลเกาหลี สร้างสรรค์แนวเรื่องที่มีตัวเอกเป็นผู้หญิงทั้งหมด กระแสนี้กำลังได้รับความนิยมในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ท้าทายความเป็นใหญ่ของคอนเทนต์ Boy's Love (BL) ที่ครองตลาดมานานหลายปี



BL ซึ่งมีรากฐานมาจากวัฒนธรรมย่อยมังงะ "ยาโอย(Yaoi)" ของญี่ปุ่นและโมเดลธุรกิจไอดอลของเกาหลี มักนำเสนอความรักระหว่างชาย-ชายในอุดมคติที่คนในชุมชน LGBTQ+ หลายคนมองว่าไม่สมจริง ทั้งนี้เพราะมังงะยาโอยแต่เดิมไม่ได้สร้างมาเพื่อชายรักชาย แต่ถูกสร้างขึ้น "เพื่อผู้หญิง โดยผู้หญิง" มากกว่าจะเป็นการนำเสนอภาพความรักของคนรักเพศเดียวกันอย่างแท้จริง เป็นเสมือนโอเอซิสให้พวกเธอได้หลีกหนีจากโลกแห่งความจริงของสังคมชายเป็นใหญ่ ที่เต็มไปด้วย "ชายแท้" นั่นเอง
ในประเทศไทย เกิดวัฒนธรรมย่อยที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้นมา นั่นคือ "สาววาย" โดยคำว่า "Y" ในบริบทนี้มีความหมายสองนัย กล่าวคือ หมายถึงผู้หญิงที่เป็นแฟนคลับของคอนเทนต์ "ยาโอย" และ BL (ความสัมพันธ์ชาย-ชาย) ในขณะเดียวกันก็ยังหมายถึง "ยูริ" ซึ่งเป็นคู่ตรงข้ามของ BL ที่นำเสนอความสัมพันธ์แบบหญิง-หญิง สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจที่เพิ่มขึ้นในเนื้อหาแบบ sapphic

ปรากฏการณ์ "สาววาย" นี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่ลื่นไหลและเปิดกว้างของวัฒนธรรมแฟนคลับในประเทศไทย ที่ผู้ชมชื่นชอบทั้งเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างชาย-ชายและหญิง-หญิงในสื่อบันเทิง การเติบโตของคอนเทนต์ Girl's Love ควบคู่ไปกับ BL ที่มีอยู่เดิม แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายในการเล่าเรื่องและการนำเสนอตัวละครในวัฒนธรรมป๊อปของไทย ที่ตอบสนองต่อความชอบและอัตลักษณ์ที่หลากหลายของผู้ชม

แฮชแท็ก #FreenBecky เป็นชื่อที่แฟนๆ ใช้เรียกคู่ไอดอลและนักแสดงชาวไทย ฟรีน สโรชา จันทร์กิมฮะ และ เบ็คกี้ รีเบคก้า แพทริเซีย อาร์มสตรอง นักแสดงคู่จิ้นหญิงที่สร้างปรากฏการณ์ด้วยการเดบิวต์ด้วยซีรีส์ “ทฤษฎีสีชมพู” ที่ฮิตถล่มถลาย จนยอดวิวบน YouTube พุ่งทะลุ 756.6 ล้านวิวไปเมื่อไม่นานมานี้ เปล่งประกายเป็นดาราในช่วงเวลาไม่นาน



ณ เดือนกรกฎาคม 2024 ทั้งฟรีนและเบคกี้ได้ก้าวขึ้นมาเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงในวงการบันเทิงนานาชาติ ด้วยยอดผู้ติดตามบน Instagram ทะลุ 4 ล้านคน ทั้งคู่ไม่ได้โด่งดังแค่ในไทยเท่านั้น แต่ยังมีแฟนคลับติดตามทั่วเอเชียรวมถึงในโลกตะวันตกอีกด้วย โดยเฉพาะในฟิลิปปินส์ เวียดนาม สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไปจนถึงอเมริกา ด้วยความสำเร็จนี้เอง #FreenBecky ได้เดินหน้ากรีฑาทัพจัดแฟนมีตติ้งทั่วทั้งเอเชีย และเร็วๆ นี้ที่อเมริกา เคมีที่ลงตัวส่งผลให้พวกเธอได้รับรางวัลบันเทิงในประเทศหลายรางวัล รวมถึง “ขวัญใจมหาชน” และ “คู่จิ้นแห่งปี” จาก Nine Entertain Awards 2023-2024 และ “Couple of The Year” จาก KAZZ Awards 2023-2024 พวกเธอทั้งคู่ยังได้รับเชิญไปยัง Cannes Film Festival 2024 และร่วมงานกาล่า “ผู้หญิงในภาพยนตร์” ของเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ Red Sea แห่งซาอุดีอาระเบีย โดยมี “ฟรีน” เป็นหนึ่งในผู้ร่วมวงเสวนาบนเวทีอีกด้วย

"ตามรายงานของ Lefty.io และบัญชี X ของ Vogue Business การไปร่วมเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ของพวกเธอนั้นปิดฉากลงอย่างสวยงาม เบคกี้สร้างปรากฏการณ์มูลค่าสื่อ (EMV) ให้แก่ Balenciaga เป็นอันดับหนึ่งจากอินฟลูเอนเซอร์ทั้งหมดที่แบรนด์เชิญไป ด้วยมูลค่าถึง $4.7M หรือราว 170 ล้านบาท คิดเป็น 75% ของมูลค่าสื่อทั้งแบรนด์ จากการโพสต์เพียง 3 ครั้ง ขณะที่ฟรีนสร้างมูลค่าให้แบรนด์ Ferragamo และ Chopard ได้ถึง $3.6M หรือประมาณ 130 ล้านบาท "




ความนิยมและแรงสนับสนุนที่พวกเธอสั่งสมมานี้ เปิดโอกาสให้ทั้งคู่ได้ร่วมงานในโปรเจกต์ที่ท้าทายยิ่งขึ้น รวมถึงการรับบทนำใน "Uranus 2324” สร้างขึ้นโดยความร่วมมือของภาคเอกชนไทย บริษัท เวลเคิร์ฟ จำกัด, บริษัท จีเอ็ม เจเนอเรทส์ จำกัด และ บริษัท ตาชำนิ จำกัด (มหาชน) โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ผ่านงบประมาณสำหรับสร้างภาพยนตร์เพื่อส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทย ประจำปี 2567 กำกับโดย ธนดล นวลสุทธิ์ เขียนบทโดย ฐิติพงศ์ ใช้สติ และ ณัฐ นวลแพง โดยมี คีตะวัฒน์ ชินโคตร เป็นผู้อำนวยการสร้างฝ่ายบริหาร บอกเล่าเรื่องราวโศกนาฏกรรมความรักข้ามมิติของ “ลิน” และ “แคท” ที่แม้จะรักกันเพียงไรแต่โชคชะตาก็ยังให้พวกเธอพานพบแต่อุปสรรคอยู่ร่ำไป ไม่ว่าจะเป็นบนบก ใต้น้ำ ในอวกาศ กี่ภพชาติ กี่มิติคู่ขนาน หรือกี่มัลติเวิร์สก็ตาม

"ก่อนอื่น ผมขอแสดงความยินดีกับทุกท่านที่ทำให้หนังเรื่องนี้เป็นจริงขึ้นมาได้ กระบวนการถ่ายทำนั้นคงถึงขั้นโหดหินทีเดียว ในฐานะนักทำหนังด้วยกัน ผมขอชื่นชมผู้กำกับ นักแสดง ทีมงานทุกท่าน รวมถึง Spaceth.co ที่ปรึกษาด้านอวกาศ สตูดิโอ และนักลงทุน ที่ทำให้โปรเจคนี้สำเร็จลุล่วง พวกคุณกำลังผลักดันประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยไปสู่อีกระดับหนึ่ง เป็นเรื่องจริง ที่น้ำตาของผมไหลด้วยความตื้นตันตั้งแต่ฉากเปิดเรื่อง ด้วยสเกลโปรดักชั่นที่ผมไม่เคยคาดว่าจะได้เห็นในภาพยนตร์เควียร์ไทย และผมยังขอชื่นชมหนังเรื่องนี้ที่ยกระดับการนำเสนอภาพของหญิงไทย การที่เด็กหญิงคนหนึ่งได้เห็นตัวละครที่เป็นหญิงไทย และเป็นนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ นักบินอวกาศ (หรือนักดำน้ำฟรีไดฟ์!) อย่างตัวละครนำในเรื่อง ย่อมทำให้เธอได้เห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ เป็นแรงบันดาลใจให้เธอได้ทำตามความฝันอะไรก็ตามที่พวกเธอมี การนำเสนอบทบาทของผู้หญิงไทยที่มีความหลากหลายไปจากสื่อกระแสหลักนี้ สามารถสร้างความประทับใจให้กับเด็กหญิงไทยรุ่นต่อไปที่มีโอกาสได้ชมภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างแน่นอน"



เนื่องจากภาพยนตร์เรื่องนี้วางตำแหน่งตัวเองในตลาดเป็นหนังรัก ผมจึงไม่ได้คาดหวังว่ามันจะต้องซับซ้อนหรือเน้นเนื้อหาเชิงปรัชญา เส้นเรื่องหลักเป็นการต่อสู้กับอุปสรรครักในทุกกาลอวกาศ เพื่อให้คู่แท้ ได้กลับมาคู่กัน ครึ่งแรกของเรื่องสำหรับผมถือว่าโอเค เคมีของฟรีนและเบ็คกี้คือดี ซึ่งก็ชัดเจนว่านั่นคือเหตุผลที่พวกเธอประสบความสำเร็จระดับนี้ได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่ปี ผมซึ่งไม่เคยดูผลงานชิ้นอื่นของทั้งสองมาก่อน ก็รู้สึกเพลิดเพลินที่ได้เห็นพวกเธอใช้เวลาร่วมกันและหวังอย่างจริงใจว่าจะมีผลงานภาพยนตร์เรื่องอื่นๆตามมาอีกในอนาคต

เมื่อเรื่องราวดำเนินจนถึงกลางเรื่องเป็นต้นไป ภาพยนตร์มีความทะเยอทะยานที่จะสำรวจประเด็นที่ซับซ้อน แต่ก็ประสบปัญหาในการเล่าเรื่อง จากเหตุการณ์พายุสุริยะที่ทำให้จักรวาลคู่ขนานเกิดสับสน กาลอวกาศเกี่ยวกระหวัดพัวพันกันอีรุงตุงนัง อดีต ปัจจุบัน และอนาคตซ้อนทับกัน จนทุกอย่างที่อยู่ต่างมิติเวลาเหมือนจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กันในขณะเดียว การดิ้นรนเพื่อที่จะอยู่ด้วยกันของพวกเธอทวีความรุนแรงขึ้นถึงระดับเหนือธรรมชาติ การปูเรื่องมาทางนี้น่าจะกระตุ้นความคิดของเราเกี่ยวกับคำถามเชิงปรัชญาเกี่ยวกับคู่แท้และความหมายของชีวิต แต่ตัวหนังเหมือนจะโดนเหล่าเทห์ฟากฟ้า ที่บินมาพร้อมพายุสุริยะ ซัดจนเสียทิศเสียทางหลงไปในอวกาศอันเวิ้งว้างและหาทางกลับมาไม่ได้อย่างที่ควรจะเป็น เรื่องราวต่างๆในมิติคู่ขนานยังไม่สามารถสอดประสานจนนำคนดูไปถึงจุดพีคได้ในทางใดทางหนึ่ง แก่นแกนของเรื่องราวและอารมณ์ร่วมที่ควรจะเกิดขึ้นในฐานะคนดู กลับไม่ถูกปลุกขึ้น

แม้จะมีศักยภาพในการสร้างกระแสเปิดตัวจากฐานแฟนทั่วโลกของ #FreenBecky และความสนใจที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกในเรื่องราวที่นำเสนอความหลากหลายทางเพศ แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ไม่ได้ก้าวไปไกลกว่าการพูดถึงมิติทางเพศและประเด็นทางสังคมในระดับที่ผิวเผิน ฉากแฟนเซอร์วิสที่มากเกินจำเป็น กลับทำให้ประสบการณ์การชมจืดชืด ภาพยนตร์เรื่องนี้ จึงล้มเหลวในการร่ายมนต์สะกดให้คนนอกฐานแฟนเดิมตกอยู่ในภวังค์




พูดถึงความรักชาติกัน ผมเชื่อว่าความรักชาติเป็นสิ่งที่หากมีและแสดงออกในปริมาณที่พอเหมาะ ย่อมเป็นสิ่งที่ดี เรากำลังอยู่ในโลกที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งต้องมีปฏิสัมพันธ์ ร่วมมือ และทำการค้า (บางครั้งก็ขัดแย้ง) กับประเทศอื่นอย่างต่อเนื่อง เป็นเรื่องฉลาดที่เราจะรู้ว่าเรามี "ทุน" อะไร และจะนำเสนอมันสู่ประชาคมนานาชาติอย่างไร

ภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนบางส่วนจากกระทรวงวัฒนธรรม นำเสนอประเทศไทย (หรือพูดให้เฉพาะเจาะจงคือ “บริษัทไทย”) ในฐานะพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ขององค์การนาซาในภารกิจสถานีอวกาศ Lunar Gateway แสดงถึงศักยภาพทางเทคโนโลยีทางอวกาศ เป็นผู้จัดหาอาหารคุณภาพสูงสำหรับภารกิจอวกาศ ครัวไทยสู่ครัวอวกาศ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็น่าเสียดายที่การนำเสนอ “สินค้าไทย” ในภาพยนตร์ กลับกลายเป็นการโฆษณาอย่างฮาร์ดเซลส์เสียมากกว่า ไม่ว่าจะเป็น “บริษัทไทย” หรือ “รัฐไทย” ก็ตาม

การไท-อินอย่างโจ๋งครึ่มและไม่บันยะบันยังกลับไปเบียดบังหัวใจของการเล่าเรื่อง ซึ่งควรจะถูกให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวที่มีรายละเอียดอันสลับซับซ้อนจากเส้นเรื่องหลากมิติและเวลา ไหนจะต้องถ่ายทอดความละเมียดทางอารมณ์ให้สมบูรณ์ เนื่องจากหนังเรื่องนี้ถูกออกแบบมาเพื่อชมในโรงภาพยนตร์ที่เป็นพื้นที่ปิด ระบบเสียง 360 องศา และจอสูงเท่าบ้าน เจ้าของสินค้าควรเข้าใจว่าประสบการณ์การชมในโรงภาพยนตร์นั้นแตกต่างจากการรับชมบนหน้าจอขนาดเล็กบนมือถือหรือโทรทัศน์ที่อาจจะดูไปทำอย่างอื่นไป การนำเสนอผลิตภัณฑ์อย่างตรงไปตรงมาทำให้คนดูรู้สึกเหมือนถูกยัดเยียด อาจส่งผลเสียและส่งผลกระทบในแง่ลบมากกว่าผลดี และการนำเสนอผลิตภัณฑ์อย่างแนบเนียนมักสร้างผลกระทบทางจิตวิทยาที่ดีกว่า


"อย่าเข้าใจผมผิดนะครับ ผมไม่ได้เขียนสิ่งนี้เพื่อโจมตีใคร ผมเข้าใจว่าเราทุกคนต่างล้วนต้องอาศัยอยู่ในระบบทุนนิยม การหาเงินทุนและการหาสปอนเซอร์นั้นเป็นพื้นฐานสำหรับการหาทุนสร้างในทุกโครงการ อย่างไรก็ตาม หากทำอย่างไม่ได้สัดส่วน มันจะทำให้เรื่องราวเจือจางลงและขโมยเสน่ห์ที่ภาพยนตร์ควรมีไปอย่างน่าเสียดาย"


ความรักชาติล้นเอ่อท่วมทั่วจากอนาคตถึงอดีต ซึ่งนำเสนอสถานการณ์สมมติที่ฝ่ายอักษะเป็นฝ่ายชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อตัวเอกซึ่งเป็นสมาชิกของ "ขบวนการเสรีไทย" (ฝ่ายสัมพันธมิตร) เผชิญกับความท้าทายเมื่อได้ยินเสียงเพื่อนร่วมชาติแสดงความคลางแคลงใจกี่ยวกับอนาคตของประเทศไทย (ซึ่งเพิ่งเปลี่ยนชื่อจากสยามมาหมาดๆ) ในช่วงที่ญี่ปุ่นกำลังกำลังรุกรานประเทศ ตัวเอกคนหนึ่งอดรนทนไม่ไหว ลั่นออกมากลางร้านข้าวว่า "ไม่ว่าจะเป็นมิติไหน ประเทศไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร!" "กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด!" ผมกรีดร้องในใจ ไม่รู้ว่าควรจะตอบสนองต่อโมเมนต์นี้อย่างไรดี ก็ไม่ผิดหรอกที่ตัวละครจะคิดแบบนี้ พูดแบบนี้ แต่หนังก็นำเสนอสิ่งนี้แบบตรงไปตรงมามาก ความคิดผุดขึ้นมาเมื่อนึกถึงมุมมองของไทยในกรอบของแนวคิดหลังอาณานิคมและความภาคภูมิใจในการเป็น “ประเทศที่ไม่เคยถูกล่าอาณานิคม” อย่างไรก็ตาม ผมดูภาพยนตร์ต่อไปจนจบและ เป็นประจักษ์พยานแห่งการดิ้นรนผ่านฉากอุปสรรคต่างชาติภพและกาลอวกาศอีกหนึ่งคำรบก่อนภาพยนตร์เรื่องนี้จะแลนด์ดิ้งในที่สุด ด้วยสิริเวลารวม 2 ชม. 10 นาที

ในภาพรวม ผมประทับใจที่ผู้กำกับมีความทะเยอทะยานที่เลือกนำเสนอเรื่องราวที่ท้าทายและถ่ายทอดได้ยากเหล่านี้ เลข 2324 ในชื่อเรื่อง Uranus 2324 นั้นแท้จริงแล้วคือปีพุทธศักราชที่ดาวยูเรนัสถูกจัดให้เป็นดาวเคราะห์ (ค.ศ. 1781) ความจริงที่ว่าปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่ยังใช้พุทธศักราชเป็นปฎิทินราชการ ก็ยิ่งกระตุ้นความคิดไปอีก ว่าหากเทียบกับประเทศที่ใช้ปี ค.ศ.—เวลาของเราห่างกัน 543 ปี—ยูเรนัสในภาพยนตร์เรื่องนี้ อุปมาดั่งความรักอันไม่สมหวังของสองนางเอก ยูเรนัสนั้นเปี่ยมความหมาย เพราะมันเป็นสิ่งที่ไม่มีวันไปถึง เป็นได้เพียงวัตถุแห่งปราถนา เป็นแฟนตาซี นั่นก็เพราะมันอยู่ห่างไกลจากโลกหลายล้านปีแสง ถ้าเราเป็นโลก เราแต่ละคนต่างก็มียูเรนัสของตัวเอง และนั่นก็คือจุดหมายที่หนังเรื่องนี้บอกเราว่า “ไปต่อสิ แม้ว่ามันจะดูเป็นไปไม่ได้แค่ไหนก็ตาม” ผมคิดว่าแนวคิดนี้ก็สอดคล้องกับเรื่องราวดี อย่างไรก็ตาม ตัวหนังยังต้องการการเล่าเรื่องด้วยภาษาหนังที่เอาอยู่มากกว่านี้เพื่อถ่ายทอดความคิดนี้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น



"แม้จะมีความท้าทาย แต่ Uranus 2324 ก็ประสบความสำเร็จในการขายสิทธิ์จัดจำหน่ายไปแล้วกว่า 27 ประเทศทั่วโลก ความสำเร็จในระดับนานาชาตินี้แสดงให้เห็นถึงความสนใจที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกต่อเรื่องราวเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางเพศที่หลากหลาย และคอนเทนท์ไทยคลื่นลูกใหม่ ขณะที่การฉายในประเทศไทยมาแล้วหนึ่งเดือน สร้างรายได้ 8.6 ล้านบาท จากทุนสร้าง 70 ล้านบาท แม้ว่าตัวเลขนี้ยังดูต้องเอาใจช่วยอีกมาก แต่บททดสอบที่แท้จริงอยู่ที่ผลตอบรับในระดับนานาชาติ ผมหวังอย่างจริงใจว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะประสบความสำเร็จทางการเงิน ไม่เพียงเพื่อตัวหนังเอง แต่เพราะมันเป็นก้าวสำคัญ การสร้างภาพยนตร์ไซไฟ LGBTQ+"

ด้วยทุนสร้างระดับนี้ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญ และความสำเร็จของมันจะสามารถเปิดทางให้กับภาพยนตร์ไทยที่หลากหลายและทะเยอทะยานมากขึ้นในอนาคต มาดูกันว่า Uranus 2324 จะสามารถดึงดูดผู้ชมทั่วโลกและพิสูจน์ตัวเองในตลาดโลกได้หรือไม่ ถึงแฟนๆ ของ #FreenBecky ทั่วโลก สุดท้ายแล้ว สิ่งที่นักลงทุนสนใจที่สุดก็คืออำนาจเงินของพวกคุณ ดังนั้น ผมขอให้คุณเรียกร้องให้มากขึ้น โปรเจกต์นี้มีความทะเยอทะยานที่จะสร้างหนังไซไฟไฮคอนเซ็ปท์ แต่การเล่าเรื่องยังไปไม่สุด ขอให้เหล่าแฟนจงเปย์ต่อไป จ่ายต่อไป ใช้พลังของคุณผลักดันให้ผู้สร้าง ผลิตผลงานที่มีศักยภาพ ที่จะพา #FreenBecky ไปเดินพรมแดงที่เทศกาลหนังเมืองคานส์ไม่ใช่ในฐานะดารา แต่เป็นนักแสดงของภาพยนตร์ที่ได้รับเชิญเข้าประกวดในเทศกาล พวกคุณมีพลังที่จะกำหนดอนาคตของหนัง Sapphic และผลักดันคลื่นลูกนี้ไปสู่หมุดหมายใหม่

“Who runs the world?”—“Girls!”—และอำนาจนั้น อยู่ในมือคุณ!


" Uranus 2324: Sapphism to Girl’s Love—From Ancient Greek Heritage to Lesbian Sci-Fi "



On July 4, 2024, Uranus 2324 (2024), Asia’s first “Girl’s Love” space romance, had its premiere in Bangkok, Thailand. Truth be told, tears have streamed down my cheeks since the first scene. “It’s that good?” You ask. Well, wrong. But listen, I have a good reason.

In my lifetime, I never thought about the possibility of a $2 million Girl’s Love sci-fi film being produced in my homeland. The fact that Thailand’s screen industry allows this fantasy to come true struck me. Considering its capitalistic nature, investors always do everything to eliminate as much risk as possible. In other words, they need to know how the product will sell. This means there is a market for this Girl’s Love space romance film. “In Thailand?” you ask again. Thailand, and beyond. The film was made possible by the global fans of the two lead actresses, #FreenBeck, and, more precisely, their purchasing power.


THE GROWING INTERNATIONAL “SAPPHISM” COMMUNITY CELEBRATES LOVE BETWEEN WOMEN, DRAWING INSPIRATION FROM THE ANCIENT GREEK POET SAPPHO OF LESBOS, WHO WROTE ABOUT LOVE FOR OTHER WOMEN AND IS THE ORIGIN OF THE WORD “LESBIAN.”


This sapphic economy presents an alternative model for female empowerment, exemplified by Thailand’s emerging “Girl’s Love” wave. Girl’s Love combines elements of the Japanese “Yuri” manga subculture with K-idol business models, creating a genre featuring all-female protagonists. This trend is gaining popularity in Thailand and beyond, challenging the long-standing dominance of Boy’s Love (BL) content. BL, which originated from Japan’s “Yaoi” manga subculture and Korea’s idol business model, often portrays idealized same-sex male romances that many queer individuals find unrealistic. This is because Yaoi manga was originally created by and for women, offering an escape from patriarchal realities rather than authentic queer representation.

In Thailand, a unique subculture has emerged known as “Y Girl.” The “Y” in this context has a dual meaning. It represents girls who are fans of “Yaoi” and BL content (boy-boy relationships); at the same time, it also stands for “Yuri,” the girl-girl counterpart to BL, reflecting the growing interest in sapphic content. This “Y Girl” phenomenon illustrates the fluid and inclusive nature of fandom in Thailand, where audiences appreciate both male-male and female-female relationship narratives in media. The rise of Girl’s Love content alongside the established BL genre demonstrates a diversification of storytelling and representation in Thai popular culture, catering to a wide range of preferences and identities.

#FREENBECKY REFERS TO THAI ACTRESSES SAROCHA ‘FREEN’ CHANKIMHA AND REBECCA ‘BECKY’ PATRICIA ARMSTRONG, WHO FREQUENTLY PORTRAY COUPLES IN VARIOUS WORKS. THEIR 2022 DEBUT, “GAP: THE SERIES,” GARNERED OVER 756.6 MILLION YOUTUBE VIEWS. CATAPULTING THEM TO STARDOM.



As of July 2024, both artists command impressive social media influence, each boasting over 4 million Instagram followers. Their fanbase, while primarily Thai, extends across Asia and into the West, with significant followings in the Philippines, Vietnam, Singapore, China, Japan, South Korea, and the US. Building on this success, #FreenBecky embarked on a series of fan meetings across Asia, with US events planned. Their on-screen chemistry has earned them several domestic entertainment awards, including accolades from the Nine Entertain Awards and KAZZ Awards 2023-2024. Their rising profile led to invitations to the 2024 Cannes Film Festival and Saudi Arabia’s Red Sea International Film Festival’s “Women in Cinema” event. Their Cannes debut proved remarkably lucrative: according to Lefty.io and Vogue Business, Rebecca generated $4.7 million in earned media value (EMV) for Balenciaga (75% of the brand’s total EMV), while Freen produced $3.6 million for Ferragamo and Chopard combined. This growing fame has paved the way for more ambitious projects, such as their starring roles in “Uranus 2324.”

“Uranus 2324” is a collaborative project between Thai companies VelCurve Studio, GM Generates, and C EYE (Public Company). It’s one of four films awarded a 2024 government grant to support the Thai Soft Power Policy. Directed by Thanadol Nualsuth and written by Thitipong Chaisati and Nut Nualpang, with Keetawat Chinnakote as executive producer, the film narrates the multiverse love tragedy of “Lin” and “Kath” as they overcome various challenges to reunite across different realms—on the ground, underwater, in space, and in parallel universes.


“Uranus 2324” is a collaborative project between Thai companies VelCurve Studio, GM Generates, and C EYE (Public Company). It’s one of four films awarded a 2024 government grant to support the Thai Soft Power Policy. Directed by Thanadol Nualsuth and written by Thitipong Chaisati and Nut Nualpang, with Keetawat Chinnakote as executive producer, the film narrates the multiverse love tragedy of “Lin” and “Kath” as they overcome various challenges to reunite across different realms—on the ground, underwater, in space, and in parallel universes.

As a fellow filmmaker, I want to congratulate the team for realizing this ambitious project. It’s surely not easy to get done. Kudos to the filmmakers, actors, crews, including Spaceth.co (the space production advisor), studios, and investors for making it through. You’re advancing the history of the Thai film industry to another level. Tears streamed down my cheeks at the opening, which showed promising quality production and delivery I never expected to see in a Thai queer film. I admire this film for contributing to the representation of Thai women and allowing young Thai girls to extend their horizons and imagination. One day, they might become astrophysicists, astronauts, or freedivers! This image will surely inspire the next generation of young girls who have a chance to watch it.

As it markets itself as a romance, I didn’t expect the film to be complicated or philosophical. The story is an inter-spacetime struggle to be with your soulmate. The first half is fine. Freen and Becky have great chemistry, which explains their rapid rise to success. As someone who has never watched their show before, I enjoyed seeing them together and genuinely wish more cinematic projects came their way in the future.

However, as the narrative progresses from the middle toward the end, the film ambitiously explores complex themes but struggles to deliver them succinctly. A solar storm burst muddles the parallel universes, with spacetimes intertwining; the past, present, and future seem to happen all at once, and their struggle to be together intensifies to a supernatural level. This setting is supposed to provoke our thoughts on philosophical questions about soulmates and life. But the film seems to get lost in the universe and never comes back. The parallel stories lack integration to create a sublime climax. The backbone of the narrative—genuine emotion—sadly isn’t evoked.



Despite its potential to leverage Freen Beck’s global fanbase and the growing interest in queer narratives, the film doesn’t reach beyond surface-level appeal. The excessive cuddling scenes without meaning diluted the narrative. This magic fails to spellbind non-fans.

Let’s talk about patriotism. With a healthy dose, I believe it is good. We are living in a globalized world, continuously interacting, cooperating, and doing commerce (oftentimes conflicting) with each other. It’s smart to know what capital we have and how to present it to the international community.

This film, with partial support from Thailand’s Ministry of Culture, features Thailand (or, to be specific, a Thai enterprise) as a strategic partner with NASA in the Lunar Gateway mission; it supplies space-grade food for space missions. Great. Unfortunately, the execution resulted in what feels more like a product showroom for the Thai nation and the Thai enterprise.

The cohesive narrative should be valued as the top priority. As this project is meant to be watched on the big screen, brands should understand that over-featuring products can be counterproductive and affect brand reputation negatively. The cinematic experience is different from watching on smaller screens, and subtlety in product placement often creates a better psychological effect.

Please don’t get me wrong. I am not writing this to attack anyone. I understand that these capitalistic fulfillments—seeking funding and sponsorship—are fundamental for project finance. However, if disproportionate, it dilutes the narrative and steals the magic the cinema should possess.

Patriotism oozes throughout the storyline, from the future to the past, which features a speculative situation where the Axis won World War II. When the protagonists, who are “Free Thai Movement” members (sided with the Allies), face challenges as they overhear their fellow citizens’ doubts about the future of Thailand (freshly renamed from Siam) as the Japanese were overpowering the country, one of the protagonists bursts out, “Regardless of spacetime, Thailand has never been colonized!” “Eeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeek!” I internally screamed, not knowing how to properly react. I think the line is fine, but the execution is so blunt. Thoughts bubble up as I think of Thailand’s perspective within the framework of post-colonialism and its pride in the title of being “a country that was never colonized.” Anyway, I continued with the film through the end and witnessed it struggle through the messy last act before it finally landed.


Overall, I am impressed by the way the filmmakers try to weave these narratives together. The “2324” in the title “Uranus 2324” actually refers to the Buddhist calendar year when Uranus was classified as a planet (1781). The fact that Thailand is the only country using the Buddhist Era as an official calendar makes me realize that we are 543 years apart. In this film, Uranus serves as an analogy for the protagonists’ star-crossed romance. Uranus is significant because it is light-years away from Earth. It represents a fantasy, something unattainable, an object of desire. If we are Earth, each of us has our very own Uranus. It is the destination the film urges us to strive for, no matter how impossible it seems. I think this concept resonates with the story. However, I believe more cinematic devices should be employed in execution to give flesh and blood to the narrative.

Despite its challenges, Uranus 2324 has achieved a significant milestone by securing distribution rights in 27 countries across various regions. This international reach demonstrates the growing global interest in queer narratives and Thai content. As the film enters a month of domestic screening, it has grossed $241K against its $2M budget. While these initial figures may seem modest, the true test lies in its international performance. I sincerely hope this film succeeds, not just for its own sake, but because it represents a crucial step forward. The realization of a queer sci-fi film at this scale is a landmark event, and its success could pave the way for more diverse and ambitious projects in the future. Let’s wait and see if Uranus 2324 can captivate audiences worldwide and prove that there’s a viable market for the next project.


#FreenBecky fans, ultimately, what the investors care about is your purchasing power. So, I’m urging you to demand more. The ambition for this high-concept sci-fi is there, but the execution is not. Don’t just settle for projects that feature your idols as product ambassadors. Instead, demand films that could see #FreenBecky walking the red carpet at the Cannes Film Festival—not just as celebrities but as actresses of films in competition. You have the power to shape the future of Sapphic cinema and push it to new heights of artistic achievement.

“Who runs the world?”—“Girls!”—And the power is in your hands.

This essay is the first in the “Mek◊ng Sci-Fi” series by Vorakorn “Billy” Ruetaivanichkul. It is published in English (billyvorr.com) and Thai (TheMissionTH.co) and was completed as part of the 2024 ArtsEquator Fellowship. The views expressed are solely those of the author.



Text:

billyvorr

billyvorr

PHOTO:

Courtesy of VelCurve Studio

Courtesy of VelCurve Studio

Related Posts