UOB กับพันธกิจการสนับสนุนศิลปินผ่านงานประกวดจิตรกรรมต่อเนื่องกว่าสิบปี

UOB กับพันธกิจการสนับสนุนศิลปินผ่านงานประกวดจิตรกรรมต่อเนื่องกว่าสิบปี

28 พ.ค. 2567

SHARE WITH:

28 พ.ค. 2567

28 พ.ค. 2567

SHARE WITH:

SHARE WITH:

UOB กับพันธกิจการสนับสนุนศิลปินผ่านงานประกวดจิตรกรรมต่อเนื่องกว่าสิบปี

“เรามองว่า ศิลปะเป็นองค์ประกอบที่จะทำให้สังคมเข้มแข็งและแข็งแกร่งขึ้นมาได้ คือนอกจากเรื่องเศรษฐกิจเอง ซึ่งธนาคารก็เป็นองค์ประกอบสำคัญ แต่ก็ยังมีเรื่องอื่นอีก อย่างในส่วนของศิลปะเองซึ่งไร้ขอบเขต เข้าถึงได้ทุกคนโดยไม่ต้องมีเรื่องของภาษามาเป็นข้อจำกัด มันเลยทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงคนเข้าด้วยกัน”

คุณธรรัตน โอฬารหาญกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริหารสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ชี้ให้เราเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางการเงินอย่างธนาคาร กับศิลปะ สื่อกลางทางความรู้สึกนึกคิดที่ช่วยเสริมสร้างคนในชาติได้อย่างเท่าเทียมโดยปราศจากข้อจำกัดใดๆ

การประกวดจิตรกรรมยูโอบี (UOB Painting of the Year) จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2525 ที่สิงคโปร์ ส่วนในประเทศไทยเอง เริ่มต้นครั้งแรกในปี 2553 และได้ผู้ชนะคือ อุ้ม - ปานพรรณ ยอดมณี นักศึกษาปีที่ 2 ที่ปัจจุบันกลายเป็นศิลปินดาวรุ่งระดับนานาชาติ และเข้าร่วมงานเทศกาลศิลปะหลากหลายทั่วทุกมุมโลก

“กิจกรรมที่ยูโอบีทำในเรื่องศิลปะ คือการเปิดพื้นที่หรือเวทีให้กับทั้งศิลปินรุ่นใหม่และศิลปินมืออาชีพ โดยไม่จำกัดอายุหรือเพศ แค่ส่งผลงานจิตรกรรมเข้าประกวดผ่านเวทีนี้ หลังจากคัดกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิในแวดวงศิลปะของไทยแล้ว เราก็จะส่งไปประกวดต่อที่สิงคโปร์”

“พูดง่ายๆ ว่า เป็นการกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจ เพราะหลังผ่านการประกวดในประเทศแล้วยังไปต่อในเวทีนานาชาติ ทำให้ได้เห็นถึงความหลากหลายทั้งทางวัฒนธรรม และมุมมองของผู้คนในแต่ละประเทศ เปิดกว้างทั้งในแง่ความคิดและเรื่องโอกาส”

 

เติมเต็มความเข้มแข็งทางสุนทรียะ ด้วยศิลปะที่ไร้ซึ่งข้อจำกัด

เพราะศิลปะคือภาษาสากล เพียงใช้ประสาทสัมผัสและความรู้สึก ก็นับเป็นการสื่อสารระหว่างชิ้นงานถึงตัวผู้รับสารได้โดยตรง “ทางยูโอบีเลยมองว่า นอกจากจะต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับเยาวชนในเรื่องการศึกษาแล้ว ศิลปะก็เป็นส่วนเติมเต็มที่ทำให้ยิ่งเข้มแข็งขึ้น ให้สังคมอยู่ไปได้ยาวๆ”

3 หัวเรื่องที่ยูโอบีให้ให้ความสำคัญและดำริโครงการเพื่อสังคม คือ เยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติ การศึกษาที่เป็นตัวพัฒนาเยาวชน และศิลปะที่เป็นผู้หล่อหลอมทั้งด้านทรรศนะและจิตใจ

การที่จะนำพาศิลปะเข้าไปสู่หัวใจของผู้ชมได้อย่างกว้างขวางตามที่ตั้งใจ สิ่งสำคัญคือ ‘โอกาส’ ที่จะทำให้ผลงานที่ศิลปินตั้งใจรังสรรค์ ประจักษ์สู่สายตาของผู้ชม “วงการศิลปะก็จะมีกลุ่มผู้ชม แต่ขาดไม่ได้คือ ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะขึ้นมา”

“ในระบบนิเวศของศิลปะกว้างขวางมาก ตั้งแต่คนสร้างสรรค์ผลงาน นักวิชาการ คิวเรเตอร์ ตลาดศิลปะ ซึ่งการที่ศิลปะจะอยู่ได้อย่างยั่งยืนชั่วลูกชั่วหลานได้ ต้องให้แต่ละคนมีความเข้มแข็งในจุดของตัวเอง”

“กลับมาที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เขาก็ต้องมีพื้นที่นำเสนอผลงานของเขา แล้วเขาจะไปได้ไกล​ โดยเฉพาะในตลาดที่ไร้พรมแดนแบบนี้ นั่นเป็นสิ่งที่ทำให้เราผลักดันเขาไปสู่ระดับนานาชาติผ่านเวทีการประกวดของเรา ในขณะเดียวกันเอง ศิลปะก็ยังนำเสนอสภาวะที่เกิดขึ้นในยุคสมัยนั้นๆ อย่างล่าสุดก็เป็นเรื่อง Climate Change ที่เป็นประเด็นร้อนในระดับสากล ที่ไม่ว่าจะพูดภาษาไทยหรือภาษาอื่นก็รู้สึกว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญ ศิลปะเองก็สามารถเปิดมุมมองหรือกระตุ้นให้คนสร้างบทสนทนาได้ เพื่อให้ย้อนกลับมาถามตัวเองว่า แล้วเราจะทำยังไงต่อกับเรื่อง Climate Change ได้บ้าง”

นอกจากสื่อสารเรื่องความงามที่รับรู้ได้ทางความรู้สึก ประเด็นที่ซ่อนไว้ในงานศิลปะก็ทำหน้าที่ทั้งบอกเล่าและขยายความเพื่อสร้างความตระหนักให้กับผู้ชม

“อย่างปีที่ผ่านมา ผลงานของศิลปินหน้าใหม่ก็เน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม อย่างผลงาน ‘ปากน้ำชุมพร’ ของปรัชญา เจริญสุข ก็คว้ารางวัลชนะเลิศในระดับภูมิภาค ซึ่งไปหยิบประเด็นเรื่องไมโครพลาสติกซึ่งเกิดการละเลยในการจัดการสิ่งแวดล้อมและขยะ โดยเอาไมโครพลาสติกมาเรียงร้อยกันเหมือนกับปากน้ำชุมพร ที่เป็นบ้านเกิดซึ่งเป็นสภาวะแวดล้อมที่เขาคุ้นชิน”

“อันนี้เป็นประเด็นที่พอส่งไปประกวดที่สิงคโปร์ แล้วด้วยความที่เป็นประเด็นสากล ทุกคนเห็นแล้วเข้าใจไปในนัยยะเดียวกันว่าต้องการสื่ออะไร บทสนทนาก็เกิดขึ้น แล้วก็กระตุ้นต่อมคิดให้ผู้ชมเอาไปคิดต่อว่าจะทำยังไงต่อ นี่เป็นตัวอย่างให้เห็นว่า ศิลปินเองสะท้อนสิ่งที่ต้องการนำเสนอ เป็นสิ่งที่จูนกันได้ผ่านผลงานศิลปะ เห็นได้เลยว่าจากตัวผู้สร้างสรรค์จนถึงผู้ชมสามารถเกิดความเข้าใจคู่กันไปได้”

จากจุดนี้เองที่ทำให้เราเห็นภาพชัดเจนว่า ศิลปะไปได้ไกลกว่าเรื่องความงามหรือการกระตุ้นต่อมคิด แต่ยังสร้างภาคปฏิบัติต่อเนื่องไปได้ไกล

 

ความยั่งยืนในวงการศิลปะ ผ่านเวทีที่เปิดกว้างและเปิดโอกาส

“ถ้าศิลปะจะอยู่ได้อย่างยั่งยืน ต้องกลับมาดูก่อนว่า เรามีพื้นที่ให้กับคนที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปะได้เหมือนกัน” คุณธรรัตนเน้นย้ำให้เราเห็นว่า โอกาส เป็นเรื่องที่ทำงานคู่กันทั้งผู้เปิดโอกาสและผู้ค้นหาโอกาส

“มันก็กลับมาที่ว่า ทำไมยูโอบีถึงเน้นเรื่องการทำเวทีประกวดจิตรกรรม เพราะหนึ่งเรามองว่า ศิลปะปลายทางมันช่วยส่งเสริมและขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ แต่ตัวศิลปินเองต้องเข้มแข็งก่อน เราสร้างพื้นที่ให้เขาได้ไปต่อยอดในเวทีอื่นๆ ซึ่งมันก็เป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นเวทีที่ผลักดันศิลปินไทยให้ได้ไปเฉิดฉายในเวทีโลก พร้อมกับเพิ่มมูลค่าให้กับผลงานของเขาได้ด้วย”

เมื่อผลงานมีมูลค่ามากขึ้น ศิลปินสามารถแสดงออกได้ถึงอัตลักษณ์ของตัวเองหรือเรื่องราวที่ต้องการบอกเล่าได้ผ่านผลงาน ยิ่งทำให้ตลาดศิลปะมีมุมมองที่หลากหลายและเปิดกว้าง เป็นวัฏจักรกลับไปสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืนให้กับศิลปินได้ตลอดการทำงาน

“ศิลปะจะอยู่ได้อย่างยั่งยืนต้องมี 2 ส่วน คือศิลปิน และผู้ชมที่จะเข้าใจหรือซาบซึ้งในศิลปะมากขึ้น เราในฐานะคนในแวดวงศิลปะก็ต้องพยายามที่จะสอนผู้ชมด้วยเหมือนกันว่า ศิลปะไม่ได้จำกัดแค่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่ยังมีความหลากหลาย และอยู่รอบตัวเรา เราพยายามกระตุ้นให้ผู้เสพผลงานศิลปะเข้าใจในมุมนั้นได้เหมือนกัน โดยการให้ความรู้หรือเปิดมุมมองต่างๆ ของยูโอบีเกิดขึ้นผ่านโครงการต่างๆ เช่นล่าสุด เราร่วมมือกับทาง BACC ในการพัฒนาอาสาสมัครในการนำชมศิลปะ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ชมยิ่งซาบซึ้งและเข้าใจในผลงานศิลปะมากขึ้น”

นอกจากความยั่งยืนของวงการศิลปะแล้ว คุณธรรัตนมองไปไกลถึงบทบาทของการสร้างความยั่งยืนให้กับโลกผ่านกระบวนการทำงานศิลปะด้วย

“เราชวนมาช่วยกันมองว่า ศิลปะสามารถสร้างความเข้าใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมได้ แล้วศิลปินเองก็รู้ว่าเราทำงานศิลปะอย่างไรโดยไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม เช่น สีที่ใช้ การจัดการแคนวาสหลังใช้เสร็จ ส่วนนี้ก็เพิ่มเติมเข้าไปได้ เรามองว่ามันอยู่ได้ด้วยตัวคน แล้วคนก็มีหน้าที่ที่จะทำให้ศิลปะอยู่กับสิ่งแวดล้อมหรือโลกไปด้วยกันได้โดยไม่มีใครทำร้ายใคร”


“ศิลปะอยู่กับเรามาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ขีดเขียนผนังถ้ำ ออกมาในรูปแบบของภาพที่เราคิด มันเกิดก่อนหน้าที่เราจะมีชีวิตอยู่อีก” คุณธรรัตนชี้ให้เราเห็นว่า ศิลปะเป็นเรื่องใกล้ตัว และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้วิวัฒน์มาเป็นตัวเราได้ในทุกวันนี้

“ไม่อยากให้ยึดติดว่า ศิลปะเป็นแค่ความสวยงาม แต่อยากให้มองว่า ศิลปะเองมันไปได้ไกลกว่านั้น คือนอกจากจะกระตุ้นต่อมคิด สร้างสนทนา เชื่อมต่อพวกเราเข้าหากันแล้ว ความที่ศิลปะไร้ขอบเขตเป็นภาษาสากล ก็สะท้อนให้เห็นความหลากหลายทางวัฒนธรรม เป็นพื้นที่ที่เรารู้สึกได้ว่า เราสามารถแลกเปลี่ยนความคิดและมุมมองกันได้ เหมือนกับเป็นคอมฟอร์ตโซนสำหรับพวกเรา”

 


“เรามองว่า ศิลปะเป็นองค์ประกอบที่จะทำให้สังคมเข้มแข็งและแข็งแกร่งขึ้นมาได้ คือนอกจากเรื่องเศรษฐกิจเอง ซึ่งธนาคารก็เป็นองค์ประกอบสำคัญ แต่ก็ยังมีเรื่องอื่นอีก อย่างในส่วนของศิลปะเองซึ่งไร้ขอบเขต เข้าถึงได้ทุกคนโดยไม่ต้องมีเรื่องของภาษามาเป็นข้อจำกัด มันเลยทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงคนเข้าด้วยกัน”

คุณธรรัตน โอฬารหาญกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริหารสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ชี้ให้เราเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางการเงินอย่างธนาคาร กับศิลปะ สื่อกลางทางความรู้สึกนึกคิดที่ช่วยเสริมสร้างคนในชาติได้อย่างเท่าเทียมโดยปราศจากข้อจำกัดใดๆ

การประกวดจิตรกรรมยูโอบี (UOB Painting of the Year) จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2525 ที่สิงคโปร์ ส่วนในประเทศไทยเอง เริ่มต้นครั้งแรกในปี 2553 และได้ผู้ชนะคือ อุ้ม - ปานพรรณ ยอดมณี นักศึกษาปีที่ 2 ที่ปัจจุบันกลายเป็นศิลปินดาวรุ่งระดับนานาชาติ และเข้าร่วมงานเทศกาลศิลปะหลากหลายทั่วทุกมุมโลก

“กิจกรรมที่ยูโอบีทำในเรื่องศิลปะ คือการเปิดพื้นที่หรือเวทีให้กับทั้งศิลปินรุ่นใหม่และศิลปินมืออาชีพ โดยไม่จำกัดอายุหรือเพศ แค่ส่งผลงานจิตรกรรมเข้าประกวดผ่านเวทีนี้ หลังจากคัดกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิในแวดวงศิลปะของไทยแล้ว เราก็จะส่งไปประกวดต่อที่สิงคโปร์”

“พูดง่ายๆ ว่า เป็นการกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจ เพราะหลังผ่านการประกวดในประเทศแล้วยังไปต่อในเวทีนานาชาติ ทำให้ได้เห็นถึงความหลากหลายทั้งทางวัฒนธรรม และมุมมองของผู้คนในแต่ละประเทศ เปิดกว้างทั้งในแง่ความคิดและเรื่องโอกาส”

 

เติมเต็มความเข้มแข็งทางสุนทรียะ ด้วยศิลปะที่ไร้ซึ่งข้อจำกัด

เพราะศิลปะคือภาษาสากล เพียงใช้ประสาทสัมผัสและความรู้สึก ก็นับเป็นการสื่อสารระหว่างชิ้นงานถึงตัวผู้รับสารได้โดยตรง “ทางยูโอบีเลยมองว่า นอกจากจะต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับเยาวชนในเรื่องการศึกษาแล้ว ศิลปะก็เป็นส่วนเติมเต็มที่ทำให้ยิ่งเข้มแข็งขึ้น ให้สังคมอยู่ไปได้ยาวๆ”

3 หัวเรื่องที่ยูโอบีให้ให้ความสำคัญและดำริโครงการเพื่อสังคม คือ เยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติ การศึกษาที่เป็นตัวพัฒนาเยาวชน และศิลปะที่เป็นผู้หล่อหลอมทั้งด้านทรรศนะและจิตใจ

การที่จะนำพาศิลปะเข้าไปสู่หัวใจของผู้ชมได้อย่างกว้างขวางตามที่ตั้งใจ สิ่งสำคัญคือ ‘โอกาส’ ที่จะทำให้ผลงานที่ศิลปินตั้งใจรังสรรค์ ประจักษ์สู่สายตาของผู้ชม “วงการศิลปะก็จะมีกลุ่มผู้ชม แต่ขาดไม่ได้คือ ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะขึ้นมา”

“ในระบบนิเวศของศิลปะกว้างขวางมาก ตั้งแต่คนสร้างสรรค์ผลงาน นักวิชาการ คิวเรเตอร์ ตลาดศิลปะ ซึ่งการที่ศิลปะจะอยู่ได้อย่างยั่งยืนชั่วลูกชั่วหลานได้ ต้องให้แต่ละคนมีความเข้มแข็งในจุดของตัวเอง”

“กลับมาที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เขาก็ต้องมีพื้นที่นำเสนอผลงานของเขา แล้วเขาจะไปได้ไกล​ โดยเฉพาะในตลาดที่ไร้พรมแดนแบบนี้ นั่นเป็นสิ่งที่ทำให้เราผลักดันเขาไปสู่ระดับนานาชาติผ่านเวทีการประกวดของเรา ในขณะเดียวกันเอง ศิลปะก็ยังนำเสนอสภาวะที่เกิดขึ้นในยุคสมัยนั้นๆ อย่างล่าสุดก็เป็นเรื่อง Climate Change ที่เป็นประเด็นร้อนในระดับสากล ที่ไม่ว่าจะพูดภาษาไทยหรือภาษาอื่นก็รู้สึกว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญ ศิลปะเองก็สามารถเปิดมุมมองหรือกระตุ้นให้คนสร้างบทสนทนาได้ เพื่อให้ย้อนกลับมาถามตัวเองว่า แล้วเราจะทำยังไงต่อกับเรื่อง Climate Change ได้บ้าง”

นอกจากสื่อสารเรื่องความงามที่รับรู้ได้ทางความรู้สึก ประเด็นที่ซ่อนไว้ในงานศิลปะก็ทำหน้าที่ทั้งบอกเล่าและขยายความเพื่อสร้างความตระหนักให้กับผู้ชม

“อย่างปีที่ผ่านมา ผลงานของศิลปินหน้าใหม่ก็เน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม อย่างผลงาน ‘ปากน้ำชุมพร’ ของปรัชญา เจริญสุข ก็คว้ารางวัลชนะเลิศในระดับภูมิภาค ซึ่งไปหยิบประเด็นเรื่องไมโครพลาสติกซึ่งเกิดการละเลยในการจัดการสิ่งแวดล้อมและขยะ โดยเอาไมโครพลาสติกมาเรียงร้อยกันเหมือนกับปากน้ำชุมพร ที่เป็นบ้านเกิดซึ่งเป็นสภาวะแวดล้อมที่เขาคุ้นชิน”

“อันนี้เป็นประเด็นที่พอส่งไปประกวดที่สิงคโปร์ แล้วด้วยความที่เป็นประเด็นสากล ทุกคนเห็นแล้วเข้าใจไปในนัยยะเดียวกันว่าต้องการสื่ออะไร บทสนทนาก็เกิดขึ้น แล้วก็กระตุ้นต่อมคิดให้ผู้ชมเอาไปคิดต่อว่าจะทำยังไงต่อ นี่เป็นตัวอย่างให้เห็นว่า ศิลปินเองสะท้อนสิ่งที่ต้องการนำเสนอ เป็นสิ่งที่จูนกันได้ผ่านผลงานศิลปะ เห็นได้เลยว่าจากตัวผู้สร้างสรรค์จนถึงผู้ชมสามารถเกิดความเข้าใจคู่กันไปได้”

จากจุดนี้เองที่ทำให้เราเห็นภาพชัดเจนว่า ศิลปะไปได้ไกลกว่าเรื่องความงามหรือการกระตุ้นต่อมคิด แต่ยังสร้างภาคปฏิบัติต่อเนื่องไปได้ไกล

 

ความยั่งยืนในวงการศิลปะ ผ่านเวทีที่เปิดกว้างและเปิดโอกาส

“ถ้าศิลปะจะอยู่ได้อย่างยั่งยืน ต้องกลับมาดูก่อนว่า เรามีพื้นที่ให้กับคนที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปะได้เหมือนกัน” คุณธรรัตนเน้นย้ำให้เราเห็นว่า โอกาส เป็นเรื่องที่ทำงานคู่กันทั้งผู้เปิดโอกาสและผู้ค้นหาโอกาส

“มันก็กลับมาที่ว่า ทำไมยูโอบีถึงเน้นเรื่องการทำเวทีประกวดจิตรกรรม เพราะหนึ่งเรามองว่า ศิลปะปลายทางมันช่วยส่งเสริมและขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ แต่ตัวศิลปินเองต้องเข้มแข็งก่อน เราสร้างพื้นที่ให้เขาได้ไปต่อยอดในเวทีอื่นๆ ซึ่งมันก็เป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นเวทีที่ผลักดันศิลปินไทยให้ได้ไปเฉิดฉายในเวทีโลก พร้อมกับเพิ่มมูลค่าให้กับผลงานของเขาได้ด้วย”

เมื่อผลงานมีมูลค่ามากขึ้น ศิลปินสามารถแสดงออกได้ถึงอัตลักษณ์ของตัวเองหรือเรื่องราวที่ต้องการบอกเล่าได้ผ่านผลงาน ยิ่งทำให้ตลาดศิลปะมีมุมมองที่หลากหลายและเปิดกว้าง เป็นวัฏจักรกลับไปสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืนให้กับศิลปินได้ตลอดการทำงาน

“ศิลปะจะอยู่ได้อย่างยั่งยืนต้องมี 2 ส่วน คือศิลปิน และผู้ชมที่จะเข้าใจหรือซาบซึ้งในศิลปะมากขึ้น เราในฐานะคนในแวดวงศิลปะก็ต้องพยายามที่จะสอนผู้ชมด้วยเหมือนกันว่า ศิลปะไม่ได้จำกัดแค่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่ยังมีความหลากหลาย และอยู่รอบตัวเรา เราพยายามกระตุ้นให้ผู้เสพผลงานศิลปะเข้าใจในมุมนั้นได้เหมือนกัน โดยการให้ความรู้หรือเปิดมุมมองต่างๆ ของยูโอบีเกิดขึ้นผ่านโครงการต่างๆ เช่นล่าสุด เราร่วมมือกับทาง BACC ในการพัฒนาอาสาสมัครในการนำชมศิลปะ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ชมยิ่งซาบซึ้งและเข้าใจในผลงานศิลปะมากขึ้น”

นอกจากความยั่งยืนของวงการศิลปะแล้ว คุณธรรัตนมองไปไกลถึงบทบาทของการสร้างความยั่งยืนให้กับโลกผ่านกระบวนการทำงานศิลปะด้วย

“เราชวนมาช่วยกันมองว่า ศิลปะสามารถสร้างความเข้าใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมได้ แล้วศิลปินเองก็รู้ว่าเราทำงานศิลปะอย่างไรโดยไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม เช่น สีที่ใช้ การจัดการแคนวาสหลังใช้เสร็จ ส่วนนี้ก็เพิ่มเติมเข้าไปได้ เรามองว่ามันอยู่ได้ด้วยตัวคน แล้วคนก็มีหน้าที่ที่จะทำให้ศิลปะอยู่กับสิ่งแวดล้อมหรือโลกไปด้วยกันได้โดยไม่มีใครทำร้ายใคร”


“ศิลปะอยู่กับเรามาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ขีดเขียนผนังถ้ำ ออกมาในรูปแบบของภาพที่เราคิด มันเกิดก่อนหน้าที่เราจะมีชีวิตอยู่อีก” คุณธรรัตนชี้ให้เราเห็นว่า ศิลปะเป็นเรื่องใกล้ตัว และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้วิวัฒน์มาเป็นตัวเราได้ในทุกวันนี้

“ไม่อยากให้ยึดติดว่า ศิลปะเป็นแค่ความสวยงาม แต่อยากให้มองว่า ศิลปะเองมันไปได้ไกลกว่านั้น คือนอกจากจะกระตุ้นต่อมคิด สร้างสนทนา เชื่อมต่อพวกเราเข้าหากันแล้ว ความที่ศิลปะไร้ขอบเขตเป็นภาษาสากล ก็สะท้อนให้เห็นความหลากหลายทางวัฒนธรรม เป็นพื้นที่ที่เรารู้สึกได้ว่า เราสามารถแลกเปลี่ยนความคิดและมุมมองกันได้ เหมือนกับเป็นคอมฟอร์ตโซนสำหรับพวกเรา”

 


Text:

Nathanich C.

Nathanich C.

PHOTO:

Chanathip K.

Chanathip K.

Related Posts