Under The Burning Sun

Under The Burning Sun

25 ก.ค. 2566

SHARE WITH:

25 ก.ค. 2566

25 ก.ค. 2566

SHARE WITH:

SHARE WITH:

Under The Burning Sun

ภายในห้องจัดนิทรรศการ เราเหยียบย่ำบนผืนหญ้าสีเขียว รายล้อมด้วยภาพถ่ายสีสันสดใส บนพื้นระเกะระกะไปด้วยสายไฟกองโต ใจนึงก็คิดว่าทำไมถึงมาอยู่ตรงนี้ได้นะ แต่อีกใจนึงก็เห็นภาพพวกนี้เป็นปกติอยู่แล้วนี่นา

เราอยู่ในนิทรรศการ Under The Burning Sun The Grass Is Greener Than Ever โดย เล็ก เกียรติศิริขจร ศิลปินช่างภาพผู้สื่อสารข้อมูลผ่านงานภาพถ่ายและศิลปะ หากคุณรู้จักเล็กอยู่แล้ว อาจจะรู้สึกว่า งานนี้ดูแตกต่างออกไปจากงานก่อนหน้าแบบลิบลับ


“จริงๆ เราไม่ได้เป็นคนยึดติดสไตล์อยู่แล้ว” เล็กเริ่มต้นเล่า “ถ้าดูจริงๆ งานของเรามันเกี่ยวข้องกับสังคมมาตั้งแต่งานชุดน้ำท่วม ส่วนอันนี้คือการพูดเรื่องประวัติศาสตร์ เลยเหมือนกับการใช้ข้อมูล เนื้อหา และคอนเซ็ปต์เป็นตัวนำ ถ้าทำแบบเดิมก็ไม่ได้แล้ว เพราะแมสเสจจะไม่ออกเลย”

โจทย์สำคัญของนิทรรศการในครั้งนี้จึงเป็นเรื่องการสื่อสาร ที่จะว่าไปแล้วก็เป็นใจความหลักของการนำเสนอผลงานนิทรรศการไม่ว่าจะผ่านสื่อหรือแสดงด้วยรูปแบบใดก็ตาม คำถามสามัญสุดคลาสสิกที่เกิดขึ้นกับทุกงานและทุกคนคือ ‘เราจะทำยังไงให้สิ่งที่เราคิดกับเนื้อหาถูกถ่ายทอดออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด’ แล้วคำตอบสำหรับรูปแบบการนำเสนอก็ค่อยแตกต่างกันไปตามเรื่องราวที่ต้องการสื่อสาร

“เพราะฉะนั้นสไตล์ไม่เกี่ยวแล้ว เนื้อหาจะนำเราไปว่า เรื่องนี้ต้องใช้อะไรที่จะมาสื่อสารมันได้ดีที่สุด มันก็สรุปออกมาเป็นอย่างนี้”


นอกจากงานภาพถ่ายทำสีฉูดฉาดกระตุ้นต่อมเอ๊ะให้ผู้คนตั้งแต่แรกเห็น เล็กเลือกใช้วิธีการสื่อสารผ่านการจัดการสเปซภายในห้องอย่างคุ้มค่าที่สุด ให้ทุกรายละเอียดแม้เพียงเล็กน้อยแต่ก็กระตุ้นประสาทสัมผัสและต่อมสงสัยให้ทำงานพร้อมกันกับการเรียกคืนความทรงจำของผู้ชมออกมารวมพลัง “แมสเสจที่ส่งสารไปในห้องนี้ทั้งหมดควรจะถูกอภิปราย อันนี้คือสิ่งที่ท้าทายสำหรับนิทรรศการนี้”

“การถ่ายรูปกับการทำนิทรรศการก็ไม่เหมือนกันอีก เพราะถ่ายรูปโปรเจกต์เสร็จเรียบร้อย ก็ต้องมาคิดต่อว่า จะสื่อสารยังไงในนิทรรศการให้มีประสิทธิภาพ พวกนี้มันถูกคิด หลังจากเข้ามาดูพื้นที่ในห้องจัดแสดงว่าเราจะสื่อสารและจัดการข้อมูลอย่างไรเพื่อการจัดแสดงในนิทรรศการ” 

“เพราะงานชิ้นนี้มีรายละเอียดและเนื้อหาหลายส่วนที่งานภาพถ่ายสองมิติแบบขนบที่เราเคยทำไม่สามารถสื่อสารได้”  

ก่อนงานนี้จะเกิดขึ้น เล็กวางแผนการทำงานตั้งแต่การทำโมเดลเพื่อจำลองพื้นที่ภายในห้อง เพื่อสำรวจว่าเหมาะสมกับชิ้นงานอย่างไร จัดวางแบบไหน และสามารถย้อนกลับมาดูอีกครั้งได้ว่าจะต้องปรับแก้หรือเพิ่มส่วนใดบ้าง กว่าจะออกมาเป็นพื้นหญ้าสีเขียวที่เรายืนอยู่


ณ จุดที่เรายืน ความจริงคือสิ่งที่อยู่ตรงหน้าทั้งหมด แต่ความจริงที่มองเห็นคือความจริงแท้หรือไม่ เทคนิคการทำภาพคืออีกขั้นตอนการสื่อสารในอีกระดับ

เล็กเลือกใช้เทคนิคกับการทำงานภาพที่บอกเล่าความคิดได้ดีที่สุด ตั้งแต่ขนาดภาพที่เท่ากับสัดส่วนของหนังสือพิมพ์หน้าคู่ การย้อมสีภาพให้คล้ายกับโปสการ์ดส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทยในยุค 60s-70s ที่ชวนให้คิดถึงความสวยงามและสันติสุข การเลือกทำผิวภาพแบบมันวาว และพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ที่ถูกซ้อนทับบนภาพที่มองเห็นเฉพาะผู้เข้าชมงานในพื้นที่จริงเท่านั้น ทุกเทคนิคทำขึ้นเพื่อสื่อสารให้ผู้คนฉุกคิดให้เรา ‘กลับมาสู่ความเป็นจริงมากขึ้นในการมองเหตุการณ์ทางสังคม’

เช่นเดียวกันกับงานนิทรรศการครั้งนี้ที่ใช้เนื้อหาและองค์รวมของการจัดการพื้นที่มาสื่อสาร เล็กหวังว่าอย่างน้อยผู้เข้าชมงานจะได้อะไรกลับไปบ้างไม่มากก็น้อยจากการชมงาน

“อย่างน้อยที่สุด ก็หวังว่าคนจะมีคำถามเกี่ยวกับลักษณะของการจัดแสดง โดยรวมแล้วหน้าที่ของเราในการทำงานครั้งนี้คือ ข้อมูลที่เราพบมานำเสนอ แล้วให้คนได้อ่าน และวิเคราะห์จากสิ่งที่อ่านและภาพที่เห็นตามความเข้าใจของแต่ละบุคคล”

 

--

UNDER THE BURNING SUN THE GRASS IS GREENER THAN EVER
นิทรรศการเดี่ยวโดย เล็ก เกียรติศิริขจร
ภัณฑารักษ์ กฤษฎา ดุษฎีวนิช
8 กรกฎาคม - 3 กันยายน 2566
HOP PHOTO GALLERY ชั้น 3 โซน MUNx2 ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์



ภายในห้องจัดนิทรรศการ เราเหยียบย่ำบนผืนหญ้าสีเขียว รายล้อมด้วยภาพถ่ายสีสันสดใส บนพื้นระเกะระกะไปด้วยสายไฟกองโต ใจนึงก็คิดว่าทำไมถึงมาอยู่ตรงนี้ได้นะ แต่อีกใจนึงก็เห็นภาพพวกนี้เป็นปกติอยู่แล้วนี่นา

เราอยู่ในนิทรรศการ Under The Burning Sun The Grass Is Greener Than Ever โดย เล็ก เกียรติศิริขจร ศิลปินช่างภาพผู้สื่อสารข้อมูลผ่านงานภาพถ่ายและศิลปะ หากคุณรู้จักเล็กอยู่แล้ว อาจจะรู้สึกว่า งานนี้ดูแตกต่างออกไปจากงานก่อนหน้าแบบลิบลับ


“จริงๆ เราไม่ได้เป็นคนยึดติดสไตล์อยู่แล้ว” เล็กเริ่มต้นเล่า “ถ้าดูจริงๆ งานของเรามันเกี่ยวข้องกับสังคมมาตั้งแต่งานชุดน้ำท่วม ส่วนอันนี้คือการพูดเรื่องประวัติศาสตร์ เลยเหมือนกับการใช้ข้อมูล เนื้อหา และคอนเซ็ปต์เป็นตัวนำ ถ้าทำแบบเดิมก็ไม่ได้แล้ว เพราะแมสเสจจะไม่ออกเลย”

โจทย์สำคัญของนิทรรศการในครั้งนี้จึงเป็นเรื่องการสื่อสาร ที่จะว่าไปแล้วก็เป็นใจความหลักของการนำเสนอผลงานนิทรรศการไม่ว่าจะผ่านสื่อหรือแสดงด้วยรูปแบบใดก็ตาม คำถามสามัญสุดคลาสสิกที่เกิดขึ้นกับทุกงานและทุกคนคือ ‘เราจะทำยังไงให้สิ่งที่เราคิดกับเนื้อหาถูกถ่ายทอดออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด’ แล้วคำตอบสำหรับรูปแบบการนำเสนอก็ค่อยแตกต่างกันไปตามเรื่องราวที่ต้องการสื่อสาร

“เพราะฉะนั้นสไตล์ไม่เกี่ยวแล้ว เนื้อหาจะนำเราไปว่า เรื่องนี้ต้องใช้อะไรที่จะมาสื่อสารมันได้ดีที่สุด มันก็สรุปออกมาเป็นอย่างนี้”


นอกจากงานภาพถ่ายทำสีฉูดฉาดกระตุ้นต่อมเอ๊ะให้ผู้คนตั้งแต่แรกเห็น เล็กเลือกใช้วิธีการสื่อสารผ่านการจัดการสเปซภายในห้องอย่างคุ้มค่าที่สุด ให้ทุกรายละเอียดแม้เพียงเล็กน้อยแต่ก็กระตุ้นประสาทสัมผัสและต่อมสงสัยให้ทำงานพร้อมกันกับการเรียกคืนความทรงจำของผู้ชมออกมารวมพลัง “แมสเสจที่ส่งสารไปในห้องนี้ทั้งหมดควรจะถูกอภิปราย อันนี้คือสิ่งที่ท้าทายสำหรับนิทรรศการนี้”

“การถ่ายรูปกับการทำนิทรรศการก็ไม่เหมือนกันอีก เพราะถ่ายรูปโปรเจกต์เสร็จเรียบร้อย ก็ต้องมาคิดต่อว่า จะสื่อสารยังไงในนิทรรศการให้มีประสิทธิภาพ พวกนี้มันถูกคิด หลังจากเข้ามาดูพื้นที่ในห้องจัดแสดงว่าเราจะสื่อสารและจัดการข้อมูลอย่างไรเพื่อการจัดแสดงในนิทรรศการ” 

“เพราะงานชิ้นนี้มีรายละเอียดและเนื้อหาหลายส่วนที่งานภาพถ่ายสองมิติแบบขนบที่เราเคยทำไม่สามารถสื่อสารได้”  

ก่อนงานนี้จะเกิดขึ้น เล็กวางแผนการทำงานตั้งแต่การทำโมเดลเพื่อจำลองพื้นที่ภายในห้อง เพื่อสำรวจว่าเหมาะสมกับชิ้นงานอย่างไร จัดวางแบบไหน และสามารถย้อนกลับมาดูอีกครั้งได้ว่าจะต้องปรับแก้หรือเพิ่มส่วนใดบ้าง กว่าจะออกมาเป็นพื้นหญ้าสีเขียวที่เรายืนอยู่


ณ จุดที่เรายืน ความจริงคือสิ่งที่อยู่ตรงหน้าทั้งหมด แต่ความจริงที่มองเห็นคือความจริงแท้หรือไม่ เทคนิคการทำภาพคืออีกขั้นตอนการสื่อสารในอีกระดับ

เล็กเลือกใช้เทคนิคกับการทำงานภาพที่บอกเล่าความคิดได้ดีที่สุด ตั้งแต่ขนาดภาพที่เท่ากับสัดส่วนของหนังสือพิมพ์หน้าคู่ การย้อมสีภาพให้คล้ายกับโปสการ์ดส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทยในยุค 60s-70s ที่ชวนให้คิดถึงความสวยงามและสันติสุข การเลือกทำผิวภาพแบบมันวาว และพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ที่ถูกซ้อนทับบนภาพที่มองเห็นเฉพาะผู้เข้าชมงานในพื้นที่จริงเท่านั้น ทุกเทคนิคทำขึ้นเพื่อสื่อสารให้ผู้คนฉุกคิดให้เรา ‘กลับมาสู่ความเป็นจริงมากขึ้นในการมองเหตุการณ์ทางสังคม’

เช่นเดียวกันกับงานนิทรรศการครั้งนี้ที่ใช้เนื้อหาและองค์รวมของการจัดการพื้นที่มาสื่อสาร เล็กหวังว่าอย่างน้อยผู้เข้าชมงานจะได้อะไรกลับไปบ้างไม่มากก็น้อยจากการชมงาน

“อย่างน้อยที่สุด ก็หวังว่าคนจะมีคำถามเกี่ยวกับลักษณะของการจัดแสดง โดยรวมแล้วหน้าที่ของเราในการทำงานครั้งนี้คือ ข้อมูลที่เราพบมานำเสนอ แล้วให้คนได้อ่าน และวิเคราะห์จากสิ่งที่อ่านและภาพที่เห็นตามความเข้าใจของแต่ละบุคคล”

 

--

UNDER THE BURNING SUN THE GRASS IS GREENER THAN EVER
นิทรรศการเดี่ยวโดย เล็ก เกียรติศิริขจร
ภัณฑารักษ์ กฤษฎา ดุษฎีวนิช
8 กรกฎาคม - 3 กันยายน 2566
HOP PHOTO GALLERY ชั้น 3 โซน MUNx2 ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์



Text:

Nathanich C.

Nathanich C.

PHOTO:

Chanathip K.

Chanathip K.

Related Posts