โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ

โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ

4 ก.ค. 2566

SHARE WITH:

4 ก.ค. 2566

4 ก.ค. 2566

SHARE WITH:

SHARE WITH:

โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ

“ทำงานไปแล้วไม่สนุก จะทำไปทำไม? ทำให้คนอื่นเศร้าไปด้วย”

คติในการทำงานออกแบบของ ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา สถาปนิกระดับตำนานของเมืองไทย ที่เล่าให้นักออกแบบรุ่นใหม่ฟังในกิจกรรม #ASASiteTour ณ โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ โดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

ความประทับใจแรกของผู้คนที่มีต่ออาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ อายุ 52 ปี แห่งนี้คือสีสันสดใสที่แต่งแต้มไปทั่วทั้งตัวอาคาร โดยตั้งใจสร้างงานแพทเทิร์นของงานกราฟิกให้เป็นเหมือนกับเครื่องมือนำทางสำหรับการใช้งานอาคาร แต่หากได้ลองใช้เวลาในอาคารแห่งนี้ จะยิ่งพบรายละเอียดเล็กน้อยที่น่าสนใจทั้งทางสถาปัตยกรรมและคุณภาพชีวิตของนักเรียนพิการทางสายตาผู้ใช้งานอาคาร

ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2514 สมัยอาจารย์สุเมธยังเป็นสถาปนิกดีกรีปริญญาเอกจบใหม่ไฟแรง ด้วยความกล้าคิดกล้าทดลองกับทั้งรูปแบบใหม่ของสถาปัตยกรรมและเทคนิคการก่อสร้าง นำมาสู่เอกลักษณ์ของงานออกแบบและเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการสถาปัตยกรรมโมเดิร์นของประเทศไทย “ความเป็นเด็กนี่ดีอย่างคือ กล้าคิด กล้าทำ”

โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ นับเป็นโรงเรียนสอนคนตาบอดแห่งแรกในประเทศไทย

วันที่จัดงานเดินชมอาคาร แม้จะเป็นวันเสาร์ แต่เราก็ยังได้ยินเสียงเด็กนักเรียนเจี๊ยวจ๊าว บ้างก็เล่นเครื่องเล่นในสนามอย่างสนุกสนาน บ้างก็นั่งจับกลุ่มคุยกันอย่างร่าเริง เพราะโรงเรียนแห่งนี้รับทั้งนักเรียนประจำ และนักเรียนแบบไป-กลับ 

ห้องเรียนในบรรยากาศอบอุ่น พร้อมอุปกรณ์ส่งเสริมการเรียนการสอนและทักษะสำหรับนักเรียนผู้พิการทางสายตา โรงเรียนเปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 2 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนส่งนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาออกไปเรียนร่วมกับโรงเรียนมัธยมทั่วไป


ถ้าเป็นปัจจุบัน คงไม่น่าแปลกใจที่อาคารจะขึ้นรูปโครงสร้างภายในเวลาอันสั้น แต่ย้อนเวลากลับไปเมื่อ 52 ปีก่อน นี่นับเป็นความตื่นเต้นที่เพียงเวลาก่อสร้างสัปดาห์เดียวก็เห็นอาคารเป็นรูปเป็นร่างแล้ว

ระบบ Prefabrication เป็นระบบการก่อสร้างที่ใช้การผลิตแต่ละชิ้นส่วน แล้วนำมาประกอบกันที่หน้างาน จะเรียกว่าความเร็วเป็นคุณค่าของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ก็ไม่ผิดนัก แม้ด้วยข้อจำกัดการก่อสร้างของประเทศไทยในยุคนั้นจะทำให้งานก่อสร้างในระบบ Prefab ยังต้องใช้ต้นทุนในเรื่องการศึกษามากเพราะเป็นยุคเริ่มต้น แต่ความกล้าครั้งนี้ก็นำมาสู่การพัฒนาเทคนิคการก่อสร้างไปพร้อมกับการสร้างตัวตนให้กับงานออกแบบของอาจารย์สุเมธ

แต่ละชิ้นส่วนของงาน Prefab ที่นี่ เสา-คาน-ผนัง-พื้น ถูกเปลือยให้เห็นโครงสร้างจริงและพื้นผิวของตัวอาคาร แล้วทำให้มีสีที่แตกต่างกันเพื่อแยกส่วนประกอบอย่างชัดเจน นี่นับเป็นความกล้าที่ฉีกออกจากงานออกแบบในยุคนั้นที่ต้องฉาบปิดให้เนี้ยบเรียบร้อย “แต่ผมก็ไม่ยอมแพ้กับความท้าทายต่อการรับรู้ของสังคม”


อาจารย์สุเมธเป็นผู้นำชมและบรรยายแต่ละส่วนด้วยตัวเอง ถึงจะออกตัวแบบติดตลกว่า “นานมาแล้ว บางทีผมก็จำไม่ได้” แต่ทุกรายละเอียดในงานออกแบบยังคงคุณค่าเสมอมา

ความแปลกใหม่ของการใช้งาน Prefab นำมาซึ่งข้อสงสัยมากมายต่างๆ นานาต่อเทคนิคการก่อสร้างรูปแบบใหม่ที่นำเข้ามาจากตะวันตกเช่นนี้ สำหรับยุโรป วิธีการนี้คือการแก้ปัญหาแรงงานและความเร็วในการก่อสร้าง แต่กับประเทศไทย ท่ามกลางความคลางแคลงใจในเรื่องความแข็งแรงคงทน อาจารย์กลับเปิดเผยร่องรอยของวัสดุและรอยต่อให้เห็นกันจะๆ

จะเรียกว่าผลงานชิ้นนี้เป็นงานที่ Make a Statement หรือเป็นถ้อยแถลงที่ตอบถึงความกังวลใจของผู้คนผ่านงานสถาปัตยกรรมก็ไม่ผิดนัก เพราะอาคารแห่งนี้ก็ยังคงตั้งตระหง่านยาวนานมาถึงปัจจุบัน ผ่านการแต่งเสริมเติมแต่งและปรับปรุงมาหลายครั้ง และยังเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาและต่อยอดงานออกแบบจากการก่อสร้างในระบบ Prefab ของอาจารย์สุเมธ ไปสู่อาคารอีกหลายหลังถัดมา


ปุ่มเหล็กฝังพื้นรอบโคนเสา คือดีไซน์ที่ใส่ใจถึงผู้ใช้งานอาคารอย่างแท้จริง

เพราะเป็นจุดย้ำเตือนผู้พิการทางสายตาว่า ตอนนี้เดินเข้าใกล้กับเสาแล้วนะ ต้องระวังดีๆ เพราะสำหรับผู้พิการทางสายตาแล้ว ทุกประสาทสัมผัสจะต้องไวอยู่เสมอ และงานออกแบบจุดเล็กจุดน้อยนี่แหละที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย 

ประสาทสัมผัสก็ช่วยให้การเรียนรู้สถาปัตยกรรมของผู้พิการทางสายตาชัดเจนขึ้น อาคารพื้นผิวเปลือยที่สัมผัสได้ถึงสัจจะของคอนกรีตผ่านการลูบคลำเป็นเหมือนความผูกพันระหว่างอาคารกับผู้ใช้งานได้โดยไม่ต้องมีอุปสรรคทางสายตา


สุดท้ายแล้ว คุณค่าที่ผ่านกาลเวลาของอาคารโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ นอกจากในฐานะบันทึกวิวัฒนาการทางสถาปัตยกรรมที่ยังมีชีวิตแล้ว ยังแฝงคุณค่าในความสำคัญของคอนกรีตและกระบวนการผ่านตัวอาคาร

ความกล้าหาญในการเปิดเผยตัวโครงสร้างอาคารแบบเปลือยเป็นมากกว่าแค่การใช้งานแบบโต้งๆ แต่ยังหมายถึงการออกแบบทุกจุดให้บอกเล่าความตั้งใจให้สมเจตนารมณ์ อย่างดีเทลของหัวเสาที่ยืนออกไปรับคานแบบพอดิบพอดี หรือปุ่มหมุดของคานที่ยื่นออกไปจากผิวผนังของอาคาร และทำสีให้เห็นด้วยว่านี่คือชิ้นส่วนคาน ที่ต่อเนื่องมาจากการรับน้ำหนักภายในอาคาร

เมื่อมีนักออกแบบรุ่นพี่ที่กล้าที่จะแสดงแนวคิดและตัวตนผ่านงานออกแบบ นี่ยิ่งเป็นแรงผลักให้ความคิดและผลลัพธ์หน้าตาใหม่ๆ เกิดขึ้น เรียกว่าเป็นมรดกทางความกล้าหาญของงานออกแบบที่เป็นบทเรียนบอกกับคนรุ่นหลังว่า “ไม่ต้องกลัว” แล้วลงมือทดลองต่อไป


“ทำงานไปแล้วไม่สนุก จะทำไปทำไม? ทำให้คนอื่นเศร้าไปด้วย”

คติในการทำงานออกแบบของ ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา สถาปนิกระดับตำนานของเมืองไทย ที่เล่าให้นักออกแบบรุ่นใหม่ฟังในกิจกรรม #ASASiteTour ณ โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ โดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

ความประทับใจแรกของผู้คนที่มีต่ออาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ อายุ 52 ปี แห่งนี้คือสีสันสดใสที่แต่งแต้มไปทั่วทั้งตัวอาคาร โดยตั้งใจสร้างงานแพทเทิร์นของงานกราฟิกให้เป็นเหมือนกับเครื่องมือนำทางสำหรับการใช้งานอาคาร แต่หากได้ลองใช้เวลาในอาคารแห่งนี้ จะยิ่งพบรายละเอียดเล็กน้อยที่น่าสนใจทั้งทางสถาปัตยกรรมและคุณภาพชีวิตของนักเรียนพิการทางสายตาผู้ใช้งานอาคาร

ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2514 สมัยอาจารย์สุเมธยังเป็นสถาปนิกดีกรีปริญญาเอกจบใหม่ไฟแรง ด้วยความกล้าคิดกล้าทดลองกับทั้งรูปแบบใหม่ของสถาปัตยกรรมและเทคนิคการก่อสร้าง นำมาสู่เอกลักษณ์ของงานออกแบบและเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการสถาปัตยกรรมโมเดิร์นของประเทศไทย “ความเป็นเด็กนี่ดีอย่างคือ กล้าคิด กล้าทำ”

โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ นับเป็นโรงเรียนสอนคนตาบอดแห่งแรกในประเทศไทย

วันที่จัดงานเดินชมอาคาร แม้จะเป็นวันเสาร์ แต่เราก็ยังได้ยินเสียงเด็กนักเรียนเจี๊ยวจ๊าว บ้างก็เล่นเครื่องเล่นในสนามอย่างสนุกสนาน บ้างก็นั่งจับกลุ่มคุยกันอย่างร่าเริง เพราะโรงเรียนแห่งนี้รับทั้งนักเรียนประจำ และนักเรียนแบบไป-กลับ 

ห้องเรียนในบรรยากาศอบอุ่น พร้อมอุปกรณ์ส่งเสริมการเรียนการสอนและทักษะสำหรับนักเรียนผู้พิการทางสายตา โรงเรียนเปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 2 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนส่งนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาออกไปเรียนร่วมกับโรงเรียนมัธยมทั่วไป


ถ้าเป็นปัจจุบัน คงไม่น่าแปลกใจที่อาคารจะขึ้นรูปโครงสร้างภายในเวลาอันสั้น แต่ย้อนเวลากลับไปเมื่อ 52 ปีก่อน นี่นับเป็นความตื่นเต้นที่เพียงเวลาก่อสร้างสัปดาห์เดียวก็เห็นอาคารเป็นรูปเป็นร่างแล้ว

ระบบ Prefabrication เป็นระบบการก่อสร้างที่ใช้การผลิตแต่ละชิ้นส่วน แล้วนำมาประกอบกันที่หน้างาน จะเรียกว่าความเร็วเป็นคุณค่าของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ก็ไม่ผิดนัก แม้ด้วยข้อจำกัดการก่อสร้างของประเทศไทยในยุคนั้นจะทำให้งานก่อสร้างในระบบ Prefab ยังต้องใช้ต้นทุนในเรื่องการศึกษามากเพราะเป็นยุคเริ่มต้น แต่ความกล้าครั้งนี้ก็นำมาสู่การพัฒนาเทคนิคการก่อสร้างไปพร้อมกับการสร้างตัวตนให้กับงานออกแบบของอาจารย์สุเมธ

แต่ละชิ้นส่วนของงาน Prefab ที่นี่ เสา-คาน-ผนัง-พื้น ถูกเปลือยให้เห็นโครงสร้างจริงและพื้นผิวของตัวอาคาร แล้วทำให้มีสีที่แตกต่างกันเพื่อแยกส่วนประกอบอย่างชัดเจน นี่นับเป็นความกล้าที่ฉีกออกจากงานออกแบบในยุคนั้นที่ต้องฉาบปิดให้เนี้ยบเรียบร้อย “แต่ผมก็ไม่ยอมแพ้กับความท้าทายต่อการรับรู้ของสังคม”


อาจารย์สุเมธเป็นผู้นำชมและบรรยายแต่ละส่วนด้วยตัวเอง ถึงจะออกตัวแบบติดตลกว่า “นานมาแล้ว บางทีผมก็จำไม่ได้” แต่ทุกรายละเอียดในงานออกแบบยังคงคุณค่าเสมอมา

ความแปลกใหม่ของการใช้งาน Prefab นำมาซึ่งข้อสงสัยมากมายต่างๆ นานาต่อเทคนิคการก่อสร้างรูปแบบใหม่ที่นำเข้ามาจากตะวันตกเช่นนี้ สำหรับยุโรป วิธีการนี้คือการแก้ปัญหาแรงงานและความเร็วในการก่อสร้าง แต่กับประเทศไทย ท่ามกลางความคลางแคลงใจในเรื่องความแข็งแรงคงทน อาจารย์กลับเปิดเผยร่องรอยของวัสดุและรอยต่อให้เห็นกันจะๆ

จะเรียกว่าผลงานชิ้นนี้เป็นงานที่ Make a Statement หรือเป็นถ้อยแถลงที่ตอบถึงความกังวลใจของผู้คนผ่านงานสถาปัตยกรรมก็ไม่ผิดนัก เพราะอาคารแห่งนี้ก็ยังคงตั้งตระหง่านยาวนานมาถึงปัจจุบัน ผ่านการแต่งเสริมเติมแต่งและปรับปรุงมาหลายครั้ง และยังเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาและต่อยอดงานออกแบบจากการก่อสร้างในระบบ Prefab ของอาจารย์สุเมธ ไปสู่อาคารอีกหลายหลังถัดมา


ปุ่มเหล็กฝังพื้นรอบโคนเสา คือดีไซน์ที่ใส่ใจถึงผู้ใช้งานอาคารอย่างแท้จริง

เพราะเป็นจุดย้ำเตือนผู้พิการทางสายตาว่า ตอนนี้เดินเข้าใกล้กับเสาแล้วนะ ต้องระวังดีๆ เพราะสำหรับผู้พิการทางสายตาแล้ว ทุกประสาทสัมผัสจะต้องไวอยู่เสมอ และงานออกแบบจุดเล็กจุดน้อยนี่แหละที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย 

ประสาทสัมผัสก็ช่วยให้การเรียนรู้สถาปัตยกรรมของผู้พิการทางสายตาชัดเจนขึ้น อาคารพื้นผิวเปลือยที่สัมผัสได้ถึงสัจจะของคอนกรีตผ่านการลูบคลำเป็นเหมือนความผูกพันระหว่างอาคารกับผู้ใช้งานได้โดยไม่ต้องมีอุปสรรคทางสายตา


สุดท้ายแล้ว คุณค่าที่ผ่านกาลเวลาของอาคารโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ นอกจากในฐานะบันทึกวิวัฒนาการทางสถาปัตยกรรมที่ยังมีชีวิตแล้ว ยังแฝงคุณค่าในความสำคัญของคอนกรีตและกระบวนการผ่านตัวอาคาร

ความกล้าหาญในการเปิดเผยตัวโครงสร้างอาคารแบบเปลือยเป็นมากกว่าแค่การใช้งานแบบโต้งๆ แต่ยังหมายถึงการออกแบบทุกจุดให้บอกเล่าความตั้งใจให้สมเจตนารมณ์ อย่างดีเทลของหัวเสาที่ยืนออกไปรับคานแบบพอดิบพอดี หรือปุ่มหมุดของคานที่ยื่นออกไปจากผิวผนังของอาคาร และทำสีให้เห็นด้วยว่านี่คือชิ้นส่วนคาน ที่ต่อเนื่องมาจากการรับน้ำหนักภายในอาคาร

เมื่อมีนักออกแบบรุ่นพี่ที่กล้าที่จะแสดงแนวคิดและตัวตนผ่านงานออกแบบ นี่ยิ่งเป็นแรงผลักให้ความคิดและผลลัพธ์หน้าตาใหม่ๆ เกิดขึ้น เรียกว่าเป็นมรดกทางความกล้าหาญของงานออกแบบที่เป็นบทเรียนบอกกับคนรุ่นหลังว่า “ไม่ต้องกลัว” แล้วลงมือทดลองต่อไป


Text:

Nathanich C.

Nathanich C.

PHOTO:

Nathanich C.

Nathanich C.

Related Posts