บุญ เลิศวิไล: 15 ปีบนเส้นทางดีไซเนอร์และการทำงานที่ท้าทายในสตูดิโอระดับโลก M/M (Paris)
บุญ เลิศวิไล: 15 ปีบนเส้นทางดีไซเนอร์และการทำงานที่ท้าทายในสตูดิโอระดับโลก M/M (Paris)
30 ต.ค. 2567
SHARE WITH:
30 ต.ค. 2567
30 ต.ค. 2567
SHARE WITH:
SHARE WITH:
บุญ เลิศวิไล: 15 ปีบนเส้นทางดีไซเนอร์และการทำงานที่ท้าทายในสตูดิโอระดับโลก M/M (Paris)
M/M (Paris) สตูดิโอชื่อดังจากฝรั่งเศสที่ก่อตั้งโดยสองดีไซน์เนอร์คู่หู Michael Amzalag และ Mathias Augustyniak จากจุดเริ่มต้นในฐานะนักออกแบบกราฟิก สู่การพัฒนาผลงานด้านออแบบภาพลักษณ์และกำหนดทิศทางในด้านการทำแคมเปญของแบรนด์ต่างๆที่มีชื่อเสียงระดับโลก มาตลอดเวลากว่า 30 ปี
สิ่งที่ M/M (Paris) โดดเด่นด้านการออกแบบที่แหกกรอบ เต็มไปด้วยความอิสระในการสร้างสรรค์ โดยเฉพาะการทดลองสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ เราได้เห็นผลงานที่โดเด่น เช่น การออกแบบปกอัลบั้มให้กับศิลปินชื่อดังอย่าง Björk, Madonna, และ Kanye West รวมถึงการทำงานร่วมกับแบรนด์ระดับโลกอย่าง Yohji Yamamoto, Jil Sander, JW Anderson, LOEWE, และ MIU MIU ล้วนแต่สะท้อนถึงสไตล์ที่มีความชัดเจนและไม่เหมือนใคร ด้วยผลงานที่มีเอกลักษณ์จนสร้างภาษาการออกแบบที่ชัดเจนเป็นของตัวเอง M/M (Paris) จึงมีอิทธิพลต่อวงการดนตรี แฟชั่น และศิลปะของโลก มาจนถึงทุกวันนี้
เราได้มีโอกาสพูดคุยกับ บุญ เลิศวิไล ดีไซเนอร์ไทยที่ได้ร่วมงานกับสตูดิโอแห่งนี้มากว่า 15 ปี หลากหลายผลงานที่ผ่านมาการได้ดูแลงานแคมเปญโฆษณาของ LOEWE , การออกแบบ Packaging น้ำหอมของ Louis Vuitton และได้ออกแบบรันเวย์แฟชั่นโชว์ให้กับแบรนด์ MIU MIU , Alexander Mcqueen และผลงานกับแบรนด์ที่มีชื่อเสียงอีกมากมาย จากเด็กที่เริ่มต้นเข้าไปฝึกงานจนได้เข้ามาทำงานเป็นดีไซเนอร์ประจำสตูดิโอ ในตลอดการใช้ชีวิตที่ปารีสคือการที่ได้เรียนรู้ถึงวิธีคิด ประสบการณ์ที่ได้ร่วมงานแบรนด์และคนที่มีชื่อเสียงระดับโลก ทำให้ต้องฝึกฝนยังคงต้องปรับตัวและพร้อมที่จะเรียนรู้อยู่เสมอในทุกๆวัน รวมถึงการทำงานกับผู้คนรุ่นใหม่ที่ปัจจุบันอยู่ภายใต้กระแสของ work life balance และการมาของ AI ที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในวงการการออกแบบ
“ก่อนหน้านั้นเราไม่ได้รู้จักฝรั่งเศส เราพูดไม่ได้ ไม่ได้รู้จักประเทศนี้ขนาดขนาดนั้น แต่พ่อเขาอยากให้ไปเรียนจริงๆ ตอนแรกเราคิดว่าจะไปเรียน แต่พอไปถึงเราเข้าโรงเรียนที่อยากเข้าไม่ได้ ก็เรียนไปที่อื่นก่อน 1 ปี เพื่อที่จะรอสอบใหม่ ในระหว่างนั้นเป็นช่วงว่าง เราก็เลยอยากหาที่ฝึกงาน เลยไปเคาะประตูออฟฟิศที่ M/M (Paris)”
ฟังไม่ผิด! “เคาะประตูที่ออฟฟิศ M/M” ?
“ใช่! เราเริ่มจากการขอเข้าไปฝึกงาน แต่จริงๆ เราดูงานมาตั้งแต่ตอนที่เราเรียนที่ศิลปกรรม จุฬาฯ รู้สึกว่าชอบงานแนวนี้ แต่ว่าไม่ได้รู้เรื่องอะไร แต่ชอบในสไตล์งานที่น่าสนใจ ตามประสาเด็กเรียนออกแบบ”
“ตอนนั้นเขาไม่ได้จะให้เราฝึกงาน ตอนที่ขอเข้าไปคุยครั้งแรกเขาก็บอกว่าไม่มีอะไรให้ทำ เขาเพิ่งรีโนเวทสตูดิโอใหม่ พอเราเข้าไปถึงเขาชี้ไปที่หนังสือที่วางกองอยู่เต็มห้องให้เราดู และบอกให้เรามาช่วยจัดหนังสือหน่อย ซึ่งเราก็ไม่ได้ติดอะไร แต่เราก็บอกเขาไปว่าถ้ามีบริษัทที่หาเด็กฝึกงานก็บอกเราด้วย ตั้งแต่วันนั้นถึงวันนี้เราก็อยู่ที่นี่มา 15 ปี นี่คือจุดเริ่มต้นที่เราได้เข้ามาที่นี่”
“เราก็เพิ่งรู้ทีหลังว่า M/M (Paris) ไม่ได้รับเด็กฝึกงาน เพราะตั้งแต่อยู่มาเขามีเด็กฝึกงานแค่ 5 คนโดยประมาณ และทุกคนที่มาใช่ว่าจะเป็นคนเก่งนะ เรามองว่ามันคือจังหวะของชีวิต ดวงดีหรืออะไรก็แล้วแต่ ในมุมคนนอกมองเข้ามาคิดว่าจะต้องผ่านด่านการสัมภาษณ์หรือการคัดเลือกผลงานที่น่าจะเข้มงวด แต่จริงๆและกลับไม่ได้มีอะไรซับซ้อน มันไม่ได้มีเหตุผลอะไรขนาดนั้น การมาเจอที่นี่มันก็เหมือนกับเรื่องบังเอิญในชีวิตเหมือนกัน คือสำหรับคนที่นี่มันต้องมีคุณสมบัติบางอย่างที่เข้ากันได้และคุยกันรู้เรื่องมากกว่า
M/M (Paris) Achieve ผลงานการจัดเรียงหนังสือของเด็กฝึกงาน ที่ยังคงอยู่ในทุกวันนี้
“งานแรกของการเข้ามาสตูดิโอคือมีหนังสือกองโตอยู่ที่กลางห้อง หน้าที่ของเราคือนำมาจัดเรียงเป็นหมวดหมู่ตามช่วงเวลาและประเภท แบ่งตามรูปแบบของผลงานการออกแบบของสตูดิโอทั้งสิ่งพิมพ์ แมกกาซีน หนังสือ ฯลฯ สิ่งที่เราทำตอนนั้นยังคงเรียงอยู่แบบเดิมอยู่ในห้องมาจนถึงปัจจุบัน จากนั้นเราก็ช่วยงานอยู่ที่ออฟฟิศประมาณ 2 – 3 เดือน จนวันหนึ่งเขาเรียกดูพอร์ตโฟลิโอ ซึ่งย้อนกลับไปช่วงก่อนมาที่ปารีส เราทำที่ be>our>friend ของอาจารย์มะลิ เรามีผลงานที่ทำเป็น 3D อยู่หลายตัว เรามีงานออกแบบโรงแรม งานตกแต่งสเปซต่างๆ พอเขาได้เห็นงานเราก็รับเข้ามาทำในส่วน 3D ของออฟฟิศ เป็นจุดเริ่มต้นที่ได้ทำงานกับ M/M (Paris) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และได้เริ่มงานแรกคือการได้ทำงานออกแบบโคมไฟไฟแชนเดอเลียร์ ที่จะไปติดตั้งให้กับโรงแรม Thoumieux ที่ฝรั่งเศส
บรรยากาศการทำงานในสตูดิโอดีไซน์ระดับโลกเป็นอย่างไร ?
“ช่วงที่เราเข้ามาเมื่อก่อน บรรยากาศในออฟฟิศมันจะเย็นๆ (หัวเราะ) คือมันเงียบๆ ไม่คุยกัน ไม่พูดอะไรกันเลย ยิ่งวันที่ Michael กับ Mathias ไม่อยู่ ก็ไม่มีใครพูดอะไรเลย..(ลากเสียงยาว) เงียบมาก และ Michael จะเป็นคนเดียวในออฟฟิศที่เปิดเพลงได้ แต่เดี๋ยวนี้มันก็เปลี่ยนไปแล้ว เราทำงานช่วงนั้นเราก็ชอบอยู่ดึกเพราะเราก็ไม่มีอะไรทำ ช่วงนั้นเราได้พูดคุยกับหัวหน้าเรามากขึ้น
"ได้แลกเปลี่ยนกันเรื่องงาน เรื่องวิธีคิด เขาก็ดูแฮปปี้กับเรานะ จนผ่านเวลามาเราอยู่ที่นี่มา 15 ปี สิ่งที่เราได้สัมผัสเขามาตลอดคือเห็นการทำงานมาตรฐานที่สูง ไม่หย่อนกับการทำงาน มันเต็มไปด้วย DNA ของ Michael กับ Mathias ที่มีความ”ดื้อ”บนมาตรฐานที่สูง ทำงานที่คนอื่นไม่กล้าทำ กล้าทำงานที่สร้างความแตกต่าง ทำให้ผลงานของ MM มันยังทิ้งลายเซ็นต์และเอกลักษณ์ที่เด่นชัดมาอย่างยาวนาน แต่ปัจจุบันบริบทของรอบๆ มันเปลี่ยนไป เขาก็มีวิวัฒนาการของเขาที่ต้องรับความเปลี่ยนแปลง เราก็ต้องปรับตัวมาทำงานที่หลากหลายมากขึ้น ความต้องการของตลาดในปัจจุบัน"
การทำงานแบบ A – Z คนในออฟฟิศต้องเรียนรู้ทั้งกระบวนการ
“การเป็นดีไซเนอร์ที่นี่ต้องเรียนรู้การทำงานตั้งแต่เริ่ม เริ่มตั้งแต่การเริ่มต้นไปเจอลูกค้าซึ่งเราต้องไปรับบรีฟเองหรือ บางครั้ง Michael กับ Mathias เขาไปคุยแล้วมาบรีฟเรา เราจำเป็นต้องโฟกัสและมีไหวพริบที่จะทำความเข้าใจให้ได้มากที่สุด ปัจจุบันในสตูดิโอเรามีดีไซน์เนอร์กันอยู่ 4 คน หัวหน้า 2 คน และผู้จัดการสตูดิโอ 1 คน แน่นอนว่าแต่ละคนมันไม่ได้ถือแค่งานเดียวอยู่แล้ว มันก็ต้องทำให้เราเรียนรู้ตัวเองให้มีทักษะที่รอบด้าน มันต้องทำงานเองได้ตั้งแต่ต้นจนจบ”
“ถ้าบรีฟงาน เขาจะบอกกับเราว่า เขาไปคุยกับใครมา? มีอะไรบ้าง? หน้าที่ของเราคือก็ต้องไปรีเสิร์จว่าคนที่เขาไปเจอคือใคร? แบรนด์นี้คืออะไร? ต้องการอะไร? เขาไม่ได้มีเวลามานั่งอธิบายเราทั้งหมด เขาจ้างเรามาเพื่อทำงานต่อ เราต้องดีไซน์มันออกมาให้ได้ เราต้องรู้ว่างานแต่ละงานควรจะทำอะไรกับมันบ้าง ดังนั้นการทำงานที่นี่ต้องมีความแอคทีฟที่จะเรียนรู้ให้ได้รวดเร็ว”
“M/M (Paris) มีภาษาในการดีไซน์ที่เขาสร้างรากฐานมามาตลอด 30 ปี เขาไม่แคร์เลยว่าคนอื่นจะบอกว่าภาษาของคุณนั้นฉันไม่เข้าใจหรืออะไรก็ตาม แต่ภาษาของเขามันชัดเจนมาก ถึงแม้ว่าสื่อต่างๆมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยแต่การที่เขามีตัวตนที่ชัดเจนทำให้เขามีเอกลักษณ์ คนดูแล้วรู้เลยว่าใครทำ งานที่ทำออกมามันต้องท้าทายอะไรบางอย่าง เขาชอบที่ให้คนดูงานแล้วเกิดการถกเถียง ได้คิดต่อ และเห็นประเด็นอะไรบางอย่างในงาน นั่นคือสิ่งที่เขาทดลองอยู่เสมอ เราคิดว่าตรงนี้คือจุดที่ทำให้เขาดำเนินธุรกิจมาได้จนทุกวันนี้”
“เราว่ามันยากมากเลยนะ กว่าที่จะใช้เวลาเรียนรู้ให้เข้าใจกับ Michael กับ Mathias การทำธุรกิจเป็นบริษัทดีไซน์ที่มันใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานอยู่ตลอด เขามีวิธีในการทำให้เราเรียนรู้บางอย่าง ที่นี่มีเทคนิคของการสร้างบทสนทนา การพูดคุยกับเราไปเรื่อยๆ บางครั้งหัวหน้าเราก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะเอาอะไร(หัวเราะ) ทำให้เราต้องคอยวิเคราะห์ จับประเด็นที่เขาต้องการให้ได้ จนเป็นวัฒนธรรมการทำงานไปแล้ว ทุกวันนี้เราก็ยังต้องใช้เวลาในการเรียนรู้สิ่งเหล่านี้อยู่ตลอด ในบางครั้งเราก็หงุดหงิดกับวิธีการแบบนี้ แต่หากมองอีกมุมก็คือเขามอบหมายให้เราเป็น “Director” ของงาน ดังนั้นคำว่า “Direct” เขาจ้างมาให้เราคิด กำหนดทิศทางที่ควรจะเป็น มันคือโจทย์ที่ต้องทำให้ได้เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นแกนหลักของงานทั้งหมดที่มาจากเราจึงสำคัญ เราก็เลยเข้าใจว่านี่เป็นสิ่งที่เขาวางแนวทางไว้ เป็นวิธีการทำงานของ M/M งานมันจึงออกมาเป็นแบบนี้ มีความอิสระที่อยู่ในภาษาที่เขาวางเอาไว้
“ส่วนของการปรับจูนวิธีการทำงานความที่เราเป็นคนต่างชาติ เราชอบที่เรียนรู้เรื่องของภาษาเป็นนิสัยส่วนตัวอยู่แล้ว เราจึงได้ฝึกใช้ในการทำงาน พูดคุยกับคนในออฟฟิศไปพร้อมๆกัน จึงไม่ค่อยมองว่ามันเป็นอุปสรรค ส่วนวิธีคิดงานด้านการออกแบบบางครั้งก็มีเรื่องของความเป็นไทยติดตัวมาเหมือนกัน เราเป็นคนชอบใส่สีสันของหลอดนีออนเข้าไปในงานโดยที่เราไม่รู้ตัว ซึ่งตอนนั้นหัวหน้าเราดูก็ไม่เข้าใจ จนวันที่เราพาเขามาเที่ยวเมืองไทย เขาก็มาเห็นหลอดไฟตามงานวัด งานรื่นเริงต่างๆ เขาจึงเข้าใจเลยว่า อ๋อ...แบบนี้นี่เอง เขาก็ปล่อยให้เราทำเลย”
“อีกอย่างที่สำคัญคือที่ M/M (Paris) ไม่มีวัฒนธรรมการประชุม จะเน้นที่การให้ลงมือทำก่อน ต้องทดลองทำไปจนถึงจุดหนึ่งแล้วเจออะไรบางอย่าง ถึงเวลานั้นค่อยเอางานกลับมาพูดคุย ซึ่งหัวหน้าจะมาช่วยดูในภาพรวม ว่าต้องแก้ตรงไหน มันจะไม่มีการประชุมที่ยืดเยื้อเสียเวลา เราเป็นบริษัทที่มันไม่ค่อยพูดกันเยอะบางครั้งเรายังไม่รู้เลยว่าเพื่อนทำงานโปรเจกต์อะไรอยู่ในช่วงนี้ และมีหลายงานที่ทำงานคนเดียวจบทั้งหมดเลยก็มี แต่หากจำเป็นต้องไปช่วยงานของคนอื่นที่มีรูปแบบงานเกี่ยวข้องกัน เราก็ต้องเรียนรู้และเข้าใจในงานนั้นทั้งหมดด้วยเหมือนกัน เราเลยตอบได้ยากว่ามันมีระบบที่ดีหรือไม่ แต่ทุกคนที่นี่จะมีสัญชาติญาณที่รู้กันว่าต้องลองทำไปก่อน โดยจะไม่ทำอะไรที่เสียเวลาในการทำงานเพราะต่างคนก็มีงานของตัวเองต้องรับผิดชอบ”
ผู้คน เมือง วัฒนธรรม และชีวิตการทำงานในปารีส
“ถ้าพูดในมุมของชีวิตส่วนตัว ปกติเรื่องสภาพแวดล้อมภายนอกจะไม่มีผลต่อตัวตนของเราอยู่แล้ว ชีวิตความเป็นอยู่ที่นี่เราไม่ค่อยได้เป็นเพื่อนกับคนทำงานฝั่งกราฟิกดีไซน์สักเท่าไหร่ เรามีเพื่อนที่หลากหลายไม่ค่อยแฮงค์เอาท์กันกับสายงานงานเดียวกันมากนัก ชีวิตงานของการเป็นนักออกแบบเราก็ยังมีความรู้สึกที่ไม่ชอบ ไม่ถูกใจ ในงานของเราเองในบางครั้ง เราคิดว่าการที่มีกลุ่มเพื่อนดีไซน์เนอร์หรือการมองหาวัฒนธรรมที่ชอบเหมือนๆกันมันก็เป็นเรื่องดี แต่บางครั้งการอยู่ในกลุ่มคนที่เหมือนๆกัน ในแง่วิธีคิดที่มีมุมมองในทางเดียวกันจนทำให้มีแนวทางหรือปรัชญาเหมือนๆกัน สิ่งเหล่านี้มันมีผลทำให้เราดึงตัวตนกลับมาได้ยากนะ เราจึงมองว่าการเปิดรับวัฒนธรรมที่หลากหลาย อย่างน้อยต้องมีคนโต้แย้งอะไรบางอย่างเข้ามาในวงจรนี้บ้าง ทำให้เราได้เห็นอะไรที่มันกว้างขึ้น”
“ถึงแม้ว่าเราทำงานอยู่ที่นี่มานาน เราไม่สามารถพูดได้ว่าในวงการออกแบบที่ฝรั่งเศส หากเทียบกับบ้านเราแล้วเป็นอย่างไร เพราะเราก็ไม่ได้รู้จักดีไซน์ของที่นี่ขนาดนั้น แต่ข้อดีของที่นี่คือข้อจำกัดทางด้านสังคมมันน้อย ประเด็นที่เราอยากจะสื่อสารในการทำงานมันก็จะแสดงออกได้มากกว่า สามารถกเถียงและวิจารณ์กันได้อย่างเสรีในแบบที่ประเทศไทยเราทำไม่ได้ ถ้าผลงานอะไรที่มันดีหรือไม่ดี หากว่ามันจบไปแล้วมันก็ผ่านไป ที่นี่เขาไม่ได้สนอะไรขนาดนั้น โดยเฉพาะคนปารีส”
“ส่วนตัวคิดว่าคนปารีสกับคนฝรั่งเศสก็แต่งต่างกันนะ ไม่ต่างจากคนกรุงเทพกับคนต่างจังหวัด มันก็ไม่ได้มีคนเห็นด้วยกับความเสรีทางการวิจารณ์ด้วยเหมือนกัน ซึ่งเราก็เห็นว่าจากงานโอลิมปิกก็ยังมีคนไม่เห็นด้วยเหมือนกัน แต่ก็เข้าใจว่ามันก็คือความหลากหลายของสังคม ในแต่ละพื้นที่ก็มีค่านิยมที่แตกต่างกันไป สิ่งเหล่านี้มันเกี่ยวข้องกับวิธีคิดในการทำงานของเราที่นี่เหมือนกัน”
“ ในเรื่องของจริตของความ “โนว์สนโนวแคร์” ของผู้คนที่นี่ สำหรับเราว่ามันก็มีผลต่อการทำงานการออกแบบนะ การที่จะเป็นดีไซน์เนอร์ที่ดีต้องมีความมั่นหน้าในระดับนึง แต่ความมั่นหน้าที่ดีจะพาเราไปสู่การเป็นดีไซน์เนอร์ที่ดีรึเปล่านั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณมีของขนาดไหน”
“การทำงานของเรามันก็มีทั้งสำเร็จและไม่สำเร็จ แต่เราก็ต้องฝึกตัวเองให้มั่นใจในสิ่งที่เราทำ ถึงแม้ว่าเราอยู่บริษัทระดับโลกที่โด่งดัง แต่ก็ต้องตกผลึกความคิดตัวเองและเปิดรับอยู่เสมอ การมองความสำเร็จในงานออกแบบมันมีหลายมิติ ตอนนี้เราก็มีโอกาสดีที่เราได้มีโอกาสทำงานกับแบรนด์ใหญ่กับคนที่มีชื่อเสียง ดังนั้นเราก็ต้องฝึกตัวเองให้มั่นใจกับสิ่งที่เราทำ เวลาไปเสนอลูกค้าก็ต้องโน้มน้าวคนเหล่านี้ให้ได้ มันก็เป็นความท้าทายของเรา แต่ต้องบอกก่อนว่าลูกค้าที่มาจ้าง M/M (Paris) เขารู้แล้วว่าจะได้รับอะไรจากเรา บางครั้งสิ่งที่ตัดสินผลงานที่ความสำเร็จมันจึงตอบยาก มันมีหลายฟังก์ชันและมีองค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งความเชื่อใจ ความสัมพันธ์ ประสบการณ์ ฯลฯ ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละที่มากกว่า
ในยุคที่ Work-Life Balance กำลังมาแรง แต่ชีวิตของดีไซน์เนอร์คือการแลก"เวลา"กับผลงานที่ต้องสร้างสรรค์
“เราไม่ได้มีปัญหาอะไรกับคำนี้นะ อย่างที่ M/M (Paris) ก็มีประเด็นเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน เราพยายามจะหาคนเข้ามาทำงานที่มันเหมาะกับเราแต่ก็ไม่ได้ง่าย เรามองว่ามันเป็นยุคสมัยของเด็กรุ่นนี้ ในวัยของเขาจะพูดเรื่องนี้กันหมด เช่น สวัสดิการที่ควรจะได้ การลางาน ชีวิตส่วนตัว สิ่งเหล่านี้เป็นผลพวงจากกระแส “Woke” ที่เด็กรุ่นใหม่เขามีค่านิยมแบบนี้ มันคือการเลือกสิ่งที่ดีสำหรับชีวิตเขา ซึ่งมันก็ต่างไปจากคนรุ่นเรา ที่ M/M (Paris) ไม่ได้มีเวลาเข้างานแบบตายตัว บางวันก็อยู่ดึกแต่บางครั้งก็เริ่มงานช่วงบ่ายแล้วกลับเร็วก็มี เด็กๆรุ่นใหม่เขาก็มีแนวคิดที่วันหนึ่งก็อยากทำอะไรเป็นของตัวเอง ซึ่งปัจจัยชีวิตของแต่ละคนมันก็แตกต่างกันไป
“เราก็มีปัญหาการรับสมัครคนอยู่บ้าง สตูดิโอเราถึงจะมีชื่อเสียงแต่ก็ไม่ได้มีเกณฑ์ในการรับสมัครที่ตายตัว หัวหน้าเรามีแนวคิดว่าอยากให้คนมาทำงานแล้วอยากให้อยู่ที่นี่นานๆ อยากได้คนที่ชอบการทำงานและมีแพสชันกับการออกแบบจริงๆ แต่คนที่เข้ามามันก็หลากหลาย บางครั้งเราคัดเลือกตามผลงานและเราเป็นคนเรียกสัมภาษณ์คัดกรองแบบจริงจังแต่คนนี้กลับอยู่ไม่นาน แต่กับบางคนที่ประเภท “จักรวาลจัดสรร” มาเพราะโชคช่วยหรือมากับดวง ไม่ได้ดูอะไรมาก เน้นพูดคุย แต่กลับอยู่ได้นานก็มี! 555 หรือเพราะมันอาจจะคลิกกันมากกว่า จะบอกว่ามันไม่มีสูตรตายตัว เรื่องการเข้าออกของคนทำงานมันเปลี่ยนแปลงได้อยู่เสมอเราก็แค่จัดการกับมันให้ได้แค่นั้น
“ในมุมธุรกิจที่นี่ก็มีการแข่งขันสูง สตูดิโอต่างๆเกิดขึ้นพร้อมกับเด็กยุคใหม่ที่เก่งขึ้น เราก็รู้ตัวอยู่แล้วว่าเราไม่ได้อยู่ค้ำฟ้า วันหนึ่งก็จะมีคนรุ่นใหม่เข้ามาทดแทน ทุกวันนี้แม้แต่ Michael กับ Mathias ถึงแม้จะอยู่ในวัย 60 แล้ว เขายังต้องเรียนรู้ว่า ต้องพัฒนาตัวเองอยู่ทุกวัน ตามบริบทต่างๆ ที่มันเปลี่ยนแปลงไป สตูดิโอที่นี่จึงต้องแข่งกันสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อให้มีผลงานที่สดใหม่ และโดดเด่นอยู่เสมอ”
อนาคตการเข้ามาของ AI ที่จะมีบทบาต่อโลกของการออกแบบ
“เราว่าเราควรเรียนรู้ไปกับมันนะ ปัจจุบันเราก็ใช้งานกันอยู่เป็นประจำ ถ้าอะไรที่มันทำให้เราได้ทดลองจากมัน ในรูปแบบต่างๆ ทั้งการทำสไลด์ ทำตัวอย่าง Key Visual เพื่อขายงานลูกค้า ฯลฯ แต่เราก็ต้องระมัดระวังในการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น เราใช้โปรแกรม 3D ทำภาพร่าง มันก็จะได้ภาพที่มีขีดจำกัดพอประมาณ เราเห็นแล้วสามารถจินตนาการภาพจบมันได้ แต่ในปัจจุบันหากเราใช้โปรแกรมที่ AI สำหรับ gen ภาพเพื่อให้ภาพสมจริงมากขึ้น ทั้งแสงสี เพื่อจำลองสถานการณ์ต่างๆ บางครั้งลูกค้าก็ยังไม่พร้อมที่จะรับมือกับประสบการณ์การเห็นภาพในลักษณะนี้ เหมือนกับเราพาลูกค้าเราไปสู่ “Uncanny Valley” มุมมองไม่คุ้นเคย ไม่เคยเห็น ไปอยู่ที่ที่เราไม่เคยได้ไป เหมือนมันสร้างโลกคู่ขนานในจินตนาการที่คนไม่เคยเห็นขึ้นมาใหม่ ทำให้ลูกค้าก็อาจจะเกิดเกิดความกังวลและไม่มั่นใจบางอย่างอยู่ เรามองว่าภาพที่ gen มาจาก AI ทั้งหมดมันเต็มไปด้วยความรู้สึกแบบนี้เยอะมาก”
“เราไม่เชื่อว่าวันหนึ่ง AI มันจะมาแทนดีไซน์เนอร์ ถ้ามาแทนได้ก็คงแทนที่ดีไซน์เนอร์บางส่วนที่ไม่ได้เรื่อง ซึ่งจุดนี้ในฐานะนักออกแบบเราก็ต้องพัฒนาตัวเองอยู่ตลอด ถ้าจะเปรียบเทียบ AI ว่ามันคือ “คน” ที่เป็นผู้ช่วยเราทำงาน เราคือคนที่ต้องสั่งงานให้มันทำก่อน ต้องคิดคำสั่งที่เหมาะสม ให้มันได้ผลที่เราต้องการ สุดท้ายเราคือคนควบคุม AI เหล่านี้อยู่ดี
“ถ้ารู้ตัวเองจะทำอะไร ให้ทำเอง
แต่ถ้าคิดไม่ออกว่าจะทำอะไร ก็ลองใช้ AI”
ติดตามผลงานของ บุญ เลิศวิไล ได้ที่ Instagram : booneries #คนสวยทำอะไรออกมาก็สวย
M/M (Paris) สตูดิโอชื่อดังจากฝรั่งเศสที่ก่อตั้งโดยสองดีไซน์เนอร์คู่หู Michael Amzalag และ Mathias Augustyniak จากจุดเริ่มต้นในฐานะนักออกแบบกราฟิก สู่การพัฒนาผลงานด้านออแบบภาพลักษณ์และกำหนดทิศทางในด้านการทำแคมเปญของแบรนด์ต่างๆที่มีชื่อเสียงระดับโลก มาตลอดเวลากว่า 30 ปี
สิ่งที่ M/M (Paris) โดดเด่นด้านการออกแบบที่แหกกรอบ เต็มไปด้วยความอิสระในการสร้างสรรค์ โดยเฉพาะการทดลองสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ เราได้เห็นผลงานที่โดเด่น เช่น การออกแบบปกอัลบั้มให้กับศิลปินชื่อดังอย่าง Björk, Madonna, และ Kanye West รวมถึงการทำงานร่วมกับแบรนด์ระดับโลกอย่าง Yohji Yamamoto, Jil Sander, JW Anderson, LOEWE, และ MIU MIU ล้วนแต่สะท้อนถึงสไตล์ที่มีความชัดเจนและไม่เหมือนใคร ด้วยผลงานที่มีเอกลักษณ์จนสร้างภาษาการออกแบบที่ชัดเจนเป็นของตัวเอง M/M (Paris) จึงมีอิทธิพลต่อวงการดนตรี แฟชั่น และศิลปะของโลก มาจนถึงทุกวันนี้
เราได้มีโอกาสพูดคุยกับ บุญ เลิศวิไล ดีไซเนอร์ไทยที่ได้ร่วมงานกับสตูดิโอแห่งนี้มากว่า 15 ปี หลากหลายผลงานที่ผ่านมาการได้ดูแลงานแคมเปญโฆษณาของ LOEWE , การออกแบบ Packaging น้ำหอมของ Louis Vuitton และได้ออกแบบรันเวย์แฟชั่นโชว์ให้กับแบรนด์ MIU MIU , Alexander Mcqueen และผลงานกับแบรนด์ที่มีชื่อเสียงอีกมากมาย จากเด็กที่เริ่มต้นเข้าไปฝึกงานจนได้เข้ามาทำงานเป็นดีไซเนอร์ประจำสตูดิโอ ในตลอดการใช้ชีวิตที่ปารีสคือการที่ได้เรียนรู้ถึงวิธีคิด ประสบการณ์ที่ได้ร่วมงานแบรนด์และคนที่มีชื่อเสียงระดับโลก ทำให้ต้องฝึกฝนยังคงต้องปรับตัวและพร้อมที่จะเรียนรู้อยู่เสมอในทุกๆวัน รวมถึงการทำงานกับผู้คนรุ่นใหม่ที่ปัจจุบันอยู่ภายใต้กระแสของ work life balance และการมาของ AI ที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในวงการการออกแบบ
“ก่อนหน้านั้นเราไม่ได้รู้จักฝรั่งเศส เราพูดไม่ได้ ไม่ได้รู้จักประเทศนี้ขนาดขนาดนั้น แต่พ่อเขาอยากให้ไปเรียนจริงๆ ตอนแรกเราคิดว่าจะไปเรียน แต่พอไปถึงเราเข้าโรงเรียนที่อยากเข้าไม่ได้ ก็เรียนไปที่อื่นก่อน 1 ปี เพื่อที่จะรอสอบใหม่ ในระหว่างนั้นเป็นช่วงว่าง เราก็เลยอยากหาที่ฝึกงาน เลยไปเคาะประตูออฟฟิศที่ M/M (Paris)”
ฟังไม่ผิด! “เคาะประตูที่ออฟฟิศ M/M” ?
“ใช่! เราเริ่มจากการขอเข้าไปฝึกงาน แต่จริงๆ เราดูงานมาตั้งแต่ตอนที่เราเรียนที่ศิลปกรรม จุฬาฯ รู้สึกว่าชอบงานแนวนี้ แต่ว่าไม่ได้รู้เรื่องอะไร แต่ชอบในสไตล์งานที่น่าสนใจ ตามประสาเด็กเรียนออกแบบ”
“ตอนนั้นเขาไม่ได้จะให้เราฝึกงาน ตอนที่ขอเข้าไปคุยครั้งแรกเขาก็บอกว่าไม่มีอะไรให้ทำ เขาเพิ่งรีโนเวทสตูดิโอใหม่ พอเราเข้าไปถึงเขาชี้ไปที่หนังสือที่วางกองอยู่เต็มห้องให้เราดู และบอกให้เรามาช่วยจัดหนังสือหน่อย ซึ่งเราก็ไม่ได้ติดอะไร แต่เราก็บอกเขาไปว่าถ้ามีบริษัทที่หาเด็กฝึกงานก็บอกเราด้วย ตั้งแต่วันนั้นถึงวันนี้เราก็อยู่ที่นี่มา 15 ปี นี่คือจุดเริ่มต้นที่เราได้เข้ามาที่นี่”
“เราก็เพิ่งรู้ทีหลังว่า M/M (Paris) ไม่ได้รับเด็กฝึกงาน เพราะตั้งแต่อยู่มาเขามีเด็กฝึกงานแค่ 5 คนโดยประมาณ และทุกคนที่มาใช่ว่าจะเป็นคนเก่งนะ เรามองว่ามันคือจังหวะของชีวิต ดวงดีหรืออะไรก็แล้วแต่ ในมุมคนนอกมองเข้ามาคิดว่าจะต้องผ่านด่านการสัมภาษณ์หรือการคัดเลือกผลงานที่น่าจะเข้มงวด แต่จริงๆและกลับไม่ได้มีอะไรซับซ้อน มันไม่ได้มีเหตุผลอะไรขนาดนั้น การมาเจอที่นี่มันก็เหมือนกับเรื่องบังเอิญในชีวิตเหมือนกัน คือสำหรับคนที่นี่มันต้องมีคุณสมบัติบางอย่างที่เข้ากันได้และคุยกันรู้เรื่องมากกว่า
M/M (Paris) Achieve ผลงานการจัดเรียงหนังสือของเด็กฝึกงาน ที่ยังคงอยู่ในทุกวันนี้
“งานแรกของการเข้ามาสตูดิโอคือมีหนังสือกองโตอยู่ที่กลางห้อง หน้าที่ของเราคือนำมาจัดเรียงเป็นหมวดหมู่ตามช่วงเวลาและประเภท แบ่งตามรูปแบบของผลงานการออกแบบของสตูดิโอทั้งสิ่งพิมพ์ แมกกาซีน หนังสือ ฯลฯ สิ่งที่เราทำตอนนั้นยังคงเรียงอยู่แบบเดิมอยู่ในห้องมาจนถึงปัจจุบัน จากนั้นเราก็ช่วยงานอยู่ที่ออฟฟิศประมาณ 2 – 3 เดือน จนวันหนึ่งเขาเรียกดูพอร์ตโฟลิโอ ซึ่งย้อนกลับไปช่วงก่อนมาที่ปารีส เราทำที่ be>our>friend ของอาจารย์มะลิ เรามีผลงานที่ทำเป็น 3D อยู่หลายตัว เรามีงานออกแบบโรงแรม งานตกแต่งสเปซต่างๆ พอเขาได้เห็นงานเราก็รับเข้ามาทำในส่วน 3D ของออฟฟิศ เป็นจุดเริ่มต้นที่ได้ทำงานกับ M/M (Paris) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และได้เริ่มงานแรกคือการได้ทำงานออกแบบโคมไฟไฟแชนเดอเลียร์ ที่จะไปติดตั้งให้กับโรงแรม Thoumieux ที่ฝรั่งเศส
บรรยากาศการทำงานในสตูดิโอดีไซน์ระดับโลกเป็นอย่างไร ?
“ช่วงที่เราเข้ามาเมื่อก่อน บรรยากาศในออฟฟิศมันจะเย็นๆ (หัวเราะ) คือมันเงียบๆ ไม่คุยกัน ไม่พูดอะไรกันเลย ยิ่งวันที่ Michael กับ Mathias ไม่อยู่ ก็ไม่มีใครพูดอะไรเลย..(ลากเสียงยาว) เงียบมาก และ Michael จะเป็นคนเดียวในออฟฟิศที่เปิดเพลงได้ แต่เดี๋ยวนี้มันก็เปลี่ยนไปแล้ว เราทำงานช่วงนั้นเราก็ชอบอยู่ดึกเพราะเราก็ไม่มีอะไรทำ ช่วงนั้นเราได้พูดคุยกับหัวหน้าเรามากขึ้น
"ได้แลกเปลี่ยนกันเรื่องงาน เรื่องวิธีคิด เขาก็ดูแฮปปี้กับเรานะ จนผ่านเวลามาเราอยู่ที่นี่มา 15 ปี สิ่งที่เราได้สัมผัสเขามาตลอดคือเห็นการทำงานมาตรฐานที่สูง ไม่หย่อนกับการทำงาน มันเต็มไปด้วย DNA ของ Michael กับ Mathias ที่มีความ”ดื้อ”บนมาตรฐานที่สูง ทำงานที่คนอื่นไม่กล้าทำ กล้าทำงานที่สร้างความแตกต่าง ทำให้ผลงานของ MM มันยังทิ้งลายเซ็นต์และเอกลักษณ์ที่เด่นชัดมาอย่างยาวนาน แต่ปัจจุบันบริบทของรอบๆ มันเปลี่ยนไป เขาก็มีวิวัฒนาการของเขาที่ต้องรับความเปลี่ยนแปลง เราก็ต้องปรับตัวมาทำงานที่หลากหลายมากขึ้น ความต้องการของตลาดในปัจจุบัน"
การทำงานแบบ A – Z คนในออฟฟิศต้องเรียนรู้ทั้งกระบวนการ
“การเป็นดีไซเนอร์ที่นี่ต้องเรียนรู้การทำงานตั้งแต่เริ่ม เริ่มตั้งแต่การเริ่มต้นไปเจอลูกค้าซึ่งเราต้องไปรับบรีฟเองหรือ บางครั้ง Michael กับ Mathias เขาไปคุยแล้วมาบรีฟเรา เราจำเป็นต้องโฟกัสและมีไหวพริบที่จะทำความเข้าใจให้ได้มากที่สุด ปัจจุบันในสตูดิโอเรามีดีไซน์เนอร์กันอยู่ 4 คน หัวหน้า 2 คน และผู้จัดการสตูดิโอ 1 คน แน่นอนว่าแต่ละคนมันไม่ได้ถือแค่งานเดียวอยู่แล้ว มันก็ต้องทำให้เราเรียนรู้ตัวเองให้มีทักษะที่รอบด้าน มันต้องทำงานเองได้ตั้งแต่ต้นจนจบ”
“ถ้าบรีฟงาน เขาจะบอกกับเราว่า เขาไปคุยกับใครมา? มีอะไรบ้าง? หน้าที่ของเราคือก็ต้องไปรีเสิร์จว่าคนที่เขาไปเจอคือใคร? แบรนด์นี้คืออะไร? ต้องการอะไร? เขาไม่ได้มีเวลามานั่งอธิบายเราทั้งหมด เขาจ้างเรามาเพื่อทำงานต่อ เราต้องดีไซน์มันออกมาให้ได้ เราต้องรู้ว่างานแต่ละงานควรจะทำอะไรกับมันบ้าง ดังนั้นการทำงานที่นี่ต้องมีความแอคทีฟที่จะเรียนรู้ให้ได้รวดเร็ว”
“M/M (Paris) มีภาษาในการดีไซน์ที่เขาสร้างรากฐานมามาตลอด 30 ปี เขาไม่แคร์เลยว่าคนอื่นจะบอกว่าภาษาของคุณนั้นฉันไม่เข้าใจหรืออะไรก็ตาม แต่ภาษาของเขามันชัดเจนมาก ถึงแม้ว่าสื่อต่างๆมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยแต่การที่เขามีตัวตนที่ชัดเจนทำให้เขามีเอกลักษณ์ คนดูแล้วรู้เลยว่าใครทำ งานที่ทำออกมามันต้องท้าทายอะไรบางอย่าง เขาชอบที่ให้คนดูงานแล้วเกิดการถกเถียง ได้คิดต่อ และเห็นประเด็นอะไรบางอย่างในงาน นั่นคือสิ่งที่เขาทดลองอยู่เสมอ เราคิดว่าตรงนี้คือจุดที่ทำให้เขาดำเนินธุรกิจมาได้จนทุกวันนี้”
“เราว่ามันยากมากเลยนะ กว่าที่จะใช้เวลาเรียนรู้ให้เข้าใจกับ Michael กับ Mathias การทำธุรกิจเป็นบริษัทดีไซน์ที่มันใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานอยู่ตลอด เขามีวิธีในการทำให้เราเรียนรู้บางอย่าง ที่นี่มีเทคนิคของการสร้างบทสนทนา การพูดคุยกับเราไปเรื่อยๆ บางครั้งหัวหน้าเราก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะเอาอะไร(หัวเราะ) ทำให้เราต้องคอยวิเคราะห์ จับประเด็นที่เขาต้องการให้ได้ จนเป็นวัฒนธรรมการทำงานไปแล้ว ทุกวันนี้เราก็ยังต้องใช้เวลาในการเรียนรู้สิ่งเหล่านี้อยู่ตลอด ในบางครั้งเราก็หงุดหงิดกับวิธีการแบบนี้ แต่หากมองอีกมุมก็คือเขามอบหมายให้เราเป็น “Director” ของงาน ดังนั้นคำว่า “Direct” เขาจ้างมาให้เราคิด กำหนดทิศทางที่ควรจะเป็น มันคือโจทย์ที่ต้องทำให้ได้เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นแกนหลักของงานทั้งหมดที่มาจากเราจึงสำคัญ เราก็เลยเข้าใจว่านี่เป็นสิ่งที่เขาวางแนวทางไว้ เป็นวิธีการทำงานของ M/M งานมันจึงออกมาเป็นแบบนี้ มีความอิสระที่อยู่ในภาษาที่เขาวางเอาไว้
“ส่วนของการปรับจูนวิธีการทำงานความที่เราเป็นคนต่างชาติ เราชอบที่เรียนรู้เรื่องของภาษาเป็นนิสัยส่วนตัวอยู่แล้ว เราจึงได้ฝึกใช้ในการทำงาน พูดคุยกับคนในออฟฟิศไปพร้อมๆกัน จึงไม่ค่อยมองว่ามันเป็นอุปสรรค ส่วนวิธีคิดงานด้านการออกแบบบางครั้งก็มีเรื่องของความเป็นไทยติดตัวมาเหมือนกัน เราเป็นคนชอบใส่สีสันของหลอดนีออนเข้าไปในงานโดยที่เราไม่รู้ตัว ซึ่งตอนนั้นหัวหน้าเราดูก็ไม่เข้าใจ จนวันที่เราพาเขามาเที่ยวเมืองไทย เขาก็มาเห็นหลอดไฟตามงานวัด งานรื่นเริงต่างๆ เขาจึงเข้าใจเลยว่า อ๋อ...แบบนี้นี่เอง เขาก็ปล่อยให้เราทำเลย”
“อีกอย่างที่สำคัญคือที่ M/M (Paris) ไม่มีวัฒนธรรมการประชุม จะเน้นที่การให้ลงมือทำก่อน ต้องทดลองทำไปจนถึงจุดหนึ่งแล้วเจออะไรบางอย่าง ถึงเวลานั้นค่อยเอางานกลับมาพูดคุย ซึ่งหัวหน้าจะมาช่วยดูในภาพรวม ว่าต้องแก้ตรงไหน มันจะไม่มีการประชุมที่ยืดเยื้อเสียเวลา เราเป็นบริษัทที่มันไม่ค่อยพูดกันเยอะบางครั้งเรายังไม่รู้เลยว่าเพื่อนทำงานโปรเจกต์อะไรอยู่ในช่วงนี้ และมีหลายงานที่ทำงานคนเดียวจบทั้งหมดเลยก็มี แต่หากจำเป็นต้องไปช่วยงานของคนอื่นที่มีรูปแบบงานเกี่ยวข้องกัน เราก็ต้องเรียนรู้และเข้าใจในงานนั้นทั้งหมดด้วยเหมือนกัน เราเลยตอบได้ยากว่ามันมีระบบที่ดีหรือไม่ แต่ทุกคนที่นี่จะมีสัญชาติญาณที่รู้กันว่าต้องลองทำไปก่อน โดยจะไม่ทำอะไรที่เสียเวลาในการทำงานเพราะต่างคนก็มีงานของตัวเองต้องรับผิดชอบ”
ผู้คน เมือง วัฒนธรรม และชีวิตการทำงานในปารีส
“ถ้าพูดในมุมของชีวิตส่วนตัว ปกติเรื่องสภาพแวดล้อมภายนอกจะไม่มีผลต่อตัวตนของเราอยู่แล้ว ชีวิตความเป็นอยู่ที่นี่เราไม่ค่อยได้เป็นเพื่อนกับคนทำงานฝั่งกราฟิกดีไซน์สักเท่าไหร่ เรามีเพื่อนที่หลากหลายไม่ค่อยแฮงค์เอาท์กันกับสายงานงานเดียวกันมากนัก ชีวิตงานของการเป็นนักออกแบบเราก็ยังมีความรู้สึกที่ไม่ชอบ ไม่ถูกใจ ในงานของเราเองในบางครั้ง เราคิดว่าการที่มีกลุ่มเพื่อนดีไซน์เนอร์หรือการมองหาวัฒนธรรมที่ชอบเหมือนๆกันมันก็เป็นเรื่องดี แต่บางครั้งการอยู่ในกลุ่มคนที่เหมือนๆกัน ในแง่วิธีคิดที่มีมุมมองในทางเดียวกันจนทำให้มีแนวทางหรือปรัชญาเหมือนๆกัน สิ่งเหล่านี้มันมีผลทำให้เราดึงตัวตนกลับมาได้ยากนะ เราจึงมองว่าการเปิดรับวัฒนธรรมที่หลากหลาย อย่างน้อยต้องมีคนโต้แย้งอะไรบางอย่างเข้ามาในวงจรนี้บ้าง ทำให้เราได้เห็นอะไรที่มันกว้างขึ้น”
“ถึงแม้ว่าเราทำงานอยู่ที่นี่มานาน เราไม่สามารถพูดได้ว่าในวงการออกแบบที่ฝรั่งเศส หากเทียบกับบ้านเราแล้วเป็นอย่างไร เพราะเราก็ไม่ได้รู้จักดีไซน์ของที่นี่ขนาดนั้น แต่ข้อดีของที่นี่คือข้อจำกัดทางด้านสังคมมันน้อย ประเด็นที่เราอยากจะสื่อสารในการทำงานมันก็จะแสดงออกได้มากกว่า สามารถกเถียงและวิจารณ์กันได้อย่างเสรีในแบบที่ประเทศไทยเราทำไม่ได้ ถ้าผลงานอะไรที่มันดีหรือไม่ดี หากว่ามันจบไปแล้วมันก็ผ่านไป ที่นี่เขาไม่ได้สนอะไรขนาดนั้น โดยเฉพาะคนปารีส”
“ส่วนตัวคิดว่าคนปารีสกับคนฝรั่งเศสก็แต่งต่างกันนะ ไม่ต่างจากคนกรุงเทพกับคนต่างจังหวัด มันก็ไม่ได้มีคนเห็นด้วยกับความเสรีทางการวิจารณ์ด้วยเหมือนกัน ซึ่งเราก็เห็นว่าจากงานโอลิมปิกก็ยังมีคนไม่เห็นด้วยเหมือนกัน แต่ก็เข้าใจว่ามันก็คือความหลากหลายของสังคม ในแต่ละพื้นที่ก็มีค่านิยมที่แตกต่างกันไป สิ่งเหล่านี้มันเกี่ยวข้องกับวิธีคิดในการทำงานของเราที่นี่เหมือนกัน”
“ ในเรื่องของจริตของความ “โนว์สนโนวแคร์” ของผู้คนที่นี่ สำหรับเราว่ามันก็มีผลต่อการทำงานการออกแบบนะ การที่จะเป็นดีไซน์เนอร์ที่ดีต้องมีความมั่นหน้าในระดับนึง แต่ความมั่นหน้าที่ดีจะพาเราไปสู่การเป็นดีไซน์เนอร์ที่ดีรึเปล่านั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณมีของขนาดไหน”
“การทำงานของเรามันก็มีทั้งสำเร็จและไม่สำเร็จ แต่เราก็ต้องฝึกตัวเองให้มั่นใจในสิ่งที่เราทำ ถึงแม้ว่าเราอยู่บริษัทระดับโลกที่โด่งดัง แต่ก็ต้องตกผลึกความคิดตัวเองและเปิดรับอยู่เสมอ การมองความสำเร็จในงานออกแบบมันมีหลายมิติ ตอนนี้เราก็มีโอกาสดีที่เราได้มีโอกาสทำงานกับแบรนด์ใหญ่กับคนที่มีชื่อเสียง ดังนั้นเราก็ต้องฝึกตัวเองให้มั่นใจกับสิ่งที่เราทำ เวลาไปเสนอลูกค้าก็ต้องโน้มน้าวคนเหล่านี้ให้ได้ มันก็เป็นความท้าทายของเรา แต่ต้องบอกก่อนว่าลูกค้าที่มาจ้าง M/M (Paris) เขารู้แล้วว่าจะได้รับอะไรจากเรา บางครั้งสิ่งที่ตัดสินผลงานที่ความสำเร็จมันจึงตอบยาก มันมีหลายฟังก์ชันและมีองค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งความเชื่อใจ ความสัมพันธ์ ประสบการณ์ ฯลฯ ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละที่มากกว่า
ในยุคที่ Work-Life Balance กำลังมาแรง แต่ชีวิตของดีไซน์เนอร์คือการแลก"เวลา"กับผลงานที่ต้องสร้างสรรค์
“เราไม่ได้มีปัญหาอะไรกับคำนี้นะ อย่างที่ M/M (Paris) ก็มีประเด็นเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน เราพยายามจะหาคนเข้ามาทำงานที่มันเหมาะกับเราแต่ก็ไม่ได้ง่าย เรามองว่ามันเป็นยุคสมัยของเด็กรุ่นนี้ ในวัยของเขาจะพูดเรื่องนี้กันหมด เช่น สวัสดิการที่ควรจะได้ การลางาน ชีวิตส่วนตัว สิ่งเหล่านี้เป็นผลพวงจากกระแส “Woke” ที่เด็กรุ่นใหม่เขามีค่านิยมแบบนี้ มันคือการเลือกสิ่งที่ดีสำหรับชีวิตเขา ซึ่งมันก็ต่างไปจากคนรุ่นเรา ที่ M/M (Paris) ไม่ได้มีเวลาเข้างานแบบตายตัว บางวันก็อยู่ดึกแต่บางครั้งก็เริ่มงานช่วงบ่ายแล้วกลับเร็วก็มี เด็กๆรุ่นใหม่เขาก็มีแนวคิดที่วันหนึ่งก็อยากทำอะไรเป็นของตัวเอง ซึ่งปัจจัยชีวิตของแต่ละคนมันก็แตกต่างกันไป
“เราก็มีปัญหาการรับสมัครคนอยู่บ้าง สตูดิโอเราถึงจะมีชื่อเสียงแต่ก็ไม่ได้มีเกณฑ์ในการรับสมัครที่ตายตัว หัวหน้าเรามีแนวคิดว่าอยากให้คนมาทำงานแล้วอยากให้อยู่ที่นี่นานๆ อยากได้คนที่ชอบการทำงานและมีแพสชันกับการออกแบบจริงๆ แต่คนที่เข้ามามันก็หลากหลาย บางครั้งเราคัดเลือกตามผลงานและเราเป็นคนเรียกสัมภาษณ์คัดกรองแบบจริงจังแต่คนนี้กลับอยู่ไม่นาน แต่กับบางคนที่ประเภท “จักรวาลจัดสรร” มาเพราะโชคช่วยหรือมากับดวง ไม่ได้ดูอะไรมาก เน้นพูดคุย แต่กลับอยู่ได้นานก็มี! 555 หรือเพราะมันอาจจะคลิกกันมากกว่า จะบอกว่ามันไม่มีสูตรตายตัว เรื่องการเข้าออกของคนทำงานมันเปลี่ยนแปลงได้อยู่เสมอเราก็แค่จัดการกับมันให้ได้แค่นั้น
“ในมุมธุรกิจที่นี่ก็มีการแข่งขันสูง สตูดิโอต่างๆเกิดขึ้นพร้อมกับเด็กยุคใหม่ที่เก่งขึ้น เราก็รู้ตัวอยู่แล้วว่าเราไม่ได้อยู่ค้ำฟ้า วันหนึ่งก็จะมีคนรุ่นใหม่เข้ามาทดแทน ทุกวันนี้แม้แต่ Michael กับ Mathias ถึงแม้จะอยู่ในวัย 60 แล้ว เขายังต้องเรียนรู้ว่า ต้องพัฒนาตัวเองอยู่ทุกวัน ตามบริบทต่างๆ ที่มันเปลี่ยนแปลงไป สตูดิโอที่นี่จึงต้องแข่งกันสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อให้มีผลงานที่สดใหม่ และโดดเด่นอยู่เสมอ”
อนาคตการเข้ามาของ AI ที่จะมีบทบาต่อโลกของการออกแบบ
“เราว่าเราควรเรียนรู้ไปกับมันนะ ปัจจุบันเราก็ใช้งานกันอยู่เป็นประจำ ถ้าอะไรที่มันทำให้เราได้ทดลองจากมัน ในรูปแบบต่างๆ ทั้งการทำสไลด์ ทำตัวอย่าง Key Visual เพื่อขายงานลูกค้า ฯลฯ แต่เราก็ต้องระมัดระวังในการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น เราใช้โปรแกรม 3D ทำภาพร่าง มันก็จะได้ภาพที่มีขีดจำกัดพอประมาณ เราเห็นแล้วสามารถจินตนาการภาพจบมันได้ แต่ในปัจจุบันหากเราใช้โปรแกรมที่ AI สำหรับ gen ภาพเพื่อให้ภาพสมจริงมากขึ้น ทั้งแสงสี เพื่อจำลองสถานการณ์ต่างๆ บางครั้งลูกค้าก็ยังไม่พร้อมที่จะรับมือกับประสบการณ์การเห็นภาพในลักษณะนี้ เหมือนกับเราพาลูกค้าเราไปสู่ “Uncanny Valley” มุมมองไม่คุ้นเคย ไม่เคยเห็น ไปอยู่ที่ที่เราไม่เคยได้ไป เหมือนมันสร้างโลกคู่ขนานในจินตนาการที่คนไม่เคยเห็นขึ้นมาใหม่ ทำให้ลูกค้าก็อาจจะเกิดเกิดความกังวลและไม่มั่นใจบางอย่างอยู่ เรามองว่าภาพที่ gen มาจาก AI ทั้งหมดมันเต็มไปด้วยความรู้สึกแบบนี้เยอะมาก”
“เราไม่เชื่อว่าวันหนึ่ง AI มันจะมาแทนดีไซน์เนอร์ ถ้ามาแทนได้ก็คงแทนที่ดีไซน์เนอร์บางส่วนที่ไม่ได้เรื่อง ซึ่งจุดนี้ในฐานะนักออกแบบเราก็ต้องพัฒนาตัวเองอยู่ตลอด ถ้าจะเปรียบเทียบ AI ว่ามันคือ “คน” ที่เป็นผู้ช่วยเราทำงาน เราคือคนที่ต้องสั่งงานให้มันทำก่อน ต้องคิดคำสั่งที่เหมาะสม ให้มันได้ผลที่เราต้องการ สุดท้ายเราคือคนควบคุม AI เหล่านี้อยู่ดี
“ถ้ารู้ตัวเองจะทำอะไร ให้ทำเอง
แต่ถ้าคิดไม่ออกว่าจะทำอะไร ก็ลองใช้ AI”
ติดตามผลงานของ บุญ เลิศวิไล ได้ที่ Instagram : booneries #คนสวยทำอะไรออกมาก็สวย