Takara Cafe and Wong Bar คาเฟ่ของครีเอเตอร์

Takara Cafe and Wong Bar คาเฟ่ของครีเอเตอร์

31 ส.ค. 2566

SHARE WITH:

31 ส.ค. 2566

31 ส.ค. 2566

SHARE WITH:

SHARE WITH:

Takara Cafe and Wong Bar คาเฟ่ของครีเอเตอร์

“กลับมาทำอะไรให้จังหวัด นี่เป็นประโยคที่เชยมากเลยนะ แต่ในวันนึงที่เรารู้สึกว่า เราไม่เห็นต้องทำอะไรให้ใครเลย เราทำอะไรให้บ้านเรา สุดท้ายก็เป็นคำพูดของคนอื่นนี่แหละที่พูดว่า ทำให้บางแสนเปลี่ยนไปเลย”

แชมป์ - ฐกร วรรณวงษ์ เล่าเรื่องราวของการกลับบ้านเกิดภายในอาคารทรงเหลี่ยมที่สะท้อนแสงอาทิตย์ตกในยามเย็น Takara Cafe and Wong Bar แห่งนี้บรรจุ ‘ความเป็นตัวเอง’ แบบที่แชมป์เน้นย้ำเสมอตลอดบทสนทนา

“เราต้องรู้จักตัวเอง ปรับตัวให้เป็น และอยู่กับความเป็นจริงให้ได้ นี่แหละคือความยั่งยืนในแบบของเรา ไม่จำเป็นต้องยั่งยืนแล้วยืนอยู่แค่จุดเดิม เราปรับตัวก็คือตัวเราเองที่ปรับให้อยู่กับสิ่งเหล่านั้นได้ ไม่ใช่ว่าให้โลกปรับตัวตามเรา”


เวทีแฟชั่นนานาชาติรู้จัก Takara Wong ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของการเปิดตัวในปี 2015 ในฐานะแบรนด์แฟชั่นซึ่งเป็นที่จับตามองจากความกล้าที่จะแตกต่าง แชมป์พาชื่อนี้ออกเดินทางไปแทบทุกทวีปทั่วโลก จนกระทั่งตอนนี้ในปี 2023 ที่เราได้อยู่กับแชมป์ที่กลับมายังบางแสน บ้านเกิดของเขาอีกครั้ง ปฏิเสธไม่ได้ว่าโควิดคือจุดเปลี่ยนสำคัญเหมือนกับทุกคน แต่อีกจุดก็คือ การกลับมาสำรวจตัวเองอีกครั้งหลังจากอยู่ในวังวนความเร็วของแฟชั่นมาตลอดชีวิตการทำงาน

 

IIIi - Fast and Fashion

เราพบกับแชมป์ในชุดเสื้อยืด กางเกงยีนส์ และรองเท้าผ้าใบ ชุดง่ายๆ ที่ใส่ไปไหนได้ทุกวัน

“เราไม่ได้รักโลกอะไรขนาดนั้นหรอกเอาจริงๆ แต่เราแค่รู้สึกว่า การทำเสื้อผ้ามัน Fast Fashion เกินไป มันทำให้คนเปลี่ยนเสื้อผ้าบ่อยขึ้น ใส่ได้น้อยครั้งลง หรือพวกพฤติกรรมการใช้งานที่สร้างของเหลือทิ้งจากเสื้อผ้า จากวันนั้นเราใส่เสื้อผ้าง่ายขึ้น ใส่แบบนี้ก็ไปไหนมาไหนได้แล้วทั้งวัน เมื่อก่อนไม่ได้เลย แต่ตอนนี้ก็เหมือนใส่เสื้อผ้าวนๆ เหมือนเดิม เวลาถูกเชิญไปออกงานสังคมก็ยังมีชุดพวกนั้นแหละ แต่มันไม่ได้จำเป็นต้องใส่ทุกวัน”


“เราทำแบรนด์แฟชั่นมาทั้งหมด 7 ปี ตั้งแต่ 2015 จนถึง 2023 คือปัจจุบัน ทั้งหมดที่ทำมา เรารู้สึกว่าเราต้องวิ่งหาลูกค้า เราไปทั่วโลกมาแล้ว อาจจะเป็นโชว์เคส แฟชั่นโชว์ หรือโชว์รูม ทุกอย่างมันเหมือนกับการที่เราวิ่งหาคนที่ต้องขาย ต้องเปลี่ยน แฟชั่นมันเร็ว พอมันเร็ว มันกลายเป็นทำให้เราต้องเร็วไปด้วย แล้วเราเองเป็นคนที่เร็วอยู่แล้วด้วย กลับกลายเป็นว่าเราทำอะไรปุ๊บ มันก็เหมือนกับการนำเขาไปอีก” เหมือนกับต้องเร็วแบบไม่รู้จบ

จนกระทั่งโควิดมาถึง ทุกอย่างถูกกดพอสจากการล็อกดาวน์ จากที่แชมป์เคยกลับบ้านมาแค่เยี่ยมครอบครัวหรือแฮงก์เอาต์กับเพื่อนๆ กลายเป็นได้กลับมาสำรวจตัวเองและหยุดมองสิ่งรอบข้างในอีกมุมนึงว่า หรือครั้งนี้จะเป็นอีกโอกาสที่ได้ออกนอกกรอบอีกครั้ง “พอดีตรงนี้เป็นที่ของเพื่อนคุณพ่อ ท่านเป็นคนเสนอคำถามกับเราเองเลยว่าจะทำอะไรดีกับตรงนี้”

จริงๆ แล้วเส้นทางสายอาหารอยู่ในสายเลือดของแชมป์มาโดยตลอด ตั้งแต่ธุรกิจทำขนมไทยของครอบครัวที่ผ่านมาสามอายุคน หรือการไปเรียนต่อที่เลอ กอร์ดองเบลอ ซิดนีย์ ในสาขา Patisserie จนกระทั่งแบรนด์ Takara Wong นำพาเขาไปสู่การทำงานร่วมกันกับแบรนด์ต่างๆ หลากหลายในธุรกิจสาย Food & Beverage นี่จึงไม่ใช่การเริ่มต้นใหม่เสียทีเดียว แต่แชมป์ก็บอกว่าเทียบกับคนอื่นแล้วยังเรียกว่าผ่านมาน้อยกว่าด้วยซ้ำไป

 

“ตั้งแต่ตอนทำแบรนด์แฟชั่น ช่วงโควิดเราก็เป็นแบรนด์แรกที่ออกจากกรอบที่ต้องขายเฉพาะในห้างสรรพสินค้าหรือไปเร่ขาย เราเอาของออกจากห้างแล้วเอามาเซลทั้งหมด เพื่อให้ออกจากสต็อกที่บวมของเรา เลยไม่มีช่วงที่บอกว่าโควิดทำอะไรเราได้ ซึ่งเพื่อนๆ พี่ๆ ในวงการเวลาบอกว่า เราเป็นคนที่ขยับตัวเร็วทุกครั้งเลย ไม่ได้จะบอกว่าตัวเองเก่งนะ แต่เราเตรียมตัวนำไปก่อนเพราะมันต้องมองเห็นความ Healthy ของทั้งธุรกิจและของตัวเราเองด้วย แล้วเราคือปรับตัวไปได้ ไม่ได้จำกัดโพสิชันแค่ที่ใดที่หนึ่ง มันถึงจะยั่งยืนต่อไปได้”

 

IIIi - Takara Wong แบรนดิ้งที่ไปได้ทุกที่

“เราทำแค่พอตัว และตัวแบรนด์เองที่มันเป็นแฟชั่น จึงไม่จำเป็นต้องถูกจำกัดความว่าจะต้องเป็นแค่เสื้อผ้าอย่างเดียว มันสามารถถูกแปลงร่างออกไปเป็นอย่างอื่นได้ เป็นขนม อาหาร ตัวคน หรือข้าวของ เป็นไปได้ทุกอย่างเลย เราเลยกลับมามองเรื่อง Sustainable Business (ความยั่งยืนของธุรกิจ) ที่จริงเมืองนอกก็ทำมานานแล้ว มันก็ชวนกลับมาตั้งคำถามที่ว่า ที่จริงแล้วเทรนด์คืออะไร? แล้วเทรนด์ที่ยั่งยืนคืออะไร?

 

แชมป์ได้คำตอบกับตัวเองถึงความยั่งยืนในการทำธุรกิจ นั่นคือการทำให้แบรนด์ยั่งยืนได้ด้วยตัวเอง “ไม่ว่าจะเป็นออกไปในรูปแบบไหน คนไม่จำเป็นต้องรู้จักก็ได้ บางทีเรายืนอยู่ตรงนี้ยังไม่รู้เลยว่าเราเป็นใคร แต่ว่ามันอยู่ในนี้ ในเค้กก็มี Identity (อัตลักษณ์) ของเราอยู่ แค่เข้ามานั่งเฟอร์นิเจอร์ การตกแต่ง หรือทุกอย่างมันมี Identity ของเราอยู่”

เมื่อได้ยินคำว่า Takara Wong เราจึงมีภาพของมู้ดและโทนในหัวแตกต่างกันไปตามประสบการณ์อย่างที่เราเคยรับรู้ผ่านมา บางคนนึกถึงคำนี้ในฐานะแฟชั่นหัวขบถ บางคนพึ่งรู้จักชื่อนี้ในมุมของคาเฟ่ที่ไม่เหมือนใคร แต่ทุกความเห็นมองตรงกันที่ว่า นี่แหละคืออัตลักษณ์ของแชมป์


เขาเรียกตัวเองว่าเป็นครีเอเตอร์ มากกว่าที่จะเป็นดีไซเนอร์ “คำว่า ดีไซเนอร์ รู้สึกว่ามันจำกัดขอบเขตของการทำงานของเรามากเกินไป บางทีเราแค่อยากสร้างอะไรขึ้นมาก็ทำ เราเลยเรียกตัวเองว่าเป็นครีเอเตอร์ โดยที่อันนั้นจะเรียกว่าการดีไซน์หรือไม่ดีไซน์ก็ตาม แต่จริงๆ แล้วมันคืองานอะไรก็ได้ซักอย่างที่ถูกสร้างขึ้นมา แค่นั้นเอง”

สิ่งนี้ที่เขานิยามมันว่าคือ ‘ความจอยในชีวิต’

“คือแค่เรารู้สึกว่าเราชอบ สิ่งที่เราชอบมันเรียกว่าดีไซน์ใช่ไหมล่ะ ถ้าสิ่งที่เราชอบมันเรียกว่าดีไซน์ แปลว่าเราชอบ เราก็คือจอยกับสิ่งที่ทุกคนเรียกว่าดีไซน์ มันสำคัญที่เราทำอะไรอยู่ แล้วเราสนุกกับมันไหม มันคือความจอย”

“อย่างเช่นตอนนี้เราก็รู้สึกว่าดีไซน์เสร็จแล้ว แต่การวางระบบร้านให้ยั่งยืนต้องทำยังไง? มันต้องใช้คำว่า ดีไซน์เข้ามาด้วยไหม? ก็ใช้นะ อย่างเช่นเวลาทำเค้กหนึ่งชิ้น การวางเค้กในแต่ละวันที่เราต้องคุยกับทางทีมงานของเรา ว่าวางยังไงให้มันรู้สึกว่ามันน่าสนใจ ให้มันดึงดูดคนให้เข้ามาซื้อฉันสิ หรือทำยังไงให้รู้สึกว่า ชิ้นที่มันเหลืออยู่เยอะที่สุดให้สามารถออกไปได้ มันก็ต้องถูกการจัดวาง แต่ว่าสิ่งนี้เรียกว่าดีไซน์หรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่ว่าถ้าในมุมมองของเราก็คือ เรามีความจอยอยู่ในการทำงาน” 


ความยั่งยืนสำหรับแชมป์ไม่ได้หมายความว่าตัวเขาจะต้องปักหลักอยู่ที่นี่ไปตลอด แต่หมายถึงการที่ Takara Wong ที่บางแสนสามารถดำเนินต่อไปได้ด้วยตัวเอง และ Takara Wong ที่เป็นแบรนด์ติดตัวกับเขาไปได้ทุกที่ในบทบาทของนักท่องเที่ยวอย่างที่ตั้งใจไว้

“ถ้าทำแบรนด์ออกมา แล้วเราแบรนดิ้งแล้วมันแข็งแรงพอที่จะสามารถทำแล้วไปกับเราได้ ที่นี้คือ Standalone แล้วมันก็จะไป Stand ที่อื่นได้อีก ก็คือไปไหนก็ได้โดยชีวิตเราก็จะไปกับเขาด้วย เราอาจจะไปทำแบรนด์นี้ที่เกาะอื่น หรือต่างประเทศก็ได้นะไม่แน่ ถ้ามีโอกาสอะไรที่เข้ามาก็คงทำตามโอกาสนั้นที่เข้ามามากกว่า”


“บทเรียนในชีวิตเยอะมาก ถ้าจะให้เล่าน่าจะเอาไปเขียนไม่พอ” แชมป์ทิ้งท้ายแบบติดตลก ก่อนฝากถึงคนที่มีฝันในการทำแบรนด์ “มีฝันไว้ดีอยู่แล้ว แต่ว่าถ้าฝันนั้นมันเป็นฝันที่คนอื่นทำแล้วประสบความสำเร็จมา เราทำตามความฝันนั้นไป มันก็ไม่ใช่ความฝันของเรา แปลว่าเราต้องทำในสิ่งที่ตัวเองเป็นจริงๆ เราสามารถโดดเด่นได้ด้วยตัวเอง หาจุดดีจุดอ่อน รู้จักตัวเองให้ได้ก่อน แล้วคนอื่นเขาถึงจะยอมรับในสิ่งที่เราเป็น”

“แล้วอีกอย่างนึงคือ เราต้องตามการขึ้นการลงของโลกปัจจุบันให้ทันแค่นั้นเอง ไม่มีอะไรอยู่ได้ตลอดไป คำว่าแน่นอนไม่มีอยู่แล้วในชีวิต คำว่ายั่งยืนก็ไม่มีจริง ไม่มีอะไรอยู่ได้ยั่งยืนอยู่แล้ว เลยคิดว่าปรับตัวให้เป็นดีกว่า ถ้าปรับตัวได้โดยที่ยังรู้จักตัวเองอยู่ นี่แหละเป็นสิ่งที่ยังไงก็ยั่งยืนอยู่กับตัวเองทั้งจิตใจและร่างกาย เพราะแค่เราเดินไป คนก็รู้แล้วว่านี่คือเรา”


“กลับมาทำอะไรให้จังหวัด นี่เป็นประโยคที่เชยมากเลยนะ แต่ในวันนึงที่เรารู้สึกว่า เราไม่เห็นต้องทำอะไรให้ใครเลย เราทำอะไรให้บ้านเรา สุดท้ายก็เป็นคำพูดของคนอื่นนี่แหละที่พูดว่า ทำให้บางแสนเปลี่ยนไปเลย”

แชมป์ - ฐกร วรรณวงษ์ เล่าเรื่องราวของการกลับบ้านเกิดภายในอาคารทรงเหลี่ยมที่สะท้อนแสงอาทิตย์ตกในยามเย็น Takara Cafe and Wong Bar แห่งนี้บรรจุ ‘ความเป็นตัวเอง’ แบบที่แชมป์เน้นย้ำเสมอตลอดบทสนทนา

“เราต้องรู้จักตัวเอง ปรับตัวให้เป็น และอยู่กับความเป็นจริงให้ได้ นี่แหละคือความยั่งยืนในแบบของเรา ไม่จำเป็นต้องยั่งยืนแล้วยืนอยู่แค่จุดเดิม เราปรับตัวก็คือตัวเราเองที่ปรับให้อยู่กับสิ่งเหล่านั้นได้ ไม่ใช่ว่าให้โลกปรับตัวตามเรา”


เวทีแฟชั่นนานาชาติรู้จัก Takara Wong ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของการเปิดตัวในปี 2015 ในฐานะแบรนด์แฟชั่นซึ่งเป็นที่จับตามองจากความกล้าที่จะแตกต่าง แชมป์พาชื่อนี้ออกเดินทางไปแทบทุกทวีปทั่วโลก จนกระทั่งตอนนี้ในปี 2023 ที่เราได้อยู่กับแชมป์ที่กลับมายังบางแสน บ้านเกิดของเขาอีกครั้ง ปฏิเสธไม่ได้ว่าโควิดคือจุดเปลี่ยนสำคัญเหมือนกับทุกคน แต่อีกจุดก็คือ การกลับมาสำรวจตัวเองอีกครั้งหลังจากอยู่ในวังวนความเร็วของแฟชั่นมาตลอดชีวิตการทำงาน

 

IIIi - Fast and Fashion

เราพบกับแชมป์ในชุดเสื้อยืด กางเกงยีนส์ และรองเท้าผ้าใบ ชุดง่ายๆ ที่ใส่ไปไหนได้ทุกวัน

“เราไม่ได้รักโลกอะไรขนาดนั้นหรอกเอาจริงๆ แต่เราแค่รู้สึกว่า การทำเสื้อผ้ามัน Fast Fashion เกินไป มันทำให้คนเปลี่ยนเสื้อผ้าบ่อยขึ้น ใส่ได้น้อยครั้งลง หรือพวกพฤติกรรมการใช้งานที่สร้างของเหลือทิ้งจากเสื้อผ้า จากวันนั้นเราใส่เสื้อผ้าง่ายขึ้น ใส่แบบนี้ก็ไปไหนมาไหนได้แล้วทั้งวัน เมื่อก่อนไม่ได้เลย แต่ตอนนี้ก็เหมือนใส่เสื้อผ้าวนๆ เหมือนเดิม เวลาถูกเชิญไปออกงานสังคมก็ยังมีชุดพวกนั้นแหละ แต่มันไม่ได้จำเป็นต้องใส่ทุกวัน”


“เราทำแบรนด์แฟชั่นมาทั้งหมด 7 ปี ตั้งแต่ 2015 จนถึง 2023 คือปัจจุบัน ทั้งหมดที่ทำมา เรารู้สึกว่าเราต้องวิ่งหาลูกค้า เราไปทั่วโลกมาแล้ว อาจจะเป็นโชว์เคส แฟชั่นโชว์ หรือโชว์รูม ทุกอย่างมันเหมือนกับการที่เราวิ่งหาคนที่ต้องขาย ต้องเปลี่ยน แฟชั่นมันเร็ว พอมันเร็ว มันกลายเป็นทำให้เราต้องเร็วไปด้วย แล้วเราเองเป็นคนที่เร็วอยู่แล้วด้วย กลับกลายเป็นว่าเราทำอะไรปุ๊บ มันก็เหมือนกับการนำเขาไปอีก” เหมือนกับต้องเร็วแบบไม่รู้จบ

จนกระทั่งโควิดมาถึง ทุกอย่างถูกกดพอสจากการล็อกดาวน์ จากที่แชมป์เคยกลับบ้านมาแค่เยี่ยมครอบครัวหรือแฮงก์เอาต์กับเพื่อนๆ กลายเป็นได้กลับมาสำรวจตัวเองและหยุดมองสิ่งรอบข้างในอีกมุมนึงว่า หรือครั้งนี้จะเป็นอีกโอกาสที่ได้ออกนอกกรอบอีกครั้ง “พอดีตรงนี้เป็นที่ของเพื่อนคุณพ่อ ท่านเป็นคนเสนอคำถามกับเราเองเลยว่าจะทำอะไรดีกับตรงนี้”

จริงๆ แล้วเส้นทางสายอาหารอยู่ในสายเลือดของแชมป์มาโดยตลอด ตั้งแต่ธุรกิจทำขนมไทยของครอบครัวที่ผ่านมาสามอายุคน หรือการไปเรียนต่อที่เลอ กอร์ดองเบลอ ซิดนีย์ ในสาขา Patisserie จนกระทั่งแบรนด์ Takara Wong นำพาเขาไปสู่การทำงานร่วมกันกับแบรนด์ต่างๆ หลากหลายในธุรกิจสาย Food & Beverage นี่จึงไม่ใช่การเริ่มต้นใหม่เสียทีเดียว แต่แชมป์ก็บอกว่าเทียบกับคนอื่นแล้วยังเรียกว่าผ่านมาน้อยกว่าด้วยซ้ำไป

 

“ตั้งแต่ตอนทำแบรนด์แฟชั่น ช่วงโควิดเราก็เป็นแบรนด์แรกที่ออกจากกรอบที่ต้องขายเฉพาะในห้างสรรพสินค้าหรือไปเร่ขาย เราเอาของออกจากห้างแล้วเอามาเซลทั้งหมด เพื่อให้ออกจากสต็อกที่บวมของเรา เลยไม่มีช่วงที่บอกว่าโควิดทำอะไรเราได้ ซึ่งเพื่อนๆ พี่ๆ ในวงการเวลาบอกว่า เราเป็นคนที่ขยับตัวเร็วทุกครั้งเลย ไม่ได้จะบอกว่าตัวเองเก่งนะ แต่เราเตรียมตัวนำไปก่อนเพราะมันต้องมองเห็นความ Healthy ของทั้งธุรกิจและของตัวเราเองด้วย แล้วเราคือปรับตัวไปได้ ไม่ได้จำกัดโพสิชันแค่ที่ใดที่หนึ่ง มันถึงจะยั่งยืนต่อไปได้”

 

IIIi - Takara Wong แบรนดิ้งที่ไปได้ทุกที่

“เราทำแค่พอตัว และตัวแบรนด์เองที่มันเป็นแฟชั่น จึงไม่จำเป็นต้องถูกจำกัดความว่าจะต้องเป็นแค่เสื้อผ้าอย่างเดียว มันสามารถถูกแปลงร่างออกไปเป็นอย่างอื่นได้ เป็นขนม อาหาร ตัวคน หรือข้าวของ เป็นไปได้ทุกอย่างเลย เราเลยกลับมามองเรื่อง Sustainable Business (ความยั่งยืนของธุรกิจ) ที่จริงเมืองนอกก็ทำมานานแล้ว มันก็ชวนกลับมาตั้งคำถามที่ว่า ที่จริงแล้วเทรนด์คืออะไร? แล้วเทรนด์ที่ยั่งยืนคืออะไร?

 

แชมป์ได้คำตอบกับตัวเองถึงความยั่งยืนในการทำธุรกิจ นั่นคือการทำให้แบรนด์ยั่งยืนได้ด้วยตัวเอง “ไม่ว่าจะเป็นออกไปในรูปแบบไหน คนไม่จำเป็นต้องรู้จักก็ได้ บางทีเรายืนอยู่ตรงนี้ยังไม่รู้เลยว่าเราเป็นใคร แต่ว่ามันอยู่ในนี้ ในเค้กก็มี Identity (อัตลักษณ์) ของเราอยู่ แค่เข้ามานั่งเฟอร์นิเจอร์ การตกแต่ง หรือทุกอย่างมันมี Identity ของเราอยู่”

เมื่อได้ยินคำว่า Takara Wong เราจึงมีภาพของมู้ดและโทนในหัวแตกต่างกันไปตามประสบการณ์อย่างที่เราเคยรับรู้ผ่านมา บางคนนึกถึงคำนี้ในฐานะแฟชั่นหัวขบถ บางคนพึ่งรู้จักชื่อนี้ในมุมของคาเฟ่ที่ไม่เหมือนใคร แต่ทุกความเห็นมองตรงกันที่ว่า นี่แหละคืออัตลักษณ์ของแชมป์


เขาเรียกตัวเองว่าเป็นครีเอเตอร์ มากกว่าที่จะเป็นดีไซเนอร์ “คำว่า ดีไซเนอร์ รู้สึกว่ามันจำกัดขอบเขตของการทำงานของเรามากเกินไป บางทีเราแค่อยากสร้างอะไรขึ้นมาก็ทำ เราเลยเรียกตัวเองว่าเป็นครีเอเตอร์ โดยที่อันนั้นจะเรียกว่าการดีไซน์หรือไม่ดีไซน์ก็ตาม แต่จริงๆ แล้วมันคืองานอะไรก็ได้ซักอย่างที่ถูกสร้างขึ้นมา แค่นั้นเอง”

สิ่งนี้ที่เขานิยามมันว่าคือ ‘ความจอยในชีวิต’

“คือแค่เรารู้สึกว่าเราชอบ สิ่งที่เราชอบมันเรียกว่าดีไซน์ใช่ไหมล่ะ ถ้าสิ่งที่เราชอบมันเรียกว่าดีไซน์ แปลว่าเราชอบ เราก็คือจอยกับสิ่งที่ทุกคนเรียกว่าดีไซน์ มันสำคัญที่เราทำอะไรอยู่ แล้วเราสนุกกับมันไหม มันคือความจอย”

“อย่างเช่นตอนนี้เราก็รู้สึกว่าดีไซน์เสร็จแล้ว แต่การวางระบบร้านให้ยั่งยืนต้องทำยังไง? มันต้องใช้คำว่า ดีไซน์เข้ามาด้วยไหม? ก็ใช้นะ อย่างเช่นเวลาทำเค้กหนึ่งชิ้น การวางเค้กในแต่ละวันที่เราต้องคุยกับทางทีมงานของเรา ว่าวางยังไงให้มันรู้สึกว่ามันน่าสนใจ ให้มันดึงดูดคนให้เข้ามาซื้อฉันสิ หรือทำยังไงให้รู้สึกว่า ชิ้นที่มันเหลืออยู่เยอะที่สุดให้สามารถออกไปได้ มันก็ต้องถูกการจัดวาง แต่ว่าสิ่งนี้เรียกว่าดีไซน์หรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่ว่าถ้าในมุมมองของเราก็คือ เรามีความจอยอยู่ในการทำงาน” 


ความยั่งยืนสำหรับแชมป์ไม่ได้หมายความว่าตัวเขาจะต้องปักหลักอยู่ที่นี่ไปตลอด แต่หมายถึงการที่ Takara Wong ที่บางแสนสามารถดำเนินต่อไปได้ด้วยตัวเอง และ Takara Wong ที่เป็นแบรนด์ติดตัวกับเขาไปได้ทุกที่ในบทบาทของนักท่องเที่ยวอย่างที่ตั้งใจไว้

“ถ้าทำแบรนด์ออกมา แล้วเราแบรนดิ้งแล้วมันแข็งแรงพอที่จะสามารถทำแล้วไปกับเราได้ ที่นี้คือ Standalone แล้วมันก็จะไป Stand ที่อื่นได้อีก ก็คือไปไหนก็ได้โดยชีวิตเราก็จะไปกับเขาด้วย เราอาจจะไปทำแบรนด์นี้ที่เกาะอื่น หรือต่างประเทศก็ได้นะไม่แน่ ถ้ามีโอกาสอะไรที่เข้ามาก็คงทำตามโอกาสนั้นที่เข้ามามากกว่า”


“บทเรียนในชีวิตเยอะมาก ถ้าจะให้เล่าน่าจะเอาไปเขียนไม่พอ” แชมป์ทิ้งท้ายแบบติดตลก ก่อนฝากถึงคนที่มีฝันในการทำแบรนด์ “มีฝันไว้ดีอยู่แล้ว แต่ว่าถ้าฝันนั้นมันเป็นฝันที่คนอื่นทำแล้วประสบความสำเร็จมา เราทำตามความฝันนั้นไป มันก็ไม่ใช่ความฝันของเรา แปลว่าเราต้องทำในสิ่งที่ตัวเองเป็นจริงๆ เราสามารถโดดเด่นได้ด้วยตัวเอง หาจุดดีจุดอ่อน รู้จักตัวเองให้ได้ก่อน แล้วคนอื่นเขาถึงจะยอมรับในสิ่งที่เราเป็น”

“แล้วอีกอย่างนึงคือ เราต้องตามการขึ้นการลงของโลกปัจจุบันให้ทันแค่นั้นเอง ไม่มีอะไรอยู่ได้ตลอดไป คำว่าแน่นอนไม่มีอยู่แล้วในชีวิต คำว่ายั่งยืนก็ไม่มีจริง ไม่มีอะไรอยู่ได้ยั่งยืนอยู่แล้ว เลยคิดว่าปรับตัวให้เป็นดีกว่า ถ้าปรับตัวได้โดยที่ยังรู้จักตัวเองอยู่ นี่แหละเป็นสิ่งที่ยังไงก็ยั่งยืนอยู่กับตัวเองทั้งจิตใจและร่างกาย เพราะแค่เราเดินไป คนก็รู้แล้วว่านี่คือเรา”


Text:

Nathanich C.

Nathanich C.

PHOTO:

Yai Jakkrit

Yai Jakkrit

Related Posts