T-Thutumentary ดีไซเนอร์ไทยในเวที Red Dot Design Award 2023
T-Thutumentary ดีไซเนอร์ไทยในเวที Red Dot Design Award 2023
11 ธ.ค. 2566
SHARE WITH:
11 ธ.ค. 2566
11 ธ.ค. 2566
SHARE WITH:
SHARE WITH:
T-Thutumentary ดีไซเนอร์ไทยในเวที Red Dot Design Award 2023
ช่วงชีวิตหนึ่งของการทำงานในสายออกแบบ รางวัล Red Dot Design Award อาจเป็นเรื่องเกินฝัน เป็นฝันที่ไม่กล้าฝัน แต่แค่ลองกล้าที่จะส่ง นั่นก็เท่ากับว่าเราได้เริ่มต้นแล้ว
แม็ก - ธีทัต ระสินานนท์ ก็เหมือนกับกราฟิกดีไซเนอร์ทุกคนในประเทศไทยที่เริ่มต้นจากการเป็นนักเรียนในโรงเรียนออกแบบโดยที่ตัวเองก็ยังไม่แน่ใจในตัวเองด้วยซ้ำว่าจะเดินทางสายนี้จริงๆ หรือ จนวันที่ได้ลองทำงานหลายแขนงจนมาพบจิ๊กซอว์ชิ้นที่ประกอบเข้ากับชีวิตพอดี และกลายเป็นแม็กในทุกวันนี้ที่ตัดสินใจออกเดินทางไปพบกับความท้าทายบทใหม่ในเมืองหลวงแห่งงานออกแบบอย่างนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
แม้แต่แม็กเองก็ยังไม่รู้ตัวว่าก่อนที่จะต้องไปนิวยอร์ก เขาจะต้องแวะหนึ่งสต็อปก่อนที่ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ในงานประกาศรางวัล Red Dot Design Award 2023 สาขา Brands & Communication Design ในฐานะคนไทยหนึ่งเดียวในปีนี้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในหัวเรื่อง Logo Redesign ให้กับ Mashlab สตูดิโอโปรดักชั่นสายภาพถ่าย (เจ้าของเดียวกันกับ The Mission ของเราเองนี่แหละ) ภายใต้ชื่อ T-Thutumentary
แม็กอนุญาตให้เราตามติดชีวิตของเขากับผลงานที่ผ่านมา ชีวิตในสายงานกราฟิกดีไซน์ จนถึงตอนนี้ที่ออกท่องยุทธจักรแห่งงานออกแบบ ณ ปลายทางที่ศิลปินที่ทุกคนใฝ่ฝัน
บ่ายวันทำงานกับอีเมลเปลี่ยนชีวิต
ในช่วงบ่ายระหว่างที่ทีม Mashlab และ The Mission กำลังอยู่ในช่วงประชุมประจำสัปดาห์ โทรศัพท์สายสำคัญก็เข้ามาพร้อมกับเสียงตื่นเต้นทะลุโทรศัพท์ “โลโก้ Mashlab ได้รางวัล Red Dot!”
ใครบ้างที่ได้ยินประโยคนี้แล้วจะไม่ช็อก กับคนพูดเองเราก็มั่นใจว่ามวลความรู้สึกเต็มล้นไปหมดจนบรรยายออกมาเป็นคำพูดไม่ได้ “เพราะตัวเองไม่เคยส่งประกวดงานระดับนานาชาติแบบนี้มาก่อน เคยส่งประกวดก็แค่งานในประเทศซึ่งก็ไม่ได้รางวัล แต่ครั้งนี้เราอยากส่งเพราะถึงวันที่เราต้องท้าทายตัวเองให้มีผลงาน แล้วให้ผลงานเป็นตัวบ่งบอกด้วยตัวเอง”
จากเด็กมัธยมสายวิทย์ที่มีเป้าหมายแค่เรียนสถาปัตย์แต่ก็ยังงมหาอยู่ จนได้รับคำแนะนำให้ลองเรียนนิเทศศิลป์ดู จนมาสรุปที่สาขาวิชานิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในตอนเรียนเขาก็ยังลังเลว่าจะย้ายมาเรียนสาขาภาพยนตร์ดีไหม แต่สุดท้ายการเรียนนิเทศศิลป์ โดยเฉพาะหัวเรื่อง Communication Design หรือการออกแบบสื่อสารคือแพชชั่นเต็มตัว เป็นทางที่ชอบ และสนุกกับการเรียน
ชีวิตกราฟิกดีไซเนอร์เต็มตัวของแม็กเริ่มต้นที่ดีไซน์สตูดิโอที่เขาได้ทำงานกับโจทย์งานของลูกค้าที่หลากหลาย เปลี่ยนไปเป็นอาร์ตไดเรกเตอร์ให้กับนิตยสารแฟชั่น กลับมาที่งานสตูดิโออีกครั้ง ก่อนที่จะโบยบินอย่างอิสระด้วยการเป็นฟรีแลนซ์เต็มตัวที่สหรัฐอเมริกา จุดนี้เองเป็นจุดเปลี่ยนจากคนที่เป็นเบื้องหลังให้กับดีไซน์ให้ต้องท้าทายตัวเองบนเวทีโลกที่เราเป็นแค่หนึ่งในตัวเลือกของใครบางคน
“จากคนที่ไม่เคยสนใจว่าจะมีเครดิตอะไรเลย กลายเป็นว่าการที่เราไปต่างประเทศ เราต้องชาเลนจ์ตัวเองมากกว่านั้น เราต้องมีโพรไฟล์ เราต้องมีชื่อ อเมริกาเหมือนสอนให้เราต้องท้าทายตัวเองมากกว่านี้ด้วยการส่งงานประกวดเพื่อบิลต์อัปตัวเอง จนมาเป็นงานโลโก้ของ Mashlab ที่ได้รางวัล”
โลโก้ของ Mashlab เรียกว่าเข้ากับมีเดียในยุคปัจจุบันที่ทุกคนมีสื่อดิจิทัลอยู่ในมือ งานโลโก้จึงไม่ได้หยุดแค่ภาพนิ่ง แต่แม็กคิดต่อไปถึงการเป็นโลโก้แบบเคลื่อนไหว และต่อยอดไปใช้ได้อย่างยืดหยุ่นในรูปแบบที่หลากหลาย แต่ยังคงอยู่ภายใต้ร่มของอัตลักษณ์เดียวกัน
“ปกติมันจะมีภาพแพทเทิร์นของงานแบรนดิ้งที่ไม่กล้าฉีกกฎ แต่เรากลับคิดต่างกันตั้งแต่ตอนแรกที่รับโจทย์ว่า โดยตัวแบรนด์สามารถเล่นอะไรได้อีกเยอะ แล้วมันมีอะไรมากกว่านั้น รวมทั้งภายในชื่อหรือคอนเซปต์ที่ Mashlab เป็นคือภาพถ่ายทุกงานมีเรื่องราวของมันอยู่ เลยกลายเป็นโจทย์งานสนุกที่อยากจะทำเพื่อแหกกฎอะไรบางอย่าง”
“เราเลยคิดต่อว่า ถ้าสมมติเป็นสตูดิโอที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องภาพ งานภาพก็ต้องทำให้คนทึ่ง มีเอกลักษณ์ หรือมีจุดเด่น แล้วจากคอนเซปต์ที่เราส่งให้ทาง Red Dot ก็เลยคิดว่านี่น่าจะเป็นเหตุผลที่เขาเลือกงานเรา ที่โลโก้มันไม่ได้เป็น Static Logo หรือโลโก้ที่อยู่กับที่เหมือนกับที่ผ่านมา มีสีสัน ไร้ขอบเขต แตกต่างจากงานอื่นๆ ก็เป็นได้”
เราถามเจาะจงลงไปถึงงานสายงานออกแบบสื่อสารที่เขาสนุกกับมัน แม็กบอกว่า งาน Key Visual หรือภาพการสื่อสารหลักที่เป็นภาพจำสำหรับนำมาต่อยอดพัฒนาสำหรับสื่อสารงานออกแบบ เป็นงานในรูปแบบที่เขาถนัดและสนุกกับมัน
“อย่างงานของวง Proxie ที่เป็นการเดบิวต์วงใหม่ หรืองานคอร์ปอเรตแบรนด์ต่างๆ เรารู้สึกสนุกกับการทำงานแบบนี้มาก มันสนุกตรงที่เราเริ่มต้นจากศูนย์ สร้างภาพในสิ่งที่เป็นจินตนาการล้วน บางทีอธิบายออกมาเป็นคำพูดไม่ได้เลยด้วยซ้ำ อย่างถ้าเราทำโลโก้ เรายังสามารถอธิบายได้ว่าอยากได้ดูหรูหน่อยหรือภาพลักษณ์แบบไหน แต่กับงานวิชวลมันอาจจะอธิบายเป็นคำพูดได้แค่ประมาณหนึ่ง ที่เหลือคืองานครีเอทีฟล้วนๆ แล้วงานก็ต้องถูกเอาไปทำต่อคิดต่อ ซึ่งทำให้ตัวตั้งต้นของเราถูกคิดบียอนด์ออกไปอีก”
ไลฟ์สไตล์ทุกวันก็เป็นความคิดสร้างสรรค์ได้ เพียงให้ค่าทางความคิด
ผลงานทั้งหมดที่ได้รางวัล จะถูกทยอยนำไปจัดแสดงที่ Red Dot Museum ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่ Essen ประเทศเยอรมนี, Xiamen ประเทศจีน และประเทศสิงคโปร์ การประชาสัมพันธ์ในสื่อหลากหลายระดับโลก พร้อมกับการได้เข้าร่วมงาน GALA งานนิทรรศการ พร้อมการประกาศผลรางวัลที่รวมนักออกแบบที่ได้รับรางวัลจากทั่วทุกมุมโลกที่เบอร์ลินอย่างที่แม็กและทีมงานของเราไปร่วมมา
แม็กนับว่า รางวัล Red Dot Design Award ในครั้งนี้เป็นเหมือนสิ่งที่ทำให้เขาเติบโตขึ้นไปอีกขั้น ไม่ใช่แค่การมีรางวัลการันตี แต่ยังเป็นเรื่องการให้คุณค่ากับตัวเอง และการพัฒนางานดีไซน์ที่ยังจะมุ่งมั่นทำต่อในนิวยอร์ก
“ตอนไปอเมริกาไปหลายเมืองก็จริง แต่เราก็พยายามดูว่า สิ่งไหนที่เหมาะที่ใช่กับเรา นิวยอร์กไม่ใช่ชอยส์แรกเพราะเราไม่ชอบความวุ่นวาย แต่สุดท้ายแล้วถ้าเป็นคนดีไซน์หรือทำงานเชิงสร้างสรรค์ นิวยอร์กคือที่สุดแล้ว เพราะในความเป็นเมืองหลวงทางด้านความคิดสร้างสรรค์ก็ยังมีความสมดุลอยู่ มันมีงานให้เราได้สัมผัส มีสวนสาธารณะ มีคุณภาพชีวิต และสร้างแรงบันดาลใจได้หลายอย่างแบบไม่มีทางหยุดนิ่งได้เลย”
“แล้วพอเราอยู่ในเมืองที่สร้างแรงบันดาลใจได้ขนาดนั้น ความอิสระทำให้เราสามารถแตกหน่อความคิดสร้างสรรค์ของเราไปได้อีกเรื่อยๆ อย่างเรื่องง่ายๆ อย่างไลฟ์สไตล์หรือการแต่งตัว มันไม่ได้มีใครมาสนใจว่าจะอ้วนผอมหรือแต่งตัวแบบไหน นี่คืองานสร้างสรรค์ที่คุณจะทำอะไรก็ได้ งานสร้างสรรค์ไม่จำเป็นว่าคุณต้องเป็นดีไซเนอร์หรือทำงานสายดีไซน์ แค่ไลฟ์สไตล์ของคุณว่าอยากจะสวยในแบบของตัวเอง ก็คือการให้ค่าทางความคิดทั้งนามธรรมและรูปธรรม ความเปิดกว้างแบบนี้ไม่ได้ลดทอนคุณค่าในตัวของใคร แต่เป็นการผลักดันไปด้วยกัน ทุกคนให้เกียรติกันและมี Empathy ในแต่ละบุคคล”
แม้วิธีการทำงานของกราฟิกดีไซเนอร์จากที่เป็นมนุษย์ Multitask ในการทำงานแบบไทย ไปสู่สิ่งแวดล้อมการทำงานในต่างประเทศที่ให้ค่ากับความสามารถและงานเฉพาะทาง สุดท้ายแล้วผลลัพธ์ก็อยู่การตีโจทย์และการทำงานออกแบบที่ต้องหาตรงกลางร่วมกันระหว่างคนทำงานและผู้จ้างงาน
“สิ่งนึงคือ เราต้องลองอ่านโจทย์ให้ถูก แล้วถ้าสมมติเขาไม่ต้องการเราก็ต้องไม่ฝืน แต่เรามีสิทธิ์นำเสนอเพื่อให้ได้สิ่งที่แตกต่าง หรือการพัฒนาทางดีไซน์ต่อ แต่ถ้ามีงานไหนที่เขาหลุดมาว่าอยากจะเล่นอยากจะสนุก เราก็จัดเต็มเหมือนกัน เพราะหนึ่งงานที่เรากลั่นมาจากสมอง เราก็ต้องการเสิร์ฟสิ่งที่ดีที่สุดเช่นกัน เราคาดหวังในสิ่งที่จะตอบโจทย์กับทางโปรดักต์ด้วย”
“เรียกว่าสิ่งแวดล้อมก็มีผลชัดเจนมากในการทำงาน พอเราอยู่ในเมืองที่ Inspire มาก เราก็สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์เราไปได้เรื่อยๆ แต่ถ้าเราอยู่ในที่ที่มีปัญหาร้อยแปด มันก็กลายเป็นทำให้เราคิดงานหรือทำงานไม่ได้ Flow เท่าที่ควร ก็ดรอปความคิดสร้างสรรค์เราลงไปอีก”
ในตอนนี้ แม็กเห็นภาพอนาคตของตัวเองอยู่และเติบโตในสายของการทำงานที่นิวยอร์ก แม้จะยังไม่ได้มองไกลไปถึงปลายทางของชีวิต แต่ความท้าทาย ณ ขณะนี้ของเขาคือการตั้งหลักปักฐานกับงานดีไซน์ให้ได้ แล้วใช้ดีไซน์หล่อเลี้ยงชีวิตทั้งทางกายภาพและจิตใจ
“ถ้าถามโดยส่วนตัวผมไม่มีไบเบิลในการทำงาน ผมจะมีโจทย์แค่ว่า ถ้าสิ่งที่เคยเห็น สิ่งที่เคยมี เราจะทำไปทำไม เราขอย้อนกลับไปตรงที่ว่า เราทำในสิ่งที่ไม่เคยเห็นหรือไม่เคยมีดีกว่าไหม ถ้าเราสร้างงานแบบนั้นได้ แสดงว่างานของเรามันดูสดใหม่อยู่เสมอ แล้วไม่ต้องไปหาที่ไหนไกล ไลฟ์สไตล์ของเรานี่แหละ เราใช้ชีวิตประจำวันแบบอิ่มเอมไปกับมัน สิ่งนี้ก็จะกลืนเข้ากับชีวิตและความคิดของเราไปโดยปริยาย”
ช่วงชีวิตหนึ่งของการทำงานในสายออกแบบ รางวัล Red Dot Design Award อาจเป็นเรื่องเกินฝัน เป็นฝันที่ไม่กล้าฝัน แต่แค่ลองกล้าที่จะส่ง นั่นก็เท่ากับว่าเราได้เริ่มต้นแล้ว
แม็ก - ธีทัต ระสินานนท์ ก็เหมือนกับกราฟิกดีไซเนอร์ทุกคนในประเทศไทยที่เริ่มต้นจากการเป็นนักเรียนในโรงเรียนออกแบบโดยที่ตัวเองก็ยังไม่แน่ใจในตัวเองด้วยซ้ำว่าจะเดินทางสายนี้จริงๆ หรือ จนวันที่ได้ลองทำงานหลายแขนงจนมาพบจิ๊กซอว์ชิ้นที่ประกอบเข้ากับชีวิตพอดี และกลายเป็นแม็กในทุกวันนี้ที่ตัดสินใจออกเดินทางไปพบกับความท้าทายบทใหม่ในเมืองหลวงแห่งงานออกแบบอย่างนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
แม้แต่แม็กเองก็ยังไม่รู้ตัวว่าก่อนที่จะต้องไปนิวยอร์ก เขาจะต้องแวะหนึ่งสต็อปก่อนที่ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ในงานประกาศรางวัล Red Dot Design Award 2023 สาขา Brands & Communication Design ในฐานะคนไทยหนึ่งเดียวในปีนี้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในหัวเรื่อง Logo Redesign ให้กับ Mashlab สตูดิโอโปรดักชั่นสายภาพถ่าย (เจ้าของเดียวกันกับ The Mission ของเราเองนี่แหละ) ภายใต้ชื่อ T-Thutumentary
แม็กอนุญาตให้เราตามติดชีวิตของเขากับผลงานที่ผ่านมา ชีวิตในสายงานกราฟิกดีไซน์ จนถึงตอนนี้ที่ออกท่องยุทธจักรแห่งงานออกแบบ ณ ปลายทางที่ศิลปินที่ทุกคนใฝ่ฝัน
บ่ายวันทำงานกับอีเมลเปลี่ยนชีวิต
ในช่วงบ่ายระหว่างที่ทีม Mashlab และ The Mission กำลังอยู่ในช่วงประชุมประจำสัปดาห์ โทรศัพท์สายสำคัญก็เข้ามาพร้อมกับเสียงตื่นเต้นทะลุโทรศัพท์ “โลโก้ Mashlab ได้รางวัล Red Dot!”
ใครบ้างที่ได้ยินประโยคนี้แล้วจะไม่ช็อก กับคนพูดเองเราก็มั่นใจว่ามวลความรู้สึกเต็มล้นไปหมดจนบรรยายออกมาเป็นคำพูดไม่ได้ “เพราะตัวเองไม่เคยส่งประกวดงานระดับนานาชาติแบบนี้มาก่อน เคยส่งประกวดก็แค่งานในประเทศซึ่งก็ไม่ได้รางวัล แต่ครั้งนี้เราอยากส่งเพราะถึงวันที่เราต้องท้าทายตัวเองให้มีผลงาน แล้วให้ผลงานเป็นตัวบ่งบอกด้วยตัวเอง”
จากเด็กมัธยมสายวิทย์ที่มีเป้าหมายแค่เรียนสถาปัตย์แต่ก็ยังงมหาอยู่ จนได้รับคำแนะนำให้ลองเรียนนิเทศศิลป์ดู จนมาสรุปที่สาขาวิชานิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในตอนเรียนเขาก็ยังลังเลว่าจะย้ายมาเรียนสาขาภาพยนตร์ดีไหม แต่สุดท้ายการเรียนนิเทศศิลป์ โดยเฉพาะหัวเรื่อง Communication Design หรือการออกแบบสื่อสารคือแพชชั่นเต็มตัว เป็นทางที่ชอบ และสนุกกับการเรียน
ชีวิตกราฟิกดีไซเนอร์เต็มตัวของแม็กเริ่มต้นที่ดีไซน์สตูดิโอที่เขาได้ทำงานกับโจทย์งานของลูกค้าที่หลากหลาย เปลี่ยนไปเป็นอาร์ตไดเรกเตอร์ให้กับนิตยสารแฟชั่น กลับมาที่งานสตูดิโออีกครั้ง ก่อนที่จะโบยบินอย่างอิสระด้วยการเป็นฟรีแลนซ์เต็มตัวที่สหรัฐอเมริกา จุดนี้เองเป็นจุดเปลี่ยนจากคนที่เป็นเบื้องหลังให้กับดีไซน์ให้ต้องท้าทายตัวเองบนเวทีโลกที่เราเป็นแค่หนึ่งในตัวเลือกของใครบางคน
“จากคนที่ไม่เคยสนใจว่าจะมีเครดิตอะไรเลย กลายเป็นว่าการที่เราไปต่างประเทศ เราต้องชาเลนจ์ตัวเองมากกว่านั้น เราต้องมีโพรไฟล์ เราต้องมีชื่อ อเมริกาเหมือนสอนให้เราต้องท้าทายตัวเองมากกว่านี้ด้วยการส่งงานประกวดเพื่อบิลต์อัปตัวเอง จนมาเป็นงานโลโก้ของ Mashlab ที่ได้รางวัล”
โลโก้ของ Mashlab เรียกว่าเข้ากับมีเดียในยุคปัจจุบันที่ทุกคนมีสื่อดิจิทัลอยู่ในมือ งานโลโก้จึงไม่ได้หยุดแค่ภาพนิ่ง แต่แม็กคิดต่อไปถึงการเป็นโลโก้แบบเคลื่อนไหว และต่อยอดไปใช้ได้อย่างยืดหยุ่นในรูปแบบที่หลากหลาย แต่ยังคงอยู่ภายใต้ร่มของอัตลักษณ์เดียวกัน
“ปกติมันจะมีภาพแพทเทิร์นของงานแบรนดิ้งที่ไม่กล้าฉีกกฎ แต่เรากลับคิดต่างกันตั้งแต่ตอนแรกที่รับโจทย์ว่า โดยตัวแบรนด์สามารถเล่นอะไรได้อีกเยอะ แล้วมันมีอะไรมากกว่านั้น รวมทั้งภายในชื่อหรือคอนเซปต์ที่ Mashlab เป็นคือภาพถ่ายทุกงานมีเรื่องราวของมันอยู่ เลยกลายเป็นโจทย์งานสนุกที่อยากจะทำเพื่อแหกกฎอะไรบางอย่าง”
“เราเลยคิดต่อว่า ถ้าสมมติเป็นสตูดิโอที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องภาพ งานภาพก็ต้องทำให้คนทึ่ง มีเอกลักษณ์ หรือมีจุดเด่น แล้วจากคอนเซปต์ที่เราส่งให้ทาง Red Dot ก็เลยคิดว่านี่น่าจะเป็นเหตุผลที่เขาเลือกงานเรา ที่โลโก้มันไม่ได้เป็น Static Logo หรือโลโก้ที่อยู่กับที่เหมือนกับที่ผ่านมา มีสีสัน ไร้ขอบเขต แตกต่างจากงานอื่นๆ ก็เป็นได้”
เราถามเจาะจงลงไปถึงงานสายงานออกแบบสื่อสารที่เขาสนุกกับมัน แม็กบอกว่า งาน Key Visual หรือภาพการสื่อสารหลักที่เป็นภาพจำสำหรับนำมาต่อยอดพัฒนาสำหรับสื่อสารงานออกแบบ เป็นงานในรูปแบบที่เขาถนัดและสนุกกับมัน
“อย่างงานของวง Proxie ที่เป็นการเดบิวต์วงใหม่ หรืองานคอร์ปอเรตแบรนด์ต่างๆ เรารู้สึกสนุกกับการทำงานแบบนี้มาก มันสนุกตรงที่เราเริ่มต้นจากศูนย์ สร้างภาพในสิ่งที่เป็นจินตนาการล้วน บางทีอธิบายออกมาเป็นคำพูดไม่ได้เลยด้วยซ้ำ อย่างถ้าเราทำโลโก้ เรายังสามารถอธิบายได้ว่าอยากได้ดูหรูหน่อยหรือภาพลักษณ์แบบไหน แต่กับงานวิชวลมันอาจจะอธิบายเป็นคำพูดได้แค่ประมาณหนึ่ง ที่เหลือคืองานครีเอทีฟล้วนๆ แล้วงานก็ต้องถูกเอาไปทำต่อคิดต่อ ซึ่งทำให้ตัวตั้งต้นของเราถูกคิดบียอนด์ออกไปอีก”
ไลฟ์สไตล์ทุกวันก็เป็นความคิดสร้างสรรค์ได้ เพียงให้ค่าทางความคิด
ผลงานทั้งหมดที่ได้รางวัล จะถูกทยอยนำไปจัดแสดงที่ Red Dot Museum ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่ Essen ประเทศเยอรมนี, Xiamen ประเทศจีน และประเทศสิงคโปร์ การประชาสัมพันธ์ในสื่อหลากหลายระดับโลก พร้อมกับการได้เข้าร่วมงาน GALA งานนิทรรศการ พร้อมการประกาศผลรางวัลที่รวมนักออกแบบที่ได้รับรางวัลจากทั่วทุกมุมโลกที่เบอร์ลินอย่างที่แม็กและทีมงานของเราไปร่วมมา
แม็กนับว่า รางวัล Red Dot Design Award ในครั้งนี้เป็นเหมือนสิ่งที่ทำให้เขาเติบโตขึ้นไปอีกขั้น ไม่ใช่แค่การมีรางวัลการันตี แต่ยังเป็นเรื่องการให้คุณค่ากับตัวเอง และการพัฒนางานดีไซน์ที่ยังจะมุ่งมั่นทำต่อในนิวยอร์ก
“ตอนไปอเมริกาไปหลายเมืองก็จริง แต่เราก็พยายามดูว่า สิ่งไหนที่เหมาะที่ใช่กับเรา นิวยอร์กไม่ใช่ชอยส์แรกเพราะเราไม่ชอบความวุ่นวาย แต่สุดท้ายแล้วถ้าเป็นคนดีไซน์หรือทำงานเชิงสร้างสรรค์ นิวยอร์กคือที่สุดแล้ว เพราะในความเป็นเมืองหลวงทางด้านความคิดสร้างสรรค์ก็ยังมีความสมดุลอยู่ มันมีงานให้เราได้สัมผัส มีสวนสาธารณะ มีคุณภาพชีวิต และสร้างแรงบันดาลใจได้หลายอย่างแบบไม่มีทางหยุดนิ่งได้เลย”
“แล้วพอเราอยู่ในเมืองที่สร้างแรงบันดาลใจได้ขนาดนั้น ความอิสระทำให้เราสามารถแตกหน่อความคิดสร้างสรรค์ของเราไปได้อีกเรื่อยๆ อย่างเรื่องง่ายๆ อย่างไลฟ์สไตล์หรือการแต่งตัว มันไม่ได้มีใครมาสนใจว่าจะอ้วนผอมหรือแต่งตัวแบบไหน นี่คืองานสร้างสรรค์ที่คุณจะทำอะไรก็ได้ งานสร้างสรรค์ไม่จำเป็นว่าคุณต้องเป็นดีไซเนอร์หรือทำงานสายดีไซน์ แค่ไลฟ์สไตล์ของคุณว่าอยากจะสวยในแบบของตัวเอง ก็คือการให้ค่าทางความคิดทั้งนามธรรมและรูปธรรม ความเปิดกว้างแบบนี้ไม่ได้ลดทอนคุณค่าในตัวของใคร แต่เป็นการผลักดันไปด้วยกัน ทุกคนให้เกียรติกันและมี Empathy ในแต่ละบุคคล”
แม้วิธีการทำงานของกราฟิกดีไซเนอร์จากที่เป็นมนุษย์ Multitask ในการทำงานแบบไทย ไปสู่สิ่งแวดล้อมการทำงานในต่างประเทศที่ให้ค่ากับความสามารถและงานเฉพาะทาง สุดท้ายแล้วผลลัพธ์ก็อยู่การตีโจทย์และการทำงานออกแบบที่ต้องหาตรงกลางร่วมกันระหว่างคนทำงานและผู้จ้างงาน
“สิ่งนึงคือ เราต้องลองอ่านโจทย์ให้ถูก แล้วถ้าสมมติเขาไม่ต้องการเราก็ต้องไม่ฝืน แต่เรามีสิทธิ์นำเสนอเพื่อให้ได้สิ่งที่แตกต่าง หรือการพัฒนาทางดีไซน์ต่อ แต่ถ้ามีงานไหนที่เขาหลุดมาว่าอยากจะเล่นอยากจะสนุก เราก็จัดเต็มเหมือนกัน เพราะหนึ่งงานที่เรากลั่นมาจากสมอง เราก็ต้องการเสิร์ฟสิ่งที่ดีที่สุดเช่นกัน เราคาดหวังในสิ่งที่จะตอบโจทย์กับทางโปรดักต์ด้วย”
“เรียกว่าสิ่งแวดล้อมก็มีผลชัดเจนมากในการทำงาน พอเราอยู่ในเมืองที่ Inspire มาก เราก็สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์เราไปได้เรื่อยๆ แต่ถ้าเราอยู่ในที่ที่มีปัญหาร้อยแปด มันก็กลายเป็นทำให้เราคิดงานหรือทำงานไม่ได้ Flow เท่าที่ควร ก็ดรอปความคิดสร้างสรรค์เราลงไปอีก”
ในตอนนี้ แม็กเห็นภาพอนาคตของตัวเองอยู่และเติบโตในสายของการทำงานที่นิวยอร์ก แม้จะยังไม่ได้มองไกลไปถึงปลายทางของชีวิต แต่ความท้าทาย ณ ขณะนี้ของเขาคือการตั้งหลักปักฐานกับงานดีไซน์ให้ได้ แล้วใช้ดีไซน์หล่อเลี้ยงชีวิตทั้งทางกายภาพและจิตใจ
“ถ้าถามโดยส่วนตัวผมไม่มีไบเบิลในการทำงาน ผมจะมีโจทย์แค่ว่า ถ้าสิ่งที่เคยเห็น สิ่งที่เคยมี เราจะทำไปทำไม เราขอย้อนกลับไปตรงที่ว่า เราทำในสิ่งที่ไม่เคยเห็นหรือไม่เคยมีดีกว่าไหม ถ้าเราสร้างงานแบบนั้นได้ แสดงว่างานของเรามันดูสดใหม่อยู่เสมอ แล้วไม่ต้องไปหาที่ไหนไกล ไลฟ์สไตล์ของเรานี่แหละ เราใช้ชีวิตประจำวันแบบอิ่มเอมไปกับมัน สิ่งนี้ก็จะกลืนเข้ากับชีวิตและความคิดของเราไปโดยปริยาย”