Sucralose สารความหวานยุคซีโร่
Sucralose สารความหวานยุคซีโร่
31 ก.ค. 2566
SHARE WITH:
31 ก.ค. 2566
31 ก.ค. 2566
SHARE WITH:
SHARE WITH:
Sucralose สารความหวานยุคซีโร่
SUCRALOSE
หวานชนิดดีต่อใจ แต่ดีต่อกายมั้ย?
วงการของหวานเข้าแล้วออกยาก เพราะชีวิตขาดหวานไม่ได้ แต่การกินน้ำตาลที่มากเกินกว่าปริมาณพอเหมาะก็ทำให้เกิดผลเสียตามมามากมายก่ายกองอย่างที่ทุกคนรู้กันดี สารให้ความหวานแทนน้ำตาลจึงถูกคิดค้นมาเพื่อการนี้ และซูคราโลส คือสารให้ความหวานตัวล่าสุดที่กำลังเริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แต่มันจะดียังไง ปลอดภัยหรือไม่ เราจะมาแนะนำให้ได้รู้จักดียิ่งขึ้น
Sucralose หรือ ซูคราโลส เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล โดยส่วนมากมักจะพบในเครื่องดื่มสูตรไม่มีน้ำตาล (พวก Zero ต่างๆ), อาหารสำหรับลดน้ำหนัก และอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
กรรมวิธีการผลิตซูคราโลสคือ การแทนที่กลุ่มไฮดรอกซินในน้ำตาลซูโครส (Sucrose) ด้วยอะตอมคลอไรด์ ทำให้ได้น้ำตาลที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ ประมาณ 85% จึงไม่เกิดการดูดซึมเข้าร่างกาย และจะถูกขับออกจากร่างกายตามปกติ ส่วนอีก 15% ที่ร่างกายดูดซึมเข้าไปจะไม่ก่อให้เกิดพลังงานแคลอรี และจะถูกขับออกทางปัสสาวะอีกที
นอกจากไม่ดูดซึมเข้าร่างกายแล้ว ซูคราโลสยังให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลปกติถึง 600 เท่า โดยไม่ทิ้งรสขมติดลิ้นอีกด้วย เราจึงสามารถใช้ซูคราโลสในปริมาณเพียงน้อยนิดเท่านั้นก็ให้ความหวานในระดับที่ต้องการได้ ซูคราโลสในปัจจุบันจึงถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะวงการอาหารและเครื่องดื่มสำหรับคนออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็น Whey Protein, Energy Drink หรือ Pre-Workout ต่างก็ใช้ซูคราโลสเป็นตัวให้ความหวานกันทั้งนั้น
อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติที่ดีเยี่ยมขนาดนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะทุกคนจะให้การยอมรับ เนื่องจากซูคราโลสเป็นสารให้ความหวานคล้ายกับแอสปาเตม (Aspartame) มีการทำวิจัยซูคราโลสมากมาย แต่ยังไม่มีผลลัพธ์ที่ชัดเจนถึงเรื่องความปลอดภัยหรือผลข้างเคียง บางงานวิจัยเชื่อว่าซูคราโลสจะไปเปลี่ยนแปลง DNA ของร่างกาย และก่อให้เกิดมะเร็ง แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนมากพอที่จะมาอ้างอิงได้ (เหมือนตอนพืช GMOs ที่คนเชื่อว่าถ้าเรากินเข้าไปแล้ว DNA ร่างกายเราจะเปลี่ยน อะไรแบบนี้) ซูคราโลสจึงเป็นอีกหนึ่งสารให้ความหวานที่ยังต้องทำการวิจัยหาผลสรุปกันต่อไป
แล้วเราสามารถกินซูคราโลสได้แค่ไหน? ทาง FDA หรือองค์กรอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำไว้ว่า ปริมาณที่พอเหมาะของซูคราโลสที่สามารถกินได้ต่อวันคือ 5 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักร่างกาย 1 กิโลกรัม นั่นหมายความว่าคนเขียนตอนนี้หนัก 85 กิโลกรัมก็สามารถกินซูคราโลสได้ 425 มิลลิกรัมนั่นเอง
เนื่องจากร่างกายของทุกคนนั้นไม่เหมือนกัน การบริโภคซูคราโลสให้น้อย ประมาณเครื่องดื่มซีโร่ 1-2 กระป๋องต่อวัน และลดของหวานให้น้อยลงกว่าเดิมจึงจะเป็นทางเลือกที่ดีต่อร่างกายมากกว่า
ความจริงแล้วน้ำตาลไม่ใช่เป็นสิ่งที่เลวร้าย หากเรารู้จักปริมาณแคลลอรี่ที่ร่างกายเราเผาผลาญได้ในแต่ละวัน โดยสามารถคำนวนคร่าวๆ ได้เองผ่านสูตร BMR และควบคุมปริมาณน้ำตาลที่กินในแต่ละวัน อย่างเช่นการเลิกสั่งกาแฟเย็นสูตรหวานมัน แล้วหันมาดื่นกาแฟแบบหวาน 25% แทนก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีแล้ว (เราไม่ได้ Judge คนที่สั่งนะ แต่เพราะเป็นห่วงสุขภาพจริงๆ จ้า)
SUCRALOSE
หวานชนิดดีต่อใจ แต่ดีต่อกายมั้ย?
วงการของหวานเข้าแล้วออกยาก เพราะชีวิตขาดหวานไม่ได้ แต่การกินน้ำตาลที่มากเกินกว่าปริมาณพอเหมาะก็ทำให้เกิดผลเสียตามมามากมายก่ายกองอย่างที่ทุกคนรู้กันดี สารให้ความหวานแทนน้ำตาลจึงถูกคิดค้นมาเพื่อการนี้ และซูคราโลส คือสารให้ความหวานตัวล่าสุดที่กำลังเริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แต่มันจะดียังไง ปลอดภัยหรือไม่ เราจะมาแนะนำให้ได้รู้จักดียิ่งขึ้น
Sucralose หรือ ซูคราโลส เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล โดยส่วนมากมักจะพบในเครื่องดื่มสูตรไม่มีน้ำตาล (พวก Zero ต่างๆ), อาหารสำหรับลดน้ำหนัก และอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
กรรมวิธีการผลิตซูคราโลสคือ การแทนที่กลุ่มไฮดรอกซินในน้ำตาลซูโครส (Sucrose) ด้วยอะตอมคลอไรด์ ทำให้ได้น้ำตาลที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ ประมาณ 85% จึงไม่เกิดการดูดซึมเข้าร่างกาย และจะถูกขับออกจากร่างกายตามปกติ ส่วนอีก 15% ที่ร่างกายดูดซึมเข้าไปจะไม่ก่อให้เกิดพลังงานแคลอรี และจะถูกขับออกทางปัสสาวะอีกที
นอกจากไม่ดูดซึมเข้าร่างกายแล้ว ซูคราโลสยังให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลปกติถึง 600 เท่า โดยไม่ทิ้งรสขมติดลิ้นอีกด้วย เราจึงสามารถใช้ซูคราโลสในปริมาณเพียงน้อยนิดเท่านั้นก็ให้ความหวานในระดับที่ต้องการได้ ซูคราโลสในปัจจุบันจึงถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะวงการอาหารและเครื่องดื่มสำหรับคนออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็น Whey Protein, Energy Drink หรือ Pre-Workout ต่างก็ใช้ซูคราโลสเป็นตัวให้ความหวานกันทั้งนั้น
อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติที่ดีเยี่ยมขนาดนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะทุกคนจะให้การยอมรับ เนื่องจากซูคราโลสเป็นสารให้ความหวานคล้ายกับแอสปาเตม (Aspartame) มีการทำวิจัยซูคราโลสมากมาย แต่ยังไม่มีผลลัพธ์ที่ชัดเจนถึงเรื่องความปลอดภัยหรือผลข้างเคียง บางงานวิจัยเชื่อว่าซูคราโลสจะไปเปลี่ยนแปลง DNA ของร่างกาย และก่อให้เกิดมะเร็ง แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนมากพอที่จะมาอ้างอิงได้ (เหมือนตอนพืช GMOs ที่คนเชื่อว่าถ้าเรากินเข้าไปแล้ว DNA ร่างกายเราจะเปลี่ยน อะไรแบบนี้) ซูคราโลสจึงเป็นอีกหนึ่งสารให้ความหวานที่ยังต้องทำการวิจัยหาผลสรุปกันต่อไป
แล้วเราสามารถกินซูคราโลสได้แค่ไหน? ทาง FDA หรือองค์กรอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำไว้ว่า ปริมาณที่พอเหมาะของซูคราโลสที่สามารถกินได้ต่อวันคือ 5 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักร่างกาย 1 กิโลกรัม นั่นหมายความว่าคนเขียนตอนนี้หนัก 85 กิโลกรัมก็สามารถกินซูคราโลสได้ 425 มิลลิกรัมนั่นเอง
เนื่องจากร่างกายของทุกคนนั้นไม่เหมือนกัน การบริโภคซูคราโลสให้น้อย ประมาณเครื่องดื่มซีโร่ 1-2 กระป๋องต่อวัน และลดของหวานให้น้อยลงกว่าเดิมจึงจะเป็นทางเลือกที่ดีต่อร่างกายมากกว่า
ความจริงแล้วน้ำตาลไม่ใช่เป็นสิ่งที่เลวร้าย หากเรารู้จักปริมาณแคลลอรี่ที่ร่างกายเราเผาผลาญได้ในแต่ละวัน โดยสามารถคำนวนคร่าวๆ ได้เองผ่านสูตร BMR และควบคุมปริมาณน้ำตาลที่กินในแต่ละวัน อย่างเช่นการเลิกสั่งกาแฟเย็นสูตรหวานมัน แล้วหันมาดื่นกาแฟแบบหวาน 25% แทนก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีแล้ว (เราไม่ได้ Judge คนที่สั่งนะ แต่เพราะเป็นห่วงสุขภาพจริงๆ จ้า)