SARR.RAI (สาหร่าย) จิเวลรีแบรนด์ไทยสายยั่งยืนที่ดีกับโลก และดีต่อใจ
SARR.RAI (สาหร่าย) จิเวลรีแบรนด์ไทยสายยั่งยืนที่ดีกับโลก และดีต่อใจ
9 ต.ค. 2566
SHARE WITH:
9 ต.ค. 2566
9 ต.ค. 2566
SHARE WITH:
SHARE WITH:
SARR.RAI (สาหร่าย) จิเวลรีแบรนด์ไทยสายยั่งยืนที่ดีกับโลก และดีต่อใจ
“อันนี้คือความตั้งใจของเรา คือไม่อยากทำงาน Upcycle ที่ยังดูรู้ว่ามาจากขยะ อยากให้มันเป็น Alternative Jewelry (จิเวลรีทางเลือก) จริงๆ”
นี่คือแบรนด์ SARR.RAI (สาหร่าย) จิเวลรีที่เราแทบดูไม่ออกเลยว่ามีที่มาจากของเหลือใช้หลังครัว หลังผ่านการค้นคว้า ทดลอง และออกแบบโดยสองเพื่อนรักร่วมชั้นมัธยม กอล์ฟ - อภิสรา ศิริวัฒน์โยธิน และ แจม - ภิญญาพัชญ์ งามพินิจพล เพื่อให้ได้เครื่องประดับที่วัสดุทุกชิ้นจะต้องใช้วงรอบของชีวิตให้เกิดคุณค่าสูงสุดเท่าที่จะทำได้
“จากรีเสิร์ชเราพบว่า คนเราไม่ทิ้งจิเวลรี มันเป็นของที่คนเก็บจนลืม ถ้ามีมูลค่าก็จะส่งต่อให้คนรุ่นต่อไปหรือเพื่อนพี่น้อง แต่ถ้าเป็นแบบฟาสต์แฟชั่นที่เห็นตามท้องตลาด ใช้จนดำแล้วก็ทิ้ง เลยคิดว่าจะทำยังไงก็ได้ให้มีคุณค่าและคุ้มค่า”
ผลลัพธ์กว่าจะมาเป็นตัวเรือนเงินและตัวจี้หรือใช้พลอยจากแก้ว ทั้งสองเปรียบเทียบความเป็นไปได้ของงานวัสดุตั้งแต่เริ่มต้นผลิต ความสวยงามระหว่างใช้งาน และการรีไซเคิลแบบเต็มรูปแบบให้ครบลูป บนพื้นฐานง่ายๆ 3 ข้อ ได้แก่ Conscious Production การผลิตอย่างมีจิตสำนึก, Conscious Design คือใส่ได้ทุกคน ทุกเพศ และสามารถ Custom-made ได้ตามไซส์เพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น หรือสามารถเปลี่ยนสลับได้โดยไม่ต้องซื้อใหม่ทั้งชิ้น
IIIi - ของตกแต่งชิ้นเล็กจากการคิดใหญ่
เหตุเกิดจากช่วงล็อกดาวน์ระหว่างวิกฤติการณ์โควิด กอล์ฟที่เรียนทางด้านแฟชั่นมาจากอังกฤษและเข้าสู่ช่วงเวิร์คฟรอมโฮม กับแจม ครูโยคะฟลายฟรีแลนซ์สายคราฟต์ที่ช่วงนั้นเหมือนกับกดปุ่มพอสจากการวิ่งงานแบบเดิม ทั้งคู่หวนกลับมาสนใจงานจิเวลรีที่กอล์ฟเคยทำสมัยเด็ก และสร้างคุณค่าในความยั่งยืนแบบที่พวกเธอเชื่อ
“เรามอง Journey ตั้งแต่แรกจนถึงสุดท้ายว่าเป็นอย่างไร แล้วมันส่งผลอย่างไรต่อคนทำ ทางผ่านของมันคืออะไรบ้าง เราจึงตั้งต้นที่เรื่องความยั่งยืน และวัสดุที่ไม่มีสารเคมีที่เป็นพิษหรืออันตรายกับคนทำ เพราะเขาเป็นเพื่อนเรา และเขาต้องอยู่กับเราไปตลอด” กอล์ฟเล่าให้ฟัง
เริ่มต้นจากตัวเรือน อย่างที่ในท้องตลาดเห็นกันทั่วไปว่ามีตั้งแต่โรเดียม สังกะสี ทองเหลือง ทองแดง ไปจนถึงเงิน ทอง และทองคำขาว สุดท้าย ‘เงิน 925’ คือคำตอบของทั้งสองด้วยเหตุผลในเรื่องการรีไซเคิลและมูลค่า
“การรีไซเคิลโลหะจำเป็นต้องเป็นวัสดุบริสุทธิ์ ไม่ควรผสม เพราะเราก็ไม่รู้ว่าสัดส่วนของการผสมในเนื้อมีเท่าไหร่ ยากต่อการนำไปรีไซเคิลอีก ทางเลือกเราเหลือ 3 แมทีเรียลก็คือ เงิน สเตนเลส หรือทอง แต่สรุปสุดท้ายก็มาเป็นเงิน เพราะวัสดุเงินมีความนุ่มและยืดหยุ่น เหมาะกว่าการทำด้วยมือมากกว่าสเตนเลสที่จะต้องใช้เครื่องจักรทำงาน เพราะเราทำธุรกิจเล็กๆ แล้วถ้าเป็นทองก็จะไม่ตอบโจทย์เรื่องราคาแล้ว”
“จากรีเสิร์ชจะเห็นว่า เงิน 925 เป็นสิ่งที่ในตลาดเทรดกันอยู่แล้ว เนื้อเงิน 1 กิโลกรัมจะราคาเท่ากับทองประมาณ 1 บาท แปลว่ามันจะผันตามราคาทองไปเรื่อยๆ พอมีมูลค่าอยู่ในตลาด คนก็จะไม่ใช้งานทิ้งขว้าง ขนาดเราเป็นคนทำเอง เศษชิ้นที่เหลือหรืออะไหล่ที่ใช้งานไม่ได้ เรายังต้องกรองตะแกรง เก็บสะสมไว้ด้วยกันเพื่อเอาไปเทรดให้ช่างหลอมต่อ เพราะฉะนั้นของเหลือทิ้งจากการผลิตของเราจะมีน้อยมาก”
อีกส่วนสำคัญคือตัวจี้ ซึ่งเป็นความยากของทั้งคู่ นั่นก็เพราะไม่ได้มีใครเรียนสายจิเวลรีมาเลย ทำให้ความรู้และข้อจำกัดของวัสดุต้องมาออกค้นหากันเองด้วยการลงมือทำทั้งหมด แต่นี่ก็เป็นจุดสำคัญที่ทำให้ได้ทดลองกับวัสดุใหม่ๆ นั่นก็คือลูกแก้ว “ลูกแก้วจากงานอินทีเรียร์ หรือลูกแก้วที่ใช้ดีดเล่นกันนี่แหละ”
ทั้งสองคนตั้งธงถึงดีไซน์ในใจว่า ‘ต้องใส’ และ 'แวววาว' ตอบโจทย์การใช้งานของเครื่องประดับ ถึงไข่มุกจะเป็นวัสดุที่จัดว่าเป็น Green Gem ของยุคนี้ ด้วยคุณสมบัติของวัสดุธรรมชาติและช่วยบำบัดน้ำด้วยฤทธิ์ด่าง แต่ความใสที่อยากได้ทำให้นึกไปถึงลูกแก้ว ที่ฟอร์มด้านในเป็นเกลียวสวย และเข้ากันกับชื่อแบรนด์ ‘สาหร่าย’ พอดิบพอดี ทำให้คอลเลกชันเดบิวต์ออกมาเป็นเครื่องประดับลูกแก้วสีสาหร่าย และพัฒนาต่อเนื่องมาเรื่อยๆ ด้วยเทคนิคการใช้อะไหล่หุ้มขึ้นขอบเรือน เพราะได้ลองด้วยตัวเองแล้วว่าใช้วิธีเจาะไม่ได้
“เรารู้สึกว่าเสน่ห์ของลูกแก้วคือ เป็นวัสดุโลคอล เดินเลือกจากสามตลาดก็จะเจอแต่ละจังหวัดไม่เหมือนกันเลย หรืออย่างคอลเลกชั่นพิเศษที่เราทำกับ All Kinds (The COMMONS ทองหล่อ) เป็นลูกแก้วแบนลายหินอ่อนในปนขาวที่ชาวบ้านเรียกกันว่า หินพญานาค แต่สำหรับเรามันก็คือลูกแก้ว แล้วที่กรุงเทพฯ ก็ไม่เคยเจอแบบนี้ ทั้งตลาดมี 20 เม็ด เราก็เก็บมาทำหมด”
IIIi - ปีที่สาม กับความพยายามเพื่อไปสู่การ Upcycle เต็มรูปแบบ
จากช่วงแรกที่เป็นการสวมแนวคิดเข้ากับการออกแบบ มาสู่ปีที่ต้องการพาจิเวลรีให้เข้าสู่แนวคิด Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียนแบบครบลูป ในตอนนี้จึงเป็นการ Upcycle หรือการแปลงโฉมขยะเหลือใช้กลับมาสร้างสิ่งใหม่ จนกลายเป็นการเจียระไนแก้วจากก้นขวดให้กลายเป็นเครื่องประดับตัวจี้
“เราหาช่างที่จะยอมเจียระไนแก้วให้เป็นรูปทรงต่างๆ อย่างที่เราอยากให้เป็น เพราะเขาต้องใช้หัวเจียแบบเดียวกับที่เจียระไนเพชร แต่ยิ่งเห็นว่าวัสดุแก้วไม่ได้มีมูลค่า ก็จะใช้หัวตัวเดียวกันไม่ได้ และก็ยากที่จะแทรกงานของเราลงไปในสายการผลิตตามปกติของเขา ช่างเลยไม่อยากทำให้เรา แต่ต้องขอบคุณชมรมบ้านเจียระไนพลอย โดยอาจารย์สุรเดช หวังเจริญ ซึ่งเคยริเริ่มการเจียแก้วมาก่อน เป็นผู้ให้คำปรึกษา แล้วก็ร่วมพัฒนากับเรา จนออกมาเป็นคอลเล็กชันในชื่อ MINE Collection”
ขวดแก้วที่ได้มาจากชั่วโมงแห่งความสุข The COMMONS ถูกเปลี่ยนมาเป็นอัญมณีชิ้นสวยบนจิเวลรี ด้วยการนำขวดแก้วมาทุบ-ตัดให้เป็นชิ้นเล็กลงและมีความหนามากพอ แล้วค่อยเจียระไนออกมาเป็นรูปร่างและขนาดที่ออกแบบไว้ ทั้งสองพยายามคิดต่อว่า แล้วเศษแก้วส่วนที่เหลือจากการเจียระไนจะไปไหนต่อได้อีก
จึงนำไปสู่การพัฒนางานในโครงการ Talent Thai & Designer's Room ร่วมกับ QUALY ในการทำจิเวลรีโดมสำหรับเก็บเครื่องประดับ "แปลว่าขวดไวน์หนึ่งขวด เราตัดคอกับก้นขวดไปทำจิเวลรี่ ตรงโดมไปทำเป็นที่ครอบบนฐานพลาสติกรีไซเคิล เท่ากับว่าวัสดุทั้งหมดมาจากการรีไซเคิล 100% และไม่ได้มีฟังก์ชั่นแค่การเก็บจิเวลรี ชิ้นนี้ใช้เป็นของตกแต่งบ้านได้ด้วย"
‘สายแฟ ก็แคร์สิ่งแวดล้อมได้แค่เลือกชอป’ คือโควตที่สื่อสารความเป็น SARR.RAI แบบครบจบในประโยคเดียว แต่กว่าจะเดินทางมาถึงตรงนี้ คู่เพื่อนรักยังจำปีแรกที่เปิดตัวในบูธจัดแสดงโปรดักต์ได้เป็นอย่างดี
“ตอนนั้นพูดวนไปเหมือนโทรโข่ง เล่าเรื่องของเรา แต่ต้องบอกว่าแบรนด์เราเป็นแบบปากต่อปากจริงๆ เหมือนลูกค้าเราประทับใจกับเรื่องราวมากก็เอาไปเล่าต่อให้เพื่อน เราคิดว่าเราไม่ได้เป็นแค่แบรนด์ขายของ แต่เราเป็นคอมมิวนิตี ที่ไม่ใช่แค่ซื้อมาแล้วขายไป แต่เป็นการแชร์ไอเดียร่วมกันด้วย”
ในแต่ละปีทั้งสองปั้นแคมเปญเพื่อให้ลูกค้าได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การใช้ช่องทางโซเชียลในการให้ความรู้ด้านความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ไปจนถึงการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ด้วยการทำกิจกรรมหรือแคมเปญอย่างสม่ำเสมอ “หลายๆ แคมเปญก็เกิดจากลูกค้าเองด้วยซ้ำ”
“ถ้าเรามองเรื่องเงินเป็นหลัก คงเลิกทำไปแล้ว” แจมพูดแบบติดตลก “แต่ถ้าถามว่า เวลาเราทำธุรกิจขนาดเล็ก ยิ่งทำในเรื่องความยั่งยืนด้วย แน่นอนว่าแรงที่เราลงหรือความยาก ไม่ได้มีใครกรุยทางให้เป็นแพตเทิร์น เราต้องใช้เวลาต้องทดลองเองในแทบทุกขั้นตอน แล้วรายได้มันอาจจะแค่เทียบเท่ากับสายผลิตที่มีแพตเทิร์นอยู่แล้ว ซึ่งเราก็คุยกันตลอดว่า ในการทำงานเพื่อความยั่งยืน เราอาจจะไม่สามารถคาดหวังรายได้แบบก้าวกระโดดได้ แบรนด์เราก็ต้องเติบโตแบบยั่งยืนเช่นเดียวกัน”
“แต่ทุกครั้งที่เรามาเจอผู้คน เข้าร้าน หรือออกบูธ เราจะได้เจอลูกค้าที่ฮีลใจทุกรอบ เขาจะมาพูดอะไรให้เราฟัง ชื่นชมเรา สนับสนุนเรา หรือแม้กระทั่งการให้คำปรึกษาหรือทำแคมเปญร่วมกันกับลูกค้าที่เชี่ยวชาญในสายงานความยั่งยืน ลูกค้าบางคนก็มาเล่าให้ฟังว่า วันนี้เขาไม่รับหลอดเลย เพราะใส่จิเวลรีเรา แล้วนึกถึงเรื่องรักโลกตลอด เราว่าแค่นี้มันคือความภูมิใจของเขาแล้วเก็บมาเล่าให้เราฟัง เราก็ภูมิใจเหมือนกัน ได้เจอแต่พลังงานที่ดี”
สุดท้ายแล้ว ภารกิจที่ SARR.RAI (สาหร่าย) มอง ขยายออกไปมากกว่ามิติของสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นเรื่องทางสังคมที่คาดหวังไปถึงอนาคต “แต่ก่อนคนพูดถึงสิ่งแวดล้อม เราชอบพูดว่ามันคือเรื่องอนาคต แต่ว่าจริงๆ แล้ว วันนี้เรารู้สึกได้ว่ามันคือเรื่องของวันนี้ จิเวลรีของเราก็อยากให้เป็นทางเลือกหนึ่ง ที่อาจจะดีกับสิ่งแวดล้อม หรือกับตัวคุณเองในวันนี้และอนาคตมากกว่า เครื่องประดับทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการแสดงออกถึงตัวตนของเรามาตั้งแต่ยุคหิน ในทุกวันนี้สถานะของมันคือวิสัยทัศน์ที่มองไปสู่อนาคต”
แน่นอนว่าปลายทางของทั้งคู่ก็อยากก้าวให้ไกลไปในระดับสากล โดยไม่ทิ้งงานเครื่องเงินของคนไทยไว้ด้านหลัง “อยากให้แบรนด์เครื่องเงินของไทยไปได้ไกล เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกเงินเป็นอันดับ 2 ของโลก [อ้างอิงจากข้อมูลของ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)] แต่เรายังเห็นความจริงที่ว่า ช่างเงินในไทยไม่ได้มีความเป็นอยู่ที่ดีเท่ากับอันดับที่เราส่งออก ถ้าเราสร้างมูลค่าได้ แล้วมูลค่านั้นก็จะกลับมาอยู่ที่ช่างฝีมือให้ได้มีความเป็นอยู่ที่ดี”
“ถึงแม้ว่าอาชีพช่างเงินจะเป็นงานช่างที่สงวนไว้สำหรับคนไทยเท่านั้น แต่กฎหมายแรงงานหรือภาครัฐที่ออกนโยบายกลับไม่ได้ดูแลภูมิปัญญาและช่างอย่างดี เรากลัวว่าวันนึงมันจะหายไป เลยรู้สึกว่านี่คือภารกิจของเราที่อยากจะทำให้เรื่องสิ่งแวดล้อม สวัสดิภาพ และผู้คน ที่จริงๆ มันเชื่อมโยงกันทั้งหมดมีความเป็นคอมมิวนิตีมากขึ้น ถ้าเป็นไปได้ หลายๆ อย่างน่าจะปรับไปในทิศทางที่ดีขึ้น อาจจะลดความกดดันในการใช้ชีวิตของพวกเราลงก็ได้”
“อันนี้คือความตั้งใจของเรา คือไม่อยากทำงาน Upcycle ที่ยังดูรู้ว่ามาจากขยะ อยากให้มันเป็น Alternative Jewelry (จิเวลรีทางเลือก) จริงๆ”
นี่คือแบรนด์ SARR.RAI (สาหร่าย) จิเวลรีที่เราแทบดูไม่ออกเลยว่ามีที่มาจากของเหลือใช้หลังครัว หลังผ่านการค้นคว้า ทดลอง และออกแบบโดยสองเพื่อนรักร่วมชั้นมัธยม กอล์ฟ - อภิสรา ศิริวัฒน์โยธิน และ แจม - ภิญญาพัชญ์ งามพินิจพล เพื่อให้ได้เครื่องประดับที่วัสดุทุกชิ้นจะต้องใช้วงรอบของชีวิตให้เกิดคุณค่าสูงสุดเท่าที่จะทำได้
“จากรีเสิร์ชเราพบว่า คนเราไม่ทิ้งจิเวลรี มันเป็นของที่คนเก็บจนลืม ถ้ามีมูลค่าก็จะส่งต่อให้คนรุ่นต่อไปหรือเพื่อนพี่น้อง แต่ถ้าเป็นแบบฟาสต์แฟชั่นที่เห็นตามท้องตลาด ใช้จนดำแล้วก็ทิ้ง เลยคิดว่าจะทำยังไงก็ได้ให้มีคุณค่าและคุ้มค่า”
ผลลัพธ์กว่าจะมาเป็นตัวเรือนเงินและตัวจี้หรือใช้พลอยจากแก้ว ทั้งสองเปรียบเทียบความเป็นไปได้ของงานวัสดุตั้งแต่เริ่มต้นผลิต ความสวยงามระหว่างใช้งาน และการรีไซเคิลแบบเต็มรูปแบบให้ครบลูป บนพื้นฐานง่ายๆ 3 ข้อ ได้แก่ Conscious Production การผลิตอย่างมีจิตสำนึก, Conscious Design คือใส่ได้ทุกคน ทุกเพศ และสามารถ Custom-made ได้ตามไซส์เพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น หรือสามารถเปลี่ยนสลับได้โดยไม่ต้องซื้อใหม่ทั้งชิ้น
IIIi - ของตกแต่งชิ้นเล็กจากการคิดใหญ่
เหตุเกิดจากช่วงล็อกดาวน์ระหว่างวิกฤติการณ์โควิด กอล์ฟที่เรียนทางด้านแฟชั่นมาจากอังกฤษและเข้าสู่ช่วงเวิร์คฟรอมโฮม กับแจม ครูโยคะฟลายฟรีแลนซ์สายคราฟต์ที่ช่วงนั้นเหมือนกับกดปุ่มพอสจากการวิ่งงานแบบเดิม ทั้งคู่หวนกลับมาสนใจงานจิเวลรีที่กอล์ฟเคยทำสมัยเด็ก และสร้างคุณค่าในความยั่งยืนแบบที่พวกเธอเชื่อ
“เรามอง Journey ตั้งแต่แรกจนถึงสุดท้ายว่าเป็นอย่างไร แล้วมันส่งผลอย่างไรต่อคนทำ ทางผ่านของมันคืออะไรบ้าง เราจึงตั้งต้นที่เรื่องความยั่งยืน และวัสดุที่ไม่มีสารเคมีที่เป็นพิษหรืออันตรายกับคนทำ เพราะเขาเป็นเพื่อนเรา และเขาต้องอยู่กับเราไปตลอด” กอล์ฟเล่าให้ฟัง
เริ่มต้นจากตัวเรือน อย่างที่ในท้องตลาดเห็นกันทั่วไปว่ามีตั้งแต่โรเดียม สังกะสี ทองเหลือง ทองแดง ไปจนถึงเงิน ทอง และทองคำขาว สุดท้าย ‘เงิน 925’ คือคำตอบของทั้งสองด้วยเหตุผลในเรื่องการรีไซเคิลและมูลค่า
“การรีไซเคิลโลหะจำเป็นต้องเป็นวัสดุบริสุทธิ์ ไม่ควรผสม เพราะเราก็ไม่รู้ว่าสัดส่วนของการผสมในเนื้อมีเท่าไหร่ ยากต่อการนำไปรีไซเคิลอีก ทางเลือกเราเหลือ 3 แมทีเรียลก็คือ เงิน สเตนเลส หรือทอง แต่สรุปสุดท้ายก็มาเป็นเงิน เพราะวัสดุเงินมีความนุ่มและยืดหยุ่น เหมาะกว่าการทำด้วยมือมากกว่าสเตนเลสที่จะต้องใช้เครื่องจักรทำงาน เพราะเราทำธุรกิจเล็กๆ แล้วถ้าเป็นทองก็จะไม่ตอบโจทย์เรื่องราคาแล้ว”
“จากรีเสิร์ชจะเห็นว่า เงิน 925 เป็นสิ่งที่ในตลาดเทรดกันอยู่แล้ว เนื้อเงิน 1 กิโลกรัมจะราคาเท่ากับทองประมาณ 1 บาท แปลว่ามันจะผันตามราคาทองไปเรื่อยๆ พอมีมูลค่าอยู่ในตลาด คนก็จะไม่ใช้งานทิ้งขว้าง ขนาดเราเป็นคนทำเอง เศษชิ้นที่เหลือหรืออะไหล่ที่ใช้งานไม่ได้ เรายังต้องกรองตะแกรง เก็บสะสมไว้ด้วยกันเพื่อเอาไปเทรดให้ช่างหลอมต่อ เพราะฉะนั้นของเหลือทิ้งจากการผลิตของเราจะมีน้อยมาก”
อีกส่วนสำคัญคือตัวจี้ ซึ่งเป็นความยากของทั้งคู่ นั่นก็เพราะไม่ได้มีใครเรียนสายจิเวลรีมาเลย ทำให้ความรู้และข้อจำกัดของวัสดุต้องมาออกค้นหากันเองด้วยการลงมือทำทั้งหมด แต่นี่ก็เป็นจุดสำคัญที่ทำให้ได้ทดลองกับวัสดุใหม่ๆ นั่นก็คือลูกแก้ว “ลูกแก้วจากงานอินทีเรียร์ หรือลูกแก้วที่ใช้ดีดเล่นกันนี่แหละ”
ทั้งสองคนตั้งธงถึงดีไซน์ในใจว่า ‘ต้องใส’ และ 'แวววาว' ตอบโจทย์การใช้งานของเครื่องประดับ ถึงไข่มุกจะเป็นวัสดุที่จัดว่าเป็น Green Gem ของยุคนี้ ด้วยคุณสมบัติของวัสดุธรรมชาติและช่วยบำบัดน้ำด้วยฤทธิ์ด่าง แต่ความใสที่อยากได้ทำให้นึกไปถึงลูกแก้ว ที่ฟอร์มด้านในเป็นเกลียวสวย และเข้ากันกับชื่อแบรนด์ ‘สาหร่าย’ พอดิบพอดี ทำให้คอลเลกชันเดบิวต์ออกมาเป็นเครื่องประดับลูกแก้วสีสาหร่าย และพัฒนาต่อเนื่องมาเรื่อยๆ ด้วยเทคนิคการใช้อะไหล่หุ้มขึ้นขอบเรือน เพราะได้ลองด้วยตัวเองแล้วว่าใช้วิธีเจาะไม่ได้
“เรารู้สึกว่าเสน่ห์ของลูกแก้วคือ เป็นวัสดุโลคอล เดินเลือกจากสามตลาดก็จะเจอแต่ละจังหวัดไม่เหมือนกันเลย หรืออย่างคอลเลกชั่นพิเศษที่เราทำกับ All Kinds (The COMMONS ทองหล่อ) เป็นลูกแก้วแบนลายหินอ่อนในปนขาวที่ชาวบ้านเรียกกันว่า หินพญานาค แต่สำหรับเรามันก็คือลูกแก้ว แล้วที่กรุงเทพฯ ก็ไม่เคยเจอแบบนี้ ทั้งตลาดมี 20 เม็ด เราก็เก็บมาทำหมด”
IIIi - ปีที่สาม กับความพยายามเพื่อไปสู่การ Upcycle เต็มรูปแบบ
จากช่วงแรกที่เป็นการสวมแนวคิดเข้ากับการออกแบบ มาสู่ปีที่ต้องการพาจิเวลรีให้เข้าสู่แนวคิด Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียนแบบครบลูป ในตอนนี้จึงเป็นการ Upcycle หรือการแปลงโฉมขยะเหลือใช้กลับมาสร้างสิ่งใหม่ จนกลายเป็นการเจียระไนแก้วจากก้นขวดให้กลายเป็นเครื่องประดับตัวจี้
“เราหาช่างที่จะยอมเจียระไนแก้วให้เป็นรูปทรงต่างๆ อย่างที่เราอยากให้เป็น เพราะเขาต้องใช้หัวเจียแบบเดียวกับที่เจียระไนเพชร แต่ยิ่งเห็นว่าวัสดุแก้วไม่ได้มีมูลค่า ก็จะใช้หัวตัวเดียวกันไม่ได้ และก็ยากที่จะแทรกงานของเราลงไปในสายการผลิตตามปกติของเขา ช่างเลยไม่อยากทำให้เรา แต่ต้องขอบคุณชมรมบ้านเจียระไนพลอย โดยอาจารย์สุรเดช หวังเจริญ ซึ่งเคยริเริ่มการเจียแก้วมาก่อน เป็นผู้ให้คำปรึกษา แล้วก็ร่วมพัฒนากับเรา จนออกมาเป็นคอลเล็กชันในชื่อ MINE Collection”
ขวดแก้วที่ได้มาจากชั่วโมงแห่งความสุข The COMMONS ถูกเปลี่ยนมาเป็นอัญมณีชิ้นสวยบนจิเวลรี ด้วยการนำขวดแก้วมาทุบ-ตัดให้เป็นชิ้นเล็กลงและมีความหนามากพอ แล้วค่อยเจียระไนออกมาเป็นรูปร่างและขนาดที่ออกแบบไว้ ทั้งสองพยายามคิดต่อว่า แล้วเศษแก้วส่วนที่เหลือจากการเจียระไนจะไปไหนต่อได้อีก
จึงนำไปสู่การพัฒนางานในโครงการ Talent Thai & Designer's Room ร่วมกับ QUALY ในการทำจิเวลรีโดมสำหรับเก็บเครื่องประดับ "แปลว่าขวดไวน์หนึ่งขวด เราตัดคอกับก้นขวดไปทำจิเวลรี่ ตรงโดมไปทำเป็นที่ครอบบนฐานพลาสติกรีไซเคิล เท่ากับว่าวัสดุทั้งหมดมาจากการรีไซเคิล 100% และไม่ได้มีฟังก์ชั่นแค่การเก็บจิเวลรี ชิ้นนี้ใช้เป็นของตกแต่งบ้านได้ด้วย"
‘สายแฟ ก็แคร์สิ่งแวดล้อมได้แค่เลือกชอป’ คือโควตที่สื่อสารความเป็น SARR.RAI แบบครบจบในประโยคเดียว แต่กว่าจะเดินทางมาถึงตรงนี้ คู่เพื่อนรักยังจำปีแรกที่เปิดตัวในบูธจัดแสดงโปรดักต์ได้เป็นอย่างดี
“ตอนนั้นพูดวนไปเหมือนโทรโข่ง เล่าเรื่องของเรา แต่ต้องบอกว่าแบรนด์เราเป็นแบบปากต่อปากจริงๆ เหมือนลูกค้าเราประทับใจกับเรื่องราวมากก็เอาไปเล่าต่อให้เพื่อน เราคิดว่าเราไม่ได้เป็นแค่แบรนด์ขายของ แต่เราเป็นคอมมิวนิตี ที่ไม่ใช่แค่ซื้อมาแล้วขายไป แต่เป็นการแชร์ไอเดียร่วมกันด้วย”
ในแต่ละปีทั้งสองปั้นแคมเปญเพื่อให้ลูกค้าได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การใช้ช่องทางโซเชียลในการให้ความรู้ด้านความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ไปจนถึงการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ด้วยการทำกิจกรรมหรือแคมเปญอย่างสม่ำเสมอ “หลายๆ แคมเปญก็เกิดจากลูกค้าเองด้วยซ้ำ”
“ถ้าเรามองเรื่องเงินเป็นหลัก คงเลิกทำไปแล้ว” แจมพูดแบบติดตลก “แต่ถ้าถามว่า เวลาเราทำธุรกิจขนาดเล็ก ยิ่งทำในเรื่องความยั่งยืนด้วย แน่นอนว่าแรงที่เราลงหรือความยาก ไม่ได้มีใครกรุยทางให้เป็นแพตเทิร์น เราต้องใช้เวลาต้องทดลองเองในแทบทุกขั้นตอน แล้วรายได้มันอาจจะแค่เทียบเท่ากับสายผลิตที่มีแพตเทิร์นอยู่แล้ว ซึ่งเราก็คุยกันตลอดว่า ในการทำงานเพื่อความยั่งยืน เราอาจจะไม่สามารถคาดหวังรายได้แบบก้าวกระโดดได้ แบรนด์เราก็ต้องเติบโตแบบยั่งยืนเช่นเดียวกัน”
“แต่ทุกครั้งที่เรามาเจอผู้คน เข้าร้าน หรือออกบูธ เราจะได้เจอลูกค้าที่ฮีลใจทุกรอบ เขาจะมาพูดอะไรให้เราฟัง ชื่นชมเรา สนับสนุนเรา หรือแม้กระทั่งการให้คำปรึกษาหรือทำแคมเปญร่วมกันกับลูกค้าที่เชี่ยวชาญในสายงานความยั่งยืน ลูกค้าบางคนก็มาเล่าให้ฟังว่า วันนี้เขาไม่รับหลอดเลย เพราะใส่จิเวลรีเรา แล้วนึกถึงเรื่องรักโลกตลอด เราว่าแค่นี้มันคือความภูมิใจของเขาแล้วเก็บมาเล่าให้เราฟัง เราก็ภูมิใจเหมือนกัน ได้เจอแต่พลังงานที่ดี”
สุดท้ายแล้ว ภารกิจที่ SARR.RAI (สาหร่าย) มอง ขยายออกไปมากกว่ามิติของสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นเรื่องทางสังคมที่คาดหวังไปถึงอนาคต “แต่ก่อนคนพูดถึงสิ่งแวดล้อม เราชอบพูดว่ามันคือเรื่องอนาคต แต่ว่าจริงๆ แล้ว วันนี้เรารู้สึกได้ว่ามันคือเรื่องของวันนี้ จิเวลรีของเราก็อยากให้เป็นทางเลือกหนึ่ง ที่อาจจะดีกับสิ่งแวดล้อม หรือกับตัวคุณเองในวันนี้และอนาคตมากกว่า เครื่องประดับทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการแสดงออกถึงตัวตนของเรามาตั้งแต่ยุคหิน ในทุกวันนี้สถานะของมันคือวิสัยทัศน์ที่มองไปสู่อนาคต”
แน่นอนว่าปลายทางของทั้งคู่ก็อยากก้าวให้ไกลไปในระดับสากล โดยไม่ทิ้งงานเครื่องเงินของคนไทยไว้ด้านหลัง “อยากให้แบรนด์เครื่องเงินของไทยไปได้ไกล เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกเงินเป็นอันดับ 2 ของโลก [อ้างอิงจากข้อมูลของ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)] แต่เรายังเห็นความจริงที่ว่า ช่างเงินในไทยไม่ได้มีความเป็นอยู่ที่ดีเท่ากับอันดับที่เราส่งออก ถ้าเราสร้างมูลค่าได้ แล้วมูลค่านั้นก็จะกลับมาอยู่ที่ช่างฝีมือให้ได้มีความเป็นอยู่ที่ดี”
“ถึงแม้ว่าอาชีพช่างเงินจะเป็นงานช่างที่สงวนไว้สำหรับคนไทยเท่านั้น แต่กฎหมายแรงงานหรือภาครัฐที่ออกนโยบายกลับไม่ได้ดูแลภูมิปัญญาและช่างอย่างดี เรากลัวว่าวันนึงมันจะหายไป เลยรู้สึกว่านี่คือภารกิจของเราที่อยากจะทำให้เรื่องสิ่งแวดล้อม สวัสดิภาพ และผู้คน ที่จริงๆ มันเชื่อมโยงกันทั้งหมดมีความเป็นคอมมิวนิตีมากขึ้น ถ้าเป็นไปได้ หลายๆ อย่างน่าจะปรับไปในทิศทางที่ดีขึ้น อาจจะลดความกดดันในการใช้ชีวิตของพวกเราลงก็ได้”