QOTTONTALE x OTTER&FOX โพรงกระต่ายกลางป่าคอนกรีตที่เป็น Social Club ของซอยร่วมฤดี
QOTTONTALE x OTTER&FOX โพรงกระต่ายกลางป่าคอนกรีตที่เป็น Social Club ของซอยร่วมฤดี
28 เม.ย. 2567
SHARE WITH:
28 เม.ย. 2567
28 เม.ย. 2567
SHARE WITH:
SHARE WITH:
QOTTONTALE x OTTER&FOX โพรงกระต่ายกลางป่าคอนกรีตที่เป็น Social Club ของซอยร่วมฤดี
“ความจริงแล้ว การจะจัดงานหรืออีเวนต์อะไรซักอย่างบนสถานที่นึง มันต้องมาได้เกิดการคุยกันก่อนเนาะ เพราะไอเดียมันกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปหมด แต่ถ้ามานั่งด้วยกันตรงนี้ มันจะมี Hint ขึ้นมาก่อนนิดนึง แล้วก็ไปต่อได้เลย”
บุ้ง – ศุภาพิชญ์ ศิริทอง กับ ปริม – ปฏิญญา จันทร์เพ็ญสุริยา สองผู้ร่วมก่อตั้งOTTER&FOX Social Club เล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นของอีเวนต์บนสเปซของร้าน QOTTONTALE ในซอยร่วมฤดี
โม – โสภิดา เชี่ยวนาวิน ในฐานะเจ้าภาพและเจ้าของร้านจากเดิมที่อยากเปิดคาเฟ่ที่เป็นมิตรกับลูกค้า ขยายสู่การเป็น Café & Space ที่เป็นพื้นที่ส่วนกลางสำหรับคนรักการแฮงก์เอาต์และกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ หลังจากผ่านประสบการณ์ที่บอกกับเธอว่า ร้านของเธอเป็นอะไรได้มากกว่าร้านกาแฟ ทั้งจากอีเวนต์ Doona! Pop-up Café ที่เหมือนกับยกเกาหลีมาไว้กลางกรุง หรืออีเวนต์จาก OTTER&FOX ชื่อว่า Flowers Need Time to Bloom ในช่วงที่ร้านสะพรั่งราวกับเป็นสวนดอกไม้
“พอทุกอย่างมันถูกดีไซน์มาหมดแล้ว มันเลยหยิบจับมาใช้งานต่อยอดได้เลย เหมือนกับทีมดีไซน์เขาปูทางมาให้ คิดมาดีตั้งแต่ต้นแล้ว ก็หยิบมาใช้ แค่นั้นเลย” โมชี้ให้เราเห็นว่างานดีไซน์ที่ตั้งต้นคอนเซปต์มาอย่างดีช่วยให้คาเฟ่และกิจกรรมต่างๆ เติบโตอย่างดีได้อย่างไร
IIIi - QOTTONTALE คาเฟ่จากบ้านเก่าที่เล่าเรื่องผ่านดีไซน์
ก่อนหน้าที่จะมาเป็นคาเฟ่ QOTTONTALE อย่างที่เห็นกันในตอนนี้ โมเคยเป็นดีไซเนอร์ ทำงานออกแบบลายผ้า และทำงานกับผ้าคอตตอน เมื่อบวกกับกระต่ายที่เคยเป็นสัตว์เลี้ยงของหุ้นส่วน พอมารวมกันจึงคิดไปถึงคำว่า หางกระต่าย เปลี่ยนมาเป็น Cottontail แล้วค่อยกลายมาเป็น QOTTONTALE ในที่สุด เรียกว่าแรงบันดาลใจมาจากสิ่งรอบตัวก็ไม่ผิดนัก
“พอมาเป็นร้านกาแฟ เราเลยใช้ไอคอนิกเป็นกระต่าย คิดแบบผูกไว้หลวมๆ ก่อน พร้อมกันกับช่วงที่กำลังพยายามหาโลเคชั่น ซึ่งตอนนั้นอยากได้ที่ที่เน้นเดินทางสะดวกด้วยขนส่งสาธารณะ มีพนักงานออฟฟิศ แล้วก็มีทั้งลูกค้าประจำและขาจรเข้ามา จนมาเจอที่นี่ในกลุ่มหาเช่าตึก พอได้มาเห็นตึก ได้เข้ามาดูสถานที่จริงๆ เรารู้สึกได้เลยว่าตึกมันเรียกร้องหาเรา เพราะมันดูพิเศษมาก พื้นที่มันสวย แล้วก็เจอเจ้าของน่ารักด้วย ก็เลยเอาที่นี่แหละ ซึ่งกลายเป็นว่าดีกว่าที่คิดไว้มาก”
แม้แต่เราเองที่เป็นลูกค้าก็รู้สึกทันทีได้ตั้งแต่เดินเข้าซอยว่า กลุ่มบ้านอิฐสีแดงขวามือกลุ่มนี้ช่างพิเศษเหลือเกิน แม้จะเดินท่ามกลางอากาศร้อนจัดในกรุงเทพฯ แต่บรรยากาศรายรอบที่ราวกับอยู่ในนิวยอร์ก ด้วยสถาปัตยกรรมของกลุ่มบ้านที่เดินทางข้ามกาลเวลามาตั้งแต่หลายสิบปีก่อน ทว่ายังคงความคลาสสิกมาจนถึงปัจจุบัน ความพิเศษจึงเป็นทั้งเรื่องของงานดีไซน์อาคาร ชุมชน และความรู้สึก
จากนั้นโมจึงปรึกษากับทีมออกแบบทั้งทีมออกแบบ CI (อัตลักษณ์แบรนด์) และสถาปนิก เพื่อผูกเรื่องเล่าของแบรนด์ให้เข้ากับงานออกแบบอาคาร
“โมก็เปลี่ยนตัว C เป็นตัว Q เพราะมันดูกลมๆ เหมือนหางกระต่ายมากกว่า แล้วจาก Tail ที่แปลว่าหาง ก็เปลี่ยนเป็น Tale เรื่องเล่า เลยกลายเป็นเรื่องเล่าของกระต่ายที่ชื่อคอตตอน การออกแบบโลโก้เราก็อยากให้เบาๆ ไปด้วยกัน เลยเป็นตัวพิมพ์ใหญ่วางเรียงกันบรรทัดเดียว เพื่อไม่ให้เด่นเกินไป”
“สถาปนิกเองเขาก็คิดขึ้นมาพร้อมกับโมเลยว่า ถ้าอย่างนั้นแล้ว คอนเซปต์ของที่นี่ก็ต้องเป็น Rabbit Hole in a Concrete Jungle โพรงกระต่ายท่ามกลางป่าคอนกรีต พอได้สถาปนิกที่เข้าใจแล้ว งานดีไซน์เลยเป็นพาร์ตที่สนุกเวลาทำ”
เราจึงถามโมกลับไปว่า สำหรับโมแล้ว เรื่องเล่ามันช่วยในงานออกแบบได้มากน้อยแค่ไหน “ช่วยนะ ถ้าเราโยนไอเดียไปให้สถาปนิกแล้ว เขาก็จะต่อยอดได้แบบเห็นภาพเดียวกัน แล้วมันก็ต่อไปถึงงานออกแบบพื้นที่ว่า เข้าไปโถงด้านในจะต้องเห็นรูโพรงกระต่าย มองขึ้นไปเจอดาดฟ้า เชื่อมถึงกันได้ทั้งหมด เป็นต้น”
IIIi - งานรีโนเวตที่เปิดสเปซให้เป็นไปได้มากกว่าที่คิด
ว่ากันว่างานรีโนเวตยากกว่าสร้างใหม่ โมคอนเฟิร์มกับเราว่า ‘จริงมากๆ’
“ความพิเศษของบ้านหลังนี้คือ ด้วยความที่เป็นโครงสร้างเดิม ซ่อนเสาซ่อนคานเอาไว้ เราก็ทุบไม่ได้เพราะมันค่อนข้างแข็งแรงมากๆ ความยากก็คือพอดีไซน์มาเจอเสาคานที่ทุบไม่ได้ แล้วก็ไม่รู้ด้วยว่าซ่อนไว้ตรงไหนบ้าง แบบก็ต้องถูกเปลี่ยน อย่างซุ้มโค้งจากเดิมที่จะกว้างก็ต้องแคบลง หรือโครงสร้างงานระบบท่อน้ำที่เป็นสนิมหมดแล้วก็ต้องรื้อใหม่หมดเลย แล้วต่อท่อน้ำใหม่เป็นเซกชั่นแยกสำหรับเครื่องกาแฟโดยเฉพาะ ระหว่างทางจะมีงานซ่อมสร้างตลอด”
“ในส่วนการเลือกวัสดุมาตกแต่งเพิ่มเติม เราก็ไม่ได้เลือกนอกเหนือไปจากวัสดุที่เขาใช้อันเดิม แต่เราก็เอาอิฐสีส้ม สีขาว สีเทา มาเบลนด์อินให้รู้สึกอบอุ่นขึ้น เฟอร์นิเจอร์ก็จะเลือกเป็นไม้ หรือตกแต่งด้วยดินเผา อะไรดีเราก็เก็บไว้ทั้งหมดเลยอย่างต้นไม้หน้าบ้าน ดาดฟ้า หรือแม้แต่ประตูบ้าน”
เพราะข้อจำกัดของพื้นที่บ้านเดิมที่ทำให้พื้นที่หลังบ้านบางส่วนอย่างบาร์หรือครัวมีขนาดเล็กกว่าที่อยากได้ เลยกลายเป็นว่าต้องบริหารจัดการพื้นที่ส่วนที่เหลือในแต่ละชั้นของบ้านให้คุ้มค่ามากขึ้น นั่นจึงเป็นที่มาของการที่ดึงเอาอีเวนต์มาเป็นอีกพาร์ตหนึ่งของคาเฟ่แห่งนี้ และยิ่งทำให้มองเห็นความเป็นไปได้กว้างขวางกว่าที่เคยคิดไว้
“อย่างงานแรกที่เคยร่วมเข้ามาติดต่อเช่าสถานที่จัดอีเวนต์คืองานของ Eversense ที่ตกแต่งเป็นธีมดอกไม้สีม่วง หรืองานโชว์เคสแกลเลอรี่ของศิลปิน” แต่งานที่เหมือนกับสะท้อนให้ทีมของ QOTTONTALE ได้เห็นศักยภาพเต็มที่ของพื้นที่นั่นคือ Doona! Pop-up Store ของ Netflix
“งานนี้เหมือนกับปลดล็อกว่า เออ พื้นที่นี้มันจะทำอะไรก็ได้นะ มันคืองานสเกลเล็กของเขา แต่เป็นงานใหญ่ของเราเลย เขามีการวางแผนหมดตั้งแต่ จะมีคนมาเท่าไหร่ ทีมงานจะทำอะไร ทีมไหนเข้าก่อนเข้าหลัง เซ็ตอัปฟู้ดทรักขึ้นไปบนดาดฟ้า มีป้ายรถเมล์ มีต้นซากุระ ดอกหญ้าสีตามธีมซีรีส์ เรียกว่าเปลี่ยนร้านไปหมดเลยจนลูกค้าเรามาเห็นยังถามว่า คาเฟ่ย้ายไปไหนหรอคะ?”
“แล้วข้างใน Operation เขาก็ทำได้ดี อย่างการใช้ห้องนึงเป็นห้องควบคุมเสียงจอดูมอนิเตอร์ ห้องชั้นล่างเป็นห้องแฟนมีตไลฟ์กับทางเกาหลี ห้องนึงเป็นห้องแฟนคลับ มันปลดล็อกเราเลยทั้งเรื่องจำนวนคน เราใช้ไฟเต็มที่ได้เท่าไหร่ หรือการจัดการเรื่องคนเข้าออก มันทำให้เรารู้สึกว่า ที่นี่มันทำได้เว้ย!”
นี่จึงนำมาสู่การจัดอีเวนต์ที่เป็นของตัวเอง โดยได้น้องๆ OTTER&FOX Social Club เข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์คนสำคัญ
IIIi - นากกับหมาป่าที่มาบุกโพรงกระต่าย
ปริมกับบุ้ง สองเพื่อนมาพบกับที่นี่ผ่านทางการแนะนำของบาริสต้าของร้าน พอได้มาเห็นสเปซของ QOTTONTALE ทั้งจากดีไซน์ร้านและดาดฟ้า จึงจุดประกายเป็นไอเดียที่ว่า ที่นี่เหมือนกับเป็น Hidden Gem ใจกลางกรุงเทพฯ แถมดาดฟ้ายังเหมาะกับฉายหนังอีกต่างหาก ทั้งสองที่เคยอยากทำคอมมิวนิตี้ที่ชวนคนออกมาทำกิจกรรมนอกบ้าน จึงปั้นโปรเจกต์มาคอลแลบร่วมกับ QOTTONTALE อย่างเป็นทางการ
“ตอนแรกต้องเท้าความว่า เราไม่ได้มีไอเดียอยากทำอีเวนต์มาตั้งแต่ต้นนะคะ” บุ้งเริ่มเล่า “วันนั้นเราแค่ไปนั่งกินบรันช์ และเป็นช่วงที่บุ้งไปเต้นซัลซ่ากับปริมพอดี แล้วเอ๊ะ ที่นี่จะจัดงานเต้นซัลซ่าได้ไหมนะ เลยคิดต่อยอดกันไปว่า แล้วเราทำอะไรดีและคอนเซปต์เป็นแบบไหน จนมาสรุปที่การเป็น Social Club เพราะเราเป็นคนกรุงเทพฯ ที่อยากให้คนมาทำกิจกรรมร่วมกันอย่างเป็นมนุษย์มากขึ้น แล้วเราก็เลือกชื่อจากสัตว์ที่เราสองคนชอบ เลยมาเป็น OTTER&FOX Social Club”
“วิสัยทัศน์ของเราคือ เราอยากสร้างคอมมิวนิตี้ให้ผู้คนมาเจอกัน สร้างคอนเนกชั่นกัน หรือแม้แต่มารู้จักกัน เลยเริ่มจาก Movie Night ภายใต้คอนเซปต์ Flowers Need Time to Bloom ประกอบกับตอนนั้นคาเฟ่เป็นธีมดอกไม้พอดี ซึ่งเราก็อยากให้คนรุ่นใหม่ที่ยังลังเลว่าตัวเองสำเร็จรึยังนะ ได้เห็นว่า แต่ละคนอาจจะสำเร็จไม่เหมือนกันก็ได้ เหมือนดอกไม้ที่ดอกนึงอาจจะบานนานกว่าอีกดอกนึง แล้วก็ไม่เป็นไรนะที่จะไม่บานตอนนี้ อยากให้ตรงนี้เป็นอะไรที่เตือนใจได้” ปริมเล่า
จนนำมาสู่อีเวนต์ครั้งใหม่ครั้งนี้ในชื่อ ‘โละบ้าน - เทรดของ – ลองทำ’ อีเวนต์ที่ชวนคุณมาผูกสัมพันธ์ผ่านกิจกรรมรักโลกหลังบ้าน ตั้งแต่มินิมาร์เก็ตของมือสอง การแลกเสื้อผ้า เวิร์กชอปรักโลก ไปจนถึงการฉายหนังบนดาดฟ้ากับหนังสายแฟชั่นที่ทุกคนคุ้นเคย ในธีมที่อยากชวนทุกคนมารียูส ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ โดยเสื้อผ้าที่เหลือก็จะนำไปบริจาคต่อให้กับมูลนิธิปันสุข
“เราอยากให้ทุกคนที่มาได้รู้สึกว่า สเปซนี้เป็นของทุกคน แล้วก็ได้รับความรู้สึกดีๆ กลับไป อยากให้เป็นงานที่ฟีลกู๊ดของทุกคน”
แล้วพบกับงาน ‘โละบ้าน - เทรดของ – ลองทำ’ อีเวนต์จาก OTTER&FOX Social Club x QOTTONTALE ที่ QOTTONTALE ซอยร่วมฤดี วันที่ 27-28 เมษายนนี้ เวลา 10.00 น.-21.00 น. สามารถเดินทางได้ง่ายโดยลงรถไฟฟ้า BTS สถานีเพลินจิต แล้วเดินเข้าซอยต่อประมาณ 8 นาที ก็มาจอยกันที่สเปซแห่งความสุขนี้ได้เลย!
“ความจริงแล้ว การจะจัดงานหรืออีเวนต์อะไรซักอย่างบนสถานที่นึง มันต้องมาได้เกิดการคุยกันก่อนเนาะ เพราะไอเดียมันกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปหมด แต่ถ้ามานั่งด้วยกันตรงนี้ มันจะมี Hint ขึ้นมาก่อนนิดนึง แล้วก็ไปต่อได้เลย”
บุ้ง – ศุภาพิชญ์ ศิริทอง กับ ปริม – ปฏิญญา จันทร์เพ็ญสุริยา สองผู้ร่วมก่อตั้งOTTER&FOX Social Club เล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นของอีเวนต์บนสเปซของร้าน QOTTONTALE ในซอยร่วมฤดี
โม – โสภิดา เชี่ยวนาวิน ในฐานะเจ้าภาพและเจ้าของร้านจากเดิมที่อยากเปิดคาเฟ่ที่เป็นมิตรกับลูกค้า ขยายสู่การเป็น Café & Space ที่เป็นพื้นที่ส่วนกลางสำหรับคนรักการแฮงก์เอาต์และกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ หลังจากผ่านประสบการณ์ที่บอกกับเธอว่า ร้านของเธอเป็นอะไรได้มากกว่าร้านกาแฟ ทั้งจากอีเวนต์ Doona! Pop-up Café ที่เหมือนกับยกเกาหลีมาไว้กลางกรุง หรืออีเวนต์จาก OTTER&FOX ชื่อว่า Flowers Need Time to Bloom ในช่วงที่ร้านสะพรั่งราวกับเป็นสวนดอกไม้
“พอทุกอย่างมันถูกดีไซน์มาหมดแล้ว มันเลยหยิบจับมาใช้งานต่อยอดได้เลย เหมือนกับทีมดีไซน์เขาปูทางมาให้ คิดมาดีตั้งแต่ต้นแล้ว ก็หยิบมาใช้ แค่นั้นเลย” โมชี้ให้เราเห็นว่างานดีไซน์ที่ตั้งต้นคอนเซปต์มาอย่างดีช่วยให้คาเฟ่และกิจกรรมต่างๆ เติบโตอย่างดีได้อย่างไร
IIIi - QOTTONTALE คาเฟ่จากบ้านเก่าที่เล่าเรื่องผ่านดีไซน์
ก่อนหน้าที่จะมาเป็นคาเฟ่ QOTTONTALE อย่างที่เห็นกันในตอนนี้ โมเคยเป็นดีไซเนอร์ ทำงานออกแบบลายผ้า และทำงานกับผ้าคอตตอน เมื่อบวกกับกระต่ายที่เคยเป็นสัตว์เลี้ยงของหุ้นส่วน พอมารวมกันจึงคิดไปถึงคำว่า หางกระต่าย เปลี่ยนมาเป็น Cottontail แล้วค่อยกลายมาเป็น QOTTONTALE ในที่สุด เรียกว่าแรงบันดาลใจมาจากสิ่งรอบตัวก็ไม่ผิดนัก
“พอมาเป็นร้านกาแฟ เราเลยใช้ไอคอนิกเป็นกระต่าย คิดแบบผูกไว้หลวมๆ ก่อน พร้อมกันกับช่วงที่กำลังพยายามหาโลเคชั่น ซึ่งตอนนั้นอยากได้ที่ที่เน้นเดินทางสะดวกด้วยขนส่งสาธารณะ มีพนักงานออฟฟิศ แล้วก็มีทั้งลูกค้าประจำและขาจรเข้ามา จนมาเจอที่นี่ในกลุ่มหาเช่าตึก พอได้มาเห็นตึก ได้เข้ามาดูสถานที่จริงๆ เรารู้สึกได้เลยว่าตึกมันเรียกร้องหาเรา เพราะมันดูพิเศษมาก พื้นที่มันสวย แล้วก็เจอเจ้าของน่ารักด้วย ก็เลยเอาที่นี่แหละ ซึ่งกลายเป็นว่าดีกว่าที่คิดไว้มาก”
แม้แต่เราเองที่เป็นลูกค้าก็รู้สึกทันทีได้ตั้งแต่เดินเข้าซอยว่า กลุ่มบ้านอิฐสีแดงขวามือกลุ่มนี้ช่างพิเศษเหลือเกิน แม้จะเดินท่ามกลางอากาศร้อนจัดในกรุงเทพฯ แต่บรรยากาศรายรอบที่ราวกับอยู่ในนิวยอร์ก ด้วยสถาปัตยกรรมของกลุ่มบ้านที่เดินทางข้ามกาลเวลามาตั้งแต่หลายสิบปีก่อน ทว่ายังคงความคลาสสิกมาจนถึงปัจจุบัน ความพิเศษจึงเป็นทั้งเรื่องของงานดีไซน์อาคาร ชุมชน และความรู้สึก
จากนั้นโมจึงปรึกษากับทีมออกแบบทั้งทีมออกแบบ CI (อัตลักษณ์แบรนด์) และสถาปนิก เพื่อผูกเรื่องเล่าของแบรนด์ให้เข้ากับงานออกแบบอาคาร
“โมก็เปลี่ยนตัว C เป็นตัว Q เพราะมันดูกลมๆ เหมือนหางกระต่ายมากกว่า แล้วจาก Tail ที่แปลว่าหาง ก็เปลี่ยนเป็น Tale เรื่องเล่า เลยกลายเป็นเรื่องเล่าของกระต่ายที่ชื่อคอตตอน การออกแบบโลโก้เราก็อยากให้เบาๆ ไปด้วยกัน เลยเป็นตัวพิมพ์ใหญ่วางเรียงกันบรรทัดเดียว เพื่อไม่ให้เด่นเกินไป”
“สถาปนิกเองเขาก็คิดขึ้นมาพร้อมกับโมเลยว่า ถ้าอย่างนั้นแล้ว คอนเซปต์ของที่นี่ก็ต้องเป็น Rabbit Hole in a Concrete Jungle โพรงกระต่ายท่ามกลางป่าคอนกรีต พอได้สถาปนิกที่เข้าใจแล้ว งานดีไซน์เลยเป็นพาร์ตที่สนุกเวลาทำ”
เราจึงถามโมกลับไปว่า สำหรับโมแล้ว เรื่องเล่ามันช่วยในงานออกแบบได้มากน้อยแค่ไหน “ช่วยนะ ถ้าเราโยนไอเดียไปให้สถาปนิกแล้ว เขาก็จะต่อยอดได้แบบเห็นภาพเดียวกัน แล้วมันก็ต่อไปถึงงานออกแบบพื้นที่ว่า เข้าไปโถงด้านในจะต้องเห็นรูโพรงกระต่าย มองขึ้นไปเจอดาดฟ้า เชื่อมถึงกันได้ทั้งหมด เป็นต้น”
IIIi - งานรีโนเวตที่เปิดสเปซให้เป็นไปได้มากกว่าที่คิด
ว่ากันว่างานรีโนเวตยากกว่าสร้างใหม่ โมคอนเฟิร์มกับเราว่า ‘จริงมากๆ’
“ความพิเศษของบ้านหลังนี้คือ ด้วยความที่เป็นโครงสร้างเดิม ซ่อนเสาซ่อนคานเอาไว้ เราก็ทุบไม่ได้เพราะมันค่อนข้างแข็งแรงมากๆ ความยากก็คือพอดีไซน์มาเจอเสาคานที่ทุบไม่ได้ แล้วก็ไม่รู้ด้วยว่าซ่อนไว้ตรงไหนบ้าง แบบก็ต้องถูกเปลี่ยน อย่างซุ้มโค้งจากเดิมที่จะกว้างก็ต้องแคบลง หรือโครงสร้างงานระบบท่อน้ำที่เป็นสนิมหมดแล้วก็ต้องรื้อใหม่หมดเลย แล้วต่อท่อน้ำใหม่เป็นเซกชั่นแยกสำหรับเครื่องกาแฟโดยเฉพาะ ระหว่างทางจะมีงานซ่อมสร้างตลอด”
“ในส่วนการเลือกวัสดุมาตกแต่งเพิ่มเติม เราก็ไม่ได้เลือกนอกเหนือไปจากวัสดุที่เขาใช้อันเดิม แต่เราก็เอาอิฐสีส้ม สีขาว สีเทา มาเบลนด์อินให้รู้สึกอบอุ่นขึ้น เฟอร์นิเจอร์ก็จะเลือกเป็นไม้ หรือตกแต่งด้วยดินเผา อะไรดีเราก็เก็บไว้ทั้งหมดเลยอย่างต้นไม้หน้าบ้าน ดาดฟ้า หรือแม้แต่ประตูบ้าน”
เพราะข้อจำกัดของพื้นที่บ้านเดิมที่ทำให้พื้นที่หลังบ้านบางส่วนอย่างบาร์หรือครัวมีขนาดเล็กกว่าที่อยากได้ เลยกลายเป็นว่าต้องบริหารจัดการพื้นที่ส่วนที่เหลือในแต่ละชั้นของบ้านให้คุ้มค่ามากขึ้น นั่นจึงเป็นที่มาของการที่ดึงเอาอีเวนต์มาเป็นอีกพาร์ตหนึ่งของคาเฟ่แห่งนี้ และยิ่งทำให้มองเห็นความเป็นไปได้กว้างขวางกว่าที่เคยคิดไว้
“อย่างงานแรกที่เคยร่วมเข้ามาติดต่อเช่าสถานที่จัดอีเวนต์คืองานของ Eversense ที่ตกแต่งเป็นธีมดอกไม้สีม่วง หรืองานโชว์เคสแกลเลอรี่ของศิลปิน” แต่งานที่เหมือนกับสะท้อนให้ทีมของ QOTTONTALE ได้เห็นศักยภาพเต็มที่ของพื้นที่นั่นคือ Doona! Pop-up Store ของ Netflix
“งานนี้เหมือนกับปลดล็อกว่า เออ พื้นที่นี้มันจะทำอะไรก็ได้นะ มันคืองานสเกลเล็กของเขา แต่เป็นงานใหญ่ของเราเลย เขามีการวางแผนหมดตั้งแต่ จะมีคนมาเท่าไหร่ ทีมงานจะทำอะไร ทีมไหนเข้าก่อนเข้าหลัง เซ็ตอัปฟู้ดทรักขึ้นไปบนดาดฟ้า มีป้ายรถเมล์ มีต้นซากุระ ดอกหญ้าสีตามธีมซีรีส์ เรียกว่าเปลี่ยนร้านไปหมดเลยจนลูกค้าเรามาเห็นยังถามว่า คาเฟ่ย้ายไปไหนหรอคะ?”
“แล้วข้างใน Operation เขาก็ทำได้ดี อย่างการใช้ห้องนึงเป็นห้องควบคุมเสียงจอดูมอนิเตอร์ ห้องชั้นล่างเป็นห้องแฟนมีตไลฟ์กับทางเกาหลี ห้องนึงเป็นห้องแฟนคลับ มันปลดล็อกเราเลยทั้งเรื่องจำนวนคน เราใช้ไฟเต็มที่ได้เท่าไหร่ หรือการจัดการเรื่องคนเข้าออก มันทำให้เรารู้สึกว่า ที่นี่มันทำได้เว้ย!”
นี่จึงนำมาสู่การจัดอีเวนต์ที่เป็นของตัวเอง โดยได้น้องๆ OTTER&FOX Social Club เข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์คนสำคัญ
IIIi - นากกับหมาป่าที่มาบุกโพรงกระต่าย
ปริมกับบุ้ง สองเพื่อนมาพบกับที่นี่ผ่านทางการแนะนำของบาริสต้าของร้าน พอได้มาเห็นสเปซของ QOTTONTALE ทั้งจากดีไซน์ร้านและดาดฟ้า จึงจุดประกายเป็นไอเดียที่ว่า ที่นี่เหมือนกับเป็น Hidden Gem ใจกลางกรุงเทพฯ แถมดาดฟ้ายังเหมาะกับฉายหนังอีกต่างหาก ทั้งสองที่เคยอยากทำคอมมิวนิตี้ที่ชวนคนออกมาทำกิจกรรมนอกบ้าน จึงปั้นโปรเจกต์มาคอลแลบร่วมกับ QOTTONTALE อย่างเป็นทางการ
“ตอนแรกต้องเท้าความว่า เราไม่ได้มีไอเดียอยากทำอีเวนต์มาตั้งแต่ต้นนะคะ” บุ้งเริ่มเล่า “วันนั้นเราแค่ไปนั่งกินบรันช์ และเป็นช่วงที่บุ้งไปเต้นซัลซ่ากับปริมพอดี แล้วเอ๊ะ ที่นี่จะจัดงานเต้นซัลซ่าได้ไหมนะ เลยคิดต่อยอดกันไปว่า แล้วเราทำอะไรดีและคอนเซปต์เป็นแบบไหน จนมาสรุปที่การเป็น Social Club เพราะเราเป็นคนกรุงเทพฯ ที่อยากให้คนมาทำกิจกรรมร่วมกันอย่างเป็นมนุษย์มากขึ้น แล้วเราก็เลือกชื่อจากสัตว์ที่เราสองคนชอบ เลยมาเป็น OTTER&FOX Social Club”
“วิสัยทัศน์ของเราคือ เราอยากสร้างคอมมิวนิตี้ให้ผู้คนมาเจอกัน สร้างคอนเนกชั่นกัน หรือแม้แต่มารู้จักกัน เลยเริ่มจาก Movie Night ภายใต้คอนเซปต์ Flowers Need Time to Bloom ประกอบกับตอนนั้นคาเฟ่เป็นธีมดอกไม้พอดี ซึ่งเราก็อยากให้คนรุ่นใหม่ที่ยังลังเลว่าตัวเองสำเร็จรึยังนะ ได้เห็นว่า แต่ละคนอาจจะสำเร็จไม่เหมือนกันก็ได้ เหมือนดอกไม้ที่ดอกนึงอาจจะบานนานกว่าอีกดอกนึง แล้วก็ไม่เป็นไรนะที่จะไม่บานตอนนี้ อยากให้ตรงนี้เป็นอะไรที่เตือนใจได้” ปริมเล่า
จนนำมาสู่อีเวนต์ครั้งใหม่ครั้งนี้ในชื่อ ‘โละบ้าน - เทรดของ – ลองทำ’ อีเวนต์ที่ชวนคุณมาผูกสัมพันธ์ผ่านกิจกรรมรักโลกหลังบ้าน ตั้งแต่มินิมาร์เก็ตของมือสอง การแลกเสื้อผ้า เวิร์กชอปรักโลก ไปจนถึงการฉายหนังบนดาดฟ้ากับหนังสายแฟชั่นที่ทุกคนคุ้นเคย ในธีมที่อยากชวนทุกคนมารียูส ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ โดยเสื้อผ้าที่เหลือก็จะนำไปบริจาคต่อให้กับมูลนิธิปันสุข
“เราอยากให้ทุกคนที่มาได้รู้สึกว่า สเปซนี้เป็นของทุกคน แล้วก็ได้รับความรู้สึกดีๆ กลับไป อยากให้เป็นงานที่ฟีลกู๊ดของทุกคน”
แล้วพบกับงาน ‘โละบ้าน - เทรดของ – ลองทำ’ อีเวนต์จาก OTTER&FOX Social Club x QOTTONTALE ที่ QOTTONTALE ซอยร่วมฤดี วันที่ 27-28 เมษายนนี้ เวลา 10.00 น.-21.00 น. สามารถเดินทางได้ง่ายโดยลงรถไฟฟ้า BTS สถานีเพลินจิต แล้วเดินเข้าซอยต่อประมาณ 8 นาที ก็มาจอยกันที่สเปซแห่งความสุขนี้ได้เลย!