Ptrip นักพากย์เกม ผู้อยากใช้ความรู้และความรัก ไฮป์วงการอีสปอร์ตให้สนุกขึ้นและไปได้ไกลกว่าเดิม

Ptrip นักพากย์เกม ผู้อยากใช้ความรู้และความรัก ไฮป์วงการอีสปอร์ตให้สนุกขึ้นและไปได้ไกลกว่าเดิม

15 พ.ค. 2567

SHARE WITH:

15 พ.ค. 2567

15 พ.ค. 2567

SHARE WITH:

SHARE WITH:

Ptrip นักพากย์เกม ผู้อยากใช้ความรู้และความรัก ไฮป์วงการอีสปอร์ตให้สนุกขึ้นและไปได้ไกลกว่าเดิม

“ถ้าคนที่ไม่เข้าใจ จะเข้าใจว่านักพากย์เกมคือเหมือนพากย์เสียงการ์ตูน หรือบางคนจะเข้าใจผิดกับแคสเกมแบบเล่นให้คนอื่นดู แต่จริงๆ แล้วเราเหมือนนักพากย์กีฬาที่บรรยายการแข่งขัน ผมใช้คำว่า ผู้บรรยายก็ได้ หรือภาษาอังกฤษเรียก Shoutcaster หรือ Esports Commentator”

ทริป - ภัทร เอกกุล หรือ Ptrip แนะนำให้เรารู้จักอีกอาชีพหนึ่งในวงการเกมที่เป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มอรรถรสให้ตลอดเกมการแข่งขันอีสปอร์ต

จากเด็กติดเกมเจนวายที่เหมือนกับคนแพ้แสงสว่างในตอนกลางวัน เดินทางตามเส้นทางมาตรฐานของการเข้ามหาวิทยาลัย และไม่หยุดค้นหาตัวเองด้วยการไปเริ่มเรียนดนตรีใหม่อีกรอบที่ Berklee College of Music จนกลับมาทำเพลงประกอบโฆษณา เป็นครีเอทีฟ เปลี่ยนอาชีพทุกสองสามปี เปลี่ยนงานไปสองสามที่ “แต่เรื่องเกมมันยังซึมอยู่ในตัวผมตลอด”

ทริปบอกว่า ตอนนั้นเขาใช้ชีวิตเหมือนกับติ๊กถูกไปเรื่อยๆ ว่าสิ่งที่ตัวเองทำอยู่มันใช่กับสิ่งที่จะอยู่กับมันไปได้ตลอดชีวิตไหม ไปจนถึงข้อสุดท้ายที่ยังไม่ได้ลองทำ ก็คืองานสายเกม และการเป็นครีเอทีฟที่ Mineski ซึ่งเป็นอีสปอร์ตออร์กาไนเซอร์ เขาก็ได้พบกับอาชีพนักพากย์เกม จากสกิลการพูดและวิเคราะห์ที่สั่งสมจากประสบการณ์เล่นเกมมาทั้งชีวิต

 

ขับเคลื่อนด้วยเงิน เดินหน้าด้วยแพชชั่น

“ก็คิดมาตลอดว่า ถ้าเราทำงานประจำแบบนี้ต่อไป เมื่อไหร่จะรวย” ทริปพูดแทนความในใจของทุกคนแบบจริงยิ่งกว่าจริง

“ก็ได้คำตอบว่า ต้องหางานเบื้องหน้าบ้าง แล้วงานเบื้องหน้าอย่างอินฟลูเอนเซอร์สายเกมบางคนคือ ค่าตัวเยอะกว่าดาราระดับเล็กๆ อีก แต่ว่าเราจะทำอะไรดีละ ตอนแรกลองสตรีมแล้วแต่ไม่ใช่ทาง เพราะคนที่สตรีมแล้วดังต้องมีคาแรกเตอร์ แต่เราเป็นคนชิลๆ เราเลยลองไปหางานที่ใช้สกิลเรา เพราะรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนพูดได้ พรีเซนต์ได้ ผมเลยเห็นอาชีพพากย์เป็นอาชีพที่น่าสนใจ และเป็นอาชีพหลักที่ได้เงินในตอนนี้”

ช่วงที่ทริปเริ่มต้นหัดพากย์เกม เขาขอโอกาสพากย์เกมจากบริษัทที่ทำงานอยู่ ชนิดที่ว่า ‘พากย์ฟรีก็เอา’ เหมือนกับเป็นการฝึกฝนตัวเองจนได้พบกับ VALORANT เกมที่ตัวเองรัก ซึ่งนั่นเป็นช่วงเดียวกับที่สถานการณ์โควิดกำลังเริ่มต้น นั่นยิ่งทำให้เขาเห็นโอกาสของวงการเกมชัดเจนขึ้นว่า งานแข่งขันเกมจัดแบบออนไลน์ได้ คนพากย์ก็ทำงานจากบ้านตัวเองได้

“การพากย์ก็คือการบรรยาย อธิบายเกมให้คนดูรู้ว่า ช็อตนี้และนักกีฬาคนนี้กำลังทำอะไรอยู่ จะเข้าบุกอีกฝ่ายหรือจะป้องกัน เล่าให้คนดูเกมแล้วเข้าใจมากขึ้น สนุกมากขึ้น เพิ่มอรรถรสเพิ่มสีสันให้กับเกม เราต้องเป็นกึ่งนักวิเคราะห์ ต้องมีความรู้เรื่องเกมนั้นๆ อย่างดี”

“การเป็นนักพากย์เนี่ย ผมว่ามันคือความเสี่ยงอย่างหนึ่ง ตรงที่ถ้าเราพากย์เกมที่ไม่ดัง โอกาสที่จะรอดก็ยาก หรือถ้าเราอยากพากย์เกมที่ดังแล้ว ก็มีคนอื่นอยู่มาก่อนแล้ว โอกาสที่จะรอดก็ยากเหมือนกัน คือการพากย์เกมมันไม่เหมือนกับฟุตบอลตรงที่ ผมว่าเกมมันมีวันหมดอายุ ถ้าไม่ใช่เกมที่อยู่ตลอดกาลอย่าง DOTA หรือ Counter Strike อย่างผมพากย์เกมนี้ ผมก็ไม่รู้ว่าจะพากย์ได้ถึงเมื่อไหร่ แล้วเขาก็จ้างเป็นงานๆ ไป เพราะไม่ได้มีการแข่งตลอดปี ผมเลยใช้การเป็นนักพากย์เป็นรายได้ทางหนึ่ง แล้วก็หาอย่างอื่นทำไปด้วย”

จนถึงตอนนี้ ทริปเป็นที่รู้จักและคุ้นเคยอย่างดีในฐานะนักพากย์ประจำให้กับเกม VALORANT เขาบอกกับเราว่า งานนักพากย์ก็ยังไม่ใช่งานฟูลไทม์สำหรับเขาอยู่ดี “เพราะถ้าคนที่จะพากย์เป็นอาชีพหลักได้ ต้องพากย์ได้หลายเกม เพราะเกมอีสปอร์ตแต่ละเกมก็ต่างกันอย่างสิ้นเชิง อย่าง DOTA คือหมากรุกที่ไม่ได้มีแต่หมากคิงควีน แต่มีเป็นร้อยตัวที่เราต้องจำสกิลให้ได้ อย่างการพากย์เกมของผมก็จะไม่ใช่สายฮาร์ดมาก เป็นแบบมีข้อมูลด้วย มีสนุกด้วย มีหนักมีเบา แล้วแต่สไตล์แต่ละคน”

“พองานพากย์เยอะเกินไป เริ่มรู้สึกทำพร้อมกันไม่ไหว เลยมาจอยบริษัทเกม ชื่อ CTRL + G เป็น Esports Solutions และ Talent Management เป็นงานสายจัดการเหมือนกัน แล้วก็ทำงานพากย์ควบไปด้วย ตอนนี้เลยเหมือนทำงานสายเกมมากที่สุดในชีวิตแล้ว งานอื่นไม่เคยอยู่ได้นานเท่านี้”

 

โอกาสในวงการเกม และการเปิดโอกาสใหม่ให้อุตสาหกรรมอีสปอร์ต

อีสปอร์ตปัจจุบันนี้เป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจไม่น้อยไปกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความก้าวหน้าของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย บวกกับสถานการณ์โควิดทำให้หน้าจอสมาร์ตโฟนเป็นเครื่องมือบำบัดความเศร้าในช่วงปิดเมือง

“จริงๆ ขอบคุณหลายเกมนะ แล้วหนึ่งในนั้นก็คือเกมมือถืออย่าง ROV ที่ทำให้เกมแมสขึ้น และคนก็เริ่มเข้าใจมากขึ้นว่า มันมีนักแข่งเกมที่มีรายได้ มีอาชีพนักพากย์ โปรดักชั่นหรือโชว์ไดเรกเตอร์ มีสตรีมเมอร์หน้าใหม่เกิดขึ้น เรียกว่าช่วงโควิดนี่ เกมเป็นอุตสาหกรรมที่อยู่ได้แบบไม่ถูกกระทบ”

ทริปใช้ช่วงเวลาของการพากย์ออนไลน์ในการเก็บเกี่ยวประสบการณ์สายนักพากย์ จนมาเจอกับสนามจริงในงานพากย์ออฟไลน์ครั้งแรก นี่เป็นประสบการณ์ใหญ่ครั้งสำคัญที่เรียกว่าผลักดันให้เขาเติบโตขึ้นอีกขั้น โดยเฉพาะกับมายด์เซตที่มีต่ออุตสาหกรรมเกม

“งานพากย์ออฟไลน์งานแรกเป็นเป็นงานใหญ่ แล้วเห็นคนดูเยอะมาก มันกลายเป็นฟีลที่ความรู้สึกเราเปลี่ยนไปเลย เราไม่ได้ตื่นเต้นเท่าไหร่เพราะชินกับเวทีระดับหนึ่งสมัยตอนเป็นนักดนตรี แต่เรารู้สึกว่า เฮ้ย! คนที่มาเชียร์การแข่งขันเกมหรืออีสปอร์ตมันเหมือนกับเชียร์กีฬาเลยนะ เฮสุด เสียงดังกันสุด เรารู้สึกดีมากเลย และทำให้เห็นกับตาจริงๆ ว่า ตอนนี้เกมได้รับความนิยมมากขึ้นนะ แล้วอีสปอร์ตมันคืออนาคตจริงๆ เพราะคนเริ่มกล้าจ่ายเงินซื้อตั๋วมาดูแข่ง คนกล้าใช้เงินกับเกมกันมากขึ้น”

“ตอนพากย์ออนไลน์อยู่กับบ้าน เราก็เห็นแค่จำนวนเลขคนดู เราก็รักงานสายนี้แล้วแหละแต่ยังไม่แน่ใจขนาดนั้น พอเรามาเจองานออฟไลน์ เราเลยเริ่มรู้สึกว่าเนี่ยแหละ เรามาถูกทางจริง แล้วในต่างประเทศ เรียกได้ว่าอีกไม่กี่ปีน่าจะมีจำนวนคนดูแซง NFL ไปแล้ว เหลือแค่คนไทยต้องอย่าช้า แล้วผมก็คิดว่าเม็ดเงินมันน่าจะมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะทุกวันนี้คนเล่นเกมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บริษัทที่ไม่ใช่สายเกมก็ควรจะมาลงทุนในทางนี้”

ทริปแจกแจงให้เราเห็นว่าอุตสาหกรรมเกมแบ่งเป็นสองส่วนแบบใหญ่ๆ คือ ส่วนของการทำและพัฒนาเกม กับการจัดให้มีการแข่งขันหรืออีสปอร์ต

“มันจะคิดรวมกันไม่ได้ เพราะถ้าเป็นอีสปอร์ต ต้องมีกฎกติกา มีการจัดแข่งที่สม่ำเสมอ ซึ่งมันก็ยากที่บริษัทเกม ซึ่งต้องโฟกัสกับการพัฒนาเกมก่อน เผลอๆ เขาไม่ได้ทำแค่เกมเดียว การที่เกมจะตัดสินใจว่าเราจะมีอีสปอร์ตแล้ว แสดงว่าโรดแมปคุณไม่ได้อยู่แค่ 3-4 ปี เพราะต้องมีการลงทุน มีนักกีฬา มีนักจิตวิทยา โค้ช คนดูแลอาหารการกิน เงินเดือน เพราะฉะนั้นจะต้องเตรียมตัวให้ดีจริงๆ”

“คนเป็น Publisher หรือผู้ผลิตเกมจึงต้องศึกษาและเข้าใจดีๆ ว่า เกมที่จะอยู่ได้ด้วยอีสปอร์ตต้องมีงานแข่งขันให้เขาเยอะพอ และมีเงินหมุนเวียน รางวัล มากพอให้คุ้มที่จะลอง แล้วยอดคนดูก็ต้องดันตัวเองให้ดังด้วยพาร์ตพีอาร์ นั่นคือต้องสร้างระบบนิเวศให้อยู่รอดทุกฝั่ง ก็เป็นหน้าที่ของเจ้าของเกมที่ว่า จะทำยังไงให้คนสนใจทำทีมในเกมนั้น”

ถึงแม้ตอนนี้ในประเทศไทยเอง อุตสาหกรรมอีสปอร์ตจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ความยากอยู่ที่การไปถึงยังจุดที่ควรจะเป็น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสภาพเศรษฐกิจของไทยอาจจะยังไม่อู้ฟู่หรือไปถึงมาตรฐานแบบเดียวกับนานาชาติ แต่การค่อยเพิ่มไปตามธรรมชาติก็น่าจะยั่งยืนกว่าการบูมเป็นกระแสแล้วหยุดหายไป

“อย่างนักกีฬาหลายคนที่เคยสัมภาษณ์​ ตอนแรกพ่อแม่ก็ไม่เข้าใจหรอก แต่พอได้เงินมา พ่อแม่เข้าใจทันที แต่ถ้าพูดถึงในพาร์ตของนักกีฬาก็ยากเหมือนเดิม เพราะนักกีฬาทุกประเภทในโลกคือต้องเก่ง ผมเองที่ไม่ใช่นักกีฬาก็ต้องเอาตัวเองไปพากย์เยอะๆ ออกสื่อเยอะๆ ทำให้คนมองเห็นเรา”

“อย่างเป้าหมายผมตอนนี้คือ ยังคงพากย์ไปเรื่อยๆ หาสปอนเซอร์จากแบรนด์ต่างๆ จ้างเราทำคอนเทนต์ แล้วก็ทำบริษัท CTRL + G อย่างที่บอก แต่งานพากย์เป็นพาร์ตที่ต้องแอคทีฟมาก ต้องลงแรงสุดๆ ผมจะพยายามรักษาอีโก้ไม่ให้ทะลัก แรกๆ เราก็ไม่ได้พากย์ดีเหมือนตอนนี้หรอก แต่ตอนนี้เราก็ไม่รู้สึกว่าเราเก่งกว่าใคร เรียกว่าการมีสติละกัน ถ้าเจออะไรที่ชอบก็เก็บมาใช้ เวลามีคนคอมเมนต์ก็ฟังไว้ก่อนจะได้รู้ ให้มันสะกิดใจเรา แค่นี้มันก็ทำให้ผมพัฒนาได้เยอะแล้วนะ”

 

“ผมใช้ชีวิตแบบคนเล่นเกมเลยนะ” ทริปสรุปภาพชีวิตให้เราเข้าใจแบบง่ายๆ “เพราะผมก็ใช้ชีวิตแบบคนเก็บเวลไปเรื่อยๆ ไม่มีแคป เหมือนเราไม่ได้แคปไว้ว่าเราอยู่แค่นี้สุดแล้ว เราก็อันแคปไปเลยว่าเราจะดีขึ้นได้เรื่อยๆ อันนี้พูดแบบภาษาเกมนะ แล้วงานพากย์เนี่ย สำหรับผม มันเป็นงานที่ไม่ต้อง Retire จนกว่าจะรู้สึกว่าตัวเองได้เงินจากที่อื่นมากพอละกัน เพราะตอนนี้มันก็ยังเป็นรายได้หลักของเราได้อยู่”

“ผมคิดว่า ถ้าผมแก่ไป ผมก็เป็นคนแก่ที่เล่นเกม”


“ถ้าคนที่ไม่เข้าใจ จะเข้าใจว่านักพากย์เกมคือเหมือนพากย์เสียงการ์ตูน หรือบางคนจะเข้าใจผิดกับแคสเกมแบบเล่นให้คนอื่นดู แต่จริงๆ แล้วเราเหมือนนักพากย์กีฬาที่บรรยายการแข่งขัน ผมใช้คำว่า ผู้บรรยายก็ได้ หรือภาษาอังกฤษเรียก Shoutcaster หรือ Esports Commentator”

ทริป - ภัทร เอกกุล หรือ Ptrip แนะนำให้เรารู้จักอีกอาชีพหนึ่งในวงการเกมที่เป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มอรรถรสให้ตลอดเกมการแข่งขันอีสปอร์ต

จากเด็กติดเกมเจนวายที่เหมือนกับคนแพ้แสงสว่างในตอนกลางวัน เดินทางตามเส้นทางมาตรฐานของการเข้ามหาวิทยาลัย และไม่หยุดค้นหาตัวเองด้วยการไปเริ่มเรียนดนตรีใหม่อีกรอบที่ Berklee College of Music จนกลับมาทำเพลงประกอบโฆษณา เป็นครีเอทีฟ เปลี่ยนอาชีพทุกสองสามปี เปลี่ยนงานไปสองสามที่ “แต่เรื่องเกมมันยังซึมอยู่ในตัวผมตลอด”

ทริปบอกว่า ตอนนั้นเขาใช้ชีวิตเหมือนกับติ๊กถูกไปเรื่อยๆ ว่าสิ่งที่ตัวเองทำอยู่มันใช่กับสิ่งที่จะอยู่กับมันไปได้ตลอดชีวิตไหม ไปจนถึงข้อสุดท้ายที่ยังไม่ได้ลองทำ ก็คืองานสายเกม และการเป็นครีเอทีฟที่ Mineski ซึ่งเป็นอีสปอร์ตออร์กาไนเซอร์ เขาก็ได้พบกับอาชีพนักพากย์เกม จากสกิลการพูดและวิเคราะห์ที่สั่งสมจากประสบการณ์เล่นเกมมาทั้งชีวิต

 

ขับเคลื่อนด้วยเงิน เดินหน้าด้วยแพชชั่น

“ก็คิดมาตลอดว่า ถ้าเราทำงานประจำแบบนี้ต่อไป เมื่อไหร่จะรวย” ทริปพูดแทนความในใจของทุกคนแบบจริงยิ่งกว่าจริง

“ก็ได้คำตอบว่า ต้องหางานเบื้องหน้าบ้าง แล้วงานเบื้องหน้าอย่างอินฟลูเอนเซอร์สายเกมบางคนคือ ค่าตัวเยอะกว่าดาราระดับเล็กๆ อีก แต่ว่าเราจะทำอะไรดีละ ตอนแรกลองสตรีมแล้วแต่ไม่ใช่ทาง เพราะคนที่สตรีมแล้วดังต้องมีคาแรกเตอร์ แต่เราเป็นคนชิลๆ เราเลยลองไปหางานที่ใช้สกิลเรา เพราะรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนพูดได้ พรีเซนต์ได้ ผมเลยเห็นอาชีพพากย์เป็นอาชีพที่น่าสนใจ และเป็นอาชีพหลักที่ได้เงินในตอนนี้”

ช่วงที่ทริปเริ่มต้นหัดพากย์เกม เขาขอโอกาสพากย์เกมจากบริษัทที่ทำงานอยู่ ชนิดที่ว่า ‘พากย์ฟรีก็เอา’ เหมือนกับเป็นการฝึกฝนตัวเองจนได้พบกับ VALORANT เกมที่ตัวเองรัก ซึ่งนั่นเป็นช่วงเดียวกับที่สถานการณ์โควิดกำลังเริ่มต้น นั่นยิ่งทำให้เขาเห็นโอกาสของวงการเกมชัดเจนขึ้นว่า งานแข่งขันเกมจัดแบบออนไลน์ได้ คนพากย์ก็ทำงานจากบ้านตัวเองได้

“การพากย์ก็คือการบรรยาย อธิบายเกมให้คนดูรู้ว่า ช็อตนี้และนักกีฬาคนนี้กำลังทำอะไรอยู่ จะเข้าบุกอีกฝ่ายหรือจะป้องกัน เล่าให้คนดูเกมแล้วเข้าใจมากขึ้น สนุกมากขึ้น เพิ่มอรรถรสเพิ่มสีสันให้กับเกม เราต้องเป็นกึ่งนักวิเคราะห์ ต้องมีความรู้เรื่องเกมนั้นๆ อย่างดี”

“การเป็นนักพากย์เนี่ย ผมว่ามันคือความเสี่ยงอย่างหนึ่ง ตรงที่ถ้าเราพากย์เกมที่ไม่ดัง โอกาสที่จะรอดก็ยาก หรือถ้าเราอยากพากย์เกมที่ดังแล้ว ก็มีคนอื่นอยู่มาก่อนแล้ว โอกาสที่จะรอดก็ยากเหมือนกัน คือการพากย์เกมมันไม่เหมือนกับฟุตบอลตรงที่ ผมว่าเกมมันมีวันหมดอายุ ถ้าไม่ใช่เกมที่อยู่ตลอดกาลอย่าง DOTA หรือ Counter Strike อย่างผมพากย์เกมนี้ ผมก็ไม่รู้ว่าจะพากย์ได้ถึงเมื่อไหร่ แล้วเขาก็จ้างเป็นงานๆ ไป เพราะไม่ได้มีการแข่งตลอดปี ผมเลยใช้การเป็นนักพากย์เป็นรายได้ทางหนึ่ง แล้วก็หาอย่างอื่นทำไปด้วย”

จนถึงตอนนี้ ทริปเป็นที่รู้จักและคุ้นเคยอย่างดีในฐานะนักพากย์ประจำให้กับเกม VALORANT เขาบอกกับเราว่า งานนักพากย์ก็ยังไม่ใช่งานฟูลไทม์สำหรับเขาอยู่ดี “เพราะถ้าคนที่จะพากย์เป็นอาชีพหลักได้ ต้องพากย์ได้หลายเกม เพราะเกมอีสปอร์ตแต่ละเกมก็ต่างกันอย่างสิ้นเชิง อย่าง DOTA คือหมากรุกที่ไม่ได้มีแต่หมากคิงควีน แต่มีเป็นร้อยตัวที่เราต้องจำสกิลให้ได้ อย่างการพากย์เกมของผมก็จะไม่ใช่สายฮาร์ดมาก เป็นแบบมีข้อมูลด้วย มีสนุกด้วย มีหนักมีเบา แล้วแต่สไตล์แต่ละคน”

“พองานพากย์เยอะเกินไป เริ่มรู้สึกทำพร้อมกันไม่ไหว เลยมาจอยบริษัทเกม ชื่อ CTRL + G เป็น Esports Solutions และ Talent Management เป็นงานสายจัดการเหมือนกัน แล้วก็ทำงานพากย์ควบไปด้วย ตอนนี้เลยเหมือนทำงานสายเกมมากที่สุดในชีวิตแล้ว งานอื่นไม่เคยอยู่ได้นานเท่านี้”

 

โอกาสในวงการเกม และการเปิดโอกาสใหม่ให้อุตสาหกรรมอีสปอร์ต

อีสปอร์ตปัจจุบันนี้เป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจไม่น้อยไปกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความก้าวหน้าของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย บวกกับสถานการณ์โควิดทำให้หน้าจอสมาร์ตโฟนเป็นเครื่องมือบำบัดความเศร้าในช่วงปิดเมือง

“จริงๆ ขอบคุณหลายเกมนะ แล้วหนึ่งในนั้นก็คือเกมมือถืออย่าง ROV ที่ทำให้เกมแมสขึ้น และคนก็เริ่มเข้าใจมากขึ้นว่า มันมีนักแข่งเกมที่มีรายได้ มีอาชีพนักพากย์ โปรดักชั่นหรือโชว์ไดเรกเตอร์ มีสตรีมเมอร์หน้าใหม่เกิดขึ้น เรียกว่าช่วงโควิดนี่ เกมเป็นอุตสาหกรรมที่อยู่ได้แบบไม่ถูกกระทบ”

ทริปใช้ช่วงเวลาของการพากย์ออนไลน์ในการเก็บเกี่ยวประสบการณ์สายนักพากย์ จนมาเจอกับสนามจริงในงานพากย์ออฟไลน์ครั้งแรก นี่เป็นประสบการณ์ใหญ่ครั้งสำคัญที่เรียกว่าผลักดันให้เขาเติบโตขึ้นอีกขั้น โดยเฉพาะกับมายด์เซตที่มีต่ออุตสาหกรรมเกม

“งานพากย์ออฟไลน์งานแรกเป็นเป็นงานใหญ่ แล้วเห็นคนดูเยอะมาก มันกลายเป็นฟีลที่ความรู้สึกเราเปลี่ยนไปเลย เราไม่ได้ตื่นเต้นเท่าไหร่เพราะชินกับเวทีระดับหนึ่งสมัยตอนเป็นนักดนตรี แต่เรารู้สึกว่า เฮ้ย! คนที่มาเชียร์การแข่งขันเกมหรืออีสปอร์ตมันเหมือนกับเชียร์กีฬาเลยนะ เฮสุด เสียงดังกันสุด เรารู้สึกดีมากเลย และทำให้เห็นกับตาจริงๆ ว่า ตอนนี้เกมได้รับความนิยมมากขึ้นนะ แล้วอีสปอร์ตมันคืออนาคตจริงๆ เพราะคนเริ่มกล้าจ่ายเงินซื้อตั๋วมาดูแข่ง คนกล้าใช้เงินกับเกมกันมากขึ้น”

“ตอนพากย์ออนไลน์อยู่กับบ้าน เราก็เห็นแค่จำนวนเลขคนดู เราก็รักงานสายนี้แล้วแหละแต่ยังไม่แน่ใจขนาดนั้น พอเรามาเจองานออฟไลน์ เราเลยเริ่มรู้สึกว่าเนี่ยแหละ เรามาถูกทางจริง แล้วในต่างประเทศ เรียกได้ว่าอีกไม่กี่ปีน่าจะมีจำนวนคนดูแซง NFL ไปแล้ว เหลือแค่คนไทยต้องอย่าช้า แล้วผมก็คิดว่าเม็ดเงินมันน่าจะมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะทุกวันนี้คนเล่นเกมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บริษัทที่ไม่ใช่สายเกมก็ควรจะมาลงทุนในทางนี้”

ทริปแจกแจงให้เราเห็นว่าอุตสาหกรรมเกมแบ่งเป็นสองส่วนแบบใหญ่ๆ คือ ส่วนของการทำและพัฒนาเกม กับการจัดให้มีการแข่งขันหรืออีสปอร์ต

“มันจะคิดรวมกันไม่ได้ เพราะถ้าเป็นอีสปอร์ต ต้องมีกฎกติกา มีการจัดแข่งที่สม่ำเสมอ ซึ่งมันก็ยากที่บริษัทเกม ซึ่งต้องโฟกัสกับการพัฒนาเกมก่อน เผลอๆ เขาไม่ได้ทำแค่เกมเดียว การที่เกมจะตัดสินใจว่าเราจะมีอีสปอร์ตแล้ว แสดงว่าโรดแมปคุณไม่ได้อยู่แค่ 3-4 ปี เพราะต้องมีการลงทุน มีนักกีฬา มีนักจิตวิทยา โค้ช คนดูแลอาหารการกิน เงินเดือน เพราะฉะนั้นจะต้องเตรียมตัวให้ดีจริงๆ”

“คนเป็น Publisher หรือผู้ผลิตเกมจึงต้องศึกษาและเข้าใจดีๆ ว่า เกมที่จะอยู่ได้ด้วยอีสปอร์ตต้องมีงานแข่งขันให้เขาเยอะพอ และมีเงินหมุนเวียน รางวัล มากพอให้คุ้มที่จะลอง แล้วยอดคนดูก็ต้องดันตัวเองให้ดังด้วยพาร์ตพีอาร์ นั่นคือต้องสร้างระบบนิเวศให้อยู่รอดทุกฝั่ง ก็เป็นหน้าที่ของเจ้าของเกมที่ว่า จะทำยังไงให้คนสนใจทำทีมในเกมนั้น”

ถึงแม้ตอนนี้ในประเทศไทยเอง อุตสาหกรรมอีสปอร์ตจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ความยากอยู่ที่การไปถึงยังจุดที่ควรจะเป็น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสภาพเศรษฐกิจของไทยอาจจะยังไม่อู้ฟู่หรือไปถึงมาตรฐานแบบเดียวกับนานาชาติ แต่การค่อยเพิ่มไปตามธรรมชาติก็น่าจะยั่งยืนกว่าการบูมเป็นกระแสแล้วหยุดหายไป

“อย่างนักกีฬาหลายคนที่เคยสัมภาษณ์​ ตอนแรกพ่อแม่ก็ไม่เข้าใจหรอก แต่พอได้เงินมา พ่อแม่เข้าใจทันที แต่ถ้าพูดถึงในพาร์ตของนักกีฬาก็ยากเหมือนเดิม เพราะนักกีฬาทุกประเภทในโลกคือต้องเก่ง ผมเองที่ไม่ใช่นักกีฬาก็ต้องเอาตัวเองไปพากย์เยอะๆ ออกสื่อเยอะๆ ทำให้คนมองเห็นเรา”

“อย่างเป้าหมายผมตอนนี้คือ ยังคงพากย์ไปเรื่อยๆ หาสปอนเซอร์จากแบรนด์ต่างๆ จ้างเราทำคอนเทนต์ แล้วก็ทำบริษัท CTRL + G อย่างที่บอก แต่งานพากย์เป็นพาร์ตที่ต้องแอคทีฟมาก ต้องลงแรงสุดๆ ผมจะพยายามรักษาอีโก้ไม่ให้ทะลัก แรกๆ เราก็ไม่ได้พากย์ดีเหมือนตอนนี้หรอก แต่ตอนนี้เราก็ไม่รู้สึกว่าเราเก่งกว่าใคร เรียกว่าการมีสติละกัน ถ้าเจออะไรที่ชอบก็เก็บมาใช้ เวลามีคนคอมเมนต์ก็ฟังไว้ก่อนจะได้รู้ ให้มันสะกิดใจเรา แค่นี้มันก็ทำให้ผมพัฒนาได้เยอะแล้วนะ”

 

“ผมใช้ชีวิตแบบคนเล่นเกมเลยนะ” ทริปสรุปภาพชีวิตให้เราเข้าใจแบบง่ายๆ “เพราะผมก็ใช้ชีวิตแบบคนเก็บเวลไปเรื่อยๆ ไม่มีแคป เหมือนเราไม่ได้แคปไว้ว่าเราอยู่แค่นี้สุดแล้ว เราก็อันแคปไปเลยว่าเราจะดีขึ้นได้เรื่อยๆ อันนี้พูดแบบภาษาเกมนะ แล้วงานพากย์เนี่ย สำหรับผม มันเป็นงานที่ไม่ต้อง Retire จนกว่าจะรู้สึกว่าตัวเองได้เงินจากที่อื่นมากพอละกัน เพราะตอนนี้มันก็ยังเป็นรายได้หลักของเราได้อยู่”

“ผมคิดว่า ถ้าผมแก่ไป ผมก็เป็นคนแก่ที่เล่นเกม”


Text:

Nathanich C.

Nathanich C.

PHOTO:

Chanathip K.

Chanathip K.

Related Posts