‘เอม นภพัฒน์จักษ์’ กับ วันนี้ของ TODAY และอนาคตของคนสื่อ
‘เอม นภพัฒน์จักษ์’ กับ วันนี้ของ TODAY และอนาคตของคนสื่อ
18 ต.ค. 2566
SHARE WITH:
18 ต.ค. 2566
18 ต.ค. 2566
SHARE WITH:
SHARE WITH:
‘เอม นภพัฒน์จักษ์’ กับ วันนี้ของ TODAY และอนาคตของคนสื่อ



“อย่างเราอ่านข่าวนึง สมมติผ่านไปแค่ 5 วัน มีใครจำได้ไหมว่าคุณเห็นข่าวนี้จากสำนักข่าวไหน เราแทบจะจำไม่ได้เลยว่าอ่านจากไหน เพราะก็เห็นทุกที่นำเสนอกันหมด”
เอม – นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ บรรณาธิการสำนักข่าว TODAY ชวนเราคิดต่อจากข่าวที่เสพกันในทุกวันนี้ว่า ที่จริงแล้วตัวข่าวไม่ได้ยั่งยืน แต่คนทำงานต่างหากที่ยั่งยืน
“ทีมทูเดย์เราเป็นหน่วยงานองค์กรบุคคล เราปั้นคนเพื่อให้คนไปทำงาน เราสามารถวางแผนเพื่อผลิตคนข่าวคุณภาพที่ไปทำงานในที่ต่างๆ ได้ หรือในวันที่ทีมล้ามากๆ เราก็บอกว่ายังไม่ต้องทำ พักไปก่อน เราต้องการเซฟนักข่าวของเรา เพราะถ้าเขามีพลังมากพอ ก็จะมีกำลังไปผลิตชิ้นงานคุณภาพ และสร้างอิมแพกต์ให้สังคมได้ต่อไป”
‘รายได้ งานที่มีคุณภาพ และคนทำงานแฮปปี้’ คือสูตรผสมของคนและงานที่ยั่งยืนในแบบ TODAY ที่มาจากบทเรียนตลอดชีวิตการทำงานสายข่าวของเอม ตั้งแต่การเริ่มต้นเป็นคนข่าว การได้รับโอกาสด้านการเรียน แล้วก็กลับมาเป็นผู้บริหารที่มีเป้าหมายในการสร้างคนข่าวคุณภาพให้กับประเทศ
“เพราะอยากตื่นขึ้นมาแล้วสามารถคุยเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม กับใครก็ได้ ซึ่งถ้าเราไปทำงานอื่นๆ อาจจะไม่ได้ทำตรงนี้”

IIIi - สื่อใหม่ที่ใกล้ตัวทุกคนกว่าที่เคย
เราชวนคิดย้อนไปถึงสมัยยังเด็ก ที่จะต้องจำวันเวลาให้ดี แล้วมารอคอยรายการที่ถ้าพลาดแล้วเท่ากับพลาดเลย ไม่มีฉายซ้ำ (แถมคุยกับเพื่อนไม่รู้เรื่องอีก) เมื่อเทียบกับสมัยนี้ที่จะกดดูเมื่อไหร่ก็ได้ ดูไม่ทันก็ย้อนได้ สิ่งนี้เอมเรียกมันว่า ประชาธิปไตยในสื่อที่เกิดจากการ Decentralization หรือการกระจายออกไปจากศูนย์กลางอย่างในอดีตที่ผ่านมา
“คีย์เวิร์ดที่อยากให้ทุกคนเข้าใจคือ ยิ่งกาลเวลาผ่านไป อำนาจของความเป็นสื่อก็ยิ่งกระจายออกไปมากขึ้น เมื่อก่อนเรามีโทรทัศน์ 6 ช่อง หรือหนังสือพิมพ์แบบนับหัวได้ หลังจากนั้นมาถึงยุคทีวีดิจิทัลขยับมาเป็น 20 กว่าช่อง แต่ว่าทุกวันนี้ กลายเป็นว่ายูทูบมีไม่จำกัดเลยนะ ใครจะเปิดช่องเมื่อไหร่ก็ได้ แต่สุดท้ายมันก็จะมีช่องที่คนดูอยู่ซ้ำๆ กันอยู่ดี”
“สมมติเมื่อก่อนเราอยากสร้างประเด็น เช่น อยากผลักดันให้ทุกคนมีลูกตามกระทรวงประกาศ เราสามารถเรียกประชุม บก. แล้วพาดหัวหน้าหนึ่งให้ทุกคนพูดเรื่องนี้ได้ แต่ทุกวันนี้ไม่ใช่อย่างนั้นแล้ว ต่อให้สื่อจะพยายามพูดถึงเรื่องนี้ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าคนจะสนใจ ความสนใจของคนมันหลากหลายขึ้น แม้แต่ในตัวคนเดียวก็อาจจะสนใจการเมืองหนักๆ ไปพร้อมกับวงการคู่จิ้นก็ได้ นี่แหละเป็นโจทย์ว่า จะทำยังไงให้เราสามารถนำเสนอประเด็นของเราให้กับคนที่สนใจหลากหลายแบบนี้ได้”

เช่นนั้นแล้ว วิธีเลือกสารตั้งต้นมาทำคอนเทนต์ท่ามกลางมหาสมุทรของเรื่องราวและข่าวสาร โดยเฉพาะกับความท้าทายในความกว้างขวางของหัวเรื่องเช่นนี้ คือการโฟกัสที่การคัดสรรเรื่องราวเพื่อมานำเสนอต่อคนทางบ้านได้อย่างมีคุณภาพและมีจรรยาบรรณ
“ในยูทูบมีคลิปเยอะมากถูกไหมครับ ข้อแรกคือ งานคุณภาพจะดึงดูให้คนมาดูคลิปได้เยอะ ข้อที่สองคือ คนที่นำเสนอหรือคนที่มาเล่าจะต้องมีความรู้เชิงลึกในเรื่องนั้นจริงๆ เพราะฉะนั้น มันจะมีข่าวบางหัวที่เราตัดออก เช่น เรื่องอาชญากรรม เพราะเราไม่มีนักข่าวอาชญากรรม แต่เรามีนักข่าวสิ่งแวดล้อม หรือนโยบายสาธารณะ เราก็จะเน้นนำเสนอเรื่องนี้”
“แต่ถามว่าเราทิ้งประเด็นใหญ่ๆ ที่อิมแพกต์กับสังคมเลยไหม ก็ไม่ใช่ ถ้ามีข่าวใหญ่เราก็ลงไปทำ เพราะรู้ว่าคนดูต้องการข้อมูลส่วนนี้”
“เราต้องแยกกันระหว่าง ‘ดราม่า’ กับ ‘Engagement’ มันคนละความหมายกัน Engagement คือความรู้สึกอยากคอมเมนต์ กดไลค์ แชร์ หรือดูจนจบคลิป อันนี้เป็นหน้าที่ที่เราต้องทำ ส่วนดราม่าคือการขยี้ประเด็นที่มีอยู่เพียงเล็กน้อยให้ขยายใหญ่ขึ้น ทั้งที่ความจริงไม่ต้องขนาดนั้น แน่นอนว่าเราทำสื่อ เราอยากให้คนดูมาดูคอนเทนต์ของเรา แต่เราคิดว่ามันไม่ต้องชี้นำสังคมไปในทิศทางที่ไม่จำเป็นต้องทำ”
“หลักของพี่เวลาทำงาน จะคิดถึงปลายทางแบบย้อนกลับว่า รูปปกจะออกมาเป็นยังไง เซ็กซี่พอให้คนอยากกดดูไหม หรือแขกคนนี้น่าจะดึงคนได้ แล้วเขาจะมาพูดเนื้อหาอะไร ยกตัวอย่างพี่เคยได้ทำคลิปกับญาญ่า ซึ่งการันตีว่าคนอยากดูเพราะเป็นซุปเปอร์สตาร์ของเขา แต่ขณะเดียวกัน เราเอาความเป็นลูกครึ่งนอร์เวย์ของเขามาผลักดันเรื่องรัฐสวัสดิการ เพราะนี่คือสารที่ทีมทูเดย์อยากสื่อ มันเป็นอีกหนึ่งวิธีผลักดันเรื่องที่เป็นองค์ความรู้และเกิดประโยชน์กับสังคม”

ยุคดิจิทัลที่ใช้การวัดผลด้วยตัวเลข หลายครั้งที่วิธีการเช่นนี้อาจสร้างบาดแผลให้กับคนทำงานหลายคน ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขในเรื่องรายได้ หรือตัวเลขยอดเข้าชม เอมให้ทรรศนะกับเรื่องนี้เอาไว้อย่างน่าสนใจ
“รายได้ฝั่งหนึ่งก็ต้องเป็นเรื่องยอดซับ (Subscribe) ยอดวิวใช่ไหม กับอีกฝั่งหนึ่งคือการทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์ต่างๆ ซึ่งองค์กรธุรกิจที่ดี ก็อยากผลักดันเรื่องที่เป็นประโยชน์ให้กับสังคมอยู่แล้ว อย่างฝั่งแรกคือ ถ้าเราต้องทำอะไรก็ได้ที่คนดูเยอะ แล้วใจคนก็ไม่แน่นอน เราต้องปรับตลอดเวลา หรือบางทีสิ่งที่เราอยากพูดกับสิ่งที่คนอยากดูมันคนละเรื่องกัน มันก็จะมี Dilemma (ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก) อยู่บ้าง”
“แต่อย่างเรื่องการทำงานกับพาร์ตเนอร์ องค์กรต่างๆ เรามองหาสิ่งที่เห็นพ้องต้องกันในเรื่องที่อยากผลักดัน แล้วก็ใช้ความเก่งในการนำเสนอ ทำออกมาแล้วคนอยากดู ซึ่งฝั่งนี้มันอาจจะไม่ได้จำเป็นต้องคนดูมากมายมหาศาล แต่สามารถทำงานร่วมกันได้ และได้สื่อสารในสิ่งที่เขาและเราอยากสื่อสารเหมือนกัน ความจริงมันไม่เสมอไปที่ว่า ถ้าเราอยากได้รายได้เท่ากับเราต้องเน้นยอดวิวยอดซับอย่างเดียว”
รายได้เพื่อขับเคลื่อนหน่วยงาน ประเด็นที่อยากนำเสนอ และคนทำงานแฮปปี้ ทั้งสามเรื่องเป็นสิ่งที่เอมและทูเดย์ทำให้เห็นว่าเป็นสิ่งไปด้วยกันได้ อาจจะต้องคิดแยกกันบ้าง หรือคิดรวมกันบ้าง แต่ถึงเวลาจริงๆ แล้ว เราไม่ได้ทำงานเพียงคนเดียว แต่ยังมีฟันเฟืองของผู้คนในองค์กรที่จะช่วยขับเคลื่อนให้สำนักข่าวเดินหน้า และคนข่าวเติบโตอย่างยั่งยืน
“ความยั่งยืนของสำนักข่าวคือนักข่าว” นี่คือภารกิจของเอม

IIIi - สำนักข่าวที่สร้างคนข่าว และเป้าหมายที่ไปไกลกว่าการทำสื่อ
ถ้าจะให้ย้อนเวลากลับไปหาอดีต เอมคือคนข่าวรุ่นพี่ที่เคยได้รับโอกาสไปเรียนต่อที่อังกฤษด้วยทุนรัฐบาลอังกฤษ จนพูดได้เต็มปากว่า ชีวิตเปลี่ยนเพราะการศึกษา
“ในทีม TODAY 3 ปีที่ผ่านมา มีคนที่ไปเรียนต่อด้วยทุนรัฐบาลอังกฤษ 3 คน อันนี้คือสิ่งที่เราให้คำมั่นสัญญาว่า เราเป็นหน่วยงานที่เน้นการสร้างบุคลากร เราไม่ได้เอางานมานำคน เอาจริงๆ ท้ายที่สุดแล้ว คนจะจำแทบไม่ได้เลยว่าคอนเทนต์เขาดูจากที่ไหนยังไง เพราะฉะนั้นตัวข่าวไม่ได้ยั่งยืน แต่ตัวคนทำงานนี่แหละที่ยั่งยืน”
การปรับตัว เป็นอีกเรื่องสำคัญสำหรับคนทำงานสื่อ และคนทำงานในยุคที่โลกหมุนเร็วเช่นนี้ “คำพูดติดตลกที่คุยกันในทีมคือ ถ้าวันหนึ่งตื่นขึ้นมา แล้วคนดูข่าวผ่านตู้เย็น ก็ต้องไปคิดวิธีการเล่าข่าวบนตู้เย็นให้ได้”
ประโยคนี้เตือนอะไรให้กับคนข่าวของ TODAY หรือคนอ่านอย่างเราๆ ได้บ้าง? “อันนี้จะช่วยให้เรานึกภาพของการปรับวิธีคิดให้ได้ จะได้ไม่ยึดติด สมมติไม่อยากทำคลิปเต้นแบบ TikTok ถ้าอย่างนั้นไปลองหาวิธีดูสิว่า ทำยังไงคนดูเต้นเสร็จปุ๊บแล้วอยากดูคลิปความรู้ของเรา”

“บางทีตื่นมาก็เหนื่อยมาก ไม่อยากทำงานด้วยซ้ำ” เอมพูดแบบติดตลก “แต่ว่างานเนี่ย อย่าใช้ความสุขเป็นดัชนีชี้วัด เราเอาเรื่องเป้าหมายกับจุดประสงค์เป็นตัววัดนะ เป้าหมายก็อย่างเช่นว่าปีนี้ต้องได้กำไรเท่าไหร่ เปิดตลาดใหม่ ทำงานกับพาร์ตเนอร์ใหม่”
“ส่วนเรื่องจุดประสงค์ก็กลับไปที่เรื่องคน สำหรับเราคือการส่งต่อ และกลับคืนไปสร้างคนทำข่าวคุณภาพรุ่นใหม่ เพราะเราได้รับโอกาสจากการเป็นคนข่าวมา เรารู้ว่าสิบกว่าปีที่เรามาเป็นนักข่าว มันเปลี่ยนชีวิตเราได้มากขนาดไหน เรามีโอกาสไปต่างประเทศ ได้คุยกับคนเก่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ พอเราได้โอกาสนี้แล้ว เราก็อยากส่งต่อ อันนี้คือจุดประสงค์ของชีวิต”
“ซึ่งมันก็จะวนกลับไปที่คำถามที่ว่า ‘ความสุขคืออะไร’ จะบอกว่า ทั้งหมดนี้ มันจะมีวันที่เราเป็นทุกข์นะ แต่อย่างน้อยมันมีเป้าหมายและจุดประสงค์ของมันอยู่ เพราะฉะนั้นอย่าไปยึดว่ามันจะสุข ทั้งเรื่องงานทั้งเรื่องชีวิต”

สมการชีวิตของเอมคือ ‘ต้องแยกให้ออกว่าอะไรที่ควบคุมได้ และอะไรที่ควบคุมไม่ได้’ เพื่อให้ตั้งใจพัฒนาตัวเองในทุกๆ วัน
“ในเรื่องคอนเทนต์ครีเอเตอร์ ยอดวิว เราควบคุมไม่ได้ แต่คุณภาพ เราควบคุมได้ ถ้าผลิตไปแล้วคนไม่ดูไม่เป็นไร ชิ้นหน้าเราทำใหม่ แล้วก็ต้องวิเคราะห์เก่งด้วยว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้น ชีวิตก็เหมือนกัน สิบปีก่อนก็คงไม่ได้คิดว่าตอนนี้จะมาเป็นผู้บริหารสำนักข่าว อันนี้เราควบคุมไม่ได้ แต่ที่เราควบคุมได้คือ เราทำงานทุกวันให้มีคุณภาพ และทำให้เต็มที่ แล้วถึงจุดหนึ่ง มันจะนำพาเราไปที่ไหนอีก ก็ค่อยว่ากันไป”
“มันก็เป็นความเหนื่อยที่เราแฮปปี้ที่จะรับ เพราะถ้าเกิดยังเป็นสื่อเก่า เราอาจจะไม่ได้มีโอกาสมาทำงานตรงนี้ก็ได้”
IIIi - ความยั่งยืน และการยืนระยะ
‘ทำยังไงให้สำนักข่าวยั่งยืนที่สุด’ คือโจทย์ที่เอมทดไว้ในใจอยู่เสมอตลอดการทำงาน “หนึ่งคือ TODAY ไม่ได้ยึดติดกับดารา เราไม่เคยคิดว่าต้องออกแบบคนนี้ให้ดังที่สุด สอง เราคิดเสมอว่า วันหนึ่งฉันจะไม่ทำงานเลย ฉันจะดีดออกมา และทีมของเราคือ ใครจะหายไปจากทีมก็ได้ เพราะปรัชญาที่เราวางไว้มันคือวิธีคิดในเชิงการทำงานจริงๆ”
“สิ่งที่คนในทีมเข้ามาแล้วจะต้องทำให้ได้ คือวิธีการนำเสนอ ฝีมือในการตัดต่อเล่าเรื่อง อันนี้เป็นศาสตร์ความรู้ที่ทุกคนในทีมต้องมี มีปุ๊บแล้วก็ถ่ายเทให้น้องรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ต่อ การที่สามารถขาดได้ นี่คือความยั่งยืน ไม่ได้ยึดติดอยู่กับคน แล้วเราก็ออกแบบไว้ให้ว่า เผื่อสมมติอีก 40 ปีข้างหน้า วิธีคิดแบบนี้ก็ยังอยู่”
เอมกำลังบอกกับเราว่า ปลายทางของ TODAY ที่ยั่งยืน การสร้างองค์กรให้ยั่งยืน ผ่านหลักของวิธีการทำงานที่แข็งแรง เปลี่ยนคนได้ตลอด และทีมไม่ล้ม, การสร้างคนให้ยั่งยืน ผ่านทางการดูแลคนทำงาน และการสร้างรายได้ให้ยั่งยืน เพื่อหล่อเลี้ยงองค์กรให้เดินหน้าต่อได้ ทั้งสามสิ่งคือพลวัตที่อยู่ร่วมกันตลอดเส้นทางที่เดินไป

สุดท้ายแล้ว สิ่งที่เอมเชื่อในเรื่องการทำงานในวงการข่าว คือการยืนระยะ
“เพราะท้ายที่สุดแล้ว คนสื่อที่เราเห็นภาพจำว่าเขาทำสื่อจริงๆ แต่ละคนทำมาเป็นหลักสิบปีทั้งนั้น บางวันเขาอาจจะไม่ได้มีคนดูมาก แต่เขาทำมานาน เพราะฉะนั้น การยืนระยะและความสม่ำเสมอเป็นเรื่องสำคัญ อย่างปรมาจารย์ของพี่ คุณสุทธิชัย หยุ่น หรือว่าคนเก่งๆ อย่างคุณสรยุทธ คุณจอมขวัญ คุณกิตติ คุณวูดดี้ หรือคุณมดดำ มีแต่ทำมาหลายสิบปีขึ้นทั้งนั้น”
“เราเลยคิดว่า อย่างไรเสีย การทำสื่อเป็นงานระยะยาว คนเก่งจริงที่สามารถเปรี้ยงปร้างและยืนระยะในเวลาเดียวกันมันก็มี แต่ว่าท้ายสุดแล้ว ถ้าคุณอยากทำเพราะมีเหตุผลมากกว่าแค่อยากทำ เช่น อยากสร้างการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในสังคม และมองว่าสื่อเป็นสิ่งที่ช่วยพาคุณไปสู่เป้าหมายได้ คุณจะยืนระยะตรงนี้ได้นานกว่าแค่เห็นมันเป็นงานๆ นึงที่ทำๆ ไป”
“อย่างเราอ่านข่าวนึง สมมติผ่านไปแค่ 5 วัน มีใครจำได้ไหมว่าคุณเห็นข่าวนี้จากสำนักข่าวไหน เราแทบจะจำไม่ได้เลยว่าอ่านจากไหน เพราะก็เห็นทุกที่นำเสนอกันหมด”
เอม – นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ บรรณาธิการสำนักข่าว TODAY ชวนเราคิดต่อจากข่าวที่เสพกันในทุกวันนี้ว่า ที่จริงแล้วตัวข่าวไม่ได้ยั่งยืน แต่คนทำงานต่างหากที่ยั่งยืน
“ทีมทูเดย์เราเป็นหน่วยงานองค์กรบุคคล เราปั้นคนเพื่อให้คนไปทำงาน เราสามารถวางแผนเพื่อผลิตคนข่าวคุณภาพที่ไปทำงานในที่ต่างๆ ได้ หรือในวันที่ทีมล้ามากๆ เราก็บอกว่ายังไม่ต้องทำ พักไปก่อน เราต้องการเซฟนักข่าวของเรา เพราะถ้าเขามีพลังมากพอ ก็จะมีกำลังไปผลิตชิ้นงานคุณภาพ และสร้างอิมแพกต์ให้สังคมได้ต่อไป”
‘รายได้ งานที่มีคุณภาพ และคนทำงานแฮปปี้’ คือสูตรผสมของคนและงานที่ยั่งยืนในแบบ TODAY ที่มาจากบทเรียนตลอดชีวิตการทำงานสายข่าวของเอม ตั้งแต่การเริ่มต้นเป็นคนข่าว การได้รับโอกาสด้านการเรียน แล้วก็กลับมาเป็นผู้บริหารที่มีเป้าหมายในการสร้างคนข่าวคุณภาพให้กับประเทศ
“เพราะอยากตื่นขึ้นมาแล้วสามารถคุยเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม กับใครก็ได้ ซึ่งถ้าเราไปทำงานอื่นๆ อาจจะไม่ได้ทำตรงนี้”

IIIi - สื่อใหม่ที่ใกล้ตัวทุกคนกว่าที่เคย
เราชวนคิดย้อนไปถึงสมัยยังเด็ก ที่จะต้องจำวันเวลาให้ดี แล้วมารอคอยรายการที่ถ้าพลาดแล้วเท่ากับพลาดเลย ไม่มีฉายซ้ำ (แถมคุยกับเพื่อนไม่รู้เรื่องอีก) เมื่อเทียบกับสมัยนี้ที่จะกดดูเมื่อไหร่ก็ได้ ดูไม่ทันก็ย้อนได้ สิ่งนี้เอมเรียกมันว่า ประชาธิปไตยในสื่อที่เกิดจากการ Decentralization หรือการกระจายออกไปจากศูนย์กลางอย่างในอดีตที่ผ่านมา
“คีย์เวิร์ดที่อยากให้ทุกคนเข้าใจคือ ยิ่งกาลเวลาผ่านไป อำนาจของความเป็นสื่อก็ยิ่งกระจายออกไปมากขึ้น เมื่อก่อนเรามีโทรทัศน์ 6 ช่อง หรือหนังสือพิมพ์แบบนับหัวได้ หลังจากนั้นมาถึงยุคทีวีดิจิทัลขยับมาเป็น 20 กว่าช่อง แต่ว่าทุกวันนี้ กลายเป็นว่ายูทูบมีไม่จำกัดเลยนะ ใครจะเปิดช่องเมื่อไหร่ก็ได้ แต่สุดท้ายมันก็จะมีช่องที่คนดูอยู่ซ้ำๆ กันอยู่ดี”
“สมมติเมื่อก่อนเราอยากสร้างประเด็น เช่น อยากผลักดันให้ทุกคนมีลูกตามกระทรวงประกาศ เราสามารถเรียกประชุม บก. แล้วพาดหัวหน้าหนึ่งให้ทุกคนพูดเรื่องนี้ได้ แต่ทุกวันนี้ไม่ใช่อย่างนั้นแล้ว ต่อให้สื่อจะพยายามพูดถึงเรื่องนี้ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าคนจะสนใจ ความสนใจของคนมันหลากหลายขึ้น แม้แต่ในตัวคนเดียวก็อาจจะสนใจการเมืองหนักๆ ไปพร้อมกับวงการคู่จิ้นก็ได้ นี่แหละเป็นโจทย์ว่า จะทำยังไงให้เราสามารถนำเสนอประเด็นของเราให้กับคนที่สนใจหลากหลายแบบนี้ได้”

เช่นนั้นแล้ว วิธีเลือกสารตั้งต้นมาทำคอนเทนต์ท่ามกลางมหาสมุทรของเรื่องราวและข่าวสาร โดยเฉพาะกับความท้าทายในความกว้างขวางของหัวเรื่องเช่นนี้ คือการโฟกัสที่การคัดสรรเรื่องราวเพื่อมานำเสนอต่อคนทางบ้านได้อย่างมีคุณภาพและมีจรรยาบรรณ
“ในยูทูบมีคลิปเยอะมากถูกไหมครับ ข้อแรกคือ งานคุณภาพจะดึงดูให้คนมาดูคลิปได้เยอะ ข้อที่สองคือ คนที่นำเสนอหรือคนที่มาเล่าจะต้องมีความรู้เชิงลึกในเรื่องนั้นจริงๆ เพราะฉะนั้น มันจะมีข่าวบางหัวที่เราตัดออก เช่น เรื่องอาชญากรรม เพราะเราไม่มีนักข่าวอาชญากรรม แต่เรามีนักข่าวสิ่งแวดล้อม หรือนโยบายสาธารณะ เราก็จะเน้นนำเสนอเรื่องนี้”
“แต่ถามว่าเราทิ้งประเด็นใหญ่ๆ ที่อิมแพกต์กับสังคมเลยไหม ก็ไม่ใช่ ถ้ามีข่าวใหญ่เราก็ลงไปทำ เพราะรู้ว่าคนดูต้องการข้อมูลส่วนนี้”
“เราต้องแยกกันระหว่าง ‘ดราม่า’ กับ ‘Engagement’ มันคนละความหมายกัน Engagement คือความรู้สึกอยากคอมเมนต์ กดไลค์ แชร์ หรือดูจนจบคลิป อันนี้เป็นหน้าที่ที่เราต้องทำ ส่วนดราม่าคือการขยี้ประเด็นที่มีอยู่เพียงเล็กน้อยให้ขยายใหญ่ขึ้น ทั้งที่ความจริงไม่ต้องขนาดนั้น แน่นอนว่าเราทำสื่อ เราอยากให้คนดูมาดูคอนเทนต์ของเรา แต่เราคิดว่ามันไม่ต้องชี้นำสังคมไปในทิศทางที่ไม่จำเป็นต้องทำ”
“หลักของพี่เวลาทำงาน จะคิดถึงปลายทางแบบย้อนกลับว่า รูปปกจะออกมาเป็นยังไง เซ็กซี่พอให้คนอยากกดดูไหม หรือแขกคนนี้น่าจะดึงคนได้ แล้วเขาจะมาพูดเนื้อหาอะไร ยกตัวอย่างพี่เคยได้ทำคลิปกับญาญ่า ซึ่งการันตีว่าคนอยากดูเพราะเป็นซุปเปอร์สตาร์ของเขา แต่ขณะเดียวกัน เราเอาความเป็นลูกครึ่งนอร์เวย์ของเขามาผลักดันเรื่องรัฐสวัสดิการ เพราะนี่คือสารที่ทีมทูเดย์อยากสื่อ มันเป็นอีกหนึ่งวิธีผลักดันเรื่องที่เป็นองค์ความรู้และเกิดประโยชน์กับสังคม”

ยุคดิจิทัลที่ใช้การวัดผลด้วยตัวเลข หลายครั้งที่วิธีการเช่นนี้อาจสร้างบาดแผลให้กับคนทำงานหลายคน ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขในเรื่องรายได้ หรือตัวเลขยอดเข้าชม เอมให้ทรรศนะกับเรื่องนี้เอาไว้อย่างน่าสนใจ
“รายได้ฝั่งหนึ่งก็ต้องเป็นเรื่องยอดซับ (Subscribe) ยอดวิวใช่ไหม กับอีกฝั่งหนึ่งคือการทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์ต่างๆ ซึ่งองค์กรธุรกิจที่ดี ก็อยากผลักดันเรื่องที่เป็นประโยชน์ให้กับสังคมอยู่แล้ว อย่างฝั่งแรกคือ ถ้าเราต้องทำอะไรก็ได้ที่คนดูเยอะ แล้วใจคนก็ไม่แน่นอน เราต้องปรับตลอดเวลา หรือบางทีสิ่งที่เราอยากพูดกับสิ่งที่คนอยากดูมันคนละเรื่องกัน มันก็จะมี Dilemma (ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก) อยู่บ้าง”
“แต่อย่างเรื่องการทำงานกับพาร์ตเนอร์ องค์กรต่างๆ เรามองหาสิ่งที่เห็นพ้องต้องกันในเรื่องที่อยากผลักดัน แล้วก็ใช้ความเก่งในการนำเสนอ ทำออกมาแล้วคนอยากดู ซึ่งฝั่งนี้มันอาจจะไม่ได้จำเป็นต้องคนดูมากมายมหาศาล แต่สามารถทำงานร่วมกันได้ และได้สื่อสารในสิ่งที่เขาและเราอยากสื่อสารเหมือนกัน ความจริงมันไม่เสมอไปที่ว่า ถ้าเราอยากได้รายได้เท่ากับเราต้องเน้นยอดวิวยอดซับอย่างเดียว”
รายได้เพื่อขับเคลื่อนหน่วยงาน ประเด็นที่อยากนำเสนอ และคนทำงานแฮปปี้ ทั้งสามเรื่องเป็นสิ่งที่เอมและทูเดย์ทำให้เห็นว่าเป็นสิ่งไปด้วยกันได้ อาจจะต้องคิดแยกกันบ้าง หรือคิดรวมกันบ้าง แต่ถึงเวลาจริงๆ แล้ว เราไม่ได้ทำงานเพียงคนเดียว แต่ยังมีฟันเฟืองของผู้คนในองค์กรที่จะช่วยขับเคลื่อนให้สำนักข่าวเดินหน้า และคนข่าวเติบโตอย่างยั่งยืน
“ความยั่งยืนของสำนักข่าวคือนักข่าว” นี่คือภารกิจของเอม

IIIi - สำนักข่าวที่สร้างคนข่าว และเป้าหมายที่ไปไกลกว่าการทำสื่อ
ถ้าจะให้ย้อนเวลากลับไปหาอดีต เอมคือคนข่าวรุ่นพี่ที่เคยได้รับโอกาสไปเรียนต่อที่อังกฤษด้วยทุนรัฐบาลอังกฤษ จนพูดได้เต็มปากว่า ชีวิตเปลี่ยนเพราะการศึกษา
“ในทีม TODAY 3 ปีที่ผ่านมา มีคนที่ไปเรียนต่อด้วยทุนรัฐบาลอังกฤษ 3 คน อันนี้คือสิ่งที่เราให้คำมั่นสัญญาว่า เราเป็นหน่วยงานที่เน้นการสร้างบุคลากร เราไม่ได้เอางานมานำคน เอาจริงๆ ท้ายที่สุดแล้ว คนจะจำแทบไม่ได้เลยว่าคอนเทนต์เขาดูจากที่ไหนยังไง เพราะฉะนั้นตัวข่าวไม่ได้ยั่งยืน แต่ตัวคนทำงานนี่แหละที่ยั่งยืน”
การปรับตัว เป็นอีกเรื่องสำคัญสำหรับคนทำงานสื่อ และคนทำงานในยุคที่โลกหมุนเร็วเช่นนี้ “คำพูดติดตลกที่คุยกันในทีมคือ ถ้าวันหนึ่งตื่นขึ้นมา แล้วคนดูข่าวผ่านตู้เย็น ก็ต้องไปคิดวิธีการเล่าข่าวบนตู้เย็นให้ได้”
ประโยคนี้เตือนอะไรให้กับคนข่าวของ TODAY หรือคนอ่านอย่างเราๆ ได้บ้าง? “อันนี้จะช่วยให้เรานึกภาพของการปรับวิธีคิดให้ได้ จะได้ไม่ยึดติด สมมติไม่อยากทำคลิปเต้นแบบ TikTok ถ้าอย่างนั้นไปลองหาวิธีดูสิว่า ทำยังไงคนดูเต้นเสร็จปุ๊บแล้วอยากดูคลิปความรู้ของเรา”

“บางทีตื่นมาก็เหนื่อยมาก ไม่อยากทำงานด้วยซ้ำ” เอมพูดแบบติดตลก “แต่ว่างานเนี่ย อย่าใช้ความสุขเป็นดัชนีชี้วัด เราเอาเรื่องเป้าหมายกับจุดประสงค์เป็นตัววัดนะ เป้าหมายก็อย่างเช่นว่าปีนี้ต้องได้กำไรเท่าไหร่ เปิดตลาดใหม่ ทำงานกับพาร์ตเนอร์ใหม่”
“ส่วนเรื่องจุดประสงค์ก็กลับไปที่เรื่องคน สำหรับเราคือการส่งต่อ และกลับคืนไปสร้างคนทำข่าวคุณภาพรุ่นใหม่ เพราะเราได้รับโอกาสจากการเป็นคนข่าวมา เรารู้ว่าสิบกว่าปีที่เรามาเป็นนักข่าว มันเปลี่ยนชีวิตเราได้มากขนาดไหน เรามีโอกาสไปต่างประเทศ ได้คุยกับคนเก่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ พอเราได้โอกาสนี้แล้ว เราก็อยากส่งต่อ อันนี้คือจุดประสงค์ของชีวิต”
“ซึ่งมันก็จะวนกลับไปที่คำถามที่ว่า ‘ความสุขคืออะไร’ จะบอกว่า ทั้งหมดนี้ มันจะมีวันที่เราเป็นทุกข์นะ แต่อย่างน้อยมันมีเป้าหมายและจุดประสงค์ของมันอยู่ เพราะฉะนั้นอย่าไปยึดว่ามันจะสุข ทั้งเรื่องงานทั้งเรื่องชีวิต”

สมการชีวิตของเอมคือ ‘ต้องแยกให้ออกว่าอะไรที่ควบคุมได้ และอะไรที่ควบคุมไม่ได้’ เพื่อให้ตั้งใจพัฒนาตัวเองในทุกๆ วัน
“ในเรื่องคอนเทนต์ครีเอเตอร์ ยอดวิว เราควบคุมไม่ได้ แต่คุณภาพ เราควบคุมได้ ถ้าผลิตไปแล้วคนไม่ดูไม่เป็นไร ชิ้นหน้าเราทำใหม่ แล้วก็ต้องวิเคราะห์เก่งด้วยว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้น ชีวิตก็เหมือนกัน สิบปีก่อนก็คงไม่ได้คิดว่าตอนนี้จะมาเป็นผู้บริหารสำนักข่าว อันนี้เราควบคุมไม่ได้ แต่ที่เราควบคุมได้คือ เราทำงานทุกวันให้มีคุณภาพ และทำให้เต็มที่ แล้วถึงจุดหนึ่ง มันจะนำพาเราไปที่ไหนอีก ก็ค่อยว่ากันไป”
“มันก็เป็นความเหนื่อยที่เราแฮปปี้ที่จะรับ เพราะถ้าเกิดยังเป็นสื่อเก่า เราอาจจะไม่ได้มีโอกาสมาทำงานตรงนี้ก็ได้”
IIIi - ความยั่งยืน และการยืนระยะ
‘ทำยังไงให้สำนักข่าวยั่งยืนที่สุด’ คือโจทย์ที่เอมทดไว้ในใจอยู่เสมอตลอดการทำงาน “หนึ่งคือ TODAY ไม่ได้ยึดติดกับดารา เราไม่เคยคิดว่าต้องออกแบบคนนี้ให้ดังที่สุด สอง เราคิดเสมอว่า วันหนึ่งฉันจะไม่ทำงานเลย ฉันจะดีดออกมา และทีมของเราคือ ใครจะหายไปจากทีมก็ได้ เพราะปรัชญาที่เราวางไว้มันคือวิธีคิดในเชิงการทำงานจริงๆ”
“สิ่งที่คนในทีมเข้ามาแล้วจะต้องทำให้ได้ คือวิธีการนำเสนอ ฝีมือในการตัดต่อเล่าเรื่อง อันนี้เป็นศาสตร์ความรู้ที่ทุกคนในทีมต้องมี มีปุ๊บแล้วก็ถ่ายเทให้น้องรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ต่อ การที่สามารถขาดได้ นี่คือความยั่งยืน ไม่ได้ยึดติดอยู่กับคน แล้วเราก็ออกแบบไว้ให้ว่า เผื่อสมมติอีก 40 ปีข้างหน้า วิธีคิดแบบนี้ก็ยังอยู่”
เอมกำลังบอกกับเราว่า ปลายทางของ TODAY ที่ยั่งยืน การสร้างองค์กรให้ยั่งยืน ผ่านหลักของวิธีการทำงานที่แข็งแรง เปลี่ยนคนได้ตลอด และทีมไม่ล้ม, การสร้างคนให้ยั่งยืน ผ่านทางการดูแลคนทำงาน และการสร้างรายได้ให้ยั่งยืน เพื่อหล่อเลี้ยงองค์กรให้เดินหน้าต่อได้ ทั้งสามสิ่งคือพลวัตที่อยู่ร่วมกันตลอดเส้นทางที่เดินไป

สุดท้ายแล้ว สิ่งที่เอมเชื่อในเรื่องการทำงานในวงการข่าว คือการยืนระยะ
“เพราะท้ายที่สุดแล้ว คนสื่อที่เราเห็นภาพจำว่าเขาทำสื่อจริงๆ แต่ละคนทำมาเป็นหลักสิบปีทั้งนั้น บางวันเขาอาจจะไม่ได้มีคนดูมาก แต่เขาทำมานาน เพราะฉะนั้น การยืนระยะและความสม่ำเสมอเป็นเรื่องสำคัญ อย่างปรมาจารย์ของพี่ คุณสุทธิชัย หยุ่น หรือว่าคนเก่งๆ อย่างคุณสรยุทธ คุณจอมขวัญ คุณกิตติ คุณวูดดี้ หรือคุณมดดำ มีแต่ทำมาหลายสิบปีขึ้นทั้งนั้น”
“เราเลยคิดว่า อย่างไรเสีย การทำสื่อเป็นงานระยะยาว คนเก่งจริงที่สามารถเปรี้ยงปร้างและยืนระยะในเวลาเดียวกันมันก็มี แต่ว่าท้ายสุดแล้ว ถ้าคุณอยากทำเพราะมีเหตุผลมากกว่าแค่อยากทำ เช่น อยากสร้างการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในสังคม และมองว่าสื่อเป็นสิ่งที่ช่วยพาคุณไปสู่เป้าหมายได้ คุณจะยืนระยะตรงนี้ได้นานกว่าแค่เห็นมันเป็นงานๆ นึงที่ทำๆ ไป”
Text:
Nathanich C.
Nathanich C.
PHOTO:
Chanathip K.
Chanathip K.
Related Posts


พบกับ Design Up+Rising: ออกแบบพร้อมบวก+ ในเทศกาล Bangkok Design Week 2025
พบกับ Design Up+Rising: ออกแบบพร้อมบวก+ ในเทศกาล Bangkok Design Week 2025
พบกับ Design Up+Rising: ออกแบบพร้อมบวก+ ในเทศกาล Bangkok Design Week 2025


Hellovachboy : 'ดอกไม้แห่งความหวัง' ที่อยากส่งต่อให้กับผู้คน
Hellovachboy : 'ดอกไม้แห่งความหวัง' ที่อยากส่งต่อให้กับผู้คน
Hellovachboy : 'ดอกไม้แห่งความหวัง' ที่อยากส่งต่อให้กับผู้คน


