[Mek◊ng Sci-Fi] : 'ตาคลีเจเนซิส'ไซไฟไทยที่หาญกล้าท้าทายอิทธิพลอเมริกัน
[Mek◊ng Sci-Fi] : 'ตาคลีเจเนซิส'ไซไฟไทยที่หาญกล้าท้าทายอิทธิพลอเมริกัน
15 ธ.ค. 2567
SHARE WITH:
15 ธ.ค. 2567
15 ธ.ค. 2567
SHARE WITH:
SHARE WITH:
[Mek◊ng Sci-Fi] : 'ตาคลีเจเนซิส'ไซไฟไทยที่หาญกล้าท้าทายอิทธิพลอเมริกัน
ปี 2024 ได้กลายเป็นปีสำคัญสำหรับภาพยนตร์ไซไฟไทย ด้วยโปรเจคหลากหลายที่มาพร้อมกับความทะเยอทะยานเพื่อกำหนดทิศทางใหม่ให้กับวงการ ท่ามกลางคลื่นลูกนี้ ตาคลีเจเนซิส (Taklee Genesis) โดย ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล นายกสมาคมผู้กำกับแห่งประเทศไทยคนล่าสุด เจ้าของผลงาน คน ผี ปีศาจ (2547), สิบสามเกมส์สยอง (2549), และ รักแห่งสยาม (2550) ผู้กำกับผู้คร่ำหวอดในวงการกว่า 20 ปี และมุ่งมั่นผลักดันภาพยนตร์ไทยอย่างกล้าหาญผ่านผลงานต่างๆอย่างไม่หยุดนิ่ง
* Please scroll down for English version*
ผลงานล่าสุดของเขา แสดงวิสัยทัศน์ที่บ่มเพาะจากการทำภาพยนตร์หลากหลายแนว ไม่ว่าจะเป็นระทึกขวัญ ครอบครัว ความรัก เควียร์ พร้อมส่วนผสมใหม่อย่างไซไฟ ผสานกับความสนใจส่วนตัวในประเด็นทางสังคม ส่งผลให้ ตาคลีเจเนซิส เป็นผลงานที่โดดเด่น ด้วยความกล้าที่จะใช้ภาพยนตร์เป็นพื้นที่สำรวจความสัมพันธ์อันซับซ้อน ระหว่างไทยกับมหาอำนาจอย่างอเมริกาในช่วงสงครามเย็น และสำรวจร่องรอยที่ยังคงตกค้างในประวัติศาสตร์ไทยและอุษาคเนย์ ผ่านเรื่องราวของตัวตน ความทรงจำทางประวัติศาสตร์ และอนาคตสมมติ ท่ามกลางเสียงตอบรับในประเทศที่มีทั้งดอกไม้และก้อนอิฐ ภาพยนตร์เรื่องนี้ส่งเสียงท้าทาย และพาเรากลับไปพิจารณามรดกทางอำนาจ วัฒนธรรม และการต่อต้าน ที่ยังคงส่งผลจนถึงปัจจุบัน แม้เวลาจะล่วงเลยไปหลายสิบปีแล้วก็ตาม
เมื่อทบทวนถึงความสัมพันธ์ของผมกับอเมริกา ผมเองก็เหมือนคนไทยอีกหลายล้านคน ที่ถูกร่ายมนต์จนหลงเสน่ห์วัฒนธรรมป๊อปอเมริกันอย่างไม่รู้ตัว การได้ดู Titanic ในโรงหนังเมื่ออายุแปดขวบ เปลี่ยนคืนธรรมดาๆคืนหนึ่ง ให้กลายเป็นประสบการณ์ที่เปลี่ยนชีวิตผมไปตลอดกาล เวทมนตร์ของภาพยนตร์ มาพร้อมการได้เห็นผู้คนแสดงออกถึงตัวตนอย่างอิสระไม่แคร์ขนบ ประกอบกับการใช้เทคนิคทางภาพและเสียงอย่างเร้าอารมณ์ ซึมซาบถึงชีวิตแบบอื่นที่ประเทศไทยไม่มี เปิดประตูให้ผมได้เรียนรู้ชีวิตและศึกษาวัฒนธรรมอื่นๆผ่านหนังจากหลากหลายประเทศอย่างต่อเนื่อง หล่อหลอมให้ผมกลายเป็นนักภาพยนตร์คนหนึ่งจวบจนเกือบสามทศวรรษต่อมา
อย่างไรก็ตาม เมื่อเติบโตขึ้น ผมเริ่มเห็นความซับซ้อนที่แฝงอยู่ใต้เสน่ห์นี้ การไหลบ่าของวัฒนธรรมจากประเทศมหาอำนาจที่แทรกซึมผ่านความบันเทิงต่างมีเป้าหมายแฝงทางเศรษฐกิจและสังคม การเผยแพร่ค่านิยมใหม่ ผสานกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตอย่างรวดเร็วจากชีวิตชนบทสู่ชีวิตเมืองในอัตราเร่ง ส่งตรงถึงสมาร์ทโฟนของทุกคน ได้ถักทอความสัมพันธ์อันซับซ้อนในตัวตนทางวัฒนธรรมของเรา ในความโกลาหลนี้ ตาคลีเจเนซิส ได้พบเสียงของมัน มันไม่ยอมเป็นแค่เพียงสื่อบันเทิงอีกเรื่องหนึ่ง แต่เป็นมากกว่านั้นด้วยการสะท้อนการเดินทางของสังคมไทยเพื่อรักษาสมดุลระหว่างความเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดยั้งกับรากของเรา
ตาคลีเจเนซิส เล่าเรื่องของ สเตลล่า แม่เลี้ยงเดี่ยวลูกครึ่งไทย-อเมริกัน ที่เดินทางกลับบ้านเกิดของเธอ ณ บ้านดอนหาย จังหวัดอุดรธานี หลังจากได้รับการติดต่อจาก อิฐ เพื่อนสมัยเด็กเกี่ยวกับอาการป่วยของแม่เธอ สเตลล่าพาลูกสาว วาเลน ติดตามมาด้วยกัน โดยหารู้ไม่ว่า การออกเดินทางครั้งนี้ จะพาเธอไปสู่การผจญภัยข้ามเวลาหลายพันปี
เมื่อมาถึง สเตลล่าพบกับเรื่องราวที่ไม่คาดคิด แม่ของเธอขอให้สเตลล่านำพ่อชาวอเมริกันที่หายสาบสูญกลับมาจากอีกมิติเวลา มิหนำซ้ำ เธอยังพบว่าผู้ใหญ่บ้าน จำนูญ และลูกชาย ก้อง กลับไม่แก่ลงเลยแม้เวลาจะล่วงเลยไป 30 ปีแล้วก็ตาม
เรื่องราวทวีความซับซ้อน เมื่อเธอได้รับสัญญาณวิทยุลึกลับจากพ่ออย่างไม่คาดฝัน ข้อความของเขาเปิดเผยความขัดแย้งทางเวลา: ขณะที่เวลาที่นี่ผ่านไปเนิ่นนานหลายทศวรรษ แต่สำหรับเขา มันเพิ่งผ่านไปเพียง 30 นาทีเท่านั้น ความลึกลับนี้ได้ขับเคลื่อนสเตลล่าสู่ศูนย์กลางของเรื่องราว—เครื่องตาคลีเจเนซิสแห่งค่ายรามสูร โครงการลับสุดยอดในยุคสงครามเวียดนามที่ทดลองการเดินทางเร็วเหนือแสง
ความทะเยอทะยานของภาพยนตร์เรื่องนี้อยู่ที่ขอบเขตเวลากว่า 3,700 ปี ณ จ.อุดรธานี ตั้งแต่อารยธรรมบ้านเชียงเมื่อ 3,500 ปีที่แล้วในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่พลิกความเข้าใจในวิวัฒนาการของสังคมอุษาคเนย์ด้วยหลักฐานที่แสดงเทคโนโลยีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาและการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม—ไปจนถึง ยู-ดอน (U-Dawn) ดินแดนดิสโทเปียใต้ร่มเผด็จการในอีก 200 ปีข้างหน้า โดยมีแผ่นดินอีสานทำหน้าที่เป็นผืนผ้าใบทางจินตนาการ พาคนดูไปสำรวจประวัติศาสตร์สู่อนาคตสมมติของสังคมไทยอย่างแหลมคม
โดยมีค่ายรามสูร ฐานทัพสหรัฐอเมริกาที่ถูกตั้งขึ้นในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2507 ในยุคสงครามเวียดนาม เป็นสัญลักษณ์ของผลกระทบที่ลึกซึ้งและยาวนานจากการแทรกแซงของสหรัฐอเมริกาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยประเทศไทยเป็นพันธมิตรสำคัญทางยุทธศาสตร์ในการดำเนินปฏิบัติการทางทหาร ซึ่งการมีอยู่ของฐานทัพเหล่านี้ได้เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางสังคมและเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้อย่างไม่อาจย้อนคืน ระหว่างปี พ.ศ. 2508 ถึง 2518 สหรัฐฯ และพันธมิตรทิ้งระเบิดกว่า 7.6 ล้านตันในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา—มากกว่าที่ถูกใช้ในยุโรปและเอเชียรวมกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองถึง 2 เท่า ลาวถูกถล่มด้วยระเบิดกว่า 270 ล้านลูก ในขณะที่เวียดนามถูกพ่นด้วย "ฝนเหลือง" สารพิษที่ทำให้คนนับล้านในเวียดนามพิการและเสียชีวิต ส่งผลกระทบที่ยังคงหลอกหลอนคร่าชีวิตลูกหลานและทำลายสิ่งแวดล้อมของประเทศเพื่อนบ้านจวบจนปัจจุบัน
ตาคลีเจเนซิส หยิบเอาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์อันเจ็บปวดนี้มาผสมผสานกับการเล่าเรื่องเหนือจริง เพื่อสร้างคำถามถึงราคาที่แท้จริงของการเป็นพันธมิตรนี้ โดยมี ลาวัน เจ้าหญิงลาวผู้กลายร่างเป็นสัตว์ประหลาดกระหายเลือดเพราะผลพวงจากเครื่องตาคลีเจเนซิส การมีอยู่ของเธอหลอกหลอนชาวดอนหายและทำลายล้างเมือง ยู-ดอน จนเหลือเพียงซากปรักหักพัง สะท้อนถึงมรดกตกทอดจากความขัดแย้งและการคำนึงถึงแต่จุดมุ่งหมายทางภูมิรัฐศาสตร์ของตนโดยไม่สนใจไยดีชุมชนที่ปกป้องตัวเองไม่ได้ ทิ้งบาดแผลที่ไม่มีวันสมาน ยังคงหล่อหลอมตัวตนและความทรงจำในระดับภูมิภาคของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่จบสิ้น
หัวใจของเรื่องคือ วาร์ปบอล วัตถุขนาดเล็กแต่ทรงพลังที่สามารถเปลี่ยนแปลงอดีต ปัจจุบัน และอนาคตได้ สเตลล่าต้องออกท่องกาลอวกาศเพื่อรวบรวมส่วนประกอบที่กระจัดกระจายอยู่ในห้วงเวลาต่างๆเพื่อช่วยเหลือคนที่เธอรัก แต่เพื่อจะได้มายังสิ่งที่เธอต้องการ หลายครั้งสเตลล่าถูกบีบให้ตัดสินใจในสถานการณ์ที่ซับซ้อนจนนำความฉิบหายไปสู่สังคมนั้นอย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง ไม่ต่างกับการเข้าแทรกแซงอุษาคเนย์จากมหาอำนาจต่างชาติ วาร์ปบอลจึงกลายเป็นสัญลักษณ์อันทรงพลัง ตั้งคำถามเชิงจริยธรรมของการใช้อำนาจอย่างไม่ระมัดระวัง และความซับซ้อนที่เกิดขึ้นในเชิงประวัติศาสตร์ ความทรงจำ และอัตลักษณ์
ตัวหนังนำเสนอภาพของสังคมไทยปัจจุบันที่ยังคงพยายามหาจุดสมดุลระหว่างค่านิยมดั้งเดิมกับอิทธิพลตะวันตกผ่านตัวละครลูกครึ่งอย่างสเตลล่า และ อิฐ ภาพยนตร์เรื่องนี้สำรวจความซับซ้อนของอัตลักษณ์ผสมผสาน สะท้อนถึงความท้าทายที่คนไทยหลายคนต้องเจอในโลกที่เปลี่ยนไปตามโลกาภิวัตน์
ภาพยนตร์เรื่องนี้วิพากษ์ผลกระทบจากการแทรกแซงของสหรัฐ โดยเฉพาะบทบาทในการกำหนดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของไทย ที่แม้แต่การสำรวจทางโบราณคดีทั่วประเทศและที่บ้านเชียง ที่ทำร่วมกับสถาบันอเมริกันในช่วงสงครามเย็น ก็เปิดโอกาสให้กองทัพสหรัฐเข้าเก็บข้อมูลในภูมิภาคต่างๆเพื่อศึกษาเกี่ยวกับขบวนการคอมมิวนิสต์ สะท้อนให้เห็นว่ามรดกของไทยถูกสร้างผ่านมุมมองของต่างชาติที่มีวาระต่อต้านคอมมิวนิสต์
นอกจากนี้ ผลกระทบของการแทรกแซงของสหรัฐยังขยายไปถึงด้านการเมือง ที่การสนับสนุนรัฐบาลทหารของอเมริกานำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนครั้งสำคัญ จบลงด้วยเหตุการณ์สลดใจอย่างเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 การปราบปรามนักศึกษาที่ประท้วงรัฐบาลอย่างโหดร้ายนี้แสดงให้เห็นผลร้ายแรงของการที่อำนาจต่างชาติสนับสนุนเผด็จการเพราะให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ทางภูมิรัฐศาสตร์มากกว่าคุณค่าประชาธิปไตย ตาคลีเจเนซิส ชี้ว่าการต่อสู้เพื่ออัตลักษณ์และประชาธิปไตยของไทยที่ดำเนินอยู่ภายในไม่อาจแยกออกจากมรดกทางประวัติศาสตร์ของอิทธิพลภายนอก กระตุ้นให้ผู้ชมครุ่นคิดถึงความซับซ้อนอันลึกซึ้งและบาดแผลระหว่างทางสู่การเป็นประเทศสมัยใหม่ของไทย
เรื่องนี้ถูกนำเสนออย่างเจ็บปวดผ่านเส้นเรื่องของก้องและจำนูญ สองตัวละครผู้ไม่แก่ลงเลยจากการผลกระทบของเครื่องตาคลีเจเนซิส จำนูญอดีตบอดี้การ์ดและคนรักของเจ้าหญิงลาวัน ต้องทนทุกข์กับความรู้สึกผิดที่ไม่สามารถปกป้องคนรักจนเธอต้องกลายเป็นสัตว์ประหลาดชั่วกัปชั่วกัลป์ และก้อง ผู้แท้จริงแล้วถูกส่งมาที่บ้านดอนหายจากการกระบวนการกำจัดศพของเหล่านักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เมื่อรัฐบาลทหารได้เปลี่ยนสถานศึกษาอย่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้กลายเป็นตะแลงแกง
ในฉากไคลแมกซ์ของภาพยนตร์ ปรากฎการณ์ Causality Breakdown หรือ มิติเวลาพัง ทำให้เกิดการปะทะสังสรรค์กันของภาพการปราบปรามนักศึกษาอย่างโหดร้ายกับการปราบกบฏเยาวชนแห่งยู-ดอน ในอนาคต โดยมียานอวกาศจาก "นครหลวง" หมุนเคว้งทะลุมิติมาสาดกระสุนถล่มม.ธรรมศาสตร์อย่างน่าตื่นตา การเปรียบเทียบนี้นำไปสู่ข้ออนุมานที่น่ากลัวว่า การเมืองไทยจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง และมรดกของการที่ให้อเมริกาให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ทางภูมิรัฐศาสตร์เหนือคุณค่าประชาธิปไตยจะยังคงอยู่ต่อไปอีกหลายร้อยปี
ด้วยเรื่องราวที่ซับซ้อนหลายชั้น ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงเชิญชวนให้ผู้ชมเผชิญหน้ากับความเจ็บปวดในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของไทย เพื่อตระหนักถึง มือที่มองไม่เห็น ที่ได้หล่อหลอมให้เรากลายเป็นเราอย่างทุกวันนี้
ตาคลีเจเนซิส ทำให้ไซไฟกลายเป็นเสียงของคนไทย พิสูจน์ให้เห็นว่าไซไฟไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่เรื่องเล่าตามขนบโลกตะวันตก ด้วยการผสานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเข้ากับองค์ประกอบเชิงอนาคตสมมติเพื่อรื้อสร้างสิ่งใหม่ และแสดงให้เห็นว่าเสียงจากท้องถิ่นสามารถทั้งท้าทายและนำเสนอมุมมองต่อเรื่องราวระดับนานาชาติอย่างมีเอกลักษณ์ ในขณะที่ยังคงซื่อสัตย์ต่อรากเหง้าของตน
พลังของผู้กำกับโดดเด่นในการถ่ายทอดวัฒนธรรมและความเชื่อท้องถิ่นในพื้นที่ของภาพยนตร์ไซไฟอย่างน่าสนใจ เช่น ฉากการบูชาผีที่บ้านดอนหายใน 15 นาทีแรกของภาพยนตร์ที่อบอวลไปด้วยมนต์ขลังที่ถูกกำกับอย่างอยู่มือเป็นที่ประจักษ์ต่อผู้ชม ยิ่งทรงพลังเมื่อได้รู้ว่า ”ผี” ที่ชาวบ้านหวาดกลัว แท้จริงแล้วเป็นบาดแผลจากผลกระทบของการกระทำจากอเมริกา รวมถึงฉากในช่วงท้ายที่เล่าความคิดถึงคนึงหาระหว่างสเตลล่าและพ่อแม่ของเธอได้อย่างงดงามราวบทกวี เมื่อแม่ของเธอเล่าถึงความฝันว่าเธอได้เกิดใหม่เป็นต้นไม้ใหญ่ ขณะที่พ่อของสเตลล่าอยู่เคียงข้างกันตลอดกาลในฐานะท้องฟ้า
ทว่าการเล่าเรื่องโลกที่กว้างใหญ่ไพศาลทั้งหมดนี้ในเวลาเพียง 2 ชั่วโมงครึ่ง นำความท้าทายที่ปรากฏให้เห็นได้ชัดในหลายจุด เช่น เส้นเรื่องรองที่เกี่ยวข้องกับมิติเวลาและตัวละครจำนวนมาก ซึ่งแม้จะสร้างมิติของโลกที่ซับซ้อน แต่กลับลดทอนน้ำหนักของความสัมพันธ์สำคัญระหว่างตัวละครหลักอย่างสเตลล่าและวาเลน ลูกสาวของเธอ ที่แม้จะเกริ่นไว้ได้น่าสนใจ แต่ก็ไม่ได้ลงลึกไปต่ออย่างน่าเสียดาย
นอกจากนี้ยังมีหลายช่วงที่ทิศทางการกำกับทำให้โลกสมมติที่น่าจะยิ่งใหญ่กลับสะดุด เช่น การบุกค่ายรามสูรที่ดูง่ายดายจนชวนสงสัย หรือการที่สเตลล่าและตัวละครอีกหลายคนสามารถเข้าใจและใช้งาน “วงแหวน 5 วง” ของวาร์ปบอลอย่างรวดเร็ว จนรู้สึกไม่สมเหตุสมผล รวมถึงชอยส์ในการออกแบบโลกอดีตและอนาคต เช่น ชุมชนบ้านเชียงที่ถ่ายทอดออกมาผ่านการแสดงอย่างกึ่ง comedic ชวนให้นึกถึงคนป่าในหนังไทยยุคต้น หรือกลุ่มวัยรุ่นในอีก 200 ปีข้างหน้าที่มีกลิ่นอายของวัฒนธรรมยุค 90 ที่ทำให้รู้สึกหลุดจากแนวทางที่เล่าเรื่องมาในช่วงองก์แรกของหนัง
อย่างไรก็ตาม พลังที่แท้จริงของ ตาคลีเจเนซิส อยู่ที่ความสามารถในการย้อนมองการเผชิญหน้าทางประวัติศาสตร์ของไทยกับอิทธิพลต่างชาติในมุมใหม่ เพื่อสะท้อนความเป็นไปในปัจจุบัน และยังเสนอต่อไปอีกว่า การทบทวนเพื่อทำความเข้าใจอดีตให้ไกลกว่าเรื่องของชัยชนะหรือความพ่ายแพ้นั้น—เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา—กุญแจสำคัญสู่การจินตนาการถึงอนาคตแบบอื่น
ด้วยการผลักดันจาก เนรมิตหนังฟิล์ม หนังเรื่องนี้จึงกลายเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับการจัดจำหน่ายในระดับนานาชาติโดย Warner Bros. แม้ว่าบอกซ์ออฟฟิศในประเทศจะทำรายได้ไปเพียง 5.5 ล้านบาทจากทุนสร้าง 60 ล้านบาท แต่ ตาคลีเจเนซิส ยังคงไปต่อ ด้วยความสำเร็จในการเจรจาลิขสิทธิ์แล้วกว่า 80 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุมทุกภูมิภาคสำคัญ ทั้งอเมริกาเหนือ ละตินอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย เอเชีย และเดินหน้าเข้าถึงผู้ชมทั่วโลกผ่านทางแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งอย่าง Amazon Prime
มากกว่าเรื่องราวของการเดินทางข้ามเวลา ตาคลีเจเนซิส เชิญชวนให้เราย้อนพิจารณา ว่าอดีต หล่อหลอมอัตลักษณ์ปัจจุบันและอนาคตของเราอย่างไร พร้อมพิจารณาถึงความซับซ้อนของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในโลกปัจจุบันและความจำเป็นในการเรียกคืนตัวตนของเรา—บางที—เพื่อจะก้าวข้าม เราต้องมองเข้าไปข้างใน—ยอมรับและเรียกคืนสิ่งที่เป็นของเราอยู่แล้ว เพื่อครุ่นคิดถึงหนทางข้างหน้าอย่างยั่งยืน
งานเขียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความชุด “Mek◊ng Sci-Fi ไซไฟลุ่มน้ำโขง” เขียนโดย บิลลี่ วรกร ฤทัยวาณิชกุล เผยแพร่เป็นภาษาไทย TheMissionTH.co และภาษาอังกฤษ billyvorr.com ภายใต้โครงการสนับสนุนของ 2024 ArtsEquator Fellowship ข้อเขียนและบทวิจารณ์ที่นำเสนอเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนทั้งสิ้น ติดตามผลงานเพิ่มเติมได้ที่ Facebook, IG, X และ Discord
[Mek◊ng Sci-Fi] Taklee Genesis: Decolonizing Thailand from U.S. Influence Through Speculative Fiction
Reflecting on my relationship with America, I find myself in the same boat as millions of Thais—enthralled by the siren song of American pop culture. Watching Titanic in the cinema at eight years old transformed an ordinary night into a life-altering experience. The magic of cinema, with Hollywood's flair for dramatic, unapologetic individualism, opened up a universe of storytelling possibilities that captivated me for over two decades, ultimately shaping my journey as a filmmaker.
As I grew older, however, I began to see the complexities hidden beneath this enchantment. The influx of foreign cultural superpowers, sugarcoated with entertainment and turbocharged by social and technological change, has woven a tangled web of influences into our cultural identity. The shift from rural traditions to urban modernity, compounded by the relentless stream of media, served straight to our smartphones, has left many of us navigating a chaotic intersection of local and foreign. Within this turbulence, Taklee Genesis finds its voice—not just as a film, but as a mirror to our collective struggle to balance relentless change with deeply rooted traditions.
2024 has become a significant year for Thai science fiction, with various ambitious projects shaping the new direction of the genre. Among these, Taklee Genesis (ตาคลีเจเนซิส), directed by Chookiat Sakveerakul, the latest President of the Thai Film Directors Association and the mastermind behind Pisaj (2004), 13 Beloved (2006), and The Love of Siam (2007), stands out. With over 20 years of experience and a relentless drive to push Thai cinema boldly forward, Chookiat's latest work showcases his vision nurtured through his track record of diverse genres, including thriller, family, romance, and queer films, now blended with science fiction and his passion for social issues.
Taklee Genesis exemplifies this vision by boldly exploring the complex relationship between Thailand and American power during the Cold War and the lasting impact on Thai and Southeast Asian history. It combines personal identity, historical memory, and speculative futures, presenting a narrative that challenges us to reconsider the legacies of power, culture, and resistance. Amidst bouquets and brickbats from the local audiences, the film dares to confront and invite us to reflect on these enduring influences that shape our present, even decades later.
Taklee Genesis centers on Stella, a Thai-American single mother returning to her childhood home in Don Hai, Udon Thani, after a plea from her childhood friend, It, about her ailing mother. Accompanied by her daughter, Valen, Stella embarks on a journey that unravels across millennia. Upon arriving, Stella discovers unsettling mysteries: her mother’s request to retrieve her long-vanished American father from another spacetime, and the peculiar immortality of community leader Jamnoon and his son Kong, who have remained unchanged even after 30 years have passed.
The story escalates when Stella receives a mysterious radio transmission from her father. His message reveals a temporal paradox: while decades have passed for Stella, only 30 minutes have elapsed for him. The mystery leads Stella to the heart of the story—the Taklee Genesis device at Ramasun Camp, a secret Vietnam War-era project exploring faster-than-light travel.
The film ambitiously traverses millennia, linking Thailand's ancient Ban Chiang Civilization—a Bronze Age society celebrated for its ceramic innovations and social complexity 3,500 years ago—to U-Dawn, a dystopian vision set 200 years into the future. These temporal shifts transform Udon Thani into a rich speculative tapestry, weaving entertainment with incisive reflections on Thailand's historical journey
Central to the narrative is the Ramasun Camp, modeled after actual U.S. military bases in Thailand during the Vietnam War. These installations represent the profound and lasting effects of America’s intervention in Southeast Asia. Between 1965 and 1975, the United States and its allies dropped over 7.6 million tons of bombs on Vietnam, Laos, and Cambodia—more than double the tonnage used during World War II. Among the horrors were the 270 million bombs scattered across Laos and the widespread deployment of Agent Orange in Vietnam, both of which have left enduring environmental and human devastation, killing generations to this day.
This historical backdrop echoes through the film’s narrative, embodied by Lawan, a Laotian princess who morphs into a bloodthirsty monster from the effect of the Taklee Genesis experiment. Her haunting presence in Don Hai and the desolate future of U-Dawn highlight the inescapable legacies of conflict and the exploitation of vulnerable communities, which continue to shape regional memory and identity.
At the story’s core lies the Warp Ball, a small but potent device capable of altering past, present, and future. As Stella retrieves its missing components across various spacetimes, her actions unintentionally bring disaster to the societies she encounters, paralleling the historical recklessness of foreign intervention in Southeast Asia. The Warp Ball emerges as a powerful metaphor, raising questions about the ethical consequences of wielding unchecked power and the complex interplay between history, memory, and identity.
Taklee Genesis offers a profound exploration of Thailand's tension between traditional values and Western influence. Through half-blood characters, Stella and It, the film examines the complexities of hybrid identities, reflecting the cultural dualities many Thais navigating in a world shaped by modernity and globalization.
The narrative critiques the enduring impact of U.S. intervention, particularly its role in shaping Thailand’s historical narrative. Even archaeological discoveries across the country and at Ban Chiang, conducted in partnership with American institutions during the Cold War, allowed the U.S. Military to gain information on the communists, reflecting how Thai heritage was mediated through foreign agendas aimed at countering communism.
The film underscores the political consequences of U.S. involvement, highlighting how American support for Thailand's military government facilitated significant human rights abuses. This is poignantly illustrated through the backstory of Kong and Chamnoon, characters who remain ageless due to their earlier exposure to the Taklee Genesis device. Chamnoon, the former bodyguard and lover of Princess Lawan, bears endless love and guilt for not being able to protect her, leading to her transformation into an eternal monster. Meanwhile, Kong’s timeline is tied to the tragic events of the Thammasat Massacre in 1976, where government forces turned the university into a killing field for student protesters. Kong, misunderstood as dead, was sent to Don Hai to dispose of the bodies.
In a climactic sequence, the Causality Breakdown juxtaposes the government's brutal crackdown on the students with a futuristic rebellion in U-Dawn, where a spaceship from the "Capital" dramatically traverses dimensions to massacre rebellious youth at Thammasat University. This parallel draws a grim conclusion: political dynamics in Thailand will remain unchanged, and the dire consequences of America's prioritization of its geopolitical interests over democratic values will persist.
Through its layered narratives, Taklee Genesis argues that Thailand’s ongoing struggle for identity and democracy cannot be disentangled from the historical legacies of foreign influence. The film invites viewers to confront the profound and often painful complexities of Thailand's modern journey, urging reflection on the forces that have shaped—and continue to define—who we are today.
Taklee Genesis claims sci-fi as a medium for Thai voices, proving that the genre is not exclusively Western. By blending regional history with speculative elements, it disrupts the status quo and demonstrates how local voices can challenge and enrich international narratives while staying true to their roots.
The strength of the film lies in its ability to reinterpret Thailand’s historical encounters with foreign influence in a new light, reflecting the present and suggesting that understanding the past—not just as a series of victories or defeats, but as a dynamic source of wisdom—is key to envisioning alternative futures.
The director exceptionally weaves local culture and beliefs into the sci-fi genre, captivating the audience with the spellbinding 15-minute opening sequence depicting a ghost-worship ritual in Ban Don Hai. This scene takes on a profound depth when it is revealed that the "ghost" feared by the villagers is, in fact, a haunting scar left by the impact of American actions. Equally evocative is the poetic finale, which tenderly explores the longing between Stella and her parents. In a poignant dream recounted by her mother, she envisions herself reborn as a great tree, standing eternally alongside Stella’s father, who becomes the boundless sky.
However, condensing such an expansive and layered world into a 2.5-hour runtime brings its challenges. Secondary storylines involving time dimensions and a sprawling cast, while contributing to the narrative complexity, dilute the emotional weight of key relationships. This is particularly evident in the bond between Stella and her daughter, Valen, which is hinted at but never fully developed, leaving their arc frustratingly underexplored.
Certain directorial choices further undercut the film’s grander ambitions. The entrance to the Ramasun camp, for instance, unfolds with unreasonable ease, raising questions about the narrative’s stakes. Similarly, characters, including Stella, grasp and wield the intricate "Five Rings" warp-ball technology with unrealistic swiftness, undermining the plausibility of their mastery. The design of past and future worlds also falters at times, with elements like the Ban Chiang community veering into a caricatured primitive aesthetic and a portrayal of teenagers 200 years into the future that feels oddly reminiscent of 1990s pop culture.
However, propelled by Neramitnung Film, Taklee Genesis is the first Thai film to secure an international distribution deal with Warner Bros. Despite earning a modest box office of $161,000 domestically against the budget of $1.76 million, the film has transcended national boundaries, securing distribution rights across 80 countries spanning North America, Latin America, Europe, Australia, and Asia. It is also reaching international audiences through Amazon Prime.
More than a story of time travel, Taklee Genesis invites us to reconsider how the past shapes our current and future identities, urging us to reflect on the complexities of cultural identity and the necessity of reclaiming our sense of self. Perhaps, to transcend, we must first turn inward—acknowledging and reclaiming what is inherently ours to ponder a sustainable path forward.
This essay is a part of the “Mek◊ng Sci-Fi” series by Vorakorn “Billy” Ruetaivanichkul. It is published in English billyvorr.com and Thai TheMissionTH.co and was completed as part of the 2024 ArtsEquator Fellowship. The views expressed are solely those of the author. Connect with him on Facebook, IG, X, or Discord.
ปี 2024 ได้กลายเป็นปีสำคัญสำหรับภาพยนตร์ไซไฟไทย ด้วยโปรเจคหลากหลายที่มาพร้อมกับความทะเยอทะยานเพื่อกำหนดทิศทางใหม่ให้กับวงการ ท่ามกลางคลื่นลูกนี้ ตาคลีเจเนซิส (Taklee Genesis) โดย ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล นายกสมาคมผู้กำกับแห่งประเทศไทยคนล่าสุด เจ้าของผลงาน คน ผี ปีศาจ (2547), สิบสามเกมส์สยอง (2549), และ รักแห่งสยาม (2550) ผู้กำกับผู้คร่ำหวอดในวงการกว่า 20 ปี และมุ่งมั่นผลักดันภาพยนตร์ไทยอย่างกล้าหาญผ่านผลงานต่างๆอย่างไม่หยุดนิ่ง
* Please scroll down for English version*
ผลงานล่าสุดของเขา แสดงวิสัยทัศน์ที่บ่มเพาะจากการทำภาพยนตร์หลากหลายแนว ไม่ว่าจะเป็นระทึกขวัญ ครอบครัว ความรัก เควียร์ พร้อมส่วนผสมใหม่อย่างไซไฟ ผสานกับความสนใจส่วนตัวในประเด็นทางสังคม ส่งผลให้ ตาคลีเจเนซิส เป็นผลงานที่โดดเด่น ด้วยความกล้าที่จะใช้ภาพยนตร์เป็นพื้นที่สำรวจความสัมพันธ์อันซับซ้อน ระหว่างไทยกับมหาอำนาจอย่างอเมริกาในช่วงสงครามเย็น และสำรวจร่องรอยที่ยังคงตกค้างในประวัติศาสตร์ไทยและอุษาคเนย์ ผ่านเรื่องราวของตัวตน ความทรงจำทางประวัติศาสตร์ และอนาคตสมมติ ท่ามกลางเสียงตอบรับในประเทศที่มีทั้งดอกไม้และก้อนอิฐ ภาพยนตร์เรื่องนี้ส่งเสียงท้าทาย และพาเรากลับไปพิจารณามรดกทางอำนาจ วัฒนธรรม และการต่อต้าน ที่ยังคงส่งผลจนถึงปัจจุบัน แม้เวลาจะล่วงเลยไปหลายสิบปีแล้วก็ตาม
เมื่อทบทวนถึงความสัมพันธ์ของผมกับอเมริกา ผมเองก็เหมือนคนไทยอีกหลายล้านคน ที่ถูกร่ายมนต์จนหลงเสน่ห์วัฒนธรรมป๊อปอเมริกันอย่างไม่รู้ตัว การได้ดู Titanic ในโรงหนังเมื่ออายุแปดขวบ เปลี่ยนคืนธรรมดาๆคืนหนึ่ง ให้กลายเป็นประสบการณ์ที่เปลี่ยนชีวิตผมไปตลอดกาล เวทมนตร์ของภาพยนตร์ มาพร้อมการได้เห็นผู้คนแสดงออกถึงตัวตนอย่างอิสระไม่แคร์ขนบ ประกอบกับการใช้เทคนิคทางภาพและเสียงอย่างเร้าอารมณ์ ซึมซาบถึงชีวิตแบบอื่นที่ประเทศไทยไม่มี เปิดประตูให้ผมได้เรียนรู้ชีวิตและศึกษาวัฒนธรรมอื่นๆผ่านหนังจากหลากหลายประเทศอย่างต่อเนื่อง หล่อหลอมให้ผมกลายเป็นนักภาพยนตร์คนหนึ่งจวบจนเกือบสามทศวรรษต่อมา
อย่างไรก็ตาม เมื่อเติบโตขึ้น ผมเริ่มเห็นความซับซ้อนที่แฝงอยู่ใต้เสน่ห์นี้ การไหลบ่าของวัฒนธรรมจากประเทศมหาอำนาจที่แทรกซึมผ่านความบันเทิงต่างมีเป้าหมายแฝงทางเศรษฐกิจและสังคม การเผยแพร่ค่านิยมใหม่ ผสานกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตอย่างรวดเร็วจากชีวิตชนบทสู่ชีวิตเมืองในอัตราเร่ง ส่งตรงถึงสมาร์ทโฟนของทุกคน ได้ถักทอความสัมพันธ์อันซับซ้อนในตัวตนทางวัฒนธรรมของเรา ในความโกลาหลนี้ ตาคลีเจเนซิส ได้พบเสียงของมัน มันไม่ยอมเป็นแค่เพียงสื่อบันเทิงอีกเรื่องหนึ่ง แต่เป็นมากกว่านั้นด้วยการสะท้อนการเดินทางของสังคมไทยเพื่อรักษาสมดุลระหว่างความเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดยั้งกับรากของเรา
ตาคลีเจเนซิส เล่าเรื่องของ สเตลล่า แม่เลี้ยงเดี่ยวลูกครึ่งไทย-อเมริกัน ที่เดินทางกลับบ้านเกิดของเธอ ณ บ้านดอนหาย จังหวัดอุดรธานี หลังจากได้รับการติดต่อจาก อิฐ เพื่อนสมัยเด็กเกี่ยวกับอาการป่วยของแม่เธอ สเตลล่าพาลูกสาว วาเลน ติดตามมาด้วยกัน โดยหารู้ไม่ว่า การออกเดินทางครั้งนี้ จะพาเธอไปสู่การผจญภัยข้ามเวลาหลายพันปี
เมื่อมาถึง สเตลล่าพบกับเรื่องราวที่ไม่คาดคิด แม่ของเธอขอให้สเตลล่านำพ่อชาวอเมริกันที่หายสาบสูญกลับมาจากอีกมิติเวลา มิหนำซ้ำ เธอยังพบว่าผู้ใหญ่บ้าน จำนูญ และลูกชาย ก้อง กลับไม่แก่ลงเลยแม้เวลาจะล่วงเลยไป 30 ปีแล้วก็ตาม
เรื่องราวทวีความซับซ้อน เมื่อเธอได้รับสัญญาณวิทยุลึกลับจากพ่ออย่างไม่คาดฝัน ข้อความของเขาเปิดเผยความขัดแย้งทางเวลา: ขณะที่เวลาที่นี่ผ่านไปเนิ่นนานหลายทศวรรษ แต่สำหรับเขา มันเพิ่งผ่านไปเพียง 30 นาทีเท่านั้น ความลึกลับนี้ได้ขับเคลื่อนสเตลล่าสู่ศูนย์กลางของเรื่องราว—เครื่องตาคลีเจเนซิสแห่งค่ายรามสูร โครงการลับสุดยอดในยุคสงครามเวียดนามที่ทดลองการเดินทางเร็วเหนือแสง
ความทะเยอทะยานของภาพยนตร์เรื่องนี้อยู่ที่ขอบเขตเวลากว่า 3,700 ปี ณ จ.อุดรธานี ตั้งแต่อารยธรรมบ้านเชียงเมื่อ 3,500 ปีที่แล้วในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่พลิกความเข้าใจในวิวัฒนาการของสังคมอุษาคเนย์ด้วยหลักฐานที่แสดงเทคโนโลยีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาและการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม—ไปจนถึง ยู-ดอน (U-Dawn) ดินแดนดิสโทเปียใต้ร่มเผด็จการในอีก 200 ปีข้างหน้า โดยมีแผ่นดินอีสานทำหน้าที่เป็นผืนผ้าใบทางจินตนาการ พาคนดูไปสำรวจประวัติศาสตร์สู่อนาคตสมมติของสังคมไทยอย่างแหลมคม
โดยมีค่ายรามสูร ฐานทัพสหรัฐอเมริกาที่ถูกตั้งขึ้นในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2507 ในยุคสงครามเวียดนาม เป็นสัญลักษณ์ของผลกระทบที่ลึกซึ้งและยาวนานจากการแทรกแซงของสหรัฐอเมริกาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยประเทศไทยเป็นพันธมิตรสำคัญทางยุทธศาสตร์ในการดำเนินปฏิบัติการทางทหาร ซึ่งการมีอยู่ของฐานทัพเหล่านี้ได้เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางสังคมและเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้อย่างไม่อาจย้อนคืน ระหว่างปี พ.ศ. 2508 ถึง 2518 สหรัฐฯ และพันธมิตรทิ้งระเบิดกว่า 7.6 ล้านตันในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา—มากกว่าที่ถูกใช้ในยุโรปและเอเชียรวมกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองถึง 2 เท่า ลาวถูกถล่มด้วยระเบิดกว่า 270 ล้านลูก ในขณะที่เวียดนามถูกพ่นด้วย "ฝนเหลือง" สารพิษที่ทำให้คนนับล้านในเวียดนามพิการและเสียชีวิต ส่งผลกระทบที่ยังคงหลอกหลอนคร่าชีวิตลูกหลานและทำลายสิ่งแวดล้อมของประเทศเพื่อนบ้านจวบจนปัจจุบัน
ตาคลีเจเนซิส หยิบเอาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์อันเจ็บปวดนี้มาผสมผสานกับการเล่าเรื่องเหนือจริง เพื่อสร้างคำถามถึงราคาที่แท้จริงของการเป็นพันธมิตรนี้ โดยมี ลาวัน เจ้าหญิงลาวผู้กลายร่างเป็นสัตว์ประหลาดกระหายเลือดเพราะผลพวงจากเครื่องตาคลีเจเนซิส การมีอยู่ของเธอหลอกหลอนชาวดอนหายและทำลายล้างเมือง ยู-ดอน จนเหลือเพียงซากปรักหักพัง สะท้อนถึงมรดกตกทอดจากความขัดแย้งและการคำนึงถึงแต่จุดมุ่งหมายทางภูมิรัฐศาสตร์ของตนโดยไม่สนใจไยดีชุมชนที่ปกป้องตัวเองไม่ได้ ทิ้งบาดแผลที่ไม่มีวันสมาน ยังคงหล่อหลอมตัวตนและความทรงจำในระดับภูมิภาคของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่จบสิ้น
หัวใจของเรื่องคือ วาร์ปบอล วัตถุขนาดเล็กแต่ทรงพลังที่สามารถเปลี่ยนแปลงอดีต ปัจจุบัน และอนาคตได้ สเตลล่าต้องออกท่องกาลอวกาศเพื่อรวบรวมส่วนประกอบที่กระจัดกระจายอยู่ในห้วงเวลาต่างๆเพื่อช่วยเหลือคนที่เธอรัก แต่เพื่อจะได้มายังสิ่งที่เธอต้องการ หลายครั้งสเตลล่าถูกบีบให้ตัดสินใจในสถานการณ์ที่ซับซ้อนจนนำความฉิบหายไปสู่สังคมนั้นอย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง ไม่ต่างกับการเข้าแทรกแซงอุษาคเนย์จากมหาอำนาจต่างชาติ วาร์ปบอลจึงกลายเป็นสัญลักษณ์อันทรงพลัง ตั้งคำถามเชิงจริยธรรมของการใช้อำนาจอย่างไม่ระมัดระวัง และความซับซ้อนที่เกิดขึ้นในเชิงประวัติศาสตร์ ความทรงจำ และอัตลักษณ์
ตัวหนังนำเสนอภาพของสังคมไทยปัจจุบันที่ยังคงพยายามหาจุดสมดุลระหว่างค่านิยมดั้งเดิมกับอิทธิพลตะวันตกผ่านตัวละครลูกครึ่งอย่างสเตลล่า และ อิฐ ภาพยนตร์เรื่องนี้สำรวจความซับซ้อนของอัตลักษณ์ผสมผสาน สะท้อนถึงความท้าทายที่คนไทยหลายคนต้องเจอในโลกที่เปลี่ยนไปตามโลกาภิวัตน์
ภาพยนตร์เรื่องนี้วิพากษ์ผลกระทบจากการแทรกแซงของสหรัฐ โดยเฉพาะบทบาทในการกำหนดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของไทย ที่แม้แต่การสำรวจทางโบราณคดีทั่วประเทศและที่บ้านเชียง ที่ทำร่วมกับสถาบันอเมริกันในช่วงสงครามเย็น ก็เปิดโอกาสให้กองทัพสหรัฐเข้าเก็บข้อมูลในภูมิภาคต่างๆเพื่อศึกษาเกี่ยวกับขบวนการคอมมิวนิสต์ สะท้อนให้เห็นว่ามรดกของไทยถูกสร้างผ่านมุมมองของต่างชาติที่มีวาระต่อต้านคอมมิวนิสต์
นอกจากนี้ ผลกระทบของการแทรกแซงของสหรัฐยังขยายไปถึงด้านการเมือง ที่การสนับสนุนรัฐบาลทหารของอเมริกานำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนครั้งสำคัญ จบลงด้วยเหตุการณ์สลดใจอย่างเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 การปราบปรามนักศึกษาที่ประท้วงรัฐบาลอย่างโหดร้ายนี้แสดงให้เห็นผลร้ายแรงของการที่อำนาจต่างชาติสนับสนุนเผด็จการเพราะให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ทางภูมิรัฐศาสตร์มากกว่าคุณค่าประชาธิปไตย ตาคลีเจเนซิส ชี้ว่าการต่อสู้เพื่ออัตลักษณ์และประชาธิปไตยของไทยที่ดำเนินอยู่ภายในไม่อาจแยกออกจากมรดกทางประวัติศาสตร์ของอิทธิพลภายนอก กระตุ้นให้ผู้ชมครุ่นคิดถึงความซับซ้อนอันลึกซึ้งและบาดแผลระหว่างทางสู่การเป็นประเทศสมัยใหม่ของไทย
เรื่องนี้ถูกนำเสนออย่างเจ็บปวดผ่านเส้นเรื่องของก้องและจำนูญ สองตัวละครผู้ไม่แก่ลงเลยจากการผลกระทบของเครื่องตาคลีเจเนซิส จำนูญอดีตบอดี้การ์ดและคนรักของเจ้าหญิงลาวัน ต้องทนทุกข์กับความรู้สึกผิดที่ไม่สามารถปกป้องคนรักจนเธอต้องกลายเป็นสัตว์ประหลาดชั่วกัปชั่วกัลป์ และก้อง ผู้แท้จริงแล้วถูกส่งมาที่บ้านดอนหายจากการกระบวนการกำจัดศพของเหล่านักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เมื่อรัฐบาลทหารได้เปลี่ยนสถานศึกษาอย่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้กลายเป็นตะแลงแกง
ในฉากไคลแมกซ์ของภาพยนตร์ ปรากฎการณ์ Causality Breakdown หรือ มิติเวลาพัง ทำให้เกิดการปะทะสังสรรค์กันของภาพการปราบปรามนักศึกษาอย่างโหดร้ายกับการปราบกบฏเยาวชนแห่งยู-ดอน ในอนาคต โดยมียานอวกาศจาก "นครหลวง" หมุนเคว้งทะลุมิติมาสาดกระสุนถล่มม.ธรรมศาสตร์อย่างน่าตื่นตา การเปรียบเทียบนี้นำไปสู่ข้ออนุมานที่น่ากลัวว่า การเมืองไทยจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง และมรดกของการที่ให้อเมริกาให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ทางภูมิรัฐศาสตร์เหนือคุณค่าประชาธิปไตยจะยังคงอยู่ต่อไปอีกหลายร้อยปี
ด้วยเรื่องราวที่ซับซ้อนหลายชั้น ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงเชิญชวนให้ผู้ชมเผชิญหน้ากับความเจ็บปวดในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของไทย เพื่อตระหนักถึง มือที่มองไม่เห็น ที่ได้หล่อหลอมให้เรากลายเป็นเราอย่างทุกวันนี้
ตาคลีเจเนซิส ทำให้ไซไฟกลายเป็นเสียงของคนไทย พิสูจน์ให้เห็นว่าไซไฟไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่เรื่องเล่าตามขนบโลกตะวันตก ด้วยการผสานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเข้ากับองค์ประกอบเชิงอนาคตสมมติเพื่อรื้อสร้างสิ่งใหม่ และแสดงให้เห็นว่าเสียงจากท้องถิ่นสามารถทั้งท้าทายและนำเสนอมุมมองต่อเรื่องราวระดับนานาชาติอย่างมีเอกลักษณ์ ในขณะที่ยังคงซื่อสัตย์ต่อรากเหง้าของตน
พลังของผู้กำกับโดดเด่นในการถ่ายทอดวัฒนธรรมและความเชื่อท้องถิ่นในพื้นที่ของภาพยนตร์ไซไฟอย่างน่าสนใจ เช่น ฉากการบูชาผีที่บ้านดอนหายใน 15 นาทีแรกของภาพยนตร์ที่อบอวลไปด้วยมนต์ขลังที่ถูกกำกับอย่างอยู่มือเป็นที่ประจักษ์ต่อผู้ชม ยิ่งทรงพลังเมื่อได้รู้ว่า ”ผี” ที่ชาวบ้านหวาดกลัว แท้จริงแล้วเป็นบาดแผลจากผลกระทบของการกระทำจากอเมริกา รวมถึงฉากในช่วงท้ายที่เล่าความคิดถึงคนึงหาระหว่างสเตลล่าและพ่อแม่ของเธอได้อย่างงดงามราวบทกวี เมื่อแม่ของเธอเล่าถึงความฝันว่าเธอได้เกิดใหม่เป็นต้นไม้ใหญ่ ขณะที่พ่อของสเตลล่าอยู่เคียงข้างกันตลอดกาลในฐานะท้องฟ้า
ทว่าการเล่าเรื่องโลกที่กว้างใหญ่ไพศาลทั้งหมดนี้ในเวลาเพียง 2 ชั่วโมงครึ่ง นำความท้าทายที่ปรากฏให้เห็นได้ชัดในหลายจุด เช่น เส้นเรื่องรองที่เกี่ยวข้องกับมิติเวลาและตัวละครจำนวนมาก ซึ่งแม้จะสร้างมิติของโลกที่ซับซ้อน แต่กลับลดทอนน้ำหนักของความสัมพันธ์สำคัญระหว่างตัวละครหลักอย่างสเตลล่าและวาเลน ลูกสาวของเธอ ที่แม้จะเกริ่นไว้ได้น่าสนใจ แต่ก็ไม่ได้ลงลึกไปต่ออย่างน่าเสียดาย
นอกจากนี้ยังมีหลายช่วงที่ทิศทางการกำกับทำให้โลกสมมติที่น่าจะยิ่งใหญ่กลับสะดุด เช่น การบุกค่ายรามสูรที่ดูง่ายดายจนชวนสงสัย หรือการที่สเตลล่าและตัวละครอีกหลายคนสามารถเข้าใจและใช้งาน “วงแหวน 5 วง” ของวาร์ปบอลอย่างรวดเร็ว จนรู้สึกไม่สมเหตุสมผล รวมถึงชอยส์ในการออกแบบโลกอดีตและอนาคต เช่น ชุมชนบ้านเชียงที่ถ่ายทอดออกมาผ่านการแสดงอย่างกึ่ง comedic ชวนให้นึกถึงคนป่าในหนังไทยยุคต้น หรือกลุ่มวัยรุ่นในอีก 200 ปีข้างหน้าที่มีกลิ่นอายของวัฒนธรรมยุค 90 ที่ทำให้รู้สึกหลุดจากแนวทางที่เล่าเรื่องมาในช่วงองก์แรกของหนัง
อย่างไรก็ตาม พลังที่แท้จริงของ ตาคลีเจเนซิส อยู่ที่ความสามารถในการย้อนมองการเผชิญหน้าทางประวัติศาสตร์ของไทยกับอิทธิพลต่างชาติในมุมใหม่ เพื่อสะท้อนความเป็นไปในปัจจุบัน และยังเสนอต่อไปอีกว่า การทบทวนเพื่อทำความเข้าใจอดีตให้ไกลกว่าเรื่องของชัยชนะหรือความพ่ายแพ้นั้น—เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา—กุญแจสำคัญสู่การจินตนาการถึงอนาคตแบบอื่น
ด้วยการผลักดันจาก เนรมิตหนังฟิล์ม หนังเรื่องนี้จึงกลายเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับการจัดจำหน่ายในระดับนานาชาติโดย Warner Bros. แม้ว่าบอกซ์ออฟฟิศในประเทศจะทำรายได้ไปเพียง 5.5 ล้านบาทจากทุนสร้าง 60 ล้านบาท แต่ ตาคลีเจเนซิส ยังคงไปต่อ ด้วยความสำเร็จในการเจรจาลิขสิทธิ์แล้วกว่า 80 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุมทุกภูมิภาคสำคัญ ทั้งอเมริกาเหนือ ละตินอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย เอเชีย และเดินหน้าเข้าถึงผู้ชมทั่วโลกผ่านทางแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งอย่าง Amazon Prime
มากกว่าเรื่องราวของการเดินทางข้ามเวลา ตาคลีเจเนซิส เชิญชวนให้เราย้อนพิจารณา ว่าอดีต หล่อหลอมอัตลักษณ์ปัจจุบันและอนาคตของเราอย่างไร พร้อมพิจารณาถึงความซับซ้อนของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในโลกปัจจุบันและความจำเป็นในการเรียกคืนตัวตนของเรา—บางที—เพื่อจะก้าวข้าม เราต้องมองเข้าไปข้างใน—ยอมรับและเรียกคืนสิ่งที่เป็นของเราอยู่แล้ว เพื่อครุ่นคิดถึงหนทางข้างหน้าอย่างยั่งยืน
งานเขียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความชุด “Mek◊ng Sci-Fi ไซไฟลุ่มน้ำโขง” เขียนโดย บิลลี่ วรกร ฤทัยวาณิชกุล เผยแพร่เป็นภาษาไทย TheMissionTH.co และภาษาอังกฤษ billyvorr.com ภายใต้โครงการสนับสนุนของ 2024 ArtsEquator Fellowship ข้อเขียนและบทวิจารณ์ที่นำเสนอเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนทั้งสิ้น ติดตามผลงานเพิ่มเติมได้ที่ Facebook, IG, X และ Discord
[Mek◊ng Sci-Fi] Taklee Genesis: Decolonizing Thailand from U.S. Influence Through Speculative Fiction
Reflecting on my relationship with America, I find myself in the same boat as millions of Thais—enthralled by the siren song of American pop culture. Watching Titanic in the cinema at eight years old transformed an ordinary night into a life-altering experience. The magic of cinema, with Hollywood's flair for dramatic, unapologetic individualism, opened up a universe of storytelling possibilities that captivated me for over two decades, ultimately shaping my journey as a filmmaker.
As I grew older, however, I began to see the complexities hidden beneath this enchantment. The influx of foreign cultural superpowers, sugarcoated with entertainment and turbocharged by social and technological change, has woven a tangled web of influences into our cultural identity. The shift from rural traditions to urban modernity, compounded by the relentless stream of media, served straight to our smartphones, has left many of us navigating a chaotic intersection of local and foreign. Within this turbulence, Taklee Genesis finds its voice—not just as a film, but as a mirror to our collective struggle to balance relentless change with deeply rooted traditions.
2024 has become a significant year for Thai science fiction, with various ambitious projects shaping the new direction of the genre. Among these, Taklee Genesis (ตาคลีเจเนซิส), directed by Chookiat Sakveerakul, the latest President of the Thai Film Directors Association and the mastermind behind Pisaj (2004), 13 Beloved (2006), and The Love of Siam (2007), stands out. With over 20 years of experience and a relentless drive to push Thai cinema boldly forward, Chookiat's latest work showcases his vision nurtured through his track record of diverse genres, including thriller, family, romance, and queer films, now blended with science fiction and his passion for social issues.
Taklee Genesis exemplifies this vision by boldly exploring the complex relationship between Thailand and American power during the Cold War and the lasting impact on Thai and Southeast Asian history. It combines personal identity, historical memory, and speculative futures, presenting a narrative that challenges us to reconsider the legacies of power, culture, and resistance. Amidst bouquets and brickbats from the local audiences, the film dares to confront and invite us to reflect on these enduring influences that shape our present, even decades later.
Taklee Genesis centers on Stella, a Thai-American single mother returning to her childhood home in Don Hai, Udon Thani, after a plea from her childhood friend, It, about her ailing mother. Accompanied by her daughter, Valen, Stella embarks on a journey that unravels across millennia. Upon arriving, Stella discovers unsettling mysteries: her mother’s request to retrieve her long-vanished American father from another spacetime, and the peculiar immortality of community leader Jamnoon and his son Kong, who have remained unchanged even after 30 years have passed.
The story escalates when Stella receives a mysterious radio transmission from her father. His message reveals a temporal paradox: while decades have passed for Stella, only 30 minutes have elapsed for him. The mystery leads Stella to the heart of the story—the Taklee Genesis device at Ramasun Camp, a secret Vietnam War-era project exploring faster-than-light travel.
The film ambitiously traverses millennia, linking Thailand's ancient Ban Chiang Civilization—a Bronze Age society celebrated for its ceramic innovations and social complexity 3,500 years ago—to U-Dawn, a dystopian vision set 200 years into the future. These temporal shifts transform Udon Thani into a rich speculative tapestry, weaving entertainment with incisive reflections on Thailand's historical journey
Central to the narrative is the Ramasun Camp, modeled after actual U.S. military bases in Thailand during the Vietnam War. These installations represent the profound and lasting effects of America’s intervention in Southeast Asia. Between 1965 and 1975, the United States and its allies dropped over 7.6 million tons of bombs on Vietnam, Laos, and Cambodia—more than double the tonnage used during World War II. Among the horrors were the 270 million bombs scattered across Laos and the widespread deployment of Agent Orange in Vietnam, both of which have left enduring environmental and human devastation, killing generations to this day.
This historical backdrop echoes through the film’s narrative, embodied by Lawan, a Laotian princess who morphs into a bloodthirsty monster from the effect of the Taklee Genesis experiment. Her haunting presence in Don Hai and the desolate future of U-Dawn highlight the inescapable legacies of conflict and the exploitation of vulnerable communities, which continue to shape regional memory and identity.
At the story’s core lies the Warp Ball, a small but potent device capable of altering past, present, and future. As Stella retrieves its missing components across various spacetimes, her actions unintentionally bring disaster to the societies she encounters, paralleling the historical recklessness of foreign intervention in Southeast Asia. The Warp Ball emerges as a powerful metaphor, raising questions about the ethical consequences of wielding unchecked power and the complex interplay between history, memory, and identity.
Taklee Genesis offers a profound exploration of Thailand's tension between traditional values and Western influence. Through half-blood characters, Stella and It, the film examines the complexities of hybrid identities, reflecting the cultural dualities many Thais navigating in a world shaped by modernity and globalization.
The narrative critiques the enduring impact of U.S. intervention, particularly its role in shaping Thailand’s historical narrative. Even archaeological discoveries across the country and at Ban Chiang, conducted in partnership with American institutions during the Cold War, allowed the U.S. Military to gain information on the communists, reflecting how Thai heritage was mediated through foreign agendas aimed at countering communism.
The film underscores the political consequences of U.S. involvement, highlighting how American support for Thailand's military government facilitated significant human rights abuses. This is poignantly illustrated through the backstory of Kong and Chamnoon, characters who remain ageless due to their earlier exposure to the Taklee Genesis device. Chamnoon, the former bodyguard and lover of Princess Lawan, bears endless love and guilt for not being able to protect her, leading to her transformation into an eternal monster. Meanwhile, Kong’s timeline is tied to the tragic events of the Thammasat Massacre in 1976, where government forces turned the university into a killing field for student protesters. Kong, misunderstood as dead, was sent to Don Hai to dispose of the bodies.
In a climactic sequence, the Causality Breakdown juxtaposes the government's brutal crackdown on the students with a futuristic rebellion in U-Dawn, where a spaceship from the "Capital" dramatically traverses dimensions to massacre rebellious youth at Thammasat University. This parallel draws a grim conclusion: political dynamics in Thailand will remain unchanged, and the dire consequences of America's prioritization of its geopolitical interests over democratic values will persist.
Through its layered narratives, Taklee Genesis argues that Thailand’s ongoing struggle for identity and democracy cannot be disentangled from the historical legacies of foreign influence. The film invites viewers to confront the profound and often painful complexities of Thailand's modern journey, urging reflection on the forces that have shaped—and continue to define—who we are today.
Taklee Genesis claims sci-fi as a medium for Thai voices, proving that the genre is not exclusively Western. By blending regional history with speculative elements, it disrupts the status quo and demonstrates how local voices can challenge and enrich international narratives while staying true to their roots.
The strength of the film lies in its ability to reinterpret Thailand’s historical encounters with foreign influence in a new light, reflecting the present and suggesting that understanding the past—not just as a series of victories or defeats, but as a dynamic source of wisdom—is key to envisioning alternative futures.
The director exceptionally weaves local culture and beliefs into the sci-fi genre, captivating the audience with the spellbinding 15-minute opening sequence depicting a ghost-worship ritual in Ban Don Hai. This scene takes on a profound depth when it is revealed that the "ghost" feared by the villagers is, in fact, a haunting scar left by the impact of American actions. Equally evocative is the poetic finale, which tenderly explores the longing between Stella and her parents. In a poignant dream recounted by her mother, she envisions herself reborn as a great tree, standing eternally alongside Stella’s father, who becomes the boundless sky.
However, condensing such an expansive and layered world into a 2.5-hour runtime brings its challenges. Secondary storylines involving time dimensions and a sprawling cast, while contributing to the narrative complexity, dilute the emotional weight of key relationships. This is particularly evident in the bond between Stella and her daughter, Valen, which is hinted at but never fully developed, leaving their arc frustratingly underexplored.
Certain directorial choices further undercut the film’s grander ambitions. The entrance to the Ramasun camp, for instance, unfolds with unreasonable ease, raising questions about the narrative’s stakes. Similarly, characters, including Stella, grasp and wield the intricate "Five Rings" warp-ball technology with unrealistic swiftness, undermining the plausibility of their mastery. The design of past and future worlds also falters at times, with elements like the Ban Chiang community veering into a caricatured primitive aesthetic and a portrayal of teenagers 200 years into the future that feels oddly reminiscent of 1990s pop culture.
However, propelled by Neramitnung Film, Taklee Genesis is the first Thai film to secure an international distribution deal with Warner Bros. Despite earning a modest box office of $161,000 domestically against the budget of $1.76 million, the film has transcended national boundaries, securing distribution rights across 80 countries spanning North America, Latin America, Europe, Australia, and Asia. It is also reaching international audiences through Amazon Prime.
More than a story of time travel, Taklee Genesis invites us to reconsider how the past shapes our current and future identities, urging us to reflect on the complexities of cultural identity and the necessity of reclaiming our sense of self. Perhaps, to transcend, we must first turn inward—acknowledging and reclaiming what is inherently ours to ponder a sustainable path forward.
This essay is a part of the “Mek◊ng Sci-Fi” series by Vorakorn “Billy” Ruetaivanichkul. It is published in English billyvorr.com and Thai TheMissionTH.co and was completed as part of the 2024 ArtsEquator Fellowship. The views expressed are solely those of the author. Connect with him on Facebook, IG, X, or Discord.