MOD : การปฏิวัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญในอังกฤษ จนเป็นมรดกมาถึงปัจจุบัน
MOD : การปฏิวัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญในอังกฤษ จนเป็นมรดกมาถึงปัจจุบัน
24 ม.ค. 2568
SHARE WITH:
24 ม.ค. 2568
24 ม.ค. 2568
SHARE WITH:
SHARE WITH:
MOD : การปฏิวัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญในอังกฤษ จนเป็นมรดกมาถึงปัจจุบัน
"Clean living under difficult circumstances" - ประโยคสั้น ๆ ที่สะท้อนจิตวิญญาณของวัฒนธรรม MOD (Modernists) ได้อย่างชัดเจน
ในช่วงต้นทศวรรษ 1960 ขณะที่สังคมอังกฤษกำลังฟื้นตัวจากบาดแผลของสงครามโลกครั้งที่สอง ภาพวงกลมสามสีหรือ Target Logo ที่มีต้นกำเนิดมาจากตราประจำเครื่องบินของกองทัพอากาศอังกฤษ สัญลักษณ์ของวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งได้สร้างปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่เปลี่ยนโฉมหน้าสังคมอังกฤษไปตลอดกาล
ย้อนกลับไปในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษอยู่ในช่วงฟื้นฟูประเทศ พยายามผลักดันเศรษฐกิจเพื่อสร้างการเติบโต รัฐบาลอังกฤษภายใต้การนำของพรรคแรงงาน (Labour Party) ได้ดำเนินนโยบาย "รัฐสวัสดิการ" (Welfare State) มีการจัดตั้งระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ (NHS) การสร้างบ้านเรือนราคาถูกให้ประชาชน และการขยายโอกาสทางการศึกษาผ่าน Education Act
นโยบายเหล่านี้ได้สร้างพื้นฐานสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องในทศวรรษ 1950 ทำให้เกิดการจ้างงานและรายได้ที่มั่นคง โดยเฉพาะในย่านธุรกิจทางตอนใต้ของลอนดอน เศรษฐกิจที่เติบโตนำมาซึ่งการจ้างงานที่สูงขึ้น เยาวชนจากครอบครัวชนชั้นแรงงานมีรายได้เป็นของตัวเองเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
การมีอิสระในการใช้จ่ายและมีเวลาออกมาใช้ชีวิตมากขึ้น ทำให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มวัยรุ่นที่เรียกตัวเองว่า "MOD" (Modernists) พวกเขาปฏิเสธที่จะจำนนต่อข้อจำกัดทางชนชั้นและวัฒนธรรมแบบเดิม ๆ สร้างตัวตนใหม่ผ่านแฟชั่น ดนตรี และไลฟ์สไตล์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
หนุ่ม ๆ นิยมสวมสูทตัดเย็บแบบ Slim fit ปกแจ็คเก็ตเล็ก ไทด์เส้นเล็ก เดินเป็นกลุ่มกันตามท้องถนน สาวๆสวมกระโปรงมินิสเกิร์ต พร้อมทรงผมทันสมัย การแต่งกายของพวกเขาไม่เพียงแต่สร้างความโดดเด่น แฟชั่นเหล่านี้สามารถสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยเฉพาะในเรื่องเพศและบทบาทของเยาวชน
เอกลักษณ์ที่ชัดเจนของวัฒนธรรม MOD คือการขับขี่สกู๊ตเตอร์สไตล์อิตาเลียนภายใต้แบรนด์อย่าง Vespa และ Lambretta ที่เริ่มเข้ามาทำตลาดในอังกฤษในช่วงเวลานั้น การขับขี่รถสกู๊ตเตอร์กลายเป็นสัญลักษณ์ของอิสรภาพควบคู่ไปกับสไตล์การแต่งตัวที่แปลกใหม่ที่ต่างไปจากขนบเดิมทั้งชายและหญิง นิยมปรับแต่งรถด้วยกระจกมองข้าง ไฟประดับที่ตระการตา และอุปกรณ์ตกแต่งต่าง ๆ เน้นสีสันสดใส
วัยรุ่นนิยมรวมตัวขับขี่สกู๊ตเตอร์ไปยังเมืองชายทะเลในวันหยุด 'Bank Holiday' กลายเป็นประเพณีสำคัญ โดยเฉพาะที่เมือง Brighton, Margate และ Clacton-on-Sea เหตุการณ์ปะทะกันระหว่างกลุ่ม MOD และ Rockers ที่ Brighton ในปี 1964 ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้สังคมหันมาสนใจวัฒนธรรมย่อยนี้มากขึ้น
ดนตรีเป็นหัวใจสำคัญของวัฒนธรรม MOD ในช่วงยุคต้น 1960 วัฒนธรรมดนตรีจากอเมริกาได้เข้ามาในอังกฤษ วัฒนธรรมการฟังเพลงโมเดิร์นแจ๊สโดยมีศิลปินอย่าง Miles Davis และ John Coltrane รวมถึงดนตรีโซลในรูปแบบต่าง ๆ อย่างสไตล์ Motown, R&B และบางครั้งก็มีเพลงบลูส์ สกา และบลูบีตเข้ามาผสมด้วย ร้านกาแฟและไนต์คลับกลายเป็นสถานที่รวมตัว เป็นพื้นที่แห่งการฟังเพลงที่แปลกใหม่ สะสมแผ่นเสียงและการพูดคุยเรื่องดนตรี จนกลายเป็นวิถีชีวิตที่แสดงให้เห็นว่าพวกเขามีความลึกซึ้งทางความคิดและรสนิยม
อีกปรากฏการณ์ทางดนตรีที่สำคัญคือการกำเนิดวงดนตรีวงหนึ่งที่ได้ก้าวขึ้นมาเป็นกระบอกเสียงของคนรุ่นใหม่อย่าง The Who นำโดย Pete Townshend และ Roger Daltrey ได้นำเสนอดนตรีที่ผสมผสานความดิบและความประณีตเข้าด้วยกัน ผสมผสานแนวเพลงต่างๆ นำเสนอแนวทางใหม่ที่ทันสมัย เพลงของพวกเขาสะท้อนชีวิตและความฝันของวัยรุ่นชนชั้นแรงงาน อัลบั้ม "My Generation" ที่ออกในปี 1965 กลายเป็น Manifesto ของวัฒนธรรม MOD อย่างเพลง "My Generation" สะท้อนความรู้สึกของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการแหกกฎเกณฑ์เดิมๆ จากคนรุ่นอดีต หาทางออกจากประเพณีนิยมที่เคยเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมา
llli พูดคุยกับกลุ่ม ModEx' Mods Club กับความหลงใหลในวัฒนธรรม MOD ที่เข้ามาในเมืองไทย
“สิ่งแรกที่เราสนใจก็คือ “รถ - การแต่งรถสกู๊ตเตอร์” Vespa เป็นแบรนด์ที่เป็นอัตลักษณ์ที่ชัดเจนของกลุ่ม MOD ในสมัยก่อนเมืองไทยเรามีการจัดประกวดรถสกู๊ตเตอร์ที่ลาน MBK (ห้างมาบุญครอง) จัดเป็นงานใหญ่ปีละครั้ง เป็นโอกาสให้กับคนที่ชื่นชอบวัฒนธรรมนี้ได้มีพื้นที่แสดงออก การพูดคุยหรือกลุ่มก็จะเป็นในรูปแบบของเว็บบอร์ดอย่าง Thaiscooter.com ที่จะมีห้องแลกเปลี่ยนพูดคุยซื้อขายอะไหล่กันในนั้น หรือออกมาเจอกันตามงานอีเวนต์และทริปต่าง ๆ ทำให้เราได้แลกเปลี่ยนพูดคุยเรื่องราวที่เราชอบเหมือน ๆ กัน”
"เมื่อก่อนเราจะได้ยินเรื่องเล่าว่า MOD ไม่ถูกกับชาว ROCK ว่ะ! จากเรื่องเล่าที่พูดกันในกลุ่มและจากข่าวนิตยสารต่างๆ จนเราก็เห็นฉากของเหตุการณ์ที่ Brighton ในภาพยนตร์ Quadrophenia (1973)"
"ย้อนไปยุคที่วัยรุ่น MOD ต้องเผชิญช่วงวิกฤตราคาค่าน้ำมัน เกิดการแบ่งชนชั้นในสังคมอังกฤษอย่างชัดเจน รวมถึงรสนิยมของวัยรุ่นในแต่ละกลุ่ม ส่วนมาก MOD จะเป็นวัยรุ่นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ ทำงานในเมือง สำอาง ใส่สูท ดูเนี้ยบ ฟังเพลงแจ๊ส บลูส์ มีรสนิยม ส่วนชาว Rocker ก็จะเป็นสายช่าง คนงาน ช่างฝีมือ แล้วชอบฟังเพลงร็อคแอนด์โรล เหมือนเป็นฝั่งหัวโบราณ อนุรักษ์นิยม เมื่อรสนิยมและวัฒนธรรมการขับขี่ที่มันต่างกันมากขนาดนี้ ก็เกิดการ แซว เยาะเย้ยกันไปมาบนท้องถนน จนเป็นที่มาของความรุนแรงที่เกิดขึ้น"
"อังกฤษมีมาตรการควบคุมการรวมตัวของวัยรุ่น กลุ่ม MOD ก็ชอบมีปัญหา รถผิดกฎหมาย ไม่มีกระจกข้าง แตรไม่ดัง ไฟหน้าไม่สว่าง และเป็นพวกชอบประท้วงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ผลจากการที่โดนปรับ โดนจับบ่อยๆ ก็ประชดโดยการติดไฟหน้าจนเต็มแผง หรือเพิ่มกระจกข้างเข้าไป เพื่อที่จะแสดงออกทางสัญลักษณ์ บางกลุ่มก็เลือกกวนตีนเจ้าหน้าที่จากที่ชอบโดนเรียกตรวจรถอยู่บ่อยๆ ส่วนถ้ามองในด้านอื่นๆ ก็ได้แรงบันดาลใจมาจากเครื่องบินรบสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือเรื่องของประโยชน์ใช้สอยที่เวลาขับขี่ไปที่ไกลเจอหมอกหนา ฝนตก ก็ไปที่ส่องสว่างหลายดวงก็เป็นตัวช่วยในการขับขี่ทางไกลได้”
llli "Quadrophenia" (1979) ภาพยนตร์ที่เป็นตำนาน หลักฐานที่จารึกวัฒนธรรม MOD
เป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากอัลบั้มคอนเซ็ปต์ของวง The Who ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้กลายเป็นผลงานคลาสสิกที่จับภาพวัฒนธรรมมอดส์ในช่วงปี 1964 ได้อย่างสมจริงและลึกซึ้ง เล่าผ่านตัวละครหลักอย่าง Jimmy (รับบทโดย Phil Daniels)
ภาพยนตร์นำเสนอชีวิตของวัยรุ่นชนชั้นแรงงานในลอนดอน เบื่อหน่ายทั้งกับชีวิตการทำงาน ชีวิตตัวเอง อยากค้นหาตัวตน กับการออกไปปลดปล่อยตัวเองในยามค่ำคืนด้วยการขี่สกู๊ตเตอร์ เสพยาและเต้นรำในคลับ
“ส่วนหนึ่งที่เราชื่นชอบวัฒนรรมนี้ มันก็มาจากตัวละคร Jimmy ในหนังนี่แหละ มันมีรายละเอียดหลายอย่าง ทั้งในด้านแฟชั่น การแต่งตัว สูทตัดเย็บ เสื้อพาร์ก้า และรองเท้า ภาพที่ขับสกู๊ตเตอร์คู่ใจที่แต่งด้วยไฟหลายๆดวง มันก็กวนๆดี แล้วก็ดนตรีที่เป็นที่นิยมในยุคนั้น ทั้งจาก The Who และศิลปินอื่นๆ การสะท้อนความขัดแย้งทางชนชั้นและการต่อสู้เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ของตนเอง”
llli “Better starve than out of fashion" หรือ "ยอมอดข้าว เพื่อซื้อเสื้อผ้า"
“วลีนี้เกิดขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1950 ตอนที่ MOD เพิ่งเริ่มต้นในอังกฤษ วัยรุ่นชนชั้นแรงงานต้องการยกระดับตัวเองผ่านการแต่งกาย พวกเขายอมประหยัด เก็บไว้ซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนม สูทตัดเย็บอย่างดี และรองเท้าหนังคุณภาพสูง เพื่อให้ดูภูมิฐานไม่ต่างจากชนชั้นกลางหรือชนชั้นสูง
“ปัจจุบันนี้ก็คล้ายๆกัน เสื้อผ้าในแนวนี้มันค่อนข้างแพง เราก็ค่อยๆตามเก็บ ยิ่งเรามีข้อมูลแล้วไปหาของตามที่ต่างๆ จะรู้ว่าของยิ่งปีลึกเขาก็เล่นกันแพงมาก ไม่ใช่แค่เสื้อผ้านะ รวมถึงอะไล่รถด้วย แต่เมื่อก่อนมันเป็นการสะท้อนการต่อสู้ทางชนชั้นและความพยายามในการสร้างอัตลักษณ์ของตนเอง”
llli เข้าใจวัฒนธรรมผ่านมุมมองที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
“ถ้าเทียบกันมันก็เหมือนเด็กแว้นสมัยนี้ กิน เที่ยว อัพยา ไปปาร์ตี้ ต่างกันก็แค่เมื่อก่อนมันยังไม่มีการดัดแปลงรถอะไรมากมาย ไม่มีท่อ หรือปรับแต่งเครื่องให้แรง”
“ผมว่าที่น่าสนใจคือการแต่งรถโดยการใช้องค์ประกอบเรื่องการจัดวาง สีสันที่ การออกแบบเลย์เอาท์บนรถตัวเองมากกว่า รถสกู๊ตเตอร์ของ MOD แต่ละคนมันจะไม่แต่งอะไรซ้ำกันเลย เป็นงานอดิเรกที่เรารู้สึกว่าได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ รถแต่ละคันเหมือนงานศิลปะที่เป็นลายเซนต์ของตัวเอง มันเป็นสเน่ห์ของวัฒนธรรมนี้ที่เราสนใจ
“เรามองว่าก็ไม่ควรไปก่อนกวนเสียงดัง หรือทำผิดกฎ จนทำให้คนอื่นเดือดร้อน การขับขี่แต่ละครั้งก็ไม่ควรไปก่อกวนชาวบ้าน มีเรื่องหรือท้าทายกันจนนำไปสู่ความรุนแรง ซึ่งกลุ่มเราก็ไม่เคยมี ”
แม้ความนิยมของวัฒนธรรม MOD จะลดลงในช่วงปลายทศวรรษ 1960 แต่อิทธิพลของพวกเขายังคงอยู่จนถึงปัจจุบันทั้งในด้านแฟชั่น ดนตรี และแนวคิดเรื่องการสร้างตัวตน แบรนด์แฟชั่นชั้นนำยังคงได้แรงบันดาลใจจากสไตล์ MOD มาผสมผสานในผลงาน และแตกแขนงไปสู่วัฒนธรรมอื่นๆตามยุคสมัย
"Clean living under difficult circumstances" สโลกแกนที่แฝงด้วยปรัชญาแสดงให้เราเห็นว่า แม้ในยามที่สังคมเผชิญความท้าทาย เราก็สามารถสร้างความหมายและความงามให้กับชีวิตได้เสมอ นี่คือมรดกอันล้ำค่าที่วัฒนธรรม MOD ได้มอบให้กับคนรุ่นหลัง
"Clean living under difficult circumstances" - ประโยคสั้น ๆ ที่สะท้อนจิตวิญญาณของวัฒนธรรม MOD (Modernists) ได้อย่างชัดเจน
ในช่วงต้นทศวรรษ 1960 ขณะที่สังคมอังกฤษกำลังฟื้นตัวจากบาดแผลของสงครามโลกครั้งที่สอง ภาพวงกลมสามสีหรือ Target Logo ที่มีต้นกำเนิดมาจากตราประจำเครื่องบินของกองทัพอากาศอังกฤษ สัญลักษณ์ของวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งได้สร้างปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่เปลี่ยนโฉมหน้าสังคมอังกฤษไปตลอดกาล
ย้อนกลับไปในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษอยู่ในช่วงฟื้นฟูประเทศ พยายามผลักดันเศรษฐกิจเพื่อสร้างการเติบโต รัฐบาลอังกฤษภายใต้การนำของพรรคแรงงาน (Labour Party) ได้ดำเนินนโยบาย "รัฐสวัสดิการ" (Welfare State) มีการจัดตั้งระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ (NHS) การสร้างบ้านเรือนราคาถูกให้ประชาชน และการขยายโอกาสทางการศึกษาผ่าน Education Act
นโยบายเหล่านี้ได้สร้างพื้นฐานสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องในทศวรรษ 1950 ทำให้เกิดการจ้างงานและรายได้ที่มั่นคง โดยเฉพาะในย่านธุรกิจทางตอนใต้ของลอนดอน เศรษฐกิจที่เติบโตนำมาซึ่งการจ้างงานที่สูงขึ้น เยาวชนจากครอบครัวชนชั้นแรงงานมีรายได้เป็นของตัวเองเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
การมีอิสระในการใช้จ่ายและมีเวลาออกมาใช้ชีวิตมากขึ้น ทำให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มวัยรุ่นที่เรียกตัวเองว่า "MOD" (Modernists) พวกเขาปฏิเสธที่จะจำนนต่อข้อจำกัดทางชนชั้นและวัฒนธรรมแบบเดิม ๆ สร้างตัวตนใหม่ผ่านแฟชั่น ดนตรี และไลฟ์สไตล์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
หนุ่ม ๆ นิยมสวมสูทตัดเย็บแบบ Slim fit ปกแจ็คเก็ตเล็ก ไทด์เส้นเล็ก เดินเป็นกลุ่มกันตามท้องถนน สาวๆสวมกระโปรงมินิสเกิร์ต พร้อมทรงผมทันสมัย การแต่งกายของพวกเขาไม่เพียงแต่สร้างความโดดเด่น แฟชั่นเหล่านี้สามารถสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยเฉพาะในเรื่องเพศและบทบาทของเยาวชน
เอกลักษณ์ที่ชัดเจนของวัฒนธรรม MOD คือการขับขี่สกู๊ตเตอร์สไตล์อิตาเลียนภายใต้แบรนด์อย่าง Vespa และ Lambretta ที่เริ่มเข้ามาทำตลาดในอังกฤษในช่วงเวลานั้น การขับขี่รถสกู๊ตเตอร์กลายเป็นสัญลักษณ์ของอิสรภาพควบคู่ไปกับสไตล์การแต่งตัวที่แปลกใหม่ที่ต่างไปจากขนบเดิมทั้งชายและหญิง นิยมปรับแต่งรถด้วยกระจกมองข้าง ไฟประดับที่ตระการตา และอุปกรณ์ตกแต่งต่าง ๆ เน้นสีสันสดใส
วัยรุ่นนิยมรวมตัวขับขี่สกู๊ตเตอร์ไปยังเมืองชายทะเลในวันหยุด 'Bank Holiday' กลายเป็นประเพณีสำคัญ โดยเฉพาะที่เมือง Brighton, Margate และ Clacton-on-Sea เหตุการณ์ปะทะกันระหว่างกลุ่ม MOD และ Rockers ที่ Brighton ในปี 1964 ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้สังคมหันมาสนใจวัฒนธรรมย่อยนี้มากขึ้น
ดนตรีเป็นหัวใจสำคัญของวัฒนธรรม MOD ในช่วงยุคต้น 1960 วัฒนธรรมดนตรีจากอเมริกาได้เข้ามาในอังกฤษ วัฒนธรรมการฟังเพลงโมเดิร์นแจ๊สโดยมีศิลปินอย่าง Miles Davis และ John Coltrane รวมถึงดนตรีโซลในรูปแบบต่าง ๆ อย่างสไตล์ Motown, R&B และบางครั้งก็มีเพลงบลูส์ สกา และบลูบีตเข้ามาผสมด้วย ร้านกาแฟและไนต์คลับกลายเป็นสถานที่รวมตัว เป็นพื้นที่แห่งการฟังเพลงที่แปลกใหม่ สะสมแผ่นเสียงและการพูดคุยเรื่องดนตรี จนกลายเป็นวิถีชีวิตที่แสดงให้เห็นว่าพวกเขามีความลึกซึ้งทางความคิดและรสนิยม
อีกปรากฏการณ์ทางดนตรีที่สำคัญคือการกำเนิดวงดนตรีวงหนึ่งที่ได้ก้าวขึ้นมาเป็นกระบอกเสียงของคนรุ่นใหม่อย่าง The Who นำโดย Pete Townshend และ Roger Daltrey ได้นำเสนอดนตรีที่ผสมผสานความดิบและความประณีตเข้าด้วยกัน ผสมผสานแนวเพลงต่างๆ นำเสนอแนวทางใหม่ที่ทันสมัย เพลงของพวกเขาสะท้อนชีวิตและความฝันของวัยรุ่นชนชั้นแรงงาน อัลบั้ม "My Generation" ที่ออกในปี 1965 กลายเป็น Manifesto ของวัฒนธรรม MOD อย่างเพลง "My Generation" สะท้อนความรู้สึกของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการแหกกฎเกณฑ์เดิมๆ จากคนรุ่นอดีต หาทางออกจากประเพณีนิยมที่เคยเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมา
llli พูดคุยกับกลุ่ม ModEx' Mods Club กับความหลงใหลในวัฒนธรรม MOD ที่เข้ามาในเมืองไทย
“สิ่งแรกที่เราสนใจก็คือ “รถ - การแต่งรถสกู๊ตเตอร์” Vespa เป็นแบรนด์ที่เป็นอัตลักษณ์ที่ชัดเจนของกลุ่ม MOD ในสมัยก่อนเมืองไทยเรามีการจัดประกวดรถสกู๊ตเตอร์ที่ลาน MBK (ห้างมาบุญครอง) จัดเป็นงานใหญ่ปีละครั้ง เป็นโอกาสให้กับคนที่ชื่นชอบวัฒนธรรมนี้ได้มีพื้นที่แสดงออก การพูดคุยหรือกลุ่มก็จะเป็นในรูปแบบของเว็บบอร์ดอย่าง Thaiscooter.com ที่จะมีห้องแลกเปลี่ยนพูดคุยซื้อขายอะไหล่กันในนั้น หรือออกมาเจอกันตามงานอีเวนต์และทริปต่าง ๆ ทำให้เราได้แลกเปลี่ยนพูดคุยเรื่องราวที่เราชอบเหมือน ๆ กัน”
"เมื่อก่อนเราจะได้ยินเรื่องเล่าว่า MOD ไม่ถูกกับชาว ROCK ว่ะ! จากเรื่องเล่าที่พูดกันในกลุ่มและจากข่าวนิตยสารต่างๆ จนเราก็เห็นฉากของเหตุการณ์ที่ Brighton ในภาพยนตร์ Quadrophenia (1973)"
"ย้อนไปยุคที่วัยรุ่น MOD ต้องเผชิญช่วงวิกฤตราคาค่าน้ำมัน เกิดการแบ่งชนชั้นในสังคมอังกฤษอย่างชัดเจน รวมถึงรสนิยมของวัยรุ่นในแต่ละกลุ่ม ส่วนมาก MOD จะเป็นวัยรุ่นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ ทำงานในเมือง สำอาง ใส่สูท ดูเนี้ยบ ฟังเพลงแจ๊ส บลูส์ มีรสนิยม ส่วนชาว Rocker ก็จะเป็นสายช่าง คนงาน ช่างฝีมือ แล้วชอบฟังเพลงร็อคแอนด์โรล เหมือนเป็นฝั่งหัวโบราณ อนุรักษ์นิยม เมื่อรสนิยมและวัฒนธรรมการขับขี่ที่มันต่างกันมากขนาดนี้ ก็เกิดการ แซว เยาะเย้ยกันไปมาบนท้องถนน จนเป็นที่มาของความรุนแรงที่เกิดขึ้น"
"อังกฤษมีมาตรการควบคุมการรวมตัวของวัยรุ่น กลุ่ม MOD ก็ชอบมีปัญหา รถผิดกฎหมาย ไม่มีกระจกข้าง แตรไม่ดัง ไฟหน้าไม่สว่าง และเป็นพวกชอบประท้วงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ผลจากการที่โดนปรับ โดนจับบ่อยๆ ก็ประชดโดยการติดไฟหน้าจนเต็มแผง หรือเพิ่มกระจกข้างเข้าไป เพื่อที่จะแสดงออกทางสัญลักษณ์ บางกลุ่มก็เลือกกวนตีนเจ้าหน้าที่จากที่ชอบโดนเรียกตรวจรถอยู่บ่อยๆ ส่วนถ้ามองในด้านอื่นๆ ก็ได้แรงบันดาลใจมาจากเครื่องบินรบสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือเรื่องของประโยชน์ใช้สอยที่เวลาขับขี่ไปที่ไกลเจอหมอกหนา ฝนตก ก็ไปที่ส่องสว่างหลายดวงก็เป็นตัวช่วยในการขับขี่ทางไกลได้”
llli "Quadrophenia" (1979) ภาพยนตร์ที่เป็นตำนาน หลักฐานที่จารึกวัฒนธรรม MOD
เป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากอัลบั้มคอนเซ็ปต์ของวง The Who ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้กลายเป็นผลงานคลาสสิกที่จับภาพวัฒนธรรมมอดส์ในช่วงปี 1964 ได้อย่างสมจริงและลึกซึ้ง เล่าผ่านตัวละครหลักอย่าง Jimmy (รับบทโดย Phil Daniels)
ภาพยนตร์นำเสนอชีวิตของวัยรุ่นชนชั้นแรงงานในลอนดอน เบื่อหน่ายทั้งกับชีวิตการทำงาน ชีวิตตัวเอง อยากค้นหาตัวตน กับการออกไปปลดปล่อยตัวเองในยามค่ำคืนด้วยการขี่สกู๊ตเตอร์ เสพยาและเต้นรำในคลับ
“ส่วนหนึ่งที่เราชื่นชอบวัฒนรรมนี้ มันก็มาจากตัวละคร Jimmy ในหนังนี่แหละ มันมีรายละเอียดหลายอย่าง ทั้งในด้านแฟชั่น การแต่งตัว สูทตัดเย็บ เสื้อพาร์ก้า และรองเท้า ภาพที่ขับสกู๊ตเตอร์คู่ใจที่แต่งด้วยไฟหลายๆดวง มันก็กวนๆดี แล้วก็ดนตรีที่เป็นที่นิยมในยุคนั้น ทั้งจาก The Who และศิลปินอื่นๆ การสะท้อนความขัดแย้งทางชนชั้นและการต่อสู้เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ของตนเอง”
llli “Better starve than out of fashion" หรือ "ยอมอดข้าว เพื่อซื้อเสื้อผ้า"
“วลีนี้เกิดขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1950 ตอนที่ MOD เพิ่งเริ่มต้นในอังกฤษ วัยรุ่นชนชั้นแรงงานต้องการยกระดับตัวเองผ่านการแต่งกาย พวกเขายอมประหยัด เก็บไว้ซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนม สูทตัดเย็บอย่างดี และรองเท้าหนังคุณภาพสูง เพื่อให้ดูภูมิฐานไม่ต่างจากชนชั้นกลางหรือชนชั้นสูง
“ปัจจุบันนี้ก็คล้ายๆกัน เสื้อผ้าในแนวนี้มันค่อนข้างแพง เราก็ค่อยๆตามเก็บ ยิ่งเรามีข้อมูลแล้วไปหาของตามที่ต่างๆ จะรู้ว่าของยิ่งปีลึกเขาก็เล่นกันแพงมาก ไม่ใช่แค่เสื้อผ้านะ รวมถึงอะไล่รถด้วย แต่เมื่อก่อนมันเป็นการสะท้อนการต่อสู้ทางชนชั้นและความพยายามในการสร้างอัตลักษณ์ของตนเอง”
llli เข้าใจวัฒนธรรมผ่านมุมมองที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
“ถ้าเทียบกันมันก็เหมือนเด็กแว้นสมัยนี้ กิน เที่ยว อัพยา ไปปาร์ตี้ ต่างกันก็แค่เมื่อก่อนมันยังไม่มีการดัดแปลงรถอะไรมากมาย ไม่มีท่อ หรือปรับแต่งเครื่องให้แรง”
“ผมว่าที่น่าสนใจคือการแต่งรถโดยการใช้องค์ประกอบเรื่องการจัดวาง สีสันที่ การออกแบบเลย์เอาท์บนรถตัวเองมากกว่า รถสกู๊ตเตอร์ของ MOD แต่ละคนมันจะไม่แต่งอะไรซ้ำกันเลย เป็นงานอดิเรกที่เรารู้สึกว่าได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ รถแต่ละคันเหมือนงานศิลปะที่เป็นลายเซนต์ของตัวเอง มันเป็นสเน่ห์ของวัฒนธรรมนี้ที่เราสนใจ
“เรามองว่าก็ไม่ควรไปก่อนกวนเสียงดัง หรือทำผิดกฎ จนทำให้คนอื่นเดือดร้อน การขับขี่แต่ละครั้งก็ไม่ควรไปก่อกวนชาวบ้าน มีเรื่องหรือท้าทายกันจนนำไปสู่ความรุนแรง ซึ่งกลุ่มเราก็ไม่เคยมี ”
แม้ความนิยมของวัฒนธรรม MOD จะลดลงในช่วงปลายทศวรรษ 1960 แต่อิทธิพลของพวกเขายังคงอยู่จนถึงปัจจุบันทั้งในด้านแฟชั่น ดนตรี และแนวคิดเรื่องการสร้างตัวตน แบรนด์แฟชั่นชั้นนำยังคงได้แรงบันดาลใจจากสไตล์ MOD มาผสมผสานในผลงาน และแตกแขนงไปสู่วัฒนธรรมอื่นๆตามยุคสมัย