ขยล ตันติชาติวัฒน์ มุ่งมั่นปลุกปั้น ‘เมทเธียร์’ ผลักดันไทยสู่ Smart Sustainable City

ขยล ตันติชาติวัฒน์ มุ่งมั่นปลุกปั้น ‘เมทเธียร์’ ผลักดันไทยสู่ Smart Sustainable City

21 พ.ย. 2567

SHARE WITH:

21 พ.ย. 2567

21 พ.ย. 2567

SHARE WITH:

SHARE WITH:

ขยล ตันติชาติวัฒน์ มุ่งมั่นปลุกปั้น ‘เมทเธียร์’ ผลักดันไทยสู่ Smart Sustainable City

“หลักสำคัญของ ‘ผู้นำ’ ในวันนี้คือต้องมองเห็นอนาคตให้ไกลกว่าคนอื่น และนำพาทุกคนไปยังทิศทางที่ถูกต้องเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น”

วิสัยทัศน์ข้างต้นคือสิ่งที่ ขยล ตันติชาติวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เมทเธียร์ จำกัด (Metthier) ตกตะกอนได้จากการทำงานในฐานะนักการตลาดในหลายธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต อาหาร และอสังหาริมทรัพย์ และหล่อหลอมเป็นแนวคิดขับเคลื่อนองค์กรผู้ให้บริการด้านการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์อัจฉริยะ (Smart Facility Management) ซึ่งเขารับหน้าที่หัวเรือใหญ่ในปัจจุบัน


llli ‘เทคโนโลยี’ คือเครื่องมือสร้างความแตกต่าง

การคาดการณ์อนาคตได้ไกลกว่าคนอื่นจนนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง พร้อมสร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้ธุรกิจนั้น ต้องเริ่มจากการเป็นคน ‘ช่างสังเกต’ สำรวจความเคลื่อนไหวของแบรนด์ธุรกิจต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวในชีวิตประจำวัน เพื่อเรียนรู้และนำมาประยุกต์ใช้ในการ ‘สร้างความแตกต่าง’ ให้ธุรกิจของตัวเองและประสบความสำเร็จเหนือคู่แข่งในตลาด 

แนวคิดข้างต้นคือสิ่งที่ทำให้ขยลมองเห็นว่า ‘เทคโนโลยี’ ค่อย ๆ แทรกซึมเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องและสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ให้เกิดขึ้นในหลายวงการ อีกทั้งเป็นอนาคตที่แทบทุกธุรกิจต้องปรับตัวตามให้ทัน ประจวบเหมาะกับเขาได้รู้จักกับ บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้บริการ Tech Solutions แบบครบวงจร รวมถึงระบบรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ

“ความเป็นคนช่างสังเกตและต้องการสร้างความแตกต่างทำให้ผมเห็นเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่กำลังคืบคลานเข้ามาเรื่อย ๆ บวกกับสกาย ไอซีที เองก็เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีอยู่แล้ว ทำให้ผมไม่ลังเลใจเลยในการก้าวเข้าสู่ธุรกิจใหม่และมีส่วนร่วมกับบริษัทในฐานะ Chief Marketing Officer (ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการตลาด) ซึ่งได้มีโอกาสพัฒนาอะไรหลาย ๆ อย่าง เช่น CCTV Integration Platform และ Sawasdee by AOT แอปพลิเคชันเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของท่าอากาศยานไทย และทำให้ผมมั่นใจว่า ‘เทคโนโลยี’ จะกลายเป็นธุรกิจใหม่ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญสำหรับประเทศไทยและในระดับโลกอย่างแน่นอน”

จากนั้นขยลก็ได้ก้าวขึ้นสู่บทบาทใหม่ในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านเทคโนโลยี (Chief Technology Officer) ซึ่งมาพร้อมกับความเชื่อมั่นที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ เกี่ยวกับนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เขาได้ยกเครื่องระบบภายในบริษัทด้วยการฟอร์มทีม ‘เนบิวลา’ (Nebula) ขึ้นมาเพื่อสร้างบรรยากาศการทำงานใหม่คล้าย ๆ กับ tech startup ที่ให้เหล่านักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developers) สายเลือดใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยแพชชันได้ปล่อยไอเดียและสร้างสรรค์ซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มต่าง ๆ ภายใต้สภาพแวดล้อมแบบ sandbox เพื่อเรียนรู้และพัฒนาจากความสำเร็จและความผิดพลาดที่เกิดขึ้น

“การทำงานแบบนี้กลายเป็นที่มาของการเห็นโอกาสในตลาดจากสิ่งที่เรามี ประเทศไทยอยากจะเป็น ‘Smart City’ สิ่งที่เรามีคือ ‘Software as a Service’ ที่จะสามารถนำไปสู่ Smart City ได้ เราจึงพยายามที่จะทำ Smart Security Platform เพื่อตอบโจทย์และผลักดันประเทศไทยให้ไปข้างหน้า”


llli กำเนิด ‘เมทเธียร์’ กับเป้าหมายในการเป็น Smart City

“คำว่า Smart City ทำให้เราทำการบ้านกันเยอะมากว่าประเทศไทยขาดอะไร ซึ่งเราก็พบว่าประเทศไทยขาดผู้ที่จะ connect the dots เข้าด้วยกัน

ขยลเล่าว่าเขามีโอกาสได้ไปดูงานด้าน Smart City ในต่างประเทศอยู่หลายครั้ง แต่ละเมืองจะมีห้องควบคุมอัจฉริยะ (Intelligence Operation Center (IOC)) ที่แสดงข้อมูลต่าง ๆ ของการบริหารจัดการเมืองไว้ทั้งหมด เช่น ระบบ CCTV ที่กระจายตัวไปทั่วเมือง ซึ่งใช้เทคโนโลยี AI ในการค้นหาและระบุตัวตนด้วยข้อมูลอัตลักษณ์เฉพาะบุคคล รวมไปถึงระบบคมนาคม ระบบแสดงการใช้พลังงานไฟฟ้า การใช้น้ำ ระบบแสดงระดับน้ำตามประตูระบายน้ำต่าง ๆ หรือแม้แต่ระบบเก็บขยะที่หน้าจอจะแสดงให้เห็นว่าถังขยะตรงจุดไหนเต็มแล้วบ้าง มีการเก็บไปแล้วหรือยัง รถขยะขับผ่านพื้นที่ไหนของเมืองแล้วบ้าง มีการแยกขยะประเภทไหน ปริมาณเท่าไรไปในแต่ละวัน อีกทั้งยังมีระบบที่แสดงให้เห็นว่าแต่ละพื้นที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกในปริมาณเท่าใดด้วย นั่นคือภาพที่ขยลต้องการให้ประเทศไทยเป็นในอนาคต 

อย่างไรก็ตามการไปถึงจุดหมายนั้นได้ ภาครัฐและภาคเอกชนต้องขับเคลื่อนนโยบายต่าง ๆ เกี่ยวกับเมืองไปด้วยกัน แต่ในปัจจุบันทั้งสองภาคส่วนของไทยยังคงทำงานเป็นเอกเทศจากกัน ดังนั้น ‘เมทเธียร์’ จึงเกิดขึ้นและเปิดตัวไปเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 โดยมีเป้าหมายในการนำเทคโนโลยีมาเชื่อมโยงทุกจุด ทุกภาคส่วนของเมืองเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้ทุกคนในประเทศไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นภายใต้ Smart Sustainable City 

เมทเธียร์เริ่มต้นที่ ‘อสังหาริมทรัพย์’ (Real Estate) เพราะเป็นสิ่งที่ทุกคนในเมืองใช้ชีวิตอยู่ร่วมด้วยมากที่สุด ซึ่งไม่ได้ครอบคลุมอยู่แค่คำว่าบ้านหรือคอนโดมิเนียมที่เป็นที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่ยังขยายไปถึงอาคารสำนักงานของภาครัฐ ภาคการเงิน และมหาวิทยาลัย โครงการมิกซ์ยูส (Mixed-Use Building) โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม และศูนย์การค้า โดยทั้งหมดนี้มีความต้องการในด้านเทคโนโลยีที่ใกล้เคียงกัน จึงเกิดเป็นบริการเฉพาะด้านสำหรับอาคารสถานที่เหล่านี้โดยเฉพาะที่เรียกว่า ‘Smart Facility Management’ หรือการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์อัจฉริยะ อันประกอบไปด้วย

Smart Building Platform ซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของอาคารสถานที่ เช่น ระบบควบคุมการเข้าออกแบบอัตโนมัติ (Access Control Solution) และระบบจอดรถอัจฉริยะ (Smart Parking Solution) โดยคำนึงถึงเรื่องการรักษาความปลอดภัยเป็นหลัก ผ่านการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า (Face Recognition) และการจดจำเลขทะเบียนรถ (License Plate Recognition) รวมถึงระบบกล้องวงจรปิด (CCTV Integration Platform) 
Security as a Service บริการรักษาความปลอดภัยด้วยระบบซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัย (Security Software) ที่มาพร้อมกับทีมบุคลากรและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่สามารถปฏิบัติงานร่วมกับกล้องวงจรปิด AI CCTV ผ่านศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะของเมทเธียร์ หรือ Metthier Intelligence Operation Center (MIOC) ตลอด 24 ชั่วโมงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Facility Management Service บริการรักษาความสะอาดโดยทีมแม่บ้านผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งทำงานร่วมกับหุ่นยนต์อัจฉริยะ (Smart Robotics) ที่ขับเคลื่อนผ่านระบบ AI และปฏิบัติงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง

“เราต้องการเป็นผู้นำเทรนด์ในประเทศไทย ที่เปลี่ยนธุรกิจแบบดั้งเดิมที่ใช้เพียงแรงงานคนให้กลายเป็น technology-driven facility management หรือผู้ให้บริการด้านการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งจนถึงตอนนี้ก็เป็นเวลาหนึ่งปีนิด ๆ แล้ว และมี use cases ให้เห็นว่าสามารถลดแรงงานคนไปได้ 25 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราเอาเทคโนโลยีมาแทนคน ไม่ใช่เลย มันคือการนำเทคโนโลยีมาทดแทนตำแหน่งงานที่อันตรายหรือหาคนมาทำได้ยากอยู่แล้ว บริการของเราคือการเข้าไปช่วยเหลือคนให้สามารถทำงานร่วมกันกับเทคโนโลยีได้” 

ในเวลาเพียงปีเศษ ความฝันของขยลในการ ‘connect the dots’ เริ่มก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น บริการที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีทันสมัยของเมทเธียร์กระจายตัวไปอยู่ในทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงบริการสาธารณะอย่างสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ อย่างไรก็ตามขยลยอมรับว่า ณ ปัจจุบัน ยังไม่สามารถเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลหรือดาต้าเบส (database) เข้าหาซึ่งกันและกันได้ครบทุกมิติของสังคม

“ตอนนี้เราเริ่มเชื่อมโยงได้แล้วในระดับธุรกิจของเราในส่วนที่เป็นบริการรักษาความปลอดภัยที่ให้รปภ. ทำงานร่วมกับ CCTV และบริการรักษาความสะอาดที่เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างแม่บ้านและหุ่นยนต์ แต่งานระบบ Smart Sustainable City ที่เราตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะทำให้ได้เพื่อเชื่อมต่อทุกจุด ทุกภาคส่วนในไทย ต้องยอมรับว่ายังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งน่าจะเห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในปีหน้า” 

llli ซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ประเด็นสิ่งแวดล้อม

“สิ่งที่เรากำลังทำอยู่ตอนนี้คืองานระบบซอฟต์แวร์ Smart Building ที่พัฒนาให้เป็นตัวรวมศูนย์ดาต้าเบสจริง ๆ และทำให้แต่ละเซกเตอร์ของอสังหาริมทรัพย์หรืออาคารสถานที่หันมามองว่านี่คือสิ่งที่พวกเขาต้องมี”

ซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มในระบบ Smart Building ที่เมทเธียร์จะเปิดตัวสู่ตลาดในอนาคตนี้ นอกจากจะมีระบบ AI CCTV ที่ควบคุมกล้องวงจรปิดและเก็บข้อมูลด้านความปลอดภัยรวมศูนย์ไว้ในที่เดียวเป็นฟีเจอร์หลักตามความต้องการพื้นฐานของกลุ่มลูกค้าแล้ว ยังจะมีระบบ ‘Smart Energy Management’ ที่สามารถเก็บ รวบรวม และบูรณาการข้อมูลเกี่ยวกับการใช้พลังงานในองค์กร เพื่อให้แต่ละบริษัทที่ใช้บริการซอฟต์แวร์นี้ของเมทเธียร์สามารถนำไปต่อยอดและพัฒนาองค์กรได้อย่างยั่งยืนตามหลักการ ESG (Environmental, Social, and Governance) โดยยกระดับศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ จากเดิมที่ควบคุมอยู่ในพื้นที่ของเมทเธียร์ (MIOC) เท่านั้นไปเป็นเวอร์ชั่นที่สามารถติดตั้งในพื้นที่อาคารสถานที่ของผู้ใช้บริการ โดยสามารถแสดงผลข้อมูลทุกอย่างที่ผู้ใช้บริการต้องการจะเห็นได้เลย

“ประเด็นสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่คนพูดถึงกันทั้งโลก ประเทศไทยเองก็ประกาศแล้วว่าจะบรรลุเป้าหมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ให้ได้ในปี 2050 และจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 ผมเลยรู้สึกว่านี่แหละคือโอกาสที่เราจะมีส่วนร่วมในประเด็นสิ่งแวดล้อมตามแนวคิด ESG และสร้างความตระหนักต่อสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นในกลุ่มลูกค้าผ่านบริการของเรา ด้วยการสร้างระบบซอฟต์แวร์ที่จะเก็บข้อมูลและแสดงผลให้เห็นว่ากิจกรรมต่าง ๆ หรือการใช้พลังงานในบริษัทหรือองค์กรของผู้ใช้บริการกำลังปล่อยคาร์บอนสู่โลกในปริมาณเท่าไร

“หลายองค์กรตั้ง KPI สำหรับเรื่องนี้ไว้ แต่ทำไม่ได้จริง เพราะไม่ได้กระตุ้นให้พนักงานในองค์กรทำสิ่งนี้เป็นกิจวัตรในแต่ละวันอย่างยั่งยืน เราเลยเริ่มทำในอาคารออฟฟิศเราก่อนด้วยการนำสมาร์ตมิเตอร์ไปติดเพื่อดูว่าแต่ละอุปกรณ์ในสำนักงานใช้พลังงานเท่าไร แล้วตั้งค่า KPI ไว้ว่าเราจะประหยัดการใช้พลังงานลงได้เท่าไร ซึ่งนำไปสู่ข้อมูลที่ว่าเราสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกได้เท่าไร เมื่อทดลองจนรู้แล้วว่าแพตเทิร์นแบบไหนเวิร์ก เราก็พัฒนาเป็น smart software ที่สามารถเก็บข้อมูลเรื่องการใช้พลังงานได้ และยังต่อยอดไปถึงเรื่องการใช้ green energy ได้ด้วย เช่น บางองค์กรรณรงค์ให้พนักงานใช้รถยนต์ไฟฟ้า EV ก็สามารถใช้ซอฟต์แวร์ของเราในการเก็บข้อมูลได้ว่าคนในองค์กรใช้พลังงานจาก EV Charger ไปเท่าไร เพื่อยืนยันเป็นสถิติได้ว่าเขาบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนตามหลักการ ESG ด้วยการเปลี่ยนจากแก๊สและน้ำมันไปเป็นไฟฟ้าได้
“สำหรับผม ซอฟต์แวร์นี้ของเมทเธียร์คือหนึ่งทางออกสำหรับประเทศไทยในการเก็บข้อมูล ทั้งในเรื่องของความปลอดภัยและการควบคุมหรือบริหารจัดการค่า KPI หรือโร้ดแมปต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของ ESG รวมไปถึง Carbon Neutrality และ Net Zero ในปี 2050 และปี 2065”

llli สร้างคุณค่าแก่องค์กรและสังคมอย่างยั่งยืน

“การสร้างคุณค่าต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นได้นั้นต้องมาพร้อมกับความยั่งยืน”

เป้าหมายของขยลและเมทเธียร์นั้นคือการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็น Smart Sustainable City ซึ่งการจะพาตัวเองไปถึงจุดนั้นได้ นอกจากซอฟต์แวร์และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีของบริษัทที่พัฒนาอย่างล้ำสมัยแล้ว การวางแผนกลยุทธ์ในการดำเนินงานขององค์กรให้มี ‘ความยั่งยืน’ ก็เป็นสิ่งสำคัญด้วยเช่นกัน โดยขยลอธิบายว่าต้องประกอบไปด้วย 3 ปัจจัย ดังต่อไปนี้

            ธุรกิจต้องมีกำไร - บริษัทจะสร้างคุณค่า (value) ต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นได้นั้น อย่างแรกเลยคือต้องมีกำไร เพื่อให้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างยาวนาน มิเช่นนั้นแล้วอนาคตของบริษัทย่อมสั่นคลอน ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถจ้างงานหรือส่งเสริมคุณภาพชีวิตของลูกจ้างและครอบครัวให้มีความเป็นอยู่ที่ดีได้ 

ยึดลูกค้าเป็นที่ตั้ง - สังเกตและวิเคราะห์ให้ได้ว่าความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าคืออะไร และพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงบริการต่าง ๆ ที่สามารถสร้างคุณค่า ความคุ้มค่า และความยั่งยืนให้แก่ลูกค้ามากที่สุด หรือแม้กระทั่งเติมเต็มสิ่งที่ขาดหรือลดภาระความกังวลบางอย่างในฝั่งของลูกค้าได้ด้วย

กระตุ้นให้พนักงานรู้สึกถึงคุณค่าในสิ่งที่กำลังสร้างสรรค์ - เมทเธียร์จะก้าวไปข้างหน้าได้อย่างไม่หยุดยั้งและยั่งยืนก็ต่อเมื่อพนักงานในองค์กรรู้สึกว่างานที่ตัวเองทำมีคุณค่า ไม่ใช่แค่กับตัวเองและองค์กร แต่รวมไปถึงทุกคนในสังคมและประเทศไทย ทำให้พวกเขาเชื่อว่าทุกอย่างที่กำลังสร้างสรรค์เป็นไปเพื่อเป้าหมายในการผลักดันให้เกิดคำว่า Smart Sustainable City ขึ้นได้จริงในประเทศไทย ซึ่งถึงแม้ว่าจะยังทำไม่ได้ดีร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ขยลยืนยันว่านี่คือสิ่งสำคัญที่บริษัทจะทอดทิ้งไม่ได้

ปัจจัยทั้งสามนี้ไม่เพียงสร้างคุณค่าที่นำไปสู่ความยั่งยืนขององค์กรในประเด็นสังคมตามหลัก ESG เท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงเมทเธียร์เข้ากับบริบททางสังคมในปัจจุบันด้วย เช่น การใช้เทคโนโลยีเข้ามาส่งเสริมการจ้างแรงงานสูงอายุและผู้พิการ ซึ่งเป็นไปตามแนวคิด connect the dots หรือเชื่อมโยงทุกจุดในสังคมที่ขยลเชื่อมั่นมาโดยตลอด 

“ประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีนตระหนักเรื่อง Aged Society แล้ว หรือสิงคโปร์ที่กำหนดเลยว่าต้องจ้างงานเป็นจำนวนกี่เปอร์เซ็นต์ เพราะคนแก่ไม่มีรายได้ ไม่มีคนเลี้ยงดู ซึ่งมันกลับกันเลยกับประเทศไทยที่ไม่รับคนอายุ 55 หรือ 60 เข้าทำงานแล้ว แล้วเขาจะเอาเงินจากที่ไหนมาใช้ เราเลยเห็นโอกาสว่าถ้าอย่างนั้นเอาเทคโนโลยีเข้าไปเสริมสิ เช่น เอาหุ่นยนต์เข้าไปช่วยงานรักษาความสะอาด มันไม่ใช่แค่การสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้สูงอายุที่มาทำอาชีพแม่บ้านรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า เพราะพวกเขาใช้เทคโนโลยีเป็น ทำงานกับหุ่นยนต์ได้ ซึ่งนำไปสู่ความภาคภูมิใจ และเราเองก็สามารถผลักดันให้พวกเขากลายเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่แม่บ้านในองค์กรอื่น ๆ ได้เห็นว่ามันไม่ได้ยากเกินไปเลยนะสำหรับคนสูงวัยที่จะเรียนรู้และใช้งานเทคโนโลยี

“สำหรับผู้พิการ เราจ้างงานผู้พิการในระบบหลังบ้านของเราในเรื่องการขนส่งโลจิสติกส์ โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนให้พวกเขาสามารถบริหารจัดการคลังสินค้าได้อย่างเป็นระบบ ทำให้พวกเขาทำงานได้ง่ายขึ้น นำไปสู่การเห็นคุณค่าในตัวเอง”

llli ขับเคลื่อนสู่อนาคตด้วยดาต้าเบสและเทคโนโลยี

ปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า ‘เทคโนโลยี’ คือแกนหลักสำคัญที่จะเชื่อมโยงภาครัฐและภาคเอกชนเข้าด้วยกัน อีกทั้งช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานของภาคธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยเข้าไปเป็นตัวช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และบูรณาการข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ เพื่อนำไปต่อยอดเป็นนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าให้แก่คนในสังคม หรือขับเคลื่อนองค์กรให้เป็นไปอย่างยั่งยืนในอนาคต

“ทุกสิ่งเกิดขึ้นได้ ความเชื่อต้องมาก่อน เราต้องเชื่อมั่นในตัวเองและทีมงานของเราแล้วลงมือทำ พยายามเชื่อมต่อจุดแต่ละจุดไปเรื่อย ๆ แต่ที่สำคัญคือคุณต้องมีดาต้าเบสด้วยเพื่อที่จะได้รู้ว่าควรจะต่อยอดไปทิศทางไหน แต่ถ้ายังไม่รู้ว่าจะไปในมิติใด เมทเธียร์คือคำตอบที่จะช่วยให้คุณสามารถสร้างระบบข้อมูลพื้นฐานด้วยซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มและเทคโนโลยีที่ต่อยอดองค์กรในการสร้างคุณค่าให้สังคมและก้าวสู่ความยั่งยืนตามหลักการ ESG และ SDGs (Sustainable Development Goals) ได้” ขยลกล่าวปิดท้าย




“หลักสำคัญของ ‘ผู้นำ’ ในวันนี้คือต้องมองเห็นอนาคตให้ไกลกว่าคนอื่น และนำพาทุกคนไปยังทิศทางที่ถูกต้องเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น”

วิสัยทัศน์ข้างต้นคือสิ่งที่ ขยล ตันติชาติวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เมทเธียร์ จำกัด (Metthier) ตกตะกอนได้จากการทำงานในฐานะนักการตลาดในหลายธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต อาหาร และอสังหาริมทรัพย์ และหล่อหลอมเป็นแนวคิดขับเคลื่อนองค์กรผู้ให้บริการด้านการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์อัจฉริยะ (Smart Facility Management) ซึ่งเขารับหน้าที่หัวเรือใหญ่ในปัจจุบัน


llli ‘เทคโนโลยี’ คือเครื่องมือสร้างความแตกต่าง

การคาดการณ์อนาคตได้ไกลกว่าคนอื่นจนนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง พร้อมสร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้ธุรกิจนั้น ต้องเริ่มจากการเป็นคน ‘ช่างสังเกต’ สำรวจความเคลื่อนไหวของแบรนด์ธุรกิจต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวในชีวิตประจำวัน เพื่อเรียนรู้และนำมาประยุกต์ใช้ในการ ‘สร้างความแตกต่าง’ ให้ธุรกิจของตัวเองและประสบความสำเร็จเหนือคู่แข่งในตลาด 

แนวคิดข้างต้นคือสิ่งที่ทำให้ขยลมองเห็นว่า ‘เทคโนโลยี’ ค่อย ๆ แทรกซึมเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องและสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ให้เกิดขึ้นในหลายวงการ อีกทั้งเป็นอนาคตที่แทบทุกธุรกิจต้องปรับตัวตามให้ทัน ประจวบเหมาะกับเขาได้รู้จักกับ บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้บริการ Tech Solutions แบบครบวงจร รวมถึงระบบรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ

“ความเป็นคนช่างสังเกตและต้องการสร้างความแตกต่างทำให้ผมเห็นเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่กำลังคืบคลานเข้ามาเรื่อย ๆ บวกกับสกาย ไอซีที เองก็เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีอยู่แล้ว ทำให้ผมไม่ลังเลใจเลยในการก้าวเข้าสู่ธุรกิจใหม่และมีส่วนร่วมกับบริษัทในฐานะ Chief Marketing Officer (ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการตลาด) ซึ่งได้มีโอกาสพัฒนาอะไรหลาย ๆ อย่าง เช่น CCTV Integration Platform และ Sawasdee by AOT แอปพลิเคชันเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของท่าอากาศยานไทย และทำให้ผมมั่นใจว่า ‘เทคโนโลยี’ จะกลายเป็นธุรกิจใหม่ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญสำหรับประเทศไทยและในระดับโลกอย่างแน่นอน”

จากนั้นขยลก็ได้ก้าวขึ้นสู่บทบาทใหม่ในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านเทคโนโลยี (Chief Technology Officer) ซึ่งมาพร้อมกับความเชื่อมั่นที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ เกี่ยวกับนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เขาได้ยกเครื่องระบบภายในบริษัทด้วยการฟอร์มทีม ‘เนบิวลา’ (Nebula) ขึ้นมาเพื่อสร้างบรรยากาศการทำงานใหม่คล้าย ๆ กับ tech startup ที่ให้เหล่านักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developers) สายเลือดใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยแพชชันได้ปล่อยไอเดียและสร้างสรรค์ซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มต่าง ๆ ภายใต้สภาพแวดล้อมแบบ sandbox เพื่อเรียนรู้และพัฒนาจากความสำเร็จและความผิดพลาดที่เกิดขึ้น

“การทำงานแบบนี้กลายเป็นที่มาของการเห็นโอกาสในตลาดจากสิ่งที่เรามี ประเทศไทยอยากจะเป็น ‘Smart City’ สิ่งที่เรามีคือ ‘Software as a Service’ ที่จะสามารถนำไปสู่ Smart City ได้ เราจึงพยายามที่จะทำ Smart Security Platform เพื่อตอบโจทย์และผลักดันประเทศไทยให้ไปข้างหน้า”


llli กำเนิด ‘เมทเธียร์’ กับเป้าหมายในการเป็น Smart City

“คำว่า Smart City ทำให้เราทำการบ้านกันเยอะมากว่าประเทศไทยขาดอะไร ซึ่งเราก็พบว่าประเทศไทยขาดผู้ที่จะ connect the dots เข้าด้วยกัน

ขยลเล่าว่าเขามีโอกาสได้ไปดูงานด้าน Smart City ในต่างประเทศอยู่หลายครั้ง แต่ละเมืองจะมีห้องควบคุมอัจฉริยะ (Intelligence Operation Center (IOC)) ที่แสดงข้อมูลต่าง ๆ ของการบริหารจัดการเมืองไว้ทั้งหมด เช่น ระบบ CCTV ที่กระจายตัวไปทั่วเมือง ซึ่งใช้เทคโนโลยี AI ในการค้นหาและระบุตัวตนด้วยข้อมูลอัตลักษณ์เฉพาะบุคคล รวมไปถึงระบบคมนาคม ระบบแสดงการใช้พลังงานไฟฟ้า การใช้น้ำ ระบบแสดงระดับน้ำตามประตูระบายน้ำต่าง ๆ หรือแม้แต่ระบบเก็บขยะที่หน้าจอจะแสดงให้เห็นว่าถังขยะตรงจุดไหนเต็มแล้วบ้าง มีการเก็บไปแล้วหรือยัง รถขยะขับผ่านพื้นที่ไหนของเมืองแล้วบ้าง มีการแยกขยะประเภทไหน ปริมาณเท่าไรไปในแต่ละวัน อีกทั้งยังมีระบบที่แสดงให้เห็นว่าแต่ละพื้นที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกในปริมาณเท่าใดด้วย นั่นคือภาพที่ขยลต้องการให้ประเทศไทยเป็นในอนาคต 

อย่างไรก็ตามการไปถึงจุดหมายนั้นได้ ภาครัฐและภาคเอกชนต้องขับเคลื่อนนโยบายต่าง ๆ เกี่ยวกับเมืองไปด้วยกัน แต่ในปัจจุบันทั้งสองภาคส่วนของไทยยังคงทำงานเป็นเอกเทศจากกัน ดังนั้น ‘เมทเธียร์’ จึงเกิดขึ้นและเปิดตัวไปเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 โดยมีเป้าหมายในการนำเทคโนโลยีมาเชื่อมโยงทุกจุด ทุกภาคส่วนของเมืองเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้ทุกคนในประเทศไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นภายใต้ Smart Sustainable City 

เมทเธียร์เริ่มต้นที่ ‘อสังหาริมทรัพย์’ (Real Estate) เพราะเป็นสิ่งที่ทุกคนในเมืองใช้ชีวิตอยู่ร่วมด้วยมากที่สุด ซึ่งไม่ได้ครอบคลุมอยู่แค่คำว่าบ้านหรือคอนโดมิเนียมที่เป็นที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่ยังขยายไปถึงอาคารสำนักงานของภาครัฐ ภาคการเงิน และมหาวิทยาลัย โครงการมิกซ์ยูส (Mixed-Use Building) โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม และศูนย์การค้า โดยทั้งหมดนี้มีความต้องการในด้านเทคโนโลยีที่ใกล้เคียงกัน จึงเกิดเป็นบริการเฉพาะด้านสำหรับอาคารสถานที่เหล่านี้โดยเฉพาะที่เรียกว่า ‘Smart Facility Management’ หรือการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์อัจฉริยะ อันประกอบไปด้วย

Smart Building Platform ซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของอาคารสถานที่ เช่น ระบบควบคุมการเข้าออกแบบอัตโนมัติ (Access Control Solution) และระบบจอดรถอัจฉริยะ (Smart Parking Solution) โดยคำนึงถึงเรื่องการรักษาความปลอดภัยเป็นหลัก ผ่านการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า (Face Recognition) และการจดจำเลขทะเบียนรถ (License Plate Recognition) รวมถึงระบบกล้องวงจรปิด (CCTV Integration Platform) 
Security as a Service บริการรักษาความปลอดภัยด้วยระบบซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัย (Security Software) ที่มาพร้อมกับทีมบุคลากรและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่สามารถปฏิบัติงานร่วมกับกล้องวงจรปิด AI CCTV ผ่านศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะของเมทเธียร์ หรือ Metthier Intelligence Operation Center (MIOC) ตลอด 24 ชั่วโมงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Facility Management Service บริการรักษาความสะอาดโดยทีมแม่บ้านผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งทำงานร่วมกับหุ่นยนต์อัจฉริยะ (Smart Robotics) ที่ขับเคลื่อนผ่านระบบ AI และปฏิบัติงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง

“เราต้องการเป็นผู้นำเทรนด์ในประเทศไทย ที่เปลี่ยนธุรกิจแบบดั้งเดิมที่ใช้เพียงแรงงานคนให้กลายเป็น technology-driven facility management หรือผู้ให้บริการด้านการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งจนถึงตอนนี้ก็เป็นเวลาหนึ่งปีนิด ๆ แล้ว และมี use cases ให้เห็นว่าสามารถลดแรงงานคนไปได้ 25 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราเอาเทคโนโลยีมาแทนคน ไม่ใช่เลย มันคือการนำเทคโนโลยีมาทดแทนตำแหน่งงานที่อันตรายหรือหาคนมาทำได้ยากอยู่แล้ว บริการของเราคือการเข้าไปช่วยเหลือคนให้สามารถทำงานร่วมกันกับเทคโนโลยีได้” 

ในเวลาเพียงปีเศษ ความฝันของขยลในการ ‘connect the dots’ เริ่มก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น บริการที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีทันสมัยของเมทเธียร์กระจายตัวไปอยู่ในทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงบริการสาธารณะอย่างสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ อย่างไรก็ตามขยลยอมรับว่า ณ ปัจจุบัน ยังไม่สามารถเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลหรือดาต้าเบส (database) เข้าหาซึ่งกันและกันได้ครบทุกมิติของสังคม

“ตอนนี้เราเริ่มเชื่อมโยงได้แล้วในระดับธุรกิจของเราในส่วนที่เป็นบริการรักษาความปลอดภัยที่ให้รปภ. ทำงานร่วมกับ CCTV และบริการรักษาความสะอาดที่เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างแม่บ้านและหุ่นยนต์ แต่งานระบบ Smart Sustainable City ที่เราตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะทำให้ได้เพื่อเชื่อมต่อทุกจุด ทุกภาคส่วนในไทย ต้องยอมรับว่ายังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งน่าจะเห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในปีหน้า” 

llli ซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ประเด็นสิ่งแวดล้อม

“สิ่งที่เรากำลังทำอยู่ตอนนี้คืองานระบบซอฟต์แวร์ Smart Building ที่พัฒนาให้เป็นตัวรวมศูนย์ดาต้าเบสจริง ๆ และทำให้แต่ละเซกเตอร์ของอสังหาริมทรัพย์หรืออาคารสถานที่หันมามองว่านี่คือสิ่งที่พวกเขาต้องมี”

ซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มในระบบ Smart Building ที่เมทเธียร์จะเปิดตัวสู่ตลาดในอนาคตนี้ นอกจากจะมีระบบ AI CCTV ที่ควบคุมกล้องวงจรปิดและเก็บข้อมูลด้านความปลอดภัยรวมศูนย์ไว้ในที่เดียวเป็นฟีเจอร์หลักตามความต้องการพื้นฐานของกลุ่มลูกค้าแล้ว ยังจะมีระบบ ‘Smart Energy Management’ ที่สามารถเก็บ รวบรวม และบูรณาการข้อมูลเกี่ยวกับการใช้พลังงานในองค์กร เพื่อให้แต่ละบริษัทที่ใช้บริการซอฟต์แวร์นี้ของเมทเธียร์สามารถนำไปต่อยอดและพัฒนาองค์กรได้อย่างยั่งยืนตามหลักการ ESG (Environmental, Social, and Governance) โดยยกระดับศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ จากเดิมที่ควบคุมอยู่ในพื้นที่ของเมทเธียร์ (MIOC) เท่านั้นไปเป็นเวอร์ชั่นที่สามารถติดตั้งในพื้นที่อาคารสถานที่ของผู้ใช้บริการ โดยสามารถแสดงผลข้อมูลทุกอย่างที่ผู้ใช้บริการต้องการจะเห็นได้เลย

“ประเด็นสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่คนพูดถึงกันทั้งโลก ประเทศไทยเองก็ประกาศแล้วว่าจะบรรลุเป้าหมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ให้ได้ในปี 2050 และจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 ผมเลยรู้สึกว่านี่แหละคือโอกาสที่เราจะมีส่วนร่วมในประเด็นสิ่งแวดล้อมตามแนวคิด ESG และสร้างความตระหนักต่อสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นในกลุ่มลูกค้าผ่านบริการของเรา ด้วยการสร้างระบบซอฟต์แวร์ที่จะเก็บข้อมูลและแสดงผลให้เห็นว่ากิจกรรมต่าง ๆ หรือการใช้พลังงานในบริษัทหรือองค์กรของผู้ใช้บริการกำลังปล่อยคาร์บอนสู่โลกในปริมาณเท่าไร

“หลายองค์กรตั้ง KPI สำหรับเรื่องนี้ไว้ แต่ทำไม่ได้จริง เพราะไม่ได้กระตุ้นให้พนักงานในองค์กรทำสิ่งนี้เป็นกิจวัตรในแต่ละวันอย่างยั่งยืน เราเลยเริ่มทำในอาคารออฟฟิศเราก่อนด้วยการนำสมาร์ตมิเตอร์ไปติดเพื่อดูว่าแต่ละอุปกรณ์ในสำนักงานใช้พลังงานเท่าไร แล้วตั้งค่า KPI ไว้ว่าเราจะประหยัดการใช้พลังงานลงได้เท่าไร ซึ่งนำไปสู่ข้อมูลที่ว่าเราสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกได้เท่าไร เมื่อทดลองจนรู้แล้วว่าแพตเทิร์นแบบไหนเวิร์ก เราก็พัฒนาเป็น smart software ที่สามารถเก็บข้อมูลเรื่องการใช้พลังงานได้ และยังต่อยอดไปถึงเรื่องการใช้ green energy ได้ด้วย เช่น บางองค์กรรณรงค์ให้พนักงานใช้รถยนต์ไฟฟ้า EV ก็สามารถใช้ซอฟต์แวร์ของเราในการเก็บข้อมูลได้ว่าคนในองค์กรใช้พลังงานจาก EV Charger ไปเท่าไร เพื่อยืนยันเป็นสถิติได้ว่าเขาบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนตามหลักการ ESG ด้วยการเปลี่ยนจากแก๊สและน้ำมันไปเป็นไฟฟ้าได้
“สำหรับผม ซอฟต์แวร์นี้ของเมทเธียร์คือหนึ่งทางออกสำหรับประเทศไทยในการเก็บข้อมูล ทั้งในเรื่องของความปลอดภัยและการควบคุมหรือบริหารจัดการค่า KPI หรือโร้ดแมปต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของ ESG รวมไปถึง Carbon Neutrality และ Net Zero ในปี 2050 และปี 2065”

llli สร้างคุณค่าแก่องค์กรและสังคมอย่างยั่งยืน

“การสร้างคุณค่าต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นได้นั้นต้องมาพร้อมกับความยั่งยืน”

เป้าหมายของขยลและเมทเธียร์นั้นคือการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็น Smart Sustainable City ซึ่งการจะพาตัวเองไปถึงจุดนั้นได้ นอกจากซอฟต์แวร์และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีของบริษัทที่พัฒนาอย่างล้ำสมัยแล้ว การวางแผนกลยุทธ์ในการดำเนินงานขององค์กรให้มี ‘ความยั่งยืน’ ก็เป็นสิ่งสำคัญด้วยเช่นกัน โดยขยลอธิบายว่าต้องประกอบไปด้วย 3 ปัจจัย ดังต่อไปนี้

            ธุรกิจต้องมีกำไร - บริษัทจะสร้างคุณค่า (value) ต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นได้นั้น อย่างแรกเลยคือต้องมีกำไร เพื่อให้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างยาวนาน มิเช่นนั้นแล้วอนาคตของบริษัทย่อมสั่นคลอน ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถจ้างงานหรือส่งเสริมคุณภาพชีวิตของลูกจ้างและครอบครัวให้มีความเป็นอยู่ที่ดีได้ 

ยึดลูกค้าเป็นที่ตั้ง - สังเกตและวิเคราะห์ให้ได้ว่าความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าคืออะไร และพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงบริการต่าง ๆ ที่สามารถสร้างคุณค่า ความคุ้มค่า และความยั่งยืนให้แก่ลูกค้ามากที่สุด หรือแม้กระทั่งเติมเต็มสิ่งที่ขาดหรือลดภาระความกังวลบางอย่างในฝั่งของลูกค้าได้ด้วย

กระตุ้นให้พนักงานรู้สึกถึงคุณค่าในสิ่งที่กำลังสร้างสรรค์ - เมทเธียร์จะก้าวไปข้างหน้าได้อย่างไม่หยุดยั้งและยั่งยืนก็ต่อเมื่อพนักงานในองค์กรรู้สึกว่างานที่ตัวเองทำมีคุณค่า ไม่ใช่แค่กับตัวเองและองค์กร แต่รวมไปถึงทุกคนในสังคมและประเทศไทย ทำให้พวกเขาเชื่อว่าทุกอย่างที่กำลังสร้างสรรค์เป็นไปเพื่อเป้าหมายในการผลักดันให้เกิดคำว่า Smart Sustainable City ขึ้นได้จริงในประเทศไทย ซึ่งถึงแม้ว่าจะยังทำไม่ได้ดีร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ขยลยืนยันว่านี่คือสิ่งสำคัญที่บริษัทจะทอดทิ้งไม่ได้

ปัจจัยทั้งสามนี้ไม่เพียงสร้างคุณค่าที่นำไปสู่ความยั่งยืนขององค์กรในประเด็นสังคมตามหลัก ESG เท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงเมทเธียร์เข้ากับบริบททางสังคมในปัจจุบันด้วย เช่น การใช้เทคโนโลยีเข้ามาส่งเสริมการจ้างแรงงานสูงอายุและผู้พิการ ซึ่งเป็นไปตามแนวคิด connect the dots หรือเชื่อมโยงทุกจุดในสังคมที่ขยลเชื่อมั่นมาโดยตลอด 

“ประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีนตระหนักเรื่อง Aged Society แล้ว หรือสิงคโปร์ที่กำหนดเลยว่าต้องจ้างงานเป็นจำนวนกี่เปอร์เซ็นต์ เพราะคนแก่ไม่มีรายได้ ไม่มีคนเลี้ยงดู ซึ่งมันกลับกันเลยกับประเทศไทยที่ไม่รับคนอายุ 55 หรือ 60 เข้าทำงานแล้ว แล้วเขาจะเอาเงินจากที่ไหนมาใช้ เราเลยเห็นโอกาสว่าถ้าอย่างนั้นเอาเทคโนโลยีเข้าไปเสริมสิ เช่น เอาหุ่นยนต์เข้าไปช่วยงานรักษาความสะอาด มันไม่ใช่แค่การสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้สูงอายุที่มาทำอาชีพแม่บ้านรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า เพราะพวกเขาใช้เทคโนโลยีเป็น ทำงานกับหุ่นยนต์ได้ ซึ่งนำไปสู่ความภาคภูมิใจ และเราเองก็สามารถผลักดันให้พวกเขากลายเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่แม่บ้านในองค์กรอื่น ๆ ได้เห็นว่ามันไม่ได้ยากเกินไปเลยนะสำหรับคนสูงวัยที่จะเรียนรู้และใช้งานเทคโนโลยี

“สำหรับผู้พิการ เราจ้างงานผู้พิการในระบบหลังบ้านของเราในเรื่องการขนส่งโลจิสติกส์ โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนให้พวกเขาสามารถบริหารจัดการคลังสินค้าได้อย่างเป็นระบบ ทำให้พวกเขาทำงานได้ง่ายขึ้น นำไปสู่การเห็นคุณค่าในตัวเอง”

llli ขับเคลื่อนสู่อนาคตด้วยดาต้าเบสและเทคโนโลยี

ปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า ‘เทคโนโลยี’ คือแกนหลักสำคัญที่จะเชื่อมโยงภาครัฐและภาคเอกชนเข้าด้วยกัน อีกทั้งช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานของภาคธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยเข้าไปเป็นตัวช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และบูรณาการข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ เพื่อนำไปต่อยอดเป็นนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าให้แก่คนในสังคม หรือขับเคลื่อนองค์กรให้เป็นไปอย่างยั่งยืนในอนาคต

“ทุกสิ่งเกิดขึ้นได้ ความเชื่อต้องมาก่อน เราต้องเชื่อมั่นในตัวเองและทีมงานของเราแล้วลงมือทำ พยายามเชื่อมต่อจุดแต่ละจุดไปเรื่อย ๆ แต่ที่สำคัญคือคุณต้องมีดาต้าเบสด้วยเพื่อที่จะได้รู้ว่าควรจะต่อยอดไปทิศทางไหน แต่ถ้ายังไม่รู้ว่าจะไปในมิติใด เมทเธียร์คือคำตอบที่จะช่วยให้คุณสามารถสร้างระบบข้อมูลพื้นฐานด้วยซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มและเทคโนโลยีที่ต่อยอดองค์กรในการสร้างคุณค่าให้สังคมและก้าวสู่ความยั่งยืนตามหลักการ ESG และ SDGs (Sustainable Development Goals) ได้” ขยลกล่าวปิดท้าย




Text:

Witthawat P.

Witthawat P.

PHOTO:

Chanathip K

Chanathip K

Related Posts