Maddy Hopper รองเท้าผ้าใบที่ตั้งใจให้ใส่ได้ทุกวัน จากวัสดุรีไซเคิลที่ต้นทางอยู่ในชีวิตของผู้คน

Maddy Hopper รองเท้าผ้าใบที่ตั้งใจให้ใส่ได้ทุกวัน จากวัสดุรีไซเคิลที่ต้นทางอยู่ในชีวิตของผู้คน

8 มี.ค. 2567

SHARE WITH:

8 มี.ค. 2567

8 มี.ค. 2567

SHARE WITH:

SHARE WITH:

Maddy Hopper รองเท้าผ้าใบที่ตั้งใจให้ใส่ได้ทุกวัน จากวัสดุรีไซเคิลที่ต้นทางอยู่ในชีวิตของผู้คน

“ผมว่าความท้าทายมันอยู่ในการทำธุรกิจอยู่แล้วครับ แต่ว่าความยั่งยืนมันเพิ่มเข้ามาอีก คือความท้าทายที่ว่า เราสามารถทำในสิ่งที่เราคิดได้หรือเปล่า เราต้องคิดมากกว่าในเรื่องนี้ด้วย ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องเล็กครับ มันเป็นเรื่องที่เหมือนกับมีอีกพาร์ตใหญ่ๆ เพิ่มเข้ามา”

จากวัยรุ่นวัยย่าง 27 สองคน ภาคิน โรจนเวคิน และ ชาญ สิทธิญาวณิชย์ ที่อยากได้รองเท้าใส่สบายทุกวัน บวกกับความต้องการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม จึงเกิดเป็น Maddy Hopper แบรนด์รองเท้าผ้าใบที่มาพร้อมกับหมัดฮุคที่ว่า ‘รองเท้าผลิตจากขวดพลาสติก’ โดยที่ตอนนั้นทั้งคู่มีความรู้ในเรื่องธุรกิจเพียงอย่างเดียว

สิ่งที่จะมาเติมเต็มด้านดีไซน์ของรองเท้าจึงเป็นแพชชั่น ซึ่งต้องทำงานร่วมกันกับมิชชั่นที่จะสร้างสรรค์รองเท้าที่ทำมาจากวัสดุรีไซเคิลให้ได้ทั้งหมด การเดินเท้าบนระยะเวลา 3 ปีของ Maddy Hopper จึงเริ่มต้นขึ้น

 

IIIi - ขวดพลาสติก เศษฟูกเตียง ยางพาราธรรมชาติ และการเย็บมือ ตอบโจทย์ทุกข้ออย่างที่ต้องการ

จากโจทย์ที่ตั้งไว้คือรองเท้าผ้าใบรักษ์โลกที่ใช้งานได้ทุกวัน การทำรีเสิร์ชจึงเป็นไฟต์บังคับข้อแรกที่ทำให้ทั้งสองต้องเริ่มเรียนรู้เรื่องงานดีไซน์จากศูนย์

“เราเริ่มตั้งแต่กูเกิลว่า รองเท้าทำยังไง ต้องใช้กระบวนการยังไงบ้าง โรงงานมีกี่แบบ แล้วในระบบนิเวศของการทำรองเท้ามันมีฟังก์ชั่นไหนบ้าง แล้วค่อยศึกษาต่อว่า เราจะเปลี่ยนบางสิ่งในนั้นให้มันยั่งยืนขึ้นได้ยังไงบ้าง” ทั้งสองเริ่มจากการแก้ปัญหาที่ต้นทางเป็นระยะเวลาร่วมปี ก่อนจะออกมาเป็นโปรดักต์จริง

สิ่งสำคัญของการผลิตคือวัสดุตั้งต้น ความท้าทายแรกที่ต้องพบเจอคือการควานหาวัสดุจากทั่วสารทิศที่มีอยู่ในท้องตลาดให้ได้ตามสเปกและวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

“พอเป็นแนวคิดแบบนี้ กลายเป็นว่ารองเท้าทั้งคู่ เราต้องหาซัพพลายเออร์ของแต่ละชิ้นส่วนของรองเท้าจากต่างที่กัน และสามารถทำตามความพอใจในเรื่องความยั่งยืนให้กับเราได้ ซึ่งตอนนั้นไม่ได้ง่ายตรงที่ว่า ตัวผ้าขวดพลาสติกไม่ได้มีเยอะขนาดนั้น เราก็ไปหาจนเจอ ถึงแม้เราจะไม่ได้เอาขวดพลาสติกมารีไซเคิลเอง แต่เราก็ต้องมานั่งทดลองกับเขา ว่าต้องเป็นผ้าที่สีได้ด้วย แล้วต้องผลิตใหม่”

“หรืออย่างตัวแผ่นรองเท้าก็ไม่ใช่แผ่นสำเร็จรูป เราก็พยายามหาว่าอะไรที่มันยั่งยืนและมีฟังก์ชั่นซัพพอร์ตเท้าได้ด้วย เราก็ไปเจอว่า ยางพาราของประเทศไทยมันน่าจะช่วยได้ดี เราคุยกับโรงงานเตียงแทนที่จะเป็นโรงงานรองเท้า แล้วก็พลิกแพลงเอาเศษฟูกเตียงที่เหลือจากการตัดขอบเอามาอัดเป็นแผ่นใหม่ ส่วนพื้นโซลรองเท้า เราก็ใช้ยางพาราธรรมชาติ”

แน่นอนว่า การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมาสักชิ้น อุดมคติคือต้องการให้ทุกส่วนของรองเท้าเป็นวัสดุทดแทนทั้งหมด แต่ในความเป็นจริงในแง่ของการใช้งานก็ต้องประนีประนอมกับวัสดุและการทำงานบ้าง เช่นใช้ยางพาราธรรมชาติ ที่อาจไม่ได้เป็นผลลัพธ์จากกระบวนการรีไซเคิล แต่อย่างน้อยก็เป็นวัสดุธรรมชาติที่ทำงานได้ดีกว่า

“อย่างรองเท้าคู่แรกสุดที่เคยทำ ตอนนี้ก็ยังอยู่ที่บ้านอยู่เลย แล้วก็ยังวนใส่เรื่อยๆ” นี่คือข้อพิสูจน์ในเรื่องความทนทานได้อย่างดี

“เพราะเราใช้การประกอบรองเท้าแบบเย็บแทนที่จะติดกาวเฉยๆ ทำให้รองเท้าของเราไม่อ้าหลังจากใช้ไปนานๆ”

 

IIIi - การเริ่มต้นธุรกิจของความยั่งยืน และการเดินทางต่อด้วยดีไซน์

อีกหนึ่งความยากในการเริ่มต้นทำแบรนด์ด้านความยั่งยืนคือเรื่องการสื่อสารเริ่มต้น ทั้งคู่ใช้กลยุทธ์​ของราคาถูกเป็นหลัก เพื่อให้เข้าถึงคนได้ง่าย และเป็นกุศโลบายให้การใช้ผลิตภัณฑ์ความยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันแบบอัตโนมัติ

“ตอนแรกเราเน้นถูกเป็นหลัก เพราะฉะนั้นทุกอย่างจะต้องถูก เราผลิตน้อยไว้ก่อนแค่ 40 กว่าคู่ คือผลิตแค่แบบกับไซส์ละสีพอ แล้วไปหาอีเวนต์ที่ถูกที่สุด คือไปอีเวนต์เกี่ยวกับรักโลก วิธีสื่อสารของเราคือ เรามีพันช์ไลน์ที่ว่า ‘รองเท้าผลิตจากขวดพลาสติก’ คือให้เตะตาคนเห็นก่อน แล้วค่อยมาดูเรื่องความคิดและดีไซน์เบื้องหลัง”

สำหรับทั้งคู่แล้ว การลงมือทำรองเท้าผ้าใบรักโลกในแบบที่คิดไว้เป็นเหมือนกับการค้นหาคำตอบว่า สิ่งที่คิดจะมีผลตอบรับจากผู้บริโภคอย่างไรบ้าง โดยเริ่มจากการลงทุนให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ “เราไม่ได้กลัวว่าจำนวนเงินนี้เราจะใช้เพื่อหาคำตอบ แต่เราแค่อยากรู้ว่าฟีดแบคมันเป็นยังไง แล้วเราจะบิดไปทางไหนดี ตลอดเวลาเราทำงานด้วยมายด์เซตนี้ เราอยากรู้ว่าคนจะชอบเหมือนเราไหม”

จากเดิมที่สิ่งนี้เคยเป็นไซด์โปรเจกต์สำหรับการหาคำตอบเรื่องความยั่งยืนผ่านผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน รองเท้าคู่นี้พาทั้งคู่เดินทางมาถึงปีที่สาม กับการแตกไลน์สินค้าจากแรกสุดที่เป็นรองเท้าผ้าใบที่เน้นความยั่งยืน ใช้งานได้จริง ผ่านดีไซน์ที่คิดมาแล้ว มาสู่ถุงเท้าจากใยไผ่ และบรรจุภัณฑ์ Plant-based Chipping Bag ที่ทำมาจากข้าวโพดและมันสำปะหลังเป็นถุงกระดาษคราฟต์ที่สามารถนำไปใช้งานต่อและซักได้ด้วย

นอกจากในแง่คุณสมบัติผลิตภัณฑ์แล้ว ในเรื่องดีไซน์ก็มีการขยับขยายไปร่วมคอลแลบกับศิลปินในการทำผลิตภัณฑ์ลิมิเต็ดต่างๆ อย่างล่าสุดกับถุงเท้าที่ร่วมงานกับ Pammy’s Palette เป็นลายดอกไม้แสนหวาน ที่ทั้งคู่ยอมรับว่าเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่ออกจากกรอบความคิดแบบเดิมของตัวเอง

“การคอลแลบช่วยเปิดโลกให้เรามากขึ้นด้วยว่า อย่างเราทั้งสองคนเป็นผู้ชาย ก็ไม่รู้เลยว่าแบบนี้มันเรียกสวยหรือเปล่า แต่เราเชื่อมั่นในตัวเขาและฐานแฟน แล้วก็ลองปล่อยโปรดักต์ออกมา ซึ่งฟีดแบ็กที่ได้ก็เซอร์ไพรส์เราเหมือนกัน มันทำให้เราได้เห็นช่องทางที่หลากหลายมากขึ้น”

อีกข้อหนึ่งของการได้ร่วมงานกับผู้คนและสไตล์ที่หลากหลายขึ้น ก็เป็นเหมือนกับการเพาะเมล็ดพันธุ์ของความยั่งยืนไว้ในใจของผู้คนในวงกว้างมากขึ้นอีก และก็เหมือนได้ปลุกความรู้สึกใหม่ๆ ให้กับกลุ่มลูกค้าเดิมเช่นกัน

“ผมว่าด้วยมายด์เซตของ MADDY HOPPER เราโอเพนมายด์อยู่แล้ว เหมือนไอเดียของน้องๆ ที่หลากหลายออกไป เราก็อยากจะลองดู แล้วมันก็สนุกที่เราได้เห็น หรือแม้แต่สนุกที่ได้รู้ว่าตัวเองผิดด้วย”

 

IIIi - กระโดดใส่อนาคตของความยั่งยืน

ทั้งสองมองการเติบโตของแบรนด์ไว้ 3 ส่วนอย่างน่าสนใจ

ส่วนแรกคือ ผลิตภัณฑ์ที่มากขึ้น “เราอยากบอกกับทุกคนว่า เราเป็น Everyday Sneakers สำหรับคนหลายๆ คนมากขึ้น คือ Everyday Sneakers ของแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน เราก็อยากเพิ่มสินค้าให้มากขึ้น หรือแม้แต่เสื้อผ้าในโซนแฟชั่นด้วย”

ส่วนที่สองคือ กระบวนการทำงานที่ยั่งยืนขึ้นกว่าเดิม “อย่างที่บอกว่า ตอนนี้เราก็ยังรู้สึกว่าเราไม่ได้ยั่งยืนทั้งหมด เราอยากจะให้ยั่งยืนและคุ้มค่าขึ้น”

และส่วนสุดท้ายคือ ผู้คน “เราอยากมีคอมมิวนิตีที่เป็นลูกค้าเรา คอมมิวนิตีซัพพลายเออร์ หรือชุมชนกลุ่มรักโลก” แล้วทั้งหมดก็เติบโตไปด้วยกัน

 

“การที่เราทำธุรกิจแล้วใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมไปด้วย มันทำได้ แล้วมันกำไรได้ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องชาร์จลูกค้าแพงจนเกินเลเวล” นี่คือสิ่งที่ทั้งสองได้พิสูจน์ตลอดทางของ Maddy Hopper ที่เริ่มต้นจากไซด์โปรเจกต์มาสู่แบรนด์รองเท้ารักโลกที่เป็นอาชีพหลักในตอนนี้

“จริงๆ แล้ว อีกมุมมองในตัวเราเองคือ เราทำ Maddy Hopper ไปเรื่อยๆ แล้ว ก็เหมือนรู้สึกว่าเราได้ตระหนักถึงเรื่องความยั่งยืนมากขึ้นไปด้วย ตอนแรกเราก็รู้สึกว่าเรารับผิดชอบกับสิ่งแวดล้อมแหละ แต่เราไม่เคยมองตัวเองว่าทำอะไรได้มากกว่านี้หรือเปล่าในชีวิตประจำวัน ธุรกิจนี้ก็เป็นแรงบันดาลใจให้ตัวเองเหมือนกัน และยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนอื่นได้ด้วย

 

“ผมว่าความท้าทายมันอยู่ในการทำธุรกิจอยู่แล้วครับ แต่ว่าความยั่งยืนมันเพิ่มเข้ามาอีก คือความท้าทายที่ว่า เราสามารถทำในสิ่งที่เราคิดได้หรือเปล่า เราต้องคิดมากกว่าในเรื่องนี้ด้วย ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องเล็กครับ มันเป็นเรื่องที่เหมือนกับมีอีกพาร์ตใหญ่ๆ เพิ่มเข้ามา”

จากวัยรุ่นวัยย่าง 27 สองคน ภาคิน โรจนเวคิน และ ชาญ สิทธิญาวณิชย์ ที่อยากได้รองเท้าใส่สบายทุกวัน บวกกับความต้องการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม จึงเกิดเป็น Maddy Hopper แบรนด์รองเท้าผ้าใบที่มาพร้อมกับหมัดฮุคที่ว่า ‘รองเท้าผลิตจากขวดพลาสติก’ โดยที่ตอนนั้นทั้งคู่มีความรู้ในเรื่องธุรกิจเพียงอย่างเดียว

สิ่งที่จะมาเติมเต็มด้านดีไซน์ของรองเท้าจึงเป็นแพชชั่น ซึ่งต้องทำงานร่วมกันกับมิชชั่นที่จะสร้างสรรค์รองเท้าที่ทำมาจากวัสดุรีไซเคิลให้ได้ทั้งหมด การเดินเท้าบนระยะเวลา 3 ปีของ Maddy Hopper จึงเริ่มต้นขึ้น

 

IIIi - ขวดพลาสติก เศษฟูกเตียง ยางพาราธรรมชาติ และการเย็บมือ ตอบโจทย์ทุกข้ออย่างที่ต้องการ

จากโจทย์ที่ตั้งไว้คือรองเท้าผ้าใบรักษ์โลกที่ใช้งานได้ทุกวัน การทำรีเสิร์ชจึงเป็นไฟต์บังคับข้อแรกที่ทำให้ทั้งสองต้องเริ่มเรียนรู้เรื่องงานดีไซน์จากศูนย์

“เราเริ่มตั้งแต่กูเกิลว่า รองเท้าทำยังไง ต้องใช้กระบวนการยังไงบ้าง โรงงานมีกี่แบบ แล้วในระบบนิเวศของการทำรองเท้ามันมีฟังก์ชั่นไหนบ้าง แล้วค่อยศึกษาต่อว่า เราจะเปลี่ยนบางสิ่งในนั้นให้มันยั่งยืนขึ้นได้ยังไงบ้าง” ทั้งสองเริ่มจากการแก้ปัญหาที่ต้นทางเป็นระยะเวลาร่วมปี ก่อนจะออกมาเป็นโปรดักต์จริง

สิ่งสำคัญของการผลิตคือวัสดุตั้งต้น ความท้าทายแรกที่ต้องพบเจอคือการควานหาวัสดุจากทั่วสารทิศที่มีอยู่ในท้องตลาดให้ได้ตามสเปกและวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

“พอเป็นแนวคิดแบบนี้ กลายเป็นว่ารองเท้าทั้งคู่ เราต้องหาซัพพลายเออร์ของแต่ละชิ้นส่วนของรองเท้าจากต่างที่กัน และสามารถทำตามความพอใจในเรื่องความยั่งยืนให้กับเราได้ ซึ่งตอนนั้นไม่ได้ง่ายตรงที่ว่า ตัวผ้าขวดพลาสติกไม่ได้มีเยอะขนาดนั้น เราก็ไปหาจนเจอ ถึงแม้เราจะไม่ได้เอาขวดพลาสติกมารีไซเคิลเอง แต่เราก็ต้องมานั่งทดลองกับเขา ว่าต้องเป็นผ้าที่สีได้ด้วย แล้วต้องผลิตใหม่”

“หรืออย่างตัวแผ่นรองเท้าก็ไม่ใช่แผ่นสำเร็จรูป เราก็พยายามหาว่าอะไรที่มันยั่งยืนและมีฟังก์ชั่นซัพพอร์ตเท้าได้ด้วย เราก็ไปเจอว่า ยางพาราของประเทศไทยมันน่าจะช่วยได้ดี เราคุยกับโรงงานเตียงแทนที่จะเป็นโรงงานรองเท้า แล้วก็พลิกแพลงเอาเศษฟูกเตียงที่เหลือจากการตัดขอบเอามาอัดเป็นแผ่นใหม่ ส่วนพื้นโซลรองเท้า เราก็ใช้ยางพาราธรรมชาติ”

แน่นอนว่า การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมาสักชิ้น อุดมคติคือต้องการให้ทุกส่วนของรองเท้าเป็นวัสดุทดแทนทั้งหมด แต่ในความเป็นจริงในแง่ของการใช้งานก็ต้องประนีประนอมกับวัสดุและการทำงานบ้าง เช่นใช้ยางพาราธรรมชาติ ที่อาจไม่ได้เป็นผลลัพธ์จากกระบวนการรีไซเคิล แต่อย่างน้อยก็เป็นวัสดุธรรมชาติที่ทำงานได้ดีกว่า

“อย่างรองเท้าคู่แรกสุดที่เคยทำ ตอนนี้ก็ยังอยู่ที่บ้านอยู่เลย แล้วก็ยังวนใส่เรื่อยๆ” นี่คือข้อพิสูจน์ในเรื่องความทนทานได้อย่างดี

“เพราะเราใช้การประกอบรองเท้าแบบเย็บแทนที่จะติดกาวเฉยๆ ทำให้รองเท้าของเราไม่อ้าหลังจากใช้ไปนานๆ”

 

IIIi - การเริ่มต้นธุรกิจของความยั่งยืน และการเดินทางต่อด้วยดีไซน์

อีกหนึ่งความยากในการเริ่มต้นทำแบรนด์ด้านความยั่งยืนคือเรื่องการสื่อสารเริ่มต้น ทั้งคู่ใช้กลยุทธ์​ของราคาถูกเป็นหลัก เพื่อให้เข้าถึงคนได้ง่าย และเป็นกุศโลบายให้การใช้ผลิตภัณฑ์ความยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันแบบอัตโนมัติ

“ตอนแรกเราเน้นถูกเป็นหลัก เพราะฉะนั้นทุกอย่างจะต้องถูก เราผลิตน้อยไว้ก่อนแค่ 40 กว่าคู่ คือผลิตแค่แบบกับไซส์ละสีพอ แล้วไปหาอีเวนต์ที่ถูกที่สุด คือไปอีเวนต์เกี่ยวกับรักโลก วิธีสื่อสารของเราคือ เรามีพันช์ไลน์ที่ว่า ‘รองเท้าผลิตจากขวดพลาสติก’ คือให้เตะตาคนเห็นก่อน แล้วค่อยมาดูเรื่องความคิดและดีไซน์เบื้องหลัง”

สำหรับทั้งคู่แล้ว การลงมือทำรองเท้าผ้าใบรักโลกในแบบที่คิดไว้เป็นเหมือนกับการค้นหาคำตอบว่า สิ่งที่คิดจะมีผลตอบรับจากผู้บริโภคอย่างไรบ้าง โดยเริ่มจากการลงทุนให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ “เราไม่ได้กลัวว่าจำนวนเงินนี้เราจะใช้เพื่อหาคำตอบ แต่เราแค่อยากรู้ว่าฟีดแบคมันเป็นยังไง แล้วเราจะบิดไปทางไหนดี ตลอดเวลาเราทำงานด้วยมายด์เซตนี้ เราอยากรู้ว่าคนจะชอบเหมือนเราไหม”

จากเดิมที่สิ่งนี้เคยเป็นไซด์โปรเจกต์สำหรับการหาคำตอบเรื่องความยั่งยืนผ่านผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน รองเท้าคู่นี้พาทั้งคู่เดินทางมาถึงปีที่สาม กับการแตกไลน์สินค้าจากแรกสุดที่เป็นรองเท้าผ้าใบที่เน้นความยั่งยืน ใช้งานได้จริง ผ่านดีไซน์ที่คิดมาแล้ว มาสู่ถุงเท้าจากใยไผ่ และบรรจุภัณฑ์ Plant-based Chipping Bag ที่ทำมาจากข้าวโพดและมันสำปะหลังเป็นถุงกระดาษคราฟต์ที่สามารถนำไปใช้งานต่อและซักได้ด้วย

นอกจากในแง่คุณสมบัติผลิตภัณฑ์แล้ว ในเรื่องดีไซน์ก็มีการขยับขยายไปร่วมคอลแลบกับศิลปินในการทำผลิตภัณฑ์ลิมิเต็ดต่างๆ อย่างล่าสุดกับถุงเท้าที่ร่วมงานกับ Pammy’s Palette เป็นลายดอกไม้แสนหวาน ที่ทั้งคู่ยอมรับว่าเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่ออกจากกรอบความคิดแบบเดิมของตัวเอง

“การคอลแลบช่วยเปิดโลกให้เรามากขึ้นด้วยว่า อย่างเราทั้งสองคนเป็นผู้ชาย ก็ไม่รู้เลยว่าแบบนี้มันเรียกสวยหรือเปล่า แต่เราเชื่อมั่นในตัวเขาและฐานแฟน แล้วก็ลองปล่อยโปรดักต์ออกมา ซึ่งฟีดแบ็กที่ได้ก็เซอร์ไพรส์เราเหมือนกัน มันทำให้เราได้เห็นช่องทางที่หลากหลายมากขึ้น”

อีกข้อหนึ่งของการได้ร่วมงานกับผู้คนและสไตล์ที่หลากหลายขึ้น ก็เป็นเหมือนกับการเพาะเมล็ดพันธุ์ของความยั่งยืนไว้ในใจของผู้คนในวงกว้างมากขึ้นอีก และก็เหมือนได้ปลุกความรู้สึกใหม่ๆ ให้กับกลุ่มลูกค้าเดิมเช่นกัน

“ผมว่าด้วยมายด์เซตของ MADDY HOPPER เราโอเพนมายด์อยู่แล้ว เหมือนไอเดียของน้องๆ ที่หลากหลายออกไป เราก็อยากจะลองดู แล้วมันก็สนุกที่เราได้เห็น หรือแม้แต่สนุกที่ได้รู้ว่าตัวเองผิดด้วย”

 

IIIi - กระโดดใส่อนาคตของความยั่งยืน

ทั้งสองมองการเติบโตของแบรนด์ไว้ 3 ส่วนอย่างน่าสนใจ

ส่วนแรกคือ ผลิตภัณฑ์ที่มากขึ้น “เราอยากบอกกับทุกคนว่า เราเป็น Everyday Sneakers สำหรับคนหลายๆ คนมากขึ้น คือ Everyday Sneakers ของแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน เราก็อยากเพิ่มสินค้าให้มากขึ้น หรือแม้แต่เสื้อผ้าในโซนแฟชั่นด้วย”

ส่วนที่สองคือ กระบวนการทำงานที่ยั่งยืนขึ้นกว่าเดิม “อย่างที่บอกว่า ตอนนี้เราก็ยังรู้สึกว่าเราไม่ได้ยั่งยืนทั้งหมด เราอยากจะให้ยั่งยืนและคุ้มค่าขึ้น”

และส่วนสุดท้ายคือ ผู้คน “เราอยากมีคอมมิวนิตีที่เป็นลูกค้าเรา คอมมิวนิตีซัพพลายเออร์ หรือชุมชนกลุ่มรักโลก” แล้วทั้งหมดก็เติบโตไปด้วยกัน

 

“การที่เราทำธุรกิจแล้วใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมไปด้วย มันทำได้ แล้วมันกำไรได้ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องชาร์จลูกค้าแพงจนเกินเลเวล” นี่คือสิ่งที่ทั้งสองได้พิสูจน์ตลอดทางของ Maddy Hopper ที่เริ่มต้นจากไซด์โปรเจกต์มาสู่แบรนด์รองเท้ารักโลกที่เป็นอาชีพหลักในตอนนี้

“จริงๆ แล้ว อีกมุมมองในตัวเราเองคือ เราทำ Maddy Hopper ไปเรื่อยๆ แล้ว ก็เหมือนรู้สึกว่าเราได้ตระหนักถึงเรื่องความยั่งยืนมากขึ้นไปด้วย ตอนแรกเราก็รู้สึกว่าเรารับผิดชอบกับสิ่งแวดล้อมแหละ แต่เราไม่เคยมองตัวเองว่าทำอะไรได้มากกว่านี้หรือเปล่าในชีวิตประจำวัน ธุรกิจนี้ก็เป็นแรงบันดาลใจให้ตัวเองเหมือนกัน และยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนอื่นได้ด้วย

 

Text:

Nathanich C.

Nathanich C.

PHOTO:

Chanathip K.

Chanathip K.

Related Posts