JITTRAKARN แฟชั่นจิวเวลรี่ ที่มาจากความชอบศิลปะ การ์ตูน และเรื่องราวแฟนตาซี 


JITTRAKARN แฟชั่นจิวเวลรี่ ที่มาจากความชอบศิลปะ การ์ตูน และเรื่องราวแฟนตาซี 


18 มิ.ย. 2567

SHARE WITH:

18 มิ.ย. 2567

18 มิ.ย. 2567

SHARE WITH:

SHARE WITH:

JITTRAKARN แฟชั่นจิวเวลรี่ ที่มาจากความชอบศิลปะ การ์ตูน และเรื่องราวแฟนตาซี 


“จริงๆ เราไม่ได้เป็นคนชอบแต่งตัว ตอนเด็กๆเราชอบเล่นเกมส์ อ่านการ์ตูนที่มันเป็นแฟนตาซี เราอยากเขียนการ์ตูนมาก เพราะโลกความจริงเพราะมันเครียด“



คุณจิ๊บ จิตรกานต์ บรรเทิงไพบูลย์ แห่งแบรนด์ Jittrakarn Jewelry ได้อธิบายถึงจุดเริ่มต้นของการเริ่มหันมาสนใจเรียนศิลปะเพราะอยากเขียนการ์ตูน และไม่อยากทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างของครอบครัว จึงตัดสินใจเรียนออกแบบอุตสาหกรรม แต่พอได้มาเรียนการออกแบบผลิตภัณฑ์หลายอย่างก็ยังรู้สึกว่ายังไม่ใช่ จนได้มาเรียนวิชาเลือกที่เป็นวิชาการออกแบบเครื่องประดับ ทำให้เริ่มเข้าใจถึงมุมมองของงานออกแบบที่เป็นงานศิลปะและได้ค้นพบวิธีการเล่าเรื่องในแบบของตัวเองในที่สุด




IIIi จิวเวลรี่คือ “สื่อ” ในการเล่าเรื่องอย่างหนึ่ง

“สำหรับเราแล้วการออกแบบจิวเวลรี่ นั้นเรานิยามว่ามันคือการสื่อสารภาษาของรูปทรง วัสดุ และเทคนิคงานฝีมือ เรามองว่ามันเป็นศิลปะการเล่าเรื่องในอีกแขนงหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกสนใจ และอยากสื่อสารเรื่องราวในจินตนาการของเราออกมา ตอนนั้นเราชอบที่จะออกแบรูปทรงต่างๆของวัตถุที่หลากหลาย จึงตัดสินใจไปลง เรียนต่อปริญญาโท หลังจากที่จบมาในช่วงเวลานั้นเมื่อเราเริ่มออกแบบชิ้นงานเองได้ เราก็เหมือนคนทั่วๆไปที่ อยากจะทำแบรนด์เป็นของตัวเอง แต่ด้วยความที่เราห่วยเรื่องของการตลาดมากๆ และด้วยความเห็นแก่ตัวของเราที่อยากทำงานออกแบบอย่างเดียว ในช่วงแรกก็ไม่ได้คำนึงถึงยอดขาย ไม่ได้บริหารการตลาด จนต้องให้พี่ชายมาช่วยในด้านของการขาย ทำให้แบรนด์ Jittrakarn ก็ได้เริ่มต้นขึ้นจากจุดนั้น”



IIIi ความผิดพลาดในตอนเริ่มต้นกับช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ว่า “การออกแบบที่ดี คือการเข้าใจคนที่สวมใส่ ” 



“ในช่วงแรกงานของเราจะเรียกได้ว่า “เน้นออกแบบ ไม่เน้นขาย“ พอเราทำออกมาเรี่อยๆมันรู้สึกว่าเรา มองการออกแบบเครื่องประดับนั้นผิดพลาดไป เราไม่ได้คำนึกถึงคนใส่เลย เราสนใจแต่การเล่าเรื่องที่จะทำยัง ไงก็ได้ ให้งานของเราเป็นรูปทรงที่มันตื่นเต้นในแบบที่เราจินตนาการ แต่พอถึงเวลาขายจริงเราลืมคิดถึงคนสวมใส่งานของเรา ซึ่งเรารับฟีดแบคจากลูกค้าค่อนข้างเยอะ ทำให้เรามาคิดว่ามันถึงเวลาที่ต้องปรับปรุงเพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าให้มากขึ้น เราจึงลองหาโอกาสใหม่ๆโดยเข้าไปร่วมพัฒนาสินค้าในโครงการของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) และสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (GIT) ซึ่งพอมาเข้าโครงการได้เจอผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญ ทำให้เราได้สะท้อนมุมมองหลายอย่าง”



“งานเธอเหมือนงานเด็กนักเรียนที่โชว์พลัง โชว์แต่ไอเดีย แต่ไม่น่าใส่”


“งานเธอไม่เข้าใจผู้หญิงไทยเลย....ที่เขาซื้อไปใส่ก็ต้องการความสวย มันต้องเสริมบุคลิกที่ดูสวยงามด้วย”



เมื่อเราได้ลงสนามจริงพร้อมกับการที่ได้รับคอมเมนต์จากปรึกษา ทำให้เราเริ่มปรับปรุงจึงเป็นจุดเปลี่ยนที่กลับมาสร้างงานที่เข้าใจลูกค้ามากขึ้นอีกครั้ง



IIIi การกลับมาเรียนรู้ตัวเอง จึงค้นพบดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์ 



“หลังจากที่เรียนจบและได้มีโอกาสกลับมาสอนที่ภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เราได้สอนนักศึกษาพร้อมกับทำแบรนด์ควบคู่ไปด้วย เราสอนอยู่ในกลุ่ม “PASSION BASED” คือกลุ่มที่สอนการทำงานออกแบบ ที่เริ่มจากทัศนคติ ความหลงใหลส่วนตัว หรือตัวตนของผู้ออกแบบ นำมาขยายผลเพื่อหากระบวนการสื่อสารที่เป็นงานสร้างสรรค์ออกไป(Inside Out) ก่อนที่จะเข้าสู่การทำงานที่จะต้องเริ่มปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าอีกครั้ง มันก็สะท้อนกลับมาที่ธุรกิจของเราเหมือนกัน นิสัยเราเป็นคนทำงานประเภท “ทุ่มลงไปก่อน” (หัวเราะ) ซึ่งจริงๆมันก็เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีเท่าไหร่ เราใช้เวลาทุ่มเทเวลาไปกับการลองผิดลองถูกในการออกแบบอย่างมาก“




“เราได้มาค้นพบแนวการการสื่อสารแบรนด์ที่แตกต่างในแบบของเรา คือการทำสินค้าออกมาเป็น 2 รูปแบบ โดยแบบแรกเป็นเครื่องประดับที่นำเสนอแพชชั่น(Passion) เต็มไปด้วยความแปลกใหม่เพื่อสื่อสารแนวคิด เป็นเหมือนไอเทมงานศิลปะ ซื้อไปเพื่อเก็บสะสม จะทำควบคู่กับแบบที่สอง ที่เป็น Ready to wear เป็นของที่ทำง่าย ใส่ง่าย โดยสร้างสรรค์บนกรอบแนวคิดเดียวกัน ในช่วงแรกก็ยังไม่ได้ขายดีมาก คนยังไม่ค่อยเข้าใจแต่เราก็ใช้เวลาค่อยๆปรับไปจนมันเห็นถึงการพัฒนามากขึ้น เราเริ่มไปพบปะดีไซน์เนอร์อื่นๆ เริ่มไปงานนิทรรศการ ไปออกบูธเพื่อทำให้คนรู้จักมากขึ้น เริ่มมีดารา เซเลปมาซื้อ เราก็เริ่มทำตลาดออนไลน์ในการสื่อสารแบรนด์ ส่งผลให้ยอดขายก็ดีขึ้นตามลำดับ“







IIIi การเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ และความท้าทายของการใช้วัสดุในการออกแบบ

นิยามของจิวเวลรี่ คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงของที่มีมูลค่าสูง(Precious) เครื่องประดับเป็นของล้ำค่า ที่ใส่แล้วต้องดูสง่า ดูแพง แต่จริงๆแล้วเครื่องประดับมีหลายประเภท ทั้ง Fine Jewelry ที่เป็นเครื่องประดับมูลค่าสูง , Fashion Jewelry เครื่องประดับเพื่อการแต่งกาย , Contemporary Jewelry เครื่องประดับที่เป็นการแสดงออกทางศิลปะ ฯลฯ

"ที่ผ่านมาแบรนด์ของเราเองก็มีคนถามอยู่ตลอดว่า ทำไมไม่ปรับวัสดุเป็น เงิน เป็นพลอย เป็น ทองแท้ ซึ่งเราเองก็ได้รับฟีดแบคจากลูกค้ามาโดยตลอด แต่ด้วยความที่แบรนด์ Jittrakarn อยากให้มีความเป็นแฟชั่นที่ยังคงความเป็นไลฟ์สไตล์อยู่ มีความสนุก มีลูกเล่นบ้าง ดังนั้นเราจึงปรับมาเป็นการเลือกใช้วัสดุต่างๆ ที่ต้องตอบโจทย์การดีไซน์ที่เราวางแนวคิดเอาไว้ ถึงแม้ว่ามุมมองของลูกค้าบางกลุ่มยังมองว่าเครื่องประดับต้องมีมูลค่าส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นได้ สิ่งเหล่านี้เรามองว่าเป็นความท้าทายในตลาด ที่เราต้องพยายามจะปรับสินค้าให้แตกต่างและปรับให้เข้ากับระบบการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อทำให้แบรนด์เรายังดำเนินธุรกิจต่อไปได้


“ปัจจุบันโลกของการออกแบบจิวเวลรี่ มีความพยายามท้าทายขนบแบบเดิมๆอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการท้าทายในแง่ ”ทัศนคติในเชิงคุณค่า” อย่างเช่นผลงานของศิลปินท่านหนึ่งชื่อ David Bielander นำทองคำมาขึ้นรูปเลียนแบบกระดาษลังซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ราคาถูก แต่งานนี้กลับมีความน่าสนใจมาก ที่มีคุณค่าใหม่ในเชิงทักษะ ฝีมือช่าง และความคิดสร้างสรรค์ และตัวอย่างที่น่าสนใจอีกเคสคืองานของนักศึกษา ที่ครอบครัวทำธุรกิจตัดต่อสายนาฬิกา จึงมีเศษของสายนาฬิกาที่มีราคาสูงจำนวนมาก ได้นำเศษวัสดุมาออกแบบใหม่เป็นชิ้นงาน เป็นการให้คุณค่ากับวัสดุเหลือใช้ให้กลับมามีมูลค่าอีกครั้ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าหากเรามีแนวคิดที่สร้างสรรค์ ก็สามารถพลิกมุมมองในการเล่าเรื่องให้สินค้าดูน่าสนใจขึ้นมาได้“



IIIi การใช้วัสดุทดแทนที่สามารถควบคุมได้ และใส่ใจโลกมากขึ้น

“เราอยากให้เข้าใจก่อนว่าการใช้วัสดุหมุนเวียนเป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมนี้สนใจโดยตลอดเพราะต้องดีล กับโลหะมีค่า เช่น ทอง เงิน ฯลฯ จึงมีการรีไซเคิลกันอย่างต่อเนื่องมานานแล้ว โดยแบรนด์ของเราก็สนใจใน เรื่องของ 3D Printing , อะคริลิคที่ใช้รีไซเคิลได้รวมถึงวัสดุอีกประเภทที่เราสนใจคือ PA12 เป็นไนลอนที่แข็งแรง ทนทาน ใช้ความร้อนในการผลิตน้อย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เราใช้พลอยสังเคราะห์มาเป็นวัสดุทดแทนเพราะคุณสมบัติของรูปทรง หรือการให้เอฟเฟคก็จะแต่งต่างจากทีเราเห็นพลอยที่เราเห็นทั่วไป ส่วนในด้านอื่นๆของเราก็พยายามทดลองออกแบบให้สินค้าที่มีดีไซน์ร่วมสมัย เป็นเอกลักษณ์อยู่ได้นาน ใช้กระบวนการผลิตที่มีคุณภาพสูง สามารถใช้ได้นานไม่เป็นส่วนหนึ่งของ Fast Fashion จนเกินไป ”




"ในอนาคตถึงแม้ความมีคุณค่าของวัสดุอย่าง เพชร พลอย ที่นำมาทำเครื่องประดับเริ่มถูกตั้งคำถามถึงความมีมูลค่า มีการศึกษาวิจัยสร้างวัสดุที่สมจริงขึ้นมาในแล็บเพื่อทดแทนวัสดุธรรมชาติขึ้นมาเป็นทางเลือกใหม่ในการในการออกแบบและสวมใส่ แต่สินค้าในแบบ Precious ก็ยังคงมีมูลค่าที่แท้จริงอยู่ในแง่ของการถือครอง คุณค่าของงานฝีมือที่ยังคงอยู่ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีที่มันรวดเร็วจะทำให้การผลิตถูกลง แต่มูลค่าของการสื่อสารแบรนด์และการเล่าเรื่องก็ยังมีส่วนสำคัญในการสร้างมูลค่าแบรนด์อยู่เสมอ”





IIIi การเปลี่ยนแปลงและการเปิดรับสิ่งใหม่คือ”ความยั่งยืน”ของแบรนด์

“ถึงแม้ว่าจุดเริ่มต้นเราไม่ได้มาจากเป้าหมายที่ต้องทำสินค้าให้ช่วยโลกหรือทำให้ยั่งยืน สิ่งที่เราทำอยู่มันคือ “สินค้าแฟชั่น" ที่ต้องปรับตามยุคสมัยและค่านิยมต่างๆ เรามองว่าความยั่งยืนคือ “การปรับตัว” และทดลองสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอให้กับแบรนด์ โดยที่เราก็สามารทำความเข้าใจกับสภาพสังคมพร้อมกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงได้ สิ่งที่สำคัญของการทำแบรนด์ที่เข้าไปอยู่ในใจคนคือการสร้าง Touch Point จากการดีไซน์ที่มีเอกลักษณ์เป็น ของตัวเอง พร้อมกับกล้าที่จะข้ามขีดจำกัดในเชิงออกแบบให้สินค้าดูน่าสนใจ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกค้าเห็นคุณค่าของแบรนด์เราอย่างต่อเนื่องได้"






“จริงๆ เราไม่ได้เป็นคนชอบแต่งตัว ตอนเด็กๆเราชอบเล่นเกมส์ อ่านการ์ตูนที่มันเป็นแฟนตาซี เราอยากเขียนการ์ตูนมาก เพราะโลกความจริงเพราะมันเครียด“



คุณจิ๊บ จิตรกานต์ บรรเทิงไพบูลย์ แห่งแบรนด์ Jittrakarn Jewelry ได้อธิบายถึงจุดเริ่มต้นของการเริ่มหันมาสนใจเรียนศิลปะเพราะอยากเขียนการ์ตูน และไม่อยากทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างของครอบครัว จึงตัดสินใจเรียนออกแบบอุตสาหกรรม แต่พอได้มาเรียนการออกแบบผลิตภัณฑ์หลายอย่างก็ยังรู้สึกว่ายังไม่ใช่ จนได้มาเรียนวิชาเลือกที่เป็นวิชาการออกแบบเครื่องประดับ ทำให้เริ่มเข้าใจถึงมุมมองของงานออกแบบที่เป็นงานศิลปะและได้ค้นพบวิธีการเล่าเรื่องในแบบของตัวเองในที่สุด




IIIi จิวเวลรี่คือ “สื่อ” ในการเล่าเรื่องอย่างหนึ่ง

“สำหรับเราแล้วการออกแบบจิวเวลรี่ นั้นเรานิยามว่ามันคือการสื่อสารภาษาของรูปทรง วัสดุ และเทคนิคงานฝีมือ เรามองว่ามันเป็นศิลปะการเล่าเรื่องในอีกแขนงหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกสนใจ และอยากสื่อสารเรื่องราวในจินตนาการของเราออกมา ตอนนั้นเราชอบที่จะออกแบรูปทรงต่างๆของวัตถุที่หลากหลาย จึงตัดสินใจไปลง เรียนต่อปริญญาโท หลังจากที่จบมาในช่วงเวลานั้นเมื่อเราเริ่มออกแบบชิ้นงานเองได้ เราก็เหมือนคนทั่วๆไปที่ อยากจะทำแบรนด์เป็นของตัวเอง แต่ด้วยความที่เราห่วยเรื่องของการตลาดมากๆ และด้วยความเห็นแก่ตัวของเราที่อยากทำงานออกแบบอย่างเดียว ในช่วงแรกก็ไม่ได้คำนึงถึงยอดขาย ไม่ได้บริหารการตลาด จนต้องให้พี่ชายมาช่วยในด้านของการขาย ทำให้แบรนด์ Jittrakarn ก็ได้เริ่มต้นขึ้นจากจุดนั้น”



IIIi ความผิดพลาดในตอนเริ่มต้นกับช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ว่า “การออกแบบที่ดี คือการเข้าใจคนที่สวมใส่ ” 



“ในช่วงแรกงานของเราจะเรียกได้ว่า “เน้นออกแบบ ไม่เน้นขาย“ พอเราทำออกมาเรี่อยๆมันรู้สึกว่าเรา มองการออกแบบเครื่องประดับนั้นผิดพลาดไป เราไม่ได้คำนึกถึงคนใส่เลย เราสนใจแต่การเล่าเรื่องที่จะทำยัง ไงก็ได้ ให้งานของเราเป็นรูปทรงที่มันตื่นเต้นในแบบที่เราจินตนาการ แต่พอถึงเวลาขายจริงเราลืมคิดถึงคนสวมใส่งานของเรา ซึ่งเรารับฟีดแบคจากลูกค้าค่อนข้างเยอะ ทำให้เรามาคิดว่ามันถึงเวลาที่ต้องปรับปรุงเพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าให้มากขึ้น เราจึงลองหาโอกาสใหม่ๆโดยเข้าไปร่วมพัฒนาสินค้าในโครงการของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) และสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (GIT) ซึ่งพอมาเข้าโครงการได้เจอผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญ ทำให้เราได้สะท้อนมุมมองหลายอย่าง”



“งานเธอเหมือนงานเด็กนักเรียนที่โชว์พลัง โชว์แต่ไอเดีย แต่ไม่น่าใส่”


“งานเธอไม่เข้าใจผู้หญิงไทยเลย....ที่เขาซื้อไปใส่ก็ต้องการความสวย มันต้องเสริมบุคลิกที่ดูสวยงามด้วย”



เมื่อเราได้ลงสนามจริงพร้อมกับการที่ได้รับคอมเมนต์จากปรึกษา ทำให้เราเริ่มปรับปรุงจึงเป็นจุดเปลี่ยนที่กลับมาสร้างงานที่เข้าใจลูกค้ามากขึ้นอีกครั้ง



IIIi การกลับมาเรียนรู้ตัวเอง จึงค้นพบดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์ 



“หลังจากที่เรียนจบและได้มีโอกาสกลับมาสอนที่ภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เราได้สอนนักศึกษาพร้อมกับทำแบรนด์ควบคู่ไปด้วย เราสอนอยู่ในกลุ่ม “PASSION BASED” คือกลุ่มที่สอนการทำงานออกแบบ ที่เริ่มจากทัศนคติ ความหลงใหลส่วนตัว หรือตัวตนของผู้ออกแบบ นำมาขยายผลเพื่อหากระบวนการสื่อสารที่เป็นงานสร้างสรรค์ออกไป(Inside Out) ก่อนที่จะเข้าสู่การทำงานที่จะต้องเริ่มปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าอีกครั้ง มันก็สะท้อนกลับมาที่ธุรกิจของเราเหมือนกัน นิสัยเราเป็นคนทำงานประเภท “ทุ่มลงไปก่อน” (หัวเราะ) ซึ่งจริงๆมันก็เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีเท่าไหร่ เราใช้เวลาทุ่มเทเวลาไปกับการลองผิดลองถูกในการออกแบบอย่างมาก“




“เราได้มาค้นพบแนวการการสื่อสารแบรนด์ที่แตกต่างในแบบของเรา คือการทำสินค้าออกมาเป็น 2 รูปแบบ โดยแบบแรกเป็นเครื่องประดับที่นำเสนอแพชชั่น(Passion) เต็มไปด้วยความแปลกใหม่เพื่อสื่อสารแนวคิด เป็นเหมือนไอเทมงานศิลปะ ซื้อไปเพื่อเก็บสะสม จะทำควบคู่กับแบบที่สอง ที่เป็น Ready to wear เป็นของที่ทำง่าย ใส่ง่าย โดยสร้างสรรค์บนกรอบแนวคิดเดียวกัน ในช่วงแรกก็ยังไม่ได้ขายดีมาก คนยังไม่ค่อยเข้าใจแต่เราก็ใช้เวลาค่อยๆปรับไปจนมันเห็นถึงการพัฒนามากขึ้น เราเริ่มไปพบปะดีไซน์เนอร์อื่นๆ เริ่มไปงานนิทรรศการ ไปออกบูธเพื่อทำให้คนรู้จักมากขึ้น เริ่มมีดารา เซเลปมาซื้อ เราก็เริ่มทำตลาดออนไลน์ในการสื่อสารแบรนด์ ส่งผลให้ยอดขายก็ดีขึ้นตามลำดับ“







IIIi การเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ และความท้าทายของการใช้วัสดุในการออกแบบ

นิยามของจิวเวลรี่ คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงของที่มีมูลค่าสูง(Precious) เครื่องประดับเป็นของล้ำค่า ที่ใส่แล้วต้องดูสง่า ดูแพง แต่จริงๆแล้วเครื่องประดับมีหลายประเภท ทั้ง Fine Jewelry ที่เป็นเครื่องประดับมูลค่าสูง , Fashion Jewelry เครื่องประดับเพื่อการแต่งกาย , Contemporary Jewelry เครื่องประดับที่เป็นการแสดงออกทางศิลปะ ฯลฯ

"ที่ผ่านมาแบรนด์ของเราเองก็มีคนถามอยู่ตลอดว่า ทำไมไม่ปรับวัสดุเป็น เงิน เป็นพลอย เป็น ทองแท้ ซึ่งเราเองก็ได้รับฟีดแบคจากลูกค้ามาโดยตลอด แต่ด้วยความที่แบรนด์ Jittrakarn อยากให้มีความเป็นแฟชั่นที่ยังคงความเป็นไลฟ์สไตล์อยู่ มีความสนุก มีลูกเล่นบ้าง ดังนั้นเราจึงปรับมาเป็นการเลือกใช้วัสดุต่างๆ ที่ต้องตอบโจทย์การดีไซน์ที่เราวางแนวคิดเอาไว้ ถึงแม้ว่ามุมมองของลูกค้าบางกลุ่มยังมองว่าเครื่องประดับต้องมีมูลค่าส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นได้ สิ่งเหล่านี้เรามองว่าเป็นความท้าทายในตลาด ที่เราต้องพยายามจะปรับสินค้าให้แตกต่างและปรับให้เข้ากับระบบการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อทำให้แบรนด์เรายังดำเนินธุรกิจต่อไปได้


“ปัจจุบันโลกของการออกแบบจิวเวลรี่ มีความพยายามท้าทายขนบแบบเดิมๆอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการท้าทายในแง่ ”ทัศนคติในเชิงคุณค่า” อย่างเช่นผลงานของศิลปินท่านหนึ่งชื่อ David Bielander นำทองคำมาขึ้นรูปเลียนแบบกระดาษลังซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ราคาถูก แต่งานนี้กลับมีความน่าสนใจมาก ที่มีคุณค่าใหม่ในเชิงทักษะ ฝีมือช่าง และความคิดสร้างสรรค์ และตัวอย่างที่น่าสนใจอีกเคสคืองานของนักศึกษา ที่ครอบครัวทำธุรกิจตัดต่อสายนาฬิกา จึงมีเศษของสายนาฬิกาที่มีราคาสูงจำนวนมาก ได้นำเศษวัสดุมาออกแบบใหม่เป็นชิ้นงาน เป็นการให้คุณค่ากับวัสดุเหลือใช้ให้กลับมามีมูลค่าอีกครั้ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าหากเรามีแนวคิดที่สร้างสรรค์ ก็สามารถพลิกมุมมองในการเล่าเรื่องให้สินค้าดูน่าสนใจขึ้นมาได้“



IIIi การใช้วัสดุทดแทนที่สามารถควบคุมได้ และใส่ใจโลกมากขึ้น

“เราอยากให้เข้าใจก่อนว่าการใช้วัสดุหมุนเวียนเป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมนี้สนใจโดยตลอดเพราะต้องดีล กับโลหะมีค่า เช่น ทอง เงิน ฯลฯ จึงมีการรีไซเคิลกันอย่างต่อเนื่องมานานแล้ว โดยแบรนด์ของเราก็สนใจใน เรื่องของ 3D Printing , อะคริลิคที่ใช้รีไซเคิลได้รวมถึงวัสดุอีกประเภทที่เราสนใจคือ PA12 เป็นไนลอนที่แข็งแรง ทนทาน ใช้ความร้อนในการผลิตน้อย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เราใช้พลอยสังเคราะห์มาเป็นวัสดุทดแทนเพราะคุณสมบัติของรูปทรง หรือการให้เอฟเฟคก็จะแต่งต่างจากทีเราเห็นพลอยที่เราเห็นทั่วไป ส่วนในด้านอื่นๆของเราก็พยายามทดลองออกแบบให้สินค้าที่มีดีไซน์ร่วมสมัย เป็นเอกลักษณ์อยู่ได้นาน ใช้กระบวนการผลิตที่มีคุณภาพสูง สามารถใช้ได้นานไม่เป็นส่วนหนึ่งของ Fast Fashion จนเกินไป ”




"ในอนาคตถึงแม้ความมีคุณค่าของวัสดุอย่าง เพชร พลอย ที่นำมาทำเครื่องประดับเริ่มถูกตั้งคำถามถึงความมีมูลค่า มีการศึกษาวิจัยสร้างวัสดุที่สมจริงขึ้นมาในแล็บเพื่อทดแทนวัสดุธรรมชาติขึ้นมาเป็นทางเลือกใหม่ในการในการออกแบบและสวมใส่ แต่สินค้าในแบบ Precious ก็ยังคงมีมูลค่าที่แท้จริงอยู่ในแง่ของการถือครอง คุณค่าของงานฝีมือที่ยังคงอยู่ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีที่มันรวดเร็วจะทำให้การผลิตถูกลง แต่มูลค่าของการสื่อสารแบรนด์และการเล่าเรื่องก็ยังมีส่วนสำคัญในการสร้างมูลค่าแบรนด์อยู่เสมอ”





IIIi การเปลี่ยนแปลงและการเปิดรับสิ่งใหม่คือ”ความยั่งยืน”ของแบรนด์

“ถึงแม้ว่าจุดเริ่มต้นเราไม่ได้มาจากเป้าหมายที่ต้องทำสินค้าให้ช่วยโลกหรือทำให้ยั่งยืน สิ่งที่เราทำอยู่มันคือ “สินค้าแฟชั่น" ที่ต้องปรับตามยุคสมัยและค่านิยมต่างๆ เรามองว่าความยั่งยืนคือ “การปรับตัว” และทดลองสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอให้กับแบรนด์ โดยที่เราก็สามารทำความเข้าใจกับสภาพสังคมพร้อมกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงได้ สิ่งที่สำคัญของการทำแบรนด์ที่เข้าไปอยู่ในใจคนคือการสร้าง Touch Point จากการดีไซน์ที่มีเอกลักษณ์เป็น ของตัวเอง พร้อมกับกล้าที่จะข้ามขีดจำกัดในเชิงออกแบบให้สินค้าดูน่าสนใจ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกค้าเห็นคุณค่าของแบรนด์เราอย่างต่อเนื่องได้"






Text:

Chanathip K.

Chanathip K.

PHOTO:

Chanathip K.

Chanathip K.

Related Posts