ภารกิจของ 'ชุมชุนบ้านวัดมะเกลือ' ในวันที่ร่มเงาของต้นมะเกลือเริ่มจะหายไป
ภารกิจของ 'ชุมชุนบ้านวัดมะเกลือ' ในวันที่ร่มเงาของต้นมะเกลือเริ่มจะหายไป
28 ต.ค. 2567
SHARE WITH:
28 ต.ค. 2567
28 ต.ค. 2567
SHARE WITH:
SHARE WITH:
ภารกิจของ 'ชุมชุนบ้านวัดมะเกลือ' ในวันที่ร่มเงาของต้นมะเกลือเริ่มจะหายไป
มะเกลือ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ จัดอยู่ในวงศ์มะพลับ (Ebenaceae) มีความสูงประมาณ 10-30 เมตร มีลักษณะทรงพุ่ม ใบเป็นใบเดี่ยวรูปรีปลายใบแหลม ผิวเปลือกแตกเป็นสะเก็ดตามยาวเนื้อไม้จะมีความละเอียดเป็นมันสวยงาม มีลักษณะพิเศษคือทุกส่วนของมะเกลือเมื่อแห้งแล้วจะกลายเป็นสีดำ ต้นมะเกลือขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ลักษณะมีผลกลมเกลี้ยง ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลือง ส่วนผลแก่มีสีดำ สามารถพบต้นมะเกลือได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ ต้นมะเกลือเป็นต้นไม้ไทยที่มักถูกเชื่อมโยงกับพิธีกรรมและความเชื่อทางจิตวิญญาณ บางชุมชนใช้ส่วนต่างๆ ของต้นมะเกลือในพิธีกรรมทางศาสนา เช่นไม้มะเกลือที่มีสีดำ เนื้อไม้แข็ง จะมีความเชื่อว่าเป็นไม้มงคลช่วยเสริมสิริมงคล นอกจากนี้สีดำที่ได้จากผลมะเกลือยังใช้ในการทำสีย้อมผ้าจากธรรมชาติสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน
“บ้านวัดมะเกลือ” เป็นชุมชนท้องถิ่นที่เก่าแก่ในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีคลองนราภิรมย์เป็นสายน้ำเส้นหลักในการหล่อเลี้ยงและดำเนินวิถีชีวิตของคนในชุมชน ชุมชนวัดมะเกลือมีวัดประจำหมู่บ้านชื่อ วัดมะเกลือ ซึ่งสันนิฐานสาเหตุที่เรียกว่าวัดมะเกลือเนื่องจากแต่เดิมบริเวณชุมชนแห่งนี้มีต้นมะเกลือขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จนนำมาใช้ตั้งชื่อบ้านนามถิ่นกลายเป็นภูมินามของชุมชนแห่งนี้มาจวบจนปัจจุบัน จากคำบอกเล่าของสมาชิกในชุมชนว่า ในอดีตมีการทำประมงพื้นบ้านในในคลองนราภิรมย์ซึ่งเป็นคลองที่ไหลผ่านหมู่บ้านและนิยมนำผลมะเกลือมาใช้เป็นสีย้อมแหอวน แต่เมื่ออาชีพเหล่านี้ไมไ่ด้รับการสืบทอดทำให้การเห็นคุณค่าของต้นมะเกลือค่อยๆ ลดลง ต้นมะเกลือจึงเป็นต้นไม้ที่กำลังเผชิญกับความเสี่ยงที่จะสูญหายไปจากชุมชน
จากภูมินาม สู่การยึดโยงของคนในชุมชน ที่มุ่งหวังไปสู่ความยั่งยืนในหลายมิติ
มิติด้าน “พลวัตของชุมชน”
การขยายตัวของความเจริญและชุมชนเมือง ทำให้พื้นที่ถูกพัฒนาและแทนที่ด้วยสิ่งปลูกสร้าง การใช้ประโยชน์จากต้นมะเกลือก็ลดลงเนื่องจากอาชีพของคนภายในชุมชนที่เปลี่ยนแปลงไป ต้นมะเกลือจึงกลายเป็นต้นไม้ธรรมดาที่คนรุ่นใหม่ไม่รู้จัก และลดจำนวนลงไปโดยที่คนภายในชุมชนไม่รู้ตัว อีกทั้งความรู้เรื่องการใช้ประโยชน์จากต้นมะเกลือที่ถ่ายทอดสู่คนรุ่นใหม่ลดลง หากไม่มีการรักษาความรู้เหล่านี้ไว้ ต้นมะเกลือและคุณค่าทางวัฒนธรรมของมันอาจถูกลืมเลือนไป
แต่ยังมีคนกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความรักและหวงแหนในรากของตนเอง นำโดย คุณป้าวลี สวดมาลัย ผู้ที่เกิดและเติบโตในชุมชนแห่งนี้ และยังเป็นประธานชุมชนผู้ซึ่งอยากให้ภูมินามของชุมชนกลับคืนมา มีความตั้งใจที่จะฟื้นฟูต้นมะเกลือในชุมชน เนื่องจากมองเห็นปัญหาหลักที่ชุมชนกำลังเผชิญคือ การเสื่อมถอยของภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นสัญลักษณ์ของชุมชน ได้มองเห็นถึงคุณค่าของต้นมะเกลือที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ เป็นผู้จุดประกายให้สมาชิกในชุมชนเล็งเห็นถึงความสำคัญและร่วมมือกันฟื้นฟูต้นมะเกลือซึ่งเป็นภูมินามของชุมชนให้กลับมาดังเดิม คุณป้าวลีจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการปลุกจิตสำนึกและสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนในชุมชนหันกลับมาเห็นคุณค่าของต้นมะเกลือ เธอไม่เพียงริเริ่มอนุรักษ์ในการจัดทำธนาคารต้นมะเกลือ แต่ยังช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากมะเกลือร่วมกับชุมชน
คุณป้าวลี ยังได้เล่าถึงความเป็นมาไว้ว่า “เมื่อเราเติบโตมาในชุมชนที่ชื่อว่า ชุมชนบ้านวัดมะเกลือ ซึ่งถือว่าเป็นภูมินามของชุมชน เราจึงได้กลับมาดูว่าทำไมถึงชื่อว่าชุมชนบ้านวัดมะเกลือ จากคำบอกเล่าของคนรุ่นพ่อแม่ก็บอกว่าสมัยก่อนมีต้นมะเกลืออยู่เยอะ แต่สมัยนี้ไม่ค่อยมีให้เห็นแล้ว เหลืออยู่เพียงไม่กี่ต้น โดยต้นที่เก่าแก่ที่สุดจะอยู่ในวัดด้านหลังพระอุโบสถ หลวงพ่อท่านเล่าว่าต้นมะเกลือต้นนี้อยู่มาตั้งแต่ก่อนที่หลวงพ่อจะมาจำวัดอยู่ที่นี่ ซึ่งคาดว่าน่าจะมีอายุมากกว่า 70 ปี เราจึงอยากอนุรักษ์ต้นมะเกลือโดยการขยายพันธุ์ต้นมะเกลือให้เพิ่มมากขึ้น การจัดตั้งธนาคารมะเกลือจึงเกิดขึ้นหลังจากที่สมาชิกในชุมชนมีความเห็นตรงกันว่าต้องการช่วยกันอนุรักษ์ต้นมะเกลือ”
“เมื่อมีต้นมะเกลือเพิ่มขึ้นแล้วจึงต้องการใช้ประโยชน์จากมัน พ่อแม่เคยบอกว่าสมัยก่อนเขาจะเอาลูกของมันมาใช้ย้อมสีแหหรืออวน สำหรับใช้หาปลาในคลอง แต่เดี๋ยวนี้อาชีพพวกนี้ไม่มีคนทำแล้ว แต่มันก็สามารถใช้ย้อมผ้าได้ ชุมชนของเรามีวิสาหกิจชุมชนชื่อว่า วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครือข่ายนราภิรมย์ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อร่วมมือกันของคนในชุมชน ที่จะสร้างรายได้ให้กับสมาชิก จึงได้ลองทำผ้ามัดย้อมจากสีของมะเกลือในชุมชนเราเอง จึงเป็นจุดเริ่มต้นของผ้ามะเกลือของกลุ่มเราเป็นต้นมา”
มิติด้าน “สิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์”
เพื่อให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าและหันมาปลูกต้นมะเกลือมากขึ้น จึงได้ริเริ่มการดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูต้นมะเกลือ โดยการจัดตั้งธนาคารมะเกลือและขึ้นทะเบียนต้นมะเกลือที่มีอยู่ในชุมชน ส่วนหนึ่งของการตระหนักถึงคุณค่าคือการทำให้สมาชิกในชุมชนได้ใช้ประโยชน์และเกิดรายได้จากต้นมะเกลือ ซึ่งทางกลุ่มมุ่งเน้นการดำเนินกิจกรรมทั้งกระบวนการโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
“เราเห็นคนในชุมชนไม่รู้จักมะเกลือเยอะ เราจึงอยากฟื้นคำว่ามะเกลือให้กลับมา โดยการทำผลิตภัณฑ์จากมะเกลือที่สามารถช่วยสร้างรายได้ให้กับสมาชิกในชุมชนด้วย จึงอยากให้มีผลิตภัณฑ์หลายๆ รูปแบบเพื่อให้ตอบโจทย์กับคนรุ่นใหม่และคนหลายๆ กลุ่ม และสิ่งสำคัญที่เราต้องการจะทำก็คือ เราต้องการให้ของเหลือจากการทำผลิตภัณฑ์ของเราเกิดประโยชน์ ต้องการให้ทุกอย่างกลายเป็น Zero Waste ในชุมชน” คุณอมรพรรณ สกุลงาม ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านวัดมะเกลือกล่าว
ชุมชนได้รับความช่วยเหลือจากภาคีเครือข่ายในหลายภาคส่วน ที่จะทำให้การพัฒนาที่ยั่งยืนเกิดขึ้นได้จริง หนึ่งในหน่วยงานที่เข้ามามีส่วนร่วมกับชุมชนคือ ทีมอาจารย์และนักศึกษา สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ได้เข้ามาช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนและต่อยอดให้เกิดการใช้ประโยชน์จากของเหลือในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ของชุมชน โดยการนำกากมะเกลือและน้ำย้อมที่เหลือทิ้งในกระบวนการย้อมผ้าร่วมกับกระดาษที่ใช้แล้วมาทำเป็นกระดาษจากกากมะเกลือ ทำให้ลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิต และยังได้กระดาษสำหรับนำไปทำเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุสินค้าจากผ้ามัดย้อม
มิติด้าน “เศรษฐกิจ”
การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครือข่ายนราภิรมย์ เป็นอีกหนึ่งแนวคิดในการรวมกลุ่มกันของคนภายในชุมชน เพื่อส่งเสริมและดำเนินกิจกรรมการสร้างรายได้จากผลผลิตและวัสดุธรรมชาติต่างๆ ภายในชุมชน เช่น การทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์จากงาน Eco Print การทำน้ำสมุนไพร รวมถึงการจัดกิจกรรม Workshop และเป็นหนึ่งในจุดท่องเที่ยว “วันเดย์ทริป วันเดียวเที่ยวสองจังหวัด นครปฐม-นนทบุรี” การใช้ประโยชน์จากต้นมะเกลือจึงเป็นหัวข้อต่อไปในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม จากความร่วมมือของทีมอาจารย์และนักศึกษาร่วมกับชุมชน ได้ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยดึงความสามารถของชุมชนร่วมกับนวัตกรรมการใช้เทคนิค Modular Interlocking ซึ่งเป็นเทคนิคการออกแบบและประกอบชิ้นส่วนที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงและความสะดวกในการประกอบชิ้นงานได้ง่าย โดยการนำชิ้นส่วนโมดูลที่สามารถเชื่อมต่อหรือล็อกกันได้โดยไม่ต้องใช้วัสดุเสริม หรือไม่ต้องใช้การเย็บ มาสอดประสานกันได้อย่างพอดี ช่วยให้ชิ้นงานเชื่อมต่อกันได้อย่างหนาแน่น และสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย เกิดการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยชุบชีวิตผ้ามัดย้อมที่ชำรุด การย้อมสีจากมะเกลือ การย้อมสีจากสีธรรมชาติอื่นๆ เช่น ดอกดาวเรืองที่เหลือทิ้งในสวน ถือเป็นการใช้วัสดุอย่างคุ้มค่า เป็นการกระจายรายได้ให้กับสมาชิกในกลุ่มและชุมชนใกล้เคียง เกิดการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนขึ้นภายในชุมชน
“สร้างสีสันของชุมชน” ด้วยสีน้ำธรรมชาติ จากผลมะเกลือและต้นไม้ในชุมชน
ผลมะเกลือที่นำไปย้อมผ้าจะใช้เฉพาะผลมะเกลือสด ส่วนผลมะเกลือแห้งนั้นต้องถูกทิ้งไปโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ แต่สำหรับการทำสีน้ำสามารถใช้ผลมะเกลือได้ทั้งสดและแห้ง โดยให้สีและยังเกิดเฉดสีที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังมีคุณสมบัติพิเศษคือ เมื่อสัมผัสกับอากาศจะทำให้มีเฉดสีที่เข้มขึ้น และเมื่อระยะเวลาผ่านไปจะค่อยๆ เปลี่ยนเฉดสีจากสีดำหรือสีเทาเข้มเป็นสีน้ำตาลเข้ม ถือเป็นเสน่ห์ของเฉดสีมะเกลือ ที่สามารถบอกเรื่องราวของสีตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป เกิดเป็นไอเดียของการนำผลมะเกลือมาทำสีน้ำธรรมติที่มีความปลอดภัย และสามารถนำมาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะได้อีกด้วย
ต่อยอดความยั่งยืนโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อปลูกจิตสำนึกให้กับนักเรียนในโรงเรียนของชุมชน
เมื่อลองตั้งคำถามกับเด็กนักเรียนในโรงเรียนวัดมะเกลือ เด็กๆ แทบทุกคนต่างส่ายหน้าไม่รู้จักว่ามะเกลือเป็นอย่างไร ทั้งที่ชื่อของชุมชนและโรงเรียนมีคำว่ามะเกลือ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ผู้ใหญ่ในชุมชนเล็งเห็นถึงความสำคัญในการถ่ายทอดให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ที่จะรักและหวงแหนสมบัติในบ้านเกิดของตัวเอง จึงจัดกิจกรรมสนุกๆ ด้วยการสอนทำสีน้ำจากผลมะเกลือและวาดภาพจากสีที่ตัวเองทำขึ้น เพื่อเป็นการถ่ายทอดให้เด็กรุ่นต่อไปของชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ต้นมะเกลือให้ยั่งยืนในอีกทางหนึ่ง
สิ่งที่ชุมชนนี้ได้สร้างขึ้นไม่เพียงแค่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์จากมะเกลือ แต่ยังเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชน วัด โรงเรียน และภาคีเครือข่ายในทุกภาคส่วน นำไปสู่นวัตกรรมที่มีรากฐานจากความรักในท้องถิ่น โดยมีต้นมะเกลือเป็นหัวใจของชุมชน “ต้นมะเกลือจึงมิได้เป็นเพียงต้นไม้ แต่เป็นรากเหง้าและจิตวิญญาณของคนในชุมชน ที่ค่อยๆ ผลิบานขึ้นใหม่ สืบสานต่อเรื่องราวและความผูกพันจากรุ่นสู่รุ่น พร้อมสร้างอนาคตที่มั่นคง และเต็มไปด้วยความหวังให้กับชุมชนนี้ต่อไป”
มะเกลือ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ จัดอยู่ในวงศ์มะพลับ (Ebenaceae) มีความสูงประมาณ 10-30 เมตร มีลักษณะทรงพุ่ม ใบเป็นใบเดี่ยวรูปรีปลายใบแหลม ผิวเปลือกแตกเป็นสะเก็ดตามยาวเนื้อไม้จะมีความละเอียดเป็นมันสวยงาม มีลักษณะพิเศษคือทุกส่วนของมะเกลือเมื่อแห้งแล้วจะกลายเป็นสีดำ ต้นมะเกลือขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ลักษณะมีผลกลมเกลี้ยง ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลือง ส่วนผลแก่มีสีดำ สามารถพบต้นมะเกลือได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ ต้นมะเกลือเป็นต้นไม้ไทยที่มักถูกเชื่อมโยงกับพิธีกรรมและความเชื่อทางจิตวิญญาณ บางชุมชนใช้ส่วนต่างๆ ของต้นมะเกลือในพิธีกรรมทางศาสนา เช่นไม้มะเกลือที่มีสีดำ เนื้อไม้แข็ง จะมีความเชื่อว่าเป็นไม้มงคลช่วยเสริมสิริมงคล นอกจากนี้สีดำที่ได้จากผลมะเกลือยังใช้ในการทำสีย้อมผ้าจากธรรมชาติสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน
“บ้านวัดมะเกลือ” เป็นชุมชนท้องถิ่นที่เก่าแก่ในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีคลองนราภิรมย์เป็นสายน้ำเส้นหลักในการหล่อเลี้ยงและดำเนินวิถีชีวิตของคนในชุมชน ชุมชนวัดมะเกลือมีวัดประจำหมู่บ้านชื่อ วัดมะเกลือ ซึ่งสันนิฐานสาเหตุที่เรียกว่าวัดมะเกลือเนื่องจากแต่เดิมบริเวณชุมชนแห่งนี้มีต้นมะเกลือขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จนนำมาใช้ตั้งชื่อบ้านนามถิ่นกลายเป็นภูมินามของชุมชนแห่งนี้มาจวบจนปัจจุบัน จากคำบอกเล่าของสมาชิกในชุมชนว่า ในอดีตมีการทำประมงพื้นบ้านในในคลองนราภิรมย์ซึ่งเป็นคลองที่ไหลผ่านหมู่บ้านและนิยมนำผลมะเกลือมาใช้เป็นสีย้อมแหอวน แต่เมื่ออาชีพเหล่านี้ไมไ่ด้รับการสืบทอดทำให้การเห็นคุณค่าของต้นมะเกลือค่อยๆ ลดลง ต้นมะเกลือจึงเป็นต้นไม้ที่กำลังเผชิญกับความเสี่ยงที่จะสูญหายไปจากชุมชน
จากภูมินาม สู่การยึดโยงของคนในชุมชน ที่มุ่งหวังไปสู่ความยั่งยืนในหลายมิติ
มิติด้าน “พลวัตของชุมชน”
การขยายตัวของความเจริญและชุมชนเมือง ทำให้พื้นที่ถูกพัฒนาและแทนที่ด้วยสิ่งปลูกสร้าง การใช้ประโยชน์จากต้นมะเกลือก็ลดลงเนื่องจากอาชีพของคนภายในชุมชนที่เปลี่ยนแปลงไป ต้นมะเกลือจึงกลายเป็นต้นไม้ธรรมดาที่คนรุ่นใหม่ไม่รู้จัก และลดจำนวนลงไปโดยที่คนภายในชุมชนไม่รู้ตัว อีกทั้งความรู้เรื่องการใช้ประโยชน์จากต้นมะเกลือที่ถ่ายทอดสู่คนรุ่นใหม่ลดลง หากไม่มีการรักษาความรู้เหล่านี้ไว้ ต้นมะเกลือและคุณค่าทางวัฒนธรรมของมันอาจถูกลืมเลือนไป
แต่ยังมีคนกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความรักและหวงแหนในรากของตนเอง นำโดย คุณป้าวลี สวดมาลัย ผู้ที่เกิดและเติบโตในชุมชนแห่งนี้ และยังเป็นประธานชุมชนผู้ซึ่งอยากให้ภูมินามของชุมชนกลับคืนมา มีความตั้งใจที่จะฟื้นฟูต้นมะเกลือในชุมชน เนื่องจากมองเห็นปัญหาหลักที่ชุมชนกำลังเผชิญคือ การเสื่อมถอยของภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นสัญลักษณ์ของชุมชน ได้มองเห็นถึงคุณค่าของต้นมะเกลือที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ เป็นผู้จุดประกายให้สมาชิกในชุมชนเล็งเห็นถึงความสำคัญและร่วมมือกันฟื้นฟูต้นมะเกลือซึ่งเป็นภูมินามของชุมชนให้กลับมาดังเดิม คุณป้าวลีจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการปลุกจิตสำนึกและสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนในชุมชนหันกลับมาเห็นคุณค่าของต้นมะเกลือ เธอไม่เพียงริเริ่มอนุรักษ์ในการจัดทำธนาคารต้นมะเกลือ แต่ยังช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากมะเกลือร่วมกับชุมชน
คุณป้าวลี ยังได้เล่าถึงความเป็นมาไว้ว่า “เมื่อเราเติบโตมาในชุมชนที่ชื่อว่า ชุมชนบ้านวัดมะเกลือ ซึ่งถือว่าเป็นภูมินามของชุมชน เราจึงได้กลับมาดูว่าทำไมถึงชื่อว่าชุมชนบ้านวัดมะเกลือ จากคำบอกเล่าของคนรุ่นพ่อแม่ก็บอกว่าสมัยก่อนมีต้นมะเกลืออยู่เยอะ แต่สมัยนี้ไม่ค่อยมีให้เห็นแล้ว เหลืออยู่เพียงไม่กี่ต้น โดยต้นที่เก่าแก่ที่สุดจะอยู่ในวัดด้านหลังพระอุโบสถ หลวงพ่อท่านเล่าว่าต้นมะเกลือต้นนี้อยู่มาตั้งแต่ก่อนที่หลวงพ่อจะมาจำวัดอยู่ที่นี่ ซึ่งคาดว่าน่าจะมีอายุมากกว่า 70 ปี เราจึงอยากอนุรักษ์ต้นมะเกลือโดยการขยายพันธุ์ต้นมะเกลือให้เพิ่มมากขึ้น การจัดตั้งธนาคารมะเกลือจึงเกิดขึ้นหลังจากที่สมาชิกในชุมชนมีความเห็นตรงกันว่าต้องการช่วยกันอนุรักษ์ต้นมะเกลือ”
“เมื่อมีต้นมะเกลือเพิ่มขึ้นแล้วจึงต้องการใช้ประโยชน์จากมัน พ่อแม่เคยบอกว่าสมัยก่อนเขาจะเอาลูกของมันมาใช้ย้อมสีแหหรืออวน สำหรับใช้หาปลาในคลอง แต่เดี๋ยวนี้อาชีพพวกนี้ไม่มีคนทำแล้ว แต่มันก็สามารถใช้ย้อมผ้าได้ ชุมชนของเรามีวิสาหกิจชุมชนชื่อว่า วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครือข่ายนราภิรมย์ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อร่วมมือกันของคนในชุมชน ที่จะสร้างรายได้ให้กับสมาชิก จึงได้ลองทำผ้ามัดย้อมจากสีของมะเกลือในชุมชนเราเอง จึงเป็นจุดเริ่มต้นของผ้ามะเกลือของกลุ่มเราเป็นต้นมา”
มิติด้าน “สิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์”
เพื่อให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าและหันมาปลูกต้นมะเกลือมากขึ้น จึงได้ริเริ่มการดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูต้นมะเกลือ โดยการจัดตั้งธนาคารมะเกลือและขึ้นทะเบียนต้นมะเกลือที่มีอยู่ในชุมชน ส่วนหนึ่งของการตระหนักถึงคุณค่าคือการทำให้สมาชิกในชุมชนได้ใช้ประโยชน์และเกิดรายได้จากต้นมะเกลือ ซึ่งทางกลุ่มมุ่งเน้นการดำเนินกิจกรรมทั้งกระบวนการโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
“เราเห็นคนในชุมชนไม่รู้จักมะเกลือเยอะ เราจึงอยากฟื้นคำว่ามะเกลือให้กลับมา โดยการทำผลิตภัณฑ์จากมะเกลือที่สามารถช่วยสร้างรายได้ให้กับสมาชิกในชุมชนด้วย จึงอยากให้มีผลิตภัณฑ์หลายๆ รูปแบบเพื่อให้ตอบโจทย์กับคนรุ่นใหม่และคนหลายๆ กลุ่ม และสิ่งสำคัญที่เราต้องการจะทำก็คือ เราต้องการให้ของเหลือจากการทำผลิตภัณฑ์ของเราเกิดประโยชน์ ต้องการให้ทุกอย่างกลายเป็น Zero Waste ในชุมชน” คุณอมรพรรณ สกุลงาม ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านวัดมะเกลือกล่าว
ชุมชนได้รับความช่วยเหลือจากภาคีเครือข่ายในหลายภาคส่วน ที่จะทำให้การพัฒนาที่ยั่งยืนเกิดขึ้นได้จริง หนึ่งในหน่วยงานที่เข้ามามีส่วนร่วมกับชุมชนคือ ทีมอาจารย์และนักศึกษา สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ได้เข้ามาช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนและต่อยอดให้เกิดการใช้ประโยชน์จากของเหลือในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ของชุมชน โดยการนำกากมะเกลือและน้ำย้อมที่เหลือทิ้งในกระบวนการย้อมผ้าร่วมกับกระดาษที่ใช้แล้วมาทำเป็นกระดาษจากกากมะเกลือ ทำให้ลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิต และยังได้กระดาษสำหรับนำไปทำเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุสินค้าจากผ้ามัดย้อม
มิติด้าน “เศรษฐกิจ”
การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครือข่ายนราภิรมย์ เป็นอีกหนึ่งแนวคิดในการรวมกลุ่มกันของคนภายในชุมชน เพื่อส่งเสริมและดำเนินกิจกรรมการสร้างรายได้จากผลผลิตและวัสดุธรรมชาติต่างๆ ภายในชุมชน เช่น การทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์จากงาน Eco Print การทำน้ำสมุนไพร รวมถึงการจัดกิจกรรม Workshop และเป็นหนึ่งในจุดท่องเที่ยว “วันเดย์ทริป วันเดียวเที่ยวสองจังหวัด นครปฐม-นนทบุรี” การใช้ประโยชน์จากต้นมะเกลือจึงเป็นหัวข้อต่อไปในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม จากความร่วมมือของทีมอาจารย์และนักศึกษาร่วมกับชุมชน ได้ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยดึงความสามารถของชุมชนร่วมกับนวัตกรรมการใช้เทคนิค Modular Interlocking ซึ่งเป็นเทคนิคการออกแบบและประกอบชิ้นส่วนที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงและความสะดวกในการประกอบชิ้นงานได้ง่าย โดยการนำชิ้นส่วนโมดูลที่สามารถเชื่อมต่อหรือล็อกกันได้โดยไม่ต้องใช้วัสดุเสริม หรือไม่ต้องใช้การเย็บ มาสอดประสานกันได้อย่างพอดี ช่วยให้ชิ้นงานเชื่อมต่อกันได้อย่างหนาแน่น และสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย เกิดการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยชุบชีวิตผ้ามัดย้อมที่ชำรุด การย้อมสีจากมะเกลือ การย้อมสีจากสีธรรมชาติอื่นๆ เช่น ดอกดาวเรืองที่เหลือทิ้งในสวน ถือเป็นการใช้วัสดุอย่างคุ้มค่า เป็นการกระจายรายได้ให้กับสมาชิกในกลุ่มและชุมชนใกล้เคียง เกิดการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนขึ้นภายในชุมชน
“สร้างสีสันของชุมชน” ด้วยสีน้ำธรรมชาติ จากผลมะเกลือและต้นไม้ในชุมชน
ผลมะเกลือที่นำไปย้อมผ้าจะใช้เฉพาะผลมะเกลือสด ส่วนผลมะเกลือแห้งนั้นต้องถูกทิ้งไปโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ แต่สำหรับการทำสีน้ำสามารถใช้ผลมะเกลือได้ทั้งสดและแห้ง โดยให้สีและยังเกิดเฉดสีที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังมีคุณสมบัติพิเศษคือ เมื่อสัมผัสกับอากาศจะทำให้มีเฉดสีที่เข้มขึ้น และเมื่อระยะเวลาผ่านไปจะค่อยๆ เปลี่ยนเฉดสีจากสีดำหรือสีเทาเข้มเป็นสีน้ำตาลเข้ม ถือเป็นเสน่ห์ของเฉดสีมะเกลือ ที่สามารถบอกเรื่องราวของสีตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป เกิดเป็นไอเดียของการนำผลมะเกลือมาทำสีน้ำธรรมติที่มีความปลอดภัย และสามารถนำมาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะได้อีกด้วย
ต่อยอดความยั่งยืนโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อปลูกจิตสำนึกให้กับนักเรียนในโรงเรียนของชุมชน
เมื่อลองตั้งคำถามกับเด็กนักเรียนในโรงเรียนวัดมะเกลือ เด็กๆ แทบทุกคนต่างส่ายหน้าไม่รู้จักว่ามะเกลือเป็นอย่างไร ทั้งที่ชื่อของชุมชนและโรงเรียนมีคำว่ามะเกลือ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ผู้ใหญ่ในชุมชนเล็งเห็นถึงความสำคัญในการถ่ายทอดให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ที่จะรักและหวงแหนสมบัติในบ้านเกิดของตัวเอง จึงจัดกิจกรรมสนุกๆ ด้วยการสอนทำสีน้ำจากผลมะเกลือและวาดภาพจากสีที่ตัวเองทำขึ้น เพื่อเป็นการถ่ายทอดให้เด็กรุ่นต่อไปของชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ต้นมะเกลือให้ยั่งยืนในอีกทางหนึ่ง
สิ่งที่ชุมชนนี้ได้สร้างขึ้นไม่เพียงแค่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์จากมะเกลือ แต่ยังเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชน วัด โรงเรียน และภาคีเครือข่ายในทุกภาคส่วน นำไปสู่นวัตกรรมที่มีรากฐานจากความรักในท้องถิ่น โดยมีต้นมะเกลือเป็นหัวใจของชุมชน “ต้นมะเกลือจึงมิได้เป็นเพียงต้นไม้ แต่เป็นรากเหง้าและจิตวิญญาณของคนในชุมชน ที่ค่อยๆ ผลิบานขึ้นใหม่ สืบสานต่อเรื่องราวและความผูกพันจากรุ่นสู่รุ่น พร้อมสร้างอนาคตที่มั่นคง และเต็มไปด้วยความหวังให้กับชุมชนนี้ต่อไป”