GSV กับ New Era of Muay Thai เวทีราชดำเนิน เวทีแห่งความเชื่อในมวยไทย
GSV กับ New Era of Muay Thai เวทีราชดำเนิน เวทีแห่งความเชื่อในมวยไทย
6 เม.ย. 2567
SHARE WITH:
6 เม.ย. 2567
6 เม.ย. 2567
SHARE WITH:
SHARE WITH:
GSV กับ New Era of Muay Thai เวทีราชดำเนิน เวทีแห่งความเชื่อในมวยไทย
“สำหรับผม เราไม่เขินที่จะใช้คำว่า ‘ซอฟต์พาวเวอร์’ เลยสำหรับมวยไทย” คุณแบงค์ - เธียรชัย พิสิฐวุฒินันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลเบิล สปอร์ต เวนเจอร์ส จำกัด หรือ GSV (จีเอสวี) ตอบกับเราด้วยความมั่นใจ
“วันนี้ถ้าเราเดินทางไปหลายประเทศทั่วโลก เราจะเห็นคอมมิวนิตี้มวยไทยที่แข็งแกร่งมากๆ นะครับ จากนักกีฬามวยไทยอาชีพเก่าๆ ที่สมัยก่อนเขาเคยมาอยู่มาซ้อมในเมืองไทย แล้วกลับไปเผยแพร่ทั้งศาสตร์ของกีฬามวยไทย ทั้งศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ในตอนนั้นที่เป็นยุค Golden Era of Muay Thai จนตอนนี้ นักมวยไทยจากทั่วโลกต่างก็มีความฝันว่า วันนึงจะได้มาต่อยที่เวทีราชดำเนิน ที่เป็นบ้านของมวยไทย นี่เป็นเกียรติสูงสุดของเขา”
คุณแบงค์บอกว่า ความพิเศษของมวยไทยที่ต่างจากกีฬาอื่นๆ คือ ‘แทบจะไม่มีกีฬาไหนในโลกที่มีบ้านของกีฬานั้นๆ เป็นสถานที่ชัดเจนจริงๆ แต่มวยไทย มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่เป็นได้ ที่เวทีราชดำเนิน’ และโจทย์ที่คุณแบงค์ต้องพบในการทำให้มวยไทยร่วมสมัยมากขึ้นคือ การสร้างประสบการณ์ของมวยไทย ทั้งการชกและการชม ให้เป็น World Class และอยู่คู่เป็นอัตลักษณ์ของมวยไทยอย่างยั่งยืน
ประวัติศาสตร์ประเทศไทยมีมวยไทยอยู่เสมอ
ไม่ใช่เพียงชื่อที่บอกว่ามวยไทยเป็นของคนไทย แต่มวยไทยอยู่ในประวัติศาสตร์ทุกหน้าของคนไทยเสมอในทุกยุคทุกสมัย เพียงแต่อาจแตกต่างกันไปตามพื้นเพหรือยุคสมัย อย่างมวยลพบุรี มวยโคราช มวยโบราณ
“ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาทุกยุคของประเทศไทย เรามีฮีโร่หรือบุคคลทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ของมวยไทยมาโดยตลอด ตั้งแต่พระเจ้าเสือ นายขนมต้ม หรือพระยาพิชัยดาบหัก และบุคคลในประวัติศาสตร์หลายสมัยก็ใช้ศาสตร์ของมวยไทยในการปกป้องเอกราชของประเทศ” คุณแบงค์เริ่มต้นเล่าเป็นไทม์ไลน์ของประวัติศาสตร์เพื่อให้เราเห็นภาพความผูกพันจนแยกกันไม่ออกได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
แรกเริ่มสุด มวยไทยเป็นศาสตร์ของการสู้รบเพื่อป้องกันประเทศ แล้วค่อยพัฒนามาเป็นกึ่งกีฬาพื้นบ้าน ก่อนที่ศาสตร์ของมวยไทยจะสืบทอดต่อมาจนถึงรุ่นของพวกเราในยุคปัจจุบัน ซึ่งนับว่ายังคงอยู่ร่วมกับวิถีชีวิตของผู้คนได้อย่างกลมกลืนแม้สิ่งต่างๆ รอบตัวจะเปลี่ยนแปลงไป
“จนเมื่อประมาณ 78 ปีที่แล้ว ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลไทยได้มีวิสัยทัศน์ว่า อยากให้มวยไทยเป็นกีฬาอาชีพ และอยากให้ศาสตร์ของมวยไทยเป็นศาสตร์ที่เข้าถึงได้กับคนทุกกลุ่มในประเทศ ถ้าเราเรียกกันเอง ก่อนหน้านั้นอาจจะเป็นยุคสมัยแรกของมวยไทยก่อนที่จะเป็นกีฬา พอมาถึงยุคที่สองนี้ก็คือยุคสมัยที่มวยไทยได้พัฒนาจากการเป็นศาสตร์แห่งการต่อสู้มาสู่การเป็นกีฬาอาชีพ”
จากจุดนั้นเองที่ทำให้เวทีมวยราชดำเนินเกิดขึ้นจากโครงการสร้างสนามเวทีมวยอาชีพแห่งประเทศไทย จนเรียกได้ว่าที่นี่คือเวทีของกีฬามวยไทยอาชีพแห่งแรกของโลก ซึ่งความสำคัญของการเป็นกีฬาอย่างเป็นทางการคือ มีการกำหนดกฎกติกาที่เป็นมาตรฐานของมวยไทยอาชีพ ดำเนินต่อเนื่องมาถึงการจัดการแข่งขันมวยไทย และเป็นสถานที่ที่อยู่ในประวัติศาสตร์ของชาติหลายต่อหลายครั้ง นั่นทำให้ความหมายของเวทีราชดำเนินที่เป็น Home of Muay Thai แจ่มชัดในสายตาชาวโลก
หลังจากมวยไทยเป็นกีฬาอาชีพอย่างสมบูรณ์แบบ กีฬามวยไทยเรียกว่ากราฟขึ้นแบบหยุดไม่อยู่ทั้งจากคนไทยและคนทั่วโลก จนมาถึงยุคทองของกีฬามวยไทยในช่วงระหว่างปี 1980 ถึงปลาย 1990 เรามีนักมวยแชมเปี้ยนที่สร้างชื่อเสียงในระดับโลกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น สามารถ พยัคฆ์อรุณ, เขาทราย-เขาค้อ แกแล็คซี่, แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์, วีระพล นครหลวงโปรโมชั่น หรือ สกัด พรทวี ผู้โดดเด่นขนาดที่เชื่อว่ากลายมาเป็นคาแรกเตอร์ในวิดีโอเกม Street Fighter
“ยุคนั้นเป็นยุคของสนามมวยบูมเลยครับ เรียกว่ามวยไทยเป็นอัตลักษณ์ของประเทศเราเลยก็ว่าได้ เวลามีไฟต์ใหญ่ๆ ที่นักมวยระดับแชมป์มาต่อย สนามก็จะเต็มทั้งหมดแบบที่เรียกว่า วิกแตก”
จริงๆ ยุคนี้ยังมีความสำคัญที่นอกเหนือกว่าความนิยมในเมืองไทย คือความตื่นตัวที่มาไกลจากคนทั่วโลก “ยุคนั้นเป็นยุคเริ่มต้นที่เราได้เห็นชาวต่างชาติจากหลายประเทศเข้ามาเรียนรู้กีฬามวยไทยในประเทศไทย หลายท่านมาใช้ชีวิตนักมวยไทยอาชีพเลย อย่าง Ramon Dekkers จากเนเธอร์แลนด์ หรือ John Wayne Parr จากออสเตรเลีย หรือทั้งจากยุโรป ญี่ปุ่น หรืออเมริกาเอง”
“ซึ่งพอหลังจากยุคนั้น ชาวต่างชาติกลุ่มนี้พอเลิกมวยก็กลับประเทศตัวเองไปสร้างคอมมิวนิตี้มวยไทยไว้ทั่วโลก นั่นเหมือนเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ค่อยแพร่กระจายไปทั่วโลก แล้วค่อนข้างสุกงอมระดับหนึ่งในยุคนี้”
คุณแบงค์พูดให้เรายิ่งเห็นภาพชัดขึ้นไปอีก “โปรโมเตอร์ชาวออสเตรเลียท่านนึงเคยบอกผมว่า ที่โน่น นักวิ่งซ้อมกันทุกวันเพื่อจะได้ไปวิ่งในโอลิมปิก นักกีฬาเทนนิสซ้อมทุกวันด้วยความฝันอยากแข่งแกรนสแลม ส่วนนักกีฬามวยไทย ซ้อมที่ออสเตรเลียกันทุกวัน เพื่อความฝันที่จะได้มาต่อยที่เวทีราชดำเนิน นี่เป็นเกียรติสูงสุดของเขา”
เวทีราชดำเนิน การพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งบนความร่วมสมัย
วงการมวยไทยเดินทางคู่กันกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ หลังจากประเทศผ่านความบอบช้ำในช่วงต้มยำกุ้ง ก้าวเข้าสู่ยุค Globalization คำถามสุดท้าทายที่เกิดขึ้นคือ ‘แล้วมวยไทยจะเติบโตและก้าวเดินไปพร้อมกับโลกยุคสมัยใหม่ได้อย่างไร’
“ในตอนนั้น กีฬามวยไทยยังมีการจัดในรูปแบบการอนุรักษ์ ขณะที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปตามพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้สำหรับคนนอกวงการแล้วในตอนนั้นมวยไทยค่อยๆมีภาพลักษณ์ที่อาจจะเป็นเหมือนกีฬาโบราณ และติดกับความรุนแรง ความน่ากลัว นั่นทำให้ถึงแม้ว่าเราจะมีกลุ่มคนดูที่ยังเยอะอยู่ เป็นกีฬาอันดับต้นๆ ของประเทศมาโดยตลอด แต่กลับกลายเป็นกีฬาเฉพาะกลุ่ม คนข้างนอกเริ่มเข้าไม่ถึง กลายเป็นยุคที่กีฬามวยไทยในประเทศไม่ค่อยสามารถสร้างแฟนมวยกลุ่มใหม่ได้ในหลายสิบปีที่ผ่านมา” คุณแบงค์ชี้ให้เห็นมวยไทยที่เหมือนจะออกห่างจากวิถีชีวิตของคนไทยยุคใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ
กราฟที่ทยอยพุ่งลง กลับมาถึงขีดสุดในช่วงสถานการณ์โควิด 19 ที่กีฬามวยไทยกระทบเต็มๆ ทั้งในแง่ของการเป็นกีฬาที่ถึงเนื้อต้องตัวกันโดยตรง การเชียร์มวยที่ต้องมารวมกลุ่มในสนาม เหมือนแผลที่ปริที่รอวันปะทุ
“ในตอนนี้ที่กระแสมวยไทยค่อนข้างบูม คนส่วนใหญ่อาจจะลืมไปแล้วว่า จริงๆ มวยไทยพึ่งผ่านจุดต่ำที่สุดมาเมื่อสองปีกว่าๆ นี้เอง สนามมวยจัดไม่ได้ โปรโมเตอร์จัดมวยไม่ได้ ค่ายมวยเลี้ยงนักมวยลำบากมาก นักมวยพอไม่ได้ต่อยก็ต้องเลิก หรือแม้แต่ภาพดำมืดของกีฬา แต่ช่วงนั้นเหมือนกับเป็นโอกาสเหมือนกัน”
โอกาสครั้งนี้คือการได้หยุดพัก แล้วถอยกลับมาตั้งหลักกันว่า แล้วเราจะทำอย่างไรให้กีฬามวยไทยไปต่อได้และไปได้แบบยั่งยืน
“ทาง GSV มีโอกาสได้คุยกับผู้ใหญ่หลายๆ ท่านในวงการ ทุกคนเชื่อกันหมดว่า กีฬามวยไทยเป็นได้มากกว่านี้ มวยไทยสามารถเป็นกีฬาระดับโลก และสร้างมูลค่าได้มากกว่านี้ เราคุยกันกับพาร์ตเนอร์ต่างๆ เช่น Plan B แล้วรวมตัวกันก่อตั้งบริษัท GSV ขึ้นมา ณ วันที่มวยไทยอยู่จุดต่ำสุด เพราะความเชื่อของเรา และเราได้เข้ามาพาร์ตเนอร์กับเวทีมวยราชดำเนินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2565”
หากแต่การจะรีแบรนด์มวยไทยทั้งวงการต้องใช้เวลาและความร่วมมือ ในขั้นแรกจึงเป็นโปรเจกต์เพื่อรีสตาร์ตให้มวยไทยกลับมาเกิดใหม่อีกครั้ง ให้นักมวยได้กลับเข้าค่ายมาซ้อม และใช้วิถีชีวิตแบบเดิมให้ได้ จึงเกิดเป็นการจัดอีเวนต์มวยไทยที่จังหวัดบุรีรัมย์ “เวลา 2-3 เดือน เราจัดไป 60 กว่าอีเวนต์ เพื่อให้มีความถี่ให้นักมวยได้กลับมาต่อย ได้กลับมามีอาชีพ มีรายได้ก่อน”
เวทีแห่งความเชื่อกับ การสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืนให้กับวงการมวยไทย
จากจุดนั้น ภาพจินตนาการใหม่ของมวยไทยก็กลับมาอีกครั้ง ตั้งแต่การรีโนเวตปรับโฉมหน้าของสนามมวยเวทีราชดำเนิน ยกระดับมาตรฐานให้เป็น World Class Sport Stadium เต็มไปด้วยแสงสีเสียงตระการตา ทว่ายังคงคุณค่ามนต์ขลังของสนามมวย และพิธีการมวยอย่างครบถ้วน ชูวัฒนธรรมของมวยไทยให้ผู้คนประจักษ์เห็นแบบเท่ๆ อย่างปี่มวย การไหวัครู และพบกับประสบการณ์เต็มอิ่มของมวยไทยทั้งในเชิงกีฬา ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม
“เราอยากให้คนเดินผ่านหน้าสนามราชดำเนินแล้วคิดว่า ที่นี่มันมีความรู้สึกเหมือนเห็นบรอดเวย์เธียเตอร์ของนิวยอร์ก มีความ Modern แต่ Classic และมีการจัดมวย 7 วันต่อสัปดาห์ นับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีเวทีมวยในกรุงเทพฯ ที่จัดมวยทุกวัน เพราะเราอยากให้ที่นี่เป็นปลายทางของคนอยากดูมวยไทย และแน่ใจว่า เมื่อนั่งรถมาถึงเวทีมวยแล้ว จะได้ดูมวยไทยแน่นอน”
งานรีโนเวตและรีแบรนด์สนามมวยเวทีราชดำเนินเหมือนกับเป็นการจุดศักราชใหม่ให้กับ New Era of Muay Thai ในแง่ของการสร้างกระแสให้ความนิยมมวยไทยให้กลับมาใหม่ ทาง GSV ก็ได้มีการสร้างรายการมวยไทยระดับโลกรายการใหม่ที่มีชื่อว่า RWS หรือ Rajadamnern World Series ที่เป็นการดึงเอานักมวยไทยที่เก่งที่สุดแต่ละรุ่นมาชกกัน โดยถ่ายทอดไปกว่า 200 ประเทศและเขตการปกครองทั่วโลก และมีคนจากมากกว่า 190 ประเทศ บินตรงมายังเมืองไทยเพื่อซื้อตั๋วมาดูมวยไทยที่เวทีราชดำเนิน
“มีหลายกิจกรรมที่เราทำเพื่อจุดกระแสเวทีราชดำเนินและกีฬามวยไทย อย่างรายการที่พี่บัวขาว บัญชาเมฆ ต่อยกับโคตะ มิอุระ เมื่อปี 2565 เราถือว่าเป็นรายการจุดพลุ Grand Opening สำหรับ New Era of Muay Thai สิ่งที่เราทำตอนนั้น คือเราอยากให้คนที่ไม่เคยก้าวขาเข้ามาในเวทีมวย ได้ลองเข้ามาครั้งแรก แล้วมีประสบการณ์การดูมวยไทยที่มันสุดๆ ซึ่งวันนั้นเราประสบความสำเร็จอย่างมาก และน่าจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญจุดหนึ่งที่ทำให้คนไทยหันกลับมามองมวยไทยในรูปแบบใหม่”
“ซึ่งวันนั้นเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่เวทีราชดำเนิน Sold Out และที่สำคัญกว่านั้นคือ มากกว่า 80% ของคนดูคือคนที่ไม่เคยก้าวขาเข้ามาในเวทีมวยมาก่อน ซึ่งทำให้กีฬามวยไทยเริ่มมีแฟนมวยรุ่นใหม่ และเวทีมวยเริ่มเป็นปลายทางของคนทั่วโลกอย่างแท้จริง”
ในเรื่องความยั่งยืนของกีฬามวยไทย สำหรับคุณแบงค์มองไว้ที่ 2 ประเด็น ได้แก่ โมเดลธุรกิจ และความยั่งยืนโดยรวมของวงการมวยไทย
“เพราะเวทีมวยราชดำเนินเป็นบ้านของมวยไทยจริงๆ และเป็นแก่นหลักของกีฬามวยไทยอาชีพ มันจึงเหมือนเป็นทั้งหน้าที่และเป็นเกียรติของทีมงานและผู้บริหารในการรักษาความเป็นแก่นนี้เอาไว้ และเราก็ทำในสิ่งที่เราทำได้เพื่อให้ระบบนิเวศทั้งหมดของวงการมวยแข็งแกร่งขึ้นมา นั่นคือ หนึ่ง สร้างความฝันให้กับนักมวยไทยในประเทศและนักมวยไทยทั่วโลก ผ่านการสร้างงานสร้างอาชีพ และสอง สร้างรากฐานให้แข็งแกร่งสำหรับนักมวยและทุกคนในวงการ”
ระบบนิเวศของวงการมวยไทยจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีนักมวย การสนับสนุนตั้งแต่ฐานปิระมิดจึงเริ่มต้นตั้งแต่การส่งเสริมมวยรากหญ้า โดยการให้โอกาสนักมวยที่โตมาจากรายการมวยรากหญ้าต่างๆ ได้มาต่อยที่เวทีราชดำเนิน และการสร้างคอมมิวนิตี้ทั่วโลก ผ่านโครงการ Road to Rajadamnern โดยร่วมมือกับโปรโมเตอร์ในแต่ละประเทศในการจัดแข่งขันมวยไทย เพื่อโอกาสในการมาต่อยที่เวทีราชดำเนิน “ที่เป็นบ้านของมวยไทย และเป็นเวทีในฝันของเขา” โดยปีที่แล้วเรามีการจัด Road to Rajadamnern ใน 5 เมืองทั่วโลก ทั้งในเมืองโยโกฮาม่าและโยโกซึกะ (ญี่ปุ่น) เทรนซิน (สโลวาเกีย) บาหลี (อินโดนิเซีย) และลิเวอร์พูล (อังกฤษ)
“ผมเชื่อว่า เราจะสามารถสร้างโมเดลและระบบนิเวศที่ยั่งยืนให้กับมวยไทยได้ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปขนาดไหน เป้าหมายหลักข้อหนึ่งที่เราทำคือ การสร้างระบบนิเวศของมวยไทยให้ยั่งยืน แล้วเราก็เขียนว่าเราจะทำให้ระบบนิเวศของมวยไทยเป็นไปตามมาตรฐานในระดับโลก”
“หน้าที่ที่เราต้องทำคือ มวยไทยต้องอยู่ และต้องเติบโตต่อไป” คุณแบงค์ทิ้งท้าย
“สำหรับผม เราไม่เขินที่จะใช้คำว่า ‘ซอฟต์พาวเวอร์’ เลยสำหรับมวยไทย” คุณแบงค์ - เธียรชัย พิสิฐวุฒินันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลเบิล สปอร์ต เวนเจอร์ส จำกัด หรือ GSV (จีเอสวี) ตอบกับเราด้วยความมั่นใจ
“วันนี้ถ้าเราเดินทางไปหลายประเทศทั่วโลก เราจะเห็นคอมมิวนิตี้มวยไทยที่แข็งแกร่งมากๆ นะครับ จากนักกีฬามวยไทยอาชีพเก่าๆ ที่สมัยก่อนเขาเคยมาอยู่มาซ้อมในเมืองไทย แล้วกลับไปเผยแพร่ทั้งศาสตร์ของกีฬามวยไทย ทั้งศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ในตอนนั้นที่เป็นยุค Golden Era of Muay Thai จนตอนนี้ นักมวยไทยจากทั่วโลกต่างก็มีความฝันว่า วันนึงจะได้มาต่อยที่เวทีราชดำเนิน ที่เป็นบ้านของมวยไทย นี่เป็นเกียรติสูงสุดของเขา”
คุณแบงค์บอกว่า ความพิเศษของมวยไทยที่ต่างจากกีฬาอื่นๆ คือ ‘แทบจะไม่มีกีฬาไหนในโลกที่มีบ้านของกีฬานั้นๆ เป็นสถานที่ชัดเจนจริงๆ แต่มวยไทย มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่เป็นได้ ที่เวทีราชดำเนิน’ และโจทย์ที่คุณแบงค์ต้องพบในการทำให้มวยไทยร่วมสมัยมากขึ้นคือ การสร้างประสบการณ์ของมวยไทย ทั้งการชกและการชม ให้เป็น World Class และอยู่คู่เป็นอัตลักษณ์ของมวยไทยอย่างยั่งยืน
ประวัติศาสตร์ประเทศไทยมีมวยไทยอยู่เสมอ
ไม่ใช่เพียงชื่อที่บอกว่ามวยไทยเป็นของคนไทย แต่มวยไทยอยู่ในประวัติศาสตร์ทุกหน้าของคนไทยเสมอในทุกยุคทุกสมัย เพียงแต่อาจแตกต่างกันไปตามพื้นเพหรือยุคสมัย อย่างมวยลพบุรี มวยโคราช มวยโบราณ
“ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาทุกยุคของประเทศไทย เรามีฮีโร่หรือบุคคลทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ของมวยไทยมาโดยตลอด ตั้งแต่พระเจ้าเสือ นายขนมต้ม หรือพระยาพิชัยดาบหัก และบุคคลในประวัติศาสตร์หลายสมัยก็ใช้ศาสตร์ของมวยไทยในการปกป้องเอกราชของประเทศ” คุณแบงค์เริ่มต้นเล่าเป็นไทม์ไลน์ของประวัติศาสตร์เพื่อให้เราเห็นภาพความผูกพันจนแยกกันไม่ออกได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
แรกเริ่มสุด มวยไทยเป็นศาสตร์ของการสู้รบเพื่อป้องกันประเทศ แล้วค่อยพัฒนามาเป็นกึ่งกีฬาพื้นบ้าน ก่อนที่ศาสตร์ของมวยไทยจะสืบทอดต่อมาจนถึงรุ่นของพวกเราในยุคปัจจุบัน ซึ่งนับว่ายังคงอยู่ร่วมกับวิถีชีวิตของผู้คนได้อย่างกลมกลืนแม้สิ่งต่างๆ รอบตัวจะเปลี่ยนแปลงไป
“จนเมื่อประมาณ 78 ปีที่แล้ว ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลไทยได้มีวิสัยทัศน์ว่า อยากให้มวยไทยเป็นกีฬาอาชีพ และอยากให้ศาสตร์ของมวยไทยเป็นศาสตร์ที่เข้าถึงได้กับคนทุกกลุ่มในประเทศ ถ้าเราเรียกกันเอง ก่อนหน้านั้นอาจจะเป็นยุคสมัยแรกของมวยไทยก่อนที่จะเป็นกีฬา พอมาถึงยุคที่สองนี้ก็คือยุคสมัยที่มวยไทยได้พัฒนาจากการเป็นศาสตร์แห่งการต่อสู้มาสู่การเป็นกีฬาอาชีพ”
จากจุดนั้นเองที่ทำให้เวทีมวยราชดำเนินเกิดขึ้นจากโครงการสร้างสนามเวทีมวยอาชีพแห่งประเทศไทย จนเรียกได้ว่าที่นี่คือเวทีของกีฬามวยไทยอาชีพแห่งแรกของโลก ซึ่งความสำคัญของการเป็นกีฬาอย่างเป็นทางการคือ มีการกำหนดกฎกติกาที่เป็นมาตรฐานของมวยไทยอาชีพ ดำเนินต่อเนื่องมาถึงการจัดการแข่งขันมวยไทย และเป็นสถานที่ที่อยู่ในประวัติศาสตร์ของชาติหลายต่อหลายครั้ง นั่นทำให้ความหมายของเวทีราชดำเนินที่เป็น Home of Muay Thai แจ่มชัดในสายตาชาวโลก
หลังจากมวยไทยเป็นกีฬาอาชีพอย่างสมบูรณ์แบบ กีฬามวยไทยเรียกว่ากราฟขึ้นแบบหยุดไม่อยู่ทั้งจากคนไทยและคนทั่วโลก จนมาถึงยุคทองของกีฬามวยไทยในช่วงระหว่างปี 1980 ถึงปลาย 1990 เรามีนักมวยแชมเปี้ยนที่สร้างชื่อเสียงในระดับโลกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น สามารถ พยัคฆ์อรุณ, เขาทราย-เขาค้อ แกแล็คซี่, แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์, วีระพล นครหลวงโปรโมชั่น หรือ สกัด พรทวี ผู้โดดเด่นขนาดที่เชื่อว่ากลายมาเป็นคาแรกเตอร์ในวิดีโอเกม Street Fighter
“ยุคนั้นเป็นยุคของสนามมวยบูมเลยครับ เรียกว่ามวยไทยเป็นอัตลักษณ์ของประเทศเราเลยก็ว่าได้ เวลามีไฟต์ใหญ่ๆ ที่นักมวยระดับแชมป์มาต่อย สนามก็จะเต็มทั้งหมดแบบที่เรียกว่า วิกแตก”
จริงๆ ยุคนี้ยังมีความสำคัญที่นอกเหนือกว่าความนิยมในเมืองไทย คือความตื่นตัวที่มาไกลจากคนทั่วโลก “ยุคนั้นเป็นยุคเริ่มต้นที่เราได้เห็นชาวต่างชาติจากหลายประเทศเข้ามาเรียนรู้กีฬามวยไทยในประเทศไทย หลายท่านมาใช้ชีวิตนักมวยไทยอาชีพเลย อย่าง Ramon Dekkers จากเนเธอร์แลนด์ หรือ John Wayne Parr จากออสเตรเลีย หรือทั้งจากยุโรป ญี่ปุ่น หรืออเมริกาเอง”
“ซึ่งพอหลังจากยุคนั้น ชาวต่างชาติกลุ่มนี้พอเลิกมวยก็กลับประเทศตัวเองไปสร้างคอมมิวนิตี้มวยไทยไว้ทั่วโลก นั่นเหมือนเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ค่อยแพร่กระจายไปทั่วโลก แล้วค่อนข้างสุกงอมระดับหนึ่งในยุคนี้”
คุณแบงค์พูดให้เรายิ่งเห็นภาพชัดขึ้นไปอีก “โปรโมเตอร์ชาวออสเตรเลียท่านนึงเคยบอกผมว่า ที่โน่น นักวิ่งซ้อมกันทุกวันเพื่อจะได้ไปวิ่งในโอลิมปิก นักกีฬาเทนนิสซ้อมทุกวันด้วยความฝันอยากแข่งแกรนสแลม ส่วนนักกีฬามวยไทย ซ้อมที่ออสเตรเลียกันทุกวัน เพื่อความฝันที่จะได้มาต่อยที่เวทีราชดำเนิน นี่เป็นเกียรติสูงสุดของเขา”
เวทีราชดำเนิน การพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งบนความร่วมสมัย
วงการมวยไทยเดินทางคู่กันกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ หลังจากประเทศผ่านความบอบช้ำในช่วงต้มยำกุ้ง ก้าวเข้าสู่ยุค Globalization คำถามสุดท้าทายที่เกิดขึ้นคือ ‘แล้วมวยไทยจะเติบโตและก้าวเดินไปพร้อมกับโลกยุคสมัยใหม่ได้อย่างไร’
“ในตอนนั้น กีฬามวยไทยยังมีการจัดในรูปแบบการอนุรักษ์ ขณะที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปตามพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้สำหรับคนนอกวงการแล้วในตอนนั้นมวยไทยค่อยๆมีภาพลักษณ์ที่อาจจะเป็นเหมือนกีฬาโบราณ และติดกับความรุนแรง ความน่ากลัว นั่นทำให้ถึงแม้ว่าเราจะมีกลุ่มคนดูที่ยังเยอะอยู่ เป็นกีฬาอันดับต้นๆ ของประเทศมาโดยตลอด แต่กลับกลายเป็นกีฬาเฉพาะกลุ่ม คนข้างนอกเริ่มเข้าไม่ถึง กลายเป็นยุคที่กีฬามวยไทยในประเทศไม่ค่อยสามารถสร้างแฟนมวยกลุ่มใหม่ได้ในหลายสิบปีที่ผ่านมา” คุณแบงค์ชี้ให้เห็นมวยไทยที่เหมือนจะออกห่างจากวิถีชีวิตของคนไทยยุคใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ
กราฟที่ทยอยพุ่งลง กลับมาถึงขีดสุดในช่วงสถานการณ์โควิด 19 ที่กีฬามวยไทยกระทบเต็มๆ ทั้งในแง่ของการเป็นกีฬาที่ถึงเนื้อต้องตัวกันโดยตรง การเชียร์มวยที่ต้องมารวมกลุ่มในสนาม เหมือนแผลที่ปริที่รอวันปะทุ
“ในตอนนี้ที่กระแสมวยไทยค่อนข้างบูม คนส่วนใหญ่อาจจะลืมไปแล้วว่า จริงๆ มวยไทยพึ่งผ่านจุดต่ำที่สุดมาเมื่อสองปีกว่าๆ นี้เอง สนามมวยจัดไม่ได้ โปรโมเตอร์จัดมวยไม่ได้ ค่ายมวยเลี้ยงนักมวยลำบากมาก นักมวยพอไม่ได้ต่อยก็ต้องเลิก หรือแม้แต่ภาพดำมืดของกีฬา แต่ช่วงนั้นเหมือนกับเป็นโอกาสเหมือนกัน”
โอกาสครั้งนี้คือการได้หยุดพัก แล้วถอยกลับมาตั้งหลักกันว่า แล้วเราจะทำอย่างไรให้กีฬามวยไทยไปต่อได้และไปได้แบบยั่งยืน
“ทาง GSV มีโอกาสได้คุยกับผู้ใหญ่หลายๆ ท่านในวงการ ทุกคนเชื่อกันหมดว่า กีฬามวยไทยเป็นได้มากกว่านี้ มวยไทยสามารถเป็นกีฬาระดับโลก และสร้างมูลค่าได้มากกว่านี้ เราคุยกันกับพาร์ตเนอร์ต่างๆ เช่น Plan B แล้วรวมตัวกันก่อตั้งบริษัท GSV ขึ้นมา ณ วันที่มวยไทยอยู่จุดต่ำสุด เพราะความเชื่อของเรา และเราได้เข้ามาพาร์ตเนอร์กับเวทีมวยราชดำเนินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2565”
หากแต่การจะรีแบรนด์มวยไทยทั้งวงการต้องใช้เวลาและความร่วมมือ ในขั้นแรกจึงเป็นโปรเจกต์เพื่อรีสตาร์ตให้มวยไทยกลับมาเกิดใหม่อีกครั้ง ให้นักมวยได้กลับเข้าค่ายมาซ้อม และใช้วิถีชีวิตแบบเดิมให้ได้ จึงเกิดเป็นการจัดอีเวนต์มวยไทยที่จังหวัดบุรีรัมย์ “เวลา 2-3 เดือน เราจัดไป 60 กว่าอีเวนต์ เพื่อให้มีความถี่ให้นักมวยได้กลับมาต่อย ได้กลับมามีอาชีพ มีรายได้ก่อน”
เวทีแห่งความเชื่อกับ การสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืนให้กับวงการมวยไทย
จากจุดนั้น ภาพจินตนาการใหม่ของมวยไทยก็กลับมาอีกครั้ง ตั้งแต่การรีโนเวตปรับโฉมหน้าของสนามมวยเวทีราชดำเนิน ยกระดับมาตรฐานให้เป็น World Class Sport Stadium เต็มไปด้วยแสงสีเสียงตระการตา ทว่ายังคงคุณค่ามนต์ขลังของสนามมวย และพิธีการมวยอย่างครบถ้วน ชูวัฒนธรรมของมวยไทยให้ผู้คนประจักษ์เห็นแบบเท่ๆ อย่างปี่มวย การไหวัครู และพบกับประสบการณ์เต็มอิ่มของมวยไทยทั้งในเชิงกีฬา ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม
“เราอยากให้คนเดินผ่านหน้าสนามราชดำเนินแล้วคิดว่า ที่นี่มันมีความรู้สึกเหมือนเห็นบรอดเวย์เธียเตอร์ของนิวยอร์ก มีความ Modern แต่ Classic และมีการจัดมวย 7 วันต่อสัปดาห์ นับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีเวทีมวยในกรุงเทพฯ ที่จัดมวยทุกวัน เพราะเราอยากให้ที่นี่เป็นปลายทางของคนอยากดูมวยไทย และแน่ใจว่า เมื่อนั่งรถมาถึงเวทีมวยแล้ว จะได้ดูมวยไทยแน่นอน”
งานรีโนเวตและรีแบรนด์สนามมวยเวทีราชดำเนินเหมือนกับเป็นการจุดศักราชใหม่ให้กับ New Era of Muay Thai ในแง่ของการสร้างกระแสให้ความนิยมมวยไทยให้กลับมาใหม่ ทาง GSV ก็ได้มีการสร้างรายการมวยไทยระดับโลกรายการใหม่ที่มีชื่อว่า RWS หรือ Rajadamnern World Series ที่เป็นการดึงเอานักมวยไทยที่เก่งที่สุดแต่ละรุ่นมาชกกัน โดยถ่ายทอดไปกว่า 200 ประเทศและเขตการปกครองทั่วโลก และมีคนจากมากกว่า 190 ประเทศ บินตรงมายังเมืองไทยเพื่อซื้อตั๋วมาดูมวยไทยที่เวทีราชดำเนิน
“มีหลายกิจกรรมที่เราทำเพื่อจุดกระแสเวทีราชดำเนินและกีฬามวยไทย อย่างรายการที่พี่บัวขาว บัญชาเมฆ ต่อยกับโคตะ มิอุระ เมื่อปี 2565 เราถือว่าเป็นรายการจุดพลุ Grand Opening สำหรับ New Era of Muay Thai สิ่งที่เราทำตอนนั้น คือเราอยากให้คนที่ไม่เคยก้าวขาเข้ามาในเวทีมวย ได้ลองเข้ามาครั้งแรก แล้วมีประสบการณ์การดูมวยไทยที่มันสุดๆ ซึ่งวันนั้นเราประสบความสำเร็จอย่างมาก และน่าจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญจุดหนึ่งที่ทำให้คนไทยหันกลับมามองมวยไทยในรูปแบบใหม่”
“ซึ่งวันนั้นเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่เวทีราชดำเนิน Sold Out และที่สำคัญกว่านั้นคือ มากกว่า 80% ของคนดูคือคนที่ไม่เคยก้าวขาเข้ามาในเวทีมวยมาก่อน ซึ่งทำให้กีฬามวยไทยเริ่มมีแฟนมวยรุ่นใหม่ และเวทีมวยเริ่มเป็นปลายทางของคนทั่วโลกอย่างแท้จริง”
ในเรื่องความยั่งยืนของกีฬามวยไทย สำหรับคุณแบงค์มองไว้ที่ 2 ประเด็น ได้แก่ โมเดลธุรกิจ และความยั่งยืนโดยรวมของวงการมวยไทย
“เพราะเวทีมวยราชดำเนินเป็นบ้านของมวยไทยจริงๆ และเป็นแก่นหลักของกีฬามวยไทยอาชีพ มันจึงเหมือนเป็นทั้งหน้าที่และเป็นเกียรติของทีมงานและผู้บริหารในการรักษาความเป็นแก่นนี้เอาไว้ และเราก็ทำในสิ่งที่เราทำได้เพื่อให้ระบบนิเวศทั้งหมดของวงการมวยแข็งแกร่งขึ้นมา นั่นคือ หนึ่ง สร้างความฝันให้กับนักมวยไทยในประเทศและนักมวยไทยทั่วโลก ผ่านการสร้างงานสร้างอาชีพ และสอง สร้างรากฐานให้แข็งแกร่งสำหรับนักมวยและทุกคนในวงการ”
ระบบนิเวศของวงการมวยไทยจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีนักมวย การสนับสนุนตั้งแต่ฐานปิระมิดจึงเริ่มต้นตั้งแต่การส่งเสริมมวยรากหญ้า โดยการให้โอกาสนักมวยที่โตมาจากรายการมวยรากหญ้าต่างๆ ได้มาต่อยที่เวทีราชดำเนิน และการสร้างคอมมิวนิตี้ทั่วโลก ผ่านโครงการ Road to Rajadamnern โดยร่วมมือกับโปรโมเตอร์ในแต่ละประเทศในการจัดแข่งขันมวยไทย เพื่อโอกาสในการมาต่อยที่เวทีราชดำเนิน “ที่เป็นบ้านของมวยไทย และเป็นเวทีในฝันของเขา” โดยปีที่แล้วเรามีการจัด Road to Rajadamnern ใน 5 เมืองทั่วโลก ทั้งในเมืองโยโกฮาม่าและโยโกซึกะ (ญี่ปุ่น) เทรนซิน (สโลวาเกีย) บาหลี (อินโดนิเซีย) และลิเวอร์พูล (อังกฤษ)
“ผมเชื่อว่า เราจะสามารถสร้างโมเดลและระบบนิเวศที่ยั่งยืนให้กับมวยไทยได้ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปขนาดไหน เป้าหมายหลักข้อหนึ่งที่เราทำคือ การสร้างระบบนิเวศของมวยไทยให้ยั่งยืน แล้วเราก็เขียนว่าเราจะทำให้ระบบนิเวศของมวยไทยเป็นไปตามมาตรฐานในระดับโลก”
“หน้าที่ที่เราต้องทำคือ มวยไทยต้องอยู่ และต้องเติบโตต่อไป” คุณแบงค์ทิ้งท้าย