สัมพันธ์ กับ 'ไมตรี' - สุขมากขึ้น ทุกข์เท่าที่จำเป็น
สัมพันธ์ กับ 'ไมตรี' - สุขมากขึ้น ทุกข์เท่าที่จำเป็น
14 ส.ค. 2566
SHARE WITH:
14 ส.ค. 2566
14 ส.ค. 2566
SHARE WITH:
SHARE WITH:
สัมพันธ์ กับ 'ไมตรี' - สุขมากขึ้น ทุกข์เท่าที่จำเป็น
ที่ชอบคำว่า 'ไมตรี' เพราะมันสื่อถึงนัยยะของการมีความสัมพันธ์และอยู่ร่วมกันแบบเชิงบวก
เป็นข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าชีวิตของเรานั้นคือการมีความสัมพันธ์และอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว อีกทั้งการอยู่ร่วมกันนี้ย่อมต้องมีอิทธิพลและผลกระทบต่อกันไม่มากก็น้อย เมื่อเราต้องเผชิญความสัมพันธ์ที่ถูกบังคับโดยธรรมชาติและจักรวาลแบบนี้ สิ่งเดียวที่เรามีอำนาจพอจะเลือกได้เอง คือ มุมมองและท่าทีของเราต่อสิ่งเหล่านั้น
หลังจากได้รับเกียรติเป็นคำเชิญชวนให้มาร่วมเขียนบทความกับ The MISSION ผมใช้เวลาค่อนข้างนานไปกับการคิดทบทวนว่าอยากจะให้ช่วงของตัวเองเป็นแบบไหน มีธีมเกี่ยวกับอะไร อะไรที่ผมรู้สึกสนใจและอยากที่จะนำเสนอ ผ่านพ้นมาหลายสัปดาห์ก็ยังไม่แน่ชัด รู้แค่ว่าผมชอบ Sense ของคำว่า 'ไมตรี' ซึ่งเป็นชื่อเดียวกันกับที่ผมเคยใช้ตั้งชื่อบริการของตัวเองก่อนที่จะเข้าร่วมกับศูนย์ Knowing Mind Center ที่ทำงานหลักในปัจจุบัน
ต้องออกตัวก่อนว่าผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา เท่าที่ค้นหาก็พอจะเข้าใจคำว่า 'ไมตรี' ว่าเป็นภาษาสันสกฤตที่ตรงกับคำว่า 'เมตตา' ในภาษาบาลี โดยมีขอบเขตความหมายที่ครอบคลุมถึงความเอื้ออาทร ความปรารถนาดี ความรัก ความเป็นมิตร
และนี่คือที่มาของคำว่า 'ไมตรี' เพราะยิ่งเรามีมุมมองและท่าทีที่มีความไมตรีต่อสิ่งต่างๆ ได้มากเท่าไหร่ชีวิตของเราก็จะมีโอกาสที่จะมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น หรืออย่างน้อยก็ทุกข์ในระดับเท่าที่จำเป็น
นอกจากนี้สิ่งที่เรามีความสัมพันธ์และอยู่ร่วมด้วยนั้นไม่ได้มีแค่สิ่งแวดล้อมนอกตัว แต่หากรวมถึงในตัวเราเองด้วย ซึ่งการอยู่กับตัวเราเองนี่ก็ยิ่งสำคัญเพราะเป็นสิ่งที่เราเดินหนี หรือหลบหลีกแม้เพียงชั่วครู่ก็ไม่ได้ เรียกได้ว่าตามติดยิ่งกว่าเงาก็ไม่พ้นความเป็นตัวเราเองนี่แหละ การมีไมตรีต่อตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างมาก
แม้จะมีธีมเกี่ยวกับไมตรีต่อชีวิต แต่ก็รู้สึกว่ามันยังไม่อิ่มตัวมากพอที่จะนำเสนอว่าพื้นที่บทความของนายกวีไกรนี้จะเกี่ยวกับอะไรกันแน่ จนวันนี้ได้ฤกษ์เขียนบทความนี้ขึ้นมา เพราะผมได้เจอส่วนที่มาเติมภาพแนวทางและลักษณะของบทความที่จะนำเสนอด้วยความไม่ตั้งใจจากการอ่านหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ How To Love ของ Thich Nhat Hanh พระภิกษุนิกายเซนชาวเวียดนามที่มีความลึกซึ้งและเรียบง่ายในการนำเสนอมุมมองที่เกี่ยวชีวิตและจิตใจมนุษย์
ในบทหนึ่งของหนังสือ ท่านกล่าวถึงการรู้จักความรักที่แท้ (True Love) ว่ามันคือสิ่งที่มอบความงดงาม (Beauty) ความสดชื่น (Freshness) ความหนักแน่นมั่นคง (Solidity) ความอิสระ (Freedom) และความสงบ (Peace) แม้จะเป็นบทสั้นๆ ที่มีไม่กี่ตัวอักษร แต่ก็ชวนให้ผู้อ่านอย่างผมให้เวลาค่อยๆ พิจารณาตามอยู่สักพักใหญ่เลย
ผมเห็นด้วยกับสิ่งที่ท่านได้กล่าวไว้ หากเราทบทวนและพิจารณาประสบการณ์ของตัวเองเราอาจพบว่าเราสัมผัสถึงความรักได้หลายต่อหลายครั้ง แต่ไม่ใช่ทุกครั้ง หรืออาจเรียกได้ว่ามีน้อยครั้งก็ว่าได้ที่เราจะสัมผัสความรู้สึกได้ครบทั้งห้า
ยกตัวอย่างเช่น ในความสัมพันธ์แบบคู่รัก อาจมีช่วงเวลาที่เรารู้สึกถึงความงดงาม สดชื่น มั่นคง แต่ก็ปราศจากอิสระด้วยความคิดคำนึงและกังวลต่อความรู้สึกของอีกฝ่าย ซึ่งนำไปสู่ความไม่สงบในจิตใจ และอาจไปสั่นคลอนความรู้สึกมั่นคงได้อีกด้วย ไม่ใช่ทุกประสบการณ์ความรักที่จะมอบความรู้สึกได้ครบทั้งห้า อีกทั้งความรู้สึกเหล่านี้ยังแปรผันไปได้อีก ช่วงเวลาที่จะได้ประสบและสัมผัสถึงความรักที่แท้ช่างจำกัดจริง ๆ
ผมนึกเชื่อมโยง Sense ของคำว่าไมตรีกับความรู้สึกต่างๆ ที่ความรักที่แท้มอบให้ เกิดเป็นมุมมองว่าหากเราปฏิสัมพันธ์และอยู่ร่วมกับสิ่งต่างๆ และตัวเราเองด้วยความเอื้ออาทร ความปรารถนาดี ความรัก และเป็นมิตร ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเชิงความรู้สึกก็น่าจะเป็นประสบการณ์ของการมีความรักที่แท้ เพราะเมื่อเรามีไมตรีต่อสิ่งต่างๆ เราจะรับรู้ถึงความงดงามได้จากทั้งความเป็นเขาและเรา เรารู้สึกสดชื่นแจ่มใสไม่ห่อเหี่ยว เรารู้สึกมั่นคงปลอดภัยต่อชีวิตเพราะสิ่งนั้นไม่ใช่ศัตรูที่ต้องระวัง เราเป็นอิสระที่จะเป็นตัวเองท่ามกลางหมู่มิตร และย่อมรู้สึกสงบไม่กระวนกระวาย เศร้า หรือกังวล
ดังนั้นจึงเป็นการประกาศ ณ บทความนี้ว่า บทความของผมใน The MISSION ต่อจากนี้จะเป็นการนำเสนอแง่มุมต่าง ๆ เพื่อชวนให้ผู้อ่านได้ทบทวนและแตะสัมผัสความมีไมตรีต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัวและต่อตัวเองเพื่อเพิ่มโอกาสที่จะสัมผัสประสบการณ์ความรักที่แท้ซึ่งหาโอกาสเข้าถึงได้อย่างจำกัด ขอฝากเนื้อฝากตัวไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
บทความโดย กวีไกร ม่วงศิริ
ที่ชอบคำว่า 'ไมตรี' เพราะมันสื่อถึงนัยยะของการมีความสัมพันธ์และอยู่ร่วมกันแบบเชิงบวก
เป็นข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าชีวิตของเรานั้นคือการมีความสัมพันธ์และอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว อีกทั้งการอยู่ร่วมกันนี้ย่อมต้องมีอิทธิพลและผลกระทบต่อกันไม่มากก็น้อย เมื่อเราต้องเผชิญความสัมพันธ์ที่ถูกบังคับโดยธรรมชาติและจักรวาลแบบนี้ สิ่งเดียวที่เรามีอำนาจพอจะเลือกได้เอง คือ มุมมองและท่าทีของเราต่อสิ่งเหล่านั้น
หลังจากได้รับเกียรติเป็นคำเชิญชวนให้มาร่วมเขียนบทความกับ The MISSION ผมใช้เวลาค่อนข้างนานไปกับการคิดทบทวนว่าอยากจะให้ช่วงของตัวเองเป็นแบบไหน มีธีมเกี่ยวกับอะไร อะไรที่ผมรู้สึกสนใจและอยากที่จะนำเสนอ ผ่านพ้นมาหลายสัปดาห์ก็ยังไม่แน่ชัด รู้แค่ว่าผมชอบ Sense ของคำว่า 'ไมตรี' ซึ่งเป็นชื่อเดียวกันกับที่ผมเคยใช้ตั้งชื่อบริการของตัวเองก่อนที่จะเข้าร่วมกับศูนย์ Knowing Mind Center ที่ทำงานหลักในปัจจุบัน
ต้องออกตัวก่อนว่าผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา เท่าที่ค้นหาก็พอจะเข้าใจคำว่า 'ไมตรี' ว่าเป็นภาษาสันสกฤตที่ตรงกับคำว่า 'เมตตา' ในภาษาบาลี โดยมีขอบเขตความหมายที่ครอบคลุมถึงความเอื้ออาทร ความปรารถนาดี ความรัก ความเป็นมิตร
และนี่คือที่มาของคำว่า 'ไมตรี' เพราะยิ่งเรามีมุมมองและท่าทีที่มีความไมตรีต่อสิ่งต่างๆ ได้มากเท่าไหร่ชีวิตของเราก็จะมีโอกาสที่จะมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น หรืออย่างน้อยก็ทุกข์ในระดับเท่าที่จำเป็น
นอกจากนี้สิ่งที่เรามีความสัมพันธ์และอยู่ร่วมด้วยนั้นไม่ได้มีแค่สิ่งแวดล้อมนอกตัว แต่หากรวมถึงในตัวเราเองด้วย ซึ่งการอยู่กับตัวเราเองนี่ก็ยิ่งสำคัญเพราะเป็นสิ่งที่เราเดินหนี หรือหลบหลีกแม้เพียงชั่วครู่ก็ไม่ได้ เรียกได้ว่าตามติดยิ่งกว่าเงาก็ไม่พ้นความเป็นตัวเราเองนี่แหละ การมีไมตรีต่อตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างมาก
แม้จะมีธีมเกี่ยวกับไมตรีต่อชีวิต แต่ก็รู้สึกว่ามันยังไม่อิ่มตัวมากพอที่จะนำเสนอว่าพื้นที่บทความของนายกวีไกรนี้จะเกี่ยวกับอะไรกันแน่ จนวันนี้ได้ฤกษ์เขียนบทความนี้ขึ้นมา เพราะผมได้เจอส่วนที่มาเติมภาพแนวทางและลักษณะของบทความที่จะนำเสนอด้วยความไม่ตั้งใจจากการอ่านหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ How To Love ของ Thich Nhat Hanh พระภิกษุนิกายเซนชาวเวียดนามที่มีความลึกซึ้งและเรียบง่ายในการนำเสนอมุมมองที่เกี่ยวชีวิตและจิตใจมนุษย์
ในบทหนึ่งของหนังสือ ท่านกล่าวถึงการรู้จักความรักที่แท้ (True Love) ว่ามันคือสิ่งที่มอบความงดงาม (Beauty) ความสดชื่น (Freshness) ความหนักแน่นมั่นคง (Solidity) ความอิสระ (Freedom) และความสงบ (Peace) แม้จะเป็นบทสั้นๆ ที่มีไม่กี่ตัวอักษร แต่ก็ชวนให้ผู้อ่านอย่างผมให้เวลาค่อยๆ พิจารณาตามอยู่สักพักใหญ่เลย
ผมเห็นด้วยกับสิ่งที่ท่านได้กล่าวไว้ หากเราทบทวนและพิจารณาประสบการณ์ของตัวเองเราอาจพบว่าเราสัมผัสถึงความรักได้หลายต่อหลายครั้ง แต่ไม่ใช่ทุกครั้ง หรืออาจเรียกได้ว่ามีน้อยครั้งก็ว่าได้ที่เราจะสัมผัสความรู้สึกได้ครบทั้งห้า
ยกตัวอย่างเช่น ในความสัมพันธ์แบบคู่รัก อาจมีช่วงเวลาที่เรารู้สึกถึงความงดงาม สดชื่น มั่นคง แต่ก็ปราศจากอิสระด้วยความคิดคำนึงและกังวลต่อความรู้สึกของอีกฝ่าย ซึ่งนำไปสู่ความไม่สงบในจิตใจ และอาจไปสั่นคลอนความรู้สึกมั่นคงได้อีกด้วย ไม่ใช่ทุกประสบการณ์ความรักที่จะมอบความรู้สึกได้ครบทั้งห้า อีกทั้งความรู้สึกเหล่านี้ยังแปรผันไปได้อีก ช่วงเวลาที่จะได้ประสบและสัมผัสถึงความรักที่แท้ช่างจำกัดจริง ๆ
ผมนึกเชื่อมโยง Sense ของคำว่าไมตรีกับความรู้สึกต่างๆ ที่ความรักที่แท้มอบให้ เกิดเป็นมุมมองว่าหากเราปฏิสัมพันธ์และอยู่ร่วมกับสิ่งต่างๆ และตัวเราเองด้วยความเอื้ออาทร ความปรารถนาดี ความรัก และเป็นมิตร ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเชิงความรู้สึกก็น่าจะเป็นประสบการณ์ของการมีความรักที่แท้ เพราะเมื่อเรามีไมตรีต่อสิ่งต่างๆ เราจะรับรู้ถึงความงดงามได้จากทั้งความเป็นเขาและเรา เรารู้สึกสดชื่นแจ่มใสไม่ห่อเหี่ยว เรารู้สึกมั่นคงปลอดภัยต่อชีวิตเพราะสิ่งนั้นไม่ใช่ศัตรูที่ต้องระวัง เราเป็นอิสระที่จะเป็นตัวเองท่ามกลางหมู่มิตร และย่อมรู้สึกสงบไม่กระวนกระวาย เศร้า หรือกังวล
ดังนั้นจึงเป็นการประกาศ ณ บทความนี้ว่า บทความของผมใน The MISSION ต่อจากนี้จะเป็นการนำเสนอแง่มุมต่าง ๆ เพื่อชวนให้ผู้อ่านได้ทบทวนและแตะสัมผัสความมีไมตรีต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัวและต่อตัวเองเพื่อเพิ่มโอกาสที่จะสัมผัสประสบการณ์ความรักที่แท้ซึ่งหาโอกาสเข้าถึงได้อย่างจำกัด ขอฝากเนื้อฝากตัวไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
บทความโดย กวีไกร ม่วงศิริ