Global Englishes ภาษาอังกฤษสากล

Global Englishes ภาษาอังกฤษสากล

15 ส.ค. 2566

SHARE WITH:

15 ส.ค. 2566

15 ส.ค. 2566

SHARE WITH:

SHARE WITH:

Global Englishes ภาษาอังกฤษสากล

เราเดินทางมาถึงในยุคที่ทุกคนเป็นเจ้าของภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษสำเนียงที่หลากหลายไม่ใช่เรื่องแตกต่างแปลกแยกอีกต่อไป คำถามสำหรับการเรียนภาษาอังกฤษในยุคนี้ จึงไม่ได้อยู่ที่ ‘ทำไมต้องพูดได้’ อีกต่อไป หากแต่เป็นเรื่องที่ว่า เราจะเรียนรู้ ‘อย่างไร’ หรือ ‘แบบไหน’ ที่เรียกว่าพูดภาษาอังกฤษรู้เรื่อง

 

Global Englishes หรือ World Englishes เป็นแนวทางความคิดที่มีต่อภาษาอังกฤษแบบสมัยใหม่ “ใครก็ได้เป็นเจ้าของภาษาอังกฤษ เป็นลักษณะภาษาอังกฤษที่ใช้ในการสื่อสาร หรือเรียกว่า English as a Lingual Franca คือภาษากลางสำหรับการสื่อสารนั่นเอง”

อาจารย์ ดร.มณฑล กนกเพิ่มพูน รองผู้อำนวยการสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฝ่ายวิชาการและวิจัย จุดประกายความสำคัญของการพัฒนาการสอนภาษาอังกฤษผ่านเครื่องมือและนวัตกรรมจากความต้องการให้นักศึกษาได้เสริมความรู้นอกห้องเรียน 

“สิ่งที่จะมาเสริมได้นอกจากการเรียนในห้องเรียนกับครู 3 ชั่วโมงก็คือออนไลน์คอร์ส เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยที่ยังไม่มีการตื่นตัว จนมาถึงตอนนี้ยุค AI ที่ช่วยลดทอนความยุ่งยากลง ทำให้การเรียนรู้ทำได้ง่ายขึ้น และเป็นเครื่องมือที่ทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้เปลี่ยนแปลงไป”

 

IIIi - เรียนภาษาอังกฤษในยุค AI

แม้ไม่ต้องอยู่ในสายเทคโนโลยี เราก็ได้ยินข่าวคราวเรื่อง AI ทางภาษาอย่างสม่ำเสมอจากรอบโลก อย่างล่าสุดที่นายสถานีรถไฟญี่ปุ่นสามารถโต้ตอบภาษาอังกฤษได้เองผ่านทาง AI ถ้าคอมพิวเตอร์ทำได้เช่นนั้นแล้ว คนเรายังจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาอยู่อีกหรือ? 

“ภาษาอังกฤษยังคงสำคัญอยู่มากๆ”​ อาจารย์มณฑลเน้น “เพราะถ้าเราพูดกับ AI ไม่รู้เรื่อง สิ่งที่ได้รับตอบกลับมาจาก AI ก็ไม่รู้เรื่องเช่นกัน นี่คือสิ่งที่สะท้อนกลับไปว่า ภาษาก็ยังสำคัญอยู่ดีเหมือนเดิม เพียงแต่มันอาจจะไม่ได้เป็น Formal English หรือภาษาอังกฤษทางการ แต่เป็น Communicative English หรือภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสาร ซึ่งเป็นสิ่งที่ AI ช่วยได้ในเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเรียน”


การเรียนภาษาอังกฤษในยุคก่อนหน้า ใช้เพียงการโต้ตอบกับโปรแกรมภาษาเพื่อให้ผ่านไปยังระดับต่อไป แต่สำหรับการเรียนภาษาอังกฤษผ่าน AI สำหรับยุคนี้ คือการเปลี่ยนพฤติกรรม หรือ Behaviorismที่มาจากทฤษฎีการเปลี่ยนเชิงพฤติกรรมทางจิตวิทยาของการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) และการตอบสนอง (Response) โดยการพัฒนาเอา Computation หรือการคำนวณในทางคอมพิวเตอร์เข้ามาร่วมในการสร้างปฏิสัมพันธ์ 

“ถ้าอย่างเมื่อก่อนพูดตามได้ มีรางวัล แต่ในตอนนั้นยังไม่มีฟีดแบ็ก เพราะฉะนั้น AI จะมีฟีดแบ็กในลักษณะที่ว่า คุณทำแล้วสำเร็จเท่าไหร่ มีโจทย์ต่อไปที่ท้าทายกว่านี้ให้ทำต่อ หรือถ้ายังทำไม่สำเร็จ ก็อาจจะเปลี่ยนให้ ลักษณะของการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างการเรียนตรงนี้สะท้อนสิ่งที่เรียกว่า Communicative Language Teaching หรือการเรียนเพื่อการสื่อสาร ทำให้การเรียนมีสีสัน มีความเป็นมนุษย์มากขึ้น และเรียกว่าเป็น Lifelong Learning หรือการเรียนรู้ตลอดชีวิตในอีกแบบหนึ่ง”

 

เมื่อราวยี่สิบปีก่อน เริ่มมีการวิจัย Natural Language Processing (NLP) หรือการประมวลผลภาษาธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแมชีนเลิร์นนิ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจภาษามนุษย์ และเป็นหนึ่งในวิทยาการของ AI นั่นทำให้โลกเปลี่ยนเข้าสู่ยุคที่นวัตกรรมสามารถสื่อสารได้อย่างแม่นยำและเป็นอัตโนมัติผ่านการประมวลผล Big Data และแน่นอนว่า ในวงการสอนภาษาก็ได้รับผลประโยชน์จากส่วนนี้เต็มๆ

“ส่วนตัวเป็นคนสนับสนุนการเรียนรู้เสมออยู่แล้ว จึงมองว่า การที่มี AI หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเป็นโอกาสมากกว่าข้อเสีย ผลตอบรับจากผู้เรียนจริงที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษจาก AI สะท้อนอย่างชัดเจนว่า AI ไม่ได้ใช้เพื่อโกงการเรียน แต่ใช้เพื่อสนับสนุนการเรียนมากกว่า อย่างการช่วยปรับภาษา การปรับปรุงแก้ไขแกรมมาร์ในส่วนของการเขียน หรือการอ่าน นักศึกษาก็จะรู้ว่าอ่านออกเสียงผิดหรือถูกแบบไหน จังหวะจะโคน การเว้นวรรค การหายใจแบบไหน AI ก็จะช่วยประมวลผลให้เขาได้ถูกต้องมากขึ้น”

เด็กสะท้อนความเป็น Active Learner มากกว่าเมื่อก่อนด้วยซ้ำ ด้วยการที่มี AI เข้ามาช่วย หรือแม้แต่การใช้งาน ChatGPT เช่นเอาคำว่า I love you ใส่เข้าไปแล้วกลายเป็น I cherish you ก็กลายเป็นว่าเด็กจะเกิดการวิเคราะห์ประมวลมากขึ้นว่า จริงๆ แล้วภาษาที่ผ่าน AI มาเลยไม่ใช่คำตอบ เขาก็จะมี Awareness เพิ่มมากขึ้นอีก”

 

IIIi - ค่านิยมการเรียนภาษาอังกฤษในประเทศไทย

เราขอให้อาจารย์มณฑลเล่าให้เราฟังถึงประวัติศาสตร์การเรียนภาษาอังกฤษในประเทศไทย ว่าเราผ่านฉากทัศน์แบบไหนมาบ้าง แล้วกำลังจะก้าวเดินออกไปยังโลกภายนอกในยุคนี้ด้วยภาษาอังกฤษแบบใด

“ในสมัยก่อนความเชื่อของคนไทยคือ เราจะต้องพูดให้เหมือนเจ้าของภาษา ฉะนั้นการเริ่มแรกของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยขึ้นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นการที่เอาเจ้าของภาษามาฝึกให้พูดภาษาอังกฤษให้ถูกต้อง ตรงเป๊ะตามสำเนียงของเจ้าของภาษา รูปแบบการสอนภาษาจะให้นักเรียนจำประโยค สำนวน สำเนียง การออกท่าทางให้เหมือนกับเจ้าของภาษา ซึ่งเดิมเป็นแบบอังกฤษ ก่อนที่กลายมาเป็นอเมริกันในช่วงหลังศตวรรษที่ 20”

เทรนด์การพูดภาษาอังกฤษแบบ Native Speaker Accent หรือการพูดแบบออกเสียงให้เหมือนกับเจ้าของภาษายังคงดำรงต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงยุค Globalization ราวปี 2000 “ตอนนั้นยังมีอยู่ครึ่งๆ ว่าคนที่พูดสำเนียงดีชัดเจนจะเป็นที่ชื่นชอบมาก อาจจะได้คำนิยมหรือตำแหน่งสูงๆ ในการทำงาน แต่ก็เริ่มมีสำเนียงจากประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่าง Singaporean English หรือ Indian English เริ่มได้รับการยอมรับเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังมีการแบ่งชนชั้นเล็กน้อยในลักษณะการใช้ภาษา”

 

จนกระทั่งมาถึงช่วง 2010 ที่คนที่ใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างแคล่วคล่องและถูกต้องเป็นที่ยอมรับมากขึ้น “เพราะฉะนั้นเทรนด์การเปลี่ยนแปลงของการเรียนการสอน มันก็จะเปลี่ยนไปจากการที่จะต้องถูกเป๊ะเลย แปลเป็นไทยตรงตัวทุกคำที่เรียกว่า Grammar Translation มาสู่โลกใหม่ที่เรียกว่า Communicative Language Teaching ก็คือเป็นการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร หรือใช้งานในสถานการณ์ต่างๆ มากขึ้น”

คนสื่อสารภาษาอังกฤษได้มากขึ้นก็ถือเป็นเรื่องดี แต่กลายเป็นว่าทักษะการพูดหรือการเขียนภาษาแบบทางการหรือการพูดในที่สาธารณะกลายมาเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ใหม่ รวมถึงเป็นโจทย์สำหรับครูผู้สอนที่จะต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นการใช้ภาษาอังกฤษในเชิงวิชาการมากขึ้น

“สังเกตว่าภาษาอังกฤษทั้ง Social English (ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร), Academic English (ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษา) และ Career English (ภาษาอังกฤษสำหรับอาชีพ) จะถูกปรับเข้าสู่การเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัยทั้งหมด ลงไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาด้วย เทรนด์การสอนเช่นนี้เข้ามาเรื่อยๆ แต่ยังก็ถูกปรับเปลี่ยนอีกครั้งในช่วงโควิดที่การเรียนการสอนทำได้แต่ในออนไลน์เท่านั้น จึงเกิดการร่วมมือกันของสมาคมครูผู้สอนภาษาอังกฤษของทั้งโลกเพื่อประยุกต์วิธีการเรียนและสร้างปฏิสัมพันธ์ผ่านช่องทาง Online Interaction กับนักศึกษาในต่างประเทศ”

“ฉะนั้นก็เลยเป็นภารกิจของสถาบันภาษาเลยว่า นอกจากจะเป็นการเรียนการสอนธรรมดาแล้ว เราก็จะเอา AI เข้ามาประกอบเข้ามาเป็นส่วนนึงของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของเราด้วย”

 

ชวนย้อนกลับมามองที่ผู้สอนกันบ้าง ครูผู้สอนก็จำเป็นต้องพัฒนาตัวเองด้วยเช่นกัน “ในวงการการสอนภาษาอังกฤษเคยพูดเอาไว้ว่า จริงๆ แล้วไม่มีคอมพิวเตอร์อันไหนจะแทนที่คุณครูได้แน่นอน คุณครูยังคงเป็นความสำคัญอย่างนึง หมายความคุณครูจะต้องปรับตัวในการเรียนรู้ทักษะที่เรียกว่า Digital Literacy Skills เพิ่มขึ้น เราอาจจะไม่ต้องเป็นผู้ผลิตเอง แต่เป็นผู้ใช้งานที่มีประสิทธิภาพขึ้น ใช้อย่างไรให้ถูกต้อง ให้เป็นไปได้ในการเรียนการสอน และมีไอเดียเพิ่มมากขึ้นในการสร้างสรรค์การเรียนการสอน”

 

IIIi - การเรียนภาษาอังกฤษที่โลกต้องการ

เราเห็นความหลากหลายในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนแทบตามไม่ทัน แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘ภาษาอังกฤษ’ ยังคงเป็นภาษากลางของโลกใบนี้อยู่ดี “แค่รูปแบบของภาษาอังกฤษจะมีการเปลี่ยนแปลง อย่างที่บอกก็มีลักษณะ English as a Lingual Franca หรือภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสาร แม้กระทั่งคนที่อยู่ในอเมริกาหรืออังกฤษจริงๆ ภาษาที่เขาใช้ก็ไม่ใช่ภาษาอังกฤษแบบ Native Speaker อีกต่อไปแล้ว”

จากงานวิจัยในยุคก่อนหน้าที่เคยบอกว่าสำหรับคนเรียนสองภาษา ภาษาแม่จะทำให้ภาษาที่สองเพี้ยนไป แต่ยุคใหม่นี้มีงานวิจัยที่มองมุมกลับว่า ภาษาที่สองหรือสามจะยิ่งทำให้ภาษาแม่เพี้ยนไปกว่าเดิม หรือภาษาทั้งหมดที่เรียนรู้จะผสมปนเปกันไปมา ซึ่งความน่าสนใจอยู่ที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นภาษาใดก็ตาม ถ้าเป็นภาษาเพื่อการสื่อสาร หรือ Social Language ย่อมจะทำให้การสื่อสารยังดำรงอยู่ เช่นกันกับบทบาทของภาษาอังกฤษก็จะยังคงอยู่เพื่อสื่อสารและเป็นโอกาสสำหรับการก้าวต่อในอนาคต

“เราต้องการให้นักศึกษาพูดภาษาอังกฤษออกมาได้เลย ไม่ต้อง Accent เหมือนสำเนียงเจ้าของภาษาใดๆ แต่ขอที่ต้องถูกต้องก็คือการออกเสียงคำ และการเน้นย้ำคำต้องถูกต้องตามหลักการออกเสียง เพราะอาจทำให้คำผิดพลาดได้ เพราะฉะนั้น AI ที่เข้ามาเค้าก็ไม่ได้เน้น Pronunciation ในลักษณะของ Intonation (การออกเสียงสูงต่ำ) แต่เป็นการเน้นคำว่าออกเสียงถูกต้องหรือเปล่า มันก็ตอบโจทย์การสอนในลักษณะนี้”

 

เพราะภาษาคือเรื่องที่เราใช้พัฒนาตัวเองต่อเนื่องได้ไม่รู้จบ หลายคนรู้จักกับ Duolingo ในฐานะแอปฯ​ พัฒนาภาษาประจำวัน​ (หรือถ้าในข่าวตอนนี้ก็เหมือนกลายเป็นแอปฯ หาคู่ไปแล้ว) แต่ยังมีโปรแกรมสำหรับฝึกภาษาอังกฤษอีกมากมายที่ช่วยพัฒนาทักษะในหลากหลายรูปแบบ อย่างแอปฯ MALLO ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพัฒนาร่วมกับ Microsoft หรือของธรรมศาสตร์เองก็มีโปรแกรมเตรียมสอบ TU-GET CBT เป็นแอปฯ สำหรับพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษไปพร้อมกับการเตรียมสอบ

หรือหากจะเป็นโปรแกรมพัฒนาทักษะภาษาผ่าน AI โดย Microsoft ก็มีทั้งผ่าน Microsoft Teams ที่ช่วยทดสอบการใช้ภาษาอังกฤษอย่างคล่องแคล่ว ด้วยโปรแกรม Reading Progress ที่ให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะการอ่านและออกเสียงอย่างถูกต้องโดยมี AI ช่วยประมวลผลเป็นค่าสถิติ หรือผ่านการใช้งาน Immersive Reader ของ Microsoft Lens หรือ Microsoft Edge ที่เปลี่ยนเว็บไซต์เป็นหน้ากระดาษ แล้วอ่านออกเสียงให้เราได้ฟังในแบบเจ้าของภาษา “สังเกตว่า AI ไม่ได้อยู่ในแพลตฟอร์มเดียว มันอยู่ในรูปแบบต่างๆ หลอมรวมเข้าไปในชีวิตประจำวันเราเต็มไปหมด”

 

อาจารย์มณฑลฝากทิ้งท้ายสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการให้ลูกหลานสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ด้วยการสร้างบริบทรอบตัวให้รายล้อมด้วยภาษาอังกฤษ “การเรียนภาษา เราต้องสร้างสิ่งแวดล้อมทางด้านภาษาเหล่านั้นให้กับเด็ก ยิ่งยุคนี้เรามีเทคโนโลยีมาช่วย นี่ก็เป็นวิธีง่ายๆ ที่ช่วยสร้างบริบทที่เหมาะสม จะผ่านยูทูบ เปิดสารคดี ดูการ์ตูนภาษาอังกฤษ หรือแม้แต่ชวนร้องเพลงภาษาอังกฤษง่ายๆ ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี”

“เพราะเด็กจะเรียนรู้จากการเลียนแบบ แล้วเมื่อเขามีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น สิ่งที่ผู้ใหญ่ทำได้คือการสร้างบรรยากาศให้เหมาะสมกับการใช้ภาษาอังกฤษ เริ่มต้นจากภาษาอังกฤษประโยคง่ายๆ เรียกว่าใช้ทั้ง Digital และ English Literacy”

“นวัตกรรมในยุคนี้ยิ่งทำให้การใช้ภาษา การเรียนการสอนภาษาง่ายขึ้นมากๆ สำหรับทุกคน”



เราเดินทางมาถึงในยุคที่ทุกคนเป็นเจ้าของภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษสำเนียงที่หลากหลายไม่ใช่เรื่องแตกต่างแปลกแยกอีกต่อไป คำถามสำหรับการเรียนภาษาอังกฤษในยุคนี้ จึงไม่ได้อยู่ที่ ‘ทำไมต้องพูดได้’ อีกต่อไป หากแต่เป็นเรื่องที่ว่า เราจะเรียนรู้ ‘อย่างไร’ หรือ ‘แบบไหน’ ที่เรียกว่าพูดภาษาอังกฤษรู้เรื่อง

 

Global Englishes หรือ World Englishes เป็นแนวทางความคิดที่มีต่อภาษาอังกฤษแบบสมัยใหม่ “ใครก็ได้เป็นเจ้าของภาษาอังกฤษ เป็นลักษณะภาษาอังกฤษที่ใช้ในการสื่อสาร หรือเรียกว่า English as a Lingual Franca คือภาษากลางสำหรับการสื่อสารนั่นเอง”

อาจารย์ ดร.มณฑล กนกเพิ่มพูน รองผู้อำนวยการสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฝ่ายวิชาการและวิจัย จุดประกายความสำคัญของการพัฒนาการสอนภาษาอังกฤษผ่านเครื่องมือและนวัตกรรมจากความต้องการให้นักศึกษาได้เสริมความรู้นอกห้องเรียน 

“สิ่งที่จะมาเสริมได้นอกจากการเรียนในห้องเรียนกับครู 3 ชั่วโมงก็คือออนไลน์คอร์ส เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยที่ยังไม่มีการตื่นตัว จนมาถึงตอนนี้ยุค AI ที่ช่วยลดทอนความยุ่งยากลง ทำให้การเรียนรู้ทำได้ง่ายขึ้น และเป็นเครื่องมือที่ทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้เปลี่ยนแปลงไป”

 

IIIi - เรียนภาษาอังกฤษในยุค AI

แม้ไม่ต้องอยู่ในสายเทคโนโลยี เราก็ได้ยินข่าวคราวเรื่อง AI ทางภาษาอย่างสม่ำเสมอจากรอบโลก อย่างล่าสุดที่นายสถานีรถไฟญี่ปุ่นสามารถโต้ตอบภาษาอังกฤษได้เองผ่านทาง AI ถ้าคอมพิวเตอร์ทำได้เช่นนั้นแล้ว คนเรายังจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาอยู่อีกหรือ? 

“ภาษาอังกฤษยังคงสำคัญอยู่มากๆ”​ อาจารย์มณฑลเน้น “เพราะถ้าเราพูดกับ AI ไม่รู้เรื่อง สิ่งที่ได้รับตอบกลับมาจาก AI ก็ไม่รู้เรื่องเช่นกัน นี่คือสิ่งที่สะท้อนกลับไปว่า ภาษาก็ยังสำคัญอยู่ดีเหมือนเดิม เพียงแต่มันอาจจะไม่ได้เป็น Formal English หรือภาษาอังกฤษทางการ แต่เป็น Communicative English หรือภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสาร ซึ่งเป็นสิ่งที่ AI ช่วยได้ในเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเรียน”


การเรียนภาษาอังกฤษในยุคก่อนหน้า ใช้เพียงการโต้ตอบกับโปรแกรมภาษาเพื่อให้ผ่านไปยังระดับต่อไป แต่สำหรับการเรียนภาษาอังกฤษผ่าน AI สำหรับยุคนี้ คือการเปลี่ยนพฤติกรรม หรือ Behaviorismที่มาจากทฤษฎีการเปลี่ยนเชิงพฤติกรรมทางจิตวิทยาของการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) และการตอบสนอง (Response) โดยการพัฒนาเอา Computation หรือการคำนวณในทางคอมพิวเตอร์เข้ามาร่วมในการสร้างปฏิสัมพันธ์ 

“ถ้าอย่างเมื่อก่อนพูดตามได้ มีรางวัล แต่ในตอนนั้นยังไม่มีฟีดแบ็ก เพราะฉะนั้น AI จะมีฟีดแบ็กในลักษณะที่ว่า คุณทำแล้วสำเร็จเท่าไหร่ มีโจทย์ต่อไปที่ท้าทายกว่านี้ให้ทำต่อ หรือถ้ายังทำไม่สำเร็จ ก็อาจจะเปลี่ยนให้ ลักษณะของการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างการเรียนตรงนี้สะท้อนสิ่งที่เรียกว่า Communicative Language Teaching หรือการเรียนเพื่อการสื่อสาร ทำให้การเรียนมีสีสัน มีความเป็นมนุษย์มากขึ้น และเรียกว่าเป็น Lifelong Learning หรือการเรียนรู้ตลอดชีวิตในอีกแบบหนึ่ง”

 

เมื่อราวยี่สิบปีก่อน เริ่มมีการวิจัย Natural Language Processing (NLP) หรือการประมวลผลภาษาธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแมชีนเลิร์นนิ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจภาษามนุษย์ และเป็นหนึ่งในวิทยาการของ AI นั่นทำให้โลกเปลี่ยนเข้าสู่ยุคที่นวัตกรรมสามารถสื่อสารได้อย่างแม่นยำและเป็นอัตโนมัติผ่านการประมวลผล Big Data และแน่นอนว่า ในวงการสอนภาษาก็ได้รับผลประโยชน์จากส่วนนี้เต็มๆ

“ส่วนตัวเป็นคนสนับสนุนการเรียนรู้เสมออยู่แล้ว จึงมองว่า การที่มี AI หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเป็นโอกาสมากกว่าข้อเสีย ผลตอบรับจากผู้เรียนจริงที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษจาก AI สะท้อนอย่างชัดเจนว่า AI ไม่ได้ใช้เพื่อโกงการเรียน แต่ใช้เพื่อสนับสนุนการเรียนมากกว่า อย่างการช่วยปรับภาษา การปรับปรุงแก้ไขแกรมมาร์ในส่วนของการเขียน หรือการอ่าน นักศึกษาก็จะรู้ว่าอ่านออกเสียงผิดหรือถูกแบบไหน จังหวะจะโคน การเว้นวรรค การหายใจแบบไหน AI ก็จะช่วยประมวลผลให้เขาได้ถูกต้องมากขึ้น”

เด็กสะท้อนความเป็น Active Learner มากกว่าเมื่อก่อนด้วยซ้ำ ด้วยการที่มี AI เข้ามาช่วย หรือแม้แต่การใช้งาน ChatGPT เช่นเอาคำว่า I love you ใส่เข้าไปแล้วกลายเป็น I cherish you ก็กลายเป็นว่าเด็กจะเกิดการวิเคราะห์ประมวลมากขึ้นว่า จริงๆ แล้วภาษาที่ผ่าน AI มาเลยไม่ใช่คำตอบ เขาก็จะมี Awareness เพิ่มมากขึ้นอีก”

 

IIIi - ค่านิยมการเรียนภาษาอังกฤษในประเทศไทย

เราขอให้อาจารย์มณฑลเล่าให้เราฟังถึงประวัติศาสตร์การเรียนภาษาอังกฤษในประเทศไทย ว่าเราผ่านฉากทัศน์แบบไหนมาบ้าง แล้วกำลังจะก้าวเดินออกไปยังโลกภายนอกในยุคนี้ด้วยภาษาอังกฤษแบบใด

“ในสมัยก่อนความเชื่อของคนไทยคือ เราจะต้องพูดให้เหมือนเจ้าของภาษา ฉะนั้นการเริ่มแรกของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยขึ้นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นการที่เอาเจ้าของภาษามาฝึกให้พูดภาษาอังกฤษให้ถูกต้อง ตรงเป๊ะตามสำเนียงของเจ้าของภาษา รูปแบบการสอนภาษาจะให้นักเรียนจำประโยค สำนวน สำเนียง การออกท่าทางให้เหมือนกับเจ้าของภาษา ซึ่งเดิมเป็นแบบอังกฤษ ก่อนที่กลายมาเป็นอเมริกันในช่วงหลังศตวรรษที่ 20”

เทรนด์การพูดภาษาอังกฤษแบบ Native Speaker Accent หรือการพูดแบบออกเสียงให้เหมือนกับเจ้าของภาษายังคงดำรงต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงยุค Globalization ราวปี 2000 “ตอนนั้นยังมีอยู่ครึ่งๆ ว่าคนที่พูดสำเนียงดีชัดเจนจะเป็นที่ชื่นชอบมาก อาจจะได้คำนิยมหรือตำแหน่งสูงๆ ในการทำงาน แต่ก็เริ่มมีสำเนียงจากประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่าง Singaporean English หรือ Indian English เริ่มได้รับการยอมรับเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังมีการแบ่งชนชั้นเล็กน้อยในลักษณะการใช้ภาษา”

 

จนกระทั่งมาถึงช่วง 2010 ที่คนที่ใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างแคล่วคล่องและถูกต้องเป็นที่ยอมรับมากขึ้น “เพราะฉะนั้นเทรนด์การเปลี่ยนแปลงของการเรียนการสอน มันก็จะเปลี่ยนไปจากการที่จะต้องถูกเป๊ะเลย แปลเป็นไทยตรงตัวทุกคำที่เรียกว่า Grammar Translation มาสู่โลกใหม่ที่เรียกว่า Communicative Language Teaching ก็คือเป็นการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร หรือใช้งานในสถานการณ์ต่างๆ มากขึ้น”

คนสื่อสารภาษาอังกฤษได้มากขึ้นก็ถือเป็นเรื่องดี แต่กลายเป็นว่าทักษะการพูดหรือการเขียนภาษาแบบทางการหรือการพูดในที่สาธารณะกลายมาเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ใหม่ รวมถึงเป็นโจทย์สำหรับครูผู้สอนที่จะต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นการใช้ภาษาอังกฤษในเชิงวิชาการมากขึ้น

“สังเกตว่าภาษาอังกฤษทั้ง Social English (ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร), Academic English (ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษา) และ Career English (ภาษาอังกฤษสำหรับอาชีพ) จะถูกปรับเข้าสู่การเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัยทั้งหมด ลงไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาด้วย เทรนด์การสอนเช่นนี้เข้ามาเรื่อยๆ แต่ยังก็ถูกปรับเปลี่ยนอีกครั้งในช่วงโควิดที่การเรียนการสอนทำได้แต่ในออนไลน์เท่านั้น จึงเกิดการร่วมมือกันของสมาคมครูผู้สอนภาษาอังกฤษของทั้งโลกเพื่อประยุกต์วิธีการเรียนและสร้างปฏิสัมพันธ์ผ่านช่องทาง Online Interaction กับนักศึกษาในต่างประเทศ”

“ฉะนั้นก็เลยเป็นภารกิจของสถาบันภาษาเลยว่า นอกจากจะเป็นการเรียนการสอนธรรมดาแล้ว เราก็จะเอา AI เข้ามาประกอบเข้ามาเป็นส่วนนึงของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของเราด้วย”

 

ชวนย้อนกลับมามองที่ผู้สอนกันบ้าง ครูผู้สอนก็จำเป็นต้องพัฒนาตัวเองด้วยเช่นกัน “ในวงการการสอนภาษาอังกฤษเคยพูดเอาไว้ว่า จริงๆ แล้วไม่มีคอมพิวเตอร์อันไหนจะแทนที่คุณครูได้แน่นอน คุณครูยังคงเป็นความสำคัญอย่างนึง หมายความคุณครูจะต้องปรับตัวในการเรียนรู้ทักษะที่เรียกว่า Digital Literacy Skills เพิ่มขึ้น เราอาจจะไม่ต้องเป็นผู้ผลิตเอง แต่เป็นผู้ใช้งานที่มีประสิทธิภาพขึ้น ใช้อย่างไรให้ถูกต้อง ให้เป็นไปได้ในการเรียนการสอน และมีไอเดียเพิ่มมากขึ้นในการสร้างสรรค์การเรียนการสอน”

 

IIIi - การเรียนภาษาอังกฤษที่โลกต้องการ

เราเห็นความหลากหลายในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนแทบตามไม่ทัน แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘ภาษาอังกฤษ’ ยังคงเป็นภาษากลางของโลกใบนี้อยู่ดี “แค่รูปแบบของภาษาอังกฤษจะมีการเปลี่ยนแปลง อย่างที่บอกก็มีลักษณะ English as a Lingual Franca หรือภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสาร แม้กระทั่งคนที่อยู่ในอเมริกาหรืออังกฤษจริงๆ ภาษาที่เขาใช้ก็ไม่ใช่ภาษาอังกฤษแบบ Native Speaker อีกต่อไปแล้ว”

จากงานวิจัยในยุคก่อนหน้าที่เคยบอกว่าสำหรับคนเรียนสองภาษา ภาษาแม่จะทำให้ภาษาที่สองเพี้ยนไป แต่ยุคใหม่นี้มีงานวิจัยที่มองมุมกลับว่า ภาษาที่สองหรือสามจะยิ่งทำให้ภาษาแม่เพี้ยนไปกว่าเดิม หรือภาษาทั้งหมดที่เรียนรู้จะผสมปนเปกันไปมา ซึ่งความน่าสนใจอยู่ที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นภาษาใดก็ตาม ถ้าเป็นภาษาเพื่อการสื่อสาร หรือ Social Language ย่อมจะทำให้การสื่อสารยังดำรงอยู่ เช่นกันกับบทบาทของภาษาอังกฤษก็จะยังคงอยู่เพื่อสื่อสารและเป็นโอกาสสำหรับการก้าวต่อในอนาคต

“เราต้องการให้นักศึกษาพูดภาษาอังกฤษออกมาได้เลย ไม่ต้อง Accent เหมือนสำเนียงเจ้าของภาษาใดๆ แต่ขอที่ต้องถูกต้องก็คือการออกเสียงคำ และการเน้นย้ำคำต้องถูกต้องตามหลักการออกเสียง เพราะอาจทำให้คำผิดพลาดได้ เพราะฉะนั้น AI ที่เข้ามาเค้าก็ไม่ได้เน้น Pronunciation ในลักษณะของ Intonation (การออกเสียงสูงต่ำ) แต่เป็นการเน้นคำว่าออกเสียงถูกต้องหรือเปล่า มันก็ตอบโจทย์การสอนในลักษณะนี้”

 

เพราะภาษาคือเรื่องที่เราใช้พัฒนาตัวเองต่อเนื่องได้ไม่รู้จบ หลายคนรู้จักกับ Duolingo ในฐานะแอปฯ​ พัฒนาภาษาประจำวัน​ (หรือถ้าในข่าวตอนนี้ก็เหมือนกลายเป็นแอปฯ หาคู่ไปแล้ว) แต่ยังมีโปรแกรมสำหรับฝึกภาษาอังกฤษอีกมากมายที่ช่วยพัฒนาทักษะในหลากหลายรูปแบบ อย่างแอปฯ MALLO ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพัฒนาร่วมกับ Microsoft หรือของธรรมศาสตร์เองก็มีโปรแกรมเตรียมสอบ TU-GET CBT เป็นแอปฯ สำหรับพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษไปพร้อมกับการเตรียมสอบ

หรือหากจะเป็นโปรแกรมพัฒนาทักษะภาษาผ่าน AI โดย Microsoft ก็มีทั้งผ่าน Microsoft Teams ที่ช่วยทดสอบการใช้ภาษาอังกฤษอย่างคล่องแคล่ว ด้วยโปรแกรม Reading Progress ที่ให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะการอ่านและออกเสียงอย่างถูกต้องโดยมี AI ช่วยประมวลผลเป็นค่าสถิติ หรือผ่านการใช้งาน Immersive Reader ของ Microsoft Lens หรือ Microsoft Edge ที่เปลี่ยนเว็บไซต์เป็นหน้ากระดาษ แล้วอ่านออกเสียงให้เราได้ฟังในแบบเจ้าของภาษา “สังเกตว่า AI ไม่ได้อยู่ในแพลตฟอร์มเดียว มันอยู่ในรูปแบบต่างๆ หลอมรวมเข้าไปในชีวิตประจำวันเราเต็มไปหมด”

 

อาจารย์มณฑลฝากทิ้งท้ายสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการให้ลูกหลานสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ด้วยการสร้างบริบทรอบตัวให้รายล้อมด้วยภาษาอังกฤษ “การเรียนภาษา เราต้องสร้างสิ่งแวดล้อมทางด้านภาษาเหล่านั้นให้กับเด็ก ยิ่งยุคนี้เรามีเทคโนโลยีมาช่วย นี่ก็เป็นวิธีง่ายๆ ที่ช่วยสร้างบริบทที่เหมาะสม จะผ่านยูทูบ เปิดสารคดี ดูการ์ตูนภาษาอังกฤษ หรือแม้แต่ชวนร้องเพลงภาษาอังกฤษง่ายๆ ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี”

“เพราะเด็กจะเรียนรู้จากการเลียนแบบ แล้วเมื่อเขามีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น สิ่งที่ผู้ใหญ่ทำได้คือการสร้างบรรยากาศให้เหมาะสมกับการใช้ภาษาอังกฤษ เริ่มต้นจากภาษาอังกฤษประโยคง่ายๆ เรียกว่าใช้ทั้ง Digital และ English Literacy”

“นวัตกรรมในยุคนี้ยิ่งทำให้การใช้ภาษา การเรียนการสอนภาษาง่ายขึ้นมากๆ สำหรับทุกคน”



Text:

Nathanich C.

Nathanich C.

PHOTO:

Chanathip K.

Chanathip K.

Related Posts