อาจารย์อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ กับฉากทัศน์การเรียนศิลปะในประเทศไทย

อาจารย์อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ กับฉากทัศน์การเรียนศิลปะในประเทศไทย

18 ก.ค. 2567

SHARE WITH:

18 ก.ค. 2567

18 ก.ค. 2567

SHARE WITH:

SHARE WITH:

อาจารย์อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ กับฉากทัศน์การเรียนศิลปะในประเทศไทย


“สมัยก่อน ศิลปินเราจะเรียกตัวเองว่าเป็นชนกลุ่มน้อย เพราะจำนวนก็น้อยอยู่แล้ว แล้วพื้นที่สำหรับเราก็มีอยู่น้อยมาก มันเลยทำให้เหมือนกับเราขาดโอกาสทั้งเรื่องเวทีที่เผยแพร่งานเราก็ไม่มีหอศิลป์ ต่อให้โซเชียลมีเดียเข้ามาแล้วเราทำแกลเลอรีในนั้นได้ ซึ่งมันทำให้เราก้าวทันเทคโนโลยีก็จริง แต่ทักษะในการทำงานศิลปะมันคนละอย่าง จากที่ควรจะได้รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสจากหอศิลป์ ในนั้นแค่รูปแล้วก็จบ มันคนละเรื่อง”

อาจารย์อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม-สื่อผสม) ปี พ.ศ.2563 ผู้อยู่ในแวดวงการศึกษาศิลปะมาอย่างยาวนานตลอดชีวิตการทำงาน และผู้ร่วมสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ศิลปะบนพื้นที่จริงอย่างหอศิลป์สงขลา (Songkhla Art Center) ตอบคำถามกับพวกเราที่ว่า แล้วศิลปะจะยืนยาวอย่างยั่งยืนได้อย่างไร?​ – ก็คือการสร้างประสบการณ์เรียนรู้ และก่อให้เกิดประโยชน์กับมนุษยชาติ

“ประเทศของเราเป็นประเทศกำลังพัฒนา เพราะฉะนั้นศิลปะมันเลยเป็นเรื่องรองไป ไม่ใช่เรื่องหลัก อย่างเราไปแอบดูคนเขียนรูปโรงหนัง แอบมองบ่อยๆ เขาก็ถามชอบหรอ มาดูสิ เดี๋ยวสอนให้ เราจะได้ความรู้จากสิ่งเหล่านั้นมากกว่าห้องเรียนอีก เนื่องจากรัฐไม่มีนโยบาย และรัฐเองในอดีตก็คิดเหมือนพ่อแม่เรานี่แหละ ไม่ต้องเรียนหรอกศิลปะ เต้นกินรำกิน เอาที่ไหนมารวย เราเริ่มต้นด้วยทิศทางแบบนั้นมาตลอด”

อาจารย์เล่าเรื่องราวเชิงโครงสร้างของศิลปะตั้งแต่เริ่มต้นการศึกษาในห้องเรียนไปจนถึงประสบการณ์สัมผัสศิลปะ เพื่อชี้ให้เราเห็นฉากทัศน์ตามลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่อดีตถึงอนาคต แล้วบทเรียนจากอดีตและปัจจุบัน จะสร้างศิลปะที่ทรงคุณค่าอย่างยั่งยืนต่อผู้คนได้อย่างไร

llli มะม่วงเบา ห้องเรียนศิลปะ กับการปลูกฝังความรับรู้ความงาม

“ผมยกตัวอย่างทฤษฎีของผมคือ มะม่วง” อาจารย์เล่าให้ฟังถึงครั้งหนึ่งในการไปบรรยายที่กระทรวงการต่างประเทศ “สมัยก่อนตอนเราเรียน ป.7 ครูมักจะบอกให้นักเรียนเขียนรูปมะม่วงตลอดเวลา เพราะว่าอะไร? เพราะว่าเป็นสิ่งที่รับรู้แล้วเข้าใจได้ทุกคน แต่มะม่วงที่เราเขียนอาจจะไม่เหมือนมะม่วงที่ครูคิด เราเป็นคนปักษ์ใต้ มะม่วงของเราคือมะม่วงเบาที่เป็นช่อๆ ลูกเล็กๆ แต่ถ้าเราไปเขียนเป็นมะม่วงอกร่องก็จะได้คะแนนน้อย แต่แค่เป็นมะม่วงคนละพันธุ์ เพราะลูกโตเกินไป หรือวาดใบทำไม”

จากห้องเรียนศิลปะที่ทุกคนมีประสบการณ์ร่วม คาบเรียนที่มีสัปดาห์ละชั่วโมง หรือครูสอนศิลปะที่วาดรูปไม่เป็น อาจารย์ชี้ให้เห็นปฐมบทที่ว่า ทำไมเราถึงไม่ได้ความรู้เรื่องศิลปะเลยตั้งแต่ยังเด็ก จะยกเว้นก็แค่คนที่สนใจด้วยตัวเอง เช่น จากหนังสือการ์ตูน หรืออย่างยุคอาจารย์ที่ยังไม่มีโทรทัศน์ ก็ต้องแอบดูภาพประกอบในหนังสือที่ผู้ใหญ่อ่าน

“เพราะฉะนั้น เรื่องมะม่วง มันตอกย้ำให้เห็นว่า เดิมทีรัฐบาลได้เห็นความสำคัญของงานศิลปะ ไม่ได้คิดว่าชั่วโมงศิลปะจะสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก หรือไม่ได้สร้างพัฒนาการในเรื่องการรับรู้สุนทรียะขึ้นมา มันเป็นแค่หนึ่งชั่วโมงที่เหมือนให้เด็กมาวิ่งเล่นกัมากกว่า”

“ศิลปะพึ่งถูกมองเห็นหรือให้ความสำคัญ ถ้าดูตามช่วงเวลา ผมว่าไม่ถึง 20 ปีที่ผ่านมา” อาจารย์วิเคราะห์จากประสบการณ์ที่คลุกคลีกับการเรียนและการสอนศิลปะมาตลอดทั้งชีวิต “เพราะในอดีต ประเทศไทยยังเขียนรูปแบบที่เรียกว่า คตินิยม เขียนรูปแบนๆ เหมือนกับบนฝาผนังโบสถ์ ไม่มีความรู้เรื่อง Perspective หรือ Anatomy ไม่ได้มีหลักทฤษฎีทางศิลปะเลย แต่เป็นศิลปะในแง่ของปรัชญาและทัศนคติที่แฝงไว้แล้วสืบทอดกันต่อมา”

ความเปลี่ยนแปลงของการเรียนศิลปะในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่มีช่างจากตะวันตกเข้ามาทำงานในประเทศไทย ทั้งช่างจากเยอรมัน ฝรั่งเศส และอิตาลี ซึ่งก็เริ่มต้นจากพระวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลของในหลวงรัชกาลที่ 5 ขณะเสด็จประพาสยุโรป จึงมีการติดต่อช่างจากตะวันตกที่ทำงานศิลปะแบบคลาสสิก ซึ่งเป็นงานที่ยังยึดถือความงามตามขนบเข้ามาทำงานและนำเอาศิลปะยุโรปทั้งสถาปัตยกรรมและงานออกแบบเข้ามาสู่ประเทศไทยในยุคแรกๆ

“ทีนี้ก็มีการคิดกันว่า ถ้าทำงานพวกนี้เสร็จแล้ว ก็จบไปไม่เหลืออะไร หมายถึงว่ามันไม่เกิดการเรียนรู้อะไรเลย เพราะเขาอยากได้ความรู้ที่ยั่งยืนนี่แหละ ช่างชุดแรกก็คือ อันนิบาเล ริก็อตติ ก็รับคำสั่งจากรัชกาลที่ 6 บอกว่าอยากได้ช่างปั้นที่มีความสามารถเข้ามาทำงานให้วัง เลยไปชวนรุ่นน้องที่กำลังอยากมีตัวตนหรือหางานทำ ถามว่าอยากมาสยามไหม อยากมาทำงานในประเทศที่กำลังสร้างสิ่งเหล่านี้ไหม และคนนั้นก็คืออาจารย์ศิลป์ พีระศรี”



llli รากฐานของการศึกษาศิลปะอย่างเป็นระบบ และการเติบโตของศิลปินไทยสู่ยุคร่วมสมัย

“ตอนอาจารย์ศิลป์มาถึงก็ถูกทดสอบความรู้เรื่องกายวิภาคโดยเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ให้ปั้นพอร์ตเทรตครึ่งตัวของท่าน ซึ่งโดยขนบสมัยก่อน ไม่มีเจ้านายคนไหนมานั่งเป็นแบบถอดเสื้อแล้วให้ช่างปั้น นั่นคือรูปปั้นรูปแรกที่อาจารย์ศิลป์ปั้น ก่อนได้เข้าไปบรรจุอยู่ในกรมศิลปาการในฐานะช่างปั้นหลวง”

ขณะเดียวกัน อาจารย์ศิลป์ก็เพียรคิดว่าจะต้องทำโรงเรียนศิลปะให้ได้ นัยหนึ่งเพื่อเป็นการสร้างความยั่งยืนให้ศาสตร์ของศิลปะในประเทศไทย และอีกนัยหนึ่งก็เพื่อสร้างผู้ช่วยออกมาทำงาน แรกเริ่มจึงเป็นโรงเรียนประณีตศิลปกรรม ก่อนจะมาเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร

“อาจารย์ศิลป์สร้างโรงเรียนก็เพื่อสร้างพื้นฐานให้เข้าใจวิธีการมองและวิธีการทำงานแบบตะวันตก การเขียนภาพกายวิภาค เข้าใจภาพเพอร์สเปกทีฟ รู้จักทฤษฎีศิลป์ เจาะลึกถึงสไตล์มองให้ออกแยกให้ได้ ตรงนั้นเป็นตำราชุดแรกๆ ซึ่งต่างจากโรงเรียนเพาะช่างที่สอนงานหัตถกรรม ที่เรียกว่าเป็นรากแก้วมาแต่ดั้งเดิม เลยเป็นสองทางที่เป็นคู่ขนานกันไป”

อาจารย์อำมฤทธิ์บอกว่า นี่เรียกได้ว่าเป็นการปฏิวัติกระบวนการทางด้านศิลปะของประเทศไทยจากแบบทำงานเรียนรู้แบบดั้งเดิมขนบที่ครูว่ามา เข้าสู่ทฤษฎีซึ่งเป็นโลกศิลปะที่เป็นสากล 

“อาจารย์ศิลป์สร้างลูกศิษย์ขึ้นมาแต่ละคน ก็ดูว่ามีความรู้ความสามารถเป็นครูได้ ก็ส่งเรียนต่อในอิตาลีที่ท่านสามารถส่งไปได้ เพื่อให้มหาวิทยาลัยแข็งแรงขึ้น จะได้ลูกศิษย์ที่เพิ่มขึ้น”

แต่ถึงจะมีตำราการเรียนที่เป็นสากลในแบบตะวันตก แต่เพราะกระทรวงศึกษาธิการยังใช้ระบบการเรียนในแบบอเมริกัน ที่ต้องเก็บหน่วยกิตและวิชาให้เพียงพอที่จะสำเร็จการศึกษาได้ อย่างคณะจิตรกรรมที่เรียน 5 ปี 168 หน่วยกิต “อันนี้คือ University ที่เรียนแบบกว้างๆ”

“แต่ยุโรป สอนแบบ Academy คือเรียนรู้เรื่องอะไรก็ลงลึกไปเรื่องนั้นเรื่องเดียว ซึ่งน่าเสียดายว่าถ้าเราเอาแบบนั้น เราก็จะสร้างศิลปินเยอะๆ ได้ตามปรัชญาที่ตั้งไว้ตั้งแต่แรก เราเลยเริ่มมองเห็นว่า เราช้ากว่าที่อื่นเยอะ เราต้องยอมรับความจริงว่า ความสามารถ ฝีมือ ศักยภาพ เรามีเท่ากันหมดในความเป็นมนุษย์ มีสมองและทำงานได้ แต่พอระบบมันช้า ความเจริญก็เป็นไปยาก”

llli ทุกจังหวัดควรมีหอศิลป์

“นี่ พ.ศ. อะไรแล้ว แล้วประเทศไทยมีหอศิลป์กี่ที่” อาจารย์อำมฤทธิ์ตั้งคำถามชวนคิด “ทำไมนโยบายของประเทศบอกว่าทุกจังหวัดต้องมีสนามกีฬา มีที่ให้คนออกกำลัง แต่ทำไมหอศิลป์เล็กๆ มีไม่กี่จังหวัด หรือบางทีก็เป็นหอศิลป์ที่เอกชนทำขึ้นเอง เหมือนที่สงขลา เราก็ทำเอง ไม่ได้มีรัฐบาลมาเกี่ยวข้อง มันเลยเหมือนทำให้เราขาดโอกาส”

ศิลปะมีส่วนกล่อมเกลาและสร้างความเป็นมนุษย์ทางจิตวิญญาณไม่ได้น้อยไปกว่าศาสตร์ประเภทอื่นๆ พื้นที่หอศิลป์จึงเป็นเหมือนพื้นที่สร้างประสบการณ์ของประสาทสัมผัสให้กับผู้เข้าชม ถึงแม้หอศิลป์ในปัจจุบันจะพอมีอยู่บ้าง แต่ด้วยกฎระเบียบ และเงื่อนไขที่ต้องเข้าสู่ระบบ เหมือนกับเป็นภาคบังคับที่ทำให้จำกัดวงของศิลปินไทยในการจัดแสดง และจำกัดศักยภาพในการเชิญศิลปินต่างชาติระดับโลกเข้ามาจัดแสดงงาน

“การดูรูปจริงๆ กับการดูรูปผ่านสื่อมันไม่เหมือนกันเลย เวลาเราดูของจริง เราจะเห็นหลายๆ อย่างที่มันเป็นความแตกต่าง ตรงนั้นเราจะเข้าใจวิธีการทำงาน กระบวนการทำงาน แต่ในรูปขนาดใหญ่ที่ไปย่อให้เล็กลง ทุกอย่างมันดูดีหมดแหละ แต่มันไม่เห็น”

“ยุคนี้ยังดีกว่า ยุคผมเนี่ย เราไม่มีโอกาสได้เห็นงานออริจินัลศิลปะเลยนะ” ถึงแม้ยุคก่อนจะได้ดูแค่ภาพผ่านทางหนังสือเทกซ์บุคที่มีข้อจำกัดของคุณภาพการพิมพ์ หรือยุคโซเชียลเน็ตเวิร์กที่ถึงแม้จะเป็นโอกาสที่พาศิลปะเข้าถึงทุกคนได้ แต่การเรียนการสอนกลับตกลงไปอีก เพราะความรู้ที่เรามีอยู่ยังไปไม่ทันโลก 

“เพราะฉะนั้นงานศิลปะบางส่วนจึงเกิดการลอกเลียนโดยที่อาจารย์ไม่รู้ มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ ถามว่าคนนึงจะรู้ทั้งโลกเป็นไปไม่ได้ใช่ไหม แต่เวลาเราเข้าไปในอินเตอร์เน็ต เราเห็นโลกทั้งใบ เรารู้หมด ก็หยิบมาอันนึง แล้วมาทำอย่างที่เราชอบ อาจารย์ไม่รู้หรอก นี่คือข้อจำกัดที่ทำให้บอกว่าเราช้ากว่าคนอื่น”

llli ศิลปะร่วมสมัยคืออะไร? จนถึงวันนี้ที่ศตวรรษที่ 21 กับฟังก์ชั่นของศิลปะ

“เด็กยังตอบว่า ‘งานศิลปะร่วมสมัย คือศิลปะที่ศิลปินทำแล้วยังมีชีวิต’ อยู่เลย” แต่จริงๆ มันคือวิธีคิดและกระบวนการมากกว่า จากศิลปะร่วมสมัยหรือ Contemporary ที่ต้องไล่ตามเรียนรู้จากชาวบ้าน มาถึงวันนี้ที่เราเรียกว่า ศิลปะในศตวรรษที่ 21

“สมัยนี้ยิ่งไปกันใหญ่เลยนะ เราต้องกลับมามองภาพของงานศิลปะใหม่ว่า คือแค่สวยไม่พอ หรือสร้างอะไรที่สนุกสนานตื่นเต้นกับเทคนิควิธีการไม่พอแล้ว แต่ศิลปะร่วม

สมัยในยุคปัจจุบันต้องตอบว่า มันช่วยอะไรในโลกเราได้บ้าง มันช่วยอะไรมนุษย์ได้บ้าง เพราะศาสตร์อื่นทุกอย่างเรียนมาก็เพื่อช่วยมนุษย์ แพทย์ กฎหมาย หรือสถาปัตยกรรม แล้วศิลปะทำอะไร? เขียนภาพใส่เฟรมแล้วแขวนขึ้นผนัง จะจบเท่านี้จริงๆ หรอ มันน้อยไปไหม?”

ศิลปินในศตวรรษนี้ จึงพัฒนาวิธีการทำงานให้มองไกลไปกว่าความสวยงาม แต่คือความเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษย์​ “ศิลปะมันเป็นศาสตร์ที่สามารถบูรณาการได้หลากหลายศาสตร์ สามารถเข้าไปอยู่ในพื้นที่ใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมสีขาวอีกต่อไป”

เพราะฉะนั้น ถ้าตอบว่าศิลปะจะยังยืนยังไง? “ผมว่าคำตอบมันอยู่ตรงที่ว่า ถ้าเมื่อไหร่ที่มันเกิดประโยชน์กับมนุษย์ ก็จะอยู่ได้อย่างยั่งยืน ทำเป็น Functional Medium ความงามก็ยังต้องมี แต่ความจำเป็นที่มันต้องอยู่บนโลกที่เปลี่ยนแปลงทุกวันนี้ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่เราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวิธีคิดหรือวิธีทำงานด้วย” อาจารย์บอกว่า ถ้าถามคำถามถึงศิลปะร่วมสมัยในวันก่อน ก็ได้คำตอบที่แตกต่างจากวันนี้ นั่นก็เพราะโจทย์ที่ต้องตอบเปลี่ยนไปตามกาลเวลา 

“เมื่อก่อนเราอาจจะตอบแบบไม่ค่อยแคร์เท่าไหร่ เพราะเราถือว่าเราเป็นกลุ่มเล็กๆ ที่สรรสร้างความงามให้กับโลก แต่พอมาถึงวันนี้แล้ว เราต้องตอบให้ได้ว่า งานของเรามันสามารถเยียวยาผู้คนหรือทำให้สิ่งต่างๆ บนโลกนี้ดีขึ้นได้อย่างไร”




“สมัยก่อน ศิลปินเราจะเรียกตัวเองว่าเป็นชนกลุ่มน้อย เพราะจำนวนก็น้อยอยู่แล้ว แล้วพื้นที่สำหรับเราก็มีอยู่น้อยมาก มันเลยทำให้เหมือนกับเราขาดโอกาสทั้งเรื่องเวทีที่เผยแพร่งานเราก็ไม่มีหอศิลป์ ต่อให้โซเชียลมีเดียเข้ามาแล้วเราทำแกลเลอรีในนั้นได้ ซึ่งมันทำให้เราก้าวทันเทคโนโลยีก็จริง แต่ทักษะในการทำงานศิลปะมันคนละอย่าง จากที่ควรจะได้รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสจากหอศิลป์ ในนั้นแค่รูปแล้วก็จบ มันคนละเรื่อง”

อาจารย์อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม-สื่อผสม) ปี พ.ศ.2563 ผู้อยู่ในแวดวงการศึกษาศิลปะมาอย่างยาวนานตลอดชีวิตการทำงาน และผู้ร่วมสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ศิลปะบนพื้นที่จริงอย่างหอศิลป์สงขลา (Songkhla Art Center) ตอบคำถามกับพวกเราที่ว่า แล้วศิลปะจะยืนยาวอย่างยั่งยืนได้อย่างไร?​ – ก็คือการสร้างประสบการณ์เรียนรู้ และก่อให้เกิดประโยชน์กับมนุษยชาติ

“ประเทศของเราเป็นประเทศกำลังพัฒนา เพราะฉะนั้นศิลปะมันเลยเป็นเรื่องรองไป ไม่ใช่เรื่องหลัก อย่างเราไปแอบดูคนเขียนรูปโรงหนัง แอบมองบ่อยๆ เขาก็ถามชอบหรอ มาดูสิ เดี๋ยวสอนให้ เราจะได้ความรู้จากสิ่งเหล่านั้นมากกว่าห้องเรียนอีก เนื่องจากรัฐไม่มีนโยบาย และรัฐเองในอดีตก็คิดเหมือนพ่อแม่เรานี่แหละ ไม่ต้องเรียนหรอกศิลปะ เต้นกินรำกิน เอาที่ไหนมารวย เราเริ่มต้นด้วยทิศทางแบบนั้นมาตลอด”

อาจารย์เล่าเรื่องราวเชิงโครงสร้างของศิลปะตั้งแต่เริ่มต้นการศึกษาในห้องเรียนไปจนถึงประสบการณ์สัมผัสศิลปะ เพื่อชี้ให้เราเห็นฉากทัศน์ตามลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่อดีตถึงอนาคต แล้วบทเรียนจากอดีตและปัจจุบัน จะสร้างศิลปะที่ทรงคุณค่าอย่างยั่งยืนต่อผู้คนได้อย่างไร

llli มะม่วงเบา ห้องเรียนศิลปะ กับการปลูกฝังความรับรู้ความงาม

“ผมยกตัวอย่างทฤษฎีของผมคือ มะม่วง” อาจารย์เล่าให้ฟังถึงครั้งหนึ่งในการไปบรรยายที่กระทรวงการต่างประเทศ “สมัยก่อนตอนเราเรียน ป.7 ครูมักจะบอกให้นักเรียนเขียนรูปมะม่วงตลอดเวลา เพราะว่าอะไร? เพราะว่าเป็นสิ่งที่รับรู้แล้วเข้าใจได้ทุกคน แต่มะม่วงที่เราเขียนอาจจะไม่เหมือนมะม่วงที่ครูคิด เราเป็นคนปักษ์ใต้ มะม่วงของเราคือมะม่วงเบาที่เป็นช่อๆ ลูกเล็กๆ แต่ถ้าเราไปเขียนเป็นมะม่วงอกร่องก็จะได้คะแนนน้อย แต่แค่เป็นมะม่วงคนละพันธุ์ เพราะลูกโตเกินไป หรือวาดใบทำไม”

จากห้องเรียนศิลปะที่ทุกคนมีประสบการณ์ร่วม คาบเรียนที่มีสัปดาห์ละชั่วโมง หรือครูสอนศิลปะที่วาดรูปไม่เป็น อาจารย์ชี้ให้เห็นปฐมบทที่ว่า ทำไมเราถึงไม่ได้ความรู้เรื่องศิลปะเลยตั้งแต่ยังเด็ก จะยกเว้นก็แค่คนที่สนใจด้วยตัวเอง เช่น จากหนังสือการ์ตูน หรืออย่างยุคอาจารย์ที่ยังไม่มีโทรทัศน์ ก็ต้องแอบดูภาพประกอบในหนังสือที่ผู้ใหญ่อ่าน

“เพราะฉะนั้น เรื่องมะม่วง มันตอกย้ำให้เห็นว่า เดิมทีรัฐบาลได้เห็นความสำคัญของงานศิลปะ ไม่ได้คิดว่าชั่วโมงศิลปะจะสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก หรือไม่ได้สร้างพัฒนาการในเรื่องการรับรู้สุนทรียะขึ้นมา มันเป็นแค่หนึ่งชั่วโมงที่เหมือนให้เด็กมาวิ่งเล่นกัมากกว่า”

“ศิลปะพึ่งถูกมองเห็นหรือให้ความสำคัญ ถ้าดูตามช่วงเวลา ผมว่าไม่ถึง 20 ปีที่ผ่านมา” อาจารย์วิเคราะห์จากประสบการณ์ที่คลุกคลีกับการเรียนและการสอนศิลปะมาตลอดทั้งชีวิต “เพราะในอดีต ประเทศไทยยังเขียนรูปแบบที่เรียกว่า คตินิยม เขียนรูปแบนๆ เหมือนกับบนฝาผนังโบสถ์ ไม่มีความรู้เรื่อง Perspective หรือ Anatomy ไม่ได้มีหลักทฤษฎีทางศิลปะเลย แต่เป็นศิลปะในแง่ของปรัชญาและทัศนคติที่แฝงไว้แล้วสืบทอดกันต่อมา”

ความเปลี่ยนแปลงของการเรียนศิลปะในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่มีช่างจากตะวันตกเข้ามาทำงานในประเทศไทย ทั้งช่างจากเยอรมัน ฝรั่งเศส และอิตาลี ซึ่งก็เริ่มต้นจากพระวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลของในหลวงรัชกาลที่ 5 ขณะเสด็จประพาสยุโรป จึงมีการติดต่อช่างจากตะวันตกที่ทำงานศิลปะแบบคลาสสิก ซึ่งเป็นงานที่ยังยึดถือความงามตามขนบเข้ามาทำงานและนำเอาศิลปะยุโรปทั้งสถาปัตยกรรมและงานออกแบบเข้ามาสู่ประเทศไทยในยุคแรกๆ

“ทีนี้ก็มีการคิดกันว่า ถ้าทำงานพวกนี้เสร็จแล้ว ก็จบไปไม่เหลืออะไร หมายถึงว่ามันไม่เกิดการเรียนรู้อะไรเลย เพราะเขาอยากได้ความรู้ที่ยั่งยืนนี่แหละ ช่างชุดแรกก็คือ อันนิบาเล ริก็อตติ ก็รับคำสั่งจากรัชกาลที่ 6 บอกว่าอยากได้ช่างปั้นที่มีความสามารถเข้ามาทำงานให้วัง เลยไปชวนรุ่นน้องที่กำลังอยากมีตัวตนหรือหางานทำ ถามว่าอยากมาสยามไหม อยากมาทำงานในประเทศที่กำลังสร้างสิ่งเหล่านี้ไหม และคนนั้นก็คืออาจารย์ศิลป์ พีระศรี”



llli รากฐานของการศึกษาศิลปะอย่างเป็นระบบ และการเติบโตของศิลปินไทยสู่ยุคร่วมสมัย

“ตอนอาจารย์ศิลป์มาถึงก็ถูกทดสอบความรู้เรื่องกายวิภาคโดยเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ให้ปั้นพอร์ตเทรตครึ่งตัวของท่าน ซึ่งโดยขนบสมัยก่อน ไม่มีเจ้านายคนไหนมานั่งเป็นแบบถอดเสื้อแล้วให้ช่างปั้น นั่นคือรูปปั้นรูปแรกที่อาจารย์ศิลป์ปั้น ก่อนได้เข้าไปบรรจุอยู่ในกรมศิลปาการในฐานะช่างปั้นหลวง”

ขณะเดียวกัน อาจารย์ศิลป์ก็เพียรคิดว่าจะต้องทำโรงเรียนศิลปะให้ได้ นัยหนึ่งเพื่อเป็นการสร้างความยั่งยืนให้ศาสตร์ของศิลปะในประเทศไทย และอีกนัยหนึ่งก็เพื่อสร้างผู้ช่วยออกมาทำงาน แรกเริ่มจึงเป็นโรงเรียนประณีตศิลปกรรม ก่อนจะมาเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร

“อาจารย์ศิลป์สร้างโรงเรียนก็เพื่อสร้างพื้นฐานให้เข้าใจวิธีการมองและวิธีการทำงานแบบตะวันตก การเขียนภาพกายวิภาค เข้าใจภาพเพอร์สเปกทีฟ รู้จักทฤษฎีศิลป์ เจาะลึกถึงสไตล์มองให้ออกแยกให้ได้ ตรงนั้นเป็นตำราชุดแรกๆ ซึ่งต่างจากโรงเรียนเพาะช่างที่สอนงานหัตถกรรม ที่เรียกว่าเป็นรากแก้วมาแต่ดั้งเดิม เลยเป็นสองทางที่เป็นคู่ขนานกันไป”

อาจารย์อำมฤทธิ์บอกว่า นี่เรียกได้ว่าเป็นการปฏิวัติกระบวนการทางด้านศิลปะของประเทศไทยจากแบบทำงานเรียนรู้แบบดั้งเดิมขนบที่ครูว่ามา เข้าสู่ทฤษฎีซึ่งเป็นโลกศิลปะที่เป็นสากล 

“อาจารย์ศิลป์สร้างลูกศิษย์ขึ้นมาแต่ละคน ก็ดูว่ามีความรู้ความสามารถเป็นครูได้ ก็ส่งเรียนต่อในอิตาลีที่ท่านสามารถส่งไปได้ เพื่อให้มหาวิทยาลัยแข็งแรงขึ้น จะได้ลูกศิษย์ที่เพิ่มขึ้น”

แต่ถึงจะมีตำราการเรียนที่เป็นสากลในแบบตะวันตก แต่เพราะกระทรวงศึกษาธิการยังใช้ระบบการเรียนในแบบอเมริกัน ที่ต้องเก็บหน่วยกิตและวิชาให้เพียงพอที่จะสำเร็จการศึกษาได้ อย่างคณะจิตรกรรมที่เรียน 5 ปี 168 หน่วยกิต “อันนี้คือ University ที่เรียนแบบกว้างๆ”

“แต่ยุโรป สอนแบบ Academy คือเรียนรู้เรื่องอะไรก็ลงลึกไปเรื่องนั้นเรื่องเดียว ซึ่งน่าเสียดายว่าถ้าเราเอาแบบนั้น เราก็จะสร้างศิลปินเยอะๆ ได้ตามปรัชญาที่ตั้งไว้ตั้งแต่แรก เราเลยเริ่มมองเห็นว่า เราช้ากว่าที่อื่นเยอะ เราต้องยอมรับความจริงว่า ความสามารถ ฝีมือ ศักยภาพ เรามีเท่ากันหมดในความเป็นมนุษย์ มีสมองและทำงานได้ แต่พอระบบมันช้า ความเจริญก็เป็นไปยาก”

llli ทุกจังหวัดควรมีหอศิลป์

“นี่ พ.ศ. อะไรแล้ว แล้วประเทศไทยมีหอศิลป์กี่ที่” อาจารย์อำมฤทธิ์ตั้งคำถามชวนคิด “ทำไมนโยบายของประเทศบอกว่าทุกจังหวัดต้องมีสนามกีฬา มีที่ให้คนออกกำลัง แต่ทำไมหอศิลป์เล็กๆ มีไม่กี่จังหวัด หรือบางทีก็เป็นหอศิลป์ที่เอกชนทำขึ้นเอง เหมือนที่สงขลา เราก็ทำเอง ไม่ได้มีรัฐบาลมาเกี่ยวข้อง มันเลยเหมือนทำให้เราขาดโอกาส”

ศิลปะมีส่วนกล่อมเกลาและสร้างความเป็นมนุษย์ทางจิตวิญญาณไม่ได้น้อยไปกว่าศาสตร์ประเภทอื่นๆ พื้นที่หอศิลป์จึงเป็นเหมือนพื้นที่สร้างประสบการณ์ของประสาทสัมผัสให้กับผู้เข้าชม ถึงแม้หอศิลป์ในปัจจุบันจะพอมีอยู่บ้าง แต่ด้วยกฎระเบียบ และเงื่อนไขที่ต้องเข้าสู่ระบบ เหมือนกับเป็นภาคบังคับที่ทำให้จำกัดวงของศิลปินไทยในการจัดแสดง และจำกัดศักยภาพในการเชิญศิลปินต่างชาติระดับโลกเข้ามาจัดแสดงงาน

“การดูรูปจริงๆ กับการดูรูปผ่านสื่อมันไม่เหมือนกันเลย เวลาเราดูของจริง เราจะเห็นหลายๆ อย่างที่มันเป็นความแตกต่าง ตรงนั้นเราจะเข้าใจวิธีการทำงาน กระบวนการทำงาน แต่ในรูปขนาดใหญ่ที่ไปย่อให้เล็กลง ทุกอย่างมันดูดีหมดแหละ แต่มันไม่เห็น”

“ยุคนี้ยังดีกว่า ยุคผมเนี่ย เราไม่มีโอกาสได้เห็นงานออริจินัลศิลปะเลยนะ” ถึงแม้ยุคก่อนจะได้ดูแค่ภาพผ่านทางหนังสือเทกซ์บุคที่มีข้อจำกัดของคุณภาพการพิมพ์ หรือยุคโซเชียลเน็ตเวิร์กที่ถึงแม้จะเป็นโอกาสที่พาศิลปะเข้าถึงทุกคนได้ แต่การเรียนการสอนกลับตกลงไปอีก เพราะความรู้ที่เรามีอยู่ยังไปไม่ทันโลก 

“เพราะฉะนั้นงานศิลปะบางส่วนจึงเกิดการลอกเลียนโดยที่อาจารย์ไม่รู้ มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ ถามว่าคนนึงจะรู้ทั้งโลกเป็นไปไม่ได้ใช่ไหม แต่เวลาเราเข้าไปในอินเตอร์เน็ต เราเห็นโลกทั้งใบ เรารู้หมด ก็หยิบมาอันนึง แล้วมาทำอย่างที่เราชอบ อาจารย์ไม่รู้หรอก นี่คือข้อจำกัดที่ทำให้บอกว่าเราช้ากว่าคนอื่น”

llli ศิลปะร่วมสมัยคืออะไร? จนถึงวันนี้ที่ศตวรรษที่ 21 กับฟังก์ชั่นของศิลปะ

“เด็กยังตอบว่า ‘งานศิลปะร่วมสมัย คือศิลปะที่ศิลปินทำแล้วยังมีชีวิต’ อยู่เลย” แต่จริงๆ มันคือวิธีคิดและกระบวนการมากกว่า จากศิลปะร่วมสมัยหรือ Contemporary ที่ต้องไล่ตามเรียนรู้จากชาวบ้าน มาถึงวันนี้ที่เราเรียกว่า ศิลปะในศตวรรษที่ 21

“สมัยนี้ยิ่งไปกันใหญ่เลยนะ เราต้องกลับมามองภาพของงานศิลปะใหม่ว่า คือแค่สวยไม่พอ หรือสร้างอะไรที่สนุกสนานตื่นเต้นกับเทคนิควิธีการไม่พอแล้ว แต่ศิลปะร่วม

สมัยในยุคปัจจุบันต้องตอบว่า มันช่วยอะไรในโลกเราได้บ้าง มันช่วยอะไรมนุษย์ได้บ้าง เพราะศาสตร์อื่นทุกอย่างเรียนมาก็เพื่อช่วยมนุษย์ แพทย์ กฎหมาย หรือสถาปัตยกรรม แล้วศิลปะทำอะไร? เขียนภาพใส่เฟรมแล้วแขวนขึ้นผนัง จะจบเท่านี้จริงๆ หรอ มันน้อยไปไหม?”

ศิลปินในศตวรรษนี้ จึงพัฒนาวิธีการทำงานให้มองไกลไปกว่าความสวยงาม แต่คือความเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษย์​ “ศิลปะมันเป็นศาสตร์ที่สามารถบูรณาการได้หลากหลายศาสตร์ สามารถเข้าไปอยู่ในพื้นที่ใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมสีขาวอีกต่อไป”

เพราะฉะนั้น ถ้าตอบว่าศิลปะจะยังยืนยังไง? “ผมว่าคำตอบมันอยู่ตรงที่ว่า ถ้าเมื่อไหร่ที่มันเกิดประโยชน์กับมนุษย์ ก็จะอยู่ได้อย่างยั่งยืน ทำเป็น Functional Medium ความงามก็ยังต้องมี แต่ความจำเป็นที่มันต้องอยู่บนโลกที่เปลี่ยนแปลงทุกวันนี้ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่เราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวิธีคิดหรือวิธีทำงานด้วย” อาจารย์บอกว่า ถ้าถามคำถามถึงศิลปะร่วมสมัยในวันก่อน ก็ได้คำตอบที่แตกต่างจากวันนี้ นั่นก็เพราะโจทย์ที่ต้องตอบเปลี่ยนไปตามกาลเวลา 

“เมื่อก่อนเราอาจจะตอบแบบไม่ค่อยแคร์เท่าไหร่ เพราะเราถือว่าเราเป็นกลุ่มเล็กๆ ที่สรรสร้างความงามให้กับโลก แต่พอมาถึงวันนี้แล้ว เราต้องตอบให้ได้ว่า งานของเรามันสามารถเยียวยาผู้คนหรือทำให้สิ่งต่างๆ บนโลกนี้ดีขึ้นได้อย่างไร”



Text:

Nathanich C.

Nathanich C.

PHOTO:

Chanathip K.

Chanathip K.

Related Posts