Everyday Architect & Design Studio พลาสเตอร์ยาของดีไซน์

Everyday Architect & Design Studio พลาสเตอร์ยาของดีไซน์

12 ก.ย. 2566

SHARE WITH:

12 ก.ย. 2566

12 ก.ย. 2566

SHARE WITH:

SHARE WITH:

Everyday Architect & Design Studio พลาสเตอร์ยาของดีไซน์

ท่อพลาสติกพีวีซีสีฟ้าที่แปลงร่างแบบฉุกเฉินมาเป็นฉากกั้นในช่วงโควิด แผ่นผ้าใบที่เคยเป็นกันสาดถูกรียูสใช้งานอีกครั้งเป็นที่ปกคลุมข้าวของก่อนออกค้าขายของแม่ค้าสตรีทฟู้ด หรือหินที่ใช้เทินม้านั่งหินอ่อนริมฟุตบาธให้เรียบเสมอแนว เป็นภาพชินตาในวิถีชีวิตของพวกเราชาวไทย

ความช่างสังเกตของ ชัช - ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์ สถาปนิกแห่ง Everyday Architect & Design Studio เปิดออกสู่โลกใบใหม่ของสังคมที่เรียกว่า โลกของการแก้ปัญหาด้วยข้าวของใกล้ตัวผู้คน จากจุดเริ่มต้นตรงนี้ขยายใหญ่ไปถึงการทำความเข้าใจปัญหาสังคมได้อย่างไร?

 

“สิ่งที่ผมสนใจมันคล้ายกับเป็นการโชว์แผลให้เห็น แล้วก็เอาพลาสเตอร์ยาไปแปะ คือแผลหนองก็ยังอยู่แต่แค่ห้ามเลือดไว้ก่อนชั่วคราว แล้วเราค่อยไปผ่าตัดมันออก สิ่งนี้ปรากฏมาเหมือนเป็นพลาสเตอร์ยาของภูมิปัญญา ถ้าปัญหาสังคมหรือชนชั้นพวกนี้หายไป ผมโคตรยินดีเลย แต่ Know-how จากการแก้ปัญหาเหล่านี้ก็ควรมีบันทึกไว้เพื่อไปใช้ประโยชน์ต่อที่อื่นได้ ถ้ามันใช้ได้อย่างถูกที่ถูกทาง”

 เริ่มต้นที่สมมติฐานที่ว่า คนไทยมีสันชาตญาณของการแก้ปัญหาหรือไม่ ชัชตอบว่าแต่ก่อนเขาก็เคยคิดแบบนั้น “แต่หลังๆ ผมกลับมาคิดว่า เพราะคนไทยเรามีปัญหาเยอะ มันถูกยัดเยียดปัญหามาแบบนี้ด้วยลักษณะสภาพสังคมที่เป็นกรอบครอบเรา แล้วกรอบมันถูกบีบเข้าอีกด้วยเงื่อนไขเต็มไปหมดทั้งเรื่องวัสดุ เงินทอง ปัญหาเมือง ปัญหาพื้นที่ จนเราต้องแก้ปัญหาด้วยตัวเองจากของที่หยิบจับขึ้นมาได้”

  

IIIi - บทถัดมาของอาคิเต็ก-เจอ

“มีอยู่ยุคนึงที่พูดเกี่ยวกับหัวเรื่องที่ว่า อะไรคือความเป็นไทย หรือความเป็นไทยใหม่ ซึ่งมันก็จะถูกพูดถึงความเป็นวัดวัง ตอนนั้นเรายังเป็นเด็กวัยรุ่นก็ตั้งคำถามกับมันว่า แล้วมันเชื่อมโยงยังไงกับเรา จนเลิกชั้นเรียนเดินพ้นออกจากรั้วมหาวิทยาลัย เราได้เจอกับความเป็นจริงที่มีทั้งหาบเร่แผงลอย บ้านเรือนผู้คน จึงนำมาสู่ตอบคำถามด้วยการค่อยๆ หาชิ้นส่วนแต่ละชิ้นมาเชื่อมโยงให้ได้ว่าความเป็นไทยที่อาจารย์สอน กับความเป็นไทยที่เราสนใจมันเป็นแบบไหน”

จากสิ่งที่พบเห็นแต่ยังไม่เข้าใจ การล้วงลึกเข้าไปค้นหาข้อมูลประกอบเพื่อต่อจิ๊กซอว์เหล่านี้ สามหัวเรื่องหลักในเรื่องความเชื่อทางสังคมที่ไม่เคยถูกตั้งคำถาม วัสดุที่ใช้แล้วเวิร์คแล้วก็ใช้กันซ้ำๆ และโซลูชั่นดีไซน์เพื่อมาแก้ปัญหาของเมืองที่กระทบที่เราเห็น ถูกเรียบเรียงกลายเป็นหนังสืออาคิเต็ก-เจอ ที่ตีพิมพ์ไปเมื่อปี 2563 ผ่านเวลามาสามปี แน่นอนว่าปัญหาทุกอย่างยังคงเดิม แต่พัฒนาการของการแก้ปัญหาก็เปลี่ยนแปลงไปตามค่านิยมของสังคม


“วัสดุหรือดีไซน์คือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างอดีตที่เคยใช้เหล็กดัดก็เปลี่ยนเป็นตะแกรงเหล็กฉีกแทน ต่อให้ใช้กระจกนิรภัยที่ทุบแล้วแตกยากแต่คนก็ยังไม่ไว้ใจ หรือคนอายุรุ่นพวกเราดีไซน์ก็ไม่ได้อยากใช้เหล็กดัด เลยต้องเลือกเป็นตะแกรงเหล็กฉีกเอง มันก็ตอบโจทย์กับบ้านมินิมอลยุคใหม่ ผมเห็นด้วยที่ว่าฟังก์ชั่นมันยังมีไว้เพื่อป้องกันโจร แต่ผมไม่เห็นด้วยกับการลดทอนคุณค่าของเหล็กดัด”

“เพราะยิ่งผมค้นหามากขึ้นในเรื่องเหล็กดัดก็ยิ่งพบว่า มันมีลักษณะมากกว่าที่เราเข้าใจ มันมีความสวยงามทั้งในเชิง Typology, Graphic Design หรือมีแพตเทิร์นสำคัญบางอย่าง ซึ่งปัจจุบันนี้ทำได้ยากมาก แล้วการที่เราเก็บรักษาสิ่งเหล่านี้หรือพัฒนาต่อก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น นี่ก็เป็น Know-how ที่กำลังหายไปเหมือนกัน การพัฒนาของเราอาจะเหมือนการลดทอนงานฝีมือช่างบางอย่าง แต่ก็อาจส่งเสริมคุณค่าของงานช่างได้ ผมว่ามันทำได้อีกเยอะ ตอนนี้เหมือนเราพัฒนาไปสุดแล้วก็โยนทิ้ง นี่คือความน่าเสียดาย”

 

จากสามหัวเรื่องหลักที่เคยนำเสนอในหนังสืออาคิเต็ก-เจอ ช่วงหลังมานี้ชัชให้ความสนใจในหัวเรื่อง Solution Design หรือการออกแบบเพื่อแก้ไขปัญหา “เพราะมันยังเคลื่อนตัวอยู่ตลอด” ซึ่งตอบเรื่อง Urban Vernacular หรือการแก้ปัญหาในเชิงพื้นถิ่น

พื้นถิ่นที่ว่า หากจะมองในภาพรวมของสถาปัตยกรรม การยกพื้นสูงหนีน้ำท่วม หรือหลังคาจั่วระบายอากาศก็ถือเป็นการแก้ไขปัญหาดีไซน์ในแบบพื้นถิ่น แต่สำหรับสังคมเมืองที่วิวัฒน์ไปตามยุคสมัยและมีปัจจัยเข้ามากระทบ มากกว่าตัวของปัญหาทางตรง แต่ยังมีทางอ้อมในเรื่องชนชั้นและสังคม การแก้ปัญหาทางดีไซน์จึงเปลี่ยนด้วยลักษณะเฉพาะ

 “ยกตัวอย่างอดีตเสาโรมัน ยุคนึงความฝันของชนชั้นกลางคืออยากมีบ้าน แล้วการเสพสื่อจากละครให้เห็นบ้านคนรวยก็มาตอบโจทย์พอดีกับการก้าวข้ามชนชั้น เลยเลือกการใช้เสาโรมันเป็นตัวแทนของสถานะ ในขณะที่วัยรุ่นยุคปัจจุบัน เรามีเรเฟอเรนซ์ของมูจิ พอเรามีบ้านหลังใหม่เลยเลือกที่จะสื่อไปในทางนี้ จะเห็นเลยว่าโครงสร้างทางความคิดเป็นแบบเดียวกัน มีแค่รูปฟอร์มที่เปลี่ยนไปตามค่านิยมของยุคสมัย ซึ่งพวกนี้เป็นคุณค่าทางสังคมที่มันเคลื่อนตัว ถ้าเราลองตั้งคำถามกับมันดู เราก็จะเข้าใจและอธิบายปรากฏการณ์เหล่านี้ได้”

 “หรือพื้นหินขัดสมัยก่อนอย่างพื้นบ้านทาวน์เฮาส์หรือศาลเจ้า เราเองก็คิดว่าสวยดีนะ แต่กับบางคนที่อยู่บ้านหลังนี้มาทั้งชีวิต เขาเห็นแบบนี้มาตั้งแต่เด็กและอยากให้มันหายไป พวกนี้มันเกิดจากคุณค่าทางสังคมที่ถูกฝังไว้ ซึ่งผมว่าถ้าเกิดสังคมช่วยกันตั้งคำถามเยอะๆ ก็น่าจะมีความเป็นไปได้อะไรใหม่ๆ มากขึ้น”

  

IIIi - บันทึก (ดีไซน์) ประจำวัน

ชัชเลือกบันทึกความน่าสนใจของการแก้ปัญหาสไตล์ไทยแบบแปลกตาผ่านทางการถ่ายภาพและสเก็ตช์ดีไซน์เพื่อถอดองค์ประกอบทำเป็นแบบดรออิ้งเก็บไว้ และพยายามทำทุกวันจนครบ 365 ภาพของหนึ่งปี การทำซ้ำจากการพบเห็นสิ่งใหม่ทำให้เขามองเห็นคีย์เวิร์ด แพตเทิร์น หรือความเชื่อมโยงของบางสิ่งบางอย่างที่อยู่ระหว่างการแก้ปัญหาเหล่านี้

“ความยากอยู่ตรงที่การร้อยเรียงหาความเชื่อมโยงกัน ผมใช้การจัดหัวข้อขึ้นมาเพื่อใช้ในการทำความเข้าใจ ซึ่งพอเราใส่คีย์เวิร์ดซ้ำในสเก็ตช์ดีไซน์ของแต่วันเราจะเริ่มเห็นคำซ้ำ เทคนิคซ้ำ วัสดุซ้ำ แต่ปัญหาเปลี่ยน อย่างผ้าใบกันแดดกันฝนที่เสื่อมสภาพก็ถูกเปลี่ยนหน้าที่มาเป็นผ้าคลุม มันก็คือการใช้งานหมุนเวียนอย่างหนึ่ง หรือการออกแบบม้านั่งต่างๆ ในเมืองที่ผสานเข้ากับชีวิตประจำวันแบบที่เราแทบไม่ทันสังเกต ลักษณะของทุกอย่างมันจะไม่ได้ถูกประกอบอย่างประณีต แต่ถูกประกอบในลักษณะการวาง ถ้าอย่างดีก็มีตะปู ซึ่งลักษณะเป็นของใกล้ตัวมาวางชั่วคราว”


ความสตรีทเปลี่ยนบทบาทจากการแก้ปัญหาไปสู่การสร้างเป็นจุดขายในทางงานออกแบบ หลายครั้งที่ชัชตั้งคำถามซึ่งย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้นของการประดิษฐ์ข้าวของเหล่านี้ว่ามันคือดีไซน์โซลูชั่นเพื่อตอบการใช้งานที่จำเป็นในพื้นที่นั้น

“เราเริ่มเห็นเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์เริ่มหยิบเอาองค์ประกอบพวกนี้ไปใช้กันเยอะ ซึ่งถามว่าเอาไปใช้แล้วมันนำเสนอได้ไหม ผมว่าได้ แต่ปัญหามันมีมากกว่านั้น ถ้าเราจะเล่าย้อนเทคนิคเหล่านี้ มันเกิดจากการเอาวัสดุก่อสร้างที่มันอยู่ใกล้ตัวหรือเศษหินทำถนนที่ทำแล้วทิ้ง มันเกิดจากวัสดุที่เกิดจากปัญหาของเมือง หรือจากไซต์ก่อสร้างพวกหินหรือกระเบื้องมาใช้เป็นวัสดุที่มันตอบโจทย์การแก้ปัญหาเมือง นั่นคือปัญหาเกิดก่อนแล้วคนค่อยหาทางแก้ปัญหาด้วยการออกแบบแบบง่ายๆ”

หรืออย่างท่อพีวีซีสีฟ้าแปร๋นที่เห็นชินตาในทุกที่ แม้จะถูกบุลลี่ว่าหน้าตาน่าเกลียด แต่กลับถูกนำมาใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้ามานักต่อนัก ทั้งในสถานการณ์ช่วงโควิดหรือเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงต่างๆ นี่เป็นวัสดุที่ชัชกำลังตั้งคำถามและให้ความสนใจ

“ผมเกิดคำถามที่ว่า ขณะที่เราเห็นว่าวัสดุนี้ถูกนำไปใช้ทุกที่เลยนะ แล้วก็ตอบโจทย์เรื่องฟังก์ชั่นด้วย แต่ก็ยังมีคนกลุ่มนึงที่เกลียดมันอยู่ ผมว่ามันเป็นการต่อสู้ของวัสดุที่อยู่ในสังคมกับชนชั้นที่ต้องการวัสดุอีกแบบนึง”

 

เขาได้เข้าชมนิทรรศการศิลปะจัดวาง New Wave / Thaï Pipes ของ Elvire Bonduelle ศิลปินชาวฝรั่งเศส เมื่อช่วงปี 2019 ศิลปินจัดแสดงงานศิลปะจากท่อน้ำพีวีซีสีฟ้า และมีโอกาสได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับศิลปินถึงความเป็นไปได้ของท่อน้ำสีฟ้าแบบนี้ในทางศิลปะ

 “สิ่งที่เขาสนใจคือเรื่อง Visual ในแบบที่บ้านเขาไม่มี ซึ่งงานตัวนี้ก็ได้ไปไกลถึงการจัดงานที่นิวยอร์ก เราเลยรู้สึกว่าถ้าจับได้ถูกที่ถูกทางแล้วเทสต์ดี มันก็ดูมีความเป็นไปได้ กับอีกอย่างคือ โลกที่หนึ่งจะมองเรื่องความยั่งยืนแล้วตั้งคำถามกับมัน ถ้าจะให้ดี การนำเสนอควรใช้วัสดุที่ผ่านการใช้งานมาแล้วกลับมาใช้งานใหม่ เพราะเขามองว่าการจัดนิทรรศการต้องมอบความหมายที่ลึกซึ้งมากกว่าแค่การจัดแสดง เพราะเอาเข้าจริง ถึงใช้ของใหม่สุดท้ายบริษัทก็ต้องรีดท่อมาเพิ่มอยู่ดี”


ฐานรากอีกอย่างของการแก้ปัญหาในงานดีไซน์แบบเฉพาะหน้าของคนไทยคือการหยิบของใกล้ตัวมาใช้ ชัชเล่าให้เห็นภาพว่านี่คือการสู้ชีวิตในแบบคนไทย

“ผมรู้สึกว่ามันคือการสู้ชีวิตกับเงินในกระเป๋า ถ้ามีตังค์คงไปซื้อของใหม่ ของที่ดีกว่านั้นได้ แต่ข้อหนึ่งคือเค้าอาจจะไม่รู้ว่ามีของที่ดีกว่านั้น ข้อสองคือเริ่มแรกคือเค้า Mindset ประหยัดไว้ก่อน แปลว่าปั้นของรอบตัวมันต้องตอบโจทย์นั้น ซึ่งก็ต้องทำสองสามรอบกว่าจะได้อย่างที่ใจต้องการ ซึ่งผมชื่นชมการคลี่คลายนี้นะ แต่การชื่นชมนี้ก็ต้องย้อนกลับไปเห็นปัญหาทั้งหมด ซึ่งพวกนี้มีปัญหาทั้งหมดมีอยู่หมดเลย”

 

หากจะมองย้อนกลับในอีกบทบาท ดีไซเนอร์เองก็ทำหน้าที่เป็นนักแก้ปัญหาเช่นเดียวกัน เหตุและผลที่เกิดขึ้นมาจากเรื่องราวที่ว่าทั้งหมดคือการท้าทายกรอบความคิดอย่างหนึ่งของนักออกแบบ

“ผมตั้งคำถามเฉยๆ ว่าการเอาหน้าตาหรือรูปลักษณ์ของของพวกนี้มาใช้สร้างดีไซน์ใหม่ของเราเลย มันทำให้สังคมดีขึ้นยังไง? หรือแสดงให้เห็นว่ามันมีปัญหายังไง? ไม่ได้หยิบมาเพื่อสร้างมูลค่า แต่มูลค่าที่เราสร้างมันตอบปัญหาได้ไหมว่า สิ่งที่เราหยิบฉวยมาเป็นปัญหาที่เราต้องแก้หรือเปล่า หรือว่ามันมีปัญหาอะไร อันนี้เหมือนเป็นภารกิจผมที่ต้องอธิบาย




ท่อพลาสติกพีวีซีสีฟ้าที่แปลงร่างแบบฉุกเฉินมาเป็นฉากกั้นในช่วงโควิด แผ่นผ้าใบที่เคยเป็นกันสาดถูกรียูสใช้งานอีกครั้งเป็นที่ปกคลุมข้าวของก่อนออกค้าขายของแม่ค้าสตรีทฟู้ด หรือหินที่ใช้เทินม้านั่งหินอ่อนริมฟุตบาธให้เรียบเสมอแนว เป็นภาพชินตาในวิถีชีวิตของพวกเราชาวไทย

ความช่างสังเกตของ ชัช - ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์ สถาปนิกแห่ง Everyday Architect & Design Studio เปิดออกสู่โลกใบใหม่ของสังคมที่เรียกว่า โลกของการแก้ปัญหาด้วยข้าวของใกล้ตัวผู้คน จากจุดเริ่มต้นตรงนี้ขยายใหญ่ไปถึงการทำความเข้าใจปัญหาสังคมได้อย่างไร?

 

“สิ่งที่ผมสนใจมันคล้ายกับเป็นการโชว์แผลให้เห็น แล้วก็เอาพลาสเตอร์ยาไปแปะ คือแผลหนองก็ยังอยู่แต่แค่ห้ามเลือดไว้ก่อนชั่วคราว แล้วเราค่อยไปผ่าตัดมันออก สิ่งนี้ปรากฏมาเหมือนเป็นพลาสเตอร์ยาของภูมิปัญญา ถ้าปัญหาสังคมหรือชนชั้นพวกนี้หายไป ผมโคตรยินดีเลย แต่ Know-how จากการแก้ปัญหาเหล่านี้ก็ควรมีบันทึกไว้เพื่อไปใช้ประโยชน์ต่อที่อื่นได้ ถ้ามันใช้ได้อย่างถูกที่ถูกทาง”

 เริ่มต้นที่สมมติฐานที่ว่า คนไทยมีสันชาตญาณของการแก้ปัญหาหรือไม่ ชัชตอบว่าแต่ก่อนเขาก็เคยคิดแบบนั้น “แต่หลังๆ ผมกลับมาคิดว่า เพราะคนไทยเรามีปัญหาเยอะ มันถูกยัดเยียดปัญหามาแบบนี้ด้วยลักษณะสภาพสังคมที่เป็นกรอบครอบเรา แล้วกรอบมันถูกบีบเข้าอีกด้วยเงื่อนไขเต็มไปหมดทั้งเรื่องวัสดุ เงินทอง ปัญหาเมือง ปัญหาพื้นที่ จนเราต้องแก้ปัญหาด้วยตัวเองจากของที่หยิบจับขึ้นมาได้”

  

IIIi - บทถัดมาของอาคิเต็ก-เจอ

“มีอยู่ยุคนึงที่พูดเกี่ยวกับหัวเรื่องที่ว่า อะไรคือความเป็นไทย หรือความเป็นไทยใหม่ ซึ่งมันก็จะถูกพูดถึงความเป็นวัดวัง ตอนนั้นเรายังเป็นเด็กวัยรุ่นก็ตั้งคำถามกับมันว่า แล้วมันเชื่อมโยงยังไงกับเรา จนเลิกชั้นเรียนเดินพ้นออกจากรั้วมหาวิทยาลัย เราได้เจอกับความเป็นจริงที่มีทั้งหาบเร่แผงลอย บ้านเรือนผู้คน จึงนำมาสู่ตอบคำถามด้วยการค่อยๆ หาชิ้นส่วนแต่ละชิ้นมาเชื่อมโยงให้ได้ว่าความเป็นไทยที่อาจารย์สอน กับความเป็นไทยที่เราสนใจมันเป็นแบบไหน”

จากสิ่งที่พบเห็นแต่ยังไม่เข้าใจ การล้วงลึกเข้าไปค้นหาข้อมูลประกอบเพื่อต่อจิ๊กซอว์เหล่านี้ สามหัวเรื่องหลักในเรื่องความเชื่อทางสังคมที่ไม่เคยถูกตั้งคำถาม วัสดุที่ใช้แล้วเวิร์คแล้วก็ใช้กันซ้ำๆ และโซลูชั่นดีไซน์เพื่อมาแก้ปัญหาของเมืองที่กระทบที่เราเห็น ถูกเรียบเรียงกลายเป็นหนังสืออาคิเต็ก-เจอ ที่ตีพิมพ์ไปเมื่อปี 2563 ผ่านเวลามาสามปี แน่นอนว่าปัญหาทุกอย่างยังคงเดิม แต่พัฒนาการของการแก้ปัญหาก็เปลี่ยนแปลงไปตามค่านิยมของสังคม


“วัสดุหรือดีไซน์คือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างอดีตที่เคยใช้เหล็กดัดก็เปลี่ยนเป็นตะแกรงเหล็กฉีกแทน ต่อให้ใช้กระจกนิรภัยที่ทุบแล้วแตกยากแต่คนก็ยังไม่ไว้ใจ หรือคนอายุรุ่นพวกเราดีไซน์ก็ไม่ได้อยากใช้เหล็กดัด เลยต้องเลือกเป็นตะแกรงเหล็กฉีกเอง มันก็ตอบโจทย์กับบ้านมินิมอลยุคใหม่ ผมเห็นด้วยที่ว่าฟังก์ชั่นมันยังมีไว้เพื่อป้องกันโจร แต่ผมไม่เห็นด้วยกับการลดทอนคุณค่าของเหล็กดัด”

“เพราะยิ่งผมค้นหามากขึ้นในเรื่องเหล็กดัดก็ยิ่งพบว่า มันมีลักษณะมากกว่าที่เราเข้าใจ มันมีความสวยงามทั้งในเชิง Typology, Graphic Design หรือมีแพตเทิร์นสำคัญบางอย่าง ซึ่งปัจจุบันนี้ทำได้ยากมาก แล้วการที่เราเก็บรักษาสิ่งเหล่านี้หรือพัฒนาต่อก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น นี่ก็เป็น Know-how ที่กำลังหายไปเหมือนกัน การพัฒนาของเราอาจะเหมือนการลดทอนงานฝีมือช่างบางอย่าง แต่ก็อาจส่งเสริมคุณค่าของงานช่างได้ ผมว่ามันทำได้อีกเยอะ ตอนนี้เหมือนเราพัฒนาไปสุดแล้วก็โยนทิ้ง นี่คือความน่าเสียดาย”

 

จากสามหัวเรื่องหลักที่เคยนำเสนอในหนังสืออาคิเต็ก-เจอ ช่วงหลังมานี้ชัชให้ความสนใจในหัวเรื่อง Solution Design หรือการออกแบบเพื่อแก้ไขปัญหา “เพราะมันยังเคลื่อนตัวอยู่ตลอด” ซึ่งตอบเรื่อง Urban Vernacular หรือการแก้ปัญหาในเชิงพื้นถิ่น

พื้นถิ่นที่ว่า หากจะมองในภาพรวมของสถาปัตยกรรม การยกพื้นสูงหนีน้ำท่วม หรือหลังคาจั่วระบายอากาศก็ถือเป็นการแก้ไขปัญหาดีไซน์ในแบบพื้นถิ่น แต่สำหรับสังคมเมืองที่วิวัฒน์ไปตามยุคสมัยและมีปัจจัยเข้ามากระทบ มากกว่าตัวของปัญหาทางตรง แต่ยังมีทางอ้อมในเรื่องชนชั้นและสังคม การแก้ปัญหาทางดีไซน์จึงเปลี่ยนด้วยลักษณะเฉพาะ

 “ยกตัวอย่างอดีตเสาโรมัน ยุคนึงความฝันของชนชั้นกลางคืออยากมีบ้าน แล้วการเสพสื่อจากละครให้เห็นบ้านคนรวยก็มาตอบโจทย์พอดีกับการก้าวข้ามชนชั้น เลยเลือกการใช้เสาโรมันเป็นตัวแทนของสถานะ ในขณะที่วัยรุ่นยุคปัจจุบัน เรามีเรเฟอเรนซ์ของมูจิ พอเรามีบ้านหลังใหม่เลยเลือกที่จะสื่อไปในทางนี้ จะเห็นเลยว่าโครงสร้างทางความคิดเป็นแบบเดียวกัน มีแค่รูปฟอร์มที่เปลี่ยนไปตามค่านิยมของยุคสมัย ซึ่งพวกนี้เป็นคุณค่าทางสังคมที่มันเคลื่อนตัว ถ้าเราลองตั้งคำถามกับมันดู เราก็จะเข้าใจและอธิบายปรากฏการณ์เหล่านี้ได้”

 “หรือพื้นหินขัดสมัยก่อนอย่างพื้นบ้านทาวน์เฮาส์หรือศาลเจ้า เราเองก็คิดว่าสวยดีนะ แต่กับบางคนที่อยู่บ้านหลังนี้มาทั้งชีวิต เขาเห็นแบบนี้มาตั้งแต่เด็กและอยากให้มันหายไป พวกนี้มันเกิดจากคุณค่าทางสังคมที่ถูกฝังไว้ ซึ่งผมว่าถ้าเกิดสังคมช่วยกันตั้งคำถามเยอะๆ ก็น่าจะมีความเป็นไปได้อะไรใหม่ๆ มากขึ้น”

  

IIIi - บันทึก (ดีไซน์) ประจำวัน

ชัชเลือกบันทึกความน่าสนใจของการแก้ปัญหาสไตล์ไทยแบบแปลกตาผ่านทางการถ่ายภาพและสเก็ตช์ดีไซน์เพื่อถอดองค์ประกอบทำเป็นแบบดรออิ้งเก็บไว้ และพยายามทำทุกวันจนครบ 365 ภาพของหนึ่งปี การทำซ้ำจากการพบเห็นสิ่งใหม่ทำให้เขามองเห็นคีย์เวิร์ด แพตเทิร์น หรือความเชื่อมโยงของบางสิ่งบางอย่างที่อยู่ระหว่างการแก้ปัญหาเหล่านี้

“ความยากอยู่ตรงที่การร้อยเรียงหาความเชื่อมโยงกัน ผมใช้การจัดหัวข้อขึ้นมาเพื่อใช้ในการทำความเข้าใจ ซึ่งพอเราใส่คีย์เวิร์ดซ้ำในสเก็ตช์ดีไซน์ของแต่วันเราจะเริ่มเห็นคำซ้ำ เทคนิคซ้ำ วัสดุซ้ำ แต่ปัญหาเปลี่ยน อย่างผ้าใบกันแดดกันฝนที่เสื่อมสภาพก็ถูกเปลี่ยนหน้าที่มาเป็นผ้าคลุม มันก็คือการใช้งานหมุนเวียนอย่างหนึ่ง หรือการออกแบบม้านั่งต่างๆ ในเมืองที่ผสานเข้ากับชีวิตประจำวันแบบที่เราแทบไม่ทันสังเกต ลักษณะของทุกอย่างมันจะไม่ได้ถูกประกอบอย่างประณีต แต่ถูกประกอบในลักษณะการวาง ถ้าอย่างดีก็มีตะปู ซึ่งลักษณะเป็นของใกล้ตัวมาวางชั่วคราว”


ความสตรีทเปลี่ยนบทบาทจากการแก้ปัญหาไปสู่การสร้างเป็นจุดขายในทางงานออกแบบ หลายครั้งที่ชัชตั้งคำถามซึ่งย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้นของการประดิษฐ์ข้าวของเหล่านี้ว่ามันคือดีไซน์โซลูชั่นเพื่อตอบการใช้งานที่จำเป็นในพื้นที่นั้น

“เราเริ่มเห็นเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์เริ่มหยิบเอาองค์ประกอบพวกนี้ไปใช้กันเยอะ ซึ่งถามว่าเอาไปใช้แล้วมันนำเสนอได้ไหม ผมว่าได้ แต่ปัญหามันมีมากกว่านั้น ถ้าเราจะเล่าย้อนเทคนิคเหล่านี้ มันเกิดจากการเอาวัสดุก่อสร้างที่มันอยู่ใกล้ตัวหรือเศษหินทำถนนที่ทำแล้วทิ้ง มันเกิดจากวัสดุที่เกิดจากปัญหาของเมือง หรือจากไซต์ก่อสร้างพวกหินหรือกระเบื้องมาใช้เป็นวัสดุที่มันตอบโจทย์การแก้ปัญหาเมือง นั่นคือปัญหาเกิดก่อนแล้วคนค่อยหาทางแก้ปัญหาด้วยการออกแบบแบบง่ายๆ”

หรืออย่างท่อพีวีซีสีฟ้าแปร๋นที่เห็นชินตาในทุกที่ แม้จะถูกบุลลี่ว่าหน้าตาน่าเกลียด แต่กลับถูกนำมาใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้ามานักต่อนัก ทั้งในสถานการณ์ช่วงโควิดหรือเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงต่างๆ นี่เป็นวัสดุที่ชัชกำลังตั้งคำถามและให้ความสนใจ

“ผมเกิดคำถามที่ว่า ขณะที่เราเห็นว่าวัสดุนี้ถูกนำไปใช้ทุกที่เลยนะ แล้วก็ตอบโจทย์เรื่องฟังก์ชั่นด้วย แต่ก็ยังมีคนกลุ่มนึงที่เกลียดมันอยู่ ผมว่ามันเป็นการต่อสู้ของวัสดุที่อยู่ในสังคมกับชนชั้นที่ต้องการวัสดุอีกแบบนึง”

 

เขาได้เข้าชมนิทรรศการศิลปะจัดวาง New Wave / Thaï Pipes ของ Elvire Bonduelle ศิลปินชาวฝรั่งเศส เมื่อช่วงปี 2019 ศิลปินจัดแสดงงานศิลปะจากท่อน้ำพีวีซีสีฟ้า และมีโอกาสได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับศิลปินถึงความเป็นไปได้ของท่อน้ำสีฟ้าแบบนี้ในทางศิลปะ

 “สิ่งที่เขาสนใจคือเรื่อง Visual ในแบบที่บ้านเขาไม่มี ซึ่งงานตัวนี้ก็ได้ไปไกลถึงการจัดงานที่นิวยอร์ก เราเลยรู้สึกว่าถ้าจับได้ถูกที่ถูกทางแล้วเทสต์ดี มันก็ดูมีความเป็นไปได้ กับอีกอย่างคือ โลกที่หนึ่งจะมองเรื่องความยั่งยืนแล้วตั้งคำถามกับมัน ถ้าจะให้ดี การนำเสนอควรใช้วัสดุที่ผ่านการใช้งานมาแล้วกลับมาใช้งานใหม่ เพราะเขามองว่าการจัดนิทรรศการต้องมอบความหมายที่ลึกซึ้งมากกว่าแค่การจัดแสดง เพราะเอาเข้าจริง ถึงใช้ของใหม่สุดท้ายบริษัทก็ต้องรีดท่อมาเพิ่มอยู่ดี”


ฐานรากอีกอย่างของการแก้ปัญหาในงานดีไซน์แบบเฉพาะหน้าของคนไทยคือการหยิบของใกล้ตัวมาใช้ ชัชเล่าให้เห็นภาพว่านี่คือการสู้ชีวิตในแบบคนไทย

“ผมรู้สึกว่ามันคือการสู้ชีวิตกับเงินในกระเป๋า ถ้ามีตังค์คงไปซื้อของใหม่ ของที่ดีกว่านั้นได้ แต่ข้อหนึ่งคือเค้าอาจจะไม่รู้ว่ามีของที่ดีกว่านั้น ข้อสองคือเริ่มแรกคือเค้า Mindset ประหยัดไว้ก่อน แปลว่าปั้นของรอบตัวมันต้องตอบโจทย์นั้น ซึ่งก็ต้องทำสองสามรอบกว่าจะได้อย่างที่ใจต้องการ ซึ่งผมชื่นชมการคลี่คลายนี้นะ แต่การชื่นชมนี้ก็ต้องย้อนกลับไปเห็นปัญหาทั้งหมด ซึ่งพวกนี้มีปัญหาทั้งหมดมีอยู่หมดเลย”

 

หากจะมองย้อนกลับในอีกบทบาท ดีไซเนอร์เองก็ทำหน้าที่เป็นนักแก้ปัญหาเช่นเดียวกัน เหตุและผลที่เกิดขึ้นมาจากเรื่องราวที่ว่าทั้งหมดคือการท้าทายกรอบความคิดอย่างหนึ่งของนักออกแบบ

“ผมตั้งคำถามเฉยๆ ว่าการเอาหน้าตาหรือรูปลักษณ์ของของพวกนี้มาใช้สร้างดีไซน์ใหม่ของเราเลย มันทำให้สังคมดีขึ้นยังไง? หรือแสดงให้เห็นว่ามันมีปัญหายังไง? ไม่ได้หยิบมาเพื่อสร้างมูลค่า แต่มูลค่าที่เราสร้างมันตอบปัญหาได้ไหมว่า สิ่งที่เราหยิบฉวยมาเป็นปัญหาที่เราต้องแก้หรือเปล่า หรือว่ามันมีปัญหาอะไร อันนี้เหมือนเป็นภารกิจผมที่ต้องอธิบาย




Text:

Nathanich C.

Nathanich C.

PHOTO:

Chanathip K.

Chanathip K.

Related Posts