EV ยานยนต์แห่งอนาคต กับอนาคตอุตสาหกรรม EV ของไทย

EV ยานยนต์แห่งอนาคต กับอนาคตอุตสาหกรรม EV ของไทย

21 ก.ย. 2566

SHARE WITH:

21 ก.ย. 2566

21 ก.ย. 2566

SHARE WITH:

SHARE WITH:

EV ยานยนต์แห่งอนาคต กับอนาคตอุตสาหกรรม EV ของไทย

สำหรับเราแล้ว ยานยนต์ไฟฟ้าไม่ได้เป็นเพียงแค่กระแส แต่เป็นทางออกที่มากกว่าการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นการปรับแนวคิดของภาคอุตสาหกรรมและการพัฒนานวัตกรรม เพื่อให้ความเป็นอยู่ของผู้คนยุคใหม่มีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่กับโลกแบบยาวๆ

การเข้ามาของยานยนต์ไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับทั้งสิ่งแวดล้อมเพราะลดการเผาไหม้เชื้อเพลิง พร้อมกับความกระตือรือร้นสนับสนุนของทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นแรงผลักสำคัญที่ทำให้เราเห็นยานยนต์ไฟฟ้าบนถนนกันมากขึ้น ประสิทธิภาพและสมรรถนะของยานยนต์ไฟฟ้าที่เต็มรูปแบบมากขึ้น

อย่างที่ทราบกันดีว่า เมืองไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์มาตั้งแต่ยุคเครื่องยนต์สันดาป กาลเวลาผ่านไปพร้อมกับการค้นพบและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้โลกและเราอยู่ได้อย่างยั่งยืนมากกว่า จึงเป็นโจทย์ปัญหาที่ว่า เราจะก้าวข้ามไปสู่การเป็นผู้นำด้านการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าได้หรือไม่? แล้วในยุคเปลี่ยนผ่านเช่นนี้เราทำอะไรได้บ้าง?

คำตอบสำคัญอยู่ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกส่วนในอุตสาหกรรมควรต้องตั้งรับให้พร้อม ควบคู่ไปกับการมองไปข้างหน้าในระยะยาว และเป็นที่มาของงานเสวนาเชิงลึกของ Dassault Systèmes ร่วมกันกับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) ในหัวข้อ “Closing the Skills Gap in Thailand: Shifting Gears to Electric Vehicles” การจะเปลี่ยนเกียร์ไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับเมืองไทย ต้องปิดช่องว่างเหล่านั้นด้วยทักษะใดบ้าง

 

โดยวิทยากรในงานที่มาบอกเล่าการก้าวไปข้างหน้าตั้งแต่ต้นน้ำอย่างการสร้างทักษะบุคลากร ไปจนถึงปลายน้ำที่การสร้างเมืองไทยให้เป็น Hub หรือศูนย์กลางของการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้ ได้แก่

- ผศ.ดร.อุเทน สุปัตติ อุปนายกฝ่ายการศึกษาและการพัฒนาบุคลากร สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย(EVAT) และหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยการประยุกต์ใช้งานอิเล็กทรอนิกส์กำลังและการจัดการพลังงาน (PEEM) คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

- ผศ.ดร.กิตติ์ชนน เรืองจิรกิตติ์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

- มร. ฉี่ ฮ๊าว หวง หัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคล ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

- มร. เบนจามิน ตัน ผู้อำนวยการฝ่ายขาย Customer Role Experience ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใต้ แดสสอลท์ ซิสเต็มส์

- มร. ไซม่อน อึง ผู้อำนวยการฝ่ายขายพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ Customer Role Experience ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใต้ แดสสอลท์ ซิสเต็มส์

 

IIIi - บทบาทของทุกคน

หากมองให้ดี รถยนต์ไฟฟ้าก็เหมือนกับเป็นเครื่องไฟฟ้าอย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยทั้งความรู้ความสามารถในด้านการออกแบบวิศวกรรม การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบประสบการณ์การใช้งาน และที่ฉีกออกไปกว่าเดิมคือการประยุกต์ใช้งานซอฟต์แวร์ในการควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ในรถยนต์ เหล่านี้คือการบอกกับเราว่า ทักษะแบบใดในการทำงานกับยานยนต์ไฟฟ้าที่อุตสาหกรรมกำลังมองหา

เราชวนมองภาพใหญ่ที่เป้าหมายของประเทศที่วางแผนผลักดันการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อให้ตอบกับนโยบาย 30@30 ของประเทศ ซึ่งเป็นแผนการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของประเทศไทย โดยตั้งเป้าผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (Zero-Emission EVs) ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในประเทศ ภายในปี 2030 โดยปัจจุบันมีการดำเนินการเรื่องภาษียานยนต์ไฟฟ้าและการส่งเสริมการสร้างสถานีชาร์จไฟฟ้าทั่วประเทศ และอีกด้านหนึ่งการผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าจึงเป็นเหมืนอกับการสร้างความยั่งยืนทางอาชีพของคนไทยในเวลาเดียวกัน


จากข้อได้เปรียบที่ว่าเรามีความเชี่ยวชาญทางด้านยานยนต์เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เรามีความเข้มแข็งในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานการผลิต หากแต่ในช่วงเปลี่ยนผ่านเช่นนี้จำเป็นต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในกลไกของยานยนต์ไฟฟ้าและการผลิต เรียกว่าต้อง Upskill และ Reskill กันทั้งคนและเครื่องจักร กรอบความคิดที่สำคัญจึงเป็นเรื่องของการคิดล้ำไปข้างหน้า และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ นี่เป็นการปรับตัวของกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมให้มีแนวคิดของการศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Education)

ส่วนการสร้างบุคลากรใหม่ สิ่งที่สำคัญคือภาคการศึกษาที่เป็นต้นน้ำของการผลิตทรัพยากรบุคคลทั้งในระดับปริญญาและอาชีวศึกษา การเรียนการสอนด้านยานยนต์ไฟฟ้าในยุคนี้เป็นการที่ภาคการศึกษาทำงานร่วมกันกับภาคอุตสาหกรรมในการนำปัญหาจริงมาเป็นโจทย์ให้นักศึกษา เพื่อผลลัพธ์ที่ตอบความต้องการของตลาดแรงงานอย่างแท้จริง เพราะอุตสาหกรรมจะเดินหน้าได้ก็ย่อมต้องอาศัยทรัพยากรบุคคลที่มีความพร้อมในทักษะด้านดิจิทัลและวิศวกรรมขั้นสูง ทั้งในการผลิต การวิจัย และการพัฒนา

เมื่อประกอบความร่วมมือทุกส่วนเข้าด้วยกันแล้ว โจทย์ข้อใหญ่ถัดไปจึงเป็นการเร่งสร้างการพัฒนาทั้งจากภาคส่วนที่เป็นภาครัฐกับการสร้างนโยบายสนับสนุน ภาคเอกชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ผู้คนจับต้องได้ ภาคประชาสังคมในการสร้างองค์ความรู้และสร้างความตระหนัก และภาคการศึกษาในแง่การเตรียมพร้อมคนเข้ากับตลาดแรงงานในอนาคต ทั้งหมดจะต้องสร้างเครือข่ายร่วมกัน และสร้างประสบการณ์เพื่อผลักดันโอกาสและศักยภาพใหม่ๆ


IIIi - เราอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่าน

แม้ยานยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบจะเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเรากำลังอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านที่ต้องเผชิญปัจจัยความท้าทายในหลายรูปแบบ เรียกว่าเรากำลังอยู่ในยุคของกลุ่มผู้บุกเบิก หรือ Early Adopter Phase ในวงการยานยนต์ไฟฟ้า

 

คำถามที่ตามมาคือว่า ในเมื่อคนไทยมีศักยภาพในการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าแล้ว ทำไมเราจึงไม่เห็นยานยนต์ประกอบในนามของแบรนด์ไทยบ้าง แท้จริงแล้วตลาดของยานยนต์ไฟฟ้านอกจากจะมาจากแบรนด์เจ้าใหญ่ที่ทำทั้งยานยนต์ไฟฟ้าล้วน (Pure EV) หรือยานยนต์ไฮบริด (HEV) ในท้องตลาดแล้ว ยังมียานยนต์ประเภท BIY/DIY (Build It Yourself/Do It Yourself) เป็นหนึ่งในตลาดยานยนต์ไฟฟ้าด้วย โดยจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย และการสนับสนุนเชิงเทคนิคในการทำงาน

การเปิดโลกสู่โอกาสใหม่อาจเป็นลู่ทางสำหรับคำตอบของข้อสงสัยเหล่านี้ การเปิดกว้างให้ผู้คนเข้าใจอุตสาหกรรมจึงมีโจทย์ของงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือ R&D เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ทุกสิ่งเป็นไปได้

ความท้าทายสำหรับงาน R&D ของรถยนต์ไฟฟ้ายังมีที่ว่างอีกมากมาย ทั้งจากส่วนประกอบของรถยนต์ไฟฟ้าเองที่ประกอบด้วยแบตเตอรี่ มอเตอร์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ โครงสร้างรถยนต์ และซอฟต์แวร์ รวมทั้งความรู้ในขั้นตอนระหว่างกระบวนการผลิต อย่างการพัฒนาความจุของพลังงานแบตเตอรี่ให้มีมากขึ้น น้ำหนักเบาลง มอเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือแม้แต่วัสดุภายในที่มีน้ำหนักเบาลงเพื่อช่วยประหยัดพลังงาน เรียกว่างานวิจัยฝังอยู่ในทุกชิ้นส่วนของรถยนต์ไฟฟ้า

 

การส่งเสริมนวัตกรหรือบุคลากรในการวิจัยและพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าจึงเป็นการสร้างโอกาสครั้งสำคัญให้กับภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศ หรือเรียกว่าต้องสร้างอุปสงค์ (Demand) ในงานวิจัยผ่านการสร้างนโยบาย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในการกำหนดทิศทางของอุตสาหกรรม การจัดการจราจรให้พร้อม และสร้างระบบนิเวศที่ดีรองรับการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า

ในส่วนภาคการศึกษาจำเป็นต้องสร้างกระบวนการคิดและเรียนรู้ให้กับนักศึกษาในทางดิจิทัล โดยการใช้ซอฟต์แวร์หรือเครื่องมือทางนวัตกรรมช่วยในการเรียนรู้ แก้โจทย์ และพัฒนาแนวคิด อย่างที่ Dassault Systèmes เน้นโครงการเป็นศูนย์กลาง (Project Centric) ให้แก่นักวิชาการในสถาบันได้ใช้ศักยภาพจากแพลตฟอร์ม 3DEXPERIENCE ที่อุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกต่างใช้แพลตฟอร์มนี้พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ่านการจำลองเสมือนจริง (Virtual Twin) และใช้บริหารจัดการวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์อีกทั้งในส่วนช่างผู้ชำนาญการที่เคยอยู่ในอุตสาหกรรมเครื่องยนต์สันดาปที่จำเป็นจะต้องมีการกระจายองค์ความรู้ใหม่ของยานยนต์ไฟฟ้าลงไปในระดับภูมิภาค โดยภาคการศึกษาเองก็ต้องมีบทบาทในการปรับองค์ความรู้ให้รองรับการศึกษาตลอดชีวิต

ที่สำคัญคือ การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยนักออกแบบหรือวิศวกรสามารถใช้งานซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบในเชิงสร้างสรรค์ได้มากขึ้น สามารถปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงหรือเทรนด์ที่เดินไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันความคล่องตัวเช่นนี้ก็ต้องอยู่ในแนวคิดภาคนโยบายของภาครัฐด้วยเช่นกัน เรียกว่าแนวคิดแบบล้ำไปข้างหน้าจะต้องใช้งานได้จริงและนับว่าทรงประสิทธิภาพมากในยุคนี้

 

“จากการร่วมมือกันอย่างบูรณาการระหว่างภาควิชาการและผู้มีส่วนได้เสียในระบบนิเวศทั้งหมด ทำให้เราไม่เพียงแต่ขยับลดช่องว่างด้านทักษะเท่านั้น แต่ยังร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เวทีโลกในฐานะศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า” มร. เบนจามิน ตัน กล่าวทิ้งท้าย

 


สำหรับเราแล้ว ยานยนต์ไฟฟ้าไม่ได้เป็นเพียงแค่กระแส แต่เป็นทางออกที่มากกว่าการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นการปรับแนวคิดของภาคอุตสาหกรรมและการพัฒนานวัตกรรม เพื่อให้ความเป็นอยู่ของผู้คนยุคใหม่มีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่กับโลกแบบยาวๆ

การเข้ามาของยานยนต์ไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับทั้งสิ่งแวดล้อมเพราะลดการเผาไหม้เชื้อเพลิง พร้อมกับความกระตือรือร้นสนับสนุนของทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นแรงผลักสำคัญที่ทำให้เราเห็นยานยนต์ไฟฟ้าบนถนนกันมากขึ้น ประสิทธิภาพและสมรรถนะของยานยนต์ไฟฟ้าที่เต็มรูปแบบมากขึ้น

อย่างที่ทราบกันดีว่า เมืองไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์มาตั้งแต่ยุคเครื่องยนต์สันดาป กาลเวลาผ่านไปพร้อมกับการค้นพบและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้โลกและเราอยู่ได้อย่างยั่งยืนมากกว่า จึงเป็นโจทย์ปัญหาที่ว่า เราจะก้าวข้ามไปสู่การเป็นผู้นำด้านการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าได้หรือไม่? แล้วในยุคเปลี่ยนผ่านเช่นนี้เราทำอะไรได้บ้าง?

คำตอบสำคัญอยู่ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกส่วนในอุตสาหกรรมควรต้องตั้งรับให้พร้อม ควบคู่ไปกับการมองไปข้างหน้าในระยะยาว และเป็นที่มาของงานเสวนาเชิงลึกของ Dassault Systèmes ร่วมกันกับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) ในหัวข้อ “Closing the Skills Gap in Thailand: Shifting Gears to Electric Vehicles” การจะเปลี่ยนเกียร์ไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับเมืองไทย ต้องปิดช่องว่างเหล่านั้นด้วยทักษะใดบ้าง

 

โดยวิทยากรในงานที่มาบอกเล่าการก้าวไปข้างหน้าตั้งแต่ต้นน้ำอย่างการสร้างทักษะบุคลากร ไปจนถึงปลายน้ำที่การสร้างเมืองไทยให้เป็น Hub หรือศูนย์กลางของการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้ ได้แก่

- ผศ.ดร.อุเทน สุปัตติ อุปนายกฝ่ายการศึกษาและการพัฒนาบุคลากร สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย(EVAT) และหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยการประยุกต์ใช้งานอิเล็กทรอนิกส์กำลังและการจัดการพลังงาน (PEEM) คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

- ผศ.ดร.กิตติ์ชนน เรืองจิรกิตติ์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

- มร. ฉี่ ฮ๊าว หวง หัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคล ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

- มร. เบนจามิน ตัน ผู้อำนวยการฝ่ายขาย Customer Role Experience ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใต้ แดสสอลท์ ซิสเต็มส์

- มร. ไซม่อน อึง ผู้อำนวยการฝ่ายขายพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ Customer Role Experience ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใต้ แดสสอลท์ ซิสเต็มส์

 

IIIi - บทบาทของทุกคน

หากมองให้ดี รถยนต์ไฟฟ้าก็เหมือนกับเป็นเครื่องไฟฟ้าอย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยทั้งความรู้ความสามารถในด้านการออกแบบวิศวกรรม การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบประสบการณ์การใช้งาน และที่ฉีกออกไปกว่าเดิมคือการประยุกต์ใช้งานซอฟต์แวร์ในการควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ในรถยนต์ เหล่านี้คือการบอกกับเราว่า ทักษะแบบใดในการทำงานกับยานยนต์ไฟฟ้าที่อุตสาหกรรมกำลังมองหา

เราชวนมองภาพใหญ่ที่เป้าหมายของประเทศที่วางแผนผลักดันการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อให้ตอบกับนโยบาย 30@30 ของประเทศ ซึ่งเป็นแผนการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของประเทศไทย โดยตั้งเป้าผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (Zero-Emission EVs) ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในประเทศ ภายในปี 2030 โดยปัจจุบันมีการดำเนินการเรื่องภาษียานยนต์ไฟฟ้าและการส่งเสริมการสร้างสถานีชาร์จไฟฟ้าทั่วประเทศ และอีกด้านหนึ่งการผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าจึงเป็นเหมืนอกับการสร้างความยั่งยืนทางอาชีพของคนไทยในเวลาเดียวกัน


จากข้อได้เปรียบที่ว่าเรามีความเชี่ยวชาญทางด้านยานยนต์เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เรามีความเข้มแข็งในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานการผลิต หากแต่ในช่วงเปลี่ยนผ่านเช่นนี้จำเป็นต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในกลไกของยานยนต์ไฟฟ้าและการผลิต เรียกว่าต้อง Upskill และ Reskill กันทั้งคนและเครื่องจักร กรอบความคิดที่สำคัญจึงเป็นเรื่องของการคิดล้ำไปข้างหน้า และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ นี่เป็นการปรับตัวของกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมให้มีแนวคิดของการศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Education)

ส่วนการสร้างบุคลากรใหม่ สิ่งที่สำคัญคือภาคการศึกษาที่เป็นต้นน้ำของการผลิตทรัพยากรบุคคลทั้งในระดับปริญญาและอาชีวศึกษา การเรียนการสอนด้านยานยนต์ไฟฟ้าในยุคนี้เป็นการที่ภาคการศึกษาทำงานร่วมกันกับภาคอุตสาหกรรมในการนำปัญหาจริงมาเป็นโจทย์ให้นักศึกษา เพื่อผลลัพธ์ที่ตอบความต้องการของตลาดแรงงานอย่างแท้จริง เพราะอุตสาหกรรมจะเดินหน้าได้ก็ย่อมต้องอาศัยทรัพยากรบุคคลที่มีความพร้อมในทักษะด้านดิจิทัลและวิศวกรรมขั้นสูง ทั้งในการผลิต การวิจัย และการพัฒนา

เมื่อประกอบความร่วมมือทุกส่วนเข้าด้วยกันแล้ว โจทย์ข้อใหญ่ถัดไปจึงเป็นการเร่งสร้างการพัฒนาทั้งจากภาคส่วนที่เป็นภาครัฐกับการสร้างนโยบายสนับสนุน ภาคเอกชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ผู้คนจับต้องได้ ภาคประชาสังคมในการสร้างองค์ความรู้และสร้างความตระหนัก และภาคการศึกษาในแง่การเตรียมพร้อมคนเข้ากับตลาดแรงงานในอนาคต ทั้งหมดจะต้องสร้างเครือข่ายร่วมกัน และสร้างประสบการณ์เพื่อผลักดันโอกาสและศักยภาพใหม่ๆ


IIIi - เราอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่าน

แม้ยานยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบจะเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเรากำลังอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านที่ต้องเผชิญปัจจัยความท้าทายในหลายรูปแบบ เรียกว่าเรากำลังอยู่ในยุคของกลุ่มผู้บุกเบิก หรือ Early Adopter Phase ในวงการยานยนต์ไฟฟ้า

 

คำถามที่ตามมาคือว่า ในเมื่อคนไทยมีศักยภาพในการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าแล้ว ทำไมเราจึงไม่เห็นยานยนต์ประกอบในนามของแบรนด์ไทยบ้าง แท้จริงแล้วตลาดของยานยนต์ไฟฟ้านอกจากจะมาจากแบรนด์เจ้าใหญ่ที่ทำทั้งยานยนต์ไฟฟ้าล้วน (Pure EV) หรือยานยนต์ไฮบริด (HEV) ในท้องตลาดแล้ว ยังมียานยนต์ประเภท BIY/DIY (Build It Yourself/Do It Yourself) เป็นหนึ่งในตลาดยานยนต์ไฟฟ้าด้วย โดยจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย และการสนับสนุนเชิงเทคนิคในการทำงาน

การเปิดโลกสู่โอกาสใหม่อาจเป็นลู่ทางสำหรับคำตอบของข้อสงสัยเหล่านี้ การเปิดกว้างให้ผู้คนเข้าใจอุตสาหกรรมจึงมีโจทย์ของงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือ R&D เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ทุกสิ่งเป็นไปได้

ความท้าทายสำหรับงาน R&D ของรถยนต์ไฟฟ้ายังมีที่ว่างอีกมากมาย ทั้งจากส่วนประกอบของรถยนต์ไฟฟ้าเองที่ประกอบด้วยแบตเตอรี่ มอเตอร์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ โครงสร้างรถยนต์ และซอฟต์แวร์ รวมทั้งความรู้ในขั้นตอนระหว่างกระบวนการผลิต อย่างการพัฒนาความจุของพลังงานแบตเตอรี่ให้มีมากขึ้น น้ำหนักเบาลง มอเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือแม้แต่วัสดุภายในที่มีน้ำหนักเบาลงเพื่อช่วยประหยัดพลังงาน เรียกว่างานวิจัยฝังอยู่ในทุกชิ้นส่วนของรถยนต์ไฟฟ้า

 

การส่งเสริมนวัตกรหรือบุคลากรในการวิจัยและพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าจึงเป็นการสร้างโอกาสครั้งสำคัญให้กับภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศ หรือเรียกว่าต้องสร้างอุปสงค์ (Demand) ในงานวิจัยผ่านการสร้างนโยบาย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในการกำหนดทิศทางของอุตสาหกรรม การจัดการจราจรให้พร้อม และสร้างระบบนิเวศที่ดีรองรับการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า

ในส่วนภาคการศึกษาจำเป็นต้องสร้างกระบวนการคิดและเรียนรู้ให้กับนักศึกษาในทางดิจิทัล โดยการใช้ซอฟต์แวร์หรือเครื่องมือทางนวัตกรรมช่วยในการเรียนรู้ แก้โจทย์ และพัฒนาแนวคิด อย่างที่ Dassault Systèmes เน้นโครงการเป็นศูนย์กลาง (Project Centric) ให้แก่นักวิชาการในสถาบันได้ใช้ศักยภาพจากแพลตฟอร์ม 3DEXPERIENCE ที่อุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกต่างใช้แพลตฟอร์มนี้พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ่านการจำลองเสมือนจริง (Virtual Twin) และใช้บริหารจัดการวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์อีกทั้งในส่วนช่างผู้ชำนาญการที่เคยอยู่ในอุตสาหกรรมเครื่องยนต์สันดาปที่จำเป็นจะต้องมีการกระจายองค์ความรู้ใหม่ของยานยนต์ไฟฟ้าลงไปในระดับภูมิภาค โดยภาคการศึกษาเองก็ต้องมีบทบาทในการปรับองค์ความรู้ให้รองรับการศึกษาตลอดชีวิต

ที่สำคัญคือ การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยนักออกแบบหรือวิศวกรสามารถใช้งานซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบในเชิงสร้างสรรค์ได้มากขึ้น สามารถปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงหรือเทรนด์ที่เดินไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันความคล่องตัวเช่นนี้ก็ต้องอยู่ในแนวคิดภาคนโยบายของภาครัฐด้วยเช่นกัน เรียกว่าแนวคิดแบบล้ำไปข้างหน้าจะต้องใช้งานได้จริงและนับว่าทรงประสิทธิภาพมากในยุคนี้

 

“จากการร่วมมือกันอย่างบูรณาการระหว่างภาควิชาการและผู้มีส่วนได้เสียในระบบนิเวศทั้งหมด ทำให้เราไม่เพียงแต่ขยับลดช่องว่างด้านทักษะเท่านั้น แต่ยังร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เวทีโลกในฐานะศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า” มร. เบนจามิน ตัน กล่าวทิ้งท้าย

 


Text:

Nathanich C.

Nathanich C.

PHOTO:

Courtesy of Dassault Systèmes

Courtesy of Dassault Systèmes

Related Posts