Doc Club & Pub พื้นที่บ่มเพาะวัฒนธรรมหนังนอกกระแสที่เป็นมากกว่าโรงหนัง
Doc Club & Pub พื้นที่บ่มเพาะวัฒนธรรมหนังนอกกระแสที่เป็นมากกว่าโรงหนัง
20 ก.พ. 2568
SHARE WITH:
20 ก.พ. 2568
20 ก.พ. 2568
SHARE WITH:
SHARE WITH:
Doc Club & Pub พื้นที่บ่มเพาะวัฒนธรรมหนังนอกกระแสที่เป็นมากกว่าโรงหนัง



เมื่อ Doc Club & Pub ถูกระงับกิจการฉายภาพยนตร์ จนกลายเป็นประเด็นที่สังคมของคนให้ความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะคนในวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของไทย จากการเผชิญข้อจำกัดเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร วันนี้เราได้มีโอกาสพูดคุยกับ พี่หมู กฤตวิทย์ หริมเทพาธิป และ พี่ดา ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ ผู้ร่วมก่อตั้งสถานที่แห่งนี้ และพาทุกคนย้อนรอยไปถึงจุดเริ่มต้นและเรื่องราวเส้นทางแห่งความหลงใหลในโลกภาพยนตร์ ที่นำไปสู่การสร้าง Doc Club & Pub โรงภาพยนตร์ขนาดเล็กหรือ ‘Micro Cinema’ ที่เปรียบเสมือนประตูบานใหญ่ เปิดโลกให้กับคนรักหนัง และอยากให้”คนดู”เข้าใจในความหลากหลายของศิลปะภาพยนตร์

IIIi Micro cinema มีความเป็นมาอย่างไร และมีความสำคัญอย่างไรต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์ ?
หมู - ย้อนกลับไปในอดีต โรงภาพยนตร์แบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก คือโรงหนังที่ฉายภาพยนตร์เชิงพาณิชย์ และโรงหนังอาร์ตเฮาส์ซึ่งมีบทบาทแตกต่างกันอย่างชัดเจน โรงหนังเชิงพาณิชย์มุ่งเน้นการฉายภาพยนตร์ใหม่ตามกระแสตลาด ในขณะที่โรงหนังอาร์ตเฮาส์จะมีการคัดสรรเนื้อหาพิเศษสำหรับฉายในพื้นที่เฉพาะ หนึ่งในพื้นที่สำคัญที่มักได้รับการกล่าวถึงคือ Cinémathèque ของฝรั่งเศส ซึ่งมีบทบาทอย่างยิ่งในการก่อกำเนิดกลุ่ม French New Wave
จากกลุ่มคนที่เป็นผู้ชมภาพยนตร์และทำหน้าที่วิจารณ์หนัง จากนั้นก็เกิดบรรยากาศแห่งการท้าทาย ราวกับว่า "เมื่อวิจารณ์เก่งนัก ลองมาทำหนังแข่งกันไหม" ส่งผลให้นักวิจารณ์หลายคนผันตัวมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ จนก่อตัวเป็นกลุ่ม New Wave อันโด่งดัง
ในยุคปัจจุบันเราได้เห็นการเกิดขึ้นของ Micro Cinema ซึ่งมีแนวคิดคล้ายอาร์ตเฮาส์ แต่มีขนาดเล็กกว่ามากโดยมีที่นั่งไม่เกิน 50 ที่ การเกิดขึ้นของโรงหนังประเภทนี้เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพเมือง ทั้งการอพยพของผู้คนออกนอกเมือง การเปลี่ยนพื้นที่พักอาศัยเป็นย่านพาณิชยกรรม จึงเกิดการปรับใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งร้านค้า ร้านอาหาร และพื้นที่ศิลปะ
“Micro Cinema มีบทบาทสำคัญในฐานะ Supply Chain หนึ่งของวงการภาพยนตร์ ทำหน้าที่เป็นเหมือนแผนก R&D (Research & Development) ให้กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์หลัก เพราะเมื่ออุตสาหกรรมหลักเดินมาถึงทางตัน ก็ต้องพึ่งพาความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาจากกลุ่มเล็กๆ เหล่านี้ ที่มาช่วยต่อยอดให้วงการเติบโตต่อไปได้”
อย่างสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงหนึ่งของวงการภาพยนตร์อเมริกา แต่เดิมไม่ได้มีภาพชัดเจนของกลุ่มอาร์ตเฮาส์ เน้นการใช้ดาราและเซเลบริตี้ เป็นภาพวัฒนธรรมฮอลลีวูด แต่เมื่อวงการถึงจุดอิ่มตัว เริ่มมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับฝั่งยุโรป ทั้งเยอรมัน ฝรั่งเศส และอังกฤษ ฯลฯ มีการนำเข้าผู้กำกับที่กำลังเป็นดาวรุ่งจากประเทศต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนกัน จนเกิดเป็นกลุ่มอเมริกันอินดี้ ซึ่งรวบรวมผู้กำกับอิสระนอกอุตสาหกรรมหลัก กลายเป็นฐานกำลังสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยความคิดสร้างสรรค์ ก่อนจะค่อยๆ พัฒนาสู่การผลิตในตลาดที่ใหญ่ขึ้นต่อไป

IIIi Micro cinema ในไทยเกิดขึ้นได้อย่างๆไร ?
หมู - ในอดีต ประเทศไทยมีพื้นที่จัดฉายภาพยนตร์ที่พัฒนามาจากสถาบันทางวัฒนธรรมหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานในสังกัดสถานทูตต่างประเทศที่มุ่งเผยแพร่วัฒนธรรมของตน อาทิ สถาบันเกอเธ่ (Goethe-Institut Thailand), สมาคมฝรั่งเศส (Alliance Française de Bangkok), มูลนิธิญี่ปุ่น,รวมถึง AUA (AUA Language Center) ที่มีบทบาทสำคัญในยุคแรกเริ่ม
นอกจากนี้ยังมีสถาบันศิลปะในระดับรองลงมาที่มีส่วนสำคัญในการจัดฉายภาพยนตร์ เช่น หอศิลป์พีระศรี รวมถึงหอภาพยนตร์แห่งชาติที่ก่อตั้งขึ้นและยังคงทำหน้าที่นี้อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการโดยคนไทยและทำการฉายกันเองในประเทศ
ส่วนในอันดับที่สามมาจากแกลเลอรี่และพื้นที่แสดงงานศิลปะของภาคเอกชน ที่จัดฉายภาพยนตร์เป็นครั้งคราว แม้ว่าสถานที่ทั้งสามประเภทที่กล่าวมานี้อาจไม่ตรงตามนิยามของ Micro Cinema ในแง่ของขนาดพื้นที่ทางกายภาพ แต่พวกเขาก็ทำหน้าที่ในฐานะอาร์ตเฮาส์ คล้ายคลึงกับยุคบุกเบิกของภาพยนตร์นอกกระแสในอดีต
สำหรับ Micro Cinema ในประเทศไทยที่ถ้าเป็นรูปแบบการบริหารจัดการและการออกแบบพื้นที่ ที่เราว่าเห็นภาพชัดเจนคือ Bangkok Screen Room ที่เรารับช่วงต่อมา ซึ่งใช้วิธีการดัดแปลงอาคารที่มีอยู่เดิมให้กลายเป็นโรงภาพยนตร์เชิงพาณิชย์ขนาดเล็ก
IIIi ย้อนกลับไปจุดเริ่มต้น จากความหลงใหลในภาพยนตร์จนมาทำเป็นธุรกิจ ?
หมู - เราสนใจเรื่องเหล่านี้มาโดยตลอด จนกระทั่งผ่านเวลามาได้ทบทวนตัวเองในภายหลังก็คิดว่า เราอาจจะได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจาก Henri Langlois ที่เขาทำ Cinémathèque มันมีอิทธิพลต่อเราตั้งแต่ได้เริ่มทํางานที่หอภาพยนตร์ จนมาทําหนังสือของตัวเองก็พยายามคิดถึงกิจกรรมในลักษณะของการจัดฉายหนัง และให้มีการมีส่วนร่วมของชุมชนได้มาเปิดวงสนทนา แลกเปลี่ยนในประเด็นต่างๆ

ธิดา - พอเริ่มทํา Bioscope Magazine จนมาสู่ Documentary Club มันก็เริ่มมาจากเรา ที่ชอบตั้งคำถามกับตัวเองจากการอ่านหนังสือ ชอบดูหนังนอกกระแสทั่วๆไป เราก็สงสัยว่าพวกหนังนอกกระแสต่างๆ ที่ไม่ใช่หนังกระแสหลัก ทําไมพื้นที่มันไม่มี? และทำไมมันน้อยลงเรื่อยๆ? สวนทางกับตลาดโรงหนังที่นับวันยิ่งขยายจํานวนสาขาเยอะแยะมากมาย แต่กลับมีหนังให้เราเลือกดูน้อยลง? เราเห็นปรากฏการณ์ที่มีหนังฟอร์มใหญ่มาเข้าโรง ก็ฉายมันทุกที่เลย หนังที่ไซส์เล็กลงมาก็เขี่ยทิ้งให้หมด เราเห็นมันเป็นแบบนี้
การเริ่มทำ Bioscope Magazine มันก็มาจากโจทย์ที่ว่านี้เลย เราอยากให้คนอ่านได้รู้ว่า ขณะที่ทุกคนดูหนังฟอร์มยักษ์ตามโรงหนัง อีกฟากหนึ่งของโลกมีความพยายามที่จะสร้างหนังใหม่ๆ และพัฒนาแนวคิดหรือวิธีการใหม่ทางภาพยนตร์อยู่ตลอดเวลา โดยที่เราอยู่ในประเทศนี้ไม่ได้รับรู้เลย ดังนั้นนิตยสารของเราก็จะเน้นไปที่ การหาสิ่งใหม่ๆให้ผู้อ่าน ได้เปิดโลกทัศน์ของภาพยนตร์ที่มันหลากหลายมากขึ้น
ธิดา - “อีกส่วนที่เรียกกันว่าลูกเมียน้อยอย่าง “สารคดี” คือหนึ่งในหนึ่งในกลุ่มที่ถูกคนมองข้ามมาโดยตลอดโดยเฉพาะในตลาดบ้านเรา การฉายหนังประเภทนี้อย่างมากก็เป็นการโปรโมทภาพยนตร์ โดยการจัดอีเวนต์ที่มีสารคดีฉาย หรือฉายตามเทศกาลหนังต่างๆ ซึ่งก็นานๆทีจะมี มันไม่เคยปรากฏอยู่ในท้องตลาด แล้วเราคิดว่าความเข้าใจที่ของคนดู ทั่ว ๆ ไปที่มีต่อสารคดี ก็จะติดกับภาพจำสารคดีที่ได้ดูทางทีวี ซึ่งต่างกับสารคดีในเวทีนานาชาติ ที่เป็นสไตล์ 'Feature Documentary' ที่กําลังเติบโตในตลาดโลก เราจึงอยากทดลองทําค่ายหนัง ที่เอาสารคดีที่กําลังน่าสนใจในโลกมาฉายให้คนดู จึงเกิดโปรเจคต์ Documentary Club ขึ้นมา”
IIIi “Bioscope Magazine” แหล่งชุมชนคนรักหนัง และสร้างปรากฏการณ์ผ่านกิจกรรมประกวด “หนังสั้น”ที่เปิดโอกาสผู้อ่านได้มีโอกาสทดลองทำหนังด้วยตนเอง

หมู - ตอนแรก Bioscope เกิดมาจากยุคหนังสือทำมือ เราทำเป็นเล่มเล็กตอนนั้น แล้วเลี้ยงชีพตัวเองด้วยการเป็นพนักงานประจํา แล้วออกงานตามงานอีเวนต์ต่างๆ พอถึงจุดหนึ่งเพื่อนๆที่เคยทำด้วยกัน เขาก็กลับไปทํางานหลักของตัวเองดีกว่า เพราะดูแล้วมันมันคงไปไม่ไกลกว่านี้
หนังสือที่เราทำมันไม่ได้ถูกปรับตัวไปอีกตลาดนึงที่เป็นรูปแบบธุรกิจ เพราะตลาดหนังสือทํามือส่วนมากก็ไปอยู่ตามงานอีเวนต์ กว่าจะเจอผู้อ่านแต่ละทีก็ต้องรอคนจัดงาน มันก็ไปต่อไม่ได้เพราะมันมีเงื่อนไขเหล่านี้ ก็เลยลองคิดว่าถ้าเราจะทำให้มันขึ้นไปสู่ธุรกิจตลาดหนังสือจริงจัง มันมีความเป็นไปได้ยังไงบ้างในตอนนั้น
ถ้าเล่าอย่างละเอียดก็คือว่าในขั้นตอนการทำธุรกิจหนังสือสมัยก่อน เราจะต้องดีลกับสายส่ง เราส่งหนังสือไปให้เขา เขามีเงินก้อนมาให้เรา ซึ่งสายส่งในสมัยนั้นจะออกเชคสั่งจ่ายมาให้เราก่อนตาม ‘จํานวนยอดขาย’ที่ตกลงกัน เช่น ยอดขายที่ 40% เขาให้เงินส่วนแบ่งก้อนนี้มาก่อนเลย จากนั้นอีก 3 เดือน เรามีหน้าที่ไปเก็บหนังสือกลับมา พร้อมกับเช็คยอดขายดูว่ามันถึง 40% ตามที่ตกลงมั้ย ถ้ายอดขายเกินก็รับเงินเพิ่ม ถ้ายอดไม่ถึงก็ขอลงบัญชีไว้ ซึ่งเป็นเรื่องของการพูดคุยเจรจากันในธุรกิจหนังสือสมัยนั้น
ต่อมาเมื่อเราได้เงิน 40% จากสายส่งมาแล้ว เราสามารถเอาเงินก้อนนี้มัดจำกับโรงพิมพ์ เพื่อต่อรองยอดค่าพิมพ์ ดังนั้นหลังจากที่เราดีลและจัดการงบประมาณต่างๆแล้ว ทำให้เรามีต้นทุนที่พอจะเริ่มรันธุรกิจไปได้ ในส่วนของกองบรรณาธิการ ในตอนนั้น Bioscope ทํากันอยู่แค่ 2 คน จนตอนหลังก็ต้องหาทีมมาเสริม
ช่วงนั้นมีอาจารย์ไกรวุฒิ จุลพงศธร มาช่วยในการเขียนเรื่อง ก็ทำมาเรื่อย เราคิดว่ามันน่าจะไปต่อได้ คิดว่ารายรับจากเงินเบิกล่วงหน้าจากสายส่งมันจะหล่อเลี้ยงกองเราได้ แต่พอทำมาสักพักก็เริ่มจะไปต่อไม่ได้ เราก็หาคนมาช่วยขายโฆษณาซึ่งมันก็สําเร็จบ้างไม่สําเร็จบ้าง
“จุดเปลี่ยนสำคัญคือการได้ลองทําโครงการจัดประกวด”หนังสั้น”โดยเราออกแบบกิจกรรมที่เป็นของเราเองขึ้นมา ใช้ครีเอทีฟในการคิดและพยายามหาจุดที่ทำให้คนมามีส่วนร่วม เหมือนกับเราพบหนทางใหม่เลย ทั้งในแง่การหาลูกค้า รวมถึงผู้อ่านที่สนใจอยากมีส่วนร่วมกับกิจกรรมนี้ ก็มาช่วยสนับสนุนหนังสือเรามากขึ้น”

"ขั้นตอนของการประกวด”หนังสั้น”เป็นการเปิดรับสมัครคนทำหนังอิสระเข้ามา ซึ่งในยุคนั้นการเข้าถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการทำหนังมันไม่ได้ง่ายเหมือนสมัยนี้ หากไม่ใช่เด็กเรียนภาพยนตร์โดยตรงก็ยากหน่อย พอเราทำโปรเจกต์นี้ออกไปก็ได้รับผลตอบรับที่ดีมาก มีคนสนใจส่งงานเข้ามาเยอะมาก กิจกรรมของเราจึงเป็นเหมือนพื้นที่แห่งโอกาส ที่ทำให้คนมีความฝันอยากทำหนังของตัวเอง ได้ลงมือทำจริง"
"เราออกแบบให้มีการ training แล้วให้ผู้กำกับแต่ละคนกลับไปสร้างผลงานของตัวเอง เมื่อทุกคนได้เข้าสู่รอบของการประกวด เราไม่เคยจำกัดว่าจะต้องเป็นเด็กเรียนภาพยนตร์ ทุกคนจะมีโอกาสเท่าเทียมกัน ได้เข้าถึงอุปกรณ์ เข้าถึงชุดความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ของภาพยนตร์ที่เหมือนๆกัน เราคิดว่ากิจกรรมเหล่านี้เป็นส่วนสําคัญที่ช่วยหล่อเลี้ยง Bioscope Magazine ให้เติบโต การประกวดหนังสั้นมันก็โด่งดังและได้รับความนิยม ทำให้เรามีลูกค้าเข้ามาเป็นสปอนเซอร์หลากหลายราย"
จนผ่านเวลามาถึงช่วงยุคท้ายของหนังสือ ตอนนั้นทางบริษัทโมโน ได้เปิดช่องทีวี แล้วเขามองหากลุ่มคนเข้าไปทําคอนเทนต์ด้านภาพยนตร์ จึงเข้ามาทาบทามเรา ก็มีข้อเสนอทางธุรกิจมาคุยกับเรา จากนั้นเราก็ยกทีมงานของ Bioscope เข้าไปอยู่ที่นั่นทั้งหมดเลย ก็นับว่าเป็นการผันตัวเองมาทำงานในด้านทีวี จนผ่านเวลามาถึงวันที่เรารู้สึกอิ่มตัว รู้สึกเบื่อแล้ว ก็คิดว่ามันมีงานภาพยนตร์ในแบบไหนอีก ที่เราเคยอยากทํา แล้วไม่เคยได้ทํา ก็เกิดโปรเจกต์ Documentary Club ในเวลาต่อมา
llli การเริ่มต้นทำสิ่งที่ไม่มีใครทำ ยิ่งโดยเฉพาะหนังสารคดี ที่เป็นเฉพาะกลุ่มมากๆในบ้านเรา มีความเชื่อหรือกลยุทธ์อะไรในการนำทางให้เราคิดว่าสิ่งนี้จะไปต่อได้ ?

ธิดา - “อืม...ตอนนั้นมันก็ยาก....ยากจนมาถึงตอนนี้(หัวเราะ)....ยากมาโดยตลอด...”
มองย้อนกลับไปเราไม่ได้มีกลยุทธ์หรือแม้แต่แผนการตลาด เราไม่ได้มีความเชี่ยวชาญในแง่มุมการตลาดสายภาพยนตร์ขนาดนั้น ก่อนหน้านี้เราทํางานสายคอนเทนต์มาโดยตลอด คิดว่าสิ่งหนึ่งที่ทําให้เราสื่อสารออกไปแล้วไปเจอกับกลุ่มเป้าหมาย มันน่าจะเป็นสิ่งใหม่ที่ตลาดขาดแคลนอยู่ในช่วงเวลานั้น เช่น หนังอิสระที่มีความครีเอทีฟ หนังทางเลือกที่แปลกใหม่ หรือแม้แต่สารคดีนานาชาติที่หลากหลาย เป็นต้น พื้นที่เหล่านี้ยังไงก็หาดูไม่ได้กับตลาดกระแสหลัก จากที่เราเป็นคนอ่านหนังสือจนมาเป็นคนทําสื่อ เราพอจะรู้ว่ามีกลุ่มคนที่มีความชอบในสิ่งเหล่านี้อยู่ แม้ว่าจํานวนอาจจะไม่ได้มากขนาดที่ทําให้ธุรกิจเฟื่องฟูขึ้นมาทันตาเห็น แต่ว่าอย่างน้อยเราเชื่อว่ามีกลุ่มผู้ชมที่มีตัวตนและรอคอยสิ่งเหล่านี้อยู่จริง
ฉะนั้นก็เลยรู้สึกว่าเราต้องสื่อสารสิ่งที่เราทำให้ชัดเจน สื่อสารอย่างตรงไปตรงมาถึงสิ่งที่เราทำและมีความเชื่อมั่น ซึ่งทำให้เราได้พบกับผู้ชมที่มีความสนใจตรงกัน เราได้เรียนรู้กลไกการนำภาพยนตร์เข้าฉาย เราซึ่งทำหน้าที่เป็น’ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์’ ในความท้าทายอยู่ที่ผู้จัดจำหน่ายส่วนใหญ่ในไทย ยังไม่คุ้นเคยกับการจัดจำหน่ายภาพยนตร์สารคดี เนื่องจากต้องอาศัยความเข้าใจเฉพาะทางและการทำตลาดที่แตกต่างจากภาพยนตร์ทั่วไป
ธิดา - “ช่วงแรก Documentary club เริ่มจากเอาหนังมาเข้าฉายที่ SF Cinema ก่อนตามกลไกกระบบของมัน แต่ว่าสิ่งอื่นๆ ที่เราทํามันก็ค่อยๆ พัฒนาแตกยอดออกมาเรื่อยๆ มาเป็นรูปแบบ on demand บนเวบไซต์ ควบคู่กันไปการการฉายในโรงที่ยังคงเป็นรายได้หลัก เพราะว่าแพลตฟอร์มเราค่อนข้างจะเป็นมือสมัครเล่น ไม่ได้มีหนังให้เลือกดูเยอะ ในแบบที่ต้องสมัครสมาชิกอย่าง Netflix ที่จ่ายเป็นเดือนเป็นปีแล้วมีหนังป้อนเข้าระบบให้ดูตลอด แต่ของเรายังเป็นระบบที่ต้องซื้อเป็นเรื่อง ทำให้มีจำนวนไม่มากพอที่จะดึงดูดคนให้มาสมัครสมาชิก ในเรื่องของตัวเลขรายได้ที่มาจากหนังสารคดี เป็นเหมือนรายได้เสริมมากกว่า เราต้องทำอย่างอื่นเพื่อประคับประคองไปด้วย”
llli ในวันที่ได้เติบโตมาเป็น Doc Club & Pub 'พื้นที่เพื่อคนรักหนัง ที่โอบรับความหลากหลาย' และต้องการสื่อสารไปถึงผู้คนว่า 'Micro Cinema' คือพื้นที่สำคัญ ที่พร้อมส่งเสริมวัฒนธรรมการดูหนังให้เกิดขึ้นในเมืองไทย

ธิดา - “ความคิดเรื่องอยากทําโรงหนังเล็กๆ ของตัวเองมันก็มีอยู่บ้างตอนที่ทําหนังสือ เราเคยมีห้องฉายหนังเล็กๆ ไว้จัดกิจกรรมพบปะผู้อ่านรวมถึงฉายหนังดูกันเองบ้าง หรือถ้ามีคนส่งมาเราก็ใช้ห้องนี้เป็นเหมือนการทดลองเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ”
“แต่พอมาทํา Documentary club เราก็มาเจอปัญหากกับการดีลงานกับโรงหนังใหญ่ตลอดเวลา เราก็ตั้งคำถามกับตัวเองว่า มันจําเป็นต้องไปฉายโรงใหญ่ๆมั้ยนะ..? ถึงแม้ว่าจะเป็นแหล่งรายได้สําคัญของเรา แต่คําถามเหล่านี้วนกับเราอยู่ตลอด เราคิดว่าหนังบางเรื่องเขาน่าจะมีโอกาสที่จะได้ฉายในพื้นที่ที่เล็กหน่อย ไม่ต้องต่อรองเชิงธุรกิจ ที่เป็นเป้าหลักขนาดนั้น และตอนนั้นก็มีแค่ HOUSE(RCA) โรงเดียว”
“เราพยายามมองหาพื้นที่ ที่เหมาะสมที่เราอยากทํามานานเป็นหลายปี แต่มันก็ยังไม่ลงตัวด้วยอะไรหลายๆ โดยก่อนหน้านี้เราก็มีไปที่ Wherehouse 30 ของพี่ด้วง ดวงฤทธิ์ บุญนาค พี่ด้วงเป็นรุ่นพี่คณะ แล้วก็รู้ว่าเราอยากทําที่ฉายหนัง ก็ลองไปเปิดเป็นมุมนึง ด้วยสเปซที่มันกว้างและเปิดโล่งทำให้มันมีข้อจำกัดในการฉายอยู่
จนเรามาเจอ Bangkok Screening Room ช่วงนั้นมันเป็นช่วงโควิด แล้วทางเจ้าของเดิมเขาก็จะเลิกทำพอดี เราลองไปคุยพอเงื่อนไขก็โอเค ด้วยสเปซมันก็น่ารักดี คิดว่าก็น่าจะทำอะไรต่อได้ เพราะตัวเขาก็เสียดายที่จะต้องปิดไป หากเราไม่ทำต่อเขาก็จะต้องรื้อเป็นออฟฟิศปล่อยเช่า ซึ่งพื้นที่ต่างๆเขาก็ทำไว้อย่างดีอยู่แล้วเราก็เลยตัดสินใจทำต่อ”
ธิดา – “ในช่วงเวลาที่เราทำสิ่งเหล่านี้ มันกลับสอดคล้องกับคนยุคนี้ที่เป็นคนรุ่นใหม่ สังคมเริ่มมีความตื่นตัวทางการเมืองมาก ก่อนหน้านี้เราค่อยๆเห็นตั้งแต่เราทํา Documentary club ตั้งแต่ก่อนจะมาเปิดที่นี่แล้ว เรามีความรู้สึกว่าเด็กรุ่นใหม่ ที่เป็นกลุ่มประมาณ Gen Z ก็จะมีวิธีการรับรู้คอนเทนต์อีกแบบนึงที่ต่างไปจากรุ่นเรา”
ในยุคโซเชียลมีเดียมีบทบาทมากขึ้น ความเชื่อของคนรุ่นเราก่อนหน้านี้ ที่รู้สึกว่า’หนังสารคดี’ หรือการฉายหนัง การจัดเสวนาที่มันดูวิชาการมากๆ ใครจะอยากมาฟังพวกเราน่ะ ? แต่เราก็พบว่าหลายครั้งที่เราจัดคนเยอะ คนเต็ม แล้วก็จะเป็นเด็กรุ่น Gen Z ลงไป เราเลยรู้สึกว่ากลุ่มคนเหล่านี้แหละน่าสนใจ

“ความจริงมันอาจจะเกี่ยวข้องกับเรื่องช่วงเวลาที่มันเกิดม็อบและปรากฏการณ์ทางการเมืองของเด็กรุ่นใหม่ เราเห็นความเปลี่ยนแปลงอะไรที่น่าสนใจ ตัวอย่าง เช่น ถ้าเราจัดฉายหนังเรื่องนึงแล้วเราจะทําการเสวนาต่อ ในประเด็นที่มันดูวิชาการหนักๆ ถ้าเป็นสมัยก่อนคนรุ่นเราจะไม่ค่อยจํานะ การจัดเสวนาก็ต้องย่อยเนื้อหาให้เข้าใจง่ายไม่ต้องลึกมาก เพราะไม่ค่อยมีใครรับเนื้อหาที่เข้มข้นมากๆไหว แต่ปัจจุบันว่าพอเราจัดแล้วมีกลุ่มคนรุ่นใหม่ๆ ก็พบว่ามันไม่เป็นแบบนั้น และเขาพร้อมที่จะรับฟัง”
หมู - “ในตอนแรกมันก็เป็นโจทย์ใหญ่ที่เรามองเห็นว่า”คนดู”กับความพร้อมเปิดรับการดูหนังที่มีความหลากหลายยังมีจํานวนน้อยเกินไป การบ้านก็คือว่าถ้าหากเราจะสร้างฐานคนดูเพิ่ม โดยการสร้างวัฒนธรรมการดูหนัง จะค่อยๆ สร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้อย่างไร ?”
“อีกจุดหนึ่งที่เราเริ่มเห็นเป็นปรากฏการณ์จากสถานการณ์โควิดนี่ที่ผ่านมา มีคนจํานวนหนึ่งที่เคยอยู่ในเมืองก็พาตัวเองกลับไปอยู่บ้าน เขาได้นำสิ่งที่เค้าเคยสัมผัส วัฒนธรรมการดูหนัง ศิลปะ ฯลฯ เคยสามารถเข้าถึงได้ง่ายๆจากที่กรุงเทพฯติดตัวกลับไปด้วย เมื่อเขากลับบ้านต่างจังหวัด กลับกลายเป็นวัฒนธรรมการดูหนังนอกกระแสมันห่างจากวิถีชีวิตเขามากขึ้น”
“ผู้คนเหล่านี้ทำให้เกิดเครือข่าย Micro Cinema Thailand ขึ้นมา ทั้งเชียงใหม่ หาดใหญ่ ฯลฯ เขาก็ต้องการดูหนังที่หลากหลายเหมือนอย่างที่เคยสัมผัสมาก่อน สิ่งเหล่านี้ก็ส่งต่อไปสู่คนอีกกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่อื่น ก็เข้าไปสู่คนที่ไม่เคยสัมผัสวัฒนธรรมการดูหนังลักษณะนี้ ดังนั้นเราก็ต้องพยายามทำให้เขาเห็นสิ่งเหล่านี้ในพื้นที่ของเขาเองบ้าง คนจะได้หามุมมอง ไอเดีย ความรู้ใหม่ๆจากการดูหนัง ซึ่งไม่ใช่หนังที่คุณจะสามารถเจอได้ในหนังกระแสหลักทั่วไป”

llli 'Soft Power' จะเห็นผลคือเริ่มจาก”วิจัยและพัฒนา”
หมู - “หน่วยงานรัฐที่ตั้งกลุ่มคนขึ้นมาเพื่อสนับสนุน 'Soft power' ด้านภาพยนตร์ เราก็มองว่าเป็นเรื่องดี เพราะตัวบุคลากรเองที่มาดูแลเรื่องนี้ หลายคนก็มีความรู้ความเข้าใจวงการภาพยนตร์ เขาเห็นความสําคัญและมีการออกแบบกระบวนการที่จะสนับสนุนให้มันเกิดขึ้น แต่ถ้ามองตอนนี้สำหรับเรา มันก็ไม่ได้มีคําตอบที่ชัดว่าจะไปในทิศทางไหน เอาแค่ตอนนี้ได้กลับมาฉายหนังให้ได้ก่อน (หัวเราะ)”
ในบ้านเราไม่ได้มีกระบวนการวิจัยพัฒนาที่เกี่ยวกับภาพยนตร์ ยกตัวอย่าง KOFIC (Korean Film Council) ของเกาหลี เขามีกระบวนการทํางานวิจัยอย่างจริงจังต่อเนื่อง แต่บ้านเรายังใช้วิธีทดลองทำกันอยู่ ดีบ้างไม่ดีบ้างก็ว่ากันไป
ธิดา - ยอมรับว่าพอมันมีนโยบาย Soft Power มีหน่วยงานอย่าง THACCA (Thailand Creative Culture Agency) ที่มีคนที่ทำงานในวงการภาพยนตร์อยู่ในองค์กร เขาค่อนข้างเข้าใจว่า Micro Cinema อาจจะไม่ได้มีตัวเลขรายได้อยู่ในเป้าหมาย แต่ก็เป็นหน่วยเล็กที่คอยช่วยเปิดประตูสู่สิ่งใหม่ เป็น R&D ให้กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย และมีความสําคัญทางสังคมในด้านศิลปวัฒนธรรม
ปัจจุบันการอธิบายบทบาทของพื้นที่แบบนี้ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านภาพยนตร์เริ่มจะง่ายขึ้น เพราะพูดกับคนในวงการเดียวกัน เราก็พัฒนามาในระดับนึง แต่หากมองภาพสังคมในวงกว้าง ก็อาจจะรู้สึกว่าเป็นส่วนเล็กนิดเดียว ถ้าลงทุนทำไปจะได้ประโยชน์ที่คุ้มค่าหรือไม่? ดังนั้นเราก็ต้องให้ทุกฝ่ายมาช่วยกันสื่อสารสิ่งเหล่านี้ออกไป ตอนนี้ถ้าจะพูดตรงๆ บ้านเราก็อยู่ในช่วงกำลังค่อยๆพัฒนา
llli DOC CLUB & PUB เป็นพื้นที่บ่มเพาะเมล็ดพันธ์ ที่พร้อมดูแลรดน้ำ พรวนดิน ให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์เติบโตได้อย่างมั่นคง

หมู - “จะว่ามันเป็น mission ที่เป็นความฝันของเราก็ได้นะ เป็นความฝัน...ไม่เคยคิดว่ามันจะเกิดขึ้นในรุ่นตัวเอง ไม่เคยคิดว่ามันจะฟูขึ้นมาในรุ่นตัวเอง คิดว่าอะไรที่เราหว่านไว้เนี่ย มันต้องมีบางพื้นที่ ที่มันต้องมีต้น มีรากที่งอกขึ้นมา มันจะรอดได้ดีหรือไม่รอดก็อยู่ที่ว่าใครในพื้นที่นั้นจะสร้างให้มีความอุดมสมบูรณ์แค่ไหน ดินมันดีไหม มันให้การดูแลบำรุงรักษาป่าที่ดีไหม มันก็จะประมาณนี้ แล้วเขาอาจจะได้รู้ไว้ว่ามันมีคนรุ่นก่อนหน้าได้ทำไว้แล้วนะ ถึงแม้ทําไม่สําเร็จ เราก็ก็ยังทํากันต่อเลย อย่างน้อยก็ได้ลงมือทำ สิ่งเหล่านี้จะสืบเนื่องต่อไปจากรุ่นเรา ที่พยายามส่งต่อถึงรุ่นต่อไป เราอยากเห็นมันเกิดขึ้นสักวัน”
หมู - “ก็ลองคิดดูว่าถ้าวงการหนังบ้านเราไม่พัฒนาคนดู ไม่พัฒนาคนทำหนัง ที่แสดงให้เห็นว่าหนังมันมีสารพัดแบบบนโลกใบนี้ วันนี้..ที่เรายังนั่งบ่นกันอยู่ว่า ทําไม? หนังไทยทําแต่หนังแบบนี้ ทำแต่แบบเดิมๆ? ก็เพราะคนดูเขาก็ไม่รู้ไง ว่าหนังมันจะมีแบบอื่นได้ยังไง หรือคนทำหนังเองก็จะได้เอาสิ่งนี้ไปบอกนายทุนได้ว่า หนังมันสามารถเป็นแบบอื่นได้อีก มีโอกาสเป็นไปได้นะ น่าลองทำว่ะ! มันอาจจะเกิดการสนับสนุนขึ้นมา แต่ถ้าเราไม่ทำอะไรเลยเลยนายทุนที่ไหนจะไปมองเห็นล่ะ”
ธิดา – “ถ้าไม่เริ่ม ก็ไม่รู้ว่าบ้านเรามีพื้นที่แบบนี้อยู่ มันแสดงถึงความหลากหลาย ยิ่งถ้าได้รับการสนับสนุนจากรัฐหรือเอกชนด้วยกัน ที่เข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้ พื้นที่แบบนี้มันมีไปเพื่ออะไร อยากเห็นโครงสร้างที่มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทําให้คนในสังคมพร้อมกับเรื่องแบบนี้ โดยที่วันหยุดของเราไม่จําเป็นต้องไปเข้าห้าง ไปเข้าโรงหนังใหญ่ๆ ถ้าหนังกระแสหลักมาไม่ต้องรีบดูก็ได้ มันมีหนังทางเลือกที่หลากหลายอยู่ตรงนี้ ให้คนได้ไปใช้เวลาที่นั่น ไปสนับสนุนธุรกิจเล็กๆทําให้เขาอยู่รอด ในที่สุดแล้วโครงสร้างเหล่านี้ จะทําให้เกิดคนดูและคนทํางานที่เข้าใจวัฒนธรรมเหล่านี้
หมู – “Micro Cinema เหมือนกับโรงหนังชั้นสองในสมัยก่อน เมื่อก่อนโรงหนังชั้นหนึ่งจะฉายหนังใหม่ๆ 1 – 2 อาทิตย์แล้วหนังก็ออก โรงหนังชั้นสองก็สามารถเอาหนังเหล่านี้มาฉายต่อได้ หรือฉายควบคู่กันไปได้ เพราะค่าตั๋วที่ถูกกว่าและคนดูคนละกลุ่ม ถ้า Micro Cinema มีบทบาทเป็นโรงหนังชั้นสองที่มีอยู่ทั่วๆไป กลไกนี้มันจะช่วยคนทำหนังที่ยังไม่ประสบความสำเร็จเขายังพอมีรายได้ เป็นเบาะที่คอยรองรับ เวลาหนังเข้าฉายแล้วทำรายได้ไม่ดี หนังมันเจ๊ง ตกลงมาจะได้ไม่เจ็บหนัก ไม่ต้องล้มหัวฟาดกับพื้นคอนกรีตจนน็อกแล้วไปต่อไม่ได้ อย่างน้อยที่สุด ล้มแล้วยังเหลือขาที่เดินกะโผลกผะเผลก พอที่จะเข็นตัวเองไปทําหนังเรื่องต่อไปได้ อันนี้คือสิ่งที่เราอยากทำให้มันเกิดขึ้น“

llli สุดท้ายแล้วสิ่งที่เราทํามาตลอดหลายปีเพื่อสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรมให้เกิดขึ้น แม้วันนี้ยังไม่มีคำตอบว่าจะเป็นไปในทิศทางใด มีเหตุการณ์หรือมีเรื่องราวอะไรที่มาเติมพลังใจให้เราบ้างมั้ย ?
ธิดา – “ยกตัวอย่างเหตุการณ์ล่าสุดแล้วกัน พอโรงหนังเราถูกสั่งปิด เราเห็นว่ามีหลายคนที่ผูกพันกับสิ่งที่เราทำอย่างมากมาย แต่เราไม่เคยนึกถึงว่าระดับความผูกพันของคนดูที่มีต่อเรามันขนาดไหน จนเราได้เจอกับน้องคนหนึ่ง ซึ่งเราเห็นว่าเขามาที่นี่บ่อยมาก แล้วก็เห็นเขาโพสต์ลงโซเชียลมีเดียโดยตลอด แล้วมีวันหนึ่งเราได้เจอกับเขาโดยบังเอิญ”
เขาเล่าว่า “ในช่วงตลอดปีที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่แย่มากสำหรับเขา เพราะว่าเขาต้องพบกับอาการป่วยของตัวเองหลายอย่าง จนเขารู้สึกว่าชีวิตตัวเองมันแย่ เป็นปีที่หม่นหมอง เขาพูดกับเราว่าการที่ได้มาใช้เวลาอยู่ที่ Doc Club & Pub เขาได้ดูหนังของเราเยอะมากจริงๆ รู้สึกว่ามันช่วยเยียวยาชีวิตเขาได้มาก”

เราไม่เคยนึกว่าจะมีคนพูดอะไรแบบนี้ กลายเป็นว่าการมาดูหนังแล้วมาใช้เวลากับพื้นที่โรงหนัง มันมากกว่าความสนุกของการได้ดูหนัง เราได้กลายเป็นพื้นที่เยียวยาจิตใจของผู้คน เขายังบอกกับเราอีกว่า “ตั้งแต่ที่โรงหนังปิดไป แพสชันในการออกจากบ้านเพื่อไปดูหนังเพราะมันหดหายไปเยอะมากๆ ทําให้รู้สึกว่าสิ่งที่เราพยายามทำบางสิ่งบางอย่างมันมีความหมายกับความรู้สึกของผู้คนได้ในระดับลึกกว่าที่เราคิด
"เรื่องราวความประทับใจเหล่านี้อาจไม่ได้เกี่ยวกับภาพยนตร์โดยตรง แต่สะท้อนให้เห็นว่าความตั้งใจของเราที่ได้ส่งต่อไปถึงผู้คน ในวันที่พวกเขาตัดสินใจก้าวออกจากบ้านเพื่อมาที่โรงหนังของเรา แม้ว่าชีวิตของแต่ละคนอาจกำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่ไม่สู้ดีนัก ต่างพบกับวันที่ไม่ดีเท่าไหร่ แต่การได้ใช้เวลาที่ Doc Club & Pub การได้มานั่งเล่น มาทำกิจกรรมต่างๆ เราช่วยทำให้ผู้คนรู้สึกดีมากขึ้น สิ่งเหล่านี้มีความหมายกับเรามากเหมือนกัน”
พี่ธิดากล่าวทิ้งท้าย…
เมื่อ Doc Club & Pub ถูกระงับกิจการฉายภาพยนตร์ จนกลายเป็นประเด็นที่สังคมของคนให้ความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะคนในวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของไทย จากการเผชิญข้อจำกัดเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร วันนี้เราได้มีโอกาสพูดคุยกับ พี่หมู กฤตวิทย์ หริมเทพาธิป และ พี่ดา ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ ผู้ร่วมก่อตั้งสถานที่แห่งนี้ และพาทุกคนย้อนรอยไปถึงจุดเริ่มต้นและเรื่องราวเส้นทางแห่งความหลงใหลในโลกภาพยนตร์ ที่นำไปสู่การสร้าง Doc Club & Pub โรงภาพยนตร์ขนาดเล็กหรือ ‘Micro Cinema’ ที่เปรียบเสมือนประตูบานใหญ่ เปิดโลกให้กับคนรักหนัง และอยากให้”คนดู”เข้าใจในความหลากหลายของศิลปะภาพยนตร์

IIIi Micro cinema มีความเป็นมาอย่างไร และมีความสำคัญอย่างไรต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์ ?
หมู - ย้อนกลับไปในอดีต โรงภาพยนตร์แบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก คือโรงหนังที่ฉายภาพยนตร์เชิงพาณิชย์ และโรงหนังอาร์ตเฮาส์ซึ่งมีบทบาทแตกต่างกันอย่างชัดเจน โรงหนังเชิงพาณิชย์มุ่งเน้นการฉายภาพยนตร์ใหม่ตามกระแสตลาด ในขณะที่โรงหนังอาร์ตเฮาส์จะมีการคัดสรรเนื้อหาพิเศษสำหรับฉายในพื้นที่เฉพาะ หนึ่งในพื้นที่สำคัญที่มักได้รับการกล่าวถึงคือ Cinémathèque ของฝรั่งเศส ซึ่งมีบทบาทอย่างยิ่งในการก่อกำเนิดกลุ่ม French New Wave
จากกลุ่มคนที่เป็นผู้ชมภาพยนตร์และทำหน้าที่วิจารณ์หนัง จากนั้นก็เกิดบรรยากาศแห่งการท้าทาย ราวกับว่า "เมื่อวิจารณ์เก่งนัก ลองมาทำหนังแข่งกันไหม" ส่งผลให้นักวิจารณ์หลายคนผันตัวมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ จนก่อตัวเป็นกลุ่ม New Wave อันโด่งดัง
ในยุคปัจจุบันเราได้เห็นการเกิดขึ้นของ Micro Cinema ซึ่งมีแนวคิดคล้ายอาร์ตเฮาส์ แต่มีขนาดเล็กกว่ามากโดยมีที่นั่งไม่เกิน 50 ที่ การเกิดขึ้นของโรงหนังประเภทนี้เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพเมือง ทั้งการอพยพของผู้คนออกนอกเมือง การเปลี่ยนพื้นที่พักอาศัยเป็นย่านพาณิชยกรรม จึงเกิดการปรับใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งร้านค้า ร้านอาหาร และพื้นที่ศิลปะ
“Micro Cinema มีบทบาทสำคัญในฐานะ Supply Chain หนึ่งของวงการภาพยนตร์ ทำหน้าที่เป็นเหมือนแผนก R&D (Research & Development) ให้กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์หลัก เพราะเมื่ออุตสาหกรรมหลักเดินมาถึงทางตัน ก็ต้องพึ่งพาความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาจากกลุ่มเล็กๆ เหล่านี้ ที่มาช่วยต่อยอดให้วงการเติบโตต่อไปได้”
อย่างสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงหนึ่งของวงการภาพยนตร์อเมริกา แต่เดิมไม่ได้มีภาพชัดเจนของกลุ่มอาร์ตเฮาส์ เน้นการใช้ดาราและเซเลบริตี้ เป็นภาพวัฒนธรรมฮอลลีวูด แต่เมื่อวงการถึงจุดอิ่มตัว เริ่มมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับฝั่งยุโรป ทั้งเยอรมัน ฝรั่งเศส และอังกฤษ ฯลฯ มีการนำเข้าผู้กำกับที่กำลังเป็นดาวรุ่งจากประเทศต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนกัน จนเกิดเป็นกลุ่มอเมริกันอินดี้ ซึ่งรวบรวมผู้กำกับอิสระนอกอุตสาหกรรมหลัก กลายเป็นฐานกำลังสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยความคิดสร้างสรรค์ ก่อนจะค่อยๆ พัฒนาสู่การผลิตในตลาดที่ใหญ่ขึ้นต่อไป

IIIi Micro cinema ในไทยเกิดขึ้นได้อย่างๆไร ?
หมู - ในอดีต ประเทศไทยมีพื้นที่จัดฉายภาพยนตร์ที่พัฒนามาจากสถาบันทางวัฒนธรรมหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานในสังกัดสถานทูตต่างประเทศที่มุ่งเผยแพร่วัฒนธรรมของตน อาทิ สถาบันเกอเธ่ (Goethe-Institut Thailand), สมาคมฝรั่งเศส (Alliance Française de Bangkok), มูลนิธิญี่ปุ่น,รวมถึง AUA (AUA Language Center) ที่มีบทบาทสำคัญในยุคแรกเริ่ม
นอกจากนี้ยังมีสถาบันศิลปะในระดับรองลงมาที่มีส่วนสำคัญในการจัดฉายภาพยนตร์ เช่น หอศิลป์พีระศรี รวมถึงหอภาพยนตร์แห่งชาติที่ก่อตั้งขึ้นและยังคงทำหน้าที่นี้อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการโดยคนไทยและทำการฉายกันเองในประเทศ
ส่วนในอันดับที่สามมาจากแกลเลอรี่และพื้นที่แสดงงานศิลปะของภาคเอกชน ที่จัดฉายภาพยนตร์เป็นครั้งคราว แม้ว่าสถานที่ทั้งสามประเภทที่กล่าวมานี้อาจไม่ตรงตามนิยามของ Micro Cinema ในแง่ของขนาดพื้นที่ทางกายภาพ แต่พวกเขาก็ทำหน้าที่ในฐานะอาร์ตเฮาส์ คล้ายคลึงกับยุคบุกเบิกของภาพยนตร์นอกกระแสในอดีต
สำหรับ Micro Cinema ในประเทศไทยที่ถ้าเป็นรูปแบบการบริหารจัดการและการออกแบบพื้นที่ ที่เราว่าเห็นภาพชัดเจนคือ Bangkok Screen Room ที่เรารับช่วงต่อมา ซึ่งใช้วิธีการดัดแปลงอาคารที่มีอยู่เดิมให้กลายเป็นโรงภาพยนตร์เชิงพาณิชย์ขนาดเล็ก
IIIi ย้อนกลับไปจุดเริ่มต้น จากความหลงใหลในภาพยนตร์จนมาทำเป็นธุรกิจ ?
หมู - เราสนใจเรื่องเหล่านี้มาโดยตลอด จนกระทั่งผ่านเวลามาได้ทบทวนตัวเองในภายหลังก็คิดว่า เราอาจจะได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจาก Henri Langlois ที่เขาทำ Cinémathèque มันมีอิทธิพลต่อเราตั้งแต่ได้เริ่มทํางานที่หอภาพยนตร์ จนมาทําหนังสือของตัวเองก็พยายามคิดถึงกิจกรรมในลักษณะของการจัดฉายหนัง และให้มีการมีส่วนร่วมของชุมชนได้มาเปิดวงสนทนา แลกเปลี่ยนในประเด็นต่างๆ

ธิดา - พอเริ่มทํา Bioscope Magazine จนมาสู่ Documentary Club มันก็เริ่มมาจากเรา ที่ชอบตั้งคำถามกับตัวเองจากการอ่านหนังสือ ชอบดูหนังนอกกระแสทั่วๆไป เราก็สงสัยว่าพวกหนังนอกกระแสต่างๆ ที่ไม่ใช่หนังกระแสหลัก ทําไมพื้นที่มันไม่มี? และทำไมมันน้อยลงเรื่อยๆ? สวนทางกับตลาดโรงหนังที่นับวันยิ่งขยายจํานวนสาขาเยอะแยะมากมาย แต่กลับมีหนังให้เราเลือกดูน้อยลง? เราเห็นปรากฏการณ์ที่มีหนังฟอร์มใหญ่มาเข้าโรง ก็ฉายมันทุกที่เลย หนังที่ไซส์เล็กลงมาก็เขี่ยทิ้งให้หมด เราเห็นมันเป็นแบบนี้
การเริ่มทำ Bioscope Magazine มันก็มาจากโจทย์ที่ว่านี้เลย เราอยากให้คนอ่านได้รู้ว่า ขณะที่ทุกคนดูหนังฟอร์มยักษ์ตามโรงหนัง อีกฟากหนึ่งของโลกมีความพยายามที่จะสร้างหนังใหม่ๆ และพัฒนาแนวคิดหรือวิธีการใหม่ทางภาพยนตร์อยู่ตลอดเวลา โดยที่เราอยู่ในประเทศนี้ไม่ได้รับรู้เลย ดังนั้นนิตยสารของเราก็จะเน้นไปที่ การหาสิ่งใหม่ๆให้ผู้อ่าน ได้เปิดโลกทัศน์ของภาพยนตร์ที่มันหลากหลายมากขึ้น
ธิดา - “อีกส่วนที่เรียกกันว่าลูกเมียน้อยอย่าง “สารคดี” คือหนึ่งในหนึ่งในกลุ่มที่ถูกคนมองข้ามมาโดยตลอดโดยเฉพาะในตลาดบ้านเรา การฉายหนังประเภทนี้อย่างมากก็เป็นการโปรโมทภาพยนตร์ โดยการจัดอีเวนต์ที่มีสารคดีฉาย หรือฉายตามเทศกาลหนังต่างๆ ซึ่งก็นานๆทีจะมี มันไม่เคยปรากฏอยู่ในท้องตลาด แล้วเราคิดว่าความเข้าใจที่ของคนดู ทั่ว ๆ ไปที่มีต่อสารคดี ก็จะติดกับภาพจำสารคดีที่ได้ดูทางทีวี ซึ่งต่างกับสารคดีในเวทีนานาชาติ ที่เป็นสไตล์ 'Feature Documentary' ที่กําลังเติบโตในตลาดโลก เราจึงอยากทดลองทําค่ายหนัง ที่เอาสารคดีที่กําลังน่าสนใจในโลกมาฉายให้คนดู จึงเกิดโปรเจคต์ Documentary Club ขึ้นมา”
IIIi “Bioscope Magazine” แหล่งชุมชนคนรักหนัง และสร้างปรากฏการณ์ผ่านกิจกรรมประกวด “หนังสั้น”ที่เปิดโอกาสผู้อ่านได้มีโอกาสทดลองทำหนังด้วยตนเอง

หมู - ตอนแรก Bioscope เกิดมาจากยุคหนังสือทำมือ เราทำเป็นเล่มเล็กตอนนั้น แล้วเลี้ยงชีพตัวเองด้วยการเป็นพนักงานประจํา แล้วออกงานตามงานอีเวนต์ต่างๆ พอถึงจุดหนึ่งเพื่อนๆที่เคยทำด้วยกัน เขาก็กลับไปทํางานหลักของตัวเองดีกว่า เพราะดูแล้วมันมันคงไปไม่ไกลกว่านี้
หนังสือที่เราทำมันไม่ได้ถูกปรับตัวไปอีกตลาดนึงที่เป็นรูปแบบธุรกิจ เพราะตลาดหนังสือทํามือส่วนมากก็ไปอยู่ตามงานอีเวนต์ กว่าจะเจอผู้อ่านแต่ละทีก็ต้องรอคนจัดงาน มันก็ไปต่อไม่ได้เพราะมันมีเงื่อนไขเหล่านี้ ก็เลยลองคิดว่าถ้าเราจะทำให้มันขึ้นไปสู่ธุรกิจตลาดหนังสือจริงจัง มันมีความเป็นไปได้ยังไงบ้างในตอนนั้น
ถ้าเล่าอย่างละเอียดก็คือว่าในขั้นตอนการทำธุรกิจหนังสือสมัยก่อน เราจะต้องดีลกับสายส่ง เราส่งหนังสือไปให้เขา เขามีเงินก้อนมาให้เรา ซึ่งสายส่งในสมัยนั้นจะออกเชคสั่งจ่ายมาให้เราก่อนตาม ‘จํานวนยอดขาย’ที่ตกลงกัน เช่น ยอดขายที่ 40% เขาให้เงินส่วนแบ่งก้อนนี้มาก่อนเลย จากนั้นอีก 3 เดือน เรามีหน้าที่ไปเก็บหนังสือกลับมา พร้อมกับเช็คยอดขายดูว่ามันถึง 40% ตามที่ตกลงมั้ย ถ้ายอดขายเกินก็รับเงินเพิ่ม ถ้ายอดไม่ถึงก็ขอลงบัญชีไว้ ซึ่งเป็นเรื่องของการพูดคุยเจรจากันในธุรกิจหนังสือสมัยนั้น
ต่อมาเมื่อเราได้เงิน 40% จากสายส่งมาแล้ว เราสามารถเอาเงินก้อนนี้มัดจำกับโรงพิมพ์ เพื่อต่อรองยอดค่าพิมพ์ ดังนั้นหลังจากที่เราดีลและจัดการงบประมาณต่างๆแล้ว ทำให้เรามีต้นทุนที่พอจะเริ่มรันธุรกิจไปได้ ในส่วนของกองบรรณาธิการ ในตอนนั้น Bioscope ทํากันอยู่แค่ 2 คน จนตอนหลังก็ต้องหาทีมมาเสริม
ช่วงนั้นมีอาจารย์ไกรวุฒิ จุลพงศธร มาช่วยในการเขียนเรื่อง ก็ทำมาเรื่อย เราคิดว่ามันน่าจะไปต่อได้ คิดว่ารายรับจากเงินเบิกล่วงหน้าจากสายส่งมันจะหล่อเลี้ยงกองเราได้ แต่พอทำมาสักพักก็เริ่มจะไปต่อไม่ได้ เราก็หาคนมาช่วยขายโฆษณาซึ่งมันก็สําเร็จบ้างไม่สําเร็จบ้าง
“จุดเปลี่ยนสำคัญคือการได้ลองทําโครงการจัดประกวด”หนังสั้น”โดยเราออกแบบกิจกรรมที่เป็นของเราเองขึ้นมา ใช้ครีเอทีฟในการคิดและพยายามหาจุดที่ทำให้คนมามีส่วนร่วม เหมือนกับเราพบหนทางใหม่เลย ทั้งในแง่การหาลูกค้า รวมถึงผู้อ่านที่สนใจอยากมีส่วนร่วมกับกิจกรรมนี้ ก็มาช่วยสนับสนุนหนังสือเรามากขึ้น”

"ขั้นตอนของการประกวด”หนังสั้น”เป็นการเปิดรับสมัครคนทำหนังอิสระเข้ามา ซึ่งในยุคนั้นการเข้าถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการทำหนังมันไม่ได้ง่ายเหมือนสมัยนี้ หากไม่ใช่เด็กเรียนภาพยนตร์โดยตรงก็ยากหน่อย พอเราทำโปรเจกต์นี้ออกไปก็ได้รับผลตอบรับที่ดีมาก มีคนสนใจส่งงานเข้ามาเยอะมาก กิจกรรมของเราจึงเป็นเหมือนพื้นที่แห่งโอกาส ที่ทำให้คนมีความฝันอยากทำหนังของตัวเอง ได้ลงมือทำจริง"
"เราออกแบบให้มีการ training แล้วให้ผู้กำกับแต่ละคนกลับไปสร้างผลงานของตัวเอง เมื่อทุกคนได้เข้าสู่รอบของการประกวด เราไม่เคยจำกัดว่าจะต้องเป็นเด็กเรียนภาพยนตร์ ทุกคนจะมีโอกาสเท่าเทียมกัน ได้เข้าถึงอุปกรณ์ เข้าถึงชุดความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ของภาพยนตร์ที่เหมือนๆกัน เราคิดว่ากิจกรรมเหล่านี้เป็นส่วนสําคัญที่ช่วยหล่อเลี้ยง Bioscope Magazine ให้เติบโต การประกวดหนังสั้นมันก็โด่งดังและได้รับความนิยม ทำให้เรามีลูกค้าเข้ามาเป็นสปอนเซอร์หลากหลายราย"
จนผ่านเวลามาถึงช่วงยุคท้ายของหนังสือ ตอนนั้นทางบริษัทโมโน ได้เปิดช่องทีวี แล้วเขามองหากลุ่มคนเข้าไปทําคอนเทนต์ด้านภาพยนตร์ จึงเข้ามาทาบทามเรา ก็มีข้อเสนอทางธุรกิจมาคุยกับเรา จากนั้นเราก็ยกทีมงานของ Bioscope เข้าไปอยู่ที่นั่นทั้งหมดเลย ก็นับว่าเป็นการผันตัวเองมาทำงานในด้านทีวี จนผ่านเวลามาถึงวันที่เรารู้สึกอิ่มตัว รู้สึกเบื่อแล้ว ก็คิดว่ามันมีงานภาพยนตร์ในแบบไหนอีก ที่เราเคยอยากทํา แล้วไม่เคยได้ทํา ก็เกิดโปรเจกต์ Documentary Club ในเวลาต่อมา
llli การเริ่มต้นทำสิ่งที่ไม่มีใครทำ ยิ่งโดยเฉพาะหนังสารคดี ที่เป็นเฉพาะกลุ่มมากๆในบ้านเรา มีความเชื่อหรือกลยุทธ์อะไรในการนำทางให้เราคิดว่าสิ่งนี้จะไปต่อได้ ?

ธิดา - “อืม...ตอนนั้นมันก็ยาก....ยากจนมาถึงตอนนี้(หัวเราะ)....ยากมาโดยตลอด...”
มองย้อนกลับไปเราไม่ได้มีกลยุทธ์หรือแม้แต่แผนการตลาด เราไม่ได้มีความเชี่ยวชาญในแง่มุมการตลาดสายภาพยนตร์ขนาดนั้น ก่อนหน้านี้เราทํางานสายคอนเทนต์มาโดยตลอด คิดว่าสิ่งหนึ่งที่ทําให้เราสื่อสารออกไปแล้วไปเจอกับกลุ่มเป้าหมาย มันน่าจะเป็นสิ่งใหม่ที่ตลาดขาดแคลนอยู่ในช่วงเวลานั้น เช่น หนังอิสระที่มีความครีเอทีฟ หนังทางเลือกที่แปลกใหม่ หรือแม้แต่สารคดีนานาชาติที่หลากหลาย เป็นต้น พื้นที่เหล่านี้ยังไงก็หาดูไม่ได้กับตลาดกระแสหลัก จากที่เราเป็นคนอ่านหนังสือจนมาเป็นคนทําสื่อ เราพอจะรู้ว่ามีกลุ่มคนที่มีความชอบในสิ่งเหล่านี้อยู่ แม้ว่าจํานวนอาจจะไม่ได้มากขนาดที่ทําให้ธุรกิจเฟื่องฟูขึ้นมาทันตาเห็น แต่ว่าอย่างน้อยเราเชื่อว่ามีกลุ่มผู้ชมที่มีตัวตนและรอคอยสิ่งเหล่านี้อยู่จริง
ฉะนั้นก็เลยรู้สึกว่าเราต้องสื่อสารสิ่งที่เราทำให้ชัดเจน สื่อสารอย่างตรงไปตรงมาถึงสิ่งที่เราทำและมีความเชื่อมั่น ซึ่งทำให้เราได้พบกับผู้ชมที่มีความสนใจตรงกัน เราได้เรียนรู้กลไกการนำภาพยนตร์เข้าฉาย เราซึ่งทำหน้าที่เป็น’ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์’ ในความท้าทายอยู่ที่ผู้จัดจำหน่ายส่วนใหญ่ในไทย ยังไม่คุ้นเคยกับการจัดจำหน่ายภาพยนตร์สารคดี เนื่องจากต้องอาศัยความเข้าใจเฉพาะทางและการทำตลาดที่แตกต่างจากภาพยนตร์ทั่วไป
ธิดา - “ช่วงแรก Documentary club เริ่มจากเอาหนังมาเข้าฉายที่ SF Cinema ก่อนตามกลไกกระบบของมัน แต่ว่าสิ่งอื่นๆ ที่เราทํามันก็ค่อยๆ พัฒนาแตกยอดออกมาเรื่อยๆ มาเป็นรูปแบบ on demand บนเวบไซต์ ควบคู่กันไปการการฉายในโรงที่ยังคงเป็นรายได้หลัก เพราะว่าแพลตฟอร์มเราค่อนข้างจะเป็นมือสมัครเล่น ไม่ได้มีหนังให้เลือกดูเยอะ ในแบบที่ต้องสมัครสมาชิกอย่าง Netflix ที่จ่ายเป็นเดือนเป็นปีแล้วมีหนังป้อนเข้าระบบให้ดูตลอด แต่ของเรายังเป็นระบบที่ต้องซื้อเป็นเรื่อง ทำให้มีจำนวนไม่มากพอที่จะดึงดูดคนให้มาสมัครสมาชิก ในเรื่องของตัวเลขรายได้ที่มาจากหนังสารคดี เป็นเหมือนรายได้เสริมมากกว่า เราต้องทำอย่างอื่นเพื่อประคับประคองไปด้วย”
llli ในวันที่ได้เติบโตมาเป็น Doc Club & Pub 'พื้นที่เพื่อคนรักหนัง ที่โอบรับความหลากหลาย' และต้องการสื่อสารไปถึงผู้คนว่า 'Micro Cinema' คือพื้นที่สำคัญ ที่พร้อมส่งเสริมวัฒนธรรมการดูหนังให้เกิดขึ้นในเมืองไทย

ธิดา - “ความคิดเรื่องอยากทําโรงหนังเล็กๆ ของตัวเองมันก็มีอยู่บ้างตอนที่ทําหนังสือ เราเคยมีห้องฉายหนังเล็กๆ ไว้จัดกิจกรรมพบปะผู้อ่านรวมถึงฉายหนังดูกันเองบ้าง หรือถ้ามีคนส่งมาเราก็ใช้ห้องนี้เป็นเหมือนการทดลองเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ”
“แต่พอมาทํา Documentary club เราก็มาเจอปัญหากกับการดีลงานกับโรงหนังใหญ่ตลอดเวลา เราก็ตั้งคำถามกับตัวเองว่า มันจําเป็นต้องไปฉายโรงใหญ่ๆมั้ยนะ..? ถึงแม้ว่าจะเป็นแหล่งรายได้สําคัญของเรา แต่คําถามเหล่านี้วนกับเราอยู่ตลอด เราคิดว่าหนังบางเรื่องเขาน่าจะมีโอกาสที่จะได้ฉายในพื้นที่ที่เล็กหน่อย ไม่ต้องต่อรองเชิงธุรกิจ ที่เป็นเป้าหลักขนาดนั้น และตอนนั้นก็มีแค่ HOUSE(RCA) โรงเดียว”
“เราพยายามมองหาพื้นที่ ที่เหมาะสมที่เราอยากทํามานานเป็นหลายปี แต่มันก็ยังไม่ลงตัวด้วยอะไรหลายๆ โดยก่อนหน้านี้เราก็มีไปที่ Wherehouse 30 ของพี่ด้วง ดวงฤทธิ์ บุญนาค พี่ด้วงเป็นรุ่นพี่คณะ แล้วก็รู้ว่าเราอยากทําที่ฉายหนัง ก็ลองไปเปิดเป็นมุมนึง ด้วยสเปซที่มันกว้างและเปิดโล่งทำให้มันมีข้อจำกัดในการฉายอยู่
จนเรามาเจอ Bangkok Screening Room ช่วงนั้นมันเป็นช่วงโควิด แล้วทางเจ้าของเดิมเขาก็จะเลิกทำพอดี เราลองไปคุยพอเงื่อนไขก็โอเค ด้วยสเปซมันก็น่ารักดี คิดว่าก็น่าจะทำอะไรต่อได้ เพราะตัวเขาก็เสียดายที่จะต้องปิดไป หากเราไม่ทำต่อเขาก็จะต้องรื้อเป็นออฟฟิศปล่อยเช่า ซึ่งพื้นที่ต่างๆเขาก็ทำไว้อย่างดีอยู่แล้วเราก็เลยตัดสินใจทำต่อ”
ธิดา – “ในช่วงเวลาที่เราทำสิ่งเหล่านี้ มันกลับสอดคล้องกับคนยุคนี้ที่เป็นคนรุ่นใหม่ สังคมเริ่มมีความตื่นตัวทางการเมืองมาก ก่อนหน้านี้เราค่อยๆเห็นตั้งแต่เราทํา Documentary club ตั้งแต่ก่อนจะมาเปิดที่นี่แล้ว เรามีความรู้สึกว่าเด็กรุ่นใหม่ ที่เป็นกลุ่มประมาณ Gen Z ก็จะมีวิธีการรับรู้คอนเทนต์อีกแบบนึงที่ต่างไปจากรุ่นเรา”
ในยุคโซเชียลมีเดียมีบทบาทมากขึ้น ความเชื่อของคนรุ่นเราก่อนหน้านี้ ที่รู้สึกว่า’หนังสารคดี’ หรือการฉายหนัง การจัดเสวนาที่มันดูวิชาการมากๆ ใครจะอยากมาฟังพวกเราน่ะ ? แต่เราก็พบว่าหลายครั้งที่เราจัดคนเยอะ คนเต็ม แล้วก็จะเป็นเด็กรุ่น Gen Z ลงไป เราเลยรู้สึกว่ากลุ่มคนเหล่านี้แหละน่าสนใจ

“ความจริงมันอาจจะเกี่ยวข้องกับเรื่องช่วงเวลาที่มันเกิดม็อบและปรากฏการณ์ทางการเมืองของเด็กรุ่นใหม่ เราเห็นความเปลี่ยนแปลงอะไรที่น่าสนใจ ตัวอย่าง เช่น ถ้าเราจัดฉายหนังเรื่องนึงแล้วเราจะทําการเสวนาต่อ ในประเด็นที่มันดูวิชาการหนักๆ ถ้าเป็นสมัยก่อนคนรุ่นเราจะไม่ค่อยจํานะ การจัดเสวนาก็ต้องย่อยเนื้อหาให้เข้าใจง่ายไม่ต้องลึกมาก เพราะไม่ค่อยมีใครรับเนื้อหาที่เข้มข้นมากๆไหว แต่ปัจจุบันว่าพอเราจัดแล้วมีกลุ่มคนรุ่นใหม่ๆ ก็พบว่ามันไม่เป็นแบบนั้น และเขาพร้อมที่จะรับฟัง”
หมู - “ในตอนแรกมันก็เป็นโจทย์ใหญ่ที่เรามองเห็นว่า”คนดู”กับความพร้อมเปิดรับการดูหนังที่มีความหลากหลายยังมีจํานวนน้อยเกินไป การบ้านก็คือว่าถ้าหากเราจะสร้างฐานคนดูเพิ่ม โดยการสร้างวัฒนธรรมการดูหนัง จะค่อยๆ สร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้อย่างไร ?”
“อีกจุดหนึ่งที่เราเริ่มเห็นเป็นปรากฏการณ์จากสถานการณ์โควิดนี่ที่ผ่านมา มีคนจํานวนหนึ่งที่เคยอยู่ในเมืองก็พาตัวเองกลับไปอยู่บ้าน เขาได้นำสิ่งที่เค้าเคยสัมผัส วัฒนธรรมการดูหนัง ศิลปะ ฯลฯ เคยสามารถเข้าถึงได้ง่ายๆจากที่กรุงเทพฯติดตัวกลับไปด้วย เมื่อเขากลับบ้านต่างจังหวัด กลับกลายเป็นวัฒนธรรมการดูหนังนอกกระแสมันห่างจากวิถีชีวิตเขามากขึ้น”
“ผู้คนเหล่านี้ทำให้เกิดเครือข่าย Micro Cinema Thailand ขึ้นมา ทั้งเชียงใหม่ หาดใหญ่ ฯลฯ เขาก็ต้องการดูหนังที่หลากหลายเหมือนอย่างที่เคยสัมผัสมาก่อน สิ่งเหล่านี้ก็ส่งต่อไปสู่คนอีกกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่อื่น ก็เข้าไปสู่คนที่ไม่เคยสัมผัสวัฒนธรรมการดูหนังลักษณะนี้ ดังนั้นเราก็ต้องพยายามทำให้เขาเห็นสิ่งเหล่านี้ในพื้นที่ของเขาเองบ้าง คนจะได้หามุมมอง ไอเดีย ความรู้ใหม่ๆจากการดูหนัง ซึ่งไม่ใช่หนังที่คุณจะสามารถเจอได้ในหนังกระแสหลักทั่วไป”

llli 'Soft Power' จะเห็นผลคือเริ่มจาก”วิจัยและพัฒนา”
หมู - “หน่วยงานรัฐที่ตั้งกลุ่มคนขึ้นมาเพื่อสนับสนุน 'Soft power' ด้านภาพยนตร์ เราก็มองว่าเป็นเรื่องดี เพราะตัวบุคลากรเองที่มาดูแลเรื่องนี้ หลายคนก็มีความรู้ความเข้าใจวงการภาพยนตร์ เขาเห็นความสําคัญและมีการออกแบบกระบวนการที่จะสนับสนุนให้มันเกิดขึ้น แต่ถ้ามองตอนนี้สำหรับเรา มันก็ไม่ได้มีคําตอบที่ชัดว่าจะไปในทิศทางไหน เอาแค่ตอนนี้ได้กลับมาฉายหนังให้ได้ก่อน (หัวเราะ)”
ในบ้านเราไม่ได้มีกระบวนการวิจัยพัฒนาที่เกี่ยวกับภาพยนตร์ ยกตัวอย่าง KOFIC (Korean Film Council) ของเกาหลี เขามีกระบวนการทํางานวิจัยอย่างจริงจังต่อเนื่อง แต่บ้านเรายังใช้วิธีทดลองทำกันอยู่ ดีบ้างไม่ดีบ้างก็ว่ากันไป
ธิดา - ยอมรับว่าพอมันมีนโยบาย Soft Power มีหน่วยงานอย่าง THACCA (Thailand Creative Culture Agency) ที่มีคนที่ทำงานในวงการภาพยนตร์อยู่ในองค์กร เขาค่อนข้างเข้าใจว่า Micro Cinema อาจจะไม่ได้มีตัวเลขรายได้อยู่ในเป้าหมาย แต่ก็เป็นหน่วยเล็กที่คอยช่วยเปิดประตูสู่สิ่งใหม่ เป็น R&D ให้กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย และมีความสําคัญทางสังคมในด้านศิลปวัฒนธรรม
ปัจจุบันการอธิบายบทบาทของพื้นที่แบบนี้ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านภาพยนตร์เริ่มจะง่ายขึ้น เพราะพูดกับคนในวงการเดียวกัน เราก็พัฒนามาในระดับนึง แต่หากมองภาพสังคมในวงกว้าง ก็อาจจะรู้สึกว่าเป็นส่วนเล็กนิดเดียว ถ้าลงทุนทำไปจะได้ประโยชน์ที่คุ้มค่าหรือไม่? ดังนั้นเราก็ต้องให้ทุกฝ่ายมาช่วยกันสื่อสารสิ่งเหล่านี้ออกไป ตอนนี้ถ้าจะพูดตรงๆ บ้านเราก็อยู่ในช่วงกำลังค่อยๆพัฒนา
llli DOC CLUB & PUB เป็นพื้นที่บ่มเพาะเมล็ดพันธ์ ที่พร้อมดูแลรดน้ำ พรวนดิน ให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์เติบโตได้อย่างมั่นคง

หมู - “จะว่ามันเป็น mission ที่เป็นความฝันของเราก็ได้นะ เป็นความฝัน...ไม่เคยคิดว่ามันจะเกิดขึ้นในรุ่นตัวเอง ไม่เคยคิดว่ามันจะฟูขึ้นมาในรุ่นตัวเอง คิดว่าอะไรที่เราหว่านไว้เนี่ย มันต้องมีบางพื้นที่ ที่มันต้องมีต้น มีรากที่งอกขึ้นมา มันจะรอดได้ดีหรือไม่รอดก็อยู่ที่ว่าใครในพื้นที่นั้นจะสร้างให้มีความอุดมสมบูรณ์แค่ไหน ดินมันดีไหม มันให้การดูแลบำรุงรักษาป่าที่ดีไหม มันก็จะประมาณนี้ แล้วเขาอาจจะได้รู้ไว้ว่ามันมีคนรุ่นก่อนหน้าได้ทำไว้แล้วนะ ถึงแม้ทําไม่สําเร็จ เราก็ก็ยังทํากันต่อเลย อย่างน้อยก็ได้ลงมือทำ สิ่งเหล่านี้จะสืบเนื่องต่อไปจากรุ่นเรา ที่พยายามส่งต่อถึงรุ่นต่อไป เราอยากเห็นมันเกิดขึ้นสักวัน”
หมู - “ก็ลองคิดดูว่าถ้าวงการหนังบ้านเราไม่พัฒนาคนดู ไม่พัฒนาคนทำหนัง ที่แสดงให้เห็นว่าหนังมันมีสารพัดแบบบนโลกใบนี้ วันนี้..ที่เรายังนั่งบ่นกันอยู่ว่า ทําไม? หนังไทยทําแต่หนังแบบนี้ ทำแต่แบบเดิมๆ? ก็เพราะคนดูเขาก็ไม่รู้ไง ว่าหนังมันจะมีแบบอื่นได้ยังไง หรือคนทำหนังเองก็จะได้เอาสิ่งนี้ไปบอกนายทุนได้ว่า หนังมันสามารถเป็นแบบอื่นได้อีก มีโอกาสเป็นไปได้นะ น่าลองทำว่ะ! มันอาจจะเกิดการสนับสนุนขึ้นมา แต่ถ้าเราไม่ทำอะไรเลยเลยนายทุนที่ไหนจะไปมองเห็นล่ะ”
ธิดา – “ถ้าไม่เริ่ม ก็ไม่รู้ว่าบ้านเรามีพื้นที่แบบนี้อยู่ มันแสดงถึงความหลากหลาย ยิ่งถ้าได้รับการสนับสนุนจากรัฐหรือเอกชนด้วยกัน ที่เข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้ พื้นที่แบบนี้มันมีไปเพื่ออะไร อยากเห็นโครงสร้างที่มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทําให้คนในสังคมพร้อมกับเรื่องแบบนี้ โดยที่วันหยุดของเราไม่จําเป็นต้องไปเข้าห้าง ไปเข้าโรงหนังใหญ่ๆ ถ้าหนังกระแสหลักมาไม่ต้องรีบดูก็ได้ มันมีหนังทางเลือกที่หลากหลายอยู่ตรงนี้ ให้คนได้ไปใช้เวลาที่นั่น ไปสนับสนุนธุรกิจเล็กๆทําให้เขาอยู่รอด ในที่สุดแล้วโครงสร้างเหล่านี้ จะทําให้เกิดคนดูและคนทํางานที่เข้าใจวัฒนธรรมเหล่านี้
หมู – “Micro Cinema เหมือนกับโรงหนังชั้นสองในสมัยก่อน เมื่อก่อนโรงหนังชั้นหนึ่งจะฉายหนังใหม่ๆ 1 – 2 อาทิตย์แล้วหนังก็ออก โรงหนังชั้นสองก็สามารถเอาหนังเหล่านี้มาฉายต่อได้ หรือฉายควบคู่กันไปได้ เพราะค่าตั๋วที่ถูกกว่าและคนดูคนละกลุ่ม ถ้า Micro Cinema มีบทบาทเป็นโรงหนังชั้นสองที่มีอยู่ทั่วๆไป กลไกนี้มันจะช่วยคนทำหนังที่ยังไม่ประสบความสำเร็จเขายังพอมีรายได้ เป็นเบาะที่คอยรองรับ เวลาหนังเข้าฉายแล้วทำรายได้ไม่ดี หนังมันเจ๊ง ตกลงมาจะได้ไม่เจ็บหนัก ไม่ต้องล้มหัวฟาดกับพื้นคอนกรีตจนน็อกแล้วไปต่อไม่ได้ อย่างน้อยที่สุด ล้มแล้วยังเหลือขาที่เดินกะโผลกผะเผลก พอที่จะเข็นตัวเองไปทําหนังเรื่องต่อไปได้ อันนี้คือสิ่งที่เราอยากทำให้มันเกิดขึ้น“

llli สุดท้ายแล้วสิ่งที่เราทํามาตลอดหลายปีเพื่อสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรมให้เกิดขึ้น แม้วันนี้ยังไม่มีคำตอบว่าจะเป็นไปในทิศทางใด มีเหตุการณ์หรือมีเรื่องราวอะไรที่มาเติมพลังใจให้เราบ้างมั้ย ?
ธิดา – “ยกตัวอย่างเหตุการณ์ล่าสุดแล้วกัน พอโรงหนังเราถูกสั่งปิด เราเห็นว่ามีหลายคนที่ผูกพันกับสิ่งที่เราทำอย่างมากมาย แต่เราไม่เคยนึกถึงว่าระดับความผูกพันของคนดูที่มีต่อเรามันขนาดไหน จนเราได้เจอกับน้องคนหนึ่ง ซึ่งเราเห็นว่าเขามาที่นี่บ่อยมาก แล้วก็เห็นเขาโพสต์ลงโซเชียลมีเดียโดยตลอด แล้วมีวันหนึ่งเราได้เจอกับเขาโดยบังเอิญ”
เขาเล่าว่า “ในช่วงตลอดปีที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่แย่มากสำหรับเขา เพราะว่าเขาต้องพบกับอาการป่วยของตัวเองหลายอย่าง จนเขารู้สึกว่าชีวิตตัวเองมันแย่ เป็นปีที่หม่นหมอง เขาพูดกับเราว่าการที่ได้มาใช้เวลาอยู่ที่ Doc Club & Pub เขาได้ดูหนังของเราเยอะมากจริงๆ รู้สึกว่ามันช่วยเยียวยาชีวิตเขาได้มาก”

เราไม่เคยนึกว่าจะมีคนพูดอะไรแบบนี้ กลายเป็นว่าการมาดูหนังแล้วมาใช้เวลากับพื้นที่โรงหนัง มันมากกว่าความสนุกของการได้ดูหนัง เราได้กลายเป็นพื้นที่เยียวยาจิตใจของผู้คน เขายังบอกกับเราอีกว่า “ตั้งแต่ที่โรงหนังปิดไป แพสชันในการออกจากบ้านเพื่อไปดูหนังเพราะมันหดหายไปเยอะมากๆ ทําให้รู้สึกว่าสิ่งที่เราพยายามทำบางสิ่งบางอย่างมันมีความหมายกับความรู้สึกของผู้คนได้ในระดับลึกกว่าที่เราคิด
"เรื่องราวความประทับใจเหล่านี้อาจไม่ได้เกี่ยวกับภาพยนตร์โดยตรง แต่สะท้อนให้เห็นว่าความตั้งใจของเราที่ได้ส่งต่อไปถึงผู้คน ในวันที่พวกเขาตัดสินใจก้าวออกจากบ้านเพื่อมาที่โรงหนังของเรา แม้ว่าชีวิตของแต่ละคนอาจกำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่ไม่สู้ดีนัก ต่างพบกับวันที่ไม่ดีเท่าไหร่ แต่การได้ใช้เวลาที่ Doc Club & Pub การได้มานั่งเล่น มาทำกิจกรรมต่างๆ เราช่วยทำให้ผู้คนรู้สึกดีมากขึ้น สิ่งเหล่านี้มีความหมายกับเรามากเหมือนกัน”
พี่ธิดากล่าวทิ้งท้าย…
Text:
Chanathip K
Chanathip K
PHOTO:
Chanathip K
Chanathip K
Related Posts


พบกับ Design Up+Rising: ออกแบบพร้อมบวก+ ในเทศกาล Bangkok Design Week 2025
พบกับ Design Up+Rising: ออกแบบพร้อมบวก+ ในเทศกาล Bangkok Design Week 2025
พบกับ Design Up+Rising: ออกแบบพร้อมบวก+ ในเทศกาล Bangkok Design Week 2025


Hellovachboy : 'ดอกไม้แห่งความหวัง' ที่อยากส่งต่อให้กับผู้คน
Hellovachboy : 'ดอกไม้แห่งความหวัง' ที่อยากส่งต่อให้กับผู้คน
Hellovachboy : 'ดอกไม้แห่งความหวัง' ที่อยากส่งต่อให้กับผู้คน


