Creativities Unfold 2023 เล่าเรื่องดีไซน์จากผู้นำความคิด
Creativities Unfold 2023 เล่าเรื่องดีไซน์จากผู้นำความคิด
5 ก.ย. 2566
SHARE WITH:
5 ก.ย. 2566
5 ก.ย. 2566
SHARE WITH:
SHARE WITH:
Creativities Unfold 2023 เล่าเรื่องดีไซน์จากผู้นำความคิด
‘ประโยชน์ใช้สอยมาก่อนดีไซน์? แล้วจากนั้นเป็นอะไรต่อ?’
คำถามชวนคิดจากชื่อหัวเรื่องในการบรรยายของ Jaime Hayon ดีไซเนอร์ชาวสเปน หนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลด้านงานดีไซน์ของโลกตั้งคำถามนี้ต่อจากวลีอมตะที่เราคุ้นเคยในห้องเรียนไซส์ใหญ่ของ Creativities Unfold โดย CEA
แม้เราจะอยู่ในโลกที่ผู้คนเข้าใจแล้วว่าทำไมต้องดีไซน์ ดีไซน์แล้วดีอย่างไร ทั้งหมดนี้เกิดจากการปลูกฝังหัวใจจากงานออกแบบในรุ่นก่อนหน้า และเชื่อว่าจะเป็นบทเรียนที่ทำให้ความคิดสร้างสรรค์แห่งอนาคตพัฒนาต่อไปได้ไกลเกินกว่าที่เราจะคาดถึง
เพื่อที่จะเดินทางไปถึงวันนั้น งานชุมนุมทางความคิดสร้างสรรค์ภายใต้แนวคิด ‘VISIONAIRE: Reminisce/The Way Forward - แปลงอดีต เปลี่ยนวิสัยทัศน์อนาคต’ จึงพาประสบการณ์ทำงานออกแบบของ 5 ผู้นำความคิดระดับนานาชาติ ตัวแทนของแต่ละอุตสาหกรรมสร้างสรรค์มาชวนพวกเราอัปสกิลและกระตุ้นการตั้งคำถามเพื่อสร้างเรื่องราวใหม่ๆ ต่อไป
แล้วคำตอบจากคำถามก่อนหน้าจะขยายเป็นเรื่องราวใดได้บ้าง มาค้นหากันต่อไปกับ Jaime Hayon ดีไซเนอร์ทรงอิทธิพลชาวสเปน, พีพี - พัทน์ ภัทรนุธาพร นักเทคโนโลยีจาก MIT Media Lab ผู้หลงใหลในความสัมพันธ์ระหว่าง AI กับมนุษย์, Kentaro Kimura ผู้มาพร้อมความคิดสร้างสรรค์ด้านสื่อโฆษณาชั้นนำจากญี่ปุ่น, Stephen Jenner นักสื่อสารมวลชนและที่ปรึกษาในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และ Lyndon Neri สถาปนิกชั้นนำของเอเชีย ผู้กล้าทำในสิ่งที่คิดและเชื่อ
IIIi - พื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ตั้งต้นที่มนุษย์
สิ่งที่เห็นพ้องต้องกันในงานชุมนุมครั้งนี้คือ ถึงแม้จะมาจากอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ต่างแขนงกัน แต่ทั้งหมดมีจุดร่วมอยู่ที่การให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับงานสร้างสรรค์ที่ตัวเองกำลังทำอยู่ นั่นเพราะพื้นฐานของงานดีไซน์คือการทำงานร่วมกับมนุษย์ เช่นนั้นแล้ว คำถามถึงเรื่องดีไซน์กับฟังก์ชั่นจึงมีสาระสำคัญอีกอย่างคือ จะเข้าถึงใจคนได้หรือไม่? และอย่างไร?
สำหรับ Jaime Hayon แล้ว นอกเหนือจากสิ่งสำคัญทั้งสอง เขายังส่งสารต่อถึงคนรับสารผ่านข้าวของและการมีส่วนร่วมกับของสิ่งนั้นผ่านความสนุก (Playfulness) เพราะนี่แหละคือวิธีการที่เรามองเห็นของแต่ละอย่างก็คือประสบการณ์การรับรู้จากปฏิสัมพันธ์ระหว่างจิตใจกับสมอง และนั่นจะนำมาซึ่งคำถามอีกมากมายที่จะเป็นสารตั้งต้นสำหรับการสร้างสรรค์ต่อ
Rethink คืออีกคำที่เขาใช้กับกระบวนการทำงานสร้างสรรค์ เพื่อจะคิดด้วยคำถามต่อไปเรื่อยๆ ได้อีกว่า เราจะทำได้ดีที่สุดอย่างไร และเราจะทำให้ดีกว่าเดิมได้อย่างไร? แต่ขณะเดียวกันต้องอย่าลืมให้ความสำคัญกับรายละเอียดและรูปลักษณ์ เพราะดีไซน์ไม่ได้เป็นเพียงการใช้บริการหรือการตอบความต้องการแบบตรงไปตรงมาเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาชิ้นงานให้เกิดความหลากหลาย และเป็นความท้าทายที่จะทำงานกับหัวเรื่องหรือแขนงวิชาที่แตกต่าง
หากพูดถึงโลกในอนาคตแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่า AI คือหัวเรื่องที่ทุกคนกำลังให้ความสนใจ เพราะชีวิตทุกวันที่ค่อยๆ มี AI เข้ามาสอดแทรกเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับชีวิต พีพี - พัทน์ นักเทคโนโลยีจาก MIT Media Lab ชวนกลับมามองการผนึกกำลังกันระหว่างมนุษย์และ AI โดยเฉพาะในแง่ของความบันเทิงและการเล่าเรื่อง ว่าจะขยายขอบเขตนี้ออกไปได้กว้างไกลแค่ไหนบ้าง
จากคำถามที่ว่า AI จะช่วยนำทางความเป็นไปได้อย่างไรบ้าง เขาเล่าให้ฟังถึงการใช้ AI เป็นมีเดียมหรือสื่อใหม่สำหรับการนำเสนอ อย่างงาน A Conversation with the Sun งานศิลปะจัดวางที่เขาได้ร่วมงานกับ เจ้ย – อภิชาตพงศ์ ผ่านการพูดคุยระหว่างผู้คน ปัญญาประดิษฐ์ และผืนผ้าสีขาว เป็นผลลัพธ์ที่แสดงให้เห็นว่า AI ก็มีได้ทั้งด้านที่เป็นวิทยาศาสตร์ และด้านที่เป็นศิลปะ หากเราได้ทดลองเชื่อมปฏิสัมพันธ์ของทุกสิ่งเข้าด้วยกันดู
IIIi - ดีไซน์สื่อสารสังคม
นอกจากผู้คนในระดับปัจเจกแล้ว หน้าที่ของดีไซน์ยังเป็นการสื่อสารความคิดในวงที่กว้างขึ้นอย่างชุมชนและสังคมด้วยเครื่องมือที่แต่ละคนถนัด อย่างจากงานโฆษณาของ Kentaro Kimura จาก HAKUHODO เอเจนซี่โฆษณายักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น เขาได้ให้หลักการกว้างๆ เอาไว้ 3 ข้อในการทำงานสื่อสารอย่างสร้างสรรค์
ฝังตัวเองให้กลมกลืนไปกับวัฒนธรรมในพื้นที่ ออกแบบอย่างละเอียดลออไปกับความต้องการของผู้คนแห่งนั้น และทำให้ผู้คนชื่นชมที่เป็นเอกลักษณ์ ‘สร้างความประทับใจไม่รู้ลืม’ คือคีย์เวิร์ดสำคัญที่เขาให้ไว้
ตัวอย่างที่น่าสนใจคือการเปลี่ยนจุดด้อยให้เป็นจุดเด่นของเมืองชิซูโอกะในแบบร่วมสมัย รู้ไหมว่า 80% ของโมเดลพลาสติกที่ผลิตในญี่ปุ่นมาจากชิซูโอกะ? จากข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ เหล่านี้เอามาแปลความต่อได้ทั้งเป็นการสร้างอัตลักษณ์ความภูมิใจให้กับเมือง สร้างบทสนทนาและประสบการณ์ พร้อมกันกับการขายเป็นของที่ระลึกสร้างรายได้ได้อีก
งานสถาปัตยกรรมเองก็นับว่าเป็นงานออกแบบประเภทที่เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสิ่งแวดล้อมของสังคม และงานออกแบบของ Lyndon Neri จากสตูดิโอออกแบบ Neri&Hu สร้างประสบการณ์ของความแปลกใหม่ให้กับบริบทของสังคมอยู่เสมอ
คำว่า ‘In-between’ อยู่รอบตัวของเรา เพราะเราต่างก็อยู่ในโลกของความก้ำกึ่งระหว่างแต่ละสิ่งเสมอ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มองเห็นด้วยตาอย่างสถานที่ หรือสิ่งที่มองไม่เห็นอย่างเวลาและข้อขัดแย้ง งานออกแบบจึงต้องเริ่มด้วยการทำความเข้าใจกับแก่นแท้ของชีวิตของอาคารแต่ละหลัง
ตัวอย่าง The Brick Wall | Tsingpu Yangzhou Retreat คือตัวอย่างงานที่เขายกขึ้นมาให้เห็นถึงความIn-between ตั้งแต่โลเคชั่นที่ตั้งที่จะต้องสร้างสรรค์แลนด์สเคปจากองค์ประกอบด้วยตัวเองขึ้นมา หรืองานก่อสร้างที่ใช้อิฐเก่ากลับมารียูสใช้ใหม่ จากข้อจำกัดครึ่งๆ กลางๆ เหล่านี้ การใช้ดีไซน์ในการออกแบบผังบริเวณเพื่อแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ภูมิปัญญา คือความท้าทายของการทำงานกับสถาปัตยกรรมซึ่งจะต้องยืนหยัดทำหน้าที่ท่ามกลางกาลเวลาและสภาพแวดล้อมต่อไป
สุดท้ายในมุมมองที่กว้างออกจากสังคมหรือย่าน สู่ระดับภูมิภาคอย่างวงการภาพยนตร์ Stephen Jenner จาก Motion Picture Association ได้ขยายฉากทัศน์ของงานสร้างสรรค์จากเอเชียแปซิฟิกออกสู่ระดับสากลผ่านอุตสาหกรรมสื่อและภาพยนตร์
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความตื่นตัวของภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศสู่โลกตะวันตกเริ่มต้นจากความสำเร็จของ Parasite ที่เป็นเหมือนกับการฉายสปอตไลต์ความสนใจมายังภูมิภาคเอเชียว่าอุตสาหกรรมบันเทิงกำลังเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง
นี่เป็นภารกิจที่เป็นไปได้ซึ่งคนในวงการสร้างสรรค์จะออกเดินทางไปได้พร้อมกัน ทั้งจากมาตรฐานการทำงานและผลลัพธ์จากผลงานที่พิสูจน์ได้จากการดึงความสนใจของคนทั้งโลกให้เข้ามาสู่เอเชียแปซิฟิก และเราเล็งเห็นแล้วว่า ไม่เพียงแค่อุตสาหกรรมภาพยนตร์เท่านั้น แต่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของภูมิภาคของเรา โดยเฉพาะในเมืองไทยเอง ก็กำลังเดินหน้าไปสู่ความท้าทายที่ชวนให้คิดต่อ ว่าความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่ว่า จะมีหน้าตาแบบไหน และจะนำพาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยไปทางไหนต่อ
‘ประโยชน์ใช้สอยมาก่อนดีไซน์? แล้วจากนั้นเป็นอะไรต่อ?’
คำถามชวนคิดจากชื่อหัวเรื่องในการบรรยายของ Jaime Hayon ดีไซเนอร์ชาวสเปน หนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลด้านงานดีไซน์ของโลกตั้งคำถามนี้ต่อจากวลีอมตะที่เราคุ้นเคยในห้องเรียนไซส์ใหญ่ของ Creativities Unfold โดย CEA
แม้เราจะอยู่ในโลกที่ผู้คนเข้าใจแล้วว่าทำไมต้องดีไซน์ ดีไซน์แล้วดีอย่างไร ทั้งหมดนี้เกิดจากการปลูกฝังหัวใจจากงานออกแบบในรุ่นก่อนหน้า และเชื่อว่าจะเป็นบทเรียนที่ทำให้ความคิดสร้างสรรค์แห่งอนาคตพัฒนาต่อไปได้ไกลเกินกว่าที่เราจะคาดถึง
เพื่อที่จะเดินทางไปถึงวันนั้น งานชุมนุมทางความคิดสร้างสรรค์ภายใต้แนวคิด ‘VISIONAIRE: Reminisce/The Way Forward - แปลงอดีต เปลี่ยนวิสัยทัศน์อนาคต’ จึงพาประสบการณ์ทำงานออกแบบของ 5 ผู้นำความคิดระดับนานาชาติ ตัวแทนของแต่ละอุตสาหกรรมสร้างสรรค์มาชวนพวกเราอัปสกิลและกระตุ้นการตั้งคำถามเพื่อสร้างเรื่องราวใหม่ๆ ต่อไป
แล้วคำตอบจากคำถามก่อนหน้าจะขยายเป็นเรื่องราวใดได้บ้าง มาค้นหากันต่อไปกับ Jaime Hayon ดีไซเนอร์ทรงอิทธิพลชาวสเปน, พีพี - พัทน์ ภัทรนุธาพร นักเทคโนโลยีจาก MIT Media Lab ผู้หลงใหลในความสัมพันธ์ระหว่าง AI กับมนุษย์, Kentaro Kimura ผู้มาพร้อมความคิดสร้างสรรค์ด้านสื่อโฆษณาชั้นนำจากญี่ปุ่น, Stephen Jenner นักสื่อสารมวลชนและที่ปรึกษาในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และ Lyndon Neri สถาปนิกชั้นนำของเอเชีย ผู้กล้าทำในสิ่งที่คิดและเชื่อ
IIIi - พื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ตั้งต้นที่มนุษย์
สิ่งที่เห็นพ้องต้องกันในงานชุมนุมครั้งนี้คือ ถึงแม้จะมาจากอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ต่างแขนงกัน แต่ทั้งหมดมีจุดร่วมอยู่ที่การให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับงานสร้างสรรค์ที่ตัวเองกำลังทำอยู่ นั่นเพราะพื้นฐานของงานดีไซน์คือการทำงานร่วมกับมนุษย์ เช่นนั้นแล้ว คำถามถึงเรื่องดีไซน์กับฟังก์ชั่นจึงมีสาระสำคัญอีกอย่างคือ จะเข้าถึงใจคนได้หรือไม่? และอย่างไร?
สำหรับ Jaime Hayon แล้ว นอกเหนือจากสิ่งสำคัญทั้งสอง เขายังส่งสารต่อถึงคนรับสารผ่านข้าวของและการมีส่วนร่วมกับของสิ่งนั้นผ่านความสนุก (Playfulness) เพราะนี่แหละคือวิธีการที่เรามองเห็นของแต่ละอย่างก็คือประสบการณ์การรับรู้จากปฏิสัมพันธ์ระหว่างจิตใจกับสมอง และนั่นจะนำมาซึ่งคำถามอีกมากมายที่จะเป็นสารตั้งต้นสำหรับการสร้างสรรค์ต่อ
Rethink คืออีกคำที่เขาใช้กับกระบวนการทำงานสร้างสรรค์ เพื่อจะคิดด้วยคำถามต่อไปเรื่อยๆ ได้อีกว่า เราจะทำได้ดีที่สุดอย่างไร และเราจะทำให้ดีกว่าเดิมได้อย่างไร? แต่ขณะเดียวกันต้องอย่าลืมให้ความสำคัญกับรายละเอียดและรูปลักษณ์ เพราะดีไซน์ไม่ได้เป็นเพียงการใช้บริการหรือการตอบความต้องการแบบตรงไปตรงมาเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาชิ้นงานให้เกิดความหลากหลาย และเป็นความท้าทายที่จะทำงานกับหัวเรื่องหรือแขนงวิชาที่แตกต่าง
หากพูดถึงโลกในอนาคตแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่า AI คือหัวเรื่องที่ทุกคนกำลังให้ความสนใจ เพราะชีวิตทุกวันที่ค่อยๆ มี AI เข้ามาสอดแทรกเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับชีวิต พีพี - พัทน์ นักเทคโนโลยีจาก MIT Media Lab ชวนกลับมามองการผนึกกำลังกันระหว่างมนุษย์และ AI โดยเฉพาะในแง่ของความบันเทิงและการเล่าเรื่อง ว่าจะขยายขอบเขตนี้ออกไปได้กว้างไกลแค่ไหนบ้าง
จากคำถามที่ว่า AI จะช่วยนำทางความเป็นไปได้อย่างไรบ้าง เขาเล่าให้ฟังถึงการใช้ AI เป็นมีเดียมหรือสื่อใหม่สำหรับการนำเสนอ อย่างงาน A Conversation with the Sun งานศิลปะจัดวางที่เขาได้ร่วมงานกับ เจ้ย – อภิชาตพงศ์ ผ่านการพูดคุยระหว่างผู้คน ปัญญาประดิษฐ์ และผืนผ้าสีขาว เป็นผลลัพธ์ที่แสดงให้เห็นว่า AI ก็มีได้ทั้งด้านที่เป็นวิทยาศาสตร์ และด้านที่เป็นศิลปะ หากเราได้ทดลองเชื่อมปฏิสัมพันธ์ของทุกสิ่งเข้าด้วยกันดู
IIIi - ดีไซน์สื่อสารสังคม
นอกจากผู้คนในระดับปัจเจกแล้ว หน้าที่ของดีไซน์ยังเป็นการสื่อสารความคิดในวงที่กว้างขึ้นอย่างชุมชนและสังคมด้วยเครื่องมือที่แต่ละคนถนัด อย่างจากงานโฆษณาของ Kentaro Kimura จาก HAKUHODO เอเจนซี่โฆษณายักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น เขาได้ให้หลักการกว้างๆ เอาไว้ 3 ข้อในการทำงานสื่อสารอย่างสร้างสรรค์
ฝังตัวเองให้กลมกลืนไปกับวัฒนธรรมในพื้นที่ ออกแบบอย่างละเอียดลออไปกับความต้องการของผู้คนแห่งนั้น และทำให้ผู้คนชื่นชมที่เป็นเอกลักษณ์ ‘สร้างความประทับใจไม่รู้ลืม’ คือคีย์เวิร์ดสำคัญที่เขาให้ไว้
ตัวอย่างที่น่าสนใจคือการเปลี่ยนจุดด้อยให้เป็นจุดเด่นของเมืองชิซูโอกะในแบบร่วมสมัย รู้ไหมว่า 80% ของโมเดลพลาสติกที่ผลิตในญี่ปุ่นมาจากชิซูโอกะ? จากข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ เหล่านี้เอามาแปลความต่อได้ทั้งเป็นการสร้างอัตลักษณ์ความภูมิใจให้กับเมือง สร้างบทสนทนาและประสบการณ์ พร้อมกันกับการขายเป็นของที่ระลึกสร้างรายได้ได้อีก
งานสถาปัตยกรรมเองก็นับว่าเป็นงานออกแบบประเภทที่เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสิ่งแวดล้อมของสังคม และงานออกแบบของ Lyndon Neri จากสตูดิโอออกแบบ Neri&Hu สร้างประสบการณ์ของความแปลกใหม่ให้กับบริบทของสังคมอยู่เสมอ
คำว่า ‘In-between’ อยู่รอบตัวของเรา เพราะเราต่างก็อยู่ในโลกของความก้ำกึ่งระหว่างแต่ละสิ่งเสมอ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มองเห็นด้วยตาอย่างสถานที่ หรือสิ่งที่มองไม่เห็นอย่างเวลาและข้อขัดแย้ง งานออกแบบจึงต้องเริ่มด้วยการทำความเข้าใจกับแก่นแท้ของชีวิตของอาคารแต่ละหลัง
ตัวอย่าง The Brick Wall | Tsingpu Yangzhou Retreat คือตัวอย่างงานที่เขายกขึ้นมาให้เห็นถึงความIn-between ตั้งแต่โลเคชั่นที่ตั้งที่จะต้องสร้างสรรค์แลนด์สเคปจากองค์ประกอบด้วยตัวเองขึ้นมา หรืองานก่อสร้างที่ใช้อิฐเก่ากลับมารียูสใช้ใหม่ จากข้อจำกัดครึ่งๆ กลางๆ เหล่านี้ การใช้ดีไซน์ในการออกแบบผังบริเวณเพื่อแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ภูมิปัญญา คือความท้าทายของการทำงานกับสถาปัตยกรรมซึ่งจะต้องยืนหยัดทำหน้าที่ท่ามกลางกาลเวลาและสภาพแวดล้อมต่อไป
สุดท้ายในมุมมองที่กว้างออกจากสังคมหรือย่าน สู่ระดับภูมิภาคอย่างวงการภาพยนตร์ Stephen Jenner จาก Motion Picture Association ได้ขยายฉากทัศน์ของงานสร้างสรรค์จากเอเชียแปซิฟิกออกสู่ระดับสากลผ่านอุตสาหกรรมสื่อและภาพยนตร์
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความตื่นตัวของภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศสู่โลกตะวันตกเริ่มต้นจากความสำเร็จของ Parasite ที่เป็นเหมือนกับการฉายสปอตไลต์ความสนใจมายังภูมิภาคเอเชียว่าอุตสาหกรรมบันเทิงกำลังเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง
นี่เป็นภารกิจที่เป็นไปได้ซึ่งคนในวงการสร้างสรรค์จะออกเดินทางไปได้พร้อมกัน ทั้งจากมาตรฐานการทำงานและผลลัพธ์จากผลงานที่พิสูจน์ได้จากการดึงความสนใจของคนทั้งโลกให้เข้ามาสู่เอเชียแปซิฟิก และเราเล็งเห็นแล้วว่า ไม่เพียงแค่อุตสาหกรรมภาพยนตร์เท่านั้น แต่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของภูมิภาคของเรา โดยเฉพาะในเมืองไทยเอง ก็กำลังเดินหน้าไปสู่ความท้าทายที่ชวนให้คิดต่อ ว่าความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่ว่า จะมีหน้าตาแบบไหน และจะนำพาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยไปทางไหนต่อ