เกษตรกรผู้พัฒนาโรบัสต้าที่ขมฝาด เป็นโทนนัทตี้รสชาตินุ่มนวล จนคว้ารางวัลระดับประเทศ
เกษตรกรผู้พัฒนาโรบัสต้าที่ขมฝาด เป็นโทนนัทตี้รสชาตินุ่มนวล จนคว้ารางวัลระดับประเทศ
2 ก.ค. 2567
SHARE WITH:
2 ก.ค. 2567
2 ก.ค. 2567
SHARE WITH:
SHARE WITH:
เกษตรกรผู้พัฒนาโรบัสต้าที่ขมฝาด เป็นโทนนัทตี้รสชาตินุ่มนวล จนคว้ารางวัลระดับประเทศ
เราเดินทางมากันที่อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร โดยมีนัดกับ “พี่แขก ธนาสิทธิ์ สอนสุภา” เจ้าของ ‘กาแฟลุงไข่' สวนกาแฟที่สืบทอดมาจากรุ่นคุณพ่อ ที่แห่งนี้เมื่อสมัยก่อนในจังหวัดชุมพรเป็นพื้นที่ที่ปลูกโรบัสต้าเพื่อส่งเข้าระบบอุตสาหกรรมมากที่สุดในประเทศไทย
“กาแฟมันเป็นพืชที่ มีบุญคุณกับพวกเราทุกคนในจังหวัดชุมพรนะครับ มันเป็นพืชที่ทำให้พวกเราลืมตาอ้าปากได้ เมื่อสมัยสี่สิบ ห้าสิบปีที่แล้ว ไม่งั้นไม่มาอยู่ในคำขวัญของจังหวัดได้หรอก ถ้ามันไม่มีอิทธิพลขนาดนั้น”
พี่แขกพูดกับเราพร้อมพาเดินชมสวนกาแฟ “ จริงๆช่วงนี้หมดฤดูเก็บเกี่ยวไปแล้ว เป็นช่วงที่ทางเกษตรกรนำกาแฟที่ผ่านกระบวนการบ่ม การตาก การคั่ว แพคเตรียมขายและส่งขายกับลูกค้าประจำที่เป็นร้านกาแฟในจังหวัด เหมือนช่วงนี้เป็นช่วงพักจากการเก็บเกี่ยว ซึ่งเราจะขายอยู่เรื่อยๆ หรือใครสนใจก็จะเข้ามาหาเราที่สวน ที่นี่ก็เปิดไว้ไม่ได้เป็นร้านกาแฟซะทีเดียว เหมือนมาเยี่ยมสวนกาแฟซะมากกว่า”
IIIi เรื่องเล่าจากคุณพ่อ และกาแฟในความทรงจำของเรา ?
“ผมมีความผูกพันกับกาแฟโรบัสต้ามานาน ตั้งแต่เด็กเราก็เห็นอยู่ในคำขวัญจังหวัดแล้ว ย้อนกลับไปตั้งแต่รุ่นพ่อสมัยแกเล่าว่ามีการสนับสนุนให้คนชุมพรหันมาปลูกกาแฟ ซึ่งทางภาครัฐพยายามส่งเสริมให้เป็นเหมือนพืชไร่ชนิดหนึ่ง คนในจังหวัดชุมพรก็เลยปลูกกันมากที่สุด โดยเฉพาะอำเภอท่าแซะที่เราอยู่เมื่อก่อนผลิตกาแฟได้ประมาณ 40,000 ตันต่อปี ซึ่งมากที่สุดในจังหวัดเลยก็ว่าได้ สมัยนั้นหากใครมีที่ดินไม่รู้จะปลูกอะไรก็มาเริ่มปลูกกาแฟกันก่อน เพราะการทำกาแฟจะมีรายได้เป็นแบบ 'เงินรายปี' คุณพ่อผมก็เริ่มปลูกในช่วงประมาณพ.ศ. 2502 ซึ่งราคาซื้อขายตอนนั้น “กาแฟสาร” รับซื้อกิโลละ 100 บาท ถือเป็นราคาที่สูงมาก และการปลูกกาแฟในช่วงเริ่มต้นเป็นอาชีพที่มีมีมูลค่ามากเรียกได้ว่าเป็น”ทองคำดำ” ได้เลย เพราะสมัยนั้นทองหนึ่งบาทมีราคาอยู่ที่ 800 บาทเท่านั้น ซึ่งในแต่ละปีเกษตรกรผลิตกันได้ 2 - 3 ตันต่อปี เท่ากับว่าปีนึงจะได้เงินอย่างน้อยหลักแสน ทำให้เกษตรกรหลายๆบ้าน สามารถลืมตาอ้าปากได้ ส่งลูกหลานเรียนได้เลย”
ปัจจุบันราคาโรบัสต้าในระบบ อยู่ที่ 60-70 บาท ซึ่งผ่านช่วงเวลามากว่า 30 ปี มันก็ยังอยู่ที่เดิม กาแฟโรบัสต้ากลายเป็นกาแฟคุณภาพตำ่ เกษตรกรก็ต่างก็หันไปปลูกพืชอย่างอื่น เช่นทุเรียน ยาง มังคุด ไม้เศรษฐกิจฯลฯ เมื่อเวลาผ่านไปกาแฟโรบัสต้ามีมูลค่าลดลง พ่อผมก็ต้องปรับตัวแต่ลึกๆก็ยังมีความผูกพันกับกาแฟโรบัสต้า ยังคงเก็บต้นกาแฟไว้ในสวน บางทีก็เพาะพันธุ์ต้นกล้าเก็บไว้ ปลูกเพิ่มเติมบ้าง ทำให้ผมได้เห็นและเริ่มได้ทดลองเรียนรู้จากสวนของพ่อนี่แหละ
IIIi แรงบันดาลใจที่อยากมีกาแฟที่ดีไว้กินเอง เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างผลผลิตกาแฟในสวนหลังบ้านให้มีคุณภาพ
“ผมเป็นคนที่ชอบกินกาแฟสด โดยก่อนหน้านี้เราเห็นพ่อทำไร่กาแฟส่งผลผลิตเข้าโรงงาน ดังนั้นกระบวนการดูแล การเก็บเกี่ยว การคัดเมล็ด การตาก การสีก็ไม่ได้พอถีพิถันมากนัก เราจึงอยากทดลองกินดูว่ากาแฟที่พ่อทำนั้นเป็นอย่างไร เลยเก็บมาคั่วกินเองดูจนได้ข้อสรุปว่า “มันไม่อร่อย” มันทั้งขม ทั้งเหม็นเขียว รสชาติมันไม่สามารถกินแบบบดแล้วชงกินสดได้เลย ยิ่งถ้าเป็นเมล็ดเกรดส่งอุตสาหกรรม ยิ่งไม่ควรนำมาบริโภคสดเพราะมีคาเฟอีนที่สูงมาก“
“เราเริ่มมีความคิดที่อยากปรับเปลี่ยนกระบวนการของการผลิตกาแฟโรบัสต้า โดยเราลองเอากระบวนการแบบเกษตรอินทรีย์เข้ามาเริ่มทำ ตั้งแต่กระบวนการปลูกต้นกล้า ศึกษาต้นพันธุ์อย่างลึกซึ้งมากขึ้น หาเทคนิคในการปลูก หลายอย่างเราก็เพิ่งมามาค้นพบจากการลองผิดลองถูก เช่น จริงๆแล้ว กาแฟโรบัสต้าที่ดีจะเติบโตได้ดีในสภาพแสงที่รำไรผ่านต้นไม้ ไม่ได้ชอบแดดจ้ามาก หรือการสร้างระบบนิเวศน์ให้เหมาะสมทดลองปลูกแบบต่างสายพันธ์ุกันให้มันอยู่ร่วมกันโตในที่เดียวกันได้ก็มี ฯลฯ ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้ก็ค่อยๆศึกษาอยู่ในสวนกาแฟหลังบ้านของเราที่เหมือนเป็นห้องเรียนทางธรรมชาติขนาดใหญ่”
IIIi ปลูกกาแฟอย่างเคารพธรรมชาติในแบบเข้าใจพื่นที่ ลม ฟ้า อากาศ
“สมัยรุ่นพ่อทำไร่กาแฟแทบจะไม่ต้องทำระบบรดน้ำเพราะมันอุดมสมบูรณ์ป่ามันเต็มไปหมด หากเป็นสมัยนี้ไม่วางระบบนำ้ กาแฟเราแทบไปไม่รอดเลย เราจึงต้องสร้างป่าและสภาพแวดล้อมที่ดีให้การปลูกกาแฟด้วย เราปลูกทั้งไม้ยืนต้นและพันธ์พืชอื่นๆอยู่ในที่เดียวกันเพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ โดยชุมพรมีภูมิประเทศและสภาพอากาศที่แตกต่างจากจังหวัดอื่นๆ บางครั้งเดือนมกรา กุมภา อยู่ดีฝนตกก็มี ทำให้เราต้องวางแผนการเก็บเกี่ยวและต้องคอยเช็คสภาพอากาศในแต่ละวัน เพื่อนำไปเข้าสู่กระบวนการ‘การหมัก’และ’การบ่ม’ จนถึง'การตาก' ซึ่งเทคนิคในการตากของกาแฟโรบัสต้านั้นสำคัญมากๆ ขั้นตอนนี้สามารถกำหนดรสชาติของกาแฟได้เลย เราต้องทำจนชำนาญมากพอที่จะควบคุมกระบวนการทั้งหมดให้ได้ แต่หากคนที่ไม่เข้าใจเขาก็เอากาแฟที่บ่มเสร็จแล้วมาตาก ซึ่งในบางวันแดดไม่ถึง ความร้อนไม่เพียงพอจะทำให้กาแฟมีความชื้นและเน่าเสียในที่สุด หรือแม้กระทั่งการจัดเก็บเมล็ดของเรา จะไม่วางกระสอบไว้กับพื้นอาคารเลย เพราะว่าอุณหภูมิที่พื้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดทำให้รสชาติเพี้ยนได้ เราจำเป็นต้องมีชั้นวางสูงขึ้นจากพื้นดินอย่างน้อย 1 เมตรสำหรับจัดเก็บเพื่อรักษาสภาพอุณหภูมิในเมล็ดกาแฟ ฉะนั้นเรื่องเหล่านี้มันต้องใช้ความรู้ความเข้าใจเป็นพิเศษ”
IIIi ช่วงเวลาแห่งการต่อสู้ และการทลายกำแพงความเชื่อแบบเดิมๆ
“จริงๆกาแฟโรบัสต้ามันมีข้อดีอยุ่นะ หลังจากที่เราเริ่มทำกาแฟโรบัสต้าในรูปแบบ ‘Process’ เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของโรบัสต้าคือ โทนถั่ว ช็อกโกแลต(Nutty),วนิลาและคาราเมล(sweet) แต่ในช่วงแรกคนก็ยังไม่เชื่อว่ามันเป็นไปได้ ยังมีกำแพงในใจอยู่ว่ากาแฟโรบัสต้า มันคือกาแฟชงผสม กาแฟสำเร็จรูป เมื่อก่อนผมพกกาแฟของผมติดตัวไปทุกที่เพื่อแจกให้คนได้ชิมโดยเราต้องการเก็บฟีดแบค ถ้ามีงานไปออกบูธก็ให้ลองกินฟรีก่อนจนมีออเดอร์สั่งซื้อในที่สุด เราพยายามเปลี่ยนมายด์เซ็ททั้งสองฝั่งที่เป็นเกษตรกรและฝั่งลูกค้าให้ลองเปิดใจดูซึ่งก็ใช้เวลาพอสมควร"
"และอีกปัจจัยคือการตั้งราคาของเราที่ค่อนข้างโดดจากตลาด เราตั้งราคาโรบัสต้าแบบพิเศษที่กิโลกรัมละ 400 บาท ซึ่งมันค่อนข้างสูงแต่เรามีเหตุผลที่อธิบายได้โดยที่เราคิดจากราคาค่าแรง กระบวนการ ความพิถีถัน และต้นทุนเวลาที่เราเสียไป ไม่ได้ไปยึดกับราคาของโรบัสต้าที่ช่วงนั้นที่ราคาตลาดอยู่ที่ 60 - 70 บาท ช่วงแรกก็บริโภคเองบ้างขายก็ยังได้จำนวนไม่มาก เราก็พยายามที่จะนำเสนอลูกค้าไปเรื่อยๆ ผลตอบรับมันก็ยังไม่ดี แต่เรามีความเชื่อว่าการที่จะเพิ่มมูลค่าสินค้าอะไรบางอย่างมันต้องใช้เวลา เรายังคงเชื่อมั่นในกระบวนการแบบของเรา ที่ต้องได้คุณภาพที่มันดีจริงๆ ไปให้ลูกค้า จึงมีความกล้าที่จะลงทุนทำกันต่อ"
IIIi THAI COFFEE EXCELLENCE 2021 จุดเปลี่ยนที่นำพา”กาแฟลุงไข่” ยกระดับสู่โรบัสต้าคุณภาพ
"ช่วงปีพ.ศ. 2564 มีรายการประกวด”สุดยอดกาแฟไทย” โครงการ Thai Coffee Excellence(TCE) โดยกาแฟโรบัสต้าของเราคว้ารางวัลชนะเลิศ ได้คะแนนชิม cupping score อยู่ที่ 85.39 ซึ่งทำให้กาแฟของเรากลายเป็นที่รู้จัก และผู้คนให้ความสนใจในกระบวนการผลิตของเรา เริ่มมีกระแสของกาแฟ ‘Fine Robusta’ เกิดขึ้นและเป็นที่สนใจในหมู่ของคอกาแฟมากขึ้น วันนั้นเรารู้สึกว่าเราก้าวข้ามอะไรบางอย่างมาได้ ซึ่งที่ผ่านมาการผลิตโรบัสต้าคุณภาพสูงนั้น เป็นกระบวนการที่ยากและต้องใช้ความรู้ความเข้าใจอย่างมากในศึกษาค้นคว้า จนวันนี้ที่เมล็ดกาแฟของเรามี certificate เราเกิดความภาคภูมิใจในสิ่งที่เราทำ เหมือนกับภารกิจเราสำเร็จสามารถทำสิ่งที่คนไม่ค่อยเห็นคุณค่าอย่างกาแฟโรบัสต้าให้กลับมามีมูลค่าอีกครั้งได้ มันเป็นพลังทำให้เราได้พัฒนาต่อไป
IIIi การทำธุรกิจกาแฟในแบบของลูกเกษตรกร
“การที่เราจะขายกาแฟที่มีราคาสูงและทำกำไรให้อยู่ได้จริงนั้น มันต้องมาจากการลงทุนลงแรงความใส่ใจของเกษตรกร จนผู้ซื้อเห็นคุณค่าและยอมจ่ายในราคาที่เหมาะสม” ปัจจุบันกาแฟไทยก็มีราคาที่สูงเมื่อเทียบกับราคาเมล็ดนำเข้า มันมีปัจจัยจากกระบวนการต่างๆที่เป็นต้นทุนการผลิต และความพิถีพิถันของผู้ปลูกด้วย ดังนั้นหากจะให้เทียบกันว่า 'เมล็ดกาแฟไทย' กับ 'กาแฟนอก' แบบไหนดีกว่ากันนั้น?" ขึ้นอยู่กับว่าลูกค้าว่าจะเปิดใจชิมที่รสชาติแบบไม่มีอคติได้หรือไม่ สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถไปบังคับผู้ซื้อได้ แต่ในมุมของเราก็ต้องมั่นใจในสินค้าตัวเองว่ามีดีพอ และเข้าใจในการตั้งราคาจากต้นทุนของการผลิต เพื่อให้คนปลูกเราสามารถอยู่ในธุรกิจนี้ได้จริงๆ” อย่างกาแฟลุงไข่ช่วงแรก เราตั้งราคาขายเองโดยเริ่มเสนอขายร้านกาแฟ รีสอร์ทต่างๆ ในจังหวัดชุมพรที่ได้ลองชิมแล้วเขาเชื่อในคุณภาพสินค้าเราและอยากสนับสนุน ทุกวันนี้เราก็ยังคงขายให้กับร้านค้าเหล่านี้อยู่ตลอดโดยที่ไม่มีการขึ้นราคาตั้งแต่เริ่มซื้อขายกันมา พร้อมกับเป้นคนให้คำปรึกษาที่ดีมีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าที่ใช้ผลผลิตของเราด้วย"
IIIi จากวิสาหกิจชุมชนสู่วิถีการทำเกษตรแบบยั่งยืน
“จริงๆการกลับมาทำกาแฟลุงไข่ ตั้งใจว่าอยากทำในรูปแบบของเครือข่ายที่เกิดประโยชน์ส่วนรวมกับเกษตรกรในพื้นที่อำเภอนี้ให้มากที่สุด” หลังจากที่เราเริ่มรู้ว่ากาแฟในแบบที่เราทำมันเริ่มมีตลาด มีคนต้องการซื้อสินค้าเราแล้ว เราจึงพยายามพูดคุยกับชาวบ้านและคอยแบ่งปันความรู้เพื่อให้การขายสินค้าของเกษตรกรขายได้คุ้มทุน มีความกล้าที่จะขายสินค้าด้วยตัวเองและหาตลาดที่เป็นช่องทางของตนเองได้ ทำให้เราเริ่มมั่นใจว่าสวนกาแฟของสมาชิกเราจะไม่ไหลกลับไปสู่วงจรรูปแบบอุตสาหกรรมเดิมๆ เพราะทุกคนมีความเชื่อมั่นที่จะทำกาแฟแบบคุณภาพสูงได้ถึงแม้ว่ามันจะได้ปริมาณไม่มาก แต่เกษตรกรทำมันด้วยความใส่ใจสร้างคุณค่าให้กับกาแฟที่เราปลูกได้ ทำให้ผลผลิตของเรามีคุณภาพ มีมาตรฐานเดียวกัน สุดท้ายสินค้าก็จะมีราคาด้วยตัวของมันเอง"
“เดี๋ยวนี้เกษตรกรรุ่นใหม่เขามีความตั้งใจมากในการพัฒนาสินค้า และก็ไม่ได้สนใจที่ตัวเงินอย่างเดียวเสมอไป เขาเริ่มหันมาใส่ใจโลก สิ่งแวดล้อม ไม่ได้ปลูกเพื่อเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมแบบคนรุ่นก่อนซึ่งเรามองว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อวงการกาแฟบ้านเราในอนาคต ไม่แน่นะ!…เราอาจจะเห็นเมืองหลวงของกาแฟโรบัสต้าอยู่ที่จังหวัดชุมพรก็เป็นไปได้”
เราเดินทางมากันที่อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร โดยมีนัดกับ “พี่แขก ธนาสิทธิ์ สอนสุภา” เจ้าของ ‘กาแฟลุงไข่' สวนกาแฟที่สืบทอดมาจากรุ่นคุณพ่อ ที่แห่งนี้เมื่อสมัยก่อนในจังหวัดชุมพรเป็นพื้นที่ที่ปลูกโรบัสต้าเพื่อส่งเข้าระบบอุตสาหกรรมมากที่สุดในประเทศไทย
“กาแฟมันเป็นพืชที่ มีบุญคุณกับพวกเราทุกคนในจังหวัดชุมพรนะครับ มันเป็นพืชที่ทำให้พวกเราลืมตาอ้าปากได้ เมื่อสมัยสี่สิบ ห้าสิบปีที่แล้ว ไม่งั้นไม่มาอยู่ในคำขวัญของจังหวัดได้หรอก ถ้ามันไม่มีอิทธิพลขนาดนั้น”
พี่แขกพูดกับเราพร้อมพาเดินชมสวนกาแฟ “ จริงๆช่วงนี้หมดฤดูเก็บเกี่ยวไปแล้ว เป็นช่วงที่ทางเกษตรกรนำกาแฟที่ผ่านกระบวนการบ่ม การตาก การคั่ว แพคเตรียมขายและส่งขายกับลูกค้าประจำที่เป็นร้านกาแฟในจังหวัด เหมือนช่วงนี้เป็นช่วงพักจากการเก็บเกี่ยว ซึ่งเราจะขายอยู่เรื่อยๆ หรือใครสนใจก็จะเข้ามาหาเราที่สวน ที่นี่ก็เปิดไว้ไม่ได้เป็นร้านกาแฟซะทีเดียว เหมือนมาเยี่ยมสวนกาแฟซะมากกว่า”
IIIi เรื่องเล่าจากคุณพ่อ และกาแฟในความทรงจำของเรา ?
“ผมมีความผูกพันกับกาแฟโรบัสต้ามานาน ตั้งแต่เด็กเราก็เห็นอยู่ในคำขวัญจังหวัดแล้ว ย้อนกลับไปตั้งแต่รุ่นพ่อสมัยแกเล่าว่ามีการสนับสนุนให้คนชุมพรหันมาปลูกกาแฟ ซึ่งทางภาครัฐพยายามส่งเสริมให้เป็นเหมือนพืชไร่ชนิดหนึ่ง คนในจังหวัดชุมพรก็เลยปลูกกันมากที่สุด โดยเฉพาะอำเภอท่าแซะที่เราอยู่เมื่อก่อนผลิตกาแฟได้ประมาณ 40,000 ตันต่อปี ซึ่งมากที่สุดในจังหวัดเลยก็ว่าได้ สมัยนั้นหากใครมีที่ดินไม่รู้จะปลูกอะไรก็มาเริ่มปลูกกาแฟกันก่อน เพราะการทำกาแฟจะมีรายได้เป็นแบบ 'เงินรายปี' คุณพ่อผมก็เริ่มปลูกในช่วงประมาณพ.ศ. 2502 ซึ่งราคาซื้อขายตอนนั้น “กาแฟสาร” รับซื้อกิโลละ 100 บาท ถือเป็นราคาที่สูงมาก และการปลูกกาแฟในช่วงเริ่มต้นเป็นอาชีพที่มีมีมูลค่ามากเรียกได้ว่าเป็น”ทองคำดำ” ได้เลย เพราะสมัยนั้นทองหนึ่งบาทมีราคาอยู่ที่ 800 บาทเท่านั้น ซึ่งในแต่ละปีเกษตรกรผลิตกันได้ 2 - 3 ตันต่อปี เท่ากับว่าปีนึงจะได้เงินอย่างน้อยหลักแสน ทำให้เกษตรกรหลายๆบ้าน สามารถลืมตาอ้าปากได้ ส่งลูกหลานเรียนได้เลย”
ปัจจุบันราคาโรบัสต้าในระบบ อยู่ที่ 60-70 บาท ซึ่งผ่านช่วงเวลามากว่า 30 ปี มันก็ยังอยู่ที่เดิม กาแฟโรบัสต้ากลายเป็นกาแฟคุณภาพตำ่ เกษตรกรก็ต่างก็หันไปปลูกพืชอย่างอื่น เช่นทุเรียน ยาง มังคุด ไม้เศรษฐกิจฯลฯ เมื่อเวลาผ่านไปกาแฟโรบัสต้ามีมูลค่าลดลง พ่อผมก็ต้องปรับตัวแต่ลึกๆก็ยังมีความผูกพันกับกาแฟโรบัสต้า ยังคงเก็บต้นกาแฟไว้ในสวน บางทีก็เพาะพันธุ์ต้นกล้าเก็บไว้ ปลูกเพิ่มเติมบ้าง ทำให้ผมได้เห็นและเริ่มได้ทดลองเรียนรู้จากสวนของพ่อนี่แหละ
IIIi แรงบันดาลใจที่อยากมีกาแฟที่ดีไว้กินเอง เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างผลผลิตกาแฟในสวนหลังบ้านให้มีคุณภาพ
“ผมเป็นคนที่ชอบกินกาแฟสด โดยก่อนหน้านี้เราเห็นพ่อทำไร่กาแฟส่งผลผลิตเข้าโรงงาน ดังนั้นกระบวนการดูแล การเก็บเกี่ยว การคัดเมล็ด การตาก การสีก็ไม่ได้พอถีพิถันมากนัก เราจึงอยากทดลองกินดูว่ากาแฟที่พ่อทำนั้นเป็นอย่างไร เลยเก็บมาคั่วกินเองดูจนได้ข้อสรุปว่า “มันไม่อร่อย” มันทั้งขม ทั้งเหม็นเขียว รสชาติมันไม่สามารถกินแบบบดแล้วชงกินสดได้เลย ยิ่งถ้าเป็นเมล็ดเกรดส่งอุตสาหกรรม ยิ่งไม่ควรนำมาบริโภคสดเพราะมีคาเฟอีนที่สูงมาก“
“เราเริ่มมีความคิดที่อยากปรับเปลี่ยนกระบวนการของการผลิตกาแฟโรบัสต้า โดยเราลองเอากระบวนการแบบเกษตรอินทรีย์เข้ามาเริ่มทำ ตั้งแต่กระบวนการปลูกต้นกล้า ศึกษาต้นพันธุ์อย่างลึกซึ้งมากขึ้น หาเทคนิคในการปลูก หลายอย่างเราก็เพิ่งมามาค้นพบจากการลองผิดลองถูก เช่น จริงๆแล้ว กาแฟโรบัสต้าที่ดีจะเติบโตได้ดีในสภาพแสงที่รำไรผ่านต้นไม้ ไม่ได้ชอบแดดจ้ามาก หรือการสร้างระบบนิเวศน์ให้เหมาะสมทดลองปลูกแบบต่างสายพันธ์ุกันให้มันอยู่ร่วมกันโตในที่เดียวกันได้ก็มี ฯลฯ ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้ก็ค่อยๆศึกษาอยู่ในสวนกาแฟหลังบ้านของเราที่เหมือนเป็นห้องเรียนทางธรรมชาติขนาดใหญ่”
IIIi ปลูกกาแฟอย่างเคารพธรรมชาติในแบบเข้าใจพื่นที่ ลม ฟ้า อากาศ
“สมัยรุ่นพ่อทำไร่กาแฟแทบจะไม่ต้องทำระบบรดน้ำเพราะมันอุดมสมบูรณ์ป่ามันเต็มไปหมด หากเป็นสมัยนี้ไม่วางระบบนำ้ กาแฟเราแทบไปไม่รอดเลย เราจึงต้องสร้างป่าและสภาพแวดล้อมที่ดีให้การปลูกกาแฟด้วย เราปลูกทั้งไม้ยืนต้นและพันธ์พืชอื่นๆอยู่ในที่เดียวกันเพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ โดยชุมพรมีภูมิประเทศและสภาพอากาศที่แตกต่างจากจังหวัดอื่นๆ บางครั้งเดือนมกรา กุมภา อยู่ดีฝนตกก็มี ทำให้เราต้องวางแผนการเก็บเกี่ยวและต้องคอยเช็คสภาพอากาศในแต่ละวัน เพื่อนำไปเข้าสู่กระบวนการ‘การหมัก’และ’การบ่ม’ จนถึง'การตาก' ซึ่งเทคนิคในการตากของกาแฟโรบัสต้านั้นสำคัญมากๆ ขั้นตอนนี้สามารถกำหนดรสชาติของกาแฟได้เลย เราต้องทำจนชำนาญมากพอที่จะควบคุมกระบวนการทั้งหมดให้ได้ แต่หากคนที่ไม่เข้าใจเขาก็เอากาแฟที่บ่มเสร็จแล้วมาตาก ซึ่งในบางวันแดดไม่ถึง ความร้อนไม่เพียงพอจะทำให้กาแฟมีความชื้นและเน่าเสียในที่สุด หรือแม้กระทั่งการจัดเก็บเมล็ดของเรา จะไม่วางกระสอบไว้กับพื้นอาคารเลย เพราะว่าอุณหภูมิที่พื้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดทำให้รสชาติเพี้ยนได้ เราจำเป็นต้องมีชั้นวางสูงขึ้นจากพื้นดินอย่างน้อย 1 เมตรสำหรับจัดเก็บเพื่อรักษาสภาพอุณหภูมิในเมล็ดกาแฟ ฉะนั้นเรื่องเหล่านี้มันต้องใช้ความรู้ความเข้าใจเป็นพิเศษ”
IIIi ช่วงเวลาแห่งการต่อสู้ และการทลายกำแพงความเชื่อแบบเดิมๆ
“จริงๆกาแฟโรบัสต้ามันมีข้อดีอยุ่นะ หลังจากที่เราเริ่มทำกาแฟโรบัสต้าในรูปแบบ ‘Process’ เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของโรบัสต้าคือ โทนถั่ว ช็อกโกแลต(Nutty),วนิลาและคาราเมล(sweet) แต่ในช่วงแรกคนก็ยังไม่เชื่อว่ามันเป็นไปได้ ยังมีกำแพงในใจอยู่ว่ากาแฟโรบัสต้า มันคือกาแฟชงผสม กาแฟสำเร็จรูป เมื่อก่อนผมพกกาแฟของผมติดตัวไปทุกที่เพื่อแจกให้คนได้ชิมโดยเราต้องการเก็บฟีดแบค ถ้ามีงานไปออกบูธก็ให้ลองกินฟรีก่อนจนมีออเดอร์สั่งซื้อในที่สุด เราพยายามเปลี่ยนมายด์เซ็ททั้งสองฝั่งที่เป็นเกษตรกรและฝั่งลูกค้าให้ลองเปิดใจดูซึ่งก็ใช้เวลาพอสมควร"
"และอีกปัจจัยคือการตั้งราคาของเราที่ค่อนข้างโดดจากตลาด เราตั้งราคาโรบัสต้าแบบพิเศษที่กิโลกรัมละ 400 บาท ซึ่งมันค่อนข้างสูงแต่เรามีเหตุผลที่อธิบายได้โดยที่เราคิดจากราคาค่าแรง กระบวนการ ความพิถีถัน และต้นทุนเวลาที่เราเสียไป ไม่ได้ไปยึดกับราคาของโรบัสต้าที่ช่วงนั้นที่ราคาตลาดอยู่ที่ 60 - 70 บาท ช่วงแรกก็บริโภคเองบ้างขายก็ยังได้จำนวนไม่มาก เราก็พยายามที่จะนำเสนอลูกค้าไปเรื่อยๆ ผลตอบรับมันก็ยังไม่ดี แต่เรามีความเชื่อว่าการที่จะเพิ่มมูลค่าสินค้าอะไรบางอย่างมันต้องใช้เวลา เรายังคงเชื่อมั่นในกระบวนการแบบของเรา ที่ต้องได้คุณภาพที่มันดีจริงๆ ไปให้ลูกค้า จึงมีความกล้าที่จะลงทุนทำกันต่อ"
IIIi THAI COFFEE EXCELLENCE 2021 จุดเปลี่ยนที่นำพา”กาแฟลุงไข่” ยกระดับสู่โรบัสต้าคุณภาพ
"ช่วงปีพ.ศ. 2564 มีรายการประกวด”สุดยอดกาแฟไทย” โครงการ Thai Coffee Excellence(TCE) โดยกาแฟโรบัสต้าของเราคว้ารางวัลชนะเลิศ ได้คะแนนชิม cupping score อยู่ที่ 85.39 ซึ่งทำให้กาแฟของเรากลายเป็นที่รู้จัก และผู้คนให้ความสนใจในกระบวนการผลิตของเรา เริ่มมีกระแสของกาแฟ ‘Fine Robusta’ เกิดขึ้นและเป็นที่สนใจในหมู่ของคอกาแฟมากขึ้น วันนั้นเรารู้สึกว่าเราก้าวข้ามอะไรบางอย่างมาได้ ซึ่งที่ผ่านมาการผลิตโรบัสต้าคุณภาพสูงนั้น เป็นกระบวนการที่ยากและต้องใช้ความรู้ความเข้าใจอย่างมากในศึกษาค้นคว้า จนวันนี้ที่เมล็ดกาแฟของเรามี certificate เราเกิดความภาคภูมิใจในสิ่งที่เราทำ เหมือนกับภารกิจเราสำเร็จสามารถทำสิ่งที่คนไม่ค่อยเห็นคุณค่าอย่างกาแฟโรบัสต้าให้กลับมามีมูลค่าอีกครั้งได้ มันเป็นพลังทำให้เราได้พัฒนาต่อไป
IIIi การทำธุรกิจกาแฟในแบบของลูกเกษตรกร
“การที่เราจะขายกาแฟที่มีราคาสูงและทำกำไรให้อยู่ได้จริงนั้น มันต้องมาจากการลงทุนลงแรงความใส่ใจของเกษตรกร จนผู้ซื้อเห็นคุณค่าและยอมจ่ายในราคาที่เหมาะสม” ปัจจุบันกาแฟไทยก็มีราคาที่สูงเมื่อเทียบกับราคาเมล็ดนำเข้า มันมีปัจจัยจากกระบวนการต่างๆที่เป็นต้นทุนการผลิต และความพิถีพิถันของผู้ปลูกด้วย ดังนั้นหากจะให้เทียบกันว่า 'เมล็ดกาแฟไทย' กับ 'กาแฟนอก' แบบไหนดีกว่ากันนั้น?" ขึ้นอยู่กับว่าลูกค้าว่าจะเปิดใจชิมที่รสชาติแบบไม่มีอคติได้หรือไม่ สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถไปบังคับผู้ซื้อได้ แต่ในมุมของเราก็ต้องมั่นใจในสินค้าตัวเองว่ามีดีพอ และเข้าใจในการตั้งราคาจากต้นทุนของการผลิต เพื่อให้คนปลูกเราสามารถอยู่ในธุรกิจนี้ได้จริงๆ” อย่างกาแฟลุงไข่ช่วงแรก เราตั้งราคาขายเองโดยเริ่มเสนอขายร้านกาแฟ รีสอร์ทต่างๆ ในจังหวัดชุมพรที่ได้ลองชิมแล้วเขาเชื่อในคุณภาพสินค้าเราและอยากสนับสนุน ทุกวันนี้เราก็ยังคงขายให้กับร้านค้าเหล่านี้อยู่ตลอดโดยที่ไม่มีการขึ้นราคาตั้งแต่เริ่มซื้อขายกันมา พร้อมกับเป้นคนให้คำปรึกษาที่ดีมีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าที่ใช้ผลผลิตของเราด้วย"
IIIi จากวิสาหกิจชุมชนสู่วิถีการทำเกษตรแบบยั่งยืน
“จริงๆการกลับมาทำกาแฟลุงไข่ ตั้งใจว่าอยากทำในรูปแบบของเครือข่ายที่เกิดประโยชน์ส่วนรวมกับเกษตรกรในพื้นที่อำเภอนี้ให้มากที่สุด” หลังจากที่เราเริ่มรู้ว่ากาแฟในแบบที่เราทำมันเริ่มมีตลาด มีคนต้องการซื้อสินค้าเราแล้ว เราจึงพยายามพูดคุยกับชาวบ้านและคอยแบ่งปันความรู้เพื่อให้การขายสินค้าของเกษตรกรขายได้คุ้มทุน มีความกล้าที่จะขายสินค้าด้วยตัวเองและหาตลาดที่เป็นช่องทางของตนเองได้ ทำให้เราเริ่มมั่นใจว่าสวนกาแฟของสมาชิกเราจะไม่ไหลกลับไปสู่วงจรรูปแบบอุตสาหกรรมเดิมๆ เพราะทุกคนมีความเชื่อมั่นที่จะทำกาแฟแบบคุณภาพสูงได้ถึงแม้ว่ามันจะได้ปริมาณไม่มาก แต่เกษตรกรทำมันด้วยความใส่ใจสร้างคุณค่าให้กับกาแฟที่เราปลูกได้ ทำให้ผลผลิตของเรามีคุณภาพ มีมาตรฐานเดียวกัน สุดท้ายสินค้าก็จะมีราคาด้วยตัวของมันเอง"
“เดี๋ยวนี้เกษตรกรรุ่นใหม่เขามีความตั้งใจมากในการพัฒนาสินค้า และก็ไม่ได้สนใจที่ตัวเงินอย่างเดียวเสมอไป เขาเริ่มหันมาใส่ใจโลก สิ่งแวดล้อม ไม่ได้ปลูกเพื่อเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมแบบคนรุ่นก่อนซึ่งเรามองว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อวงการกาแฟบ้านเราในอนาคต ไม่แน่นะ!…เราอาจจะเห็นเมืองหลวงของกาแฟโรบัสต้าอยู่ที่จังหวัดชุมพรก็เป็นไปได้”