คาเฟ่มินิมอล บานเลื่อน สุนทรียะ และความยั่งยืนของการอยู่อาศัย : คุยกับ อาจารย์ชัยยศ อิษฏ์วรพันธ์

คาเฟ่มินิมอล บานเลื่อน สุนทรียะ และความยั่งยืนของการอยู่อาศัย : คุยกับ อาจารย์ชัยยศ อิษฏ์วรพันธ์

21 มี.ค. 2567

SHARE WITH:

21 มี.ค. 2567

21 มี.ค. 2567

SHARE WITH:

SHARE WITH:

คาเฟ่มินิมอล บานเลื่อน สุนทรียะ และความยั่งยืนของการอยู่อาศัย : คุยกับ อาจารย์ชัยยศ อิษฏ์วรพันธ์

“ผมชอบนั่งร้านกาแฟมินิมอลหรือสไตล์ญี่ปุ่นพวกนี้ มันมีลักษณะที่เหมาะสม มีแสงที่ดี เราชอบนั่งอ่านหนังสือ แต่ผมอยากให้คิดในแง่มุมเรื่องความงามกันให้มากๆ ขอให้มองให้เห็นจริงๆ ว่างามยังไง คือมันมีมุมที่หลากหลาย แล้วก็ทำให้มันมีความละเอียดอิ่มตัวในตัวเอง อิ่มตัวในองค์ความรู้ ศึกษาให้ลึกซึ้งขึ้น หรือสั่งซื้อหนังสือ ‘เรือนญี่ปุ่น’ ไปอ่านดีไหม”

ชัยยศ อิษฏ์วรพันธ์ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญศิลปะและสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น ให้ทรรศนะถึงคาเฟ่สไตล์ญี่ปุ่นยุคใหม่ที่เป็นกระแสตลอดช่วงเกือบสิบปีที่ผ่านมาแบบแอบติดตลกเล็กน้อย เพราะจริงๆ หนังสือไม่มีขายแล้ว

“แล้วที่ผมชอบมากในฐานะผู้ใหญ่ก็คือ ร้านเหล่านี้คนรุ่นเด็กไปทำกัน เรียนจบก็ไปเปิดร้านกาแฟ แล้วก็ทำอาหารอร่อย ทำขนมปังทำเค้กกินกัน ผมว่ามันดีแง่ที่ว่า ถ้าคนรุ่นหนึ่งเขาอยากใช้ชีวิตแบบนี้มันก็ถูกแล้ว มันคือคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับเขา เราเป็นอีกรุ่นหนึ่งก็ซัพพอร์ตเท่าที่เป็นไปได้”

ความงามจากความเงียบ และความเคารพ คือคีย์เวิร์ดหลักที่เราจับได้ตลอดบทสนทนาครั้งนี้ และเป็นคำที่บอกเล่าสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมกับความรู้สึก ซึ่งทำให้สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นยังคงร่วมสมัยแม้กาลเวลาจะเปลี่ยนผ่าน หรือเทคโนโลยีการก่อสร้างจะเปลี่ยนแปลง

 

บานเลื่อน : ความงามที่เกิดจากความเงียบ

พวกเราใช้งานประตูหรือหน้าต่างบานเลื่อนกันเป็นเรื่องปกติ เรียกว่าเกิดมาก็เห็นหน้าต่างหรือหน้าบานแบบนี้แล้ว แต่นี่คือสิ่งที่ อาจารย์บอกกับเราว่า เป็นสมบัติดั้งเดิมของสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นที่น่าทึ่งและยังคงใช้งานกันยาวนานจนถึงปัจจุบัน

“เรื่องมันเกิดขึ้นประมาณพันปีที่แล้ว” อาจารย์เริ่มต้นเล่า “สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นแต่เดิมยังใช้บานกระทุ้งเหมือนบานจีน ตัวอาคารเป็นโครงสร้างไม้ทั้งหมด มีกรอบช่องตัดไม้ช่องประตูเป็นเสาคู่แล้วก็ใส่หน้าต่างแบบบานเข้าไป เวลาเปิดก็ใช้ไม้ค้ำ วันดีคืนดีมีคนไปคิดเซาะร่องไม้ตามยาวใส่บานเข้าไป เลยเกิดเป็นบานเลื่อนขึ้นมา กลายเป็นรายละเอียดที่บอกว่า นี่คือสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นที่ชัดเจนที่สุด”

คำถามสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่า บานเลื่อนคิดขึ้นมาได้อย่างไร แต่อยู่ตรงที่ว่ารายละะเอียดพวกนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนญี่ปุ่น หรือแม้แต่คนทั่วโลก

สำหรับผม สิ่งหนึ่งที่ผมชอบมากที่สุดในสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นก็คือ เวลาเราเลื่อนบานเลื่อน เราต้องตั้งสติระดับหนึ่ง ช่างญี่ปุ่นเขาประณีต เวลาเลื่อนจะมีเสียงเบาๆ ผมว่าสิ่งนี้แหละคือ สุนทรียะที่มันเป็นญี่ปุ่นจริงๆ ถ้าให้พูดในเชิงความงาม ไม่ว่าองค์ประกอบสถาปัตยกรรมจะคลี่คลายไปเป็นรูปแบบใดก็ตาม แต่สุนทรียะที่เกิดขึ้นจากความเงียบและเสียงเบาๆ สติและจิตใจระหว่างการใช้งานอย่างระมัดระวัง นี่แหละที่ควรจะรักษาเอาไว้ให้ยั่งยืน”

ความเงียบ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบทางพื้นที่ “ถ้าพื้นที่เงียบไปเลยคนอาจจะไม่ค่อยตระหนักเท่าไหร่ว่าเงียบ แต่ถ้ามีเสียงเป็นครั้งคราว เช่น เสียงนกร้องจากภูเขาไกลๆ ทำให้ความเงียบมีตัวเปรียบเทียบ และทำให้เราเกิดความรับรู้ในพื้นที่ว่าตำแหน่งที่เรานั่งเชื่อมต่อไปจนถึงภูเขาไกลๆ ที่เสียงนกร้องดังมา ที่บางทีเราเห็นแค่เป็นเงาลิบๆ หรือบางทีอาจจะไม่เห็นด้วยซ้ำ”

ถ้าพูดถึงญี่ปุ่น เรามักจะคิดถึงสวนญี่ปุ่นหรือการชงชา ทั้งสองต่างก็มีความเงียบเป็นองค์ประกอบหนึ่งเช่นกัน ผู้คนพากันไปดื่มด่ำกับความเงียบ และรักษามารยาทเรื่องนี้อย่างยิ่ง “อย่างการชงชาที่สืบทอดกันมาหลายร้อยปี คนก็ไปเอ็นจอยกับความเงียบ เสียงเบาๆ ของน้ำเดือด ถ่านไฟก้อนเล็กๆ ปะทุ ห้องที่เงียบสงัด ผมว่านี่เป็นหนึ่งในกุญแจของความงามแบบญี่ปุ่นที่น่าสนใจ”

“จริงๆ รายละเอียดความงามนี่มีเป็นร้อยเป็นพันนะ แต่ผมยกตัวอย่างว่า สุนทรียะจากสภาวะแบบนี้มันคือหนึ่งในสิ่งที่จับใจผม และเป็นส่วนหนึ่งของคาแรกเตอร์ทางความงามที่เราสนใจที่สุดในสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น

 

ความเคารพ : ใส่หัวใจในทุกขณะ

ตัดภาพกลับมา ณ สถานที่ที่เรากำลังสัมภาษณ์อาจารย์ ที่นี่เป็นออฟฟิศของภรรยาที่แม้จะอยู่ในอุณหภูมิสามสิบกว่าองศา แต่ก็ยังอยู่สบาย ความเงียบที่มีเสียงน้ำซ่านกระเซ็นเบาๆ เป็นระยะ ทอดสายตาเห็นสวนสีเขียวและสวนหินที่มองไม่เบื่อ

“คนทั่วไป เราก็ชอบสีเขียว เอ็นจอยเสียงน้ำ เห็นเงาน้ำไหวเบาๆ นี่คือเรื่องที่มีความสุข เรื่องที่ดีที่สุดของชีวิตอยู่แล้ว อย่างออฟฟิศนี้เวลาประชุมแล้วมองออกไปเห็นเงาน้ำกับสีเขียว มันช่วยได้มากๆ เลยนะ นอกจากเรื่องนี้ ตอนที่ผมออกแบบก่อสร้างสวนนี้ ด้านหนึ่งที่เราคิดก็คือเรื่ององค์ประกอบศิลป์ บาลานซ์ซ้ายขวา อะไรพวกนี้ แต่จริงๆ ที่ผมคิดอยู่ตลอดอีกเรื่องหนึ่งก็คือ มันมีเรื่องที่เราเรียกว่า ความเคารพ อยู่”

ถึงคำนี้จะฟังดูเหมือนคำเคร่งครัด แต่เรื่องนี้ถูกปลูกฝังกับพวกเราและเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอยู่เสมอ และเช่นเดียวกันกับสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น ที่คำนี้เหมือนเป็นหัวใจที่แฝงอยู่ในทุกองค์ประกอบ และเป็นส่วนสำคัญของการอนุรักษ์ที่ทำให้ ‘ความเป็นญี่ปุ่น’ อย่างที่เราเห็น สัมผัส และเข้าใจ ยังคงสืบทอดยืนยาวมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งไม่ใช่แค่ความเคารพในบุคคลอย่างเดียว

“ความเคารพสิ่งของบางอย่าง อย่างก้อนหินในสวนญี่ปุ่น เขาถือว่ามีชีวิตในตัวเอง ก้อนหินก้อนนึง เราจะไปจับเขาพลิกคว่ำพลิกหงายไม่ได้ เวลาเราทำสวนญี่ปุ่น เราต้องดูว่าหัวอยู่ตรงไหน ขาอยู่ตรงไหน แล้วเราจะวางเขายังไง ถ้าพูดแบบคนดั้งเดิมห้าหกร้อยปีที่แล้ว เขาบอกว่าจะทำให้เกิดโชคร้ายกับชีวิต หน้าที่การงานไม่ดี แต่ถ้ามองแบบคนสมัยใหม่ มันคือการใส่ใจกับสิ่งที่กระทั่งดูเหมือนไม่มีชีวิต นี่คือกุญแจเลยว่าทำไมญี่ปุ่นถึงรักษาสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติไว้ได้เยอะ

“อย่างเรื่องป่าไม้ ก็เหมือนกับชาวกะเหรี่ยงที่มีเทพรักษาต้นน้ำ นั่นคือชีวิตของเขา หรือต้นไม้บางต้นที่อยู่ยาวเป็นหลักหลายร้อยปี คุณเชื่อเรื่องเหล่านี้หรือเปล่าเป็นเรื่องนึง แต่ถ้าผมเปลี่ยนมาเป็นว่าถ้าคุณเคารพก้อนหิน เคารพต้นไม้ขึ้นมา เวลาผมไปศาลอิเสะ (Ise Shrine) เคยเห็นคุณป้าคนญี่ปุ่นเจอต้นไม้ใหญ่ เขาจะเอาแก้มไปแนบเพื่อรับพลังจากต้นไม้ ด้วยความเคารพแบบนี้ คุณจะรักษาธรรมชาติไว้ได้และทำให้คุณมีชีวิตอย่างมีคุณภาพ ผมว่าอันนี้เป็นคีย์เวิร์ดที่ง่ายมากที่ช่วยในการจัดการสภาพแวดล้อม”

หรือแม้แต่ความเคารพในสถานที่หรือพื้นที่ใช้งาน ก็เป็นหัวใจที่ใช้ได้กับทุกที่ทุกเวลา อาจารย์ยกตัวอย่างเรียวคังที่เคยไปนอนในโตเกียว “ความสะอาด เป็นหัวใจอันหนึ่งของวัฒนธรรมญี่ปุ่น เวลาเขาทำความสะอาด เขาถูด้วยผ้าขนหนูทุกซอกทุกมุม ละเอียดมาก ถูสามมิติ แล้วมันก็นำมาซึ่งสุนทรียะ พัฒนาไปสู่ความเข้าใจอะไรบางอย่าง และต่อยอดให้มันกลายเป็นตัวเราเองได้ด้วย โดยไม่จำเป็นที่ต้องเลียนแบบไปตลอด”

 

ความยั่งยืนของวิถีชีวิตเริ่มจากเรื่องใกล้ตัว

“พูดแบบกว้างๆ การเรียนรู้วัฒนธรรมจากแหล่งอื่นก็เป็นสิ่งที่มนุษย์ทั่วโลกก็ทำกันนั่นแหละ มันไม่มีอะไรแท้หรือไม่แท้นะ” อยู่ที่ว่าเราจะหยิบจุดไหนมาใช้และประยุกต์ให้เหมาะกับเรามากที่สุดก็แค่นั้นเอง

อาจารย์ยกตัวอย่างให้เราเห็นผ่านโครงการการทำสีจากธรรมชาติที่ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น

“สีที่เราใช้ในงานทำงานศิลปะทุกวันนี้มันเป็นสารสังเคราะห์ร้อยเปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เป็นธรรมชาติน้อยมาก อาจารย์ท่านนึงเลยสนใจที่ใช้หินญี่ปุ่นมาบดเป็นสี หินนี่คือหินแบบที่เดินออกไปเจอหน้าบ้านหรือที่ไหนก็ตามแล้วหยิบมาบดเลย ใส่กาวลงไป ก็ได้วัตถุดิบสำหรับระบายสี ซึ่งผมว่ามันน่าสนใจมาก ผมเลยยืมความคิดของเขามาต่อยอดเป็นโครงการวิจัยของตัวเอง และเปิดเวิร์กชอปไปหลายครั้งแล้ว แต่เราใช้หินไทย”

“ผมทดลองบดหินจากหลายๆ แหล่ง แล้วมันก็ได้เนื้อสีที่น่าสนใจ ซึ่งมันอาจจะเกิดคำถามสำหรับนักสร้างสรรค์ในปัจจุบันว่า แล้วสีพวกนี้จะทนหรือเปล่า ความจริงเรื่องนี้มันตอบได้นะ เพราะจิตรกรรมบางชิ้นในจีนหรือญี่ปุ่นมีอายุเป็นพันปีแล้ว ด้วยเทคนิคที่ดี เนื้อสีที่ดี มีกาวที่เหมาะสม มีพื้นรองรับที่ดี มันอยู่ได้ไปถึงพันปี ดังนั้นในทางกลับกัน ถ้าการรักษาจิตรกรรมมันดีพอ แทนที่สีจะซีดลงแบบสีสังเคราะห์ทางอุตสาหกรรม กลายเป็นว่าสีกลับจะชัดขึ้น”

อาจารย์ขยายความจากโครงการวิจัยมาสู่การปลูกฝังเรื่องศิลปะให้เข้ามาใกล้ตัวเยาวชนและผู้คนมากขึ้น “ถ้าเราตัดคำว่าไทยหรือญี่ปุ่นออกไป มันคือจิตรกรรมที่เราทดลองว่า เราทำอย่างไรจึงจะมีสีที่เราผลิตกับธรรมชาติแล้วยั่งยืน ซึ่งมันสนุกนะเวลาไปทำกิจกรรมกับเด็ก ให้เขาลองเอาหินก้อนเล็กๆ บดสีออกมา แล้วใช้สีนั้นระบายเอง มันได้ในแง่ของการปลูกฝังทัศนคติที่เขาจะเรียนรู้ได้ว่า เขาสามารถทำอะไรแบบนี้ได้ด้วยตัวเอง”

จากความยั่งยืนที่เพาะบ่มในตัวบุคคลและไลฟ์สไตล์ ฉายภาพมาสู่ระดับเมือง อาจารย์ยกเคสของเกียวโตเป็นกรณีศึกษาในเรื่องการรักษาเมืองเก่าให้ยาวนานมาจนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวไฮไลต์เช่นในทุกวันนี้ ด้วยคำถามที่ว่า ‘อะไรกันแน่ที่เราอยากจะรักษาไว้’

“เกียวโตเป็นหนึ่งในเมืองที่ผมรักที่สุด เขาก็มีปัญหาของเขานะ ทุกวันนี้พวกบ้านหรือเรือนไม้ต่างๆ ที่เราเห็นกัน ที่รักษาไว้ได้ก็โชคดีไป แต่ก็จะเห็นอาคารสมัยใหม่เต็มไปหมด อย่างที่อาจารย์ผู้ใหญ่หลายท่านใช้คำว่าเป็นสัตว์ประหลาด อย่างเกียวโตทาวเวอร์ ตอนจะสร้างคนเกียวโตเขาก็ประท้วงกันแต่ไม่สำเร็จ ทุกวันนี้ผ่านไป 40-50 ปี กลายเป็นสัญลักษณ์ของเมืองไปซะงั้น”

“ความจริงอันนี้เป็นโจทย์มาตรฐานนะ เก่าขนาดไหนที่คุณจะอนุรักษ์ เพราะถ้าทุกวันนี้จะทุบเกียวโตทาวเวอร์ ผมว่าจะมีคนเสนอแล้วนะว่าต้องอนุรักษ์ มันก็ชวนคิดไปถึงไอเดียที่เรียกว่าอนุรักษ์ เพราะเรามองว่ามันคือส่วนหนึ่งของความยั่งยืนในเชิงสภาพแวดล้อมของสถาปัตยกรรมใช่ไหม หรือแม้แต่เมืองเล็กเมืองน้อยที่ทำขึ้นมาแล้วปัจจุบันมันสวยงาม พวกนั้นมันก็รื้อฟื้นเพื่อตอบรับเรื่องการท่องเที่ยว น้อยมากที่จะรักษาพื้นฐานดั้งเดิมเอาไว้”

“หรืออย่างวัดไซโฮจิ (Saihoji) ที่เกียวโตเขาก็เจอโจทย์นะ เพราะที่ตั้งของเขาอยู่บริเวณเชิงเขาที่ความชื้นกับแดดพอดี แล้วด้วยวิธีการออกแบบวัด ทำให้มีมอสส์ขึ้นเต็มเลย แล้วคนก็ชอบที่จะไปเช็คอินกัน แต่มอสส์เนี่ยเซนซิทีฟมากกับปริมาณคนที่เดินเข้าไป ตั้งแต่ปี 1972 เลยต้องเปลี่ยนวิธีการรับคนให้จำกัดเป็นรอบ วันละ 2 รอบ รอบละ 20-30 คน เพื่อจะรักษาอาณาบริเวณไว้ ซึ่งผมว่ายากเหมือนกันสำหรับโจทย์ในปัจจุบัน แต่เพราะอะไรที่ทำให้เขารักษาไว้ได้ เพราะเป็นพื้นที่เล็กๆ”

ถ้าเป็นระดับเมือง หลายโจทย์ก็ยังขัดแย้งกันไม่จบไม่สิ้น อาจารย์ชวนกลับให้มามองภาพในบ้านเราเอง “ผมว่าหนึ่งในโครงการที่ประสบความสำเร็จของประเทศไทยเท่าที่ผมรู้ คือที่น่านกับสงขลา แต่บอกไว้ก่อนว่าผมไม่ค่อยได้ตามข่าว อาจจะมีที่อื่นที่ดีอีกเยอะ”


“ผมค่อนข้างมีความสุขนะที่เห็นคนไทยเดินทางกันเยอะๆ” อาจารย์ชัยยศทิ้งท้าย “ผมว่าการได้เรียนรู้มันดี คือเขาได้เห็นอะไรที่สวยงาม สงบ แล้วก็ต้องย้อนกลับมาคิดว่า ทำไมของเรามันอุตลุดแบบนี้ มันมีผลมากในการที่จะย้อนกลับมาคิด และปรับตัวเพื่อให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ”


“ผมชอบนั่งร้านกาแฟมินิมอลหรือสไตล์ญี่ปุ่นพวกนี้ มันมีลักษณะที่เหมาะสม มีแสงที่ดี เราชอบนั่งอ่านหนังสือ แต่ผมอยากให้คิดในแง่มุมเรื่องความงามกันให้มากๆ ขอให้มองให้เห็นจริงๆ ว่างามยังไง คือมันมีมุมที่หลากหลาย แล้วก็ทำให้มันมีความละเอียดอิ่มตัวในตัวเอง อิ่มตัวในองค์ความรู้ ศึกษาให้ลึกซึ้งขึ้น หรือสั่งซื้อหนังสือ ‘เรือนญี่ปุ่น’ ไปอ่านดีไหม”

ชัยยศ อิษฏ์วรพันธ์ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญศิลปะและสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น ให้ทรรศนะถึงคาเฟ่สไตล์ญี่ปุ่นยุคใหม่ที่เป็นกระแสตลอดช่วงเกือบสิบปีที่ผ่านมาแบบแอบติดตลกเล็กน้อย เพราะจริงๆ หนังสือไม่มีขายแล้ว

“แล้วที่ผมชอบมากในฐานะผู้ใหญ่ก็คือ ร้านเหล่านี้คนรุ่นเด็กไปทำกัน เรียนจบก็ไปเปิดร้านกาแฟ แล้วก็ทำอาหารอร่อย ทำขนมปังทำเค้กกินกัน ผมว่ามันดีแง่ที่ว่า ถ้าคนรุ่นหนึ่งเขาอยากใช้ชีวิตแบบนี้มันก็ถูกแล้ว มันคือคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับเขา เราเป็นอีกรุ่นหนึ่งก็ซัพพอร์ตเท่าที่เป็นไปได้”

ความงามจากความเงียบ และความเคารพ คือคีย์เวิร์ดหลักที่เราจับได้ตลอดบทสนทนาครั้งนี้ และเป็นคำที่บอกเล่าสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมกับความรู้สึก ซึ่งทำให้สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นยังคงร่วมสมัยแม้กาลเวลาจะเปลี่ยนผ่าน หรือเทคโนโลยีการก่อสร้างจะเปลี่ยนแปลง

 

บานเลื่อน : ความงามที่เกิดจากความเงียบ

พวกเราใช้งานประตูหรือหน้าต่างบานเลื่อนกันเป็นเรื่องปกติ เรียกว่าเกิดมาก็เห็นหน้าต่างหรือหน้าบานแบบนี้แล้ว แต่นี่คือสิ่งที่ อาจารย์บอกกับเราว่า เป็นสมบัติดั้งเดิมของสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นที่น่าทึ่งและยังคงใช้งานกันยาวนานจนถึงปัจจุบัน

“เรื่องมันเกิดขึ้นประมาณพันปีที่แล้ว” อาจารย์เริ่มต้นเล่า “สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นแต่เดิมยังใช้บานกระทุ้งเหมือนบานจีน ตัวอาคารเป็นโครงสร้างไม้ทั้งหมด มีกรอบช่องตัดไม้ช่องประตูเป็นเสาคู่แล้วก็ใส่หน้าต่างแบบบานเข้าไป เวลาเปิดก็ใช้ไม้ค้ำ วันดีคืนดีมีคนไปคิดเซาะร่องไม้ตามยาวใส่บานเข้าไป เลยเกิดเป็นบานเลื่อนขึ้นมา กลายเป็นรายละเอียดที่บอกว่า นี่คือสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นที่ชัดเจนที่สุด”

คำถามสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่า บานเลื่อนคิดขึ้นมาได้อย่างไร แต่อยู่ตรงที่ว่ารายละะเอียดพวกนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนญี่ปุ่น หรือแม้แต่คนทั่วโลก

สำหรับผม สิ่งหนึ่งที่ผมชอบมากที่สุดในสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นก็คือ เวลาเราเลื่อนบานเลื่อน เราต้องตั้งสติระดับหนึ่ง ช่างญี่ปุ่นเขาประณีต เวลาเลื่อนจะมีเสียงเบาๆ ผมว่าสิ่งนี้แหละคือ สุนทรียะที่มันเป็นญี่ปุ่นจริงๆ ถ้าให้พูดในเชิงความงาม ไม่ว่าองค์ประกอบสถาปัตยกรรมจะคลี่คลายไปเป็นรูปแบบใดก็ตาม แต่สุนทรียะที่เกิดขึ้นจากความเงียบและเสียงเบาๆ สติและจิตใจระหว่างการใช้งานอย่างระมัดระวัง นี่แหละที่ควรจะรักษาเอาไว้ให้ยั่งยืน”

ความเงียบ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบทางพื้นที่ “ถ้าพื้นที่เงียบไปเลยคนอาจจะไม่ค่อยตระหนักเท่าไหร่ว่าเงียบ แต่ถ้ามีเสียงเป็นครั้งคราว เช่น เสียงนกร้องจากภูเขาไกลๆ ทำให้ความเงียบมีตัวเปรียบเทียบ และทำให้เราเกิดความรับรู้ในพื้นที่ว่าตำแหน่งที่เรานั่งเชื่อมต่อไปจนถึงภูเขาไกลๆ ที่เสียงนกร้องดังมา ที่บางทีเราเห็นแค่เป็นเงาลิบๆ หรือบางทีอาจจะไม่เห็นด้วยซ้ำ”

ถ้าพูดถึงญี่ปุ่น เรามักจะคิดถึงสวนญี่ปุ่นหรือการชงชา ทั้งสองต่างก็มีความเงียบเป็นองค์ประกอบหนึ่งเช่นกัน ผู้คนพากันไปดื่มด่ำกับความเงียบ และรักษามารยาทเรื่องนี้อย่างยิ่ง “อย่างการชงชาที่สืบทอดกันมาหลายร้อยปี คนก็ไปเอ็นจอยกับความเงียบ เสียงเบาๆ ของน้ำเดือด ถ่านไฟก้อนเล็กๆ ปะทุ ห้องที่เงียบสงัด ผมว่านี่เป็นหนึ่งในกุญแจของความงามแบบญี่ปุ่นที่น่าสนใจ”

“จริงๆ รายละเอียดความงามนี่มีเป็นร้อยเป็นพันนะ แต่ผมยกตัวอย่างว่า สุนทรียะจากสภาวะแบบนี้มันคือหนึ่งในสิ่งที่จับใจผม และเป็นส่วนหนึ่งของคาแรกเตอร์ทางความงามที่เราสนใจที่สุดในสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น

 

ความเคารพ : ใส่หัวใจในทุกขณะ

ตัดภาพกลับมา ณ สถานที่ที่เรากำลังสัมภาษณ์อาจารย์ ที่นี่เป็นออฟฟิศของภรรยาที่แม้จะอยู่ในอุณหภูมิสามสิบกว่าองศา แต่ก็ยังอยู่สบาย ความเงียบที่มีเสียงน้ำซ่านกระเซ็นเบาๆ เป็นระยะ ทอดสายตาเห็นสวนสีเขียวและสวนหินที่มองไม่เบื่อ

“คนทั่วไป เราก็ชอบสีเขียว เอ็นจอยเสียงน้ำ เห็นเงาน้ำไหวเบาๆ นี่คือเรื่องที่มีความสุข เรื่องที่ดีที่สุดของชีวิตอยู่แล้ว อย่างออฟฟิศนี้เวลาประชุมแล้วมองออกไปเห็นเงาน้ำกับสีเขียว มันช่วยได้มากๆ เลยนะ นอกจากเรื่องนี้ ตอนที่ผมออกแบบก่อสร้างสวนนี้ ด้านหนึ่งที่เราคิดก็คือเรื่ององค์ประกอบศิลป์ บาลานซ์ซ้ายขวา อะไรพวกนี้ แต่จริงๆ ที่ผมคิดอยู่ตลอดอีกเรื่องหนึ่งก็คือ มันมีเรื่องที่เราเรียกว่า ความเคารพ อยู่”

ถึงคำนี้จะฟังดูเหมือนคำเคร่งครัด แต่เรื่องนี้ถูกปลูกฝังกับพวกเราและเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอยู่เสมอ และเช่นเดียวกันกับสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น ที่คำนี้เหมือนเป็นหัวใจที่แฝงอยู่ในทุกองค์ประกอบ และเป็นส่วนสำคัญของการอนุรักษ์ที่ทำให้ ‘ความเป็นญี่ปุ่น’ อย่างที่เราเห็น สัมผัส และเข้าใจ ยังคงสืบทอดยืนยาวมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งไม่ใช่แค่ความเคารพในบุคคลอย่างเดียว

“ความเคารพสิ่งของบางอย่าง อย่างก้อนหินในสวนญี่ปุ่น เขาถือว่ามีชีวิตในตัวเอง ก้อนหินก้อนนึง เราจะไปจับเขาพลิกคว่ำพลิกหงายไม่ได้ เวลาเราทำสวนญี่ปุ่น เราต้องดูว่าหัวอยู่ตรงไหน ขาอยู่ตรงไหน แล้วเราจะวางเขายังไง ถ้าพูดแบบคนดั้งเดิมห้าหกร้อยปีที่แล้ว เขาบอกว่าจะทำให้เกิดโชคร้ายกับชีวิต หน้าที่การงานไม่ดี แต่ถ้ามองแบบคนสมัยใหม่ มันคือการใส่ใจกับสิ่งที่กระทั่งดูเหมือนไม่มีชีวิต นี่คือกุญแจเลยว่าทำไมญี่ปุ่นถึงรักษาสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติไว้ได้เยอะ

“อย่างเรื่องป่าไม้ ก็เหมือนกับชาวกะเหรี่ยงที่มีเทพรักษาต้นน้ำ นั่นคือชีวิตของเขา หรือต้นไม้บางต้นที่อยู่ยาวเป็นหลักหลายร้อยปี คุณเชื่อเรื่องเหล่านี้หรือเปล่าเป็นเรื่องนึง แต่ถ้าผมเปลี่ยนมาเป็นว่าถ้าคุณเคารพก้อนหิน เคารพต้นไม้ขึ้นมา เวลาผมไปศาลอิเสะ (Ise Shrine) เคยเห็นคุณป้าคนญี่ปุ่นเจอต้นไม้ใหญ่ เขาจะเอาแก้มไปแนบเพื่อรับพลังจากต้นไม้ ด้วยความเคารพแบบนี้ คุณจะรักษาธรรมชาติไว้ได้และทำให้คุณมีชีวิตอย่างมีคุณภาพ ผมว่าอันนี้เป็นคีย์เวิร์ดที่ง่ายมากที่ช่วยในการจัดการสภาพแวดล้อม”

หรือแม้แต่ความเคารพในสถานที่หรือพื้นที่ใช้งาน ก็เป็นหัวใจที่ใช้ได้กับทุกที่ทุกเวลา อาจารย์ยกตัวอย่างเรียวคังที่เคยไปนอนในโตเกียว “ความสะอาด เป็นหัวใจอันหนึ่งของวัฒนธรรมญี่ปุ่น เวลาเขาทำความสะอาด เขาถูด้วยผ้าขนหนูทุกซอกทุกมุม ละเอียดมาก ถูสามมิติ แล้วมันก็นำมาซึ่งสุนทรียะ พัฒนาไปสู่ความเข้าใจอะไรบางอย่าง และต่อยอดให้มันกลายเป็นตัวเราเองได้ด้วย โดยไม่จำเป็นที่ต้องเลียนแบบไปตลอด”

 

ความยั่งยืนของวิถีชีวิตเริ่มจากเรื่องใกล้ตัว

“พูดแบบกว้างๆ การเรียนรู้วัฒนธรรมจากแหล่งอื่นก็เป็นสิ่งที่มนุษย์ทั่วโลกก็ทำกันนั่นแหละ มันไม่มีอะไรแท้หรือไม่แท้นะ” อยู่ที่ว่าเราจะหยิบจุดไหนมาใช้และประยุกต์ให้เหมาะกับเรามากที่สุดก็แค่นั้นเอง

อาจารย์ยกตัวอย่างให้เราเห็นผ่านโครงการการทำสีจากธรรมชาติที่ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น

“สีที่เราใช้ในงานทำงานศิลปะทุกวันนี้มันเป็นสารสังเคราะห์ร้อยเปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เป็นธรรมชาติน้อยมาก อาจารย์ท่านนึงเลยสนใจที่ใช้หินญี่ปุ่นมาบดเป็นสี หินนี่คือหินแบบที่เดินออกไปเจอหน้าบ้านหรือที่ไหนก็ตามแล้วหยิบมาบดเลย ใส่กาวลงไป ก็ได้วัตถุดิบสำหรับระบายสี ซึ่งผมว่ามันน่าสนใจมาก ผมเลยยืมความคิดของเขามาต่อยอดเป็นโครงการวิจัยของตัวเอง และเปิดเวิร์กชอปไปหลายครั้งแล้ว แต่เราใช้หินไทย”

“ผมทดลองบดหินจากหลายๆ แหล่ง แล้วมันก็ได้เนื้อสีที่น่าสนใจ ซึ่งมันอาจจะเกิดคำถามสำหรับนักสร้างสรรค์ในปัจจุบันว่า แล้วสีพวกนี้จะทนหรือเปล่า ความจริงเรื่องนี้มันตอบได้นะ เพราะจิตรกรรมบางชิ้นในจีนหรือญี่ปุ่นมีอายุเป็นพันปีแล้ว ด้วยเทคนิคที่ดี เนื้อสีที่ดี มีกาวที่เหมาะสม มีพื้นรองรับที่ดี มันอยู่ได้ไปถึงพันปี ดังนั้นในทางกลับกัน ถ้าการรักษาจิตรกรรมมันดีพอ แทนที่สีจะซีดลงแบบสีสังเคราะห์ทางอุตสาหกรรม กลายเป็นว่าสีกลับจะชัดขึ้น”

อาจารย์ขยายความจากโครงการวิจัยมาสู่การปลูกฝังเรื่องศิลปะให้เข้ามาใกล้ตัวเยาวชนและผู้คนมากขึ้น “ถ้าเราตัดคำว่าไทยหรือญี่ปุ่นออกไป มันคือจิตรกรรมที่เราทดลองว่า เราทำอย่างไรจึงจะมีสีที่เราผลิตกับธรรมชาติแล้วยั่งยืน ซึ่งมันสนุกนะเวลาไปทำกิจกรรมกับเด็ก ให้เขาลองเอาหินก้อนเล็กๆ บดสีออกมา แล้วใช้สีนั้นระบายเอง มันได้ในแง่ของการปลูกฝังทัศนคติที่เขาจะเรียนรู้ได้ว่า เขาสามารถทำอะไรแบบนี้ได้ด้วยตัวเอง”

จากความยั่งยืนที่เพาะบ่มในตัวบุคคลและไลฟ์สไตล์ ฉายภาพมาสู่ระดับเมือง อาจารย์ยกเคสของเกียวโตเป็นกรณีศึกษาในเรื่องการรักษาเมืองเก่าให้ยาวนานมาจนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวไฮไลต์เช่นในทุกวันนี้ ด้วยคำถามที่ว่า ‘อะไรกันแน่ที่เราอยากจะรักษาไว้’

“เกียวโตเป็นหนึ่งในเมืองที่ผมรักที่สุด เขาก็มีปัญหาของเขานะ ทุกวันนี้พวกบ้านหรือเรือนไม้ต่างๆ ที่เราเห็นกัน ที่รักษาไว้ได้ก็โชคดีไป แต่ก็จะเห็นอาคารสมัยใหม่เต็มไปหมด อย่างที่อาจารย์ผู้ใหญ่หลายท่านใช้คำว่าเป็นสัตว์ประหลาด อย่างเกียวโตทาวเวอร์ ตอนจะสร้างคนเกียวโตเขาก็ประท้วงกันแต่ไม่สำเร็จ ทุกวันนี้ผ่านไป 40-50 ปี กลายเป็นสัญลักษณ์ของเมืองไปซะงั้น”

“ความจริงอันนี้เป็นโจทย์มาตรฐานนะ เก่าขนาดไหนที่คุณจะอนุรักษ์ เพราะถ้าทุกวันนี้จะทุบเกียวโตทาวเวอร์ ผมว่าจะมีคนเสนอแล้วนะว่าต้องอนุรักษ์ มันก็ชวนคิดไปถึงไอเดียที่เรียกว่าอนุรักษ์ เพราะเรามองว่ามันคือส่วนหนึ่งของความยั่งยืนในเชิงสภาพแวดล้อมของสถาปัตยกรรมใช่ไหม หรือแม้แต่เมืองเล็กเมืองน้อยที่ทำขึ้นมาแล้วปัจจุบันมันสวยงาม พวกนั้นมันก็รื้อฟื้นเพื่อตอบรับเรื่องการท่องเที่ยว น้อยมากที่จะรักษาพื้นฐานดั้งเดิมเอาไว้”

“หรืออย่างวัดไซโฮจิ (Saihoji) ที่เกียวโตเขาก็เจอโจทย์นะ เพราะที่ตั้งของเขาอยู่บริเวณเชิงเขาที่ความชื้นกับแดดพอดี แล้วด้วยวิธีการออกแบบวัด ทำให้มีมอสส์ขึ้นเต็มเลย แล้วคนก็ชอบที่จะไปเช็คอินกัน แต่มอสส์เนี่ยเซนซิทีฟมากกับปริมาณคนที่เดินเข้าไป ตั้งแต่ปี 1972 เลยต้องเปลี่ยนวิธีการรับคนให้จำกัดเป็นรอบ วันละ 2 รอบ รอบละ 20-30 คน เพื่อจะรักษาอาณาบริเวณไว้ ซึ่งผมว่ายากเหมือนกันสำหรับโจทย์ในปัจจุบัน แต่เพราะอะไรที่ทำให้เขารักษาไว้ได้ เพราะเป็นพื้นที่เล็กๆ”

ถ้าเป็นระดับเมือง หลายโจทย์ก็ยังขัดแย้งกันไม่จบไม่สิ้น อาจารย์ชวนกลับให้มามองภาพในบ้านเราเอง “ผมว่าหนึ่งในโครงการที่ประสบความสำเร็จของประเทศไทยเท่าที่ผมรู้ คือที่น่านกับสงขลา แต่บอกไว้ก่อนว่าผมไม่ค่อยได้ตามข่าว อาจจะมีที่อื่นที่ดีอีกเยอะ”


“ผมค่อนข้างมีความสุขนะที่เห็นคนไทยเดินทางกันเยอะๆ” อาจารย์ชัยยศทิ้งท้าย “ผมว่าการได้เรียนรู้มันดี คือเขาได้เห็นอะไรที่สวยงาม สงบ แล้วก็ต้องย้อนกลับมาคิดว่า ทำไมของเรามันอุตลุดแบบนี้ มันมีผลมากในการที่จะย้อนกลับมาคิด และปรับตัวเพื่อให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ”


Text:

Nathanich C.

Nathanich C.

PHOTO:

Chanathip K.

Chanathip K.

Related Posts