Spacebar Design Studio คอมมิวนิตี้ของคนรักซีนและโชว์รูมของคนทำหนังสืออิสระ
Spacebar Design Studio คอมมิวนิตี้ของคนรักซีนและโชว์รูมของคนทำหนังสืออิสระ
19 มี.ค. 2567
SHARE WITH:
19 มี.ค. 2567
19 มี.ค. 2567
SHARE WITH:
SHARE WITH:
Spacebar Design Studio คอมมิวนิตี้ของคนรักซีนและโชว์รูมของคนทำหนังสืออิสระ
“เราคิดว่าสิ่งสำคัญมากๆ ในการนำเสนอสิ่งพิมพ์คือ ‘Physical Space’ เพราะว่าสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่ต้องได้จับต้องได้สัมผัสรูปลักษณ์ของกระดาษ รูปเล่ม และเลย์เอาต์ต่างๆ มันเป็นสิ่งที่หน้าจอคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีออนไลน์ให้ไม่ได้”
วิว-วิมลพร วิสิทธิ์ หนึ่งในผู้ขับเคลื่อน Spacebar Design Studio เล่าให้เราฟังถึงเหตุผลหลักที่ทำให้สตูดิโอแห่งนี้ หรือที่หลายคนอาจจะรู้จักกันในชื่อ Spacebar Zine กลับมาเปิดหน้าร้านอีกครั้ง ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่ชั้น 4 ของอาคาร The Upperground ละแวกเดียวกับตลาด อ.ต.ก. และตั้งอยู่ไม่ไกลจาก MRT สถานีกำแพงเพชรมากนัก โดยก่อนหน้านั้นสตูดิโอแห่งนี้เคยเปิดสเปซของตัวเองมาแล้วทั้งในย่านสุทธิสารและสุขุมวิท
“หน้าร้านเปิดๆ ปิดๆ ก็จริง แต่ว่าเรายังทำเล่มตลอด ช่วงโควิด เราก็ทำกันที่บ้าน ทีนี้พอผลิตเล่มเยอะขึ้น เรียกว่าเป็นอายุน้อยร้อยเล่ม เราก็เสียดายที่เล่มมันถูกเก็บไว้แค่ในบ้าน บวกกับจริงๆ ก็มีต่างชาติเริ่มกลับมาถามเราเยอะ พอโควิดหมดปุ๊บ เราก็กลับมาเปิดหน้าร้านที่เป็นกึ่งสตูดิโอกึ่งโชว์รูม คือมีโซนที่ขายเล่มที่เราผลิตเองและคัดเลือกมา และก็มี Zine Library ที่เป็นโซน Not for Sale ดิสเพลย์ผลงานศิลปะสิ่งพิมพ์ของเรา ไม่ว่าจะเป็น ซีน อาร์ตบุ๊ก หรืออาร์ตปริ๊นต์ต่างๆ ให้คนเข้ามาดูรูปเล่ม กระดาษ และไอเดียต่างๆ ซึ่งต่อเนื่องไปยังอีกบทบาทของเราที่นิยามตัวเองว่าเป็น ‘Zine Producer’ ที่ให้คำปรึกษา รับทำโปรดักชั่น ผลิต และจัดพิมพ์สำหรับนักวาดนักเขียนที่อยากมีเล่มเป็นของตัวเองด้วย”
ประมาณหนึ่งส่วนสามของหน้าร้านแห่งใหม่นี้เป็นมุมทำงานของวิวและหุ้นส่วนอีกคนคือ ภูภู่-วิศรุต วิสิทธิ์ ที่เหลือคือโต๊ะและเชลฟ์ที่จัดแสดง ‘ซีน’ และ ‘อาร์ตบุ๊ก’ หลากหลายรูปแบบ ทั้งพ็อกเก็ตบุ๊ก หนังสือทำมือเย็บมุงหลังคา หรือกระทั่งที่ไม่ได้อยู่ในรูปลักษณ์หนังสืออย่างที่คุ้นชินกัน อันเป็นผลงานของ Spacebar Design Studio เอง และผลงานคัดสรรจากนักวาดนักเขียนที่เป็น ‘Self-Publisher’ หรือคนทำหนังสืออิสระ ที่สร้างสรรค์และผลิตออกมาเป็นรูปเล่มด้วยตัวเองจากในประเทศและต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และฮ่องกง ที่ทางสตูดิโอได้พบปะทำความรู้จักเมื่อครั้งไปออกงานตามอาร์ตบุ๊กแฟร์ในประเทศต่างๆ นอกจากนี้ก็ยังมีของสะสมอื่นๆ อีกมากมายให้ได้ชมและซื้อกลับบ้าน อย่างโปสเตอร์และแฮนด์บิลหนังต่างๆ ด้วย
ผลงานที่เราเห็นในยามที่ไปเยือนหน้าร้านแห่งนี้ยกตัวอย่างเช่น ซีนของนักดนตรีที่มีคิวอาร์โค้ดให้สแกนฟังดนตรีที่แต่งเพื่อซีนเล่มนี้โดยเฉพาะ สองผลงานซีนของเพจหนัง Vintage Motion อย่าง Back to the 90s ที่ได้รับการออกแบบเป็นกล่องวิดีโอ และ Remember 2000s: Let’s Play Memories ที่หน้าปกสร้างสรรค์เป็นแผ่นวีซีดีสามารถหมุนเล่นได้ ซีนของเซเลบริตี้ชื่อดังมากมาย เช่น ณัฏฐ์ กิจจริต เต๋อ-นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ เจนนิษฐ์ โอ่ประเสริฐ รวมไปถึงป๊อด-โมเดิร์นด็อก ที่มาในซองจดหมายดีไซน์เก๋ บรรจุภาพวาดเท่ๆ ฝีมือของเขาบนใบเสร็จรับเงิน
“สเปซตรงนี้มันมีความกึ่งพับลิกกึ่งไพรเวต เป็นที่ที่เราสามารถนั่งทำงานได้ทุกวัน คนที่จะเข้ามารู้ประมาณหนึ่งแล้วว่าซีนคืออะไรและมีความตั้งใจที่จะมา ผ่านการนัดหมายเข้ามาในวันธรรมดา หรือเข้ามาเสาร์-อาทิตย์ที่เราสแตนด์บายได้ทั้งวัน และตัวพื้นที่ก็มีความโปร่ง มีแสงธรรมชาติเข้าถึง วิวสวย ตอบโจทย์ความต้องการของนักเขียนนักวาดที่เข้ามาคุยโปรเจกต์กับเรา”
คอมมิวนิตี้ของครีเอเตอร์และเซลฟ์พับลิชเชอร์
“จริงๆ เปิดหน้าร้านรอบนี้ไม่ได้คิดเลยว่าย่านนี้ต้องเป็นย่านสร้างสรรค์ เราคิดถึงแค่ หนึ่ง ฐานแฟนเดิมของเราที่สนใจซีน ซึ่งยังมี และสอง กลุ่มครีเอเตอร์หน้าใหม่ที่เขากำลังหาพื้นที่ในการดิสเพลย์งาน”
วิวเล่าให้ฟังว่าช่วงก่อนโควิดคือยุครุ่งเรืองของ Spacebar Design Studio นั่นหมายถึงมีคนให้ความสนใจและสนับสนุนซีนและอาร์ตบุ๊กของร้านอย่างล้นหลาม แต่เมื่อเข้าสู่ยุคโควิด พร้อมๆ กับสภาพเศรษฐกิจย่ำแย่ทั่วโลก แน่นอนว่าย่อมส่งผลต่อจำนวนลูกค้าที่น้อยลงและยอดขายที่ลดลง แต่มีสิ่งหนึ่งที่วิวสังเกตได้ว่าเปลี่ยนแปลงสวนทางกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
“คนที่ซื้อซีนของเราไม่ใช่นักอ่านอย่างเดียวแล้ว เริ่มจะเป็นกลุ่มครีเอเตอร์มากขึ้น เขาอาจจะเคยเป็นนักอ่านแล้วผันตัวเป็นครีเอเตอร์ในภายหลังก็ได้ อันนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับเรา กลายเป็นว่าตลาดสิ่งพิมพ์ตอนนี้มันรันต่อไปได้ด้วยกลุ่มครีเอเตอร์ที่มาช่วยซัพพอร์ตคนในคอมมูนิตี้ซึ่งกันและกัน นี่จึงกลายเป็นเหตุผลที่ว่าจากแต่ก่อนเราอาจจะแค่ไปจีบนักวาดนักเขียนมาทำเล่มด้วยกันกับเรา ตอนนี้เราเลยเริ่มเปิดฝั่งตลาดครีเอเตอร์ขึ้นมาเพื่อรับผลิตรูปเล่มให้พวกเขาด้วย”
ในยุคที่โลกการอ่านย้ายไปอยู่บนโลกออนไลน์เสียเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ตลาดสิ่งพิมพ์อยู่ในสภาวะหยุดชะงัก แต่ครีเอเตอร์จำนวนหนึ่งในนี้อาจจะปลุกกระแสให้กลับมา ตลอดจนครีเอเตอร์ที่สร้างผลงานจนโด่งดังในโลกออนไลน์หลายคนก็เริ่มหันมาพิมพ์หนังสือรวมเล่มผลงานของตัวเองกันมากขึ้น
นอกจากนี้เวิร์กช็อปที่ Spacebar Design Studio จัดขึ้นเพื่อให้ทุกเพศทุกวัยได้เข้าไปเรียนรู้โลกของสิ่งพิมพ์อิสระ และได้ทดลองลงมือเย็บหนังสือด้วยตัวเอง หรือพิมพ์ซีนของตัวเอง ซึ่งมียอดจองเต็มจำนวนหลังจากกลับมาเปิดหน้าร้านอีกครั้งได้เพียงหนึ่งเดือนเท่านั้น ก็เป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์เล็กๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง
“เรารู้สึกว่าเทรนด์มันกลับไปกลับมา ผู้ใหญ่ก็ถวิลหา Nostalgia บางอย่างที่เคยได้สัมผัสในวัยเด็ก ในขณะที่เด็กๆ ยุคนี้ก็ว้าวกับสิ่งของในสมัยก่อนที่จับต้องได้มากกว่าโลกออนไลน์ที่เขาท่องอยู่ทุกวันนี้ เราก็คิดว่าสิ่งพิมพ์มันเป็นการถวิลหาแบบนั้น มันคือการได้จับรูปเล่ม การได้เห็นผลงานถูกตีพิมพ์ออกมาจริงๆ ยกตัวอย่างนักวาดที่เห็นงานของตัวเองในคอมฯ มาตลอด สุดท้ายพอได้พิมพ์งานออกมา เขาก็จะเริ่มชอบเท็กซ์เจอร์ ชอบวิธีการพิมพ์ของมัน นำไปสู่การพัฒนาการพิมพ์ที่หลากหลาย มีเทคนิคต่างๆ เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้เหมาะกับงานของเขา
“เมื่อก่อนคนรู้จักซีนในชื่อ ‘หนังสือทำมือ’ แต่ยุคนี้เราคิดว่าคนเริ่มนิยามมันเป็น ‘Self-Publish’ หรือหนังสือที่ผลิตเอง ซึ่งซีนและอาร์ตบุ๊กของร้านเราก็เป็นซับเซ็ตหนึ่งในนั้น ตลาด Self-Publish ตลาดของงานสิ่งพิมพ์อิสระที่จัดทำเองตอนนี้เราคิดว่ามันค่อนข้างโตและคนรู้จักมันมากขึ้น สืบเนื่องมาจากวงการแมกกาซีนที่ล้มหายตายจากไปเริ่มปรับตัวในการสร้างคอนเทนต์ที่สามารถเก็บหรืออ่านได้นานมากขึ้น เช่น บทสัมภาษณ์ หรือนำเสนอเป็นธีมเฉพาะที่สามารถหยิบมาอ่านเมื่อไรก็ได้หรือเก็บสะสมไว้ได้
“ทีนี้กลายเป็นว่าสิ่งพิมพ์อิสระก็เลยโตขึ้น เพราะศิลปินหรือนักเขียนที่เมื่อก่อนต้องพึ่งพาแมกกาซีนในการเอางานไปตีพิมพ์เขาเรียนรู้แล้วว่าเขาทำคอนเทนต์ตีพิมพ์เป็นเล่มของตัวเองที่สามารถเก็บสะสมได้นานมากขึ้นเองก็ได้เช่นกัน พิมพ์เองที่บ้านแล้วเย็บมุมขายก็ได้ ฝั่งธุรกิจโรงพิมพ์เองก็เริ่มซัพพอร์ตและรับตีพิมพ์ในจำนวนเล่มที่น้อยลง จากเมื่อก่อนเขารับ 300-500 เล่มขึ้นไปเท่านั้น บวกกับการเกิดขึ้นของอาร์ตบุ๊กแฟร์และตลาดศิลปะต่างๆ เช่น Bangkok Art Book Fair และ Bangkok Illustration Fair ที่นักวาดนักเขียนเริ่มมีบูธของตัวเองและทำงานของตัวเองมาขาย เมื่อหลายๆ อย่างซัพพอร์ตซึ่งกันและกัน มันเลยทำให้เกิดครีเอเตอร์ที่เป็น Self-Publisher เยอะมากขึ้น”
ขยายจักรวาลให้คนได้รู้จักในวงกว้าง
“เราว่าการที่คนเห็นงานเยอะขึ้น รู้จักและเข้าใจมันมากขึ้นจนไม่กลัวที่จะเปิดดู คือสิ่งสำคัญที่จะทำให้วงการสิ่งพิมพ์อิสระยั่งยืน”
แม้มีครีเอเตอร์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นนักเขียนหรือนักวาด ผันตัวมาเป็น self-publisher หรือผู้สร้างสรรค์สิ่งพิมพ์อิสระมากขึ้น และช่วยขับเคลื่อนวงการนี้ให้เติบโตขึ้นกว่าที่เคยเป็น แต่จากประสบการณ์ในการเข้าร่วมอาร์ตบุ๊กแฟร์หลายๆ ครั้งในกรุงเทพฯ วิวสังเกตเห็นว่าคนส่วนใหญ่ที่กล้าหยิบตัวเล่มซีนหรืออาร์ตบุ๊กขึ้นมาจับหรือเปิดอ่านมักจะเป็นคนที่ทำงานด้านศิลปะและมีความเข้าใจถึงเอกลักษณ์เฉพาะของสิ่งพิมพ์ประเภทนี้อยู่แล้ว แต่เพื่อนๆ ของกลุ่มคนเหล่านี้ที่มาด้วยกันแต่ไม่ได้ทำงานสายอาร์ตหรือฝั่งครีเอทีฟ จะไม่ค่อยคุ้นชิน อาจจะหยิบขึ้นมาพลิกดูแต่ก็ไม่ได้สนใจที่จะเปิดอ่านหรือสำรวจดูด้านใน
“ยกตัวอย่างผลงานของพี่ป๊อด โมเดิร์นด็อก ที่ทำเป็นซองรวมภาพวาดบนใบเสร็จกับเรา คนหยิบซองขึ้นมาดูเยอะมากแต่ไม่มีใครเปิดดูข้างในว่ามันคือรูปวาดของพี่ป๊อด มันก็ทำให้เราได้เห็นเนเจอร์ของคนว่าเขาคุ้นชินกับสิ่งนี้แค่ไหน ซีนเป็นสิ่งที่อธิบายยาก มันต้องฟังสตอรี่ประกอบด้วยว่าพี่ป๊อดเขาชอบวาดรูปคนบนสลิปนะ มันเลยออกมาเป็นเล่มนี้ ใครที่กล้าเปิดคำถามแล้วฟังเราเล่า เขาก็จะเก็ตและซื้อกลับไป มันเลยทำให้เราคิดว่าการทำให้คนได้เห็นบ่อยๆ เข้าใจ และรู้จักสิ่งพิมพ์ประเภทนี้มากขึ้น มันก็จะช่วยให้ตลาดนี้ยั่งยืน”
ดังนั้นสำหรับวิว การขับเคลื่อนสิ่งพิมพ์อิสระให้กลายเป็นที่รับรู้ทั่วไปและกระจายตัวออกไปในวงกว้างมากยิ่งขึ้น จึงไม่สามารถจำกัดอยู่แค่หน้าร้านหรือโชว์รูมของ Spacebar Design Studio ได้เพียงแห่งเดียว
“การมีสเปซแบบเรามากขึ้นแน่นอนว่ามันช่วยส่งเสริมอยู่แล้ว แต่ตอนนี้ถ้าเป็นซีนหรืออาร์ตบุ๊ก เราคิดว่าคงเหลือร้านเราร้านเดียว ร้านอื่นๆ เขาจะเป็นแนวพ็อกเก็ตบุ๊กหรือโฟโต้บุ๊กกัน เอาจริงๆ มีคนที่รวมตัวเป็นแก๊งทำซีนกันเยอะเลยนะ แต่การเปิดเป็นสเปซร่วมกันอาจจะยากด้วยเรื่องของค่าใช้จ่าย เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะช่วยได้คืออาร์ตบุ๊กแฟร์นี่แหละ
“แต่สิ่งที่ Spacebar พยายามจะทำลายกำแพงตอนนี้คือการเอาซีนของเราไปวางขายที่ Kinokuniya เราเอาพ็อกเก็ตบุ๊ก 2 เล่มของ Vintage Motion ไปทดลอง ซึ่งดีไซน์มันไม่ใช่พ็อกเก็ตบุ๊กที่จะอยู่ในคิโนะอะ แต่กลายเป็นว่าทางร้านเพิ่งโทรมาว่าติด Bestseller นะ ซึ่งไม่รู้ว่าลำดับที่เท่าไร แต่เขาก็สั่งหนังสือเพิ่มไป เราไม่อยากใช้คำว่าเข้าไปตีตลาด แต่จุดมุ่งหมายของเราคืออยากให้คนรู้จักสิ่งพิมพ์อิสระให้เยอะที่สุดและเข้าใจว่ามันมีสิ่งนี้เหมือนกันในวงการหนังสือ”
‘แฝงตัวให้เนียน’ คือคำที่วิวเลือกใช้
“เราพยายามให้คนทั่วไปได้เห็นลูกเล่นเล็กๆ บางอย่างที่ Self-Publisher ใส่เข้าไปในสิ่งพิมพ์ของตัวเอง อย่างเล่มของ Vintage Motion เล่มหนึ่งเราออกแบบให้เป็นกล่องวิดีโอ อีกเล่มเป็นวีซีดีหมุนได้ ซึ่งบางคนเขาอาจจะไม่เคยเห็น ซึ่งเราก็เพิ่งได้เรียนรู้จากเล่ม Vintage Motion นี่แหละ เราอยากให้คนเห็นวิธีคิด ไอเดีย และดีไซน์แบบนี้ที่เราสอดแทรกเข้าไปมากขึ้น”
แต่การแฝงตัวให้เนียนนี้ต้องมาพร้อมกับ ‘การสื่อสารที่ดี’ ด้วย โดยวิวนำบทเรียนที่ได้เรียนรู้จากการเริ่มลงมือทำในปีแรกๆ มาปรับใช้
“ตอนนั้นเราทำหนังสือรวมบทสัมภาษณ์คนดังอย่างพี่โหน่ง วงศ์ทนง (ชัยณรงค์สิงห์) เคน นครินทร์ (วนกิจไพบูลย์) กับเต๋อ นวพล ทำออกมาเป็นเล่มเล็กๆ คนก็สั่งเยอะมาก ปรากฏว่าส่งไปแล้วมีคนนึงโทรกลับมา บอกว่าสงสัยจะส่งหนังสือมาผิดค่ะ คือเขาคิดว่ามันคือเล่มปรู๊ฟ ความเข้าใจของเขาคือนึกว่าเป็นพ็อกเก็ตบุ๊กทั่วๆ ไป เราก็ต้องอธิบายว่าสิ่งนี้เรียกว่าซีนนะคะ จะมีจำนวนหน้าประมาณ 80 หน้า เย็บมุงหลังคา ซึ่งครั้งนั้นทำให้เราคิดว่าต่อไปจะต้องสื่อสารให้ดียิ่งขึ้นว่าสิ่งที่เราทำคืออะไร เพราะว่าเมื่อไรที่เราก้าวเข้าไปในตลาดแมส เข้าไปวางขายในงานหนังสือหรือร้านหนังสือใหญ่ๆ มันจะเป็นนักอ่านอีกกลุ่มหนึ่งแล้ว”
อนาคตของเซลฟ์พับลิชเชอร์และสิ่งพิมพ์อิสระ
“Print is not dead สิ่งพิมพ์มันไม่ได้ตายไปไหน อาจจะชะงักและดิ้นรนหาหนทางในแบบของมัน ก้าวต่อไปของวัฒนธรรมนี้ก็คือการปรับตัวและเกิดการซัพพอร์ตซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น”
การซัพพอร์ตที่วิวพูดถึงนั้น นอกจากในกลุ่มครีเอเตอร์กันเองที่วิวสังเกตเห็นและได้เล่าให้ฟังข้างต้นแล้ว ยังรวมไปถึงกลุ่มผู้อ่านที่เป็น ‘Collector’ หรือนักสะสม ซึ่งแม้ช่วงที่ผ่านมาจะลดลงไปเยอะพอสมควร แต่ในจำนวนที่น้อยนั้นกลับทรงพลังอย่างไม่น่าเชื่อ
“ล่าสุดมี Collector จากมะนิลามาที่ร้าน เขาพูดเลยว่าจะซัพพอร์ตโลคอล และบอกว่าเขารู้ว่าร้านอย่างเราอยู่ยากมาก เขาเข้าใจว่ามันยากที่จะทำสิ่งเหล่านี้ เขาเลยซื้อกลับไปเยอะมาก เพราะงั้นเราคิดว่ามันเป็นเรื่องของการซัพพอร์ตกัน เราว่าสิ่งพิมพ์มันจะโตไปสู่จุดที่คนชื่นชมและเห็นคุณค่าของมันในแง่ของการเก็บสะสม ไม่ใช่ของเร็วฉาบฉวยเหมือนการรายงานข่าวประจำวันอีกต่อไป เพราะสิ่งเหล่านั้นมันหาได้บนอินเทอร์เน็ตแล้ว แต่เรื่องของกระดาษ รูปลักษณ์ และสัมผัสบางอย่างมันเป็นสิ่งที่หาไม่ได้ในโลกออนไลน์
“มันคือความสุขและความอุ่นใจในการได้เห็นสิ่งที่เราชอบอยู่ในบ้าน เราว่านี่คือคุณค่าที่สิ่งพิมพ์จะเป็น”
“เราคิดว่าสิ่งสำคัญมากๆ ในการนำเสนอสิ่งพิมพ์คือ ‘Physical Space’ เพราะว่าสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่ต้องได้จับต้องได้สัมผัสรูปลักษณ์ของกระดาษ รูปเล่ม และเลย์เอาต์ต่างๆ มันเป็นสิ่งที่หน้าจอคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีออนไลน์ให้ไม่ได้”
วิว-วิมลพร วิสิทธิ์ หนึ่งในผู้ขับเคลื่อน Spacebar Design Studio เล่าให้เราฟังถึงเหตุผลหลักที่ทำให้สตูดิโอแห่งนี้ หรือที่หลายคนอาจจะรู้จักกันในชื่อ Spacebar Zine กลับมาเปิดหน้าร้านอีกครั้ง ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่ชั้น 4 ของอาคาร The Upperground ละแวกเดียวกับตลาด อ.ต.ก. และตั้งอยู่ไม่ไกลจาก MRT สถานีกำแพงเพชรมากนัก โดยก่อนหน้านั้นสตูดิโอแห่งนี้เคยเปิดสเปซของตัวเองมาแล้วทั้งในย่านสุทธิสารและสุขุมวิท
“หน้าร้านเปิดๆ ปิดๆ ก็จริง แต่ว่าเรายังทำเล่มตลอด ช่วงโควิด เราก็ทำกันที่บ้าน ทีนี้พอผลิตเล่มเยอะขึ้น เรียกว่าเป็นอายุน้อยร้อยเล่ม เราก็เสียดายที่เล่มมันถูกเก็บไว้แค่ในบ้าน บวกกับจริงๆ ก็มีต่างชาติเริ่มกลับมาถามเราเยอะ พอโควิดหมดปุ๊บ เราก็กลับมาเปิดหน้าร้านที่เป็นกึ่งสตูดิโอกึ่งโชว์รูม คือมีโซนที่ขายเล่มที่เราผลิตเองและคัดเลือกมา และก็มี Zine Library ที่เป็นโซน Not for Sale ดิสเพลย์ผลงานศิลปะสิ่งพิมพ์ของเรา ไม่ว่าจะเป็น ซีน อาร์ตบุ๊ก หรืออาร์ตปริ๊นต์ต่างๆ ให้คนเข้ามาดูรูปเล่ม กระดาษ และไอเดียต่างๆ ซึ่งต่อเนื่องไปยังอีกบทบาทของเราที่นิยามตัวเองว่าเป็น ‘Zine Producer’ ที่ให้คำปรึกษา รับทำโปรดักชั่น ผลิต และจัดพิมพ์สำหรับนักวาดนักเขียนที่อยากมีเล่มเป็นของตัวเองด้วย”
ประมาณหนึ่งส่วนสามของหน้าร้านแห่งใหม่นี้เป็นมุมทำงานของวิวและหุ้นส่วนอีกคนคือ ภูภู่-วิศรุต วิสิทธิ์ ที่เหลือคือโต๊ะและเชลฟ์ที่จัดแสดง ‘ซีน’ และ ‘อาร์ตบุ๊ก’ หลากหลายรูปแบบ ทั้งพ็อกเก็ตบุ๊ก หนังสือทำมือเย็บมุงหลังคา หรือกระทั่งที่ไม่ได้อยู่ในรูปลักษณ์หนังสืออย่างที่คุ้นชินกัน อันเป็นผลงานของ Spacebar Design Studio เอง และผลงานคัดสรรจากนักวาดนักเขียนที่เป็น ‘Self-Publisher’ หรือคนทำหนังสืออิสระ ที่สร้างสรรค์และผลิตออกมาเป็นรูปเล่มด้วยตัวเองจากในประเทศและต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และฮ่องกง ที่ทางสตูดิโอได้พบปะทำความรู้จักเมื่อครั้งไปออกงานตามอาร์ตบุ๊กแฟร์ในประเทศต่างๆ นอกจากนี้ก็ยังมีของสะสมอื่นๆ อีกมากมายให้ได้ชมและซื้อกลับบ้าน อย่างโปสเตอร์และแฮนด์บิลหนังต่างๆ ด้วย
ผลงานที่เราเห็นในยามที่ไปเยือนหน้าร้านแห่งนี้ยกตัวอย่างเช่น ซีนของนักดนตรีที่มีคิวอาร์โค้ดให้สแกนฟังดนตรีที่แต่งเพื่อซีนเล่มนี้โดยเฉพาะ สองผลงานซีนของเพจหนัง Vintage Motion อย่าง Back to the 90s ที่ได้รับการออกแบบเป็นกล่องวิดีโอ และ Remember 2000s: Let’s Play Memories ที่หน้าปกสร้างสรรค์เป็นแผ่นวีซีดีสามารถหมุนเล่นได้ ซีนของเซเลบริตี้ชื่อดังมากมาย เช่น ณัฏฐ์ กิจจริต เต๋อ-นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ เจนนิษฐ์ โอ่ประเสริฐ รวมไปถึงป๊อด-โมเดิร์นด็อก ที่มาในซองจดหมายดีไซน์เก๋ บรรจุภาพวาดเท่ๆ ฝีมือของเขาบนใบเสร็จรับเงิน
“สเปซตรงนี้มันมีความกึ่งพับลิกกึ่งไพรเวต เป็นที่ที่เราสามารถนั่งทำงานได้ทุกวัน คนที่จะเข้ามารู้ประมาณหนึ่งแล้วว่าซีนคืออะไรและมีความตั้งใจที่จะมา ผ่านการนัดหมายเข้ามาในวันธรรมดา หรือเข้ามาเสาร์-อาทิตย์ที่เราสแตนด์บายได้ทั้งวัน และตัวพื้นที่ก็มีความโปร่ง มีแสงธรรมชาติเข้าถึง วิวสวย ตอบโจทย์ความต้องการของนักเขียนนักวาดที่เข้ามาคุยโปรเจกต์กับเรา”
คอมมิวนิตี้ของครีเอเตอร์และเซลฟ์พับลิชเชอร์
“จริงๆ เปิดหน้าร้านรอบนี้ไม่ได้คิดเลยว่าย่านนี้ต้องเป็นย่านสร้างสรรค์ เราคิดถึงแค่ หนึ่ง ฐานแฟนเดิมของเราที่สนใจซีน ซึ่งยังมี และสอง กลุ่มครีเอเตอร์หน้าใหม่ที่เขากำลังหาพื้นที่ในการดิสเพลย์งาน”
วิวเล่าให้ฟังว่าช่วงก่อนโควิดคือยุครุ่งเรืองของ Spacebar Design Studio นั่นหมายถึงมีคนให้ความสนใจและสนับสนุนซีนและอาร์ตบุ๊กของร้านอย่างล้นหลาม แต่เมื่อเข้าสู่ยุคโควิด พร้อมๆ กับสภาพเศรษฐกิจย่ำแย่ทั่วโลก แน่นอนว่าย่อมส่งผลต่อจำนวนลูกค้าที่น้อยลงและยอดขายที่ลดลง แต่มีสิ่งหนึ่งที่วิวสังเกตได้ว่าเปลี่ยนแปลงสวนทางกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
“คนที่ซื้อซีนของเราไม่ใช่นักอ่านอย่างเดียวแล้ว เริ่มจะเป็นกลุ่มครีเอเตอร์มากขึ้น เขาอาจจะเคยเป็นนักอ่านแล้วผันตัวเป็นครีเอเตอร์ในภายหลังก็ได้ อันนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับเรา กลายเป็นว่าตลาดสิ่งพิมพ์ตอนนี้มันรันต่อไปได้ด้วยกลุ่มครีเอเตอร์ที่มาช่วยซัพพอร์ตคนในคอมมูนิตี้ซึ่งกันและกัน นี่จึงกลายเป็นเหตุผลที่ว่าจากแต่ก่อนเราอาจจะแค่ไปจีบนักวาดนักเขียนมาทำเล่มด้วยกันกับเรา ตอนนี้เราเลยเริ่มเปิดฝั่งตลาดครีเอเตอร์ขึ้นมาเพื่อรับผลิตรูปเล่มให้พวกเขาด้วย”
ในยุคที่โลกการอ่านย้ายไปอยู่บนโลกออนไลน์เสียเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ตลาดสิ่งพิมพ์อยู่ในสภาวะหยุดชะงัก แต่ครีเอเตอร์จำนวนหนึ่งในนี้อาจจะปลุกกระแสให้กลับมา ตลอดจนครีเอเตอร์ที่สร้างผลงานจนโด่งดังในโลกออนไลน์หลายคนก็เริ่มหันมาพิมพ์หนังสือรวมเล่มผลงานของตัวเองกันมากขึ้น
นอกจากนี้เวิร์กช็อปที่ Spacebar Design Studio จัดขึ้นเพื่อให้ทุกเพศทุกวัยได้เข้าไปเรียนรู้โลกของสิ่งพิมพ์อิสระ และได้ทดลองลงมือเย็บหนังสือด้วยตัวเอง หรือพิมพ์ซีนของตัวเอง ซึ่งมียอดจองเต็มจำนวนหลังจากกลับมาเปิดหน้าร้านอีกครั้งได้เพียงหนึ่งเดือนเท่านั้น ก็เป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์เล็กๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง
“เรารู้สึกว่าเทรนด์มันกลับไปกลับมา ผู้ใหญ่ก็ถวิลหา Nostalgia บางอย่างที่เคยได้สัมผัสในวัยเด็ก ในขณะที่เด็กๆ ยุคนี้ก็ว้าวกับสิ่งของในสมัยก่อนที่จับต้องได้มากกว่าโลกออนไลน์ที่เขาท่องอยู่ทุกวันนี้ เราก็คิดว่าสิ่งพิมพ์มันเป็นการถวิลหาแบบนั้น มันคือการได้จับรูปเล่ม การได้เห็นผลงานถูกตีพิมพ์ออกมาจริงๆ ยกตัวอย่างนักวาดที่เห็นงานของตัวเองในคอมฯ มาตลอด สุดท้ายพอได้พิมพ์งานออกมา เขาก็จะเริ่มชอบเท็กซ์เจอร์ ชอบวิธีการพิมพ์ของมัน นำไปสู่การพัฒนาการพิมพ์ที่หลากหลาย มีเทคนิคต่างๆ เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้เหมาะกับงานของเขา
“เมื่อก่อนคนรู้จักซีนในชื่อ ‘หนังสือทำมือ’ แต่ยุคนี้เราคิดว่าคนเริ่มนิยามมันเป็น ‘Self-Publish’ หรือหนังสือที่ผลิตเอง ซึ่งซีนและอาร์ตบุ๊กของร้านเราก็เป็นซับเซ็ตหนึ่งในนั้น ตลาด Self-Publish ตลาดของงานสิ่งพิมพ์อิสระที่จัดทำเองตอนนี้เราคิดว่ามันค่อนข้างโตและคนรู้จักมันมากขึ้น สืบเนื่องมาจากวงการแมกกาซีนที่ล้มหายตายจากไปเริ่มปรับตัวในการสร้างคอนเทนต์ที่สามารถเก็บหรืออ่านได้นานมากขึ้น เช่น บทสัมภาษณ์ หรือนำเสนอเป็นธีมเฉพาะที่สามารถหยิบมาอ่านเมื่อไรก็ได้หรือเก็บสะสมไว้ได้
“ทีนี้กลายเป็นว่าสิ่งพิมพ์อิสระก็เลยโตขึ้น เพราะศิลปินหรือนักเขียนที่เมื่อก่อนต้องพึ่งพาแมกกาซีนในการเอางานไปตีพิมพ์เขาเรียนรู้แล้วว่าเขาทำคอนเทนต์ตีพิมพ์เป็นเล่มของตัวเองที่สามารถเก็บสะสมได้นานมากขึ้นเองก็ได้เช่นกัน พิมพ์เองที่บ้านแล้วเย็บมุมขายก็ได้ ฝั่งธุรกิจโรงพิมพ์เองก็เริ่มซัพพอร์ตและรับตีพิมพ์ในจำนวนเล่มที่น้อยลง จากเมื่อก่อนเขารับ 300-500 เล่มขึ้นไปเท่านั้น บวกกับการเกิดขึ้นของอาร์ตบุ๊กแฟร์และตลาดศิลปะต่างๆ เช่น Bangkok Art Book Fair และ Bangkok Illustration Fair ที่นักวาดนักเขียนเริ่มมีบูธของตัวเองและทำงานของตัวเองมาขาย เมื่อหลายๆ อย่างซัพพอร์ตซึ่งกันและกัน มันเลยทำให้เกิดครีเอเตอร์ที่เป็น Self-Publisher เยอะมากขึ้น”
ขยายจักรวาลให้คนได้รู้จักในวงกว้าง
“เราว่าการที่คนเห็นงานเยอะขึ้น รู้จักและเข้าใจมันมากขึ้นจนไม่กลัวที่จะเปิดดู คือสิ่งสำคัญที่จะทำให้วงการสิ่งพิมพ์อิสระยั่งยืน”
แม้มีครีเอเตอร์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นนักเขียนหรือนักวาด ผันตัวมาเป็น self-publisher หรือผู้สร้างสรรค์สิ่งพิมพ์อิสระมากขึ้น และช่วยขับเคลื่อนวงการนี้ให้เติบโตขึ้นกว่าที่เคยเป็น แต่จากประสบการณ์ในการเข้าร่วมอาร์ตบุ๊กแฟร์หลายๆ ครั้งในกรุงเทพฯ วิวสังเกตเห็นว่าคนส่วนใหญ่ที่กล้าหยิบตัวเล่มซีนหรืออาร์ตบุ๊กขึ้นมาจับหรือเปิดอ่านมักจะเป็นคนที่ทำงานด้านศิลปะและมีความเข้าใจถึงเอกลักษณ์เฉพาะของสิ่งพิมพ์ประเภทนี้อยู่แล้ว แต่เพื่อนๆ ของกลุ่มคนเหล่านี้ที่มาด้วยกันแต่ไม่ได้ทำงานสายอาร์ตหรือฝั่งครีเอทีฟ จะไม่ค่อยคุ้นชิน อาจจะหยิบขึ้นมาพลิกดูแต่ก็ไม่ได้สนใจที่จะเปิดอ่านหรือสำรวจดูด้านใน
“ยกตัวอย่างผลงานของพี่ป๊อด โมเดิร์นด็อก ที่ทำเป็นซองรวมภาพวาดบนใบเสร็จกับเรา คนหยิบซองขึ้นมาดูเยอะมากแต่ไม่มีใครเปิดดูข้างในว่ามันคือรูปวาดของพี่ป๊อด มันก็ทำให้เราได้เห็นเนเจอร์ของคนว่าเขาคุ้นชินกับสิ่งนี้แค่ไหน ซีนเป็นสิ่งที่อธิบายยาก มันต้องฟังสตอรี่ประกอบด้วยว่าพี่ป๊อดเขาชอบวาดรูปคนบนสลิปนะ มันเลยออกมาเป็นเล่มนี้ ใครที่กล้าเปิดคำถามแล้วฟังเราเล่า เขาก็จะเก็ตและซื้อกลับไป มันเลยทำให้เราคิดว่าการทำให้คนได้เห็นบ่อยๆ เข้าใจ และรู้จักสิ่งพิมพ์ประเภทนี้มากขึ้น มันก็จะช่วยให้ตลาดนี้ยั่งยืน”
ดังนั้นสำหรับวิว การขับเคลื่อนสิ่งพิมพ์อิสระให้กลายเป็นที่รับรู้ทั่วไปและกระจายตัวออกไปในวงกว้างมากยิ่งขึ้น จึงไม่สามารถจำกัดอยู่แค่หน้าร้านหรือโชว์รูมของ Spacebar Design Studio ได้เพียงแห่งเดียว
“การมีสเปซแบบเรามากขึ้นแน่นอนว่ามันช่วยส่งเสริมอยู่แล้ว แต่ตอนนี้ถ้าเป็นซีนหรืออาร์ตบุ๊ก เราคิดว่าคงเหลือร้านเราร้านเดียว ร้านอื่นๆ เขาจะเป็นแนวพ็อกเก็ตบุ๊กหรือโฟโต้บุ๊กกัน เอาจริงๆ มีคนที่รวมตัวเป็นแก๊งทำซีนกันเยอะเลยนะ แต่การเปิดเป็นสเปซร่วมกันอาจจะยากด้วยเรื่องของค่าใช้จ่าย เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะช่วยได้คืออาร์ตบุ๊กแฟร์นี่แหละ
“แต่สิ่งที่ Spacebar พยายามจะทำลายกำแพงตอนนี้คือการเอาซีนของเราไปวางขายที่ Kinokuniya เราเอาพ็อกเก็ตบุ๊ก 2 เล่มของ Vintage Motion ไปทดลอง ซึ่งดีไซน์มันไม่ใช่พ็อกเก็ตบุ๊กที่จะอยู่ในคิโนะอะ แต่กลายเป็นว่าทางร้านเพิ่งโทรมาว่าติด Bestseller นะ ซึ่งไม่รู้ว่าลำดับที่เท่าไร แต่เขาก็สั่งหนังสือเพิ่มไป เราไม่อยากใช้คำว่าเข้าไปตีตลาด แต่จุดมุ่งหมายของเราคืออยากให้คนรู้จักสิ่งพิมพ์อิสระให้เยอะที่สุดและเข้าใจว่ามันมีสิ่งนี้เหมือนกันในวงการหนังสือ”
‘แฝงตัวให้เนียน’ คือคำที่วิวเลือกใช้
“เราพยายามให้คนทั่วไปได้เห็นลูกเล่นเล็กๆ บางอย่างที่ Self-Publisher ใส่เข้าไปในสิ่งพิมพ์ของตัวเอง อย่างเล่มของ Vintage Motion เล่มหนึ่งเราออกแบบให้เป็นกล่องวิดีโอ อีกเล่มเป็นวีซีดีหมุนได้ ซึ่งบางคนเขาอาจจะไม่เคยเห็น ซึ่งเราก็เพิ่งได้เรียนรู้จากเล่ม Vintage Motion นี่แหละ เราอยากให้คนเห็นวิธีคิด ไอเดีย และดีไซน์แบบนี้ที่เราสอดแทรกเข้าไปมากขึ้น”
แต่การแฝงตัวให้เนียนนี้ต้องมาพร้อมกับ ‘การสื่อสารที่ดี’ ด้วย โดยวิวนำบทเรียนที่ได้เรียนรู้จากการเริ่มลงมือทำในปีแรกๆ มาปรับใช้
“ตอนนั้นเราทำหนังสือรวมบทสัมภาษณ์คนดังอย่างพี่โหน่ง วงศ์ทนง (ชัยณรงค์สิงห์) เคน นครินทร์ (วนกิจไพบูลย์) กับเต๋อ นวพล ทำออกมาเป็นเล่มเล็กๆ คนก็สั่งเยอะมาก ปรากฏว่าส่งไปแล้วมีคนนึงโทรกลับมา บอกว่าสงสัยจะส่งหนังสือมาผิดค่ะ คือเขาคิดว่ามันคือเล่มปรู๊ฟ ความเข้าใจของเขาคือนึกว่าเป็นพ็อกเก็ตบุ๊กทั่วๆ ไป เราก็ต้องอธิบายว่าสิ่งนี้เรียกว่าซีนนะคะ จะมีจำนวนหน้าประมาณ 80 หน้า เย็บมุงหลังคา ซึ่งครั้งนั้นทำให้เราคิดว่าต่อไปจะต้องสื่อสารให้ดียิ่งขึ้นว่าสิ่งที่เราทำคืออะไร เพราะว่าเมื่อไรที่เราก้าวเข้าไปในตลาดแมส เข้าไปวางขายในงานหนังสือหรือร้านหนังสือใหญ่ๆ มันจะเป็นนักอ่านอีกกลุ่มหนึ่งแล้ว”
อนาคตของเซลฟ์พับลิชเชอร์และสิ่งพิมพ์อิสระ
“Print is not dead สิ่งพิมพ์มันไม่ได้ตายไปไหน อาจจะชะงักและดิ้นรนหาหนทางในแบบของมัน ก้าวต่อไปของวัฒนธรรมนี้ก็คือการปรับตัวและเกิดการซัพพอร์ตซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น”
การซัพพอร์ตที่วิวพูดถึงนั้น นอกจากในกลุ่มครีเอเตอร์กันเองที่วิวสังเกตเห็นและได้เล่าให้ฟังข้างต้นแล้ว ยังรวมไปถึงกลุ่มผู้อ่านที่เป็น ‘Collector’ หรือนักสะสม ซึ่งแม้ช่วงที่ผ่านมาจะลดลงไปเยอะพอสมควร แต่ในจำนวนที่น้อยนั้นกลับทรงพลังอย่างไม่น่าเชื่อ
“ล่าสุดมี Collector จากมะนิลามาที่ร้าน เขาพูดเลยว่าจะซัพพอร์ตโลคอล และบอกว่าเขารู้ว่าร้านอย่างเราอยู่ยากมาก เขาเข้าใจว่ามันยากที่จะทำสิ่งเหล่านี้ เขาเลยซื้อกลับไปเยอะมาก เพราะงั้นเราคิดว่ามันเป็นเรื่องของการซัพพอร์ตกัน เราว่าสิ่งพิมพ์มันจะโตไปสู่จุดที่คนชื่นชมและเห็นคุณค่าของมันในแง่ของการเก็บสะสม ไม่ใช่ของเร็วฉาบฉวยเหมือนการรายงานข่าวประจำวันอีกต่อไป เพราะสิ่งเหล่านั้นมันหาได้บนอินเทอร์เน็ตแล้ว แต่เรื่องของกระดาษ รูปลักษณ์ และสัมผัสบางอย่างมันเป็นสิ่งที่หาไม่ได้ในโลกออนไลน์
“มันคือความสุขและความอุ่นใจในการได้เห็นสิ่งที่เราชอบอยู่ในบ้าน เราว่านี่คือคุณค่าที่สิ่งพิมพ์จะเป็น”