BERMUDUZ ทีมเต้นที่เป็นมากกว่าสองเท้ากับจังหวะ แต่คืออนาคตสู่การทำงานกับสิ่งที่รัก
BERMUDUZ ทีมเต้นที่เป็นมากกว่าสองเท้ากับจังหวะ แต่คืออนาคตสู่การทำงานกับสิ่งที่รัก
25 ธ.ค. 2566
SHARE WITH:
25 ธ.ค. 2566
25 ธ.ค. 2566
SHARE WITH:
SHARE WITH:
BERMUDUZ ทีมเต้นที่เป็นมากกว่าสองเท้ากับจังหวะ แต่คืออนาคตสู่การทำงานกับสิ่งที่รัก



“สุดท้ายแล้ว ในช่วงเวลาของห้องสี่เหลี่ยมห้องนี้ มันคือช่วงเวลาที่เราจะได้ทำความรู้จักกับตัวเองมากที่สุด ได้เปิดโลก ได้มีสังคมใหม่” ห้องสี่เหลี่ยมของ ฟ้า - พิมพ์นภัส ฉัตรพัฒนพงศ์ และ ญาดา สุวรรณานุช เพื่อนรักที่ฟอร์มทีมร่วมกันในนาม BERMUDUZ คือห้องซ้อมเต้นที่พาเด็กนักเรียนชั้นมัธยมวิ่งขึ้นสู่หลากหลายเวทีใหญ่ระดับประเทศ
ญาดาเริ่มต้นการเต้นจากห้องเรียนบัลเล่ต์สมัย 3 ขวบ ก่อนจะมาค้นพบเคป็อปในช่วงมัธยมปลายจนนำมาสู่การเรียนเต้นแบบจริงจัง ห้องเรียนเต้นห้องนั้นพาเธอให้มาพบกับฟ้า เด็กกิจกรรมประจำโรงเรียนที่ผ่านผลงานมากมายจนมาจบที่การเต้นเคป็อปอย่างที่สมัยนิยม จนถึงวันนี้ก็เกือบ 8 ปีแล้ว และทั้งคู่ก็ยังเต้นต่อไป แม้เส้นทางอาจเปลี่ยนผ่านไปตามช่วงวัยบ้าง แต่เรื่องเต้นก็ยังเป็นสาระใหญ่ในชีวิต

“ฟ้าอยากให้มองว่า การเต้นคืออีกหนึ่งกิจกรรม เหมือนกับการออกกำลังกาย กีฬา วิชาการ แล้วเด็กแต่ละคนก็มีความถนัดไม่เหมือนกัน กลับกันว่าถ้านี่คือ ‘ความชอบ’ ยิ่งชอบก็ยิ่งสนุกยิ่งอยากเรียนรู้ไปด้วย ก็เหมือนกับการเรียนรู้อีกแบบ แล้วถ้าการเต้นเป็นสิ่งที่ถนัดไปแล้ว เขาก็จะโลดแล่นไม่ต่างจากการเล่นกีฬาหรือวิชาการเลย มันคือการทำให้เด็กรู้จักตัวเอง” ฟ้าผู้เป็นตัวแทนของเด็กที่รักการเต้นเล่าให้กับเราฟัง
“จนถึงทุกวันนี้เราได้โอกาสมากมายจากการเต้น” ญาดาเสริมบ้าง “เราได้ทำงาน เราเริ่มมีรายได้ตั้งแต่ยังเรียนอยู่ มันก็ต่อยอดมาจากการเต้น และยิ่งเรารักมันมาก เราก็จะอยากพัฒนาสกิล พัฒนาสไตล์ออกไปได้อีก”
“เพราะฉะนั้นสำหรับใครที่อยากเป็นนักเต้น มันคือทำความรู้จักกับตัวเอง แล้วอยากพัฒนาตัวเอง ขวนขวายทุกอย่างที่เป็นทางเรียนรู้ มีแพชชั่นตลอดเวลา นี่แหละคือการได้ทำในสิ่งที่รัก” ฟ้าสรุป
IIIi - โอกาสของชีวิตที่เกิดจากความรัก

เราพาทุกคนย้อนกลับไปในห้องเรียนสอนเต้นของสองสาว ชีวิตประจำวันของนักเรียนมัธยมปลายจะมีอะไรมากไปกว่าการเรียนในวันธรรมดา และได้หยุดว่างวันเสาร์อาทิตย์ แต่วันหยุดของทั้งสองตัดสินใจมอบให้กับคลาสเรียนเต้น ได้มาเจอกัน ลองทำทีมแข่ง และก้าวไปถึงการเป็นนักเต้นแบ็กอัปให้ศิลปินตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ
“ฟ้าไม่ได้มีความคิดว่า เราจะมุ่งมั่นเต้นทางนี้เลยดีกว่า แต่พอมันมีโอกาสเข้ามานิดเดียว เราก็อยากลองอยากทำ อยากจริงจังกับมามากกว่านี้อีก แต่พอเรียนอาทิตย์ละครั้งก็เริ่มอิ่มตัว ครูเลยชวนเราให้ลองจับทีมไปแข่งไหม เราก็ไม่คิดเหมือนกันว่า จากการเริ่มต้นเรียนเต้นเคป็อป ขยับมาเรียนฮิปฮอป จนไปถึงการทำทีมเต้นไปแข่งดู”

ฟ้าบอกว่าการแข่งเต้นสำหรับเธอเหมือนเป็นโลกอีกใบหนึ่ง ที่ต้องโฟกัสกับการฝึกซ้อม วินัย และความอดทนพยายาม ซึ่งการทำทีมเต้นยิ่งทำให้เธอท้าทายขึ้นไปอีก ตรงที่ต้องจูนร่างกายของแต่ละคนให้มาใช้กระดูกเดียวกันให้ได้
“ความยากคือ นอกจากต้องฝึกเบสิกร่างกายตัวเองแล้ว มันต้องคอนเนกต์ให้เหมือนคนอื่นด้วย เพราะการเต้นเป็นทีมไม่สามารถดูแค่เราคนเดียวได้ เราต้องเหมือนกับเพื่อนคนอื่น แต่ก็ยังต้องเป็นตัวเองด้วย ซึ่งระหว่างที่เทรนมาด้วยกันก็เหมือนเราลิงค์กันและกันไปแล้วจนเหมือนเป็นคนเดียวกัน กลายเป็นว่าแค่ต่อท่าจบก็ไปกันต่อได้เลย”

“มันจะชอบมีคนบอกว่า ฟีลในห้องซ้อมกับฟีลบนเวทีจะต่างกัน พอเราไปอยู่บนเวที เรามองเห็นคน เราเห็นรีแอคชั่นว่าเราต้องใส่ แล้วมันก็จะ Hype ขึ้นอีก” สำหรับญาดาที่เดินทางสายแบ็กอัปแดนเซอร์ให้กับศิลปิน นอกจากการรวมทีมแล้ว ยังขยับไปเป็นเรื่องการออกแบบท่าเต้น (Choreographer) และการออกแบบโชว์ ที่ต่อยอดออกจากงานเต้นไปสู่งานสายครีเอทีฟได้อีก
“เราเคยได้เป็นผู้ช่วยของคอนโทรลที่ดูภาพรวมทั้งหมดของโชว์ ได้อยู่เบื้องหลังกระบวนการทำงานทั้งหมด ยิ่งพอเรามีความรู้ด้านนี้ เราสามารถมองอะไรได้กว้างกว่าที่จะเป็นจุดในตำแหน่งนั้นอย่างเดียว” จากทักษะการเต้น พัฒนาและแตกแขนงออกไปเป็นอีกหลายสายงาน ไม่ว่าจะเป็นอินฟลูเอนเซอร์นักเต้น ผู้กำกับการเต้นในมิวสิควิดีโอ หรือแม้แต่ในงานสายโฆษณา
“มันคือทักษะของสังคมด้วย” ฟ้าเล่าให้เราเห็นทักษะจากการเต้นที่มากกว่าระเบียบร่างกาย “ฟ้าคิดมาตลอดว่า รู้สึกดีที่มาเต้น เพราะเหมือนเราได้มีสังคมอีกสังคมนึงที่หลายคนอาจจะไม่เข้าใจว่า ทำไมสนิทกับเพื่อนเต้นจัง เพราะเวลามาเต้นมันเหมือนกับเราสร้างครอบครัวนึง มันคือทักษะการทำงานเป็นทีม เหมือนกับที่คนเคยบอกว่า คนเราจะรู้จักกันดีที่สุดในตอนที่ลำบากหรือเหนื่อยที่สุด ซึ่งฟ้าว่าเวลาเต้นมันจะมีช่วงที่เหนื่อยมากๆ ทำไม่ได้สักที มันคือการที่เราเผชิญปัญหาร่วมกัน”
IIIi - เมื่อความรักกลายเป็นอาชีพ : รักษาไฟในตัวให้สม่ำเสมอตลอด

“พอการเต้นต่อยอดเป็นอาชีพแล้ว มันเริ่มไม่ใช่แค่ว่า ต้องเต้นให้ดีแล้ว มันเริ่มต้องคิดว่า เราจะเอาการเต้นนี้ไปประยุกต์ยังไงให้ได้ตามแบบที่ลูกค้าต้องการ อย่างเมื่อก่อนเราเต้นคือแค่รับ แต่ตอนนี้เราเป็นต้องคิดต้องสร้างสรรค์ออกมา เพราะฉะนั้นเราก็ต้องขวนขวายเรียนรู้อีก หรือจากที่เคยเรียนด้วยกัน ก็ต้องแยกไปเรียนกับคนอื่นบ้าง เพื่อให้ได้ Vibe ใหม่ๆ เข้ามา หรืออย่างนักเต้นที่เป็นครูที่เก่งมากๆ แล้ว เขาก็ยังต้องบินไปต่างประเทศเพื่อศึกษาหรือดูนักเต้นที่เก่งกว่าเขา เพื่อนำมาปรับเรียนรู้แล้วพัฒนาขึ้นไปอีก”
“ส่วนตัวเลยรู้สึกว่า วงการนี้มันไม่มีทางเก่งที่สุด มันคือแค่ว่า เราทำตรงนี้ได้ดีแล้ว แล้วเราต้องดันบาร์ความสามารถของเราไปเรื่อยๆ อีก” ฟ้าบอก

สำหรับญาดา เวทีหนึ่งที่เธอประทับใจมากที่สุด คือเวทีคอนเสิร์ตเคาน์ดาวน์พัทยา ปี 2022 กับทีมแดนเซอร์ฟูลทีมให้กับ แองจี้ - ฐิติชา สมบัติพิบูลย์ ศิลปินทีป๊อปในสังกัด E29 Music Identities
“เพราะเป็นทีมที่ซ้อมกันมานานเป็นปีก่อนที่น้องจะเดบิวต์ และโอกาสที่จะได้ขึ้นครบ 8 คนมีน้อยมาก เราเลยรู้สึกว่างานนี้ฟูลฟิลกับเรามาก เพราะเป็นทีมที่ซ้อมด้วยกันมา แล้วสุดท้ายได้โชว์บนเวทีใหญ่และเต็มศักยภาพ แล้วพอเราได้ขึ้นไปบนเวที ได้มองเห็นคนเยอะๆ เอ็นจอยกับเราเล่นกับเราด้วย ก็คือสนุกมาก ถึงมันจะเหนื่อยแต่ก็รู้สึกได้ว่า เราได้ทำโชว์ออกมาให้ทุกคนได้ดู”
ในส่วนของฟ้าที่เป็นสายทำทีมแข่งเสียมากกว่า เวทีที่เธอยังจำไม่เคยลืมคือเวทีแข่งแรกที่ทั้งทีมต้องทำทั้งโชว์ด้วยตัวเองโดยไม่มีครูมาช่วยไกด์เหมือนแต่ก่อน
“ตอนนั้นเราไปแบบทีมโนเนมเลย แต่ในงานมีแต่ทีมใหญ่ทีมโปรชนิดที่งัดทักษะมาแข่งกันสุดๆ แต่ว่าจังหวะที่ซ้อมกันก่อนขึ้นเวทีนี่แหละคือช่วงเวลาของความขลัง เป็นช่วงที่ทุกคนในทีมไม่มีใครให้กำลังใจเราได้มากกว่าพวกเรากันเอง พอขึ้นไปแข่งเลยเหมือนได้รู้สึกปลดปล่อย อาจจะมีข้อผิดพลาดบ้าง แต่พอลงเวทีมา ก็จะมีโมเมนต์ที่คนเดินมาชม หรือเดินมาบอกว่ายังขาดตรงไหน มันเลยเป็นช่วงเวลาของความภูมิใจ ความสุข แล้วเราก็เสพติดความสุขแบบนี้”

หลังจากผ่านสนามเต้นอย่างเชี่ยวกรำมาในช่วงวัยเรียน จนเรียกได้ว่างานเต้นเป็นอาชีพหลักของทั้งสอง (นอกจากการเรียน) ก็ว่าได้ แม้ตอนนี้ทั้งคู่จะเข้าสู่วงการสาวออฟฟิศเต็มตัว แต่งานเต้นก็ยังคงเป็นงานอดิเรกที่รัก และยังมีการเต้นอยู่ในชีวิตเสมอ
“เราสองคนยังคีปการเต้นอยู่ในชีวิตไปเรื่อยๆ เราไม่อยากให้มันหายไปเพราะเราก็ยังชอบเต้นกันอยู่ แล้วก็เต้นด้วยกันมาตั้งหลายปี เลยเป็นที่มาของการสร้างทีมและสร้างช่อง นอกจากจะเป็นพาร์ทที่ทำได้เราได้หลบจากงานประจำแล้ว ก็ยังเป็นช่องทางเสริมของเราด้วย” ฟ้าเล่าเรื่องชีวิตในตอนนี้
“ตอนแรกมันอาจจะยังแบลงก์ๆ หน่อย เพราะเหมือนเราสร้างอะไรขึ้นมาใหม่ แต่ก็ต้องใช้ความสม่ำเสมอ จนตอนนี้ก็มีคนติดต่องานมาจริงๆ ให้ออกแบบโชว์ หรืออยากได้ทีมนี้ไปเต้นให้ แสดงว่าสิ่งที่เราทำมันได้ผล มันยังต่อยอดได้ หรือสตูดิโอที่เราเรียนมาก็ยังมาเรียกเราไปช่วยงานอยู่” ญาดาเสริม
“เราก็ยังรู้สึกว่า การเต้นสามารถเป็นความชอบอีกแบบที่ถึงมันจะไม่ได้เป็นอาชีพหลัก แต่มันยังอยู่ในชีวิตเราอยู่เสมอ และนี่คือทีมเรา”
ติดตาม BERMUDUZ ได้ที่
youtube : @BERMUDUZ
TikTok : @bmdz.crew
“สุดท้ายแล้ว ในช่วงเวลาของห้องสี่เหลี่ยมห้องนี้ มันคือช่วงเวลาที่เราจะได้ทำความรู้จักกับตัวเองมากที่สุด ได้เปิดโลก ได้มีสังคมใหม่” ห้องสี่เหลี่ยมของ ฟ้า - พิมพ์นภัส ฉัตรพัฒนพงศ์ และ ญาดา สุวรรณานุช เพื่อนรักที่ฟอร์มทีมร่วมกันในนาม BERMUDUZ คือห้องซ้อมเต้นที่พาเด็กนักเรียนชั้นมัธยมวิ่งขึ้นสู่หลากหลายเวทีใหญ่ระดับประเทศ
ญาดาเริ่มต้นการเต้นจากห้องเรียนบัลเล่ต์สมัย 3 ขวบ ก่อนจะมาค้นพบเคป็อปในช่วงมัธยมปลายจนนำมาสู่การเรียนเต้นแบบจริงจัง ห้องเรียนเต้นห้องนั้นพาเธอให้มาพบกับฟ้า เด็กกิจกรรมประจำโรงเรียนที่ผ่านผลงานมากมายจนมาจบที่การเต้นเคป็อปอย่างที่สมัยนิยม จนถึงวันนี้ก็เกือบ 8 ปีแล้ว และทั้งคู่ก็ยังเต้นต่อไป แม้เส้นทางอาจเปลี่ยนผ่านไปตามช่วงวัยบ้าง แต่เรื่องเต้นก็ยังเป็นสาระใหญ่ในชีวิต

“ฟ้าอยากให้มองว่า การเต้นคืออีกหนึ่งกิจกรรม เหมือนกับการออกกำลังกาย กีฬา วิชาการ แล้วเด็กแต่ละคนก็มีความถนัดไม่เหมือนกัน กลับกันว่าถ้านี่คือ ‘ความชอบ’ ยิ่งชอบก็ยิ่งสนุกยิ่งอยากเรียนรู้ไปด้วย ก็เหมือนกับการเรียนรู้อีกแบบ แล้วถ้าการเต้นเป็นสิ่งที่ถนัดไปแล้ว เขาก็จะโลดแล่นไม่ต่างจากการเล่นกีฬาหรือวิชาการเลย มันคือการทำให้เด็กรู้จักตัวเอง” ฟ้าผู้เป็นตัวแทนของเด็กที่รักการเต้นเล่าให้กับเราฟัง
“จนถึงทุกวันนี้เราได้โอกาสมากมายจากการเต้น” ญาดาเสริมบ้าง “เราได้ทำงาน เราเริ่มมีรายได้ตั้งแต่ยังเรียนอยู่ มันก็ต่อยอดมาจากการเต้น และยิ่งเรารักมันมาก เราก็จะอยากพัฒนาสกิล พัฒนาสไตล์ออกไปได้อีก”
“เพราะฉะนั้นสำหรับใครที่อยากเป็นนักเต้น มันคือทำความรู้จักกับตัวเอง แล้วอยากพัฒนาตัวเอง ขวนขวายทุกอย่างที่เป็นทางเรียนรู้ มีแพชชั่นตลอดเวลา นี่แหละคือการได้ทำในสิ่งที่รัก” ฟ้าสรุป
IIIi - โอกาสของชีวิตที่เกิดจากความรัก

เราพาทุกคนย้อนกลับไปในห้องเรียนสอนเต้นของสองสาว ชีวิตประจำวันของนักเรียนมัธยมปลายจะมีอะไรมากไปกว่าการเรียนในวันธรรมดา และได้หยุดว่างวันเสาร์อาทิตย์ แต่วันหยุดของทั้งสองตัดสินใจมอบให้กับคลาสเรียนเต้น ได้มาเจอกัน ลองทำทีมแข่ง และก้าวไปถึงการเป็นนักเต้นแบ็กอัปให้ศิลปินตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ
“ฟ้าไม่ได้มีความคิดว่า เราจะมุ่งมั่นเต้นทางนี้เลยดีกว่า แต่พอมันมีโอกาสเข้ามานิดเดียว เราก็อยากลองอยากทำ อยากจริงจังกับมามากกว่านี้อีก แต่พอเรียนอาทิตย์ละครั้งก็เริ่มอิ่มตัว ครูเลยชวนเราให้ลองจับทีมไปแข่งไหม เราก็ไม่คิดเหมือนกันว่า จากการเริ่มต้นเรียนเต้นเคป็อป ขยับมาเรียนฮิปฮอป จนไปถึงการทำทีมเต้นไปแข่งดู”

ฟ้าบอกว่าการแข่งเต้นสำหรับเธอเหมือนเป็นโลกอีกใบหนึ่ง ที่ต้องโฟกัสกับการฝึกซ้อม วินัย และความอดทนพยายาม ซึ่งการทำทีมเต้นยิ่งทำให้เธอท้าทายขึ้นไปอีก ตรงที่ต้องจูนร่างกายของแต่ละคนให้มาใช้กระดูกเดียวกันให้ได้
“ความยากคือ นอกจากต้องฝึกเบสิกร่างกายตัวเองแล้ว มันต้องคอนเนกต์ให้เหมือนคนอื่นด้วย เพราะการเต้นเป็นทีมไม่สามารถดูแค่เราคนเดียวได้ เราต้องเหมือนกับเพื่อนคนอื่น แต่ก็ยังต้องเป็นตัวเองด้วย ซึ่งระหว่างที่เทรนมาด้วยกันก็เหมือนเราลิงค์กันและกันไปแล้วจนเหมือนเป็นคนเดียวกัน กลายเป็นว่าแค่ต่อท่าจบก็ไปกันต่อได้เลย”

“มันจะชอบมีคนบอกว่า ฟีลในห้องซ้อมกับฟีลบนเวทีจะต่างกัน พอเราไปอยู่บนเวที เรามองเห็นคน เราเห็นรีแอคชั่นว่าเราต้องใส่ แล้วมันก็จะ Hype ขึ้นอีก” สำหรับญาดาที่เดินทางสายแบ็กอัปแดนเซอร์ให้กับศิลปิน นอกจากการรวมทีมแล้ว ยังขยับไปเป็นเรื่องการออกแบบท่าเต้น (Choreographer) และการออกแบบโชว์ ที่ต่อยอดออกจากงานเต้นไปสู่งานสายครีเอทีฟได้อีก
“เราเคยได้เป็นผู้ช่วยของคอนโทรลที่ดูภาพรวมทั้งหมดของโชว์ ได้อยู่เบื้องหลังกระบวนการทำงานทั้งหมด ยิ่งพอเรามีความรู้ด้านนี้ เราสามารถมองอะไรได้กว้างกว่าที่จะเป็นจุดในตำแหน่งนั้นอย่างเดียว” จากทักษะการเต้น พัฒนาและแตกแขนงออกไปเป็นอีกหลายสายงาน ไม่ว่าจะเป็นอินฟลูเอนเซอร์นักเต้น ผู้กำกับการเต้นในมิวสิควิดีโอ หรือแม้แต่ในงานสายโฆษณา
“มันคือทักษะของสังคมด้วย” ฟ้าเล่าให้เราเห็นทักษะจากการเต้นที่มากกว่าระเบียบร่างกาย “ฟ้าคิดมาตลอดว่า รู้สึกดีที่มาเต้น เพราะเหมือนเราได้มีสังคมอีกสังคมนึงที่หลายคนอาจจะไม่เข้าใจว่า ทำไมสนิทกับเพื่อนเต้นจัง เพราะเวลามาเต้นมันเหมือนกับเราสร้างครอบครัวนึง มันคือทักษะการทำงานเป็นทีม เหมือนกับที่คนเคยบอกว่า คนเราจะรู้จักกันดีที่สุดในตอนที่ลำบากหรือเหนื่อยที่สุด ซึ่งฟ้าว่าเวลาเต้นมันจะมีช่วงที่เหนื่อยมากๆ ทำไม่ได้สักที มันคือการที่เราเผชิญปัญหาร่วมกัน”
IIIi - เมื่อความรักกลายเป็นอาชีพ : รักษาไฟในตัวให้สม่ำเสมอตลอด

“พอการเต้นต่อยอดเป็นอาชีพแล้ว มันเริ่มไม่ใช่แค่ว่า ต้องเต้นให้ดีแล้ว มันเริ่มต้องคิดว่า เราจะเอาการเต้นนี้ไปประยุกต์ยังไงให้ได้ตามแบบที่ลูกค้าต้องการ อย่างเมื่อก่อนเราเต้นคือแค่รับ แต่ตอนนี้เราเป็นต้องคิดต้องสร้างสรรค์ออกมา เพราะฉะนั้นเราก็ต้องขวนขวายเรียนรู้อีก หรือจากที่เคยเรียนด้วยกัน ก็ต้องแยกไปเรียนกับคนอื่นบ้าง เพื่อให้ได้ Vibe ใหม่ๆ เข้ามา หรืออย่างนักเต้นที่เป็นครูที่เก่งมากๆ แล้ว เขาก็ยังต้องบินไปต่างประเทศเพื่อศึกษาหรือดูนักเต้นที่เก่งกว่าเขา เพื่อนำมาปรับเรียนรู้แล้วพัฒนาขึ้นไปอีก”
“ส่วนตัวเลยรู้สึกว่า วงการนี้มันไม่มีทางเก่งที่สุด มันคือแค่ว่า เราทำตรงนี้ได้ดีแล้ว แล้วเราต้องดันบาร์ความสามารถของเราไปเรื่อยๆ อีก” ฟ้าบอก

สำหรับญาดา เวทีหนึ่งที่เธอประทับใจมากที่สุด คือเวทีคอนเสิร์ตเคาน์ดาวน์พัทยา ปี 2022 กับทีมแดนเซอร์ฟูลทีมให้กับ แองจี้ - ฐิติชา สมบัติพิบูลย์ ศิลปินทีป๊อปในสังกัด E29 Music Identities
“เพราะเป็นทีมที่ซ้อมกันมานานเป็นปีก่อนที่น้องจะเดบิวต์ และโอกาสที่จะได้ขึ้นครบ 8 คนมีน้อยมาก เราเลยรู้สึกว่างานนี้ฟูลฟิลกับเรามาก เพราะเป็นทีมที่ซ้อมด้วยกันมา แล้วสุดท้ายได้โชว์บนเวทีใหญ่และเต็มศักยภาพ แล้วพอเราได้ขึ้นไปบนเวที ได้มองเห็นคนเยอะๆ เอ็นจอยกับเราเล่นกับเราด้วย ก็คือสนุกมาก ถึงมันจะเหนื่อยแต่ก็รู้สึกได้ว่า เราได้ทำโชว์ออกมาให้ทุกคนได้ดู”
ในส่วนของฟ้าที่เป็นสายทำทีมแข่งเสียมากกว่า เวทีที่เธอยังจำไม่เคยลืมคือเวทีแข่งแรกที่ทั้งทีมต้องทำทั้งโชว์ด้วยตัวเองโดยไม่มีครูมาช่วยไกด์เหมือนแต่ก่อน
“ตอนนั้นเราไปแบบทีมโนเนมเลย แต่ในงานมีแต่ทีมใหญ่ทีมโปรชนิดที่งัดทักษะมาแข่งกันสุดๆ แต่ว่าจังหวะที่ซ้อมกันก่อนขึ้นเวทีนี่แหละคือช่วงเวลาของความขลัง เป็นช่วงที่ทุกคนในทีมไม่มีใครให้กำลังใจเราได้มากกว่าพวกเรากันเอง พอขึ้นไปแข่งเลยเหมือนได้รู้สึกปลดปล่อย อาจจะมีข้อผิดพลาดบ้าง แต่พอลงเวทีมา ก็จะมีโมเมนต์ที่คนเดินมาชม หรือเดินมาบอกว่ายังขาดตรงไหน มันเลยเป็นช่วงเวลาของความภูมิใจ ความสุข แล้วเราก็เสพติดความสุขแบบนี้”

หลังจากผ่านสนามเต้นอย่างเชี่ยวกรำมาในช่วงวัยเรียน จนเรียกได้ว่างานเต้นเป็นอาชีพหลักของทั้งสอง (นอกจากการเรียน) ก็ว่าได้ แม้ตอนนี้ทั้งคู่จะเข้าสู่วงการสาวออฟฟิศเต็มตัว แต่งานเต้นก็ยังคงเป็นงานอดิเรกที่รัก และยังมีการเต้นอยู่ในชีวิตเสมอ
“เราสองคนยังคีปการเต้นอยู่ในชีวิตไปเรื่อยๆ เราไม่อยากให้มันหายไปเพราะเราก็ยังชอบเต้นกันอยู่ แล้วก็เต้นด้วยกันมาตั้งหลายปี เลยเป็นที่มาของการสร้างทีมและสร้างช่อง นอกจากจะเป็นพาร์ทที่ทำได้เราได้หลบจากงานประจำแล้ว ก็ยังเป็นช่องทางเสริมของเราด้วย” ฟ้าเล่าเรื่องชีวิตในตอนนี้
“ตอนแรกมันอาจจะยังแบลงก์ๆ หน่อย เพราะเหมือนเราสร้างอะไรขึ้นมาใหม่ แต่ก็ต้องใช้ความสม่ำเสมอ จนตอนนี้ก็มีคนติดต่องานมาจริงๆ ให้ออกแบบโชว์ หรืออยากได้ทีมนี้ไปเต้นให้ แสดงว่าสิ่งที่เราทำมันได้ผล มันยังต่อยอดได้ หรือสตูดิโอที่เราเรียนมาก็ยังมาเรียกเราไปช่วยงานอยู่” ญาดาเสริม
“เราก็ยังรู้สึกว่า การเต้นสามารถเป็นความชอบอีกแบบที่ถึงมันจะไม่ได้เป็นอาชีพหลัก แต่มันยังอยู่ในชีวิตเราอยู่เสมอ และนี่คือทีมเรา”
ติดตาม BERMUDUZ ได้ที่
youtube : @BERMUDUZ
TikTok : @bmdz.crew
Text:
Nathanich C.
Nathanich C.
PHOTO:
Chanathip K.
Chanathip K.
Related Posts


พบกับ Design Up+Rising: ออกแบบพร้อมบวก+ ในเทศกาล Bangkok Design Week 2025
พบกับ Design Up+Rising: ออกแบบพร้อมบวก+ ในเทศกาล Bangkok Design Week 2025
พบกับ Design Up+Rising: ออกแบบพร้อมบวก+ ในเทศกาล Bangkok Design Week 2025


Hellovachboy : 'ดอกไม้แห่งความหวัง' ที่อยากส่งต่อให้กับผู้คน
Hellovachboy : 'ดอกไม้แห่งความหวัง' ที่อยากส่งต่อให้กับผู้คน
Hellovachboy : 'ดอกไม้แห่งความหวัง' ที่อยากส่งต่อให้กับผู้คน


