เบอร์ลิน-โคเปนเฮเกน กับการออกแบบพื้นที่สาธารณะของเมือง
เบอร์ลิน-โคเปนเฮเกน กับการออกแบบพื้นที่สาธารณะของเมือง
29 พ.ย. 2566
SHARE WITH:
29 พ.ย. 2566
29 พ.ย. 2566
SHARE WITH:
SHARE WITH:
เบอร์ลิน-โคเปนเฮเกน กับการออกแบบพื้นที่สาธารณะของเมือง
เมื่อการออกแบบพื้นที่สาธารณะของเมือง เป็นเหมือนการปลอบประโลมผู้คนที่อยู่ในสังคม และสร้างสิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน
ต้นเดือนที่ผ่านมากองบรรณาธิการของเราได้มีโอกาสเดินทางไปที่ เบอร์ลิน เมืองหลวงของประเทศเยอรมนี แล้วนั่งรถไฟขึ้นเหนือไปเที่ยวที่เมือง โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เราได้มีโอกาสไปเที่ยวชมเมืองโดยการเดินชมเมือง ได้ทดลองใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพื่อเดินทาง จนเราสังเกตเห็นว่าการที่ ”เมือง” ใส่ใจกับเรื่องเล็กๆ ที่สื่อสารการออกแบบฟังก์ชั่นต่างๆ ที่อยู่ในเมือง มันเหมือนการเห็นความสำคัญของคนทุกในทุกรูปแบบ เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ รวมถึงผู้พิการ ฯลฯ ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ของเมืองได้อย่างเต็มศักยภาพ และการออกแบบส่งผลต่อวิถีของการใช้ชีวิตให้ดียิ่งขึ้น
ถึงแม้ว่าทั้งสองเมืองอย่าง เบอร์ลิน และ โคเปนเฮเกน จะมีความแตกต่างกันอยู่หลายอย่างทั้งวัฒนธรรม ผู้คน ภูมิศาสตร์ ฯลฯ แต่มีทางแนวคิดที่เชื่อมโยงกันบางอย่างคือ พื้นฐานของการสร้าง “เมือง” ที่ตระหนักถึงปัญหาของผู้คนที่ใช้ชีวิต ทั้งในด้านกายภาพพื้นที่ และด้านสุนทรียศาสตร์ ดังนั้น การออกแบบเรื่องพื้นฐานง่ายๆ ที่อยู่ในพื้นที่สาธารณะ มันเป็นสิ่งสากลที่ “เมือง” ควรมองเห็น และให้ความสำคัญอยู่เสมอ และสิ่งเล็กๆ เหล่านั้นมันจะเป็นตัวเชื่อมโยงให้ผู้คนที่อยู่ในสังคมอย่างเรา มองโลกอย่างเข้าใจผู้คนในสังคมที่หลากหลายมากขึ้น
The Mission ของเราก็ไม่พลาดได้ที่จะบันทึกภาพวิถีชีวิตของวิถีชีวิตของชาวเมืองเหล่านี้มาฝาก และมาบอกเล่าเรื่องราวให้ผู้อ่านได้ชมกัน เพื่อส่งต่อเป็นแรงบันดาลใจให้เรานำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และสร้างสรรค์สิ่งดีๆเพื่อคนรอบตัว และคนในสังคมได้
เราจะเริ่มจากพาผู้อ่านมาเที่ยวที่เบอร์ลินก่อน
สิ่งที่ประทับใจอย่างแรกเลยคือ 'รถรางไฟฟ้า' ที่ออกแบบประตูทางเข้าให้มีความสูงเสมอกับของฟุตบาทพอดีเป๊ะ ทำให้ผู้พิการที่ใช้รถเข็น หรือครอบครัวที่มีเด็กเล็ก สามารถขึ้นรถได้แบบสบายมาก
ภาพผู้ใช้จักรยาน ที่กำลังติดไฟแดง
เมืองโคเปนเฮเกน คือเมืองที่ให้ความสำคัญกับคนใช้จักรยานไม่ต่างไปจากรถยนต์ เป็นเหมือนสัญลักษณ์แห่งวิถีของคนเมืองนี้ ที่ใช้กันแบบเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน
เรามาถึงย่าน ”Holzmarkt“ ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ Spree ที่นี่เป็นท่าเทียบเรือเก่าในสมัยก่อน
จุดเริ่มต้นเป็นเพียงแค่งานปาร์ตี้ของคนในชุมชนย่านสหกรณ์ Holzmarkt หลังจากนั้นเมืองก็ให้ความสำคัญและร่วมพัฒนาจนเกิดเป็นโครงการสุดฮิป นับว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ควรมาสักครั้งเมื่อมาเบอร์ลิน ในโครงการมีทั้งบาร์ ร้านอาหาร คาเฟ่ และที่ขาดไม่ได้เลยคือ Techno pub ที่ขึ้นชื่อ โดยการออกแบบจะเป็นที่นั่งระเบียงไม้ยาวที่กลมกลืนไปกับบริบทของสถานที่ มีโต๊ะทานอาหาร มีโซนนั่งเล่นชิลๆริมน้ำให้ผู้คนได้ซึมซับบรรยากาศริมแม่นำ้ จากพื้นที่เล็กๆของชุมชนนำไปสู่แหล่งท่องเที่ยวที่สร้างเศรษฐกิจให้กับย่านนี้ได้ดีทีเดียว
เบอร์ลิน เป็นเมืองที่ขึ้นชื่อในด้านของศิลปินกราฟฟิตี้เป็นอย่างมาก ซึ่งย่าน Holzmarkt เราจะเห็นการสร้างงานบนกำแพง หรือตึกขนาดใหญ่ทั้งตึก ทำให้ศิลปะเหล่านี้เป็นแลนด์มาร์ก ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวเช่นกัน
พิพิธภัณฑ์มีเสียง
เราเดินผ่านเข้ามาใน Simsonweg (สวนตรงข้ามกับ อาคารไรชส์ทาค หอประชุมรัฐสภา) ซึ่งเป็นสวนสาธารณะภายในมีอนุสรณ์สถานจากสงครามและประวัติศาสตร์ สร้างขึ้นเพื่อสดุดีผู้เสียชีวิตและบอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ดังนั้นจึงมีออกแบบให้มีการใช้เสียงบรรยายพร้อมไปกับข้อมูลการอ่านและการดูภาพ สามารถเลือกฟังเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ด้วย ทำให้ผู้ที่มีปัญหาทางการมองเห็น ได้รับรู้ข้อมูลที่ครบถ้วนไปพร้อมๆกัน
Memorial to the Murdered Jews of Europe
จุดท่องเที่ยวสำคัญเชิงประวัติศาสตร์ของเบอร์ลิน ก็มีเสียงบรรยายให้ทั้งสองภาษา ซึ่งทางเมืองให้ความสำคัญกับเรื่องราวในประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก
Marheineke Markthalle
เราแวะมารับประทานอาหารในตลาดที่มีร้านอาหารเล็กๆ และอาหารสด คล้ายกับตลาดสดในบ้านเรา แต่เราก็สังเกตเห็นว่าตลาดนั้นจะแบ่งพื้นที่บางส่วนให้เป็นพื้นที่กลางแจ้ง มีการออกแบบพื้นที่สาธารณะรอบๆ ตลาดที่อยู่ร่วมกับชุมชน มีการแบ่งสัดส่วนพื้นที่ให้มีโซนที่นั่ง มีโซนให้สำหรับเด็ก หรือการออกแบบพื้นที่เล็กๆ สำหรับนั่งพักพบปะพูดคุยกันได้ ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้เราจะเห็นได้ทุกๆ ย่านในเบอร์ลิน
พื้นที่ใต้รางรถไฟก็เท่ห์ได้
มาที่ย่าน Savignyplatz เราจะเห็นพื้นที่ใต้รางรถไฟถูกนำมาดัดแปลงเป็นร้านค้าที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ร้านหนังสือ, คาเฟ่, แกลเลอรี่, สินค้าแบรนด์ต่างๆ, ซุปเปอร์มาร์เก็ต ฯลฯ มีการตกแต่งอาคารด้วย อิฐ เหล็ก กระจก ที่มีกลิ่นอายของสไตล์ Industrial Design สอดคล้องไปกับโครงสร้างเหล็กของรางรถไฟ ซึ่งเก๋มากๆ
ภายในอาคารร้านค้า ที่จะมีทางยาวสามารถเดินเชื่อมถึงกันกันได้ โดยไม่ต้องออกไปด้านนอก
ขณะที่เรากำลังเพลิดเพลินกับการช้อปปิ้ง จะได้ยินเสียงรถไฟวิ่งอยู่ด้านบนเป็นพักๆ แต่ก็ไม่ได้ดังมากจนพูดคุยกันไม่รู้เรื่อง ถือว่าคุ้มค่าอยู่ดีในแง่ของการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์
เดินทางแบบไร้รอยต่อ
การออกแบบลิฟต์โดยสารสำหรับใช้รถไฟใต้ดิน สามารถใช้บริการต่อเนื่องจากทางเดินเท้าได้เลย สะดวกสำหรับเด็ก ผู้พิการ และคนชรา ที่ไม่สามารถใช้งานบันไดปกติได้
ไม้เลื้อยที่เป็นเหมือนฟาซาดลวดลายธรรมชาติ
ในเบอร์ลินมีอาคารจำนวนมากที่เพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยการปลูกต้นไม้เลื้อยปล่อยไปตามพื้นผิวอาคาร ซึ่งดูสบายตา และบางครั้งก็เชื่อมต่อไปตามอาคารอื่นๆ ใกล้เคียงด้วย เป็นเหมือนการตกแต่งภายนอกด้วยธรรมชาติ
อาคารรูปทรงคลาสสิก ที่มีต้นไม้เลื้อยเป็นใบไม้เปลี่ยนสีเพิ่มทัศนียภาพให้เมืองดูสวยงามยิ่งขึ้น
ป้ายปิดไซต์ก่อสร้างสุดเปรี้ยว
คนเยอรมันเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องการออกแบบกราฟิกรวมถึงออกแบบตัวอักษรแน่นอนว่าจะธรรมดาไม่ได้
แม้แต่ป้ายปิดงานก่อนสร้างทีใช้โทนสีได้แปลกตา
อันนี้ก็ยังคงเป็นการออกแบบป้าย โดยขอยกตัวอย่างของบริษัทเอกชนอย่าง Bild หนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ของเยอรมนี ที่เป็นข่าวเรื่องการปลดพนักงานแลัวหันมาใช้ AI แทนทีมบรรณาธิการในการทำข่าว (เราก็สงสัยว่า เอ๊ะ! หรือภาพในป้ายนี้จะมาจาก AI นะ ใครทราบมาแบ่งปันข้อมูลได้นะครับ)
พื้นที่ใต้รางรถไฟที่ว่างเปล่าถูกดัดแปลงมาเป็นลานจอดรถสาธารณะ เราเห็นได้ในหลายๆ พื้นที่ตลอดเวลาที่อยู่ที่นี่
เราเดินทางมาถึงโคเปนเฮเกน
สิ่งแรกคือจักรยานเยอะมาก ผู้คนนั่งชิล ไม่เร่งรีบ พื้นที่เมืองมีที่รองรับให้ผู้คนได้ผ่อนคลาย มีพื่นที่ได้พักผ่อนหย่อนใจ อ่านหนังสือ ฟังเพลง จิบเครื่องดื่มได้ไปพลางๆ ก่อนที่ฟ้าจะมืดลง เป็นความประทับใจแรกของการมาถึง
ขวดพลาสติกแลกเงินได้
หากคุณซื้อขวดน้ำพลาสติกในโคเปนเฮเกน สามารถเก็บและนำมาใส่เครื่องตามภาพได้เลย โดยเครื่องนี้ก็จะมีตามหน้าซุปเปอร์มาร์เก็ตและอาคารต่างๆ ซึ่งไม่แปลกที่เราจะเห็นคนทั่วไปเก็บขวดพลาสติกออกมาจากถังขยะ หรือคนที่เดินเก็บขวดแบบจริงจังเลยก็มีนะ (อย่างในภาพถ้าคิดเป็นเงินไทยก็ถือว่าราคาดีเลย)
เราก็พลาดไม่ได้ที่จะลองบ้าง เมื่อเราใส่ขวดลงไปในเครื่อง หลังจากนั้นเราจะได้ใบเสร็จออกมาตามภาพนี้เราได้มา 3 DKK (ใช้ประมาณ 3-4 ขวด) เอาใบเสร็จนี้ไปแลกซื้อของในซุปเปอร์มาร์เก็ตได้เลย
เมืองแห่งจักรยานโดยแท้จริง
ภาพนี้ถ่ายจากวิวหน้าต่างรถเมล์ ซึ่งบางท่านก็ปั่นเร็วมาก 55 เพราะไม่ต้องกังวลทางข้างหน้า และคนที่นี่เคารพกฎจราจรเป็นอย่างมาก ทางใครทางมันแบบไม่วิ่งทับกัน
ทางที่อยู่ร่วมกัน
ในย่านท่องเที่ยวถึงแม้ว่าร้านค้าจะมีโต๊ะเก้าอี้ วางบนทางเท้า ทุกอย่างก็ถูกจัดอย่างมีระเบียบ มีทางคนเดินที่พอดีแบบไม่ต้องคอยเลี่ยงหรือลงไปเดินบนถนน
โคเปนเฮเกน เป็นเมืองที่ปลอดภัยสำหรับเด็กมากๆ เหมาะกับการพามาเที่ยวแบบครอบครัว ถึงแม้ว่าจะมีลูกเล็ก ก็สามารถพามาได้อย่างปลอดภัย เพราะการขนส่งสาธารณะที่รองรับทุกเพศทุกวัยและใช้งานได้จริง อย่างเช่นในภาพนี้มีคุณครูกับพี่เลี้ยงกำลังพาคณะเด็กอนุบาล เดินชมเมืองเพื่อศึกษานอกสถานที่ โดยเดินทางด้วยการขนส่งสาธารณะเป็นการเรียนรู้ไปในตัว
รถเมล์ไฟฟ้า ที่มาพร้อมกับช่องเสียบ USB สำหรับบริการผู้โดยสาร เราเดินทางโดยซื้อตั๋วแบบเหมา 3 วัน (ประมาณ 1 พันบาท) โดยใชั้ได้ในโซนเมืองทั้งหมดครอบคลุมทั้งรถเมล์และรถไฟใต้ดินในใบเดียว และขึ้นกี่เที่ยวก็ได้
การออกแบบรถเมล์ ให้มีทางขึ้นที่สอดคล้องกับความสูงของฟุตบาธ ทำให้ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ครอบครัวที่มีเด็กเล็ก สามารถใช้บริการได้สะดวก และภายในจะมีโซนแยกที่นั่งสำหรับเด็กและคนชราที่ขึ้นมาแล้วสามารถนั่งได้เลย แต่หากเป็นคนปกติหนุ่มสาวจะต้องเดินไปนั่งโซนหน้ารถและท้ายรถ
สะพาน Lille Langebro ที่มีไว้ให้คนและจักรยานเท่านั้น
เป็นแลนด์มาร์กที่สำคัญหากใครสนใจด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม การออกแบบโครงสร้างให้เหมือนกับริบบิ้นที่มีรอยพับ มีการซ่อนไฟอยู่ที่ราวจับ หากมองในเวลากลางคืนจะเป็นภาพสะพานที่เหมือนบิดเบี้ยวดูแปลกตา
บนสะพานก็มีการแบ่งเส้นทางของการเดินและการใช้จักรยานอย่างชัดเจน
ไซต์งานก่อสร้างของที่นี่ก็ต้องแบ่งเส้นทางให้ชัดเจน เพื่อความปลอดภัยของคนที่สัญจรไปมา
ภาพวาดของเด็ก มาเป็นป้ายปิดไซต์งานก่อสร้าง ทำให้บรรยากาศดูซอฟต์ลง
เราลองนั่งรถเมล์ออกมาย่านชานเมืองที่เป็นย่านอุตสาหกรรม ใกล้ๆกับ Copen Hill โดยป้ายรถเมล์ที่นี่จะมีการบอกเวลา และบอกสายของรถเมล์ ซึ่งเราลองทดสอบดูแล้วมาตรงเวลาจริงๆ ทำให้การวางแผนเดินทางเข้าเมืองของคนที่นี่ น่าจะมีความสะดวกมากขึ้น
รถเมล์สาย 5C กำลังจะมาในอีก 4 นาที
ตอนมาถึงเมืองนี้ใหม่ๆ เรามีความสงสัยกับรูปทรงกระจกสามเหลี่ยมนี้ว่า มันน่าจะเป็นนงานศิลปะในสวนสาธารณะที่มีทุกที่ แต่จริงๆแล้ว มันคือหลังคา Skylight ที่เป็นแสงธรรมชาติ ช่วงส่องสว่างและลดการใช้พลังงานของรถไฟฟ้าใต้ดิน
จากด้านล่างมองขึ้นไป ถึงแม้ว่ามันสูงมากแต่ก็สว่างและดูโล่งเพราะรับแสงมาเต็มๆ ช่วยในการประหยัดพลังงานช่วงกลางวันได้เยอะมาก เพราะโถงบันไดเลื่อนค่อนข้างสูงน่าจะต้องใช้ไฟที่มีความสว่างที่ใช้กำลังไฟสูง หลังคาแสงธรรมชาติที่มีทุกที่จึงช่วยการใช้ลดพลังงานไปได้เยอะมาก
Kastrup Strandpark
เป็นพื้นที่ที่เกิจากการพัฒนาจากการสร้างท่าเรือ และมีการถมชายฝั่งเพื่อเป็นที่สาธารณะซึ่งออกแบบโดยสถาปนิก เมื่อมาถึงเราเห็นทางไม่มีการถมเพื่อทำถนน และถูกปล่อยให้เป็นแค่ทางเดินให้ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด มีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีความรู้สึกเหมือนป่าจริงๆ ที่อยู่ในเขตเมือง
Kastrup Strandpark
เป็นพื้นที่สาธารณะเลียบชายฝั่งทะเล The Sound ออกแบบพื้นที่มาเพื่อรองรับกิจกรรมต่างๆของชาวเมือง เดินเล่น วิ่งออกกำลังกาย กิจกรรมทางน้ำต่างๆ และที่นี่มีผลงานทางสถาปัตยกรรม Kastrup Sea Bath ที่ได้รางวัลสถาปัตยกรรมในด้านการออกแบบพื้นที่สาธารณะระดับโลก
เราประทับใจในการออกแบบพื้นที่โล่งให้เป็นเนินลาดชันขึ้นไป เพื่อให้ผู้คนได้นั่งชมวิวในหลากหลายมุมมอง และไม่บดบังการชมวิวของแต่ละคน
ชายหาดที่ถมทำให้น้ำที่อยู่ชายฝั่งไม่ลึกและไม่เป็นอันตราย ที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุทางน้ำ
ความปลอดภัยสำหรับผู้ที่ทำกิจกรรมทางน้ำ โดยจะมีสะพานที่ยืนลงไปพร้อมกับแท่นให้ยึดเกาะ และมีบันไดสำหรับขึ้นมานั่งพักบนสะพานได้
ผลงานสถาปัตยกรรม Kastrup Sea Bath (เราจะมีคอนเทนต์ที่อธิบายรายละเอียด รอติดตามชมได้เลย )
การออกแบบห้องน้ำที่ระบายอากาศ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้ไม้เรียงเป็นระแนงเพื่อให้ลมผ่าน และกลมกลืนไปกับทัศนียภาพ
เราเดินทางกลับมาขึ้นรถไฟ ก็สังเกตเห็นสะพานคอนกรีตแทบจะทุกสะพาน ถูกปกคลุมด้วยต้นไม้เขียวขจี เป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในอีกรูปแบบหนึ่ง
สะพานข้ามคลองที่นั่งมองวิวและฮีลใจได้
ในเมืองมีที่นั่งเป็นไม้ท่อนยาว เหมือนอัฒจรรย์ขนาดเล็ก กระจายอยู่หลายๆสะพานในเมือง เราเห็นผู้คนนั่งนิ่งๆ มองวิวข้างหน้า บางคนฟังเพลง บางคนนั่งเฉยๆ หรือบางคนที่เป็นคู่รักก็มานั่งมองวิวพระอาทิตย์ตกด้วยกัน
เราจะเห็นพื้นที่ลานจอดจักรยาน กระจายอยู่เต็มเมือง ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า ย่านธุรกิจ แหล่งท่องเที่ยว ฯลฯ
เมื่อการออกแบบพื้นที่สาธารณะของเมือง เป็นเหมือนการปลอบประโลมผู้คนที่อยู่ในสังคม และสร้างสิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน
ต้นเดือนที่ผ่านมากองบรรณาธิการของเราได้มีโอกาสเดินทางไปที่ เบอร์ลิน เมืองหลวงของประเทศเยอรมนี แล้วนั่งรถไฟขึ้นเหนือไปเที่ยวที่เมือง โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เราได้มีโอกาสไปเที่ยวชมเมืองโดยการเดินชมเมือง ได้ทดลองใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพื่อเดินทาง จนเราสังเกตเห็นว่าการที่ ”เมือง” ใส่ใจกับเรื่องเล็กๆ ที่สื่อสารการออกแบบฟังก์ชั่นต่างๆ ที่อยู่ในเมือง มันเหมือนการเห็นความสำคัญของคนทุกในทุกรูปแบบ เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ รวมถึงผู้พิการ ฯลฯ ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ของเมืองได้อย่างเต็มศักยภาพ และการออกแบบส่งผลต่อวิถีของการใช้ชีวิตให้ดียิ่งขึ้น
ถึงแม้ว่าทั้งสองเมืองอย่าง เบอร์ลิน และ โคเปนเฮเกน จะมีความแตกต่างกันอยู่หลายอย่างทั้งวัฒนธรรม ผู้คน ภูมิศาสตร์ ฯลฯ แต่มีทางแนวคิดที่เชื่อมโยงกันบางอย่างคือ พื้นฐานของการสร้าง “เมือง” ที่ตระหนักถึงปัญหาของผู้คนที่ใช้ชีวิต ทั้งในด้านกายภาพพื้นที่ และด้านสุนทรียศาสตร์ ดังนั้น การออกแบบเรื่องพื้นฐานง่ายๆ ที่อยู่ในพื้นที่สาธารณะ มันเป็นสิ่งสากลที่ “เมือง” ควรมองเห็น และให้ความสำคัญอยู่เสมอ และสิ่งเล็กๆ เหล่านั้นมันจะเป็นตัวเชื่อมโยงให้ผู้คนที่อยู่ในสังคมอย่างเรา มองโลกอย่างเข้าใจผู้คนในสังคมที่หลากหลายมากขึ้น
The Mission ของเราก็ไม่พลาดได้ที่จะบันทึกภาพวิถีชีวิตของวิถีชีวิตของชาวเมืองเหล่านี้มาฝาก และมาบอกเล่าเรื่องราวให้ผู้อ่านได้ชมกัน เพื่อส่งต่อเป็นแรงบันดาลใจให้เรานำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และสร้างสรรค์สิ่งดีๆเพื่อคนรอบตัว และคนในสังคมได้
เราจะเริ่มจากพาผู้อ่านมาเที่ยวที่เบอร์ลินก่อน
สิ่งที่ประทับใจอย่างแรกเลยคือ 'รถรางไฟฟ้า' ที่ออกแบบประตูทางเข้าให้มีความสูงเสมอกับของฟุตบาทพอดีเป๊ะ ทำให้ผู้พิการที่ใช้รถเข็น หรือครอบครัวที่มีเด็กเล็ก สามารถขึ้นรถได้แบบสบายมาก
ภาพผู้ใช้จักรยาน ที่กำลังติดไฟแดง
เมืองโคเปนเฮเกน คือเมืองที่ให้ความสำคัญกับคนใช้จักรยานไม่ต่างไปจากรถยนต์ เป็นเหมือนสัญลักษณ์แห่งวิถีของคนเมืองนี้ ที่ใช้กันแบบเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน
เรามาถึงย่าน ”Holzmarkt“ ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ Spree ที่นี่เป็นท่าเทียบเรือเก่าในสมัยก่อน
จุดเริ่มต้นเป็นเพียงแค่งานปาร์ตี้ของคนในชุมชนย่านสหกรณ์ Holzmarkt หลังจากนั้นเมืองก็ให้ความสำคัญและร่วมพัฒนาจนเกิดเป็นโครงการสุดฮิป นับว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ควรมาสักครั้งเมื่อมาเบอร์ลิน ในโครงการมีทั้งบาร์ ร้านอาหาร คาเฟ่ และที่ขาดไม่ได้เลยคือ Techno pub ที่ขึ้นชื่อ โดยการออกแบบจะเป็นที่นั่งระเบียงไม้ยาวที่กลมกลืนไปกับบริบทของสถานที่ มีโต๊ะทานอาหาร มีโซนนั่งเล่นชิลๆริมน้ำให้ผู้คนได้ซึมซับบรรยากาศริมแม่นำ้ จากพื้นที่เล็กๆของชุมชนนำไปสู่แหล่งท่องเที่ยวที่สร้างเศรษฐกิจให้กับย่านนี้ได้ดีทีเดียว
เบอร์ลิน เป็นเมืองที่ขึ้นชื่อในด้านของศิลปินกราฟฟิตี้เป็นอย่างมาก ซึ่งย่าน Holzmarkt เราจะเห็นการสร้างงานบนกำแพง หรือตึกขนาดใหญ่ทั้งตึก ทำให้ศิลปะเหล่านี้เป็นแลนด์มาร์ก ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวเช่นกัน
พิพิธภัณฑ์มีเสียง
เราเดินผ่านเข้ามาใน Simsonweg (สวนตรงข้ามกับ อาคารไรชส์ทาค หอประชุมรัฐสภา) ซึ่งเป็นสวนสาธารณะภายในมีอนุสรณ์สถานจากสงครามและประวัติศาสตร์ สร้างขึ้นเพื่อสดุดีผู้เสียชีวิตและบอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ดังนั้นจึงมีออกแบบให้มีการใช้เสียงบรรยายพร้อมไปกับข้อมูลการอ่านและการดูภาพ สามารถเลือกฟังเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ด้วย ทำให้ผู้ที่มีปัญหาทางการมองเห็น ได้รับรู้ข้อมูลที่ครบถ้วนไปพร้อมๆกัน
Memorial to the Murdered Jews of Europe
จุดท่องเที่ยวสำคัญเชิงประวัติศาสตร์ของเบอร์ลิน ก็มีเสียงบรรยายให้ทั้งสองภาษา ซึ่งทางเมืองให้ความสำคัญกับเรื่องราวในประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก
Marheineke Markthalle
เราแวะมารับประทานอาหารในตลาดที่มีร้านอาหารเล็กๆ และอาหารสด คล้ายกับตลาดสดในบ้านเรา แต่เราก็สังเกตเห็นว่าตลาดนั้นจะแบ่งพื้นที่บางส่วนให้เป็นพื้นที่กลางแจ้ง มีการออกแบบพื้นที่สาธารณะรอบๆ ตลาดที่อยู่ร่วมกับชุมชน มีการแบ่งสัดส่วนพื้นที่ให้มีโซนที่นั่ง มีโซนให้สำหรับเด็ก หรือการออกแบบพื้นที่เล็กๆ สำหรับนั่งพักพบปะพูดคุยกันได้ ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้เราจะเห็นได้ทุกๆ ย่านในเบอร์ลิน
พื้นที่ใต้รางรถไฟก็เท่ห์ได้
มาที่ย่าน Savignyplatz เราจะเห็นพื้นที่ใต้รางรถไฟถูกนำมาดัดแปลงเป็นร้านค้าที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ร้านหนังสือ, คาเฟ่, แกลเลอรี่, สินค้าแบรนด์ต่างๆ, ซุปเปอร์มาร์เก็ต ฯลฯ มีการตกแต่งอาคารด้วย อิฐ เหล็ก กระจก ที่มีกลิ่นอายของสไตล์ Industrial Design สอดคล้องไปกับโครงสร้างเหล็กของรางรถไฟ ซึ่งเก๋มากๆ
ภายในอาคารร้านค้า ที่จะมีทางยาวสามารถเดินเชื่อมถึงกันกันได้ โดยไม่ต้องออกไปด้านนอก
ขณะที่เรากำลังเพลิดเพลินกับการช้อปปิ้ง จะได้ยินเสียงรถไฟวิ่งอยู่ด้านบนเป็นพักๆ แต่ก็ไม่ได้ดังมากจนพูดคุยกันไม่รู้เรื่อง ถือว่าคุ้มค่าอยู่ดีในแง่ของการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์
เดินทางแบบไร้รอยต่อ
การออกแบบลิฟต์โดยสารสำหรับใช้รถไฟใต้ดิน สามารถใช้บริการต่อเนื่องจากทางเดินเท้าได้เลย สะดวกสำหรับเด็ก ผู้พิการ และคนชรา ที่ไม่สามารถใช้งานบันไดปกติได้
ไม้เลื้อยที่เป็นเหมือนฟาซาดลวดลายธรรมชาติ
ในเบอร์ลินมีอาคารจำนวนมากที่เพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยการปลูกต้นไม้เลื้อยปล่อยไปตามพื้นผิวอาคาร ซึ่งดูสบายตา และบางครั้งก็เชื่อมต่อไปตามอาคารอื่นๆ ใกล้เคียงด้วย เป็นเหมือนการตกแต่งภายนอกด้วยธรรมชาติ
อาคารรูปทรงคลาสสิก ที่มีต้นไม้เลื้อยเป็นใบไม้เปลี่ยนสีเพิ่มทัศนียภาพให้เมืองดูสวยงามยิ่งขึ้น
ป้ายปิดไซต์ก่อสร้างสุดเปรี้ยว
คนเยอรมันเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องการออกแบบกราฟิกรวมถึงออกแบบตัวอักษรแน่นอนว่าจะธรรมดาไม่ได้
แม้แต่ป้ายปิดงานก่อนสร้างทีใช้โทนสีได้แปลกตา
อันนี้ก็ยังคงเป็นการออกแบบป้าย โดยขอยกตัวอย่างของบริษัทเอกชนอย่าง Bild หนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ของเยอรมนี ที่เป็นข่าวเรื่องการปลดพนักงานแลัวหันมาใช้ AI แทนทีมบรรณาธิการในการทำข่าว (เราก็สงสัยว่า เอ๊ะ! หรือภาพในป้ายนี้จะมาจาก AI นะ ใครทราบมาแบ่งปันข้อมูลได้นะครับ)
พื้นที่ใต้รางรถไฟที่ว่างเปล่าถูกดัดแปลงมาเป็นลานจอดรถสาธารณะ เราเห็นได้ในหลายๆ พื้นที่ตลอดเวลาที่อยู่ที่นี่
เราเดินทางมาถึงโคเปนเฮเกน
สิ่งแรกคือจักรยานเยอะมาก ผู้คนนั่งชิล ไม่เร่งรีบ พื้นที่เมืองมีที่รองรับให้ผู้คนได้ผ่อนคลาย มีพื่นที่ได้พักผ่อนหย่อนใจ อ่านหนังสือ ฟังเพลง จิบเครื่องดื่มได้ไปพลางๆ ก่อนที่ฟ้าจะมืดลง เป็นความประทับใจแรกของการมาถึง
ขวดพลาสติกแลกเงินได้
หากคุณซื้อขวดน้ำพลาสติกในโคเปนเฮเกน สามารถเก็บและนำมาใส่เครื่องตามภาพได้เลย โดยเครื่องนี้ก็จะมีตามหน้าซุปเปอร์มาร์เก็ตและอาคารต่างๆ ซึ่งไม่แปลกที่เราจะเห็นคนทั่วไปเก็บขวดพลาสติกออกมาจากถังขยะ หรือคนที่เดินเก็บขวดแบบจริงจังเลยก็มีนะ (อย่างในภาพถ้าคิดเป็นเงินไทยก็ถือว่าราคาดีเลย)
เราก็พลาดไม่ได้ที่จะลองบ้าง เมื่อเราใส่ขวดลงไปในเครื่อง หลังจากนั้นเราจะได้ใบเสร็จออกมาตามภาพนี้เราได้มา 3 DKK (ใช้ประมาณ 3-4 ขวด) เอาใบเสร็จนี้ไปแลกซื้อของในซุปเปอร์มาร์เก็ตได้เลย
เมืองแห่งจักรยานโดยแท้จริง
ภาพนี้ถ่ายจากวิวหน้าต่างรถเมล์ ซึ่งบางท่านก็ปั่นเร็วมาก 55 เพราะไม่ต้องกังวลทางข้างหน้า และคนที่นี่เคารพกฎจราจรเป็นอย่างมาก ทางใครทางมันแบบไม่วิ่งทับกัน
ทางที่อยู่ร่วมกัน
ในย่านท่องเที่ยวถึงแม้ว่าร้านค้าจะมีโต๊ะเก้าอี้ วางบนทางเท้า ทุกอย่างก็ถูกจัดอย่างมีระเบียบ มีทางคนเดินที่พอดีแบบไม่ต้องคอยเลี่ยงหรือลงไปเดินบนถนน
โคเปนเฮเกน เป็นเมืองที่ปลอดภัยสำหรับเด็กมากๆ เหมาะกับการพามาเที่ยวแบบครอบครัว ถึงแม้ว่าจะมีลูกเล็ก ก็สามารถพามาได้อย่างปลอดภัย เพราะการขนส่งสาธารณะที่รองรับทุกเพศทุกวัยและใช้งานได้จริง อย่างเช่นในภาพนี้มีคุณครูกับพี่เลี้ยงกำลังพาคณะเด็กอนุบาล เดินชมเมืองเพื่อศึกษานอกสถานที่ โดยเดินทางด้วยการขนส่งสาธารณะเป็นการเรียนรู้ไปในตัว
รถเมล์ไฟฟ้า ที่มาพร้อมกับช่องเสียบ USB สำหรับบริการผู้โดยสาร เราเดินทางโดยซื้อตั๋วแบบเหมา 3 วัน (ประมาณ 1 พันบาท) โดยใชั้ได้ในโซนเมืองทั้งหมดครอบคลุมทั้งรถเมล์และรถไฟใต้ดินในใบเดียว และขึ้นกี่เที่ยวก็ได้
การออกแบบรถเมล์ ให้มีทางขึ้นที่สอดคล้องกับความสูงของฟุตบาธ ทำให้ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ครอบครัวที่มีเด็กเล็ก สามารถใช้บริการได้สะดวก และภายในจะมีโซนแยกที่นั่งสำหรับเด็กและคนชราที่ขึ้นมาแล้วสามารถนั่งได้เลย แต่หากเป็นคนปกติหนุ่มสาวจะต้องเดินไปนั่งโซนหน้ารถและท้ายรถ
สะพาน Lille Langebro ที่มีไว้ให้คนและจักรยานเท่านั้น
เป็นแลนด์มาร์กที่สำคัญหากใครสนใจด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม การออกแบบโครงสร้างให้เหมือนกับริบบิ้นที่มีรอยพับ มีการซ่อนไฟอยู่ที่ราวจับ หากมองในเวลากลางคืนจะเป็นภาพสะพานที่เหมือนบิดเบี้ยวดูแปลกตา
บนสะพานก็มีการแบ่งเส้นทางของการเดินและการใช้จักรยานอย่างชัดเจน
ไซต์งานก่อสร้างของที่นี่ก็ต้องแบ่งเส้นทางให้ชัดเจน เพื่อความปลอดภัยของคนที่สัญจรไปมา
ภาพวาดของเด็ก มาเป็นป้ายปิดไซต์งานก่อสร้าง ทำให้บรรยากาศดูซอฟต์ลง
เราลองนั่งรถเมล์ออกมาย่านชานเมืองที่เป็นย่านอุตสาหกรรม ใกล้ๆกับ Copen Hill โดยป้ายรถเมล์ที่นี่จะมีการบอกเวลา และบอกสายของรถเมล์ ซึ่งเราลองทดสอบดูแล้วมาตรงเวลาจริงๆ ทำให้การวางแผนเดินทางเข้าเมืองของคนที่นี่ น่าจะมีความสะดวกมากขึ้น
รถเมล์สาย 5C กำลังจะมาในอีก 4 นาที
ตอนมาถึงเมืองนี้ใหม่ๆ เรามีความสงสัยกับรูปทรงกระจกสามเหลี่ยมนี้ว่า มันน่าจะเป็นนงานศิลปะในสวนสาธารณะที่มีทุกที่ แต่จริงๆแล้ว มันคือหลังคา Skylight ที่เป็นแสงธรรมชาติ ช่วงส่องสว่างและลดการใช้พลังงานของรถไฟฟ้าใต้ดิน
จากด้านล่างมองขึ้นไป ถึงแม้ว่ามันสูงมากแต่ก็สว่างและดูโล่งเพราะรับแสงมาเต็มๆ ช่วยในการประหยัดพลังงานช่วงกลางวันได้เยอะมาก เพราะโถงบันไดเลื่อนค่อนข้างสูงน่าจะต้องใช้ไฟที่มีความสว่างที่ใช้กำลังไฟสูง หลังคาแสงธรรมชาติที่มีทุกที่จึงช่วยการใช้ลดพลังงานไปได้เยอะมาก
Kastrup Strandpark
เป็นพื้นที่ที่เกิจากการพัฒนาจากการสร้างท่าเรือ และมีการถมชายฝั่งเพื่อเป็นที่สาธารณะซึ่งออกแบบโดยสถาปนิก เมื่อมาถึงเราเห็นทางไม่มีการถมเพื่อทำถนน และถูกปล่อยให้เป็นแค่ทางเดินให้ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด มีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีความรู้สึกเหมือนป่าจริงๆ ที่อยู่ในเขตเมือง
Kastrup Strandpark
เป็นพื้นที่สาธารณะเลียบชายฝั่งทะเล The Sound ออกแบบพื้นที่มาเพื่อรองรับกิจกรรมต่างๆของชาวเมือง เดินเล่น วิ่งออกกำลังกาย กิจกรรมทางน้ำต่างๆ และที่นี่มีผลงานทางสถาปัตยกรรม Kastrup Sea Bath ที่ได้รางวัลสถาปัตยกรรมในด้านการออกแบบพื้นที่สาธารณะระดับโลก
เราประทับใจในการออกแบบพื้นที่โล่งให้เป็นเนินลาดชันขึ้นไป เพื่อให้ผู้คนได้นั่งชมวิวในหลากหลายมุมมอง และไม่บดบังการชมวิวของแต่ละคน
ชายหาดที่ถมทำให้น้ำที่อยู่ชายฝั่งไม่ลึกและไม่เป็นอันตราย ที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุทางน้ำ
ความปลอดภัยสำหรับผู้ที่ทำกิจกรรมทางน้ำ โดยจะมีสะพานที่ยืนลงไปพร้อมกับแท่นให้ยึดเกาะ และมีบันไดสำหรับขึ้นมานั่งพักบนสะพานได้
ผลงานสถาปัตยกรรม Kastrup Sea Bath (เราจะมีคอนเทนต์ที่อธิบายรายละเอียด รอติดตามชมได้เลย )
การออกแบบห้องน้ำที่ระบายอากาศ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้ไม้เรียงเป็นระแนงเพื่อให้ลมผ่าน และกลมกลืนไปกับทัศนียภาพ
เราเดินทางกลับมาขึ้นรถไฟ ก็สังเกตเห็นสะพานคอนกรีตแทบจะทุกสะพาน ถูกปกคลุมด้วยต้นไม้เขียวขจี เป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในอีกรูปแบบหนึ่ง
สะพานข้ามคลองที่นั่งมองวิวและฮีลใจได้
ในเมืองมีที่นั่งเป็นไม้ท่อนยาว เหมือนอัฒจรรย์ขนาดเล็ก กระจายอยู่หลายๆสะพานในเมือง เราเห็นผู้คนนั่งนิ่งๆ มองวิวข้างหน้า บางคนฟังเพลง บางคนนั่งเฉยๆ หรือบางคนที่เป็นคู่รักก็มานั่งมองวิวพระอาทิตย์ตกด้วยกัน
เราจะเห็นพื้นที่ลานจอดจักรยาน กระจายอยู่เต็มเมือง ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า ย่านธุรกิจ แหล่งท่องเที่ยว ฯลฯ