International Trails Day
International Trails Day
16 มิ.ย. 2566
SHARE WITH:
16 มิ.ย. 2566
16 มิ.ย. 2566
SHARE WITH:
SHARE WITH:
International Trails Day
เช้าวันเสาร์ก่อนที่ Basecamp Trail Provision ไม่เหมือนกับทุกเช้าทั่วไป เสียงพูดคุยเสียงหัวเราะคละเคล้ากันไปกับเสียงหอบเหนื่อยของคนที่พึ่งวิ่งผ่านเข้าเส้นชัยที่หน้าร้าน
“วันนี้ (3 มิถุนายน) มีงาน International Trails Day ที่เป็นเหมือนงานเปิดฤดูกาลวิ่งของชาวเทรล” สุดา ตันติวีรสุต นักวิ่งเทรลเจ้าถิ่นเชียงใหม่เล่าให้ฟัง “ที่ Basecamp ก็เลยจัดงาน จุดสตาร์ตที่นี่แหละหลัง มช. ไปถึงวัดผาลาด ถึงโค้งขุนกัน (หรือโค้งสปิริต) บันไดวัดพระธาตุดอยสุเทพ แล้วกลับมาเข้าเส้นชัยที่ร้าน”
เส้นทางนี้มีชื่อเรียกว่า Pilgrim’s Trail มาจากชื่อ Segment ในแอป Strava (การพล็อตระยะวิ่งเปรียบเทียบระยะเวลากับคนอื่นๆ ในแอปเดียวกัน) เป็นชื่อที่ชาวต่างชาติชอบเรียกกัน เราตั้งเองเป็นภาษาไทยว่า เส้นทางนักแสวงบุญ เพราะเป็นเส้นทางที่มีปลายทางที่ปากทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ โดยมีระยะทางขึ้น 4 กิโลเมตร ลง 4 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 45 นาที ถึง 2 ชั่วโมง (แบบไม่รีบ)
“รูทนี้คนวิ่งเทรลชอบวิ่ง เพราะง่ายและอยู่ใกล้เมือง ตรงจุดเริ่มต้นก็มีที่จอดรถ เส้นทางก็ไม่ยาก จะมาวิ่ง มาเดิน หรือนักท่องเที่ยวก็มาเดินเที่ยวเพราะเป็นเส้นทางที่เดินง่าย วิ่งเสร็จก็มีกาแฟมีอาหารขาย เรียกว่าเป็นเส้นยอดฮิตของเชียงใหม่เลย”
หลังจบระยะคัตออฟ คอมมูนิตี้ของนักวิ่งแห่งนี้ก็ยังมีกิจกรรมแจกรางวัลเล็กใหญ่ให้ติดไม้ติดมือกลับบ้านกันไปครบทุกคน เราถามสุดาว่า ทำไมวิ่งกับเพื่อนถึงสนุกกว่าวิ่งคนเดียวล่ะ สุดาตอบแบบไม่ลังเล “ไปวิ่งกับเพื่อนคือมันไม่เหงา มีคนคุยด้วย มีคนให้บ่นเหนื่อยด้วย 5555”
“อารมณ์ก็เหมือนกับไปแฮ้งเอ๊าต์กันที่ร้านกาแฟ ได้เม้าต์มอย เพียงแต่เปลี่ยนเป็นไปวิ่งกัน ยิ่งถ้าสมมติจะซ้อมเตรียมไปงานแข่ง เวลามีเพื่อนไปด้วยคือมันช่วยบิลต์กันได้มากกว่า ถ้าจะวิ่งระยะยาวๆ ก็ไม่เหงา เหมือนมีคนเหนื่อยไปด้วยกัน เพราะบางทีไปกันหลายคนก็ไม่ใช่ว่าวิ่งด้วยกันตลอด แต่ละคนก็ไปตามแรงตัวเอง แล้วค่อยไปเจอกันเป็นจุดๆ แล้วอีกอย่าง วิ่งเป็นกลุ่มก็ปลอดภัยกว่าไปคนเดียว เผื่อมีเรื่องไม่คาดฝันอย่างบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุอะไร ก็ยังช่วยเหลือกันได้”
เริ่มต้นที่นักวิ่งทางเรียบ เดินสายลงงานวิ่ง มาสู่โลกใบใหม่ของการวิ่งเทรลที่ทำให้ค้นพบตัวตนข้างในลึกลงไปอีก
“แรกสุดตอนอยู่กรุงเทพฯ ก็มีเพื่อนที่ทำงานชวนกันวิ่งถนนก่อน พอย้ายกลับมาทำงานเชียงใหม่ ก็มีเพื่อนนักวิ่งเชียงใหม่มาชวนกันวิ่ง แต่สายนั้นเขาวิ่งเทรลกัน ซึ่งตอนนั้นวิ่งเทรลยังไม่เป็นที่นิยมมาก เส้นแรกที่วิ่งก็เส้นผาลาดนี่แหละ ก็รู้สึกว่า เฮ้ย สนุกดี ประกอบกับปีนั้นเป็นปีแรกเลยที่เชียงใหม่มีงานวิ่งเทรลเกิดขึ้น ก็เลยไปลองดู ตั้งแต่นั้นมาก็ติดใจเลย เพราะมันเพลินๆ สนุกคนละแบบกับวิ่งถนน”
สุดาใช้เวลาฝึกซ้อมวิ่งช่วงก่อนหรือหลังเลิกงาน และเทวันเสาร์อาทิตย์ทั้งหมดให้กับการวิ่ง อย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง เป็นกิจวัตรประจำวัน ถ้าช่วงไหนมีแข่งก็จะซ้อมให้เยอะขึ้นเป็นพิเศษ แต่สิ่งหนึ่งที่สุดาเน้นย้ำคือ คนวิ่งต้องเซฟตัวเองก่อน สำคัญที่สุด
“พอมาวิ่งเทรลมันต่างจากวิ่งบนถนน เพราะใช้เวลานานกว่า มีอุปสรรคระหว่างทาง พอวิ่งเทรลจำเป็นต้องดูแลตัวเองก่อนเป็นอย่างแรก เพราะแค่เข้าป่า บางคนอาจจะนึกว่าแค่เปลี่ยว แต่จริงๆ ยังมีสถานการณ์ไม่คาดฝัน อย่างไปเจอสัตว์ หรือล้ม หน้ามืด เป็นอะไรในป่า มันจะไม่ได้มีคนมาช่วยเหลือได้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นตอนซ้อมวิ่งเอง หรือแม้แต่งานวิ่งที่มีผู้จัด นักวิ่งก็ควรจะเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเสมอ”
ข้อแรกคือ เช็กสมรรถภาพตัวเองกับระยะที่ลงวิ่ง “พอเราทำกิจกรรม บางทีเราก็อยากมีชาเลนจ์ให้ตัวเราเองได้สนุก ได้ท้าทายบ้าง มันก็โอเค แต่อย่างมาวิ่งเทรล อาจจะต้องเตรียมตัวเยอะกว่าเดิมนิดนึง”
“วิ่งเทรลมันเหมือนกับเป็นกีฬาแอดเวนเจอร์อย่างหนึ่ง บางทีต้องขึ้นเขาลงเขาสูง หรือใช้ร่างกาย กล้ามเนื้อ หัวใจหนักกว่าปกติ อย่างน้อยสำหรับคนที่อยากจริงจังกับกิจกรรมเทรลจริงๆ ก็สามารถไปประเมินสมรรถนะของร่างกายก่อนได้ตามโรงพยาบาลที่มีแผนกวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อไปลองวัดค่าหัวใจว่าได้มากที่สุดเท่าไหร่ หรือได้ค่าต่างๆ ไว้เอามาจัดรูปแบบการซ้อมวิ่งให้เป็นไปตามลิมิตของตัวเองเราเอง”
ส่วนสำหรับคนที่พึ่งเริ่มต้นหรือยังไม่ได้จริงจังมาก อย่างน้อยการซ้อมก็ยังเป็นข้อควรปฏิบัติที่สำคัญที่สุด เพราะถ้าอยากท้าทายตัวเอง อยากวิ่งไกลขึ้น เวลาดีขึ้น ก็ควรมีการจัดสรรตารางซ้อมปรับให้เข้ากับชีวิตประจำวัน
พูดในมุมมองของนักวิ่งแล้ว การเตรียมตัวที่ดีของนักกีฬาก็เป็นการช่วยลดภาระของผู้จัดงาน “ผู้จัดงานก็คงไม่สามารถมาเทคแคร์ได้ครบทุกคนได้ เพราะฉะนั้นสำคัญสุด นักวิ่งจะต้องประเมินตัวเองด้วย”
“เพราะวิ่งเทรลเป็นการวิ่งระยะยาว และวิ่งส่วนรวมกับคนหมู่มาก ระหว่างทางก็จะมีจุดเช็กพ้อยต์ หรือเวลาตัดตัวก็เกิดจากการประเมินแล้วว่า จะไปไม่ทันจบงานแน่ๆ นอกจากเตรียมร่างกายให้พร้อมกับระยะที่ลงวิ่งแล้ว บางงานจะมีแจ้งก่อนว่าต้องเตรียมอุปกรณ์บังคับพกติดตัวไปในเป้ เช่น น้ำดื่มต้องเพียงพอ อุปกรณ์ปฐมพยาบาล อาหาร เผื่อบาดเจ็บหรือหมดแรงก็ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองไหว และอีกอย่างก็คือ ก่อนลงวิ่งรูทที่ไม่คุ้นเคย นักวิ่งต้องศึกษาเส้นทางก่อนว่า ต้องไปทางไหน มีตรงไหนต้องระมัดระวัง”
นักวิ่งก็ต้องเคารพกติกา รู้ขีดจำกัดของตัวเอง และไม่ทำตัวเองให้เป็นภาระของผู้จัดงาน
แต่ในขณะเดียวกัน ผู้จัดงานวิ่งเทรลก็ควรคำนึงถึงความปลอดภัยของนักวิ่งเป็นสำคัญเช่นกัน “เส้นทางก็ไม่ควรจะเอาแต่แบบโหดๆ ตรงไหนที่อันตรายก็ควรมีป้ายบอกว่าอันตราย หรือใช้เชือกกั้นบอก ถางหญ้าบางส่วนให้วิ่งได้สะดวกขึ้น หรือทางไหนที่อันตรายจริงๆ ก็หาทางเลี่ยงจะดีกว่า ไม่ควรเอาชีวิตคนวิ่งไปเสี่ยง”
การวิ่งเทรลก็เหมือนกับเป็นการใช้สองเท้าพาชีวิตไปเปิดโลกใหม่ในมุมมองที่กว้างขึ้น สุดาท้าทายตัวเองขึ้นไปอีกด้วยการทดลองลงวิ่งเทรลต่างประเทศ ที่ความยากคือประสบการณ์และความสุข
“จริงๆ แค่ไปวิ่งต่างจังหวัดก็ต่างแล้ว ด้วยภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ลักษณะป่าที่ต่างกัน หรือทริปเทรลต่างประเทศมันก็ยิ่งต่างออกไปอีก ทั้งเรื่องอาหาร อากาศ การเตรียมตัว อย่างตอนไปวิ่งที่ฝรั่งเศส อากาศหนาวมาก ต่างจากเมืองไทยที่ร้อนจัด ซึ่งแบบนี้มันก็เตรียมตัวยากนะ แต่ที่สำคัญเลยคือต้องซ้อม เพื่อให้เวลาไปวิ่งหรือเปิดประสบการณ์ที่ใหม่ เราก็จะพร้อม จะได้มีความสุขไปกับเส้นทางวิ่งสวยๆ เส้นทางวิ่งที่แปลกใหม่”
“เรารู้สึกว่าการวิ่งเป็นกิจกรรมที่ทำให้เรามีความสุข” นี่แหละคือสิ่งที่ทำให้สุดาเสพติดกับการวิ่งจนมาถึงทุกวันนี้
“ถ้าไม่นับเรื่องความแข็งแรง ความฟิต สุขภาพดี นี่คือกิจกรรมที่สนุก แล้วพอชอบไปแล้ว มันก็กลายเป็นว่าเราได้ทำสิ่งที่เราชอบ สนุก มีความสุข ไม่ต้องนับงานวิ่งเลยนะ แค่ตื่นมาวิ่งตอนเช้า ยิ่งอยู่เชียงใหม่ ได้ไปออกกำลังกายท่ามกลางวิวสวยๆ หน้าฝนเจอหมอก แค่นี้ก็ฟิน มีความสุขแล้ว เป็นช่วงเวลาที่ได้อยู่กับตัวเอง ไม่ต้องเล่นมือถือ”
ในฐานะเจ้าภาพนักวิ่งเทรลเชียงใหม่ เราถามสุดาว่า รูทไหนคือรูทวิ่งที่ชอบที่สุด
“ถ้าใกล้ๆ นี้ก็ชอบเส้นดอยปุย ขึ้นไปทางภูพิงค์ ขุนช่างเคี่ยน ดีคือเป็นดอยที่อยู่ใกล้เมืองด้วย จริงๆ ขับรถไปเที่ยวกันก็ได้ มีลานกางเต๊นท์ แต่พอไปวิ่งก็ได้วิวสวยอีกแบบ เพราะว่าเป็นยอดสูงที่สุดแล้วในบรรดาบริเวณที่อยู่ใกล้ๆ แล้ววิวสวยมาก เหมือนกับเป็นจุดที่พอไปวิ่งไปถึงยอดแล้วกลับลงมาแล้วมันใจฟู เป็นใจฟูแบบเหนื่อยๆ“
สุดาฝากทิ้งท้ายเอาไว้ว่า ไม่อยากให้กะเกณฑ์กำหนดว่าการวิ่งเป็นสิ่งที่ต้องบังคับตัวเองออกมาทำ
“เพราะถ้าวันหนึ่งเรารู้สึกว่าอยากทำมากจริงๆ มันก็จะออกมาทำเองแหละ แต่เอาจริงๆ แค่คิดว่า ต้องเริ่มทำแล้ว แล้วทำให้ต่อเนื่อง แบบนี้ก็น่าจะดีกว่า”
เช้าวันเสาร์ก่อนที่ Basecamp Trail Provision ไม่เหมือนกับทุกเช้าทั่วไป เสียงพูดคุยเสียงหัวเราะคละเคล้ากันไปกับเสียงหอบเหนื่อยของคนที่พึ่งวิ่งผ่านเข้าเส้นชัยที่หน้าร้าน
“วันนี้ (3 มิถุนายน) มีงาน International Trails Day ที่เป็นเหมือนงานเปิดฤดูกาลวิ่งของชาวเทรล” สุดา ตันติวีรสุต นักวิ่งเทรลเจ้าถิ่นเชียงใหม่เล่าให้ฟัง “ที่ Basecamp ก็เลยจัดงาน จุดสตาร์ตที่นี่แหละหลัง มช. ไปถึงวัดผาลาด ถึงโค้งขุนกัน (หรือโค้งสปิริต) บันไดวัดพระธาตุดอยสุเทพ แล้วกลับมาเข้าเส้นชัยที่ร้าน”
เส้นทางนี้มีชื่อเรียกว่า Pilgrim’s Trail มาจากชื่อ Segment ในแอป Strava (การพล็อตระยะวิ่งเปรียบเทียบระยะเวลากับคนอื่นๆ ในแอปเดียวกัน) เป็นชื่อที่ชาวต่างชาติชอบเรียกกัน เราตั้งเองเป็นภาษาไทยว่า เส้นทางนักแสวงบุญ เพราะเป็นเส้นทางที่มีปลายทางที่ปากทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ โดยมีระยะทางขึ้น 4 กิโลเมตร ลง 4 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 45 นาที ถึง 2 ชั่วโมง (แบบไม่รีบ)
“รูทนี้คนวิ่งเทรลชอบวิ่ง เพราะง่ายและอยู่ใกล้เมือง ตรงจุดเริ่มต้นก็มีที่จอดรถ เส้นทางก็ไม่ยาก จะมาวิ่ง มาเดิน หรือนักท่องเที่ยวก็มาเดินเที่ยวเพราะเป็นเส้นทางที่เดินง่าย วิ่งเสร็จก็มีกาแฟมีอาหารขาย เรียกว่าเป็นเส้นยอดฮิตของเชียงใหม่เลย”
หลังจบระยะคัตออฟ คอมมูนิตี้ของนักวิ่งแห่งนี้ก็ยังมีกิจกรรมแจกรางวัลเล็กใหญ่ให้ติดไม้ติดมือกลับบ้านกันไปครบทุกคน เราถามสุดาว่า ทำไมวิ่งกับเพื่อนถึงสนุกกว่าวิ่งคนเดียวล่ะ สุดาตอบแบบไม่ลังเล “ไปวิ่งกับเพื่อนคือมันไม่เหงา มีคนคุยด้วย มีคนให้บ่นเหนื่อยด้วย 5555”
“อารมณ์ก็เหมือนกับไปแฮ้งเอ๊าต์กันที่ร้านกาแฟ ได้เม้าต์มอย เพียงแต่เปลี่ยนเป็นไปวิ่งกัน ยิ่งถ้าสมมติจะซ้อมเตรียมไปงานแข่ง เวลามีเพื่อนไปด้วยคือมันช่วยบิลต์กันได้มากกว่า ถ้าจะวิ่งระยะยาวๆ ก็ไม่เหงา เหมือนมีคนเหนื่อยไปด้วยกัน เพราะบางทีไปกันหลายคนก็ไม่ใช่ว่าวิ่งด้วยกันตลอด แต่ละคนก็ไปตามแรงตัวเอง แล้วค่อยไปเจอกันเป็นจุดๆ แล้วอีกอย่าง วิ่งเป็นกลุ่มก็ปลอดภัยกว่าไปคนเดียว เผื่อมีเรื่องไม่คาดฝันอย่างบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุอะไร ก็ยังช่วยเหลือกันได้”
เริ่มต้นที่นักวิ่งทางเรียบ เดินสายลงงานวิ่ง มาสู่โลกใบใหม่ของการวิ่งเทรลที่ทำให้ค้นพบตัวตนข้างในลึกลงไปอีก
“แรกสุดตอนอยู่กรุงเทพฯ ก็มีเพื่อนที่ทำงานชวนกันวิ่งถนนก่อน พอย้ายกลับมาทำงานเชียงใหม่ ก็มีเพื่อนนักวิ่งเชียงใหม่มาชวนกันวิ่ง แต่สายนั้นเขาวิ่งเทรลกัน ซึ่งตอนนั้นวิ่งเทรลยังไม่เป็นที่นิยมมาก เส้นแรกที่วิ่งก็เส้นผาลาดนี่แหละ ก็รู้สึกว่า เฮ้ย สนุกดี ประกอบกับปีนั้นเป็นปีแรกเลยที่เชียงใหม่มีงานวิ่งเทรลเกิดขึ้น ก็เลยไปลองดู ตั้งแต่นั้นมาก็ติดใจเลย เพราะมันเพลินๆ สนุกคนละแบบกับวิ่งถนน”
สุดาใช้เวลาฝึกซ้อมวิ่งช่วงก่อนหรือหลังเลิกงาน และเทวันเสาร์อาทิตย์ทั้งหมดให้กับการวิ่ง อย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง เป็นกิจวัตรประจำวัน ถ้าช่วงไหนมีแข่งก็จะซ้อมให้เยอะขึ้นเป็นพิเศษ แต่สิ่งหนึ่งที่สุดาเน้นย้ำคือ คนวิ่งต้องเซฟตัวเองก่อน สำคัญที่สุด
“พอมาวิ่งเทรลมันต่างจากวิ่งบนถนน เพราะใช้เวลานานกว่า มีอุปสรรคระหว่างทาง พอวิ่งเทรลจำเป็นต้องดูแลตัวเองก่อนเป็นอย่างแรก เพราะแค่เข้าป่า บางคนอาจจะนึกว่าแค่เปลี่ยว แต่จริงๆ ยังมีสถานการณ์ไม่คาดฝัน อย่างไปเจอสัตว์ หรือล้ม หน้ามืด เป็นอะไรในป่า มันจะไม่ได้มีคนมาช่วยเหลือได้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นตอนซ้อมวิ่งเอง หรือแม้แต่งานวิ่งที่มีผู้จัด นักวิ่งก็ควรจะเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเสมอ”
ข้อแรกคือ เช็กสมรรถภาพตัวเองกับระยะที่ลงวิ่ง “พอเราทำกิจกรรม บางทีเราก็อยากมีชาเลนจ์ให้ตัวเราเองได้สนุก ได้ท้าทายบ้าง มันก็โอเค แต่อย่างมาวิ่งเทรล อาจจะต้องเตรียมตัวเยอะกว่าเดิมนิดนึง”
“วิ่งเทรลมันเหมือนกับเป็นกีฬาแอดเวนเจอร์อย่างหนึ่ง บางทีต้องขึ้นเขาลงเขาสูง หรือใช้ร่างกาย กล้ามเนื้อ หัวใจหนักกว่าปกติ อย่างน้อยสำหรับคนที่อยากจริงจังกับกิจกรรมเทรลจริงๆ ก็สามารถไปประเมินสมรรถนะของร่างกายก่อนได้ตามโรงพยาบาลที่มีแผนกวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อไปลองวัดค่าหัวใจว่าได้มากที่สุดเท่าไหร่ หรือได้ค่าต่างๆ ไว้เอามาจัดรูปแบบการซ้อมวิ่งให้เป็นไปตามลิมิตของตัวเองเราเอง”
ส่วนสำหรับคนที่พึ่งเริ่มต้นหรือยังไม่ได้จริงจังมาก อย่างน้อยการซ้อมก็ยังเป็นข้อควรปฏิบัติที่สำคัญที่สุด เพราะถ้าอยากท้าทายตัวเอง อยากวิ่งไกลขึ้น เวลาดีขึ้น ก็ควรมีการจัดสรรตารางซ้อมปรับให้เข้ากับชีวิตประจำวัน
พูดในมุมมองของนักวิ่งแล้ว การเตรียมตัวที่ดีของนักกีฬาก็เป็นการช่วยลดภาระของผู้จัดงาน “ผู้จัดงานก็คงไม่สามารถมาเทคแคร์ได้ครบทุกคนได้ เพราะฉะนั้นสำคัญสุด นักวิ่งจะต้องประเมินตัวเองด้วย”
“เพราะวิ่งเทรลเป็นการวิ่งระยะยาว และวิ่งส่วนรวมกับคนหมู่มาก ระหว่างทางก็จะมีจุดเช็กพ้อยต์ หรือเวลาตัดตัวก็เกิดจากการประเมินแล้วว่า จะไปไม่ทันจบงานแน่ๆ นอกจากเตรียมร่างกายให้พร้อมกับระยะที่ลงวิ่งแล้ว บางงานจะมีแจ้งก่อนว่าต้องเตรียมอุปกรณ์บังคับพกติดตัวไปในเป้ เช่น น้ำดื่มต้องเพียงพอ อุปกรณ์ปฐมพยาบาล อาหาร เผื่อบาดเจ็บหรือหมดแรงก็ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองไหว และอีกอย่างก็คือ ก่อนลงวิ่งรูทที่ไม่คุ้นเคย นักวิ่งต้องศึกษาเส้นทางก่อนว่า ต้องไปทางไหน มีตรงไหนต้องระมัดระวัง”
นักวิ่งก็ต้องเคารพกติกา รู้ขีดจำกัดของตัวเอง และไม่ทำตัวเองให้เป็นภาระของผู้จัดงาน
แต่ในขณะเดียวกัน ผู้จัดงานวิ่งเทรลก็ควรคำนึงถึงความปลอดภัยของนักวิ่งเป็นสำคัญเช่นกัน “เส้นทางก็ไม่ควรจะเอาแต่แบบโหดๆ ตรงไหนที่อันตรายก็ควรมีป้ายบอกว่าอันตราย หรือใช้เชือกกั้นบอก ถางหญ้าบางส่วนให้วิ่งได้สะดวกขึ้น หรือทางไหนที่อันตรายจริงๆ ก็หาทางเลี่ยงจะดีกว่า ไม่ควรเอาชีวิตคนวิ่งไปเสี่ยง”
การวิ่งเทรลก็เหมือนกับเป็นการใช้สองเท้าพาชีวิตไปเปิดโลกใหม่ในมุมมองที่กว้างขึ้น สุดาท้าทายตัวเองขึ้นไปอีกด้วยการทดลองลงวิ่งเทรลต่างประเทศ ที่ความยากคือประสบการณ์และความสุข
“จริงๆ แค่ไปวิ่งต่างจังหวัดก็ต่างแล้ว ด้วยภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ลักษณะป่าที่ต่างกัน หรือทริปเทรลต่างประเทศมันก็ยิ่งต่างออกไปอีก ทั้งเรื่องอาหาร อากาศ การเตรียมตัว อย่างตอนไปวิ่งที่ฝรั่งเศส อากาศหนาวมาก ต่างจากเมืองไทยที่ร้อนจัด ซึ่งแบบนี้มันก็เตรียมตัวยากนะ แต่ที่สำคัญเลยคือต้องซ้อม เพื่อให้เวลาไปวิ่งหรือเปิดประสบการณ์ที่ใหม่ เราก็จะพร้อม จะได้มีความสุขไปกับเส้นทางวิ่งสวยๆ เส้นทางวิ่งที่แปลกใหม่”
“เรารู้สึกว่าการวิ่งเป็นกิจกรรมที่ทำให้เรามีความสุข” นี่แหละคือสิ่งที่ทำให้สุดาเสพติดกับการวิ่งจนมาถึงทุกวันนี้
“ถ้าไม่นับเรื่องความแข็งแรง ความฟิต สุขภาพดี นี่คือกิจกรรมที่สนุก แล้วพอชอบไปแล้ว มันก็กลายเป็นว่าเราได้ทำสิ่งที่เราชอบ สนุก มีความสุข ไม่ต้องนับงานวิ่งเลยนะ แค่ตื่นมาวิ่งตอนเช้า ยิ่งอยู่เชียงใหม่ ได้ไปออกกำลังกายท่ามกลางวิวสวยๆ หน้าฝนเจอหมอก แค่นี้ก็ฟิน มีความสุขแล้ว เป็นช่วงเวลาที่ได้อยู่กับตัวเอง ไม่ต้องเล่นมือถือ”
ในฐานะเจ้าภาพนักวิ่งเทรลเชียงใหม่ เราถามสุดาว่า รูทไหนคือรูทวิ่งที่ชอบที่สุด
“ถ้าใกล้ๆ นี้ก็ชอบเส้นดอยปุย ขึ้นไปทางภูพิงค์ ขุนช่างเคี่ยน ดีคือเป็นดอยที่อยู่ใกล้เมืองด้วย จริงๆ ขับรถไปเที่ยวกันก็ได้ มีลานกางเต๊นท์ แต่พอไปวิ่งก็ได้วิวสวยอีกแบบ เพราะว่าเป็นยอดสูงที่สุดแล้วในบรรดาบริเวณที่อยู่ใกล้ๆ แล้ววิวสวยมาก เหมือนกับเป็นจุดที่พอไปวิ่งไปถึงยอดแล้วกลับลงมาแล้วมันใจฟู เป็นใจฟูแบบเหนื่อยๆ“
สุดาฝากทิ้งท้ายเอาไว้ว่า ไม่อยากให้กะเกณฑ์กำหนดว่าการวิ่งเป็นสิ่งที่ต้องบังคับตัวเองออกมาทำ
“เพราะถ้าวันหนึ่งเรารู้สึกว่าอยากทำมากจริงๆ มันก็จะออกมาทำเองแหละ แต่เอาจริงๆ แค่คิดว่า ต้องเริ่มทำแล้ว แล้วทำให้ต่อเนื่อง แบบนี้ก็น่าจะดีกว่า”