‘บางกะเจ้า’ เพจชวนท่องเที่ยวจากเด็กในพื้นที่ ที่เติบโตมาพัฒนาบ้านเกิด
‘บางกะเจ้า’ เพจชวนท่องเที่ยวจากเด็กในพื้นที่ ที่เติบโตมาพัฒนาบ้านเกิด
15 ธ.ค. 2566
SHARE WITH:
15 ธ.ค. 2566
15 ธ.ค. 2566
SHARE WITH:
SHARE WITH:
‘บางกะเจ้า’ เพจชวนท่องเที่ยวจากเด็กในพื้นที่ ที่เติบโตมาพัฒนาบ้านเกิด
เมษา - พศิกา เสกตระกูล ผู้ก่อตั้งและเจ้าของเพจบางกะเจ้า พาเรานั่งเรือเลาะขอบแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งบางกะเจ้าเพื่อชมหิ่งห้อยในวันที่ได้ชื่อว่าค่าฝุ่น PM2.5 สูงที่สุดของปี ฝั่งตรงข้ามที่เรามองเห็นคือท่าเรือคลองเตยซึ่งมีฉากหลังเป็นตึกรามและแสงไฟที่ถูกเจือจากฝุ่นควัน ในขณะที่ข้างตัวของพวกเราคือต้นจากและต้นลำพูที่มีหิ่งห้อยบินอวดแสงไฟของตัวเองฝูงใหญ่
“ใครจะเชื่อเนาะว่าฝั่งตรงข้ามเป็นเมืองมากๆ ในขณะที่ฝั่งนี้ยังเป็นป่าทึบอยู่เลย” หนึ่งในกลุ่มพวกเราพูดขึ้นหลังจากได้สัมผัสความแตกต่างแบบเห็นกับตาเช่นนี้ และเช่นเดียวกับทุกคนที่เคยมาเที่ยวบางกะเจ้าในฐานะพื้นที่ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ที่สุดที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ เพียงระยะข้ามเรือ เมษาคือเด็กที่เกิดและเติบโตในบางกะเจ้าที่ต้องการเผยแพร่การท่องเที่ยวที่เป็นมากกว่าธรรมชาติ แต่ยังมีวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และโครงการจัดการขยะที่ทั้งหมดเกิดโดยวิถีชุมชนขนานแท้
“จากคนข้างนอกจะรู้จักบางกะเจ้าในส่วนที่ปั่นจักรยาน หรือตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง แต่ถ้าชาวบ้านที่ไม่ได้ไปขายของที่ตลาดน้ำ ก็จะไม่ได้อะไรจากคนที่มาเที่ยวเลยนะ เราเลยอยากเป็นคนนั้นที่พากลุ่มนักท่องเที่ยวเข้าไปทำความรู้จัก พร้อมกับช่วยส่งเสริมชีวิตของชาวบ้านแถวนี้ด้วย”
“ยกตัวอย่างอย่างป้าคนนึงทำธุรกิจเรือในพื้นที่ ทำบ้านสวยเชียว แล้วเขาก็หยุดแค่ตรงนั้นแหละเพราะสุดท้ายก็ต้องออกไปหางานประจำทำข้างนอกอยู่ดี ถือว่าเขามีทรัพยากรที่ดีนะ พอมีนักท่องเที่ยวมาก็ทำให้เขามีแรงที่จะพัฒนาไปเรื่อยๆ แล้วพอมีเราเป็นตัวกลางดีลให้ ชุมชนก็มีปัญหากันน้อยลง แต่ความยากก็อยู่ที่ว่าเราต้องรู้จักข้อมูลในพื้นที่ทั้งหมด ต้องตอบคำถามทุกอย่างให้ได้”
เมษาพาเราเที่ยวบางกะเจ้าแบบใหม่ผ่านชีวิตของเธอ เพราะบางกะเจ้าไม่ใช่เพียงสถานที่ แต่คือผู้คนที่ไม่เคยหยุดเคลื่อนไหวและพัฒนา
IIIi - เด็กหญิงเมษา ภาพวาดระบายสี และโครงการที่วนกลับมาถึงเด็กรุ่นน้อง
เมษาเกิดและเติบโตในชุมชนมอญของบางกะเจ้าที่อยู่กันมานานหลายชั่วอายุคน เรียนหนังสือแถวบ้านจนไปจบกราฟิกดีไซน์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หลังผ่านการฝึกงานสายท่องเที่ยว และลองทำงานประจำอยู่ระยะหนึ่ง ความฝันในการกลับมาทำงานในบ้านเกิดก็กลับมาอีกครั้ง
“ตอนนั้นเรียนจบ แล้วก็สร้างเพจทิ้งไว้เฉยๆ ด้วยความที่เกิดและโตที่นี่ ตอนฝึกงานก็ทำสายท่องเที่ยวทั้งเรื่องคอนเทนต์ด้วย แล้วก็ได้ลองเป็นเซลล์ด้วย เลยคิดว่าน่าจะขายได้เลยลองเปิดไว้เผยแพร่ข้อมูลการท่องเที่ยวของบางกะเจ้า หลังออกจากงานมาเลยมาตั้งธงกับตัวเองว่า เราน่าจะทำอะไรได้บ้าง เลยนั่งไล่เขียนตำแหน่งทั้งหมดแล้วดูว่าเราทำอะไรได้ ตอนแรกงงมาก จับต้นชนปลายไม่ถูก เลยโทรหาเพื่อนให้ช่วย เพื่อนก็บอกว่า แค่เริ่มคิดมันก็เป็น 1% ใน 100% แล้ว เพราะมีเพื่อนสนับสนุนดีมากเลย ไม่เป็นไร งั้นค่อยๆ เริ่มทีละเปอร์เซ็นต์ก็ได้”
จากเริ่มคนเดียวกลายมาเป็น 3 คนกับทีมเพื่อน บวกกับได้การสนับสนุนจากครอบครัวที่เป็นคนในพื้นที่และรู้จักผู้คนกว้างขวาง คอยพาไปร่วมกิจกรรมของชุมชนทั้งจากภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ทำให้เธอกลับมาคิดโจทย์ต่อว่า จะต้องทำอย่างไรให้คนในพื้นที่เริ่มรู้จักสิ่งที่เธอกำลังทำอยู่ โดยมีเพื่อนเป็นแอดมินคอยช่วยเหลือในการประสานงานติดต่อกับหน่วยงานที่เคยทำงานร่วมกับชุมชน นี่คือการสร้างระบบของกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ขนาดย่อมๆ ในชุมชนโดยที่เธอก็ไม่รู้ตัว
“ในเพจเราก็ถ่ายรูปลงคอนเทนต์กิจกรรมงานต่างๆ เพื่อนก็ช่วยไล่ทักลูกค้าที่เคยเข้ามา อยู่ดีๆ ลูกค้าก็เข้ามาเองน่าจะมาจากฐานของคนที่กดไลค์เพจเข้ามาติดต่อให้เราเป็นตัวกลางในการประสานงานทำกิจกรรม จนตอนนี้งานที่เราทำเป็นกิจกรรม CSR 70% และกิจกรรมชุมชน 30% เราจะเป็นคนคัดเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับโจทย์ของงานที่ลูกค้าต้องการ โดยที่เราเองจะมีลิสต์ของกิจกรรมที่ชุมชนทำอยู่ แล้วค่อยติดต่อกับวิทยากรชุมชนเป็นผู้สอน เพราะฉะนั้นทุกกิจกรรมจะไปถึงชาวบ้านทั้งหมด”
อะไรที่ปลูกฝังในจิตใจของเมษาให้อยากทำงานกับชุมชน? ความผูกพันคือคำตอบ “ตอนเด็กๆ เราเป็นกลุ่มที่เขาเรียกว่ากลุ่มเด็กดี คือรวมเด็กแถวบ้านมาทำกิจกรรมด้วยกันในวันเสาร์อาทิตย์ ส่วนเราก็ชอบวาดรูป พอเขาเห็นภาพเราแล้วเลยซื้อไปในราคา 2,000 บาท ตั้งแต่นั้นมาเราเลยวาดรูปยาวเลย น่าจะเพราะเห็นอะไรแบบนี้มาตั้งแต่เด็กเลยอาจจะซึมซับมา และพออยากจะทำอะไรคืนให้กับชุมชน เลยอยากจะตั้งกลุ่มเด็กในบางกะเจ้าบ้าง”
“เพราะเด็กหลายคนที่นี่เป็นเด็กขาดโอกาส หลายคนปัญหาหลายแบบมาก แล้วเราเองก็โตมาจากการเป็นกลุ่มเด็ก เราเลยเอารายได้มาสนับสนุนเด็ก เพราะน้องอาจจะมีฝันแต่ไม่ได้ทำตามฝัน เราเลยอยากสนับสนุนฝันของเด็กให้ไกลขึ้นไปอีก ถ้าอยากเรียนต่อต้องได้เรียนต่อ หรือเด็กที่ไม่ได้มีพ่อแม่ดูแล ความคิดเดียวของเขาก็แค่อยากอยู่ห้องเช่าที่มันใหญ่ขึ้นก็ยังดี เราก็รู้ว่าเด็กอะฉลาด เพียงแค่ซนไปหน่อยนึง”
IIIi - โครงการที่เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมชุมชน
นอกจากโครงการสาย CSR ที่เกี่ยวกับป่าไม้แบบที่เราคุ้นเคยกับบางกะเจ้าแล้ว หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า กิจกรรมเกี่ยวกับขยะของที่นี่ทำกันแบบจริงจัง โดยการเริ่มต้นของท่านเจ้าคุณ เจ้าอาวาสวัดจากแดง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ให้พื้นที่ของวัดกลายเป็นสถานีขยะล่องหน รวมพลังชุมชนเพื่อลดขยะให้ได้มากที่สุด
“โครงการนี้เกิดขึ้นจากท่านเจ้าคุณไปดูงานมาแล้วเห็นว่า เส้นใยจากขวดพลาสติกสามารถนำมาถักทอเป็นผืนผ้าได้ ท่านเลยมีแนวคิดว่า สมมติว่าชาวบ้านไม่ได้มีเงินเยอะ แต่อยากทำบุญผ้าไตร ก็ให้บริจาคขวดคนละใบ เท่ากับได้ผ้าไตรหนึ่งผืน เท่านี้ก็ไม่ต้องเสียเงิน 3,000 บาทแล้ว จากตรงนี้ก็สร้างการมีส่วนร่วมให้มีการจัดการขยะเกิดขึ้นในชุมชน”
“ข้อดีของบางกะเจ้าคือ พอเป็นพระหรือผู้ใหญ่เป็นคนเริ่มต้นโครงการ อคติก็จะน้อยลง พระเลยกลายเป็นผู้นำขับเคลื่อนโดยมีชาวบ้านช่วยร่วมแรงร่วมใจ เพราะเขารู้สึกว่าเขาได้บุญไปด้วย จนตอนนี้โครงการจริงจังมาก มีสปอนเซอร์รายใหญ่หลายเจ้าเข้ามาทำงานร่วมกับเรา เช่นจากเอเซอร์ ถ้าบริจาคขยะอิเล็กทรอนิกส์ถึงจำนวน อาจจะได้เอเซอร์เครื่องนึงเลยก็ได้นะ”
โครงการจัดการขยะในชุมชนแบ่งออกเป็นฐาน เริ่มจากถังขยะอัจฉริยะที่คิดมาจากเวลาไปเที่ยวริมน้ำแล้วมีเสียงโลมาสานโผล่ออกมาว่า ‘อย่าทิ้งขยะเลยนะ เดี๋ยวก็กินเข้าไปหรอก’ คนก็ไม่กล้าทิ้งขยะกัน เราก็เอามาใช้กับเด็กในพื้นที่ในการช่วยแยกขยะ ถัดมา โฟมกลายเป็นหิน คือการเอาขยะจากในแม่น้ำมาทำเป็นงานตกแต่ง ต่อด้วยการจัดการขยะเศษอาหาร การแยกขวด และขยะจากทุกฐานจะกลายมาเป็นกิจกรรม เช่นการเพนต์กระถางที่ทำจากขยะในแม่น้ำ เพนต์ถุงผ้าจากเส้นใยพลาสติก หรือการทำหมอนหลอดกระดาษ
“สมมติถ้าถามว่า ผ้าหนึ่งผืนจากเส้นใยพลาสติกมันแพงกว่าทีเราไปซื้อผ้าปกติไหม คือแพงกว่า แต่เราจะบอกกับทุกคนที่มาว่า มันให้อะไรมากกว่า คือชุมชนมีรายได้มากกว่า เด็กไม่ต้องไปหางานไปส่งยา แล้วมาทำงานที่นี่ ป้าลุงที่เกษียณอายุก็มาช่วยตัดเย็บ ซึ่งทั้งหมดนี้ให้อะไรกับชุมชนมากกว่าอยู่แล้ว”
เราสามารถเรียกการท่องเที่ยวจากโปรแกรมที่ชาวบ้านจัดการไว้ให้ว่า ‘การท่องเที่ยวเชิงรับผิดชอบ’ ได้แบบเต็มปาก เพราะกิจกรรมทั้งหมดเกิดขึ้นในชุมชน โดยคนในชุมชน และรายได้ก็กลับคืนสู่ชุมชน “อย่างอาหารและเบรก เราจะเสนอกับข้าวทั้งบางกะเจ้าให้เลือก แล้วชาวบ้านจะทำกับข้าวมาเป็นหนึ่งหม้อ นั่นแปลว่าชาวบ้านได้ทุกส่วนจากกิจกรรม”
ดูจากยอดการเติบโตของเพจ ใครจะคิดว่าเพจนี้พึ่งจะมีอายุได้เพียงเข้าปีที่สองเท่านั้น จากแค่การทำงานกันเองในกลุ่มเพื่อน สู่การทำงานแบบเป็นระบบแบบแผนเพื่อให้ลูกค้าทางบ้านสามารถเลือกกิจกรรม ตรวจสอบรายละเอียด และตัดสินใจได้ง่ายขึ้น แต่เมษามองไปไกลกว่านั้นคือการทำให้ที่นี่เป็นบริษัทที่สามารถดูแลคนที่ตัดสินใจเข้ามาทำงานร่วมกับเธอได้ ซึ่งก็คือคนในชุมชนที่เริ่มเข้ามาช่วยงานกันจริงจังแล้ว
“ถ้าความสัมพันธ์ระหว่างเรากับชาวบ้านก่อนหน้านี้เขาก็เอ็นดูเราเป็นลูกหลานคนนึง แต่พอเรามาทำงานแล้ว เขาจะดีลกับเราแบบผู้นำชุมชน หรือเขาจะเรียกกันว่าเป็นผู้นำชุมชนยุคใหม่ มีปัญหาอะไรก็จะโทรหาเราก่อน เราก็ช่วยดีลให้ได้หมดนะ”
เมษาเป็นเจ้าถิ่นตัวจริงในขนาดที่ว่า ตอนนี้มีแก๊งครอบครัวนากกลับมาอยู่ที่ชายฝั่งคุ้งบางกระเจ้าแล้ว เธอก็รู้ก่อนใครเพื่อน!
เมษา - พศิกา เสกตระกูล ผู้ก่อตั้งและเจ้าของเพจบางกะเจ้า พาเรานั่งเรือเลาะขอบแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งบางกะเจ้าเพื่อชมหิ่งห้อยในวันที่ได้ชื่อว่าค่าฝุ่น PM2.5 สูงที่สุดของปี ฝั่งตรงข้ามที่เรามองเห็นคือท่าเรือคลองเตยซึ่งมีฉากหลังเป็นตึกรามและแสงไฟที่ถูกเจือจากฝุ่นควัน ในขณะที่ข้างตัวของพวกเราคือต้นจากและต้นลำพูที่มีหิ่งห้อยบินอวดแสงไฟของตัวเองฝูงใหญ่
“ใครจะเชื่อเนาะว่าฝั่งตรงข้ามเป็นเมืองมากๆ ในขณะที่ฝั่งนี้ยังเป็นป่าทึบอยู่เลย” หนึ่งในกลุ่มพวกเราพูดขึ้นหลังจากได้สัมผัสความแตกต่างแบบเห็นกับตาเช่นนี้ และเช่นเดียวกับทุกคนที่เคยมาเที่ยวบางกะเจ้าในฐานะพื้นที่ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ที่สุดที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ เพียงระยะข้ามเรือ เมษาคือเด็กที่เกิดและเติบโตในบางกะเจ้าที่ต้องการเผยแพร่การท่องเที่ยวที่เป็นมากกว่าธรรมชาติ แต่ยังมีวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และโครงการจัดการขยะที่ทั้งหมดเกิดโดยวิถีชุมชนขนานแท้
“จากคนข้างนอกจะรู้จักบางกะเจ้าในส่วนที่ปั่นจักรยาน หรือตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง แต่ถ้าชาวบ้านที่ไม่ได้ไปขายของที่ตลาดน้ำ ก็จะไม่ได้อะไรจากคนที่มาเที่ยวเลยนะ เราเลยอยากเป็นคนนั้นที่พากลุ่มนักท่องเที่ยวเข้าไปทำความรู้จัก พร้อมกับช่วยส่งเสริมชีวิตของชาวบ้านแถวนี้ด้วย”
“ยกตัวอย่างอย่างป้าคนนึงทำธุรกิจเรือในพื้นที่ ทำบ้านสวยเชียว แล้วเขาก็หยุดแค่ตรงนั้นแหละเพราะสุดท้ายก็ต้องออกไปหางานประจำทำข้างนอกอยู่ดี ถือว่าเขามีทรัพยากรที่ดีนะ พอมีนักท่องเที่ยวมาก็ทำให้เขามีแรงที่จะพัฒนาไปเรื่อยๆ แล้วพอมีเราเป็นตัวกลางดีลให้ ชุมชนก็มีปัญหากันน้อยลง แต่ความยากก็อยู่ที่ว่าเราต้องรู้จักข้อมูลในพื้นที่ทั้งหมด ต้องตอบคำถามทุกอย่างให้ได้”
เมษาพาเราเที่ยวบางกะเจ้าแบบใหม่ผ่านชีวิตของเธอ เพราะบางกะเจ้าไม่ใช่เพียงสถานที่ แต่คือผู้คนที่ไม่เคยหยุดเคลื่อนไหวและพัฒนา
IIIi - เด็กหญิงเมษา ภาพวาดระบายสี และโครงการที่วนกลับมาถึงเด็กรุ่นน้อง
เมษาเกิดและเติบโตในชุมชนมอญของบางกะเจ้าที่อยู่กันมานานหลายชั่วอายุคน เรียนหนังสือแถวบ้านจนไปจบกราฟิกดีไซน์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หลังผ่านการฝึกงานสายท่องเที่ยว และลองทำงานประจำอยู่ระยะหนึ่ง ความฝันในการกลับมาทำงานในบ้านเกิดก็กลับมาอีกครั้ง
“ตอนนั้นเรียนจบ แล้วก็สร้างเพจทิ้งไว้เฉยๆ ด้วยความที่เกิดและโตที่นี่ ตอนฝึกงานก็ทำสายท่องเที่ยวทั้งเรื่องคอนเทนต์ด้วย แล้วก็ได้ลองเป็นเซลล์ด้วย เลยคิดว่าน่าจะขายได้เลยลองเปิดไว้เผยแพร่ข้อมูลการท่องเที่ยวของบางกะเจ้า หลังออกจากงานมาเลยมาตั้งธงกับตัวเองว่า เราน่าจะทำอะไรได้บ้าง เลยนั่งไล่เขียนตำแหน่งทั้งหมดแล้วดูว่าเราทำอะไรได้ ตอนแรกงงมาก จับต้นชนปลายไม่ถูก เลยโทรหาเพื่อนให้ช่วย เพื่อนก็บอกว่า แค่เริ่มคิดมันก็เป็น 1% ใน 100% แล้ว เพราะมีเพื่อนสนับสนุนดีมากเลย ไม่เป็นไร งั้นค่อยๆ เริ่มทีละเปอร์เซ็นต์ก็ได้”
จากเริ่มคนเดียวกลายมาเป็น 3 คนกับทีมเพื่อน บวกกับได้การสนับสนุนจากครอบครัวที่เป็นคนในพื้นที่และรู้จักผู้คนกว้างขวาง คอยพาไปร่วมกิจกรรมของชุมชนทั้งจากภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ทำให้เธอกลับมาคิดโจทย์ต่อว่า จะต้องทำอย่างไรให้คนในพื้นที่เริ่มรู้จักสิ่งที่เธอกำลังทำอยู่ โดยมีเพื่อนเป็นแอดมินคอยช่วยเหลือในการประสานงานติดต่อกับหน่วยงานที่เคยทำงานร่วมกับชุมชน นี่คือการสร้างระบบของกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ขนาดย่อมๆ ในชุมชนโดยที่เธอก็ไม่รู้ตัว
“ในเพจเราก็ถ่ายรูปลงคอนเทนต์กิจกรรมงานต่างๆ เพื่อนก็ช่วยไล่ทักลูกค้าที่เคยเข้ามา อยู่ดีๆ ลูกค้าก็เข้ามาเองน่าจะมาจากฐานของคนที่กดไลค์เพจเข้ามาติดต่อให้เราเป็นตัวกลางในการประสานงานทำกิจกรรม จนตอนนี้งานที่เราทำเป็นกิจกรรม CSR 70% และกิจกรรมชุมชน 30% เราจะเป็นคนคัดเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับโจทย์ของงานที่ลูกค้าต้องการ โดยที่เราเองจะมีลิสต์ของกิจกรรมที่ชุมชนทำอยู่ แล้วค่อยติดต่อกับวิทยากรชุมชนเป็นผู้สอน เพราะฉะนั้นทุกกิจกรรมจะไปถึงชาวบ้านทั้งหมด”
อะไรที่ปลูกฝังในจิตใจของเมษาให้อยากทำงานกับชุมชน? ความผูกพันคือคำตอบ “ตอนเด็กๆ เราเป็นกลุ่มที่เขาเรียกว่ากลุ่มเด็กดี คือรวมเด็กแถวบ้านมาทำกิจกรรมด้วยกันในวันเสาร์อาทิตย์ ส่วนเราก็ชอบวาดรูป พอเขาเห็นภาพเราแล้วเลยซื้อไปในราคา 2,000 บาท ตั้งแต่นั้นมาเราเลยวาดรูปยาวเลย น่าจะเพราะเห็นอะไรแบบนี้มาตั้งแต่เด็กเลยอาจจะซึมซับมา และพออยากจะทำอะไรคืนให้กับชุมชน เลยอยากจะตั้งกลุ่มเด็กในบางกะเจ้าบ้าง”
“เพราะเด็กหลายคนที่นี่เป็นเด็กขาดโอกาส หลายคนปัญหาหลายแบบมาก แล้วเราเองก็โตมาจากการเป็นกลุ่มเด็ก เราเลยเอารายได้มาสนับสนุนเด็ก เพราะน้องอาจจะมีฝันแต่ไม่ได้ทำตามฝัน เราเลยอยากสนับสนุนฝันของเด็กให้ไกลขึ้นไปอีก ถ้าอยากเรียนต่อต้องได้เรียนต่อ หรือเด็กที่ไม่ได้มีพ่อแม่ดูแล ความคิดเดียวของเขาก็แค่อยากอยู่ห้องเช่าที่มันใหญ่ขึ้นก็ยังดี เราก็รู้ว่าเด็กอะฉลาด เพียงแค่ซนไปหน่อยนึง”
IIIi - โครงการที่เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมชุมชน
นอกจากโครงการสาย CSR ที่เกี่ยวกับป่าไม้แบบที่เราคุ้นเคยกับบางกะเจ้าแล้ว หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า กิจกรรมเกี่ยวกับขยะของที่นี่ทำกันแบบจริงจัง โดยการเริ่มต้นของท่านเจ้าคุณ เจ้าอาวาสวัดจากแดง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ให้พื้นที่ของวัดกลายเป็นสถานีขยะล่องหน รวมพลังชุมชนเพื่อลดขยะให้ได้มากที่สุด
“โครงการนี้เกิดขึ้นจากท่านเจ้าคุณไปดูงานมาแล้วเห็นว่า เส้นใยจากขวดพลาสติกสามารถนำมาถักทอเป็นผืนผ้าได้ ท่านเลยมีแนวคิดว่า สมมติว่าชาวบ้านไม่ได้มีเงินเยอะ แต่อยากทำบุญผ้าไตร ก็ให้บริจาคขวดคนละใบ เท่ากับได้ผ้าไตรหนึ่งผืน เท่านี้ก็ไม่ต้องเสียเงิน 3,000 บาทแล้ว จากตรงนี้ก็สร้างการมีส่วนร่วมให้มีการจัดการขยะเกิดขึ้นในชุมชน”
“ข้อดีของบางกะเจ้าคือ พอเป็นพระหรือผู้ใหญ่เป็นคนเริ่มต้นโครงการ อคติก็จะน้อยลง พระเลยกลายเป็นผู้นำขับเคลื่อนโดยมีชาวบ้านช่วยร่วมแรงร่วมใจ เพราะเขารู้สึกว่าเขาได้บุญไปด้วย จนตอนนี้โครงการจริงจังมาก มีสปอนเซอร์รายใหญ่หลายเจ้าเข้ามาทำงานร่วมกับเรา เช่นจากเอเซอร์ ถ้าบริจาคขยะอิเล็กทรอนิกส์ถึงจำนวน อาจจะได้เอเซอร์เครื่องนึงเลยก็ได้นะ”
โครงการจัดการขยะในชุมชนแบ่งออกเป็นฐาน เริ่มจากถังขยะอัจฉริยะที่คิดมาจากเวลาไปเที่ยวริมน้ำแล้วมีเสียงโลมาสานโผล่ออกมาว่า ‘อย่าทิ้งขยะเลยนะ เดี๋ยวก็กินเข้าไปหรอก’ คนก็ไม่กล้าทิ้งขยะกัน เราก็เอามาใช้กับเด็กในพื้นที่ในการช่วยแยกขยะ ถัดมา โฟมกลายเป็นหิน คือการเอาขยะจากในแม่น้ำมาทำเป็นงานตกแต่ง ต่อด้วยการจัดการขยะเศษอาหาร การแยกขวด และขยะจากทุกฐานจะกลายมาเป็นกิจกรรม เช่นการเพนต์กระถางที่ทำจากขยะในแม่น้ำ เพนต์ถุงผ้าจากเส้นใยพลาสติก หรือการทำหมอนหลอดกระดาษ
“สมมติถ้าถามว่า ผ้าหนึ่งผืนจากเส้นใยพลาสติกมันแพงกว่าทีเราไปซื้อผ้าปกติไหม คือแพงกว่า แต่เราจะบอกกับทุกคนที่มาว่า มันให้อะไรมากกว่า คือชุมชนมีรายได้มากกว่า เด็กไม่ต้องไปหางานไปส่งยา แล้วมาทำงานที่นี่ ป้าลุงที่เกษียณอายุก็มาช่วยตัดเย็บ ซึ่งทั้งหมดนี้ให้อะไรกับชุมชนมากกว่าอยู่แล้ว”
เราสามารถเรียกการท่องเที่ยวจากโปรแกรมที่ชาวบ้านจัดการไว้ให้ว่า ‘การท่องเที่ยวเชิงรับผิดชอบ’ ได้แบบเต็มปาก เพราะกิจกรรมทั้งหมดเกิดขึ้นในชุมชน โดยคนในชุมชน และรายได้ก็กลับคืนสู่ชุมชน “อย่างอาหารและเบรก เราจะเสนอกับข้าวทั้งบางกะเจ้าให้เลือก แล้วชาวบ้านจะทำกับข้าวมาเป็นหนึ่งหม้อ นั่นแปลว่าชาวบ้านได้ทุกส่วนจากกิจกรรม”
ดูจากยอดการเติบโตของเพจ ใครจะคิดว่าเพจนี้พึ่งจะมีอายุได้เพียงเข้าปีที่สองเท่านั้น จากแค่การทำงานกันเองในกลุ่มเพื่อน สู่การทำงานแบบเป็นระบบแบบแผนเพื่อให้ลูกค้าทางบ้านสามารถเลือกกิจกรรม ตรวจสอบรายละเอียด และตัดสินใจได้ง่ายขึ้น แต่เมษามองไปไกลกว่านั้นคือการทำให้ที่นี่เป็นบริษัทที่สามารถดูแลคนที่ตัดสินใจเข้ามาทำงานร่วมกับเธอได้ ซึ่งก็คือคนในชุมชนที่เริ่มเข้ามาช่วยงานกันจริงจังแล้ว
“ถ้าความสัมพันธ์ระหว่างเรากับชาวบ้านก่อนหน้านี้เขาก็เอ็นดูเราเป็นลูกหลานคนนึง แต่พอเรามาทำงานแล้ว เขาจะดีลกับเราแบบผู้นำชุมชน หรือเขาจะเรียกกันว่าเป็นผู้นำชุมชนยุคใหม่ มีปัญหาอะไรก็จะโทรหาเราก่อน เราก็ช่วยดีลให้ได้หมดนะ”
เมษาเป็นเจ้าถิ่นตัวจริงในขนาดที่ว่า ตอนนี้มีแก๊งครอบครัวนากกลับมาอยู่ที่ชายฝั่งคุ้งบางกระเจ้าแล้ว เธอก็รู้ก่อนใครเพื่อน!