แผนงานความยั่งยืนของ ANA

แผนงานความยั่งยืนของ ANA

3 ก.ค. 2566

SHARE WITH:

3 ก.ค. 2566

3 ก.ค. 2566

SHARE WITH:

SHARE WITH:

แผนงานความยั่งยืนของ ANA

ANA กับแผนงานความยั่งยืน ตั้งแต่เรื่องใหญ่อย่างพลังงานสีเขียว จนถึงข้าวของเครื่องใช้สำหรับผู้โดยสาร

นโยบายด้านความยั่งยืนกลายเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานองค์กรในยุคที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมคือความจำเป็นเร่งด่วนที่ทุกคนต้องร่วมมือกัน สำหรับอุตสาหกรรมการบินที่ได้ชื่อว่าใช้พลังงานเยอะมากเป็นลำดับต้นๆ จึงนับเป็นความท้าทายและเป็นพันธกิจสำคัญที่ต้องทำสำเร็จให้ได้

เชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel; SAF) เป็นแหล่งพลังงานสำหรับเครื่องบินรูปแบบใหม่ของ All Nippon Airways ที่ Neste คิดค้นขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนกว่าสำหรับอุตสาหกรรมการบิน โดยผลิตจากของเสียและวัตถุดิบเหลือใช้ อย่างน้ำมันปรุงอาหารและไขมันสัตว์ นำกลับมาใช้ใหม่ทั้งหมด 100% โดยตลอดวงจรชีวิตของ SAF จะช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 80% เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงอากาศยานจากแหล่งพลังงานฟอสซิล

ANA ได้นำเชื้อเพลิงตัวนี้มาใช้ครั้งแรกช่วงปลายปี 2022 สำหรับเที่ยวบินที่บินออกจากญี่ปุ่น โดยนับเป็นสายการบินแรกของเอเชียที่ใช้พลังงาน SAF และเปิดตัวภายใต้ชื่อ ANA Green Jet ร่วมกันกับการศึกษาและพัฒนานวัตกรรมทางการบินแบบใหม่ๆ ที่รักโลกอย่างยั่งยืน อย่างการวัสดุพิเศษที่พัฒนาโดย Nikon Corporation ที่ใช้เอฟเฟกต์หนังฉลามเป็นลายนูนเพื่อลดแรงต้านอากาศและการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปพร้อมกับความทนทานและเทคโนโลยีวัสดุที่ดีขึ้น

ในส่วนที่ผู้โดยสารสัมผัสและใช้งานก็นับเป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตทั้งสิ้น ภายในห้องโดยสารคำนึงถึงขยะที่เกิดขึ้นจากวัสดุที่ใช้แล้วทิ้งเพื่อสุขอนามัย เริ่มตั้งแต่ที่หุ้มพนักพิงศีรษะทำจากวัสดุ Ultrasuede™ nu1 วัสดุที่ที่ประกอบด้วย PET2 ที่มาจากพืช 100% กับ PET รีไซเคิล และวัสดุ appcycle จากกากแอปเปิ้ลในจังหวัดอาโอโมริ ที่สนับสนุนทั้งการรีไซเคิลและเศรษฐกิจท้องถิ่น

หรือข้าวของชิ้นเล็กน้อยที่ใช้แล้วทิ้งอย่างบรรจุภัณฑ์อาหาร ก็เปลี่ยนมาใช้วัสดุที่ทำจากพืช ซึ่งเริ่มต้นเปลี่ยนก่อนตั้งแต่ปี 2021 ก็ช่วยพิสูจน์แล้วว่าช่วยลดปริมาณพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งลงได้ถึง 317 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2019 รวมทั้งขยะจากเศษอาหารที่เหลือจากการบริโภคบนเครื่องบินก็มีการนำไปทำเป็นอาหารสัตว์และปุ๋ยหมักที่จะใช้บำรุงพืชอาหารวนเวียนเป็นวัฏจักรต่อไป

พันธกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นภารกิจร่วมของผู้คนและภาคอุตสาหกรรมทั้งโลกเพื่อช่วยบรรเทาความร้ายแรงของปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การแบ่งปันแผนงานความยั่งยืนนอกจากจะเป็นการบอกเล่าเรื่องราวที่กำลังลงมือทำแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อความหวังของโลกที่ดีกว่าในอนาคต


ANA กับแผนงานความยั่งยืน ตั้งแต่เรื่องใหญ่อย่างพลังงานสีเขียว จนถึงข้าวของเครื่องใช้สำหรับผู้โดยสาร

นโยบายด้านความยั่งยืนกลายเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานองค์กรในยุคที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมคือความจำเป็นเร่งด่วนที่ทุกคนต้องร่วมมือกัน สำหรับอุตสาหกรรมการบินที่ได้ชื่อว่าใช้พลังงานเยอะมากเป็นลำดับต้นๆ จึงนับเป็นความท้าทายและเป็นพันธกิจสำคัญที่ต้องทำสำเร็จให้ได้

เชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel; SAF) เป็นแหล่งพลังงานสำหรับเครื่องบินรูปแบบใหม่ของ All Nippon Airways ที่ Neste คิดค้นขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนกว่าสำหรับอุตสาหกรรมการบิน โดยผลิตจากของเสียและวัตถุดิบเหลือใช้ อย่างน้ำมันปรุงอาหารและไขมันสัตว์ นำกลับมาใช้ใหม่ทั้งหมด 100% โดยตลอดวงจรชีวิตของ SAF จะช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 80% เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงอากาศยานจากแหล่งพลังงานฟอสซิล

ANA ได้นำเชื้อเพลิงตัวนี้มาใช้ครั้งแรกช่วงปลายปี 2022 สำหรับเที่ยวบินที่บินออกจากญี่ปุ่น โดยนับเป็นสายการบินแรกของเอเชียที่ใช้พลังงาน SAF และเปิดตัวภายใต้ชื่อ ANA Green Jet ร่วมกันกับการศึกษาและพัฒนานวัตกรรมทางการบินแบบใหม่ๆ ที่รักโลกอย่างยั่งยืน อย่างการวัสดุพิเศษที่พัฒนาโดย Nikon Corporation ที่ใช้เอฟเฟกต์หนังฉลามเป็นลายนูนเพื่อลดแรงต้านอากาศและการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปพร้อมกับความทนทานและเทคโนโลยีวัสดุที่ดีขึ้น

ในส่วนที่ผู้โดยสารสัมผัสและใช้งานก็นับเป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตทั้งสิ้น ภายในห้องโดยสารคำนึงถึงขยะที่เกิดขึ้นจากวัสดุที่ใช้แล้วทิ้งเพื่อสุขอนามัย เริ่มตั้งแต่ที่หุ้มพนักพิงศีรษะทำจากวัสดุ Ultrasuede™ nu1 วัสดุที่ที่ประกอบด้วย PET2 ที่มาจากพืช 100% กับ PET รีไซเคิล และวัสดุ appcycle จากกากแอปเปิ้ลในจังหวัดอาโอโมริ ที่สนับสนุนทั้งการรีไซเคิลและเศรษฐกิจท้องถิ่น

หรือข้าวของชิ้นเล็กน้อยที่ใช้แล้วทิ้งอย่างบรรจุภัณฑ์อาหาร ก็เปลี่ยนมาใช้วัสดุที่ทำจากพืช ซึ่งเริ่มต้นเปลี่ยนก่อนตั้งแต่ปี 2021 ก็ช่วยพิสูจน์แล้วว่าช่วยลดปริมาณพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งลงได้ถึง 317 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2019 รวมทั้งขยะจากเศษอาหารที่เหลือจากการบริโภคบนเครื่องบินก็มีการนำไปทำเป็นอาหารสัตว์และปุ๋ยหมักที่จะใช้บำรุงพืชอาหารวนเวียนเป็นวัฏจักรต่อไป

พันธกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นภารกิจร่วมของผู้คนและภาคอุตสาหกรรมทั้งโลกเพื่อช่วยบรรเทาความร้ายแรงของปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การแบ่งปันแผนงานความยั่งยืนนอกจากจะเป็นการบอกเล่าเรื่องราวที่กำลังลงมือทำแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อความหวังของโลกที่ดีกว่าในอนาคต


Text:

Nathanich C.

Nathanich C.

PHOTO:

Courtesy of ANA

Courtesy of ANA

Related Posts